การดูแลก่อนคลอด

การดูแลก่อนคลอด ไม่ว่าจะเป็นการเลือกรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งการดูแลคุณภาพการนอนหลับสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยคุณแม่และทารกในครรภ์มีสุขภาพที่แข็งแรง และหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่อาจทำให้เกิดปัญหาได้ เรียนรู้เทคนิคดี ๆ เกี่ยวกับ การดูแลก่อนคลอด ที่ Hello คุณหมอนำมาฝาก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

การดูแลก่อนคลอด

โรคอ้วนและการตั้งครรภ์ ผลกระทบและแนวทางในการรับมือที่เหมาะสม

ในยุคปัจจุบัน อัตราการเกิดโรคอ้วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ โรคอ้วนไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว แต่ยังส่งผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพของมารดาและทารกในช่วงการตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ในภาวะที่มีน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนอาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง และครรภ์เป็นพิษ บทความนี้จะให้ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบของโรคอ้วนต่อการตั้งครรภ์ พร้อมทั้งแนวทางการจัดการเพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับทั้งแม่และทารก ผลกระทบของโรคอ้วนต่อสุขภาพการตั้งครรภ์ ผลกระทบต่อแม่ โรคอ้วนในช่วงตั้งครรภ์เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อน เช่น: เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes): โรคนี้พบได้บ่อยในแม่ที่มีน้ำหนักเกิน ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงที่ส่งผลต่อสุขภาพทั้งแม่และทารกในระยะยาว ความดันโลหิตสูงและครรภ์เป็นพิษ (Pre-eclampsia): โรคอ้วนเพิ่มโอกาสเกิดภาวะความดันโลหิตสูงและครรภ์เป็นพิษ ซึ่งอาจนำไปสู่การคลอดก่อนกำหนดหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงอื่นๆ การผ่าคลอด: แม่ที่มีภาวะโรคอ้วนมักมีโอกาสสูงที่จะต้องผ่าคลอด ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อและการฟื้นตัวที่ช้ากว่า ผลกระทบต่อทารก ผลกระทบจากโรคอ้วนของมารดาต่อทารก ได้แก่: น้ำหนักแรกเกิดเกินมาตรฐาน (Macrosomia): ทารกที่มีน้ำหนักตัวเกินอาจทำให้เกิดความยากลำบากในการคลอด และมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บขณะคลอด ปัญหาสุขภาพในระยะยาว: ทารกมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนและเบาหวานในวัยเด็ก ความผิดปกติแต่กำเนิด: โรคอ้วนในมารดาเพิ่มโอกาสเกิดความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น Neural Tube Defects. การจัดการโรคอ้วนในช่วงก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ การเตรียมตัวที่ดีสามารถลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนได้: การประเมินสุขภาพก่อนตั้งครรภ์: การตรวจสุขภาพทั่วไป รวมถึง BMI และระดับฮอร์โมน ช่วยให้แพทย์ประเมินความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม การลดน้ำหนักอย่างปลอดภัย: การปรับโภชนาการและการออกกำลังกายช่วยลดน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสของการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย การดูแลระหว่างตั้งครรภ์ การควบคุมน้ำหนัก: การปฏิบัติตามแนวทางควบคุมน้ำหนักในช่วงตั้งครรภ์ช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน โภชนาการที่เหมาะสม: การรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน เช่น โปรตีน ผัก และผลไม้ […]

สำรวจ การดูแลก่อนคลอด

การดูแลก่อนคลอด

อาหารบำรุงครรภ์ ที่คนท้องควรรับประทานมีอะไรบ้าง

อาหารบำรุงครรภ์ หมายถึง อาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของหญิงที่กำลังตั้งครรภ์และอาหารที่จะช่วยให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตและแข็งแรง โดยปกติ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับพลังจากอาหารที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้นวันละ 300 กิโลแคลอรี่ ที่สำคัญควรเลือกอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย ปรุกสุกทุกครั้งก่อนรับประทาน และควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] อาหารบำรุงครรภ์ 10 ชนิดที่ควรรับประทาน โดยปกติแล้ว หญิงตั้งครรภ์สามารถรับประทานอาหารได้เกือบทุกอย่าง เน้นการปรุงสุกเพื่อหลีกเลี่ยงอาหารไม่ย่อยหรืออาหารเป็นพิษ นอกจากนั้นแล้ว อาจบำรุงสุขภาพของครรภ์เพิ่มเติมด้วยการรับประทานอาหารเหล่านี้ ได้แก่ โยเกิร์ต โยเกิร์ต โดยเฉพาะกรีกโยเกิร์ต เป็นหนึ่งในอาหารบำรุงครรภ์ที่มีประโยชน์ เนื่องจากโยเกิร์ตมีแคลเซียมสูง และโยเกิร์ตบางชนิดมีแบคทีเรียโพรไบโอติก ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดดีมีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหาร การรับประทานอาหารเสริมโพรไบโอติกระหว่างตั้งครรภ์ อาจช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนบางอย่าง เช่น ครรภ์เป็นพิษ เบาหวานขณะตั้งครรภ์ การติดเชื้อในช่องคลอด อาการแพ้ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรับประทานโยเกิร์ตไขมันต่ำ และอาจเพิ่มผลไม้สดหรือธัญพืชในโยเกิร์ต เพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น ถั่วเมล็ด ถั่วเมล็ดทั้งหลาย เช่น ถั่วเลนติล (Lentils) ถั่วลันเตา เมล็ดถั่ว ถั่วลูกไก่ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง เป็นอาหารบำรุงครรภ์ที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากถั่วเมล็ดเหล่านี้อุดมไปด้วยไฟเบอร์ โปรตีน ธาตุเหล็ก และโฟเลต (วิตามินบี 9) และแคลเซียม ซึ่งเป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะโฟเลตที่คุณแม่จำเป็นต้องได้รับอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (Neural tube defects) ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะผิดปกติแต่กำเนิดของทารก ถั่วเมล็ดมีโฟเลตสูง เช่น […]


การดูแลก่อนคลอด

ฝากครรภ์ เรื่องสำคัญสำหรับคุณแม่และลูกในท้องที่ไม่ควรมองข้าม

ฝากครรภ์ นับเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับหญิงตั้งครรภ์หลังจากทดสอบด้วยชุดตรวจการตั้งครรภ์แล้วพบว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์ โดยเฉพาะคุณแม่ท้องแรก ที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน อาจสับสนและไม่รู้ว่าต้องเริ่มดูแลตัวเองและทารกในครรภ์อย่างไร จึงควรเข้ารับคำแนะนำจากคุณหมอ ในการดูแลตนเองและทารกในครรภ์ให้มีสุขภาพดี แข็งแรง และปลอดภัย [embed-health-tool-due-date] การฝากครรภ์ในแต่ละไตรมาส การฝากครรภ์ในแต่ละไตรมาสนั้นอาจได้รับการปฏิบัติและดูแลจากคุณหมอแตกต่างกันไป ช่วงไตรมาสแรก – ตั้งแต่เริ่มครรภ์ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 12 ในการฝากครรภ์ครั้งแรก คุณหมอมักให้ตรวจร่างกายทั่วไป เพื่อประเมินสภาพร่างกายข และมีการซักถามประวัติและข้อมูลทั่วไป เช่น วัดความดันโลหิต ส่วนสูงและน้ำหนัก ตรวจเลือด ตรวจเต้านมและปากมดลูก วิธีคุมกำเนิดที่ใช้ วันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย เพื่อคำนวณระยะครรภ์และวันกำหนดคลอด ปัญหาสุขภาพ หรือโรคประจำตัว ประวัติการได้รับวัคซีน ประวัติการทำแท้งหรือแท้งบุตร ยาที่ใช้อยู่ การแพ้ยา ประวัติสุขภาพของสมาชิกในครอบครัว หญิงตั้งครรภ์จะได้รับเอกสารระบุวันแรกของการตั้งครรภ์ และอายุครรภ์  คุณหมอมักขอตรวจเลือดเพื่อให้มั่นใจได้ว่าหญิงตั้งครรภ์ไม่เป็นโรคติดต่อ เช่น โรคหนองในแท้ โรคหนองในเทียม และอาจต้องตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear) หรือตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วย หากยังไม่เคยตรวจมาก่อน ตามปกติแล้ว คุณแม่ที่ตั้งครรภ์จำเป็นต้องไปพบคุณหมอทุกสามหรือสี่สัปดาห์ คุณหมอจะตรวจวัดความดันโลหิต น้ำหนัก และปัสสาวะ เพื่อหาโปรตีนและกลูโคส รวมถึงอาจซักถามเกี่ยวกับข้อกังวลต่างๆ เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ในสัปดาห์ที่ 12 และสัปดาห์ที่ 13 ของการตั้งครรภ์ คุณหมอจะตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ และทำการอัลตราซาวด์ หากคุณแม่มีอายุเกินกว่า 35 ปี มีเนื้องอกในมดลูก […]


การดูแลก่อนคลอด

ลูกแฝด จะรู้ได้อย่างไรว่ามีทารกอยู่ในครรภ์มากกว่าหนึ่งคน

ลูกแฝด หมายถึง การตั้งท้องของหญิงที่มีจำนวนทารกในครรภ์มากกว่า 1 คน อาจจะหมายความได้ถึง แฝดสอง แฝดสาม หรือแฝดสี่ หรือมากกว่านั้น ซึ่งวิธีการเดียวที่สามารถบอกได้แน่ชัดที่สุดว่าตั้งครรภ์ลูกแฝดหรือไม่ก็คือ การอัลตร้าซาวด์ อย่างไรก็ตาม สามารถสังเกตจากสัญญาณหรืออาการบางอย่างซึ่งสะท้อนแนวโน้มว่าคุณแม่กำลังตั้งครรภ์ลูกแฝด [embed-health-tool-due-date] สัญญาณและอาการที่อาจหมายถึงการตั้งครรภ์ลูกแฝด 1. ระดับฮอร์โมนเอชซีจี (hCG) สูงขึ้น ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ลูกแฝดอาจจะมีระดับฮอร์โมนเอชซีจี (hCG; human chorionic gonadotropin) หรือฮอร์โมนการตั้งครรภ์สูงขึ้นกว่าในครรภ์เดี่ยว อย่างไรก็ตาม ระดับฮอร์โมนเอชซีจีที่เพิ่มขึ้นก็ยังไม่สามารถบอกได้แน่ชัดว่ากำลังตั้งครรภ์ลูกแฝด จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุที่ทำให้ระดับฮอร์โมนเอชซีจีสูงขึ้น เนื่องจากระดับฮอร์โมนเอชซีจีในผู้หญิงสามารถขึ้นลงได้แตกต่างกันมาก เช่น ในช่วง 5 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ระดับฮอร์โมนเอชซีจีปกติจะอยู่ระหว่าง 18 mIU/ ml ถึง 7,340 mIU/ml จึงทำให้ค่อนข้างระบุได้ยากว่า การที่ระดับฮอร์โมนสูงขึ้นมีสาเหตุมาจากการตั้งครรภ์ลูกแฝดหรือไม่ การทดสอบฮอร์โมนเอชซีจี สามารถทำได้โดยการตรวจเลือด ซึ่งฮอร์โมนเอชซีจีจะตรวจพบในเลือดหรือในปัสสาวะในช่วงประมาณสัปดาห์ที่ 4 ของการตั้งครรภ์ โดยปกติแล้ว ฮอร์โมนเอชซีจีจะเพิ่มขึ้นทุก ๆ 2-3 วัน แต่จะเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงสัปดาห์ที่ 8-11 ของการตั้งครรภ์ สรุปได้ว่าระดับฮอร์โมน hCGใ นครรภ์แฝดอาจจะสูงกว่าในครรภ์เดี่ยวได้ เนื่องจากมีจำนวนรกที่ใช้สร้างฮอร์โมน […]


การดูแลก่อนคลอด

แม่ตั้งครรภ์สามารถใช้ ยาฟีนิลเอฟรีน ได้หรือไม่?

ยาฟีนิลเอฟรีน (Phenylephrine) เป็นยาหดหลอดเลือดที่ใช้เพื่อช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล และหายใจไม่ออก นอกจากนี้ ยังอาจช่วยเป็นยาเหน็บรักษาโรคริดสีดวงทวาร หรือใช้เพื่อขยายรูม่านตา อย่างไรก็ตาม คุณแม่ตั้งครรภ์ควรระมัดระวังการใช้ยาฟีนิลเอฟรีนเนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ ทำให้ทารกได้รับออกซิเจนลดลง และอาจเพิ่มความเสี่ยงของการแท้งบุตรได้ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] ยาฟีนิลเอฟรีนคืออะไร ยาฟีนิลเอฟรี มีคุณสมบัติเป็นยาบรรเทาอาการคัดจมูก น้ำมูกมาก และหายใจไม่ออก ช่วยเพิ่มความดันโลหิตในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตต่ำ ลดอาการบวมของหลอดเลือดภายในโพรงจมูก เป็นยาเหน็บรักษาโรคริดสีดวงทวาร เป็นยาใช้ขยายรูม่านตา และอื่น ๆ อีกมากมาย ยาฟีนิลเอฟรีนถูกนำมาใช้ในหลายรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น ยาเม็ด หรือยาน้ำสำหรับรับประทาน ยาหยอดหรือสเปรย์ทางจมูก ยาหยอดตา ยาเหน็บทวาร ยาฉีด ความปลอดภัยของยาฟีนิลเอฟรีนต่อแม่ตั้งครรภ์ อย่างที่รู้กันว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรใช้ยาเองโดยไม่ผ่านการปรึกษาคุณหมอก่อน เนื่องจากยาหลาย ๆ ชนิดอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายของคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ ยาฟีนิสเอฟรีน ก็เป็นอีกหนึ่งยาที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรระวังเป็นอย่างมาก เนื่องากเป็นยาที่ออกฤทธิ์หดหลอดเลือด  หากคุณแม่ตั้งครรภ์รับประทานยานี้โดยไม่ระวัง ยานี้อาจผลต่อหลอดเลือดในมดลูก และเป็นอุปสรรคต่อการไหลเวียนของเลือดไปยังทารกในครรภ์ ทำให้ทารกในครรภ์ ได้รับปริมาณออกซิเจนที่น้อยลง ส่งผลให้หัวใจของเด็กในครรภ์เต้นช้า และอาจเกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ในทารกตามมาด้วย แม้จะยังไม่มีการศึกษาวิจัยที่ชี้ชัดว่า ยาฟีนิลเอฟรีนมีผลทำให้แม่ตั้งครรภ์แท้งบุตร หรือเกิดความผิดปกติในมดลูก แต่การใช้ยาฟีนิลเอฟรีน ก็ยังมีความเสี่ยง ที่จะเกิดผลข้างเคียงต่างๆ หลายประการอยู่ดี เช่น  วิงเวียนศีรษะ ความเครียด หรือเกิดความวิตกกังวลระหว่างตั้งครรภ์ นอนหลับยาก […]


การดูแลก่อนคลอด

ผู้หญิงท้อง กินยาพาราเซตามอล ทำให้ลูกเสี่ยงเป็นออทิสติกจริงหรือ?

มีความเชื่อว่า ผู้หญิงท้อง กินยาพาราเซตามอล อาจทำให้ทารกที่คลอดออกมาเสี่ยงเป็นออทิสติก หรือโรคสมาธิสั้น (ADHD) แต่จริง ๆ แล้ว ยังไม่มีหลักฐานใด ๆ ที่แสดงถึงความเชื่อมโยงว่าหากผู้หญิงท้อง กินยาพาราเซตามอล แล้วจะทำให้เสี่ยงเป็นออทิสติก [embed-health-tool-due-date] ผู้หญิงท้อง กินยาพาราเซตามอล ลูกเสี่ยงออทิสติกจริงหรือ ผู้เชี่ยวชาญได้ประเมิน การใช้พาราเซตามอลในผู้หญิงตั้งครรภ์ มากกว่า 2,000 ราย แล้วจากนั้น ก็ได้ดำเนินการทดสอบพัฒนาการ และพฤติกรรมต่างๆ ในเด็กที่อายุตั้งแต่ 1-5 ปี พวกเขาคาดว่าการใช้ยาพาราเซตามอลในขณะตั้งครรภ์ มีความเกี่ยวข้องกับอาการไฮเปอร์และการกระทำตามแรงกระตุ้นโดยไม่ยับยั้งชั่งใจในช่วงวัย 5 ปี และอาการออทิสติกในเด็กผู้ชาย อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่มีความสัมพันธ์ที่เห็นได้ชัดเจน ระหว่างผู้หญิงท้อง กินพาราเซตามอลกับเงื่อนไขในการวินิจฉัยโรคสมาธิสั้น (ADHD) หรืออาการออทิสติกในเด็กทุกคน และยังไม่มีความสัมพันธ์ใดๆกับพัฒนาการหรือสติปัญญา ที่สำคัญกว่านั้น งานวิจัยยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า การใช้ยาพาราเซตามอลขณะตั้งครรภ์นั้น ส่งผลให้เกิดอาการเหล่านี้ สาเหตุของโรคทั้งสองนั้น ยังคงไม่สามารถอธิบายได้ และอาจรวมไปถึงการถ่ายทอดทางพันธุกรรมหลายอย่าง ภาวะสุขภาพ และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยนั้นไม่ได้พิจารณาว่า ผู้หญิงคนนั้นสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ และทำให้ทารกได้รับควันบุหรี่มือสองหรือไม่ การสูบบุหรี่นั้นมีความสัมพันธ์กับทั้งสองโรคนี้ แต่ในงานวิจัยชิ้นนี้ ความสัมพันธ์นี้ไม่ได้รับการพิสูจน์ ฉะนั้น จึงฟังดูเหมือนการตั้งข้อสังเกตที่ผิดพลาดมากกว่า ดังนั้นมุมมองในตอนนี้ก็คือ การใช้ยาพาราเซตามอลเป็นครั้งคราวเท่าที่จำเป็น และใช้ในขนาดยาที่แนะนำขณะตั้งครรภ์นั้น […]


การดูแลก่อนคลอด

ท้องลูกแฝด กับการทำน้ำหนักตัวของคุณแม่ในระหว่างตั้งครรภ์

ท้องลูกแฝด เป็นภาวะการตั้งครรภ์ที่มีทารกอยู่ในท้องมากกว่าหนึ่งคนขึ้นไป ซึ่งมีรายละเอียดและข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ลูกแฝดที่ต้องศึกษามากกว่าการท้องปกติ เนื่องจากภาวะการเปลี่ยนแปลงทั้งของฮอร์โมนต่างๆ เพิ่มขึ้นกว่าปกติด้วย ดังนั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่คุณแม่ควรต้องศึกษาข้อมูลเอาไว้เพื่อการดูแลตัวเองและทารกฝาแฝดที่อยู่ในครรภ์ให้มีสุขภาพแข็งแรงและปลอดภัย โดยเฉพาะเรื่องของน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ทำไมน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นถึงมีความสำคัญ การกินอาการที่เหมาะสมและมีน้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์นั้น ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญของการตั้งครรภ์ แต่จะยิ่งมีความสำคัญเป็นพิเศษเมื่อท้องลูกแฝด เนื่องจากมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะคลอดก่อนกำหนด หรือเด็กแรกเกิดมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จึงเป็นข้อควรระวังของว่าที่คุณแม่ฝาแฝดมือใหม่ทุกคน น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจะมีความสำคัญเป็นพิเศษ ในช่วงสัปดาห์ที่ 20 ถึง 24 ของการตั้งครรภ์ ถ้าคุณแม่ที่ท้องลูกแฝด มีน้ำหนักขึ้นประมาณ 10 กิโลกรัมภายในสัปดาห์ที่ 24 ของการตั้งครรภ์ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดลงได้ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นแต่เนิ่นๆ นั้น มีความสำคัญต่อพัฒนาการของทารกแฝดด้วย เพราะนั่นหมายถึงว่าการลำเลียงสารอาหารไปให้ลูกแฝดนั้นดีขึ้น คุณแม่ท้องลูกแฝดควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากแค่ไหน หญิงท้องลูกแฝดควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับความสูง รูปร่าง และน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์ของคุณแม่ด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่ตั้งครรภ์ลูกแฝดควรจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 10 ถึง 20 กิโลกรัม ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์แฝดสาม ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 22 ถึง 27 กิโลกรัม แต่ถ้าเป็นแฝดสี่ หรือแฝดห้า นั้นยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่า ควรจะมีน้ำหนักเพิ่มเท่าใด ฉะนั้น คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ลูกแฝดจึงควรปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตามสถานพยาบาลต่างๆ  ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเร็วขนาดไหน ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ลูกแฝด ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นแค่ 2 ถึง 3 กิโลกรัมในช่วงไตรมาสแรก และสัปดาห์ละประมาณครึ่งกิโลกรัม […]


การดูแลก่อนคลอด

คุณแม่ตั้งครรภ์ กับเคล็ดลับเติมความสวยสดใสง่าย ๆ

คุณแม่ตั้งครรภ์ อาจจะมี อาการคนท้อง หลายอย่าง ที่ทำให้รู้สึกเหน็ดเหนื่อย ท้องอืด หรือไม่สบายเนื้อตัว เคล็ดลับความสวยสำหรับ คุณแม่ตั้งครรภ์ บรอนเซอร์เพิ่มความสวย เบี่ยงเบนความสนใจไปจากดวงตาโทรม ๆ ของคุณแม่ ตั้งครรภ์ ด้วยการใช้บรอนเซอร์ ที่ช่วยปรับเฉดสีผิวจากที่ดูซีด ให้ผุดผ่องสดใสขึ้นมาในทันที คุณแม่ควรเลือกใช้แปรงหัวใหญ่และอ่อนนุ่มในการทาบรอนเซอร์ โดยทาที่ส่วนบนของแก้ม หน้าผาก และคางเล็กน้อย แล้วตบเบา ๆ ลงบนจมูก อย่าลืมเคาะบรอนเซอร์ส่วนเกิน บนแปรงออกก่อนเล็กน้อย ก่อนที่จะทา เพราะสิ่งที่คุณต้องการก็คือ ใช้มันเพื่อเพิ่มเมคอัพของคุณให้ดูดีขึ้น ไม่ใช่เพื่อกลบทับเมคอัพสวย ๆ ของคุณไปซะหมด เทคนิคทำให้ตาโต ไม่ว่าคุณจะรู้สึกเหนื่อยมากแค่ไหนจากการตั้งครรภ์ ดวงตาของว่าที่คุณแม่ก็มีความเปล่งประกายอยู่แล้วตามธรรมชาติ คุณแม่แค่จำเป็นต้องเพิ่มการแต่งหน้าง่าย ๆ เล็กน้อย ใช้ดินสอเขียนขอบตาเหนือบริเวณขนตาบนเล็กน้อย เพื่อเน้นเค้าโครงของตา คุณไม่จำเป็นต้องเขียนให้เป๊ะมาก และลองเลือกใช้อันที่มีกากเพชรเสริม การเขียนขอบตาจะช่วยเป็นโครงให้ดวงตา โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องปัดมาสคาร่าเลยก็ได้ อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรตรวจคุณดูก่อนว่า มีอาการแพ้หรือไม่ เพราะผิวของคุณแม่อาจจะอ่อนไหวมากขึ้นในขณะ ตั้งครรภ์ เติมสีสันให้เรียวปาก ไม่มีอะไรที่จะเติมความสดใสให้สาว ๆ ได้ดีไปกว่าลิปสติกสีสด ว่าที่คุณแม่ควรเลือกสูตรที่ติดทนนานตลอดวัน จะได้ไม่ต้องมาคอยเติมปาก การเลือกลิปสติกสีที่ใช่ จะทำให้หน้าของคุณดูสดใสขึ้นได้ในทันที ควรเลือกสีที่เข้ากับโทนสีผิวธรรมชาติของคุณ ซึ่งมักจะเป็นสีที่เข้มกว่าสีปากของคุณ 1 หรือ 2 เฉดสี อย่ากังวลที่จะเลือกสีแดง แม้จะเป็นตอนกลางวันก็ตาม […]


การดูแลก่อนคลอด

ตั้งครรภ์ลูกแฝด คุณแม่ควรดูแลตัวเองอย่างไรให้แข็งแรงปลอดภัยทุกคน

ตั้งครรภ์ลูกแฝด คือการที่คุณแม่มีทารกอยู่ในท้องมากกว่าหนึ่งคน ซึ่งทำให้วิธีการดูแลครรภ์และดูแลตนเองนั้นอาจแตกต่างจากคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ลูกคนเดียวอยู่บ้าง รวมถึงอาจต้องเพิ่มความระมัดระวังเกี่ยวกับสุขภาพเป็นพิเศษ ทั้งด้วยน้ำหนักตัวที่มากกว่าการตั้งครรภ์โดยทั่วไป  การเลือกรับประทานอาหารที่ต้องครบถ้วนและหลากหลาย อย่างไรก็ตาม มีเคล็ดลับดี ๆ อยู่มากมายที่จะสามารถช่วยให้คุณแม่รับมือการตั้งครรภ์ลูกแฝดได้อย่างสบายใจมากขึ้น  [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] การดูแลสุขภาพคุณแม่ ตั้งครรภ์ลูกแฝด สิ่งสำคัญที่สุดของการตั้งครรภ์ลูกแฝดคือการดูแลสุขภาพกายให้แข็งแรงและปลอดภัย รวมทั้งการมีสุขภาพจิตที่ดีปลอดโปร่ง มีความกังวลน้อยที่สุด ซึ่งสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ ได้แก่ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และเพียงพอ คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ทุกคนควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในทุกมื้อ และดูแลให้มีความหลากหลาย ได้รับสารอาหารต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกายครบถ้วน เนื่องจากความต้องการสารอาหารจะเปลี่ยนไปตามแต่ละไตรมาสทั้งนี้ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอรับคำแนะนำเรื่องโภชนาการระหว่างตั้งครรภ์  รับมือกับอาการปวดเมื่อยเนื้อตัว เมื่อตั้งครรภ์ลูกแฝด มดลูกจะขยายตัวขึ้นเป็นสองเท่า รวมถึงท้องจะใหญ่ขึ้นตามการเจริญเตบโตของทารกด้วย ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดหน่วงท้องน้อยที่มากขึ้น ซึ่งอาการดังกล่าวอาจเริ่มรู้สึกได้ตั้งสัปดาห์ที่ 25 ของการตั้งครรภ์ รวมทั้งอาการเป็นตะคริว หรือตกขาว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการปฏิบัติตัว ตรวจสุขภาพเป็นประจำและไปพบคุณหมอตามนัดทุกครั้ง ตั้งครรภ์ลูกแฝดมักจะทำให้มีความเสี่ยงเกี่ยวกับภาวะสุขภาพเพิ่มขึ้น คุณหมออาจนัดตรวจถี่และละเอียดกว่าการตั้งครรภ์โดยทั่วไป ทั้งเพื่อตรวจดูว่าเป็นแฝดสอง แฝดสาม หรือมากกว่าแฝดสี่คนขึ้นไป โดยเฉพาะหลังสัปดาห์ที่ 30 ของการตั้งครรภ์ คุณหมอก็อาจนัดไปตรวจอัลตร้าซาวด์สัปดาห์ละครั้ง เพื่อตรวจดูน้ำคร่ำว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสม และตรวจสอบทารกว่ามีอัตราการเจริญเติบโตเป็นปกติ หากพบภาวะเสี่ยงใด ๆ จะได้รักษาหรือป้องกันได้ทัน หาแรงสนับสนุนได้ใกล้ตัว งานศึกษาวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Journal Pediatiric พบว่าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ลูกแฝดนั้น มักมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการซึมเศร้าหลังคลอดมากกว่าคุณแม่ลูกคนเดียวถึง 43 เปอร์เซ็นต์  นอกจากนี้คุณแม่หลายคนที่มีลูกแฝด […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน