การดูแลก่อนคลอด

การดูแลก่อนคลอด ไม่ว่าจะเป็นการเลือกรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งการดูแลคุณภาพการนอนหลับสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยคุณแม่และทารกในครรภ์มีสุขภาพที่แข็งแรง และหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่อาจทำให้เกิดปัญหาได้ เรียนรู้เทคนิคดี ๆ เกี่ยวกับ การดูแลก่อนคลอด ที่ Hello คุณหมอนำมาฝาก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

การดูแลก่อนคลอด

โรคอ้วนและการตั้งครรภ์ ผลกระทบและแนวทางในการรับมือที่เหมาะสม

ในยุคปัจจุบัน อัตราการเกิดโรคอ้วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ โรคอ้วนไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว แต่ยังส่งผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพของมารดาและทารกในช่วงการตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ในภาวะที่มีน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนอาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง และครรภ์เป็นพิษ บทความนี้จะให้ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบของโรคอ้วนต่อการตั้งครรภ์ พร้อมทั้งแนวทางการจัดการเพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับทั้งแม่และทารก ผลกระทบของโรคอ้วนต่อสุขภาพการตั้งครรภ์ ผลกระทบต่อแม่ โรคอ้วนในช่วงตั้งครรภ์เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อน เช่น: เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes): โรคนี้พบได้บ่อยในแม่ที่มีน้ำหนักเกิน ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงที่ส่งผลต่อสุขภาพทั้งแม่และทารกในระยะยาว ความดันโลหิตสูงและครรภ์เป็นพิษ (Pre-eclampsia): โรคอ้วนเพิ่มโอกาสเกิดภาวะความดันโลหิตสูงและครรภ์เป็นพิษ ซึ่งอาจนำไปสู่การคลอดก่อนกำหนดหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงอื่นๆ การผ่าคลอด: แม่ที่มีภาวะโรคอ้วนมักมีโอกาสสูงที่จะต้องผ่าคลอด ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อและการฟื้นตัวที่ช้ากว่า ผลกระทบต่อทารก ผลกระทบจากโรคอ้วนของมารดาต่อทารก ได้แก่: น้ำหนักแรกเกิดเกินมาตรฐาน (Macrosomia): ทารกที่มีน้ำหนักตัวเกินอาจทำให้เกิดความยากลำบากในการคลอด และมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บขณะคลอด ปัญหาสุขภาพในระยะยาว: ทารกมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนและเบาหวานในวัยเด็ก ความผิดปกติแต่กำเนิด: โรคอ้วนในมารดาเพิ่มโอกาสเกิดความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น Neural Tube Defects. การจัดการโรคอ้วนในช่วงก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ การเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์ การเตรียมตัวที่ดีสามารถลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนได้: การประเมินสุขภาพก่อนตั้งครรภ์: การตรวจสุขภาพทั่วไป รวมถึง BMI และระดับฮอร์โมน ช่วยให้แพทย์ประเมินความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม การลดน้ำหนักอย่างปลอดภัย: การปรับโภชนาการและการออกกำลังกายช่วยลดน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสของการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย การดูแลระหว่างตั้งครรภ์ การควบคุมน้ำหนัก: การปฏิบัติตามแนวทางควบคุมน้ำหนักในช่วงตั้งครรภ์ช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน โภชนาการที่เหมาะสม: การรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน เช่น โปรตีน ผัก และผลไม้ […]

สำรวจ การดูแลก่อนคลอด

การดูแลก่อนคลอด

อาการตั้งครรภ์ และการดูแลตัวเอง

อาการตั้งครรภ์ อาจสังเกตได้จากประจำเดือนขาด อารมณ์แปรปรวน และปัสสาวะบ่อยครั้งโดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน ดังนั้น หากมีอาการตั้งครรภ์เกิดขึ้น หรือสงสัยว่าตัวเองตั้งครรภ์ อาจซื้อชุดทดสอบการตั้งครรภ์มาตรวจด้วยตนเอง หรือเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจ [embed-health-tool-due-date] อาการตั้งครรภ์ สังเกตได้อย่างไร อาการตั้งครรภ์ อาจสังเกตได้จากสัญญาณเตือน ดังต่อไปนี้ ประจำเดือนขาด เป็นสัญญาณเตือนแรกของการตั้งครรภ์ โดยอาจมีอาการประจำเดือนขาด บางคนอาจมีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อยที่เกิดจากการฝังตัวของมดลูก หรือที่เรียกว่าเลือดล้างหน้าเด็ก อย่างไรก็ตาม การที่ประจำเดือนขาดอาจไม่ได้หมายความว่าตั้งครรภ์เสมอไป เพราะอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น น้ำหนักตัวที่เพิ่มหรือลดลงอย่างผิดปกติ ความเหนื่อยล้า ความเครียด การใช้ยาคุมกำเนิด การออกกำลังกายหนักเกินไป เต้านมคัด เต้านมขยาย การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงตั้งครรภ์อาจส่งผลให้รู้สึกคัดเต้า หน้าอกขยายใหญ่ หัวนมเปลี่ยนสี และรู้สึกเจ็บเมื่อสัมผัส แพ้ท้อง เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคลโดยส่วนใหญ่อาจเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ เป็นลม เหม็นอาหารบางอย่างแม้แต่อาหารที่ชื่นชอบ บางคนอาจรู้สึกอยากรับประทานอาหารแปลก ๆ อาการเหล่านี้อาจบรรเทาลงในช่วงสัปดาห์ที่ 13-14 ของการตั้งครรภ์ เหนื่อยล้า อาจเกิดจากการเพิ่มระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่ทำให้ร่างกายผลิตเลือดเพิ่มขึ้นเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก จึงส่งผลให้คุณแม่รู้สึกอ่อนเพลีย และอยากพักผ่อนตลอดทั้งวัน อารมณ์แปรปรวน เกิดจากร่างกายผลิตฮอร์โมนการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น จึงอาจส่งผลให้คุณแม่มีอารมณ์แปรปรวน อ่อนไหวได้ง่าย เช่น […]


การดูแลก่อนคลอด

การตรวจครรภ์ ในแต่ละไตรมาส มีอะไรบ้าง

การตรวจครรภ์ระหว่างตั้งครรภ์แต่ละไตรมาส เป็นการตรวจคัดกรองโรค และตรวจสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์เพื่อตรวจหาความเสี่ยงต่างๆ หรือความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น เพื่อจะได้ทำการรักษาได้ทัน โดยในแต่ละไตรมาสของการตั้งครรภ์อาจมีการตรวจสุขภาพที่แตกต่างกันออกไปตามอายุครรภ์ที่มากขึ้น [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] ประโยชน์ของการตรวจครรภ์ การตรวจครรภ์ระหว่างตั้งครรภ์ ช่วยให้ทราบสุขภาพโดยรวมของคุณแม่และทารกในครรภ์ รวมถึงตรวจคัดกรองโรคต่าง ๆ ที่อาจถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก เช่น การตรวจหาพาหะโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย รวมไปถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น การติดเชื้อเอชไอวี ไวรัสตับอักเสบ โรคเบาหวาน โรคซิฟิลิส (Syphilis) เพื่อรับการรักษาได้ทัน ก่อนจะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น คลอดก่อนกำหนด พิการตั้งแต่กำเนิด หรือการเจริญเติบโตและพัฒนาการล่าช้า การตรวจครรภ์ ในแต่ละไตรมาส การตรวจครรภ์ แบ่งเป็น 3 ไตรมาส ดังนี้ การตั้งครรภ์ไตรมาสแรก คุณหมออาจสอบถามประวัติครอบครัวเกี่ยวกับด้านสุขภาพ เช่น โรคทางพันธุกรรม โรคประจำตัว ก่อนจะเริ่มตรวจครรภ์ด้วยการตรวจเหล่านี้ การตรวจเลือด คุณหมออาจเก็บตัวอย่างเลือดด้วยการเจาะเลือด เพื่อระบุกลุ่มเลือด และหาความเสี่ยงของการเป็นพาหะโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย โรคติดเชื้อต่างๆ เช่น โรคหัดเยอรมัน โรคอีสุกอีใส ไวรัสตับอักเสบบี เอชไอวี ซิฟิลิส และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ การตรวจอุ้งเชิงกราน เป็นการตรวจคัดกรองปากมดลูก เพื่อหาความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูกและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิด ตรวจปัสสาวะ คุณหมออาจเก็บตัวอย่างปัสสาวะเพื่อหาสัญญาณการติดเชื้อที่ไต โรคไตบางชนิด […]


การดูแลก่อนคลอด

โฟลิค คืออะไร สำคัญอย่างไรสำหรับคนท้อง

โฟลิค หรือวิตามินบี 9 ช่วยเสริมสร้างกระบวนการผลิตเซลล์ใหม่ เป็นวิตามินที่สำคัญสำหรับ คนท้อง และการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติแต่กำเนิดที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทส่วนกลางคือการพัฒนาของสมองและไขสันหลังของทารก โดยควรเริ่มเสริมโฟลิคตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือน นอกจากนี้ โฟลิคอาจช่วยป้องกันการแท้ง การคลอดก่อนกำหนด ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ รวมถึงช่วยในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดของหญิงที่ตั้งครรภ์ได้ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] โฟลิค คืออะไร  โฟลิค คือ วิตามินบี 9 ที่สามารถพบได้ในผักใบเขียว เช่น หน่อไม้ฝรั่ง กะหล่ำปลี กระเจี๊ยบเขียว รวมถึงในอาหารจำพวกแป้ง ขนมปัง พาสต้า พืชตระกูลถั่ว นอกจากนี้ ยังมีกรดโฟลิคที่เป็นอาหารเสริมมักใช้ร่วมกับวิตามินบีอื่น ๆ โฟลิคมีส่วนช่วยในกระบวนการเผาผลาญโปรตีน และยังจำเป็นต่อการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์ต่อผู้หญิงที่วางแผนในการตั้งครรภ์ และกำลังตั้งครรภ์ เพราะช่วยลดความเสี่ยงของทารกที่จะเกิดความบกพร่องของระบบประสาทส่วนกลางทั้งสมอง ไขสันหลัง และท่อระบบประสาทด้วย ประโยชน์ของ โฟลิค ต่อ คนท้อง ประโยชน์ของกรดโฟลิคสำหรับคนท้อง อาจมีดังต่อไปนี้ ป้องกันภาวะโรคโลหิตจาง  ป้องกันความผิดปกติของระบบท่อประสาทในทารก  ช่วยลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน  ช่วยให้เจริญอาหาร แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยแก้ปัญหาสีผิวไม่สม่ำเสมอ ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์  […]


การดูแลก่อนคลอด

น้ำหนักตัวแม่ท้อง ที่เหมาะสม และข้อควรระวัง

น้ำหนักตัวแม่ท้อง ควรหนักเท่าไหร่ดี ถึงจะเรียกว่ามีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม เพราะโดยปกติแล้ว คนท้องจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และการเปลี่ยนแปลงของร่างกายแม่เพื่อปรับให้เหมาะสมกับการตั้งครรภ์  แต่หากมีน้ำหนักตัวที่มากจนเกินไป อาจเสี่ยงเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ  ทั้งต่อสุขภาพของแม่และทารกในครรภ์ได้ คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรประเมินน้ำหนักและพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เพื่อจะได้มีน้ำหนักตัวที่เหมาะสมต่อการตั้งครรภ์ และการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ [embed-health-tool-due-date] น้ำหนักตัวแม่ท้อง ควรเป็นอย่างไร น้ำหนักตัวแม่ท้องที่เหมาะสมสำหรับการเพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งน้ำหนักตัวเดิมก่อนการตั้งครรภ์ ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) สุขภาพของคุณแม่ และสุขภาพของทารกในครรภ์ ล้วนมีส่วนสำคัญต่อน้ำหนักตัวในช่วงตั้งครรภ์ทั้งสิ้น โดยน้ำหนักตัวของคุณแม่ตั้งครรภ์ ควรอยู่ในขอบข่ายตามที่ Institute of Medicine and National Research Council แนะนำไว้ ดังนี้ น้ำหนักตัวแม่ตั้งท้องลูกคนเดียว  น้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์ น้ำหนักตัวขณะ ตั้งครรภ์ ที่ควรเพิ่มขึ้น น้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐาน (BMI ต่ำกว่า 18.5) น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 13-18 กิโลกรัม น้ำหนักตัวปกติ (BMI ตั้งแต่ 18.5-24.9) น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 11-16 กิโลกรัม น้ำหนักตัวมาก (BMI ตั้งแต่ 25-29.9) น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 7-11 กิโลกรัม โรคอ้วน (BMI ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป) น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 5-9 กิโลกรัม น้ำหนักตัวแม่ตั้งท้องลูกแฝด น้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์ น้ำหนักตัวขณะ ตั้งครรภ์ […]


การดูแลก่อนคลอด

คนท้องกินปลา อะไร ถึงจะดีต่อคุณแม่และทารกในครรภ์

ปลา ถือเป็นอีกหนึ่งอาหารที่ดีต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ดีเอชเอ โปรตีน วิตามินดี แคลเซียม แต่ คนท้องกินปลา ได้มากแค่ไหน ปลาชนิดใดบ้างที่มีประโยชน์ และปลาชนิดใดบ้างที่ควรหลีกเลี่ยงเป็นสิ่งที่เหล่าคุณแม่ควรต้องรู้ เพื่อจะได้เลือกกินปลาให้ถูกชนิด เพื่อสุขภาพของตัวเองและทารกในครรภ์ ทำไมคนท้องควรกินปลา ช่วงเวลาตั้งครรภ์ถือเป็นช่วงเวลาที่คุณแม่จะต้องดูแลตัวเองมากเป็นพิเศษ เพื่อให้สุขภาพที่แข็งแรงของคุณแม่และทารกในครรภ์ ซึ่งเรื่องที่ควรให้ความใสใจเป็นอันดับต้น ๆ คือ อาหาร โดยหนึ่งในอาหารที่คุณแม่ควรกิน คือ ปลา ซึ่งอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 และดีเอชเอ (DHA) ที่มีส่วนเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองและดวงตาของทารกในครรภ์ นอกจากนี้ ยังมีสารอาหารสำคัญอย่าง โปรตีน ที่ช่วยในการสร้างพลังงาน และเสริมความหนาแน่นของมวลกล้ามเนื้อ แคลเซียมและวิตามินดีทำหน้าที่ในการเสริมความแข็งแรงของกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุนในคุณแม่ตั้งครรภ์ ทั้งยังช่วยสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อของทารกในครรภ์อีกด้วย คนท้องกินปลาทะเลได้ไหม หากเป็นเมื่อก่อน การที่คนท้องกินปลาทะเลอาจเป็นเรื่องที่ควรระมัดระวัง เพราะอาจมีการปนเปื้อนของสารปรอท โดยเฉพาะในอาหารทะเลจำพวก ปลา กุ้ง หอย หรือปูที่มาจากทะเล ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์จึงมักถูกห้ามไม่ให้กินอาหารทะเล  อย่างไรก็ตาม องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (The Food and Drug Administration หรือ FDA) และสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา  (Environmental […]


การดูแลก่อนคลอด

อาหารคนท้อง ที่จำเป็นต่อสุขภาพคุณแม่และทารกในครรภ์

อาการคนท้อง และโภชนาการสำหรับคนท้อง มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ คนท้องควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และมีสารอาหารที่จำเป็นครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นกรดโฟลิก แคลเซียม ธาตุเหล็ก ไอโอดีน วิตามินดี และแร่ธาตุอื่น ๆ เพื่อช่วยให้เสริมสร้างให้ทารกมีพัฒนาการที่ดี และช่วยลดโอกาสในการเกิดปัญหาสุขภาพตั้งครรภ์ ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์หรือขณะคลอด [embed-health-tool-due-date] สารอาหารที่จำเป็นสำหรับคนท้อง สารอาหารที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับจากอาหารต่าง ๆ  มีดังนี้ กรดโฟลิก  กรดโฟลิก (Folic acid) เป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นทั้งก่อนและขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากเป็นสารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเซลล์ในร่างกาย หญิงตั้งครรภ์ ควรได้รับกรดโฟลิกอย่างเพียงพอ เพื่อช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของภาวะบกพร่องที่ระบบประสาทและกระดูกสันหลัง หรือที่รู้จักกันในชื่อภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (Neural tube defect หรือ NTDs) รวมถึงลดความเสี่ยงของโรคปากแหว่งเพดานโหว่ในทารกด้วย แคลเซียม ขณะตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์จะใช้แคลเซียมในการเสริมสร้างการเจริญเติบโตกระดูก ฟัน หัวใจ กล้ามเนื้อ และเส้นประสาท คนท้องจึงจำเป็นต้องได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ เพื่อไม่ให้ความหนาแน่นของมวลกระดูกสูญเสียไปขณะตั้งครรภ์ และป้องกันความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนหลังคลอดด้วย ธาตุเหล็ก ร่างกายจำเป็นต้องใช้ธาตุเหล็กในการสร้างฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของโปรตีนที่อยู่ในเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์สำคัญที่ทำหน้าที่ในการช่วยลำเลียงออกซิเจนจากปอดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ขณะตั้งท้อง ร่างกายของคุณแม่จำเป็นต้องได้รับธาตุเหล็กมากกว่าก่อนตั้งท้องถึง 2 เท่า เพื่อให้มีธาตุเหล็กเพียงพอสำหรับทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปยังทารกในครรภ์ และเพื่อให้เพียงพอที่ทารกในครรภ์จะดึงเอาธาตุเหล็กไปใช้ในการสร้างเลือดของตนเองด้วย ไอโอดีน ไอโอดีนเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายใช้เพื่อสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ จึงเป็นอีกหนึ่งสารอาหารที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรจะได้รับไอโอดีนอย่างเพียงพอ เพื่อให้ร่างกายมีฮอร์โมนไทรอยด์ที่สมดุล และสามารถกักเก็บพลังงานจากอาหารที่รับประทานเข้าไปได้ นอกจากนั้น […]


การดูแลก่อนคลอด

วิธีดูแลสุขภาพที่ช่วยให้ ลูกในท้องแข็งแรง สุขภาพดี

การดูแลสุขภาพให้ดีอยู่เสมอถือเป็นสิ่งที่ทุกคนควรปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะการดูแลตัวเองให้ดี ไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์ต่อตัวคุณแม่เอง แต่ยังส่งผลให้ ลูกในท้องแข็งแรง ด้วย แล้วคุณแม่ตั้งครรภ์ควรปฏิบัติตัวอย่างไรเพื่อให้ตัวเองและลูกในท้องมีสุขภาพดี บทความนี้ของ Hello คุณหมอ มีคำตอบให้คุณแล้ว เคล็ดลับที่ช่วยให้ ลูกในท้องแข็งแรง ฝากครรภ์ทันที และพบคุณหมอตามนัด เมื่อคุณแม่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ แนะนำให้รีบไปฝากครรภ์ทันทีที่ทำได้ เพราะยิ่งคุณแม่ฝากครรภ์เร็ว คุณแม่ก็จะได้รับการดูแลและคำแนะนำในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ได้รับประทานยาบำรุง และเวลามีนัดตรวจครรภ์ ก็อย่าลืมไปตามนัดของคุณหมอด้วย เพราะหากเกิดความผิดปกติอะไรขึ้น คุณหมอจะได้ตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ และหาวิธีแก้ไขได้อย่างทันท่วงที รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่เพียงแต่จะส่งผลดีต่อคุณแม่เท่านั้น แต่ยังส่งผลให้ลูกในท้องแข็งแรงด้วย โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้คุณแม่ท้องรับประทานอาหารดังต่อไปนี้ รับประทานผักและผลไม้อย่างน้อย 5 ส่วนต่อวัน โดยจะเลือกรับประทานแบบสด แบบแช่แข็ง แบบกระป๋อง แบบแห้ง หรือในรูปแบบน้ำผักผลไม้ก็ได้ รับประทานโปรตีนทุกวัน โดยเลือกโปรตีนแบบไร้ไขมัน เช่น เนื้อปลา เนื้อสัตว์ไร้ไขมัน ไข่ พืชตระกูลถั่ว เลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรต เช่น ขนมปัง เส้นพาสต้า ข้าว ที่เป็นธัญพืชเต็มเมล็ดไม่ผ่านการขัดสี หรือที่เรียกว่า โฮลเกรน (Whole Grains) เพราะมีวิตามินและแร่ธาตุ เช่น […]


การดูแลก่อนคลอด

ประโยชน์ของกีวี่ สำหรับคนท้อง มีอะไรบ้าง

กีวี่ เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินนานาชนิด เช่น วิตามินซี วิตามินเค เพิ่มภูมิต้านทานให้แก่ร่างกายแข็งแรง ทั้งยังีมีโฟเลตซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาสมองของทารกในครรภ์ นอกจากนี้ กีวี่ยังเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลต่ำ ประโยชน์ของกีวี่ สำหรับคนท้อง ดังที่กล่าวมา จึงทำให้กีวี่เป็นผลไม้ที่เหมาะสำหรับให้คนท้องกินเป็นอาหารว่าง ประโยชน์ของกีวี่ สำหรับคนท้อง กีวี่ เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซีและวิตามินเค นอกจากนี้ ยังอุดมไปด้วยโฟเลต (Folate) ที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาสมอง ความสามารถในการรับรู้ และกระบวนการพัฒนาของทารกในครรภ์ มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (Neural tube defects) ซึ่งเป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดของระบบประสาทส่วนกลางและไขสันหลัง นอกจากนี้ การกิน กีวี่ ตอนท้องยังมีประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย ดังนี้ ช่วยในการย่อยอาหาร กีวี่เป็นผลไม้ที่มีปริมาณไฟเบอร์มาก ซึ่งมีส่วนช่วยในระบบการขับถ่าย ช่วยให้ขับถ่ายได้คล่อง ป้องกันอาการท้องผูก ท้องอืด และช่วยลดอาการปวดท้องได้ ช่วยจัดการระดับน้ำตาลในเลือด กีวี่เป็นผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic index หรือ GI) ต่ำ กีวี่ 100 กรัม จะมีน้ำตาลกลูโคส (Glucose) อยู่เพียง 5 กรัมเท่านั้น กีวี่จึงเป็นผลไม้ที่เหมาะสำหรับคนท้องที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ในช่วงตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่บางคนอาจจะอ่อนแอลงและทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย การรับประทานกีวี่ ซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินซี […]


การดูแลก่อนคลอด

ผลไม้สำหรับคนท้อง ดีต่อคุณแม่ มีประโยชน์ต่อทารก

ผลไม้สำหรับคนท้อง เป็นหนึ่งในอาหารหลักช่วงระหว่างตั้งครรภ์ เพราะมีวิตามิน สารอาหาร และแร่ธาตุที่จำเป็นต่อทั้งร่างกายคุณแม่และการเจริญเติบโตของทารก โดยผลไม้นั้นจะช่วยบำรุงสุขภาพของทั้งคู่ให้สมบูรณ์และแข็งแรง แต่ทั้งนี้ ในแต่ละวันต้องบริโภคผลไม้ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรมากหรือน้อยเกินไป  ผลไม้สำหรับคนท้อง มีอะไรบ้าง โดยปกติแล้ว คนท้องสามารถรับประทานอาหารได้แทบทุกประเภท สำหรับผลไม้ที่เหมาะสมสำหรับคนท้อง ได้แก่ แอปริคอต ในผลแอปริคอตนั้นเต็มไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี ทั้งยังให้ธาตุอาหารจำเป็นอย่างแคลเซียม ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส ซิลิคอน เบต้าแคโรทีน (Beta-carotene) ซึ่งมีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ โดยเฉพาะธาตุเหล็กที่มีส่วนช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง และมีแคลเซียมที่ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง ส้ม  ส้ม นอกจากจะเป็นผลไม้ที่ให้วิตามินซีสูงแล้ว ยังให้คุณค่าทางสารอาหารเพื่อการบำรุงครรภ์อย่าง โฟเลต หรือวิตามินบีอีกด้วย ซึ่งโฟเลตจะช่วยลดความเสี่ยงของการบกพร่องที่ระบบประสาทหรือไขสันหลัง หรือภาวะความผิดปกติของท่อระบบประสาท (Neural tube defect หรือNTDs) ซึ่งเป็นภาวะความผิดปกติแต่กำเนิด นอกจากนั้น วิตามินซีในส้มก็ยังมีส่วนสำคัญในการต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการถูกทำลายของเซลล์ ทั้งยังช่วยให้หญิงตั้งครรภ์และทารกสามารถดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น มะม่วง มะม่วงเป็นอีกหนึ่งผลไม้ที่ให้วิตามินซีสูง นอกจากวิตามินซีที่มีประโยชน์แล้ว มะม่วงยังเป็นแหล่งของวิตามินเอที่สำคัญต่อร่างกายในปริมาณที่สูงด้วย  คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ควรจะต้องรับประทานอาหารที่ให้วิตามินเออย่างเพียงพอ เพราะถ้าทารกในครรภ์ได้รับวิตามินเอไม่เพียงพอ หรือมีภาวะขาดแคลนวิตามินเอ จะทำให้มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ท้องเสีย หรือเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ อย่างไรก็ตาม […]


การดูแลก่อนคลอด

พาลูกในครรภ์เที่ยว (Babymoon Trip) คืออะไร

พาลูกในครรภ์เที่ยว อาจมีความคล้ายคลึงกับการฮันนีมูน นั่นคือ การไปพักผ่อนเพื่อเตรียมพร้อมก่อนคลอด โดยมีทารกในครรภ์ร่วมเดินทางไปด้วย แล้วเมื่อไหร่ที่จะสามารถพาลูกในครรภ์ไปเที่ยวได้ อาจเป็นคำถามที่คุณแม่หลายคนสงสัย ดังนั้น การศึกษาข้อมูลในการพาลูกในครรภ์เที่ย รวมถึงเตรียมความพร้อมก่อนเดินทางจึงเป็นเรื่องที่คุณแม่ควรใส่ใจ เพื่อจะได้เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเดินทาง พาลูกในครรภ์เที่ยว คืออะไร พาลูกในครรภ์เที่ยว (Babymoon Trip) อาจมีความคล้ายคลึงกับฮันนีมูนทริป ตรงที่เป็นหยุดพักผ่อน อาจต่างกันตรงที่มีทารกในครรภ์ร่วมทริปไปด้วย เนื่องจาก หลังคลอดลูกคุณแม่อาจจะไม่มีเวลาเที่ยว เพราะต้องดูแลทารก ดังนั้น การพาลูกในครรภ์เที่ยวจึงเป็นช่วงเวลาที่เหล่าว่าที่คุณพ่อและคุณแม่มือใหม่อาจได้ใช้เวลาพักผ่อนก่อนเตรียมตัวในการคลอดลูก เมื่อไรที่ควรพาลูกในครรภ์เที่ยว การพาลูกในครรภ์เที่ยวนั้นไม่มีกฎระเบียบที่ชัดเจน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเวลาที่สะดวก  แม้จะอยู่ในช่วงไตรมาสที่ 3 ก็ยังสามารถไปเที่ยวได้ บางครั้งอาจจะเลือกเป็นทริปใกล้ ๆ เพื่อที่จะได้ประหยัดเวลาในการเดินทาง และจะได้ไม่รู้สึกเหนื่อยกับการเดินทางมากเกินไป แต่สิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์อาจจะต้องระวังในการพาลูกเที่ยวก็คืออาการแพ้ท้องที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้น หากเดินทางในช่วงที่ยังมีอาการแพ้ท้องอาจจะยิ่งทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึกเหนื่อยและเดินทางลำบาก จึงอาจทำให้การพาลูกในครรภ์เที่ยวเพื่อผ่อนคลายกายเป็นการสร้างความเหนื่อล้าให้กับตัวเอง และอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ สิ่งที่ควรทำเมื่อพาลูกในครรภ์เที่ยว กิจกรรมในระหว่างที่พาลูกในครรภ์เที่ยวนั้นอาจขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคล แต่อาจต้อระวังการทำกิจกรรมที่ผาดโผน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้ ดังนั้น กิจกรรมที่อาจทำได้ขณะที่พาลูกในครรภ์เที่ยวอาจมีดังนี้ เที่ยวพิพิธภัณฑ์หรือแกลลอรี่ สปา จองร้านอาหารบรรยากาศดี ๆ สำหรับมื้อค่ำ เที่ยวชมเส้นทางศึกษาธรรมชาติ เที่ยวทะเล นอกจากการเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัดเพื่อพักผ่อนแล้ว ยังมีการเที่ยวอีกรูปแบบหนึ่งที่ชื่อว่า Staycation ซึ่งเป็นรูปแบบการเที่ยวที่อาจเที่ยวในพื้นที่ใกล้ ๆ บ้าน เช่าโรงแรมใกล้บ้าน เพื่อทำให้รู้สึกเหมือนไปเที่ยว แต่ไม่ต้องเดินทางออกต่างจังหวัด การเที่ยวแบบนี้อาจช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึกผ่อนคลายได้เช่นกัน สิ่งสำคัญ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน