กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

การออกกำลังกายนั้นมีหลากหลายรูปแบบ หากคุณอยากอัพเดตข้อมูลเกี่ยวกับการออกกำลังกาย และกำลังมองหาวิธีออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตัวเองอยู่ หมวดหมู่ กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น ของเราช่วยคุณได้!

เรื่องเด่นประจำหมวด

กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

ท่าออกกำลังกาย บรรเทาอาการปวดหลังช่วงล่าง แบบใดช่วยได้บ้างนะ

อาการปวดหลังส่วนล่าง (Lower back pain) เป็นอาการปวดหลังที่เกิดจากการบาดเจ็บ เคล็ดขัดยอกของกล้ามเนื้อ หรืออาจจะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวที่ผิดท่าทาง การเปลี่ยนท่านอนช่วยให้อาการปวดหลังล่างดีขึ้นได้ นอกจากนี้ การออกกำลังกาย บรรเทาอาการปวดหลังล่าง และช่วยป้องกันอาการปวดหลังช่วงล่างได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มี ท่าออกกำลังกาย บรรเทาอาการปวดหลังช่วงล่าง มาให้ได้ลองทำตามกันค่ะ อาการปวดหลังช่วงล่าง คืออะไร อาการปวดหลังล่าง (Lower back pain) คืออาการปวดที่บริเวณเอว สะโพก โดยจะมีอาการปวดหลังล่างเมื่อมีการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เคลื่อนไหวหรือยืนตัวตรงได้ยาก อาการปวดหลังล่างเกิดขึ้นจากการบาดเจ็บ กล้ามเนื้ออักเสบ เคล็ดขัดยอก ซึ่งอาการปวดหลังล่างสามารถบรรเทาได้ด้วยการ เปลี่ยนท่านอนหรือการออกกำลังกาย อาการปวดหลังช่วงล่าง เกิดจากอะไรได้บ้าง เคล็ดขัดยอก กล้ามเนื้อและเอ็นด้านหลังสามารถยืดหรือเกิดอาการฉีกขาดได้หากทำกิจกรรมมากไป ทำให้เกิดอาการปวด ตึงบริเวณหลังส่วนล่าง รวมถึงทำให้กล้ามเนื้อกระตุกได้ การพักผ่อนหรือการทำกายภาพบำบัดสามารถลดอาการเหล่านี้ได้ หมอนรองกระดูกบาดเจ็บ เมื่อหมอนรองกระดูกได้รับบาดเจ็บ หมอนรองกระดูกเคลื่อน จนกระดูกอ่อนรอบ ๆ ไปกดทับไขสันหรือรากประสาทถูกกด ถึงสาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังช่วงล่างได้ ปวดร้าวจากสะโพกร้าวลงขา อาการปวดร้าวจากสะโพกนั้น อาจเกิดจากหมอนรองกระดูกเคลื่อนจนไปกดทับเส้นประสาทที่เชื่อมระหว่างกระดูกสันหลังกับขา ส่งผลทำให้เกิดอาการปวดสะโพก เกิดการบาดเจ็บ เมื่อได้รับบาดเจ็บ ไม่ว่าจะหกล้ม อาการบาดเจ็บจากกีฬา หรือได้รับอุบัติเหตุทางรถยนต์ จนทำให้กระดูกสันหลังเสียหาย กระดูกสันหลังหัก หมอนรองกระดูกแตก จะทำให้เกิดอาการปวดหลังจากการได้รับบาดเจ็บในทันที […]

สำรวจ กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

ผิวหนังย้วย หย่อนยานหลังน้ำหนักลด ปัญหานี้จัดการยังไงดีนะ

การลดน้ำหนักตัวได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่ใครหลายคนวาดหวัง แต่หลายครั้งความสำเร็จในการลดน้ำหนักนี้ก็มาพร้อมกับปัญหาผิวหนังที่เชื่อว่าคงไม่มีใครปรารถนา นั่นก็คือ ปัญหา ผิวหนังย้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เคยมีน้ำหนักตัวมากมาเป็นเวลานาน เมื่อน้ำหนักตัวลดลง ผิวหนังกลับย้วย เหี่ยวย้อย หย่อนยาน ไม่เฟิร์มกระชับอย่างที่ควรเป็น ทำเอาใครหลายคนหมดความมั่นใจไปเลยก็มี ใครที่กำลังคิดจะลดน้ำหนักแล้วไม่อยากให้ผิวหนังย้วย หรือใครที่กำลังประสบกับปัญหานี้ก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะปัญหาผิวหนังย้วยจากน้ำหนักลดนี้ป้องกันและแก้ไขได้ [embed-health-tool-bmr] ทำไมน้ำหนักลดแล้วผิวหนังถึงย้วย ผิวหนังของคนเรามีคอลลาเจนและอีลาสตินเป็นส่วนประกอบหลัก ช่วยให้ผิวหนังมีคุณสมบัติคล้ายกับหนังยาง คือยืดหยุ่นได้ดี สามารถกลับคืนสู่รูปทรงเดิมได้ โดยผิวหนังของแต่ละคนจะยืดหยุ่นได้มากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น อายุ กรรมพันธุ์ สารอาหาร ปริมาณน้ำที่บริโภค ปริมาณแสงแดดที่ได้รับ การสูบบุหรี่ และอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่มองข้ามไม่ได้เลยก็คือ น้ำหนักตัว ยิ่งปล่อยให้น้ำหนักตัวมากขึ้นเรื่อยๆ หรืออ้วนมากมานาน ผิวหนังก็จะยิ่งยืดขยายออก และสูญเสียความยืดหยุ่นไปเรื่อยๆ พอน้ำหนักลดลง ผิวหนังจึงยืดย้วย หย่อนยาน และกลับไปกระชับเข้ารูปได้ยาก โดยปัญหานี้เกิดขึ้นบ่อยกับคนที่เคยอ้วนมาก และน้ำหนักลดลงเยอะภายในระยะเวลาอันสั้น ผิวหนังย้วยหลังลดน้ำหนัก สามารถเกิดขึ้นได้กับผิวหนังทั่วร่างกาย แต่พบบ่อยกับผิวหนังบริเวณหน้าท้อง และแผ่นหลัง ไม่เพียงแต่จะทำให้ขาดความมั่นใจ แต่ยังทำให้เกิดปัญหาผิวหนังอื่นๆ เช่น ผื่นผิวหนัง การติดเชื้อราบริเวณรอบพับผิวหนัง รวมไปถึงอาการปวดหลังได้อีกด้วย อยากน้ำหนักลดแบบไม่ย้วย ป้องกันได้ยังไงบ้าง ยิ่งคุณลดน้ำหนักได้เร็วเท่าไหร่ โอกาสเกิดผิวหนังย้วยก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น การออกกำลังกายแบบค่อยเป็นค่อยไป ให้น้ำหนักลดลงสัปดาห์ละ 0.5-1 กิโลกรัม จึงถือเป็นอัตราที่เหมาะสมที่สุดในการลดน้ำหนักแบบสุขภาพดี […]


กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

ความเสี่ยงสุขภาพจากการ ลดน้ำหนักเร่งด่วน

ลดน้ำหนักเร่งด่วน มักจะต้องใช้ความพยายามมากกว่าปกติ ทั้งในการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย ซึ่งคนส่วนใหญ่จะใช้วิธีลดน้ำหนักที่ไม่ค่อยดีต่อสุขภาพ และเป็นวิธีการที่ไม่สามารถทำได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ การลดน้ำหนักอย่างเร่งด่วน อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด ควรลดน้ำหนักเร็วที่สุดกี่กิโลกรัมต่อสัปดาห์ โดยปกติแล้ว ควรลดน้ำหนัก 1-2 ปอนด์ต่อสัปดาห์ ถึงแม้ว่าจะดูเหมือนว่าลดน้ำหนักได้น้อย แต่ก็เป็นวิธีที่ทำได้ในระยะยาว ซึ่งการลดน้ำหนักไขมัน 1 ปอนด์ (0.45 กิโลกรัม) จะเท่ากับ 3,500 แคลอรี่ ดังนั้นการลดน้ำหนัก 0.45 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ จะต้องเผาผลาญพลังงาน 500 แคลอรี่ให้มากกว่าปริมาณแคลอรี่ที่ได้รับต่อวัน (500 แคลอรี่ X 7 วัน = 3,500 แคลอรี่) นอกจากนี้สำหรับการลดน้ำหนักเร่งด่วน น้ำหนักที่หายไปอาจไม่ใช่ไขมัน แต่เป็นน้ำหนักของน้ำและกล้ามเนื้อ เนื่องจากเป็นเรื่องยากที่จะสามารถเผาผลาญไขมันปริมาณมากในช่วงเวลาสั้นๆ อย่างไรก็ตาม ในบางสถานการณ์ การลดน้ำหนักเร่งด่วนอาจปลอดภัย ถ้าลดน้ำหนักอย่างถูกวิธี ตัวอย่างเช่น ผู้ที่คุณหมอสั่งให้กินอาหารแคลอรี่ต่ำเพื่อลดน้ำหนัก เนื่องจากความอ้วนเป็นเหตุให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง ดังนั้น การลดน้ำหนักอย่างเร่งด่วนอาจปลอดภัยถ้าอยู่ในการดูแลของแพทย์ ผลกระทบจากการ ลดน้ำหนักเร่งด่วน 1. ขาดสารอาหารที่จำเป็น แผนการลดน้ำหนักเร่งด่วน ส่วนใหญ่จะลดปริมาณการกินอาหาร ซึ่งอาจทำให้ขาดสารอาหาร รวมถึงวิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็น ที่ร่างกายต้องการเพื่อให้มีสุขภาพดี เช่น ขาดแคลเซียม วิตามินดี […]


กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

ปวดก้นกบ จนนั่งไม่ได้ ออกกำลังกายแบบโยคะช่วยคุณได้นะ

หากก้นกบได้รับความกระทบกระเทือนไม่ว่าทางใด สามารถนำไปสู่อาการปวดกระดูกก้นกบได้ ซึ่งสามารถเรียกได้อีกอย่างว่าโรค ปวดก้นกบ (Coccydynia) ก้นกบคือแนวกระดูกรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็กที่ประกอบด้วยกระดูก 4 ชิ้น อยู่บริเวณปลายสุดของแนวกระดูกสันหลัง ปกติแล้วอาการปวดกระดูกก้นกบ จะเกิดขึ้นบริเวณกระดูกใต้กระเบนเหน็บ (Sacrum) และฝีเย็บ อาการ ปวดก้นกบ เกิดขึ้นได้อย่างไร อาการ ปวดก้นกบ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง การหกล้มและกระแทกกระดูกก้นกบ คือสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการปวดกระดูกก้นกบตามมา ส่วนสาเหตุอื่นนั้นก็เป็นไปได้จากก้นกบผิดรูป กล้ามเนื้อเคล็ด ก้นกบเคลื่อน หินปูนเกาะกระดูกบริเวณก้นกบ ซึ่งเป็นผลให้เกิดโรคปวดก้นกบชนิดเรื้อรัง อาการปวดกระดูกก้นกบสามารถรักษาได้ แต่การออกกำลังกายอุ้งเชิงกรานทุกวัน ร่วมกับการยืดกล้ามเนื้อ สามารถแก้ปัญหาได้จากต้นเหตุได้ดีกว่า วิธีออกกำลังกายเพื่อบรรเทาอาการปวดก้นกบ ออกกำลังกายด้วยการทำมูลพันธะ (Mula Bandha Exercise) มูลพันธะ เป็นส่วนหนึ่งของโยคะ หมายถึง การล็อค หรือการปิดพื้นที่บางจุดเพื่อล็อคพลังงานที่ไหลอยู่ในร่างกาย ในที่นี้คือการปิดกั้นพลังงานให้อยู่ภายในบริเวณอุ้งเชิงกรานส่วนล่างระหว่างทวารหนักและอวัยวะเพศ การเกร็งกล้ามเนื้อในจุดนี้จะหยุดการไหลเวียนของระบบปัสสาวะ หรือการเคลื่อนไหวของลำไส้ วิธีการทำคือเก็บหน้าท้องพร้อมขมิบก้นค้างไว้ 10 วินาที และทำซ้ำๆ 3 ถึง 4 ครั้ง การออกกำลังกายด้วยวิธีนี้จะช่วยกระตุ้นเส้นประสาทในกระดูกใต้กระเบนเหน็บและก้นกบ ทำให้พื้นที่บริเวณอุ้งเชิงกรานมีความแข็งแรงมากขึ้น และสามารถบรรเทาความเจ็บปวดได้ด้วย โยคะท่าแมวและท่าวัว (Cat/Cow Stretch) ประโยชน์ของการออกกำลังกายท่านี้คือการได้ยืดกล้ามเนื้อหลังและต้นคอ ช่วยในเรื่องระบบการไหลเวียนเลือด กระตุ้นเส้นประสาทในไขสันหลัง และลดอาการปวดหลังและต้นคอ วิธีการทําคือคุกเข่าลงกับพื้น วางหัวเข่าให้ห่างกันเท่ากับช่วงไหล่ และหัวเข่าต้องอยู่ในตำแหน่งตรงใต้สะโพก ตั้งท่าให้แผ่นหลังขนานกับเพดาน ท่านี้จะเรียกว่าท่าแมว […]


กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

โยคะรักษาเบาหวาน ศาสตร์โบราณสู่การปฏิบัติที่เห็นผลจริง

โรคเบาหวาน เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถผลิตหรือนำอินซูลิน (Insulin) ไปใช้ได้อย่างเหมาะสม ทำให้เกิดภาวะปริมาณกลูโคส (Glucose) ในเลือดสูง อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถจัดการกับภาวะนี้ได้ด้วยการใช้ยา รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ นอกจากนี้ คุณอาจยังไม่เคยรู้ว่าการฝึกโยคะเป็นประจำก็ช่วยเสริมสร้างสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดีขึ้นได้ แต่ โยคะรักษาเบาหวาน ได้อย่างไร Hello คุณหมอ มีคำตอบมาฝากที่บทความนี้ โยคะรักษาเบาหวาน ได้อย่างไร การฝึกโยคะเป็นประจำช่วยลดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด และลดความดันโลหิตด้วย อีกทั้งยังช่วยควบคุมน้ำหนัก ที่สำคัญ การฝึกโยคะสามารถบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกิดจาก โรคเบาหวาน ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายในหลายระบบ ไม่ว่าจะเป็นทั้ง ฟันและเหงือก ตา ไต หัวใจ สมอง และหลอดเลือดแดง นอกจากนี้ โยคะยังสามารถช่วยชะลอความรุนแรงของโรค และลดการเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้แก่ ต้อกระจกก่อนวัย จอประสาทตาเสื่อม อาการชาปลายมือปลายเท้า ภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง ภูมิต้านทานต่ำ ผนังหลอดเลือดแดงแข็ง ความดันโลหิตสูง อัมพาต หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมองตีบ และความเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ได้อีกด้วย โยคะกับความเครียด โรคเบาหวาน รุนแรงขึ้นได้จากความเครียด เช่นเดียวกับโรคอื่น ๆ ความวิตกกังวลเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนกลูคากอน (Glucagon) […]


กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

รู้ลึกเกี่ยวกับ ประเภทของโยคะ ที่อาจตรงใจคุณ

หากคุณเพิ่งลองฝึกโยคะเป็นครั้งแรกหรืออย่างน้อยก็ครั้งที่สอง คุณอาจยังไม่ทราบว่า ประเภทของโยคะ มีอะไรบ้าง และประเภทใดเหมาะสมกับคุณมากที่สุด บทความนี้จะช่วยแนะนำคุณในการตัดสินใจว่าโยคะประเภทใดเหมาะสมกับคุณและตรงกับความต้องการของคุณมากที่สุด ประเภทของโยคะ มีอะไรบ้าง โดยทั่วไป โยคะที่สามารถพบได้ทั่วไปในโยคะสตูโอต่างๆ มีทั้งสิ้น 8 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ หัตถาโยคะ โยคะที่พบได้ทั่วไปในทุกวันนี้ก็คือ หัตถาโยคะ ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การฝึกจัดระเบียบร่างกายและเทคนิคการหายใจ หากคุณเคยได้ยินเกี่ยวกับ อัษฏางค์โยคะ วินยาสะโยคะ ไอเยนคาร์โยคะ และพาวเวอร์โยคะ ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้มักจะถูกจัดอยู่ในประเภทเดียวกันกับ หัตถาโยคะ เพียงแต่จังหวะการเคลื่อนไหวของหัตถาโยคะจะช้ากว่า หัตถาโยคะนั้นเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นฝึกโยคะ การฝึกหัตถาโยคะจะทำให้คุณได้รู้จักกับท่าโยคะพื้นฐาน และช่วยให้คุณจำแนกชื่อของท่าต่างๆ ได้ เนื่องจากจังหวะของการฝึกหัตถาโยคะดำเนินไปอย่างช้าๆ จะทำให้คุณสามารถมีสมาธิกับท่าโยคะแต่ละท่าได้ดีกว่า วินยาสะโยคะ โยคะชนิดนี้ การเคลื่อนไหวจะลื่นไหลอย่างรวดเร็วและสอดประสานกันระหว่างการเคลื่อนไหวร่างกาย ท่าโยคะ และการหายใจ วินยาสะโยคะโดยทั่วไปจะมีจังหวะที่เร็ว และไม่มีรูปแบบที่เป็นทางการ เรียกอีกอย่างว่า ฟรีสไตล์ โดยทั่วไป ในแต่ละครั้งของการฝึก ครูผู้สอนโยคะนั้นจะฝึกสอนโยคะประเภทนี้เพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น การฝึกวันนี้จะมุ่งเน้นไปที่ความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อแขน ส่วนในการฝึกครั้งหน้าจะมุ่งเน้นไปที่การโค้งหลัง หรือในการฝึกหนึ่งครั้งอาจจะสอนท่าโยคะหลายท่าที่มีประโยชน์ต่อทุกส่วนของร่างกายก็ได้เช่นกัน วินยาสะโยคะนั้นเหมาะสมที่สุดสำหรับคนที่คล่องแคล่วว่องไวและไม่ชอบอะไรที่จำเจ ในทุกครั้งของการฝึกวินยาสะโยคะนั้นคุณจะรู้สึกประหลาดใจในความหลากหลายของท่าโยคะที่ใช้เพื่อการฝึกฝน ด้วยลักษณะเฉพาะของการเคลื่อนไหวที่คล่องแคล่วและความสอดคล้องกันระหว่างท่าโยคะและการหายใจ อัษฎางค์โยคะ ชีวมุกติโยคะ แบบทีส และพาวเวอร์โยคะ ที่มีลักษณะการเคลื่อนไหวคล้ายกันจึงจัดรวมในหมวดหมู่เดียวกันกับ วินยาสะโยคะ อัษฎางค์โยคะ เมื่อเปรียบเทียบกับหัตถาโยคะ อัษฎางค์โยคะนั้นเป็นโยคะประเภทที่มีพลัง เข้มข้น จนทำให้คุณมีรู้สึกราวกับเป็นนักกีฬา โดยในการฝึกแบบอัษฎางค์โยคะนั้นมีท่าบังคับที่รวมเรียกกว่า ชุดท่าโยคะอัษฎางค์ มี […]


กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

งานวิจัยชี้ชัด! อยาก อายุยืน ต้องออกกำลังกาย เพราะอะไรมาดูกัน!

การออกกำลังกาย ทำให้สุขภาพดี เป็นสิ่งที่หลายคนรู้กันดีอยู่แล้ว นอกจากนี้การออกกำลังกายยังอาจทำให้คุณมี อายุยืน ด้วย บทความนี้ Hello คุณหมอ ขอนำข้อมูลที่น่าสนใจในเรื่องของ สาเหตุที่ทำให้อายุยืน พร้อมวิธีเริ่มต้นออกกำลังกาย ที่คุณเองก็สามารถทำได้ตั้งแต่วันนี้เลยมาฝากกัน อยาก อายุยืน ต้องออกกำลังกาย เพราะอะไร ออกกำลังกายเบาๆ ก็อาจทำให้อายุยืนได้ งานวิจัยที่เผยแพร่ใน the British Journal of Sports Medicine ให้ข้อมูลว่า แม้แต่การออกกำลังกายเป็นประจำ ในระดับที่ทำได้ง่าย เช่น การเดินเร็ว การเต้น หรือการทำสวน ก็สามารถลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้ เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างชาวอเมริกันผู้ที่ออกกำลังกาย ในระดับปานกลางทุกสัปดาห์ เป็นเวลา 10-59 นาที ผลการวิจัยพบว่ามีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตน้อยลง 18% เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคต่างๆ ผู้ที่ออกกำลังกายที่ระดับความเข้มข้นปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ สามารถลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตทั้งหมดได้ 31% นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ชี้ว่า การออกกำลังกายยังช่วยลดความเสี่ยง ต่อการเสียชีวิตจากโรคบางโรค เช่น โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ รายงานจากสถาบันหัวใจ ปอด และเลือดแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา ให้ข้อมูลว่า การทำงานบ้านและทำสวน อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจของผู้หญิง วัยสูงอายุ เนื่องจากแม้ว่าจะเป็นการออกกำลังกายเบาๆ […]


กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

วิ่งทุกวัน เพิ่มความเสี่ยงสุขภาพหรือเปล่า

สำหรับมือใหม่หัดวิ่ง หรือคนที่ชอบการวิ่งเป็นชีวิตจิตใจ อาจสงสัยว่าคุณสามารถ วิ่งทุกวัน ได้หรือไม่ ซึ่งการวิ่งทุกวันมีประโยชน์ต่อสุขภาพ รวมถึงมีข้อควรระวังดังนี้ ประโยชน์ของการวิ่งทุกวัน งานวิจัยแสดงให้เห็นประโยชน์ของการวิ่งทุกวัน เป็นเวลา 5-10 นาที ในระดับปานกลาง (ประมาณ 6.0 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในแต่ละวันอาจทำให้ได้รับประโยชน์สุขภาพดังนี้ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วย โรคหัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดสมอง ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ช่วยลดความเสี่ยงของการพัฒนาโรคมะเร็ง ช่วยลดความเสี่ยงของการพัฒนาโรคทางระบบประสาท เช่น โรคอัลไซเมอร์ และโรคพาร์กินสัน นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยของทีมวิจัยชาวดัตช์ ที่แนะนำว่า การวิ่ง 2.5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือ 30 นาทีต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ ถือว่าดีต่อสุขภาพเช่นกัน มากไปกว่านั้นการวิ่งยังมีส่วนช่วยในการนอนหลับ และทำให้อารมณ์ดีขึ้น เนื่องจากทีมวิจัยได้ศึกษากลุ่มวัยรุ่นที่มีสุขภาพดี ซึ่งเป็นผู้ที่วิ่งเป็นเวลา 30 นาทีทุกๆ เช้า ในความเข้มข้นระดับปานกลาง เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการนอนหลับ อารมณ์ และความสามารถด้านสมาธิดีขึ้น ในช่วงที่ทำการทดสอบ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้วิ่ง ดังนั้นการวิ่งทุกวันแม้จะใช้เวลาเพียง 5-10 นาทีต่อวัน ก็ถือว่ามีประโยชน์ต่อร่างกาย อย่างไรก็ตาม อาจมีข้อควรระวังดังนี้ วิ่งทุกวันจะเป็นอะไรหรือเปล่า วิ่งทุกวันอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ ซึ่งอาจเกิดจากการออกกำลังกายมากเกินไป เร็วเกินไป และไม่ให้เวลาร่างกายได้ปรับตัว […]


กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

วิธีสร้าง กล้ามเนื้อหน้าท้องผู้หญิง ให้สวยเฟิร์มน่ามอง

สาวๆ แต่ละคนก็มีจุดประสงค์ในการออกกำลังกายแตกต่างกันออกไป บางคนออกกำลังกายเพื่อความแข็งแรงของร่างกาย บางคนออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก บางคนออกกำลังกายเพื่อปั้นหุ่นสวยๆ การสร้างกล้ามเนื้อท้อง ก็เป็นหนึ่งในเทรนด์ฮิตสำหรับผู้หญิงสมัยนี้ นอกจากจะได้ความแข็งแรงแล้ว ยังได้หุ่นเฟิร์มน่ามองอีกด้วย เทรนด์การสร้าง กล้ามเนื้อหน้าท้องผู้หญิง กำลังได้รับความนิยมในกลุ่มคนรักสุขภาพไม่น้อยเลยทีเดียว Hello คุณหมอ มีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับ การสร้างกล้ามเนื้อหน้าท้องผู้หญิงอย่างไรให้ได้ผล กล้ามเนื้อท้องส่วนต่างๆ Transversus Abdominis – กล้ามเนื้อชั้นลึกที่สุด บทบาทหลักคือรักษาเสถียรภาพของลำตัวและรักษาความดันภายในช่องท้อง Rectus Abdominis – เป็นกล้ามเนื้อที่เรียงตัวอยู่ด้านหน้าท้องหรือที่เรียกว่า ‘ซิกแพค’ นั่นเองหน้าที่หลักคือการสร้างความเสถียรในการเคลื่อนไหว External Oblique muscles – กล้ามเนื้อเหล่านี้อยู่เหล่านี้อยู่ในแต่ละด้านของ Rectus Abdominis เป็นกล้ามเนื้อด้านนอกสุด อยู่ข้างๆ ลำตัว ใช้ในการหมุนไปมา เมื่อร่างกายมีการหันไปทางซ้าย Internal Oblique muscles – เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่รองจาก External Abdominal oblique ทำหน้าที่เหมือนๆ กันกับ External Abdominal oblique วิธีการสร้าง กล้ามเนื้อหน้าท้องผู้หญิง กินโปรตีนให้เพียงพอ โปรตีนจะช่วยให้ให้คุณสร้างกล้ามเนื้อ ในขณะเดียวกันก็ช่วยเผาผลาญไขมันด้วย จากสารอาหารทั้งหมด (โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน) […]


กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

ผู้ป่วยมะเร็งตับ กับออกกำลังกายที่เหมาะสม

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) มะเร็งตับเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่สำคัญประการหนึ่งของโลก สิ่งนี้ไม่ได้หมายความว่า คุณไม่สามารถมีชีวิตรอดจากมะเร็งตับได้ มีหลายวิธีสำหรับคุณที่จะจัดการผลจากมะเร็งตับโดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการใช้ชีวิต การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวประการหนึ่งก็คือ การออกกำลังกายเป็นประจำ ก่อนเริ่มต้นออกกำลังกายประเภทใดๆ ต่อไปนี้เป็นบางสิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับ ผู้ป่วยมะเร็งตับ กับการออกกำลังกาย ประโยชน์ของการออกกำลังกายต่อสุขภาพตับ การออกกำลังกายเป็นประจำ สามารถช่วยป้องกันไม่ให้โรคตับมีอาการแย่ลงได้ ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำมีการรายงานว่า มีสุขภาพดีขึ้น ร่างกายแข็งแรงขึ้น และสุขภาพจิตดีขึ้น นอกจากนี้ งานวิจัยยังเผยว่าผู้ที่ออกกำลังกายยังมักตอบสนองต่อการรักษาได้ดีขึ้น และใช้เวลาในการรักษาตัวน้อยลง เมื่อคุณเป็นมะเร็งตับ ข้อดีของการออกกำลังกายมีดังนี้ การออกกำลังกายทำให้คุณรู้สึกถึงสุขภาพที่ดี และภาพลักษณ์ของตัวเองที่ดีขึ้น ซึ่งสามารถทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นในทางจิตใจ สุขภาพจิตที่ดีสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งมีผลดีในการต้านมะเร็งตับ การออกกำลังกายเป็นการกระตุ้นพลังงาน ผู้ป่วยมะเร็งตับส่วนใหญ่มีอาการอ่อนเพลีย ซึ่งพบได้มากที่สุด และส่งผลมากต่อผู้ป่วยมากที่สุด นอกเหนือจากอาการปวด อาการอ่อนเพลียอาจเป็นผลจากกระแสเลือดที่ไหวเวียนไม่ดี การออกกำลังกายจะทำให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น และมีพลังงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การออกกำลังกายยังสามารถลดปริมาณไขมันในร่างกายได้อีกด้วย ดังนั้น จึงช่วยลดไขมันในตับ และสามารถลดแรงกดทับที่ตับลงได้ การออกกำลังกายที่เน้นการเกร็งและคลายกล้ามเนื้อในส่วนกลางลำตัว สามารถช่วยให้ร่างกายของคุณได้ออกกำลังกาย ซึ่งรวมถึงตับด้วย การออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มกระแสเลือดที่ไหลไปยังตับ ซึ่งสามารถป้องกันตับจากการสูญเสียเนื้อเยื่อได้ (atrophy) การออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยมะเร็งตับ การออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งตับ มีความแตกต่างจากการออกกำลังกายสำหรับผู้ที่มีสุขภาพดี โดยปัจจัยสี่ประการเกี่ยวกับการออกกำลังกายที่จำเป็นต้องมี เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งตับ ได้แก่ การออกกำลังกายที่ทำได้ง่าย การออกกำลังกายที่เรียนรู้ได้ง่าย ไม่ต้องใช้ความพยายามมากจนเกินไป สามารถออกกำลังกายได้โดยการนอนและนั่ง โดยมีความเป็นส่วนตัวที่บ้าน นักวิจัยส่วนใหญ่แนะนำว่า การผสมผสานการออกกำลังกายแบบแอโรบิกและการออกกำลังกายโดยการใช้น้ำหนัก ไม่ว่าจะเป็นการยกน้ำหนัก หรือการใช้ท่าออกกำลังกายที่ใช้น้ำหนักตัวเป็นแรงต้าน เป็นสิ่งจำเป็นเมื่อเป็นมะเร็งตับ การออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่เน้นระบบหัวใจและหลอดเลือด สามารถเพิ่มระดับออกซิเจนในกระแสเลือด การออกกำลังกายแบบแอโรบิกยังสามารถทำได้ง่ายสำหรับผู้ป่วยมะเร็งตับ เนื่องจากเป็นการเคลื่อนไหวกลุ่มกล้ามเนื้อขนาดใหญ่แบบซ้ำๆ ที่เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ […]


กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

ปั่นจักรยาน ปั่นอย่างไร ให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพสูงสุด

นอกจากการวิ่ง เดิน และว่ายน้ำ จะเป็นการออกกำลังกายยอดฮิต ปั่นจักรยาน ก็ถือเป็นการออกกำลังกายที่น่าสนใจ เพราะคุณสามารถปั่นจักรยานไปในสถานที่ต่างๆ หรือจะปั่นจักรยานอยู่กับที่อยู่กับบ้านหรือในยิมก็ได้ มาดูกันว่าการปั่นจักรยานมีข้อดียังไง และจะปั่นจักรยานยังไงให้ได้ประโยชน์สูงสุด ออกกำลังกายด้วยการ ปั่นจักรยาน การปั่นจักรยานเป็นการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ โดยสามารถเผาผลาญพลังงานประมาณ 400 แคลอรี่ต่อชั่วโมง นอกจากนี้ยังทำให้ร่างกายช่วงล่างอย่างขาและสะโพกแข็งแรงขึ้น มากไปกว่านั้นคุณสามารถปั่นจักรยานบนถนน หรือเส้นทางบนภูเขา รวมถึงปั่นจักรยานในร่มด้วยเครื่องปั่นจักรยาน ถ้าเพิ่งเริ่มต้นออกกำลังกายด้วยวิธีนี้ ควรเลือกปั่นจักรยานบนทางราบ และจากนั้นค่อยพัฒนาเป็นการปั่นจักรยานบนทางลาดชัน เช่น เส้นทางบนภูเขา ซึ่งการปั่นจักรยานบนเส้นทางบนภูเขานั้น จะส่งผลต่อร่างกายส่วนบนและกลางลำตัว ทำให้ได้ออกกำลังกายโดยรวมทั้งร่างกาย มากกว่าการปั่นจักรยานบนทางราบ ปั่นจักรยาน มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร ดีต่อสุขภาพข้อต่อ เมื่อคุณนั่งบนจักรยาน คุณจะทิ้งน้ำหนักลงบนกระดูกเชิงกราน ที่เรียกว่า ปุ่มกระดูกอิสเคี่ยม (ischial tuberosities) ซึ่งแตกต่างจากการเดินที่จะลงน้ำหนักไปที่ขา ดังนั้น การปั่นจักรยานจึงดีต่อผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อต่อ เช่น เจ็บข้อต่อ หรือข้อต่อแข็งเนื่องจากอายุที่มากขึ้น ปั่นจักรยานเป็นการออกกำลังกายแบบแรงกระแทกต่ำ ปั่นจักรยานเป็นการออกกำลังกายแบบแรงกระแทกต่ำ (Low-impact exercise) ดังนั้น จึงดีต่อข้อต่อมากกว่าการออกกำลังกายประเภทที่มีแรงกระแทกสูง เช่น การวิ่ง ปั่นจักรยานเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิค การปั่นจักรยานเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobic exercise) ซึ่งดีต่อหัวใจ สมอง และหลอดเลือด นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้เกิดการหลั่งสารเอนดอร์ฟิน (Endorphin) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้ร่างกายรู้สึกดีขึ้น สามารถช่วยสร้างกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายประเภทนี้ ทำให้ได้ใช้กล้ามเนื้อบริเวณต่างๆ ดังนี้ กล้ามเนื้อกลูเตียล หรือกล้ามเนื้อสะโพก […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน