การออกกำลังกาย

การออกกำลังกาย คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของเราให้แข็งแรง กระฉับกระเฉง และห่างไกลโรค เรียนรู้เทคนิคดี ๆ เกี่ยวกับการออกกำลังกาย ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

การออกกำลังกาย

เบิร์นไขมัน ลดความอ้วน ทำได้อย่างไร

ไขมันที่สะสมในร่างกายที่ทำให้น้ำหนักและรอบเอวเกินเกณฑ์ จนนำไปสู่ความอ้วน อาจเกิดจากการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและไขมันสูง รวมถึงขาดการออกกำลังกายหรือการเคลื่อนไหวที่ไม่เพียงพอช่วยในการเผาผลาญไขมัน ดังนั้น ควรศึกษาวิธี เบิร์นไขมัน ในร่างกาย เพื่อช่วยควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติและลดความเสี่ยงจากโรคแทรกซ้อน  [embed-health-tool-bmi] เบิร์นไขมัน คืออะไร การเบิร์นไขมัน คือ กระบวนการเผาผลาญไขมันเพื่อนำมาใช้เป็นพลังงานในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ช่วยลดไขมันที่สะสมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ที่สามารถทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เพิ่มการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน การออกกำลังกายเฉพาะส่วนที่ต้องการลดไขมัน  ทำไมจึงควรเบิร์นไขมัน  การเบิร์นไขมัน อาจช่วยลดไขมันส่วนเกินในร่างกายที่เกิดจากการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและไขมันมากเกินไป เพราะหลังจากร่างกายย่อยอาหารจะถูกเปลี่ยนเป็นกลูโคสซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลัก หากมีกลูโคสส่วนเกินร่างกายจะเปลี่ยนน้ำตาลเป็นไกลโคเจน (Glycogen) เก็บอยู่ในกล้ามเนื้อและตับ ส่งผลให้น้ำหนักเกินเกณฑ์ ดังนั้น การเบิร์นไขมันจึงช่วยเผาผลาญไขมัน ควบคุมน้ำหนัก และลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ โรคข้อเข่าเสื่อม การสะสมของไขมันในร่างกายอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น และส่งผลให้ข้อต่อบริเวณเข่าต้องรองรับน้ำหนักตัวมากเกินไป เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะข้อต่ออักเสบ ข้อเข่าเสื่อมเร็วและรู้สึกปวดเมื่อเคลื่อนไหว โรคหัวใจและหลอดเลือด เกิดจากไขมันสะสมในหลอดเลือดมากเกินไป จนอาจทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้ไม่เต็มที่ จึงนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ไขมันที่สะสมในร่างกายอาจทำให้ร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินในการจัดการกับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงและเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2  โรคมะเร็ง ไขมันที่สะสมในร่างกายอาจส่งผลให้เกิดภาวะดื้ออินซูลินและเพิ่มระดับอินซูลินสูง ที่กระตุ้นให้เซลล์ร่างกายเจริญเติบโตผิดปกติ เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งตับ […]

หมวดหมู่ การออกกำลังกาย เพิ่มเติม

คาร์ดิโอและความทนทาน

สำรวจ การออกกำลังกาย

กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

ช่วงเวลาการออกกำลังกาย ช่วงเวลาไหนของวันถึงจะดีที่สุด?

แต่ละคนมีเวลาออกกำลังกายไม่เหมือนกัน โดยบางคนสะดวกออกกำลังกายตอนเช้า หรือบางคนสะดวกที่จะออกกำลังกายช่วงเวลาหลังเลิกงาน หลายคนจึงอาจมีคำถามว่าแล้ว ช่วงเวลาการออกกำลังกาย เวลาไหนล่ะที่ดีที่สุด? ถ้าคุณออกกำลังกายตอนเช้า ถ้าคุณออกกำลังกายเป็นอย่างแรก ในเวลาเริ่มต้นของวัน นั่นหมายความว่าคุณจะเริ่มต้นวันใหม่ด้วยความรู้สึกดี เพราะร่างกายหลั่งเอนโดฟินหลังจากออกกำลังกาย และประโยชน์ของการออกกำลังกายในตอนเช้ามีดังนี้ อาจทำให้การตอบสนองต่ออาหารลดลง งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการ Medicine and Science in Sports and Exercise ได้ศึกษาการตอบสนองต่ออาหารหลังจากที่ผู้หญิงออกกำลังกายเป็นอย่างแรกในตอนเช้า ด้วยการเดินเร็ว 45 นาที  ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีปฏิกิริยาน้อยลงกับ ภาพอาหารที่ดูน่าอร่อย เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ออกกำลังกาย และยังพบอีกว่า ในวันที่กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ช่วงเวลาการออกกำลังกาย ในตอนเช้า พวกเขาเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้นตลอดทั้งวัน มากกว่าวันที่ไม่ได้ออกกำลังกายในตอนเช้า อาจส่งผลดีต่อการนอนหลับ มีงานวิจัยที่แนะนำว่า การออกกำลังกายในตอนกลางคืนอาจส่งผลต่อการนอนหลับของคุณ เนื่องจากการออกกำลังกายจะเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และอุณหภูมิร่างกาย รวมถึงมีงานวิจัยที่พบว่า สำหรับบางคน การออกกำลังกายตอน 7 โมงเช้าอาจช่วยให้นอนหลับอย่างมีคุณภาพมากกว่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ออกกำลังกายตอนบ่าย หรือตอนเย็น ดังนั้นการออกกำลังกายตอนเช้า อาจดีต่อการนอนหลับมากกว่า สามารถเผาผลาญไขมันได้มากขึ้น การออกกำลังกายตอนท้องว่างอาจสามารถเผาผลาญไขมันได้มากขึ้น เนื่องจากมีงานวิจัยที่พบว่าการออกกำลังกายตอนท้องว่าง อาจสามารถเผาผลาญไขมันได้ขึ้นถึง 20% ดังนั้นการออกกำลังกายในตอนเช้าอาจดีต่อการลดน้ำหนัก ถ้าคุณออกกำลังกายตอนบ่ายหรือเย็น ร่างกายจะมีศักยภาพสูงสุดในตอนบ่าย งานวิจัยพบว่า ร่างกายจะมีศักยภาพสูงสุดในตอนบ่าย เนื่องจากอุณหภูมิร่างกายจะเพิ่มขึ้นตลอดทั้งวัน และช่วงเวลาระหว่างบ่าย 2 ถึง 6 โมงเย็น […]


การทรงตัวและความยืดหยุ่น

ทำไมการ วอร์มอัพ และ คูลดาวน์ จึงสำคัญยิ่งสำหรับการออกกำลังกาย

วอร์มอัพ และ คูลดาวน์ ก่อนและหลังออกกำลังกายคืออะไร และสำคัญต่อการออกกำลังกายอย่างไร สำหรับใครที่ไม่เคยวอร์มอัพและคูลดาวน์มาก่อน ควรลองปฏิบัติ เพราะเพียงแค่วอร์มอัพและคูลดาวน์ไม่กี่นาที ก็ทำให้การออกกำลังกายมีประสิทธิภาพดีขึ้นแล้ว ทำไมวอร์มอัพกับคูลดาวน์จึงสำคัญ วอร์มอัพ (Warm-up) และคูลดาวน์ (Cool-down) สำคัญต่อการออกกำลังกาย เนื่องจากการวอร์มอัพหรือการอุ่นเครื่อง ซึ่งส่งผลต่อร่างกายดังนี้ ช่วยเตรียมร่างกายก่อนออกกำลังกาย ช่วยเพิ่มการหมุนเวียนของระบบหัวใจและหลอดเลือด ด้วยการเพิ่มอุณหภูมิในร่างกาย และเพิ่มการไหลเวียนเลือดในกล้ามเนื้อ ช่วยลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ และลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บ ส่วนการคูลดาวน์หลังออกกำลังกาย มีประโยชน์ต่อร่างกายดังนี้ ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิตค่อยๆ กลับมาสู่ระดับปกติ ช่วยให้เลือดไหลเวียนทั่วร่างกาย การหยุดออกกำลังกายทันทีโดยไม่คูลดาวน์ อาจทำให้เกิดอาการปวดหัว เนื่องจากอัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิตลดลงอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามยังไม่มีหลักฐานว่าการคูลดาวน์ช่วยลดการความแข็งของกล้ามเนื้อ และลดความเจ็บปวดหลังออกกำลังกาย วิธีวอร์มอัพก่อนออกกำลังกาย การวอร์มอัพเป็นการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนออกกำลังกาย ทำได้โดยการออกกำลังกายประเภทนั้น แต่ออกกำลังกายในระดับเบา อย่างช้าๆ และค่อยเพิ่มความเร็วและเพิ่มระดับความหนักขึ้น ตัวอย่างเช่น วอร์มอัพสำหรับการเดินเร็ว ให้คุณเดินอย่างช้าๆ เป็นเวลา 5-10 นาที ก่อนเดินเร็ว วอร์มอัพสำหรับการวิ่ง ให้คุณเดินเร็วเป็นเวลา 5-10 นาทีก่อนวิ่ง วอร์มอัพสำหรับการว่ายน้ำ เริ่มต้นด้วยการว่ายน้ำอย่างช้าก่อน และค่อยเพิ่มความเร็วขึ้น การวอร์มอัพจะทำให้เหงื่อออกเล็กน้อย แต่จะไม่ถึงขั้นทำให้คุณเหนื่อย วิธีคูลดาวน์หลังออกกำลังกาย คูลดาวน์จะคล้ายกับการวอร์มอัพ คือให้คุณใช้เวลาประมาณ 5 นาทีในการคูลดาวน์ โดยการออกกำลังกายแบบเดิมแต่ช้าลง และค่อยๆ ลดระดับความหนักของการออกกำลังกายลง เช่น คุณออกกำลังกายด้วยการเดินเร็ว ให้คุณคูลดาวน์ด้วยการเดินช้าประมาณ 5-10 นาที หรือสำหรับการวิ่ง ให้คูลดาวน์ด้วยการเดินเร็วประมาณ […]


การออกกำลังกาย

6 ประโยชน์สุขภาพ จากการ ออกกำลังกาย 30 นาที

สถาบัน American College of Sports Medicine แนะนำว่า ควรออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ ด้วยการออกกำลังกายที่ความหนักระดับปานกลาง ซึ่งสามารถแบ่งเป็นการ ออกกำลังกาย 30 นาที ต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ โดยประโยชน์ของการออกกำลังกายวันละ 30 นาที ที่ทาง Hello คุณหมอ ได้รวบรวมนำมาฝากกัน มีดังต่อไปนี้ 6 ประโยชน์สุขภาพจากการ ออกกำลังกาย 30 นาที 1. ออกกำลังกาย 30 นาที อาจลดน้ำหนักได้มากกว่า งานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ American Journal of Physiology ให้ข้อมูลว่า การออกกำลังกาย 30 นาทีต่อวัน ให้ผลลัพธ์ดีพอๆ กับการออกกำลังกาย 1 ชั่วโมง ในผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินที่ต้องการลดน้ำหนัก นักวิจัยพบว่า ผู้ชายที่มีน้ำหนักเกินออกกำลังกายเป็นเวลา 30 นาทีต่อวันนานกว่า 3 เดือน สามารถลดน้ำหนักได้ 8 ปอนด์โดยเฉลี่ย […]


กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

ออกกำลังกายผิดวิธี มีแต่จะบั่นทอนสุขภาพ

การออกกำลังกายเป็นสิ่งดี คนทุกเพศทุกวัยควรออกกำลังกายเพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง โดยต้องออกกำลังกายให้เหมาะสมกับตัวเอง การออกกำลังกายมีข้อดีหลากหลาย บางคนออกกำลังกายเพื่อปรับเปลี่ยนรูปร่าง บางคนออกกำลังกายเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรค เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคซึมเศร้า หลายคนที่ออกกำลังกายอาจแปลกใจว่าทำไมไม่ได้ผลลัพธ์อย่างที่ต้องการ หนำซ้ำยังบาดเจ็บเพราะออกกำลังกายอีกต่างหาก ที่เป็นเช่นนี้ อาจเพราะคุณกำลัง ออกกำลังกายผิดวิธี อยู่ก็เป็นได้ การออกกำลังกายแบบไหนที่เรียกว่าผิดวิธี ทาง Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลมาฝากกันในบทความนี้ ไม่วอร์มอัพ ไม่คูลดาวน์ ก่อนออกกำลังกายคุณควรวอร์มร่างกาย ยืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นเวลาอย่างน้อย 5-10 นาที ขึ้นอยู่กับชนิดและความเข้มข้นของการออกกำลังกาย ยิ่งออกกำลังกายแบบเข้มข้นมากก็ยิ่งต้องวอร์มร่างกายให้นานขึ้น การวอร์มอัพก่อนออกกำลังกายช่วยให้เส้นเลือดขยายตัว และลำเลียงออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น ช่วยให้กล้ามเนื้อมีอุณหภูมิสูงขึ้น จึงยืดหยุ่นได้ดีและทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมไปถึงช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจแบบค่อยเป็นค่อยไป ช่วยลดความเครียดขณะออกกำลังกาย และช่วยป้องกันการบาดเจ็บ นอกจากการวอร์มอัพก่อนออกกำลังกายแล้ว การคูลดาวน์หลังออกกำลังกายก็สำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากหลังออกกำลังกาย หัวใจคุณจะเต้นเร็วกว่าปกติ อุณหภูมิในร่างกายจะสูงขึ้น หลอดเลือดขยายตัว คุณจึงควรคูลดาวน์เพื่อให้อัตราการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิ และหลอดเลือดค่อยๆ กลับสู่สภาวะปกติ เพราะหากคุณหยุดออกกำลังกายทันที อาจทำให้หมดสติ เจ็บป่วย หรือบาดเจ็บได้ ออกกำลังกายหักโหมเกินไป การออกกำลังกายเป็นสิ่งดี หลายคนจึงโหมออกกำลังกายอย่างหนัก เพราะคิดว่ายิ่งออกกำลังกายร่างกายก็จะยิ่งแข็งแรง และได้ผลลัพธ์ที่คาดหวังเร็วขึ้น บางคนออกกำลังกายแต่ละครั้งนานเกินไป บางคนออกกำลังกายบ่อยเกินไป จนร่างกายกล้ามเนื้อไม่ได้พักผ่อนและซ่อมแซมตัวเอง โดยปรกติกล้ามเนื้อของคนเราต้องใช้เวลา 48 ชั่วโมงจึงจะฟื้นตัวเต็มที่ เมื่อคุณออกกำลังกายอย่างเหมาะสม […]


กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

ออกกำลังกายแล้วปวดหัว รับมือกับอาการนี้อย่างไรดี?

เคยไหมเมื่อ ออกกำลังกายแล้วปวดหัว สาเหตุที่ทำให้ปวดหัวหลังออกกำลังกายแบบนี้มีหลายสาเหตุ แต่บางครั้งอาจหมายถึงปัญหาสุขภาพบางอย่างก็เป็นได้ โดยเฉพาะถ้าคุณปวดหัวขณะออกกำลังกาย หรือหลังออกกำลังกายและมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย ได้แก่ อาเจียน มองเห็นภาพซ้อน หรืออาจจะถึงขั้นหมดสติ ทุกท่านจึงควรหมั่นสังเกตตัวเองและรีบไปปรึกษาแพทย์หากมีอาการดังกล่าว เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง วันนี้เราจะมาลองดูว่า สาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้ ออกกำลังกายแล้วปวดหัว ได้บ้าง [embed-health-tool-bmr] สาเหตุที่อาจทำให้เกิดอาการ ออกกำลังกายแล้วปวดหัว ภาวะขาดน้ำ ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) เกิดขึ้นเมื่อร่างกายสูญเสียน้ำ มากกว่าปริมาณที่ได้รับ ซึ่งการออกกำลังกายอาจทำให้ร่างกายเสียเหงื่อมาก ถ้าไม่ดื่มน้ำให้เพียงพอก่อนออกกำลังกาย อาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้ และอาการปวดหัว มักจะเป็นสัญญาณแรกของภาวะขาดน้ำ และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย ดังนี้ รู้สึกกระหายน้ำ รู้สึกวิงเวียน เหนื่อยล้า ปัสสาวะน้อยลง ผลิตน้ำตาน้อยลง ผิวแห้ง หรือปากแห้ง ท้องผูก เจอแสงแดดมากเกินไป ถ้าคุณออกกำลังกายกลางแจ้งและมีอาการปวดหัว อาจเกิดจากการเจอแสงแดดมากเกินไป ลองเปลี่ยนมาออกกำลังกายในที่ร่ม อาจทำให้อาการปวดหัวดีขึ้น นอกจากนี้ถ้าออกกำลังกายกลางแจ้ง แล้วรู้สึกว่าอากาศร้อนเกินไป หรือเริ่มหายใจถี่ ควรเข้าไปอยู่ในที่ร่มทันที ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) อาจเป็นสาเหตุของอาการปวดหัวหลังจากออกกำลังกาย เนื่องจากน้ำตาลในเลือดซึ่งหมายถึง กลูโคส เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย ถ้าคุณกินอาหารไม่เพียงพอก่อนออกกำลังกาย ร่างกายสามารถเผาผลาญกลูโคส จนนำไปสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งอาการปวดหัว เป็นหนึ่งในอาการที่พบบ่อยของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยดังนี้ ตัวสั่น รู้สึกหิวมาก […]


การฝึกความแข็งแรง

ท่าออกกำลังกาย ที่สามารถช่วยโรคข้อเข่าเสื่อมของคุณได้

เราทุกคนต่างทราบว่า การออกกำลังกายมีความสำคัญสำหรับสุขภาพทั่วไปของเรา แต่คนจำนวนไม่มากทราบว่า การออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญมากกว่า สำหรับผู้ที่เป็นข้อเสื่อม (osteoarthritis) ครั้งหนึ่ง ผู้ป่วยข้อเสื่อมเคยได้รับการแนะนำให้ไม่เคลื่อนไหวร่างกาย แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า การหมั่นเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ และข้อต่อที่ได้รับผลกระทบ เป็นหนทางในการต้านทานความเสียหายที่เกิดจากข้ออักเสบ (arthritis) และนี่คือรายละเอียดในเรื่อง ท่าออกกำลังกาย ที่สามารถช่วยโรคข้อเข่าเสื่อมของคุณได้ รู้จักข้อเข่าเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นรูปแบบที่พบมากที่สุดในโรคข้ออักเสบ เนื่องจากเข่านั้นมักจะได้รับการกระทบกระเทือนมากที่สุดนั่นเอง โดยปกติแล้วข้อต่อของทุกคน มักจะต้องเคยผ่านช่วงความเสียหายและการซ่อมแซมตามช่วงอายุทั้งนั้น แต่บางครั้งกระบวนการซ่อมแซมข้อต่อของร่างกาย อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของรูปร่าง และโครงสร้าง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับข้อต่อนั้น มักจะเป็นที่รู้จักในชื่อ “โรคข้อเข่าเสื่อม” นั่งเอง ท่าออกกำลังกาย บริหารหลอดเลือดหัวใจ ผู้ที่เป็นข้อเสื่อมที่หัวเข่าและสะโพก สามารถได้ประโยชน์จากการออกกำลังกายบริหารหลอดเลือดหัวใจ หรือการออกกำลังแบบคาร์ดิโอ เช่น การเดิน การว่ายน้ำ และการปั่นจักรยาน โดยทั่วไปแล้ว ให้ออกกำลังกายที่กระตุ้นการเต้นของหัวใจ แต่ห้ามออกกำลังกายหนักเกินไป การเดินเร็วมีประโยชน์ในการรักษาการเคลื่อนไหว และจัดการอาการปวด การว่ายน้ำเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี แต่ควรระวังน้ำที่เย็นเกินไป เนื่องจากน้ำเย็นอาจทำให้ข้อต่อที่อักเสบเสียหายได้ นอกจากนี้ ให้ระลึกไว้ว่า การว่ายน้ำถึงแม้ว่าจะมีประโยชน์ แต่ไม่ช่วยชะลอการสูญเสียมวลกระดูกได้ เช่นเดียวกับการออกกำลังกายแบบลงน้ำหนัก ดังนั้น ถ้าอาการของคุณไม่แย่จนเกินไป คุณควรลองออกกำลังกายแบบลงน้ำหนัก เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด ท่าออกกำลังกายที่เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เป็นสิ่งที่น่าประหลาดใจมาก ที่การยกน้ำหนักแสดงให้เห็นว่า ช่วยให้ข้ออักเสบมีอาการดีขึ้น โดยการทำให้กล้ามเนื้อซึ่งทำหน้าที่รองรับข้อต่อ มีความแข็งแรงขึ้น การออกกำลังกายที่ทำให้กล้ามเนื้อข้อต่อแข็งแรง […]


กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

ท่าโยคะแก้ปวดหลัง แบบง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำได้

หากคุณมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหว เช่น นั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน คุณก็มีโอกาสที่จะเกิดอาการปวดหลังส่วนล่างได้ในบางช่วงของชีวิต พูดกันตามสถิติแล้ว อาการปวดหลังส่วนล่างเป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นทั่วไป และทำให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โชคดีที่โยคะสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ และนี่คือ ท่าโยคะแก้ปวดหลัง แบบง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำได้ 5 ท่าโยคะแก้ปวดหลัง ที่คุณทำเองได้ง่ายนิดเดียว ท่าแมวและวัว ท่าแมวและวัว (Cat-Cow) เป็นท่าโยคะพื้นฐาน ที่เหมาะกับผู้ที่มีเวลาไม่มาก ท่านี้ช่วยยืดกระดูกสันหลังทั้งสองด้าน และเตรียมคุณในการทำท่าต่อไป วิธีการคือ เริ่มในท่าคลานสี่ขา ให้หลังตรงขนานกับพื้น ไหล่อยู่ตรงกับข้อมือ สะโพกตรงกับเข่า และกางนิ้วมือทุกนิ้วออก หายใจเข้า และเงยหน้าขึ้นและแอ่นตัวให้หน้าท้องชี้ลงไปหาพื้น ท่านี้เรียกว่าท่าวัว จากนั้น หายใจออก และดึงหน้าท้องขึ้น โก่งกระดูกสันหลังให้ชี้ขึ้นไปที่เพดาน และเก็บคางชิดอก ท่านี้เรียกว่า ท่าแมว พยายามควบคุมลมหายใจให้สอดคล้องกัน ในขณะเปลี่ยนท่าจากท่าวัวไปสู่ท่าแมว หายใจเข้ามากขึ้นในขณะทำท่าวัว เพื่อยืดหลังส่วนล่าง หายใจเข้าลึก 5 ถึง 10 ครั้ง จากนั้นจึงเปลี่ยนท่า ท่าสุนัขก้ม ท่าสุนัขก้ม (Downward Facing Dog) ถูกออกแบบมาสำหรับกล้ามเนื้อแฮมสตริง ที่มักได้รับผลกระทบจากอาการปวดหลังส่วนล่าง ในการทำท่านี้ เริ่มจากการทำท่าโต๊ะหรือท่าคลานสี่ขา จากนั้น จิกปลายเท้า และยกสะโพกขณะที่ยืดขาให้ตรง ลำตัวจะทำมุมเป็นรูปสามเหลี่ยมกับพื้น หากคุณรู้สึกเจ็บหรือตึง […]


กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยข้ออักเสบ แบบไหนถึงจะเหมาะสม

การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยข้ออักเสบ จำเป็นที่จะต้องรู้ข้อจำกัดของตัวเองและรู้ว่าควรออกกำลังกายแบบใดที่จะให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบ เนื่องจากช่วยเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของข้อต่อ สามารถลดอาการปวดข้อและช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับความเมื่อยล้าได้ แน่นอนว่าการเจ็บปวดข้อนั้นทำให้การออกกำลังกายดูเหมือนเป็นเรื่องที่ยากลำบาก แต่ความจริงแล้ว เราไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายในระดับที่หนัก ๆ หรือรุนแรง แค่ออกกำลังกายในระดับปานกลางก็สามารถช่วยลดอาการปวด และทำให้มีสุขภาพที่ดีได้ หากการเป็นโรคข้ออักเสบนั้นทำให้คุณท้อแท้ การออกกำลังกายจะเป็นสิ่งที่ทำให้คุณสามารถก้าวต่อไปได้ ทำไมการออกกำลังกายจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ การออกกำลังกายสามารถช่วยให้คุณพัฒนาสุขภาพของคุณได้โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อข้อต่อ เสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณข้อต่อ ช่วยให้แข็งแรงขึ้น เพิ่มความแข็งแรงของกระดูก ช่วยทำให้คุณมีพลังงานมากขึ้นตลอดวัน ไม่เหนื่อยง่าย ช่วยให้นอนหลับง่าย หลับสบาย ช่วยควบคุมน้ำหนักได้ เพิ่มคุณภาพชีวิต ช่วยเพิ่มความสามารถในการทรงตัว คุณอาจคิดว่าการออกกำลังกายจะทำให้อาการปวดข้อนั้นรุนแรงขึ้น แต่จริง ๆ แล้ว การขาดการออกกำลังกายต่างหาก ที่ทำให้อาการข้ออักเสบรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากการออกกำลังกายช่วยทำให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อบริเวณข้อต่อมีความแข็งแรงซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยรักษา เสริมสร้างกระดูกของคุณ แต่การขาดการออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อในส่วนนี้อ่อนแรงลงจนทำให้เกิดอาการปวดและตึงของข้อได้ ปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย การวางแผนการออกกำลังกายสำหรับผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบเป็นสิ่งที่สำคัญ คุณควรออกกำลังกายโดยใช้แผนการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับประเภทของโรคข้ออักเสบ การปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือนักกายภาพบำบัดจะสามารถทำให้คุณออกกำลังกายได้อย่างมีประโยชน์สูงสุดโดยที่มีผลกระทบต่ออาการปวดข้อน้อยที่สุด การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยข้ออักเสบ แพทย์หรือนักกายภาพบำบัดจะแนะนำแผนการออกกำลังกายในรูปแบบต่าง ๆ ให้กับคุณดังนี้ การออกกำลังกายที่ช่วยในการเคลื่อนไหว (range-of-motion exercises) การออกกำลังกายที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรง (strengthening exercises) การออกกำลังกายแบบแอโรบิค (aerobic exercise) การทำกิจกรรมอื่นๆ การออกกำลังกายที่ช่วยในการเคลื่อนไหว (Range-of-Motion Exercises) การออกกำลังกายรูปแบบนี้ถือเป็น การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยข้ออักเสบ ที่ยอดเยี่ยมมาก เพราะช่วยลดความฝืด และเพิ่มความสามารถในการขยับข้อต่อผ่านการเคลื่อนไหวเต็มรูปแบบ การออกกำลังกายแบบนี้ อาจรวมถึงการเคลื่อนไหวอื่น ๆ เช่น ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะหรือหมุนไหล่ไปหน้า-หลัง ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่สามารถทำได้ทุกวัน การออกกำลังกายเสริมสร้างความเข้มแข็ง (Strengthening Exercises) การออกกำลังกายเหล่านี้ช่วยให้คุณสร้างกล้ามเนื้อที่แข็งแรง ซึ่งช่วยสนับสนุนและปกป้องข้อต่อของคุณ การเวทเทรนนิ่งเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง ช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อได้ เมื่อออกกำลังกายในกลุ่มกล้ามเนื้อเดียวกันสองวันติดต่อกันควรมีพักผ่อนกล้ามเนื้อ หากข้อต่อมีอาการเจ็บปวดหรือบวมควรพักเพิ่ม 1-2 […]


คาร์ดิโอและความทนทาน

ประโยชน์ของการ ออกกำลังกายแบบ HIIT (High-Intensity Interval Training)

หากคุณไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกาย บางทีการ ออกกำลังกายแบบ HIIT หรือ High-Intensity Interval Training ซึ่งเป็นการออกกำลังกายแบบความเข้มข้นสูงอาจเหมาะกับคุณ เพราะการออกกำลังกายแบบ High-Intensity Interval Training ไม่ใช่แค่ใช้เวลาน้อยลง แต่ยังมีประโยชน์สุขภาพอีกมากมายด้วย การ ออกกำลังกายแบบ HIIT คืออะไร HIIT หรือ high-intensity interval training เป็นการออกกำลังกายแบบความเข้มข้นสูง โดยจะออกกำลังกายแบบหนักเบาสลับกันเป็นช่วง ๆ ในช่วงที่ออกกำลังกายอย่างหนักจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจสูงถึง 85-90% ส่วนช่วงที่ออกกำลังกายเบา ๆ คือการพักเพื่อให้อัตราการเต้นของหัวใจลดลง โดยจะออกกำลังกายหนักเบาสลับกันไปจนครบเวลาที่กำหนด ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 10-30 นาที ตัวอย่างการออกกำลังกายรูปแบบนี้ เช่น คุณปั่นจักรยานด้วยเครื่องปั่นจักรยานให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เป็นเวลา 30 วินาที จากนั้นค่อยลดความเร็วลงมาปั่นจักรยานช้า ๆ ประมาณ 2-3 นาที และทำแบบนี้สลับกันไปเรื่อย ๆ นอกจากนี้ยังมีการออกกำลังกายแบบอื่น ดังนี้ ทาบาตา เทรนนิ่ง (Tabata training) วิ่ง เดินเร็ว เดินขึ้นเขา เดินขึ้นบันได กระโดดเชือก พลายโอเมตริก (Plyometric) การออกกำลังกายแบบความเข้มข้นสูง เช่น การออกกำลังกายแบบ High-Intensity […]


กิจกรรมออกกำลังกายแบบอื่น

ออกกำลังกายแค่วันหยุด จะได้ประโยชน์ต่อสุขภาพหรือเปล่า?

ออกกำลังกายแค่วันหยุด จะเทียบกับการออกกำลังกายทุกวันได้อย่างไร ในเมื่อผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า เราควรออกกำลังกายอย่างน้อย 4 วันต่อสัปดาห์ นี่อาจเป็นคำถามที่คนทำงาน ซึ่งมีเวลาว่างส่วนใหญ่ในวันหยุดสุดสัปดาห์กำลังถามตัวเอง แต่ก่อนที่จะถอดใจและเลิกออกกำลังกาย เรามีคำตอบที่อาจช่วยคุณได้ว่า จริงๆ แล้วเราก็สามารถ ออกกำลังกาย ในวันหยุดเพียงสองวัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน มาลองดูกันนะคะ การออกกำลังกายแค่ไหนได้ประโยชน์ต่อสุขภาพ รูปแบบการออกกำลังกายที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 ประเภท ดังนี้ แบบที่หนึ่ง การออกกำลังกายแบบแอโรบิกหรือคาร์ดิโอ เช่น การวิ่ง ว่ายน้ำ กระโดดเชือก เป็นการออกกำลังกายที่เสริมสร้างสมรรถภาพของระบบหัวใจหลอดเลือด โดยต้อง ออกกำลังกาย ในระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง แบบที่สอง การออกกำลังกายแบบเสริมสร้างความแข็งแรง (strength training) หรือการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ เช่น การยกน้ำหนัก หรือการใช้ท่ากายบริหารที่ใช้น้ำหนักของร่างกาย เป็นการออกกำลังกายที่เน้นการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ในร่างกาย การออกกำลังกายทั้งสองแบบ มีระยะเวลาในการออกกำลังกายที่เหมาะสมแตกต่างกัน การออกกำลังกายแบบแอโรบิก ด้วยความเข้มข้นปานกลาง ควรใช้เวลาอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือถ้าออกกำลังกายด้วยความเข้มข้นสูงมาก ก็ควรใช้เวลาเพียง 75 นาทีต่อสัปดาห์ แต่ถ้าต้องการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก ก็ควรออกกำลังกายให้ได้มากถึง 300 นาทีต่อสัปดาห์ ส่วนการออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อ ควรทำ 3 วันต่อสัปดาห์ โดย ออกกำลังกาย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
expert badge medical

ฟิล เคลลี

วิทยาศาสตร์การกีฬา • KiwiFitness: Body Expert Systems

สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน