โรคเด็กและอาการทั่วไป

วัยเด็กเป็นวัยที่เสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพได้ง่าย โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิดถึงสามปี เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของพวกเขายังไม่แข็งแรงดีนัก และนี่คือ โรคเด็กและอาการทั่วไป ที่คุณพ่อคุณแม่ควรทราบ จะได้รับมือได้อย่างถูกต้อง

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเด็กและอาการทั่วไป

โนโรไวรัส สาเหตุอาการท้องเสียที่ระบาดในเด็ก

โนโรไวรัส (Norovirus) เป็นเชื้อไวรัสก่อโรคในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในเด็ก เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำลาย น้ำมูก อาเจียน อุจจาระ การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน ยิ่งหากเด็กอยู่ในพื้นที่ปิดและมีผู้คนพลุกพล่านอย่างโรงเรียน เนอสเซอรี สถานรับเลี้ยงเด็ก ก็ยิ่งเสี่ยงรับเชื้อได้ง่าย การรักษาโรคติดเชื้อโนโรไวรัสทำได้ด้วยการดูแลให้ผู้ติดเชื้อพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก ๆ และหลีกเลี่ยงการออกไปที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น โดยทั่วไป หากดูแลถูกวิธี อาการจะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อโนโรไวรัส คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเด็กเล็กหรือวัยเรียนจึงควรรักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ และฝึกให้ลูกดูแลสุขอนามัยของตัวเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโนโรไวรัส [embed-health-tool-vaccination-tool] โนโรไวรัส คืออะไร โนโรไวรัส เป็นชื่อกลุ่มไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ไวรัสชนิดนี้พบได้บ่อยและติดต่อได้ง่ายมาก มักระบาดในหมู่เด็กเล็กและเด็กวัยเรียนที่รวมตัวกันในสถานที่เดียวกันหรือรับประทานอาหารที่จัดเตรียมไว้ให้กับคนจำนวนมาก เช่น เนอสเซอรี่ สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทหอยดิบหรือหอยที่สุกไม่ทั่วถึง ผักและผลไม้ที่ยังไม่ปรุงสุกหรือล้างไม่สะอาด นอกจากนี้ โนโรไวรัสยังสามารถแพร่กระจายผ่านวิธีต่อไปนี้ได้ด้วย การสัมผัสกับน้ำลาย อาเจียน หรืออุจจาระของผู้ติดเชื้อ การรับละอองอาเจียนของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย การสัมผัสกับมือที่ไม่ได้ล้างของผู้ติดเชื้อ การสัมผัสกับวัตถุที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสมาก่อน การรับประทานอาหารและน้ำดื่มร่วมกับผู้ติดเชื้อ อาการของการติดเชื้อ โนโรไวรัส การติดเชื้อโนโรไวรัสอาจทำให้มีอาการต่อไปนี้ อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือน มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยทั่วไป ผู้ติดเชื้อโนโรไวรัสจะแสดงอาการภายใน 1-2 วันหลังรับเชื้อ […]

สำรวจ โรคเด็กและอาการทั่วไป

โรคเด็กและอาการทั่วไป

ทารกแหวะนม อย่าตกใจ ลองหาสาเหตุเพื่อแก้ไขอาการน่าห่วงของลูกน้อย

ทารกแหวะนม สามารถเกิดขึ้นได้เป็นครั้งคราว โดยเฉพาะในช่วงขวบปีแรก เนื่องจากเด็กกำลังปรับตัวเข้ากับการกินอาหาร และร่างกายกำลังค่อยๆ พัฒนาขึ้น ส่วนใหญ่มักจะหายไปภายใน 6-24 ชั่วโมง โดยที่ไม่ต้องทำอะไรเป็นพิเศษ นอกจากดูให้แน่ใจว่า ลูกไม่ขาดน้ำเท่านั้น แต่ต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่า ลูกแหวะนม ไม่ใช่การอาเจียนอย่างต่อเนื่อง เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้  ทารกแหวะนมหรืออาเจียน ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่ต้องรู้จักความแตกต่างระหว่างการอาเจียนจริงๆ กับการแหวะอาหารของเด็ก การอาเจียนเป็นการที่อาหารที่อยู่ในกระเพาะพุ่งออกมาโดยไม่สามารถบังคับได้ ขณะที่การแหวะ (ที่พบบ่อยให้เด็กวัยต่ำกว่าหนึ่งขวบ) เป็นการที่เด็กขย้อนเอาอาหารออกมาทางปาก ปกติแล้วมักจะมาพร้อมกับอาการเรอ การอาเจียนเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหน้าท้องและกระบังลมเกร็งอย่างรุนแรง ในขณะที่กล้ามเนื้อกระเพาะอาหารหย่อนตัว ปฏิกิริยาสะท้อนนี้ถูกกระตุ้นจาก “ศูนย์ควบคุมการอ้วก” ในสมอง หลังจากที่มันถูกกระตุ้นโดยเส้นประสาทจากกระเพาะอาหารและลำไส้ ที่อาจเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ ระบบย่อยอาหารระคายเคืองหรือบวมขึ้น เนื่องจากอาการติดเชื้อหรือเกิดการอุดตัน สารเคมีในเลือด (อย่างเช่นจากยา) การถูกกระตุ้นทางประสาทสัมผัส เช่น ภาพหรือกลิ่น การกระตุ้นจากประสาทหูส่วนกลาง (อย่างเช่น การอาเจียนที่เกิดจากการวิงเวียน) สาเหตุของทารกแหวะนม สาเหตุที่พบได้บ่อยของการแหวะหรืออาเจียนในเด็ก แตกต่างกันไปตามช่วงอายุ เช่น ในช่วงสองสามเดือนแรก ทารกส่วนใหญ่จะแหวะนมเล็กน้อยออกมา ปกติแล้วจะเป็นในช่วงชั่วโมงแรกหลังป้อนนม ปกติจะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว อาการนี้จะลดน้อยลงเมื่อเด็กโตขึ้น แต่อาจยังปรากฏอยู่บ้างเล็กน้อยจนอายุ 10-12 เดือน ซึ่งถ้าไม่มีอาการอื่น และไม่ทำให้เด็กน้ำหนักลดลง ก็ถือว่าไม่ผิดปกติ แต่หากเด็กมีอาการอาเจียนต่อเนื่อง อาจมีสาเหตุต่างๆ ดังนี้ โรคลำไส้อุดตัน ในช่วงอายุสองสัปดาห์จนถึงสี่เดือน การอาเจียนอย่างต่อเนื่องอาจมีสาเหตุมาจาก การที่กล้ามเนื้อบริเวณทางออกของกระเพาะอาหารหนาตัวขึ้น ทำให้เกิดการอุดตัน จนอาหารไม่สามารถผ่านเข้าไปสู่ลำไส้ได้ นี่เป็นอาการร้ายแรงที่ต้องรักษาอย่างทันท่วงทีด้วยการผ่าตัด […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

กรดไหลย้อนในเด็ก (Infant Reflux)

กรดไหลย้อนในเด็ก (Infant Reflux) เป็นภาวะที่อาหารไหลย้อนกลับออกมาจากกระเพาะอาหาร ส่งผลให้เด็กอาเจียน หรือที่มักเรียกกันว่า “แหวะนม” มักเกิดกับเด็กทารก เป็นอาการที่มักไม่ส่งผลกระทบรุนแรง และส่วนใหญ่จะหายไปเมื่อเด็กมีอายุเกิน 18 เดือน คำจำกัดความกรดไหลย้อนในเด็ก (Infant Reflux) คืออะไร กรดไหลย้อนในเด็ก (Infant Reflux) เกิดขึ้นเมื่ออาหารไหลย้อนกลับออกมาจากกระเพาะอาหารของเด็ก จนทำให้เด็กอาเจียน หรือแหวะนม เป็นอาการที่มักไม่ส่งผลกระทบรุนแรง กรดไหลย้อน นี้มักหายไปเมื่อเด็กโตขึ้น แต่หากเด็กอายุ 18 เดือนแล้วอาการยังไม่หายไป หรือมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น เด็กอาจเป็นโรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease หรือ GERD) เด็กบางคนอาจเกิดภาวะกรดไหลย้อนวันละหลายครั้ง แต่หากเด็กสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงดี เติบโตและมีพัฒนาการตามปกติ กรดไหลย้อนในเด็กนี้ไม่ใช่อาการที่น่าเป็นห่วงมากนัก ในกรณีหายาก กรดไหลย้อนในเด็กอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพ เช่น โรคภูมิแพ้ ระบบทางเดินอาหารถูกรบกวน หรือโรคกรดไหลย้อน  พบได้บ่อยแค่ไหน กรดไหลย้อนในเด็กนั้นพบได้ทั่วไปในเด็กแรกเกิดไปจนถึงเด็กทารก โดยในช่วงสามเดือนแรก เด็กมักอาเจียน หรือแหวะนมวันละหลายครั้ง และอาการนี้มักหายไปในช่วงอายุ 12-14 เดือน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษาแพทย์ อาการอาการของ กรดไหลย้อนในเด็ก โดยทั่วไปแล้วกรดไหลย้อนในเด็กไม่ใช่ปัญหาที่น่ากังวล และไม่ใช่เรื่องง่ายที่ในกระเพาะอาหารจะมีกรดมากพอจนทำให้ลำคอหรือหลอดอาหารเกิดการระคายเคือง หรือทำให้มีสัญญาณหรืออาการแทรกซ้อนใด ๆ อย่างไรก็ตาม อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

โรคติดต่อหน้าฝน ในเด็ก มีอะไรบ้างที่พ่อแม่ควรระวัง

โรคติดต่อหน้าฝน เป็นโรคที่เกิดจากความเปียกแฉะและความอับชื้นของสภาพอากาศและสภาพแวดล้อม โดยมักทำให้เด็ก ๆ เจ็บป่วยเนื่องจากร่างกายและระบบภูมิคุ้มกันของเด็ก ๆ ยังไม่แข็งแรงมากพอที่จะต่อสู้กับเชื้อโรค คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลสุขภาพร่างกายของลูก และระมัดระวังให้ร่างกายของลูกแห้งอยู่เสมอเพื่อป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคติดต่อหน้าฝน ที่พ่อแม่ควรระวัง โรคติดต่อหน้าฝน ในเด็ก ที่พบได้บ่อยและควรระวัง ได้แก่ โรคต่าง ๆ ดังนี้ กลุ่มโรคติดต่อของระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคบิด ไข้ไทฟอยด์ ภาวะอาหารเป็นพิษ โรคเหล่านี้เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารและลำไส้ ทำให้ผู้ป่วยท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำ อาจมีไข้ ปวดบิดในท้อง และหากติดเชื้อบิดอาจมีมูกหรือเลือดปนอุจจาระได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ ต้องใส่ใจและระมัดระวังกับเรื่องอาหารการกินของลูกมากเป็นพิเศษ คอยตรวจสอบวัตถุดิบที่ใช้ต้องสะอาดสดใหม่ และผ่านการปรุงสุกอย่างดี เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรค กลุ่มโรคติดเชื้อผ่านทางบาดแผลหรือเยื่อบุผิวหนัง โรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) เป็นโรคติดต่อหน้าฝนที่พบบ่อย ผู้ป่วยจะมีอาการ ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ มักปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่องและโคนขา และตาแดง ประมาณร้อยละ 5-10 ของผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรง เช่น ดีซ่าน ไตวาย หรือช็อคได้ โรคนี้มักเกิดกับเด็ก ๆ ในพื้นที่ที่มีน้ำท่วม หากเด็ก ๆ ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีหนู หรืออยู่ในพื้นที่ทางการเกษตร […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูกปวดหัว อาการแบบไหนที่คุณพ่อคุณแม่ควรระวัง

ลูกปวดหัว เป็นภาวะสุขภาพในเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม แม้จะปวดหัวเพียงเล็กน้อย เพราะอาการปวดหัวบางครั้งอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้โรคบางอย่างที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ควรหมั่นสังเกตอาการปวดหัวของลูกน้อย และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับอาการปวดหัวว่าแบบไหนที่ต้องระวัง และควรปรึกษาคุณหมอหากลูกปวดหัวเรื้อรัง ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เด็ดขาด [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกปวดหัว แบบไหนที่ควรระวัง 1. ปวดหัวบ่อย จนกระทบการใช้ชีวิตประจำวัน ถ้าลูกมีอาการปวดหัวบ่อย ๆ มากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ จนกระทบกับชีวิตประจำวัน เช่น ทำการบ้านไม่ได้ เล่นไม่สนุก หรือไม่อยากแม้กระทั่งดูการ์ตูนเรื่องโปรด คุณพ่อคุณแม่ควรพาไปหาคุณหมอ แม้ว่าอาการปวดหัวอาจจะไม่ได้เป็นโรคร้ายแรง แต่หากลูกปวดหัวจนไม่สามารถทำกิจกรรมบางอย่างได้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจ นอกจากนี้ หากลูกปวดหัวนานหลายชั่วโมง ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้หรือไม่ควรให้ยารับประทานเอง 2. ลูกปวดหัว จนรบกวนการนอนหลับ เด็ก ๆ อาจจะตื่นนอนกลางดึกได้เป็นปกติ หากแต่ตื่นนอนเพราะปวดหัวควรพาไปพบคุณหมอเพราะวัยเด็กเป็นวัยที่ต้องนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโต แต่หากต้องตื่นกลางดึกเพราะปวดหัว อาจหมายถึงความผิดปกติหรือความกังวลใจ นอกจากจะทำให้ลูกสุขภาพแย่ลง เพราะนอนไม่เต็มอิ่มแล้ว ยังเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ เช่น โรคไมเกรนในเด็ก โรคเครียด โรคเกี่ยวกับสมอง 3. ปวดหัวและวิงเวียนศีรษะ อยากอาเจียน หรือมีอาการปวดท้องร่วมด้วย หากลูกปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการปวดท้องด้วย อาจเป็นอาการของโรคไมเกรนในเด็ก ซึ่งสามารถเป็นได้ตั้งแต่ทารก หากเด็ก ๆ ร้องไห้ เอามือกุมหัวด้วยความเจ็บปวด […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

โรคดีซ่านในเด็ก สาเหตุและการรักษา

โรคดีซ่านในเด็ก (Jaundice) เป็นโรคที่อาจพบได้บ่อยในเด็กทารก ส่งผลทำให้เด็กมีภาวะตัวเหลืองตามผิวหนังและตาขาว ทั้งยังอาจลุกลามไปยังบริเวณอื่น ๆ เช่น หน้าอก หน้าท้อง แขน ขา แต่มักไม่ก่อให้เกิดอันตราย โรคดีซ่านในเด็กแรกเกิดอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ให้เห็นถึงจำนวนบิลิรูบินที่ก่อตัวขึ้นมากเกินไปในระดับเลือดของเด็กแรกเกิด สาเหตุของ โรคดีซ่านในเด็ก โรคดีซ่านในเด็ก คือ ภาวะตัวเหลืองตามผิวหนังหรือตาขาว โดยอาจเริ่มจากส่วนใบหน้าและลุกลามเป็นส่วนอื่น ๆ อย่าง หน้าอก หน้าท้อง แขน ขา เมื่อมีระดับของบิลิรูบิน (Bilirubin) สูง ในขณะที่เด็กยังอยู่ในครรภ์ของคุณแม่ ตับของคุณแม่อาจทำลายบิลิรูบินให้กับทารกในครรภ์ เมื่อทารกคลอดออกมาตับของทารกจะทำหน้าที่ทำลายบิลิรูบินเอง แต่ตับของเด็กวัยแรกเกิดอาจไม่สามารถทำลายบิลิรูบินได้เร็วพอ จึงนำไปสู่การสะสมของบิลิรูบิน เนื่องจาก บิลิรูบินเป็นสารประกอบสีเหลือง จำนวน ซึ่งหากมีจำนวนที่มากขึ้นอาจก่อให้เกิดภาวะตกเหลืองตามผิวหนังหรือตาขาวได้ โดยโรคดีซ่านมักเกิดในทารกที่คลอดก่อนกำหนด เมื่อตับของเด็กทารกยังอยู่ในช่วงเจริญเติบโต หรือเมื่อเด็กทารกไม่ได้รับน้ำนมแม่อย่างเพียงพอ นอกจากนั้น ยังอาจเกิดจากการที่น้ำนมอาจมีสิ่งแปลกปลอมปนอยู่และกระตุ้นให้เกิดโรคดีซ่าน โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคดีซ่านในเด็ก อาจเกิดจากการที่เซลล์เม็ดเลือดแดงปล่อยบิลิรูบินในระหว่างกระบวนการแตกตัว และบิลิรูบินจะถูกทำลายโดยตับ นอกจากนั้นยังอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ท่อน้ำดีอักเสบหรืออุดตัน จึงไม่สามารถขับบิลิรูบินออกจากร่างกายได้ การติดเชื้อหรือการอักเสบของตับ โรคโลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตก ซึ่งอาจเพิ่มความเร็วของการแตกตัวเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งนำไปสู่การเป็นโรคดีซ่านในเด็กได้ โรคกิลเบิร์ต (Gilbert’s Syndrome) ปรากฎขึ้นและขัดขวางการขับน้ำดีออกจากร่างกาย ดีซ่านในตับระยะเริ่มแรก อาจมีสาเหตุมาจากโรคต่าง […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ทารกเป็นแผลในปาก เกิดจากการที่ผู้ใหญ่หอมแก้มได้หรือไม่

ทารกเป็นแผลในปาก คือ อาการที่ทารกมีแผลอยู่ในปาก แผลอาจจะมีลักษณะเป็นวงกลม หรือเป็นตุ่มขาว และทำให้ทารกรู้สึกเจ็บปวด จนบางไม่สามารถรับประทานอาหารหรือดื่มนมได้ มักเกิดจาการติดเชื้อไวรัสบางชนิดอย่างไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus) หรือไวรัสเริม โดยมาจากการที่ผู้ใหญ่ซึ่งมีเชื้อมาหอมแก้มหรือสัมผัสทารก คุณพ่อคุณแม่ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด หากปล่อยทิ้งไว้อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพช่องปากได้ สัญญาณและอาการแผลในปากของทารก แผลในปากของทารก มักจะมีลักษณะเป็นวงกลม เป็นตุ่มขาวภายในช่องปาก รวมทั้งเป็นแผลบนริมฝีปาก ภายในกระพุ้งแก้ม หรือเป็นแผลภายในช่องปาก บนเหงือกและบนลิ้น ซึ่งมักจะทำให้เกิดความเจ็บปวด โดยเฉพาะเวลาดื่มนมหรือรับประทานอาหารที่มีรสจัดเพียงเล็กน้อยก็ส่งผลให้รู้สึกเจ็บหรือแสบบริเวณแผลได้ ทำให้ในบางครั้งทารกไม่ยอมดื่มนมและร้องไห้ไม่หยุดเพราะความเจ็บปวด หากพบว่าทารกมีแผลในปากควรพาไปพบคุณหมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยเฉพาะถ้ามีอาการไข้ร่วมด้วย ควรรีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน สาเหตุที่ทำให้ ทารกเป็นแผลในปาก แผลในปากของเด็กทารกสามารถเกิดจากเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus) หรือไวรัสเริมได้ ซึ่งอาจติดเชื้อมาจากการที่ผู้ใหญ่ซึ่งมีเชื้อไวรัสชนิดนี้หอมแก้มหรือมาสัมผัสผิวหนัง นอกจากนั้น การที่ทารกเป็นแผลในปาก อาจเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ ได้แก่ ความเหนื่อยล้า หากทารกนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือรับประทานอาหารโดยได้สารอาหารไม่ครบถ้วนอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ จนเกิดเป็นแผลในปากได้ง่าย ความเครียดและความกังวล การเคี้ยวหรือกัดกระพุ้งแก้มตัวเองโดยไม่ตั้งใจ อาจทำให้เกิดเป็นแผลในปากได้ด้วย ใช้แปรงสีฟันที่ไม่เหมาะกับวัย จนทำให้เนื้อเยื่อภายในช่องปากของทารกเกิดความเสียหาย บาดเจ็บเนื่องจากนำวัตถุบางอย่างที่มีคมหรือเป็นอันตรายเข้าปาก แผลในปากของเด็ก ๆ คล้ายของผู้ใหญ่ ที่เมื่อเป็นแล้วก็จะหายได้ภายในเวลาไม่นาน แต่ทั้งนี้ ทารกควรได้รับการรักษาจากคุณหมอเนื่องจากผิวที่บอบบางและภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงดีนักอาจติดเชื้อหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

แผลในปาก เกิดจากอะไร และวิธีดูแลเมื่อ ลูกเป็นแผลในปาก

แผลในปาก เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป อาจเกิดจากการกัดริมฝีปาก การแปรงฟันและเหงือกแรงเกินไปจนทำให้เนื้อเยื่อในปากเสียหาย หรืออาจเกิดจากปัญหาสุขภาพ เช่น โรคมือเท้าปาก การติดเชื้อราในปาก แผลในปากอาจมีลักษณะเป็นแผลเปื่อย บวมนูนแดง และมีอาการเจ็บ จนอาจทำให้เด็กรู้สึกไม่สบายตัว เจ็บปวด จนร้องไห้ออกมา หากพบว่าเด็กมีแผลในปาก ควรรีบดูแลรักษาให้หายโดยเร็ว เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพร้ายแรง [embed-health-tool-vaccination-tool] แผลในปาก คืออะไร แผลในปาก คือ อาการที่เนื้อเยื่อเสียหายจนมักมีสีผิดปกติ อาจมีลักษณะเป็นแผลเปื่อย บวมนูนแดง มีอาการเจ็บแสบ จนอาจทำให้เด็กมีอาการไม่สบายตัว เจ็บปวด จนร้องไห้ออกมา หรืออาจทำให้กินอาหารลำบาก หากปล่อยไว้นาน อาจทำให้เด็กกินอาหารได้น้อยลงจนเสี่ยงขาดสารอาหารได้ แผลในปาก เกิดจากอะไร แผลในปากเด็กอาจมีสาเหตุมาจากการกัดริมฝีปาก หรือการแปรงฟันและเหงือกแรงเกินไป จนทำให้เนื้อเยื่อในปากเสียหาย การติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราก็สามารถทำให้เกิดแผลในปากได้ นอกจากนี้ แผลในปากอาจเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาเพนิซิลลามิน (Penicillamine) ยาเฟนิโทอิน (Phenytoin) รวมถึงเกิดจากการวิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามินบี 12 วิตามินบี 9 หรือโฟเลต สำหรับเด็กที่ฟันเพิ่งขึ้น เวลาเด็กดูดนมหรือรับประทานอาหาร อาจทำให้ฟันที่เพิ่งขึ้นใหม่ไปขบกับริมฝีปากจนทำให้มีแผลในปากได้เช่นกัน อาการของแผลในปากชนิดต่าง ๆ ที่ควรรู้ ปัญหาสุขภาพในเด็กที่อาจทำให้เด็กมีแผลในปาก […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

สะดือจุ่น เป็นอันตรายต่อสุขภาพเด็กหรือไม่

สะดือจุ่น หรือภาวะไส้เลื่อนบริเวณสะดือ (Umbilical hernia) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิด อาจเกิดจากกล้ามเนื้อท้องบริเวณสะดือไม่ประสานกันหลังจากตัดสายสะดือ จึงส่งผลให้มีรูเล็ก ๆ บริเวณสะดือที่ลำไส้เล็กสามารถโผล่ออกมาได้ โดยทั่วไป สะดือจุ่นมักหายได้เองเมื่อเด็กอายุไม่เกิน 2 ปี แต่บางรายอาจมีภาวะสะดือจุ่นจนถึงวัยผู้ใหญ่และอาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด สะดือจุ่น คืออะไร สะดือจุ่น เป็นคำที่นิยมใช้เรียกภาวะไส้เลื่อนที่บริเวณสะดือ (Umbilical hernia) ซึ่งอาจเกิดจากกล้ามเนื้อท้องใกล้ ๆ สะดือไม่ประสานกันหลังจากตัดสายสะดือ และส่งผลให้ลำไส้เล็กบางส่วนโผล่ออกมาได้ ภาวะนี้พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิด และมักหายได้เองเมื่อเด็กอายุ 1-2 ปี แต่ในบางกรณีก็อาจมีภาวะสะดือจุ่นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ได้เช่นกัน นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงบางประการ เช่น การมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน การเกร็งหน้าท้องตอนยกของหนัก การไอเรื้อรัง การท้องลูกแฝด ก็อาจส่งผลให้เกิดภาวะสะดือจุ่นในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็นได้ว่าลูกมีภาวะสะดือจุ่นเมื่อเด็กร้องไห้ ไอ จาม หรือท้องตึง ส่วนใหญ่มักไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วดแต่อย่างใด แต่เด็กบางคนอาจมีอาการปวดท้อง ท้องบวม คลื่นไส้ แต่หากผู้ใหญ่มีภาวะสะดือจุ่น อาจก่อให้เกิดอาการไม่สบายท้องได้ วิธีรักษา สะดือจุ่น ภาวะสะดือจุ่นในเด็กมักหายได้เองเมื่อเด็กอายุได้ 1-2 ปี แต่หากเด็กมีอาการปวดท้องเรื้อรัง อาเจียน ผิวหนังบริเวณสะดือบวม กดแล้วเจ็บ ควรรีบพาไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ลำไส้เล็กหรือเนื้อเยื่อบริเวณท้องที่ยื่นออกมาไม่สามารถกลับเข้าไปในช่องท้องได้ จนส่งผลให้เลือดไม่ไหลเวียนและเนื้อเยื่อส่วนนั้นตาย […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูกน้อยร้องไห้บ่อย เกิดจากอะไร ควรรับมืออย่างไร

ลูกน้อยร้องไห้บ่อย อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกกังวลใจและเกิดความเครียด โดยปกติแล้วเมื่อลูกร้องไห้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความหิว เหนื่อย ความเครียด หรืออาจเกิดจากอาการโคลิค (Colic) ซึ่งเป็นอาการที่อาจพบบ่อยในเด็กแรกเกิดถึง 3 เดือน ส่งผลทำให้เด็กร้องไห้งอแงมากและอาจควบคุมได้ยาก ดังนั้น การเข้าใจถึงสาเหตุและการดูแลให้ลูกรู้สึกสบายตัว จึงอาจช่วยทำให้ลูกน้อยร้องไห้น้อยลง ลูกน้อยร้องไห้บ่อย เกิดจากอะไร การร้องไห้ของลูกเป็นการสื่อสารที่เด็กสามารถทำได้ เพื่อบ่งบอกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น เนื่องจากพวกเขายังไม่สามารถพูดได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องสังเกตทุกครั้งที่ลูกร้องไห้ว่าพวกเขากำลังจะสื่อสารอะไร ซึ่งสาเหตุที่อาจทำให้ลูกน้อยร้องไห้บ่อย อาจมีดังนี้ อาจมีอาการเหนื่อย เด็กต้องการการพักผ่อนที่เพียงพอและเหมาะสม ดังนั้นหากเด็กรู้สึกเหนื่อยหรืออ่อนเพลีย คุณพ่อคุณแม่ควรให้เด็กพักผ่อนทันที โดยอาจสังเกตลักษณะอาการที่บ่งบอกถึงความเหนื่อยล้า เช่น การขยี้ตา หาว ทำสีหน้าอ่อนเพลีย และในบางครั้งอาจ ร้องไห้งอแงออกมานั่นเอง ซึ่งอาการดังกล่าวจะพบได้ในเด็กเล็ก ๆ หากเป็นเด็กที่โตกว่าจะมีอาการร้องไห้น้อยลง อาจกำลังหิว อาการนี้สามารถพบได้บ่อยในเด็กทารก เนื่องจากยังไม่สามารถสื่อสารหรือโต้ตอบกับคุณพ่อคุณแม่ได้ จึงร้องไห้ออกมาเพื่อเป็นสัญญาณให้รู้ว่าพวกเขากำลังหิว อาจต้องการให้คุณพ่อคุณแม่สนใจ การร้องไห้อาจเป็นวิธีที่เด็กใช้ในการทำให้คุณพ่อคุณแม่สนใจ ดังนั้น เมื่อเด็กร้องไห้เพื่อเรียกร้องความสนใจ คุณพ่อคุณแม่อาจต้องปล่อยผ่าน หรือควรมีการพูดคุยให้เข้าใจถึงเหตุและผลอย่างตรงไปตรงมา อาจเกิดจากคาเฟอีนในนมแม่ สำหรับคุณแม่ที่ดื่มเครื่องดื่มหรืออาหารที่มีคาเฟอีนเป็นประจำทุกวัน อาจต้องหลีกเลี่ยงคาเฟอีนในขณะให้นมลูก เพราะอาจส่งผลต่อน้ำนม ทำให้เด็กไม่ง่วงนอน ตื่นกลางดึกบ่อยและอาจทำให้งอแงมากขึ้น ถึงแม้การร้องไห้อาจเป็นอีกหนึ่งวิธีที่เด็กใช้ในการสื่อสาร แต่หากเด็กร้องไห้นานกว่า 15 นาทีไปจนถึง 1 ชั่วโมง นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าเด็กอาจกำลังมีปัญหา ไม่ว่าจะเรื่องของอาการป่วยหรือมีบางอย่างที่ทำให้ไม่สบายตัว ลูกน้อยร้องไห้บ่อยคุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร วิธีแก้ปัญหาเมื่อลูกน้อยร้องไห้บ่อยอาจทำได้หลายวิธี ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจใช้วิธีต่อไปนี้ เพื่อช่วยให้ลูกหยุดร้องไห้ อุ้มลูกแล้วโยกเบา ๆ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน