โรคเด็กและอาการทั่วไป

วัยเด็กเป็นวัยที่เสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพได้ง่าย โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิดถึงสามปี เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของพวกเขายังไม่แข็งแรงดีนัก และนี่คือ โรคเด็กและอาการทั่วไป ที่คุณพ่อคุณแม่ควรทราบ จะได้รับมือได้อย่างถูกต้อง

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเด็กและอาการทั่วไป

โนโรไวรัส สาเหตุอาการท้องเสียที่ระบาดในเด็ก

โนโรไวรัส (Norovirus) เป็นเชื้อไวรัสก่อโรคในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในเด็ก เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำลาย น้ำมูก อาเจียน อุจจาระ การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน ยิ่งหากเด็กอยู่ในพื้นที่ปิดและมีผู้คนพลุกพล่านอย่างโรงเรียน เนอสเซอรี สถานรับเลี้ยงเด็ก ก็ยิ่งเสี่ยงรับเชื้อได้ง่าย การรักษาโรคติดเชื้อโนโรไวรัสทำได้ด้วยการดูแลให้ผู้ติดเชื้อพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก ๆ และหลีกเลี่ยงการออกไปที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น โดยทั่วไป หากดูแลถูกวิธี อาการจะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อโนโรไวรัส คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเด็กเล็กหรือวัยเรียนจึงควรรักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ และฝึกให้ลูกดูแลสุขอนามัยของตัวเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโนโรไวรัส [embed-health-tool-vaccination-tool] โนโรไวรัส คืออะไร โนโรไวรัส เป็นชื่อกลุ่มไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ไวรัสชนิดนี้พบได้บ่อยและติดต่อได้ง่ายมาก มักระบาดในหมู่เด็กเล็กและเด็กวัยเรียนที่รวมตัวกันในสถานที่เดียวกันหรือรับประทานอาหารที่จัดเตรียมไว้ให้กับคนจำนวนมาก เช่น เนอสเซอรี่ สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทหอยดิบหรือหอยที่สุกไม่ทั่วถึง ผักและผลไม้ที่ยังไม่ปรุงสุกหรือล้างไม่สะอาด นอกจากนี้ โนโรไวรัสยังสามารถแพร่กระจายผ่านวิธีต่อไปนี้ได้ด้วย การสัมผัสกับน้ำลาย อาเจียน หรืออุจจาระของผู้ติดเชื้อ การรับละอองอาเจียนของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย การสัมผัสกับมือที่ไม่ได้ล้างของผู้ติดเชื้อ การสัมผัสกับวัตถุที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสมาก่อน การรับประทานอาหารและน้ำดื่มร่วมกับผู้ติดเชื้อ อาการของการติดเชื้อ โนโรไวรัส การติดเชื้อโนโรไวรัสอาจทำให้มีอาการต่อไปนี้ อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือน มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยทั่วไป ผู้ติดเชื้อโนโรไวรัสจะแสดงอาการภายใน 1-2 วันหลังรับเชื้อ […]

สำรวจ โรคเด็กและอาการทั่วไป

โรคเด็กและอาการทั่วไป

วิธีกำจัดเหา เมื่อลูกน้อยกำลังเป็นเหา

เหา ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพของลูกที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ และต้องกำจัดให้หมดไปโดยเร็วที่สุด เพราะเหาสามารถแพร่จากคนหนึ่งไปสู่อีกคนได้ อีกทั้งการที่ลูกเป็นเหา อาจถูกเด็กคนอื่นมองว่าสกปรก ล้อเลียน หรือไม่คลุกคลีด้วย จนลูกอาจมีปัญหากับเพื่อนหรือมีปัญหาสุขภาพจิตได้ วิธีกำจัดเหา อาจทำได้ด้วยตัวเองที่บ้าน โดยวิธีธรรมชาติ รวมถึงการใช้ยาที่สั่งจ่ายโดยคุณหมอ เพื่อบรรเทาอาการคันที่อาจเกิดขึ้นจากน้ำลายของเหา ทั้งยังป้องกันอาการแพ้เหาที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กบางคนอีกด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] เหา คืออะไร เหา คือ แมลงปรสิตชนิดหนึ่ง ลำตัวแบน ไม่มีปีก สีขาวปนเทา หรือสีน้ำตาลอ่อน ยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ดำรงชีพด้วยการกินเลือดจากคนหรือสัตว์ เหาที่พบในคนมี 3 ชนิด ได้แก่ เหาที่ศีรษะ (Pediculosis Capitis หรือ Head Lice) เหาที่ลำตัว (Pediculosis Corporis) และเหาที่อวัยวะเพศ หรือโลน (Pediculosis Pubis) แต่เมื่อพูดถึงเหา คนส่วนใหญ่ก็จะเข้าใจตรงกันว่าหมายถึงเหาที่ศีรษะ ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด และพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในเด็กเล็กและเด็กวัยเรียน (3-12 ปี) เหาเป็นแมลงคลาน บินหรือกระโดดไม่ได้ แต่ก็มีกรงเล็บที่พัฒนามาเป็นพิเศษทำให้สามารถคลานและเกาะติดหนึบอยู่บนเส้นผมได้ อีกทั้งเหายังเป็นโรคติดเชื้อปรสิตที่สามารถติดต่อและแพร่กระจายจากคนสู่คนได้รวดเร็วมาก โดยเฉพาะในสถานที่ชุมนุมชน หรือในกิจกรรมที่มีผู้คนรวมตัวกันหนาแน่น […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

อาการไอในเด็กเล็ก คุณพ่อคุณแม่บรรเทาได้ด้วยวิธีธรรมชาติ

อาการไอในเด็กเล็ก เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นจากหวัดและหายได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์ แต่หากอาการไอเป็น ๆ หาย ๆ หรือเป็นเรื้อรังจนรบกวนชีวิตประจำวัน คุณพ่อคุณแม่อาจใช้วิธีธรรมชาติในการช่วยบรรเทาอาการไอที่เกิดขึ้น จากนั้น ควรพาเด็กไปพบคุณหมอเพื่อรักษา ที่สำคัญไม่ควรซื้อยามาให้เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปีรับประทานเอง เพราะอาจเกิดอาการข้างเคียงขึ้นได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] วิธีบรรเทาอาการไอในเด็กเล็กด้วยวิธีธรรมชาติ สำหรับ อาการไอในเด็กเล็ก คุณพ่อคุณแม่อาจบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นได้ด้วยวิธีธรรมชาติก่อนพาเด็กไปพบคุณหมอได้ดังนี้ อาจป้อนน้ำผึ้ง น้ำผึ้ง เป็นส่วนผสมที่เกิดจากธรรมชาติ ซึ่งอาจใช้ในการเยียวยาอาการเจ็บป่วย ทั้งยังมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการหวัด หากลูกมีอาการไอรุนแรง ลองให้รับประทานน้ำผึ้งครึ่งช้อนก่อนนอน จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ และลดอาการไอได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้น้ำผึ้งกับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี เพราะน้ำผึ้งไม่เหมาะกับระบบย่อยอาหารที่ยังไม่สมบูรณ์ของเด็ก จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Canadian Family Physician เมื่อ พ.ศ. 2014 ศึกษาเกี่ยวกับน้ำผึ้งใช้รักษาอาการไอในเด็ก พบว่า การให้เด็กรับประทานน้ำผึ้ง 1 ครั้งก่อนนอน อาจช่วยลดอาการไอของเด็กได้ ทั้งนี้ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัย อาจให้ดื่มน้ำอุ่น การดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ อาจช่วยลดน้ำมูก ที่ทำให้เกิดอาการคัดจมูก และช่วยทำให้โล่งคอ ส่งผลทำให้อาการไออาจดีขึ้นด้วยเมื่อคอโล่งขึ้น สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน คุณแม่อาจให้เด็กดื่มนมอุ่น ๆ หรือนมผง […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ไอเรื้อรังในเด็ก สาเหตุและวิธีรับมือที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

การไอ เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในเด็ก เกิดจากร่างกายตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอม เช่น ไวรัส ที่อาจเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ แต่หาก ไอเรื้อรังในเด็ก หรือไอนานเกิน 4 สัปดาห์ รักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือยิ่งแย่ลง คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลย และควรพาเด็กไปเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมโดยเร็ว เพราะอาการไอเรื้อรังในเด็ก อาจเป็นสัญญาณของภาวะสุขภาพที่รุนแรงกว่า ไอนานแค่ไหนถึงเรียกว่าเรื้อรัง การไอเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อการระคายเคืองหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เส้นประสาทจะส่งสัญญาณไปยังสมอง ให้สมองขจัดสิ่งแปลกปลอม เช่น เสมหะ น้ำหอม ฝุ่นละออง หรือเชื้อโรค เช่น ไวรัส ออกจากทางเดินหายใจ สำหรับเด็ก หากมีอาการไอไม่ถึง 2 สัปดาห์ เรียกว่า อาการไอเฉียบพลัน แต่หากไอต่อเนื่องยาวนานกว่า 4 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน ถือว่าไอเรื้อรัง ซึ่งอาการไอเรื้อรังในเด็กนี้ถือเป็นอาการที่พบได้บ่อย คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสมที่สุด สาเหตุของอาการ ไอเรื้อรังในเด็ก สาเหตุที่พบได้บ่อยของอาการไอเรื้อรังในเด็ก เช่น อาการหลังติดเชื้อไวรัส โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่ กลุ่มอาการครูป (Croup/Laryngotracheobronchitis) โรคโควิด-19 สามารถทำให้เด็กมีอาการไอติดต่อกันได้ยาวนานหลายสัปดาห์ เด็กที่เป็นไข้หวัดธรรมดาอาจมีอาการไอแค่ก ๆ หากเป็นไข้หวัดใหญ่มักมีอาการไอแห้ง ส่วนกลุ่มอาการครูปจะทำให้เด็กมีอาการไอเสียงก้องพร้อมหายใจเสียงดัง ส่วนใหญ่มักเกิดในตอนกลางคืน อาการไอเรื้อรังในเด็กที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสนี้ไม่มียารักษาจำเพาะ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

เด็กเป็นไข้ อาการ และวิธีการรับมือ

เด็กเป็นไข้ อาจสังเกตได้จากอาการอุณภูมิร่างกายสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ร่วมกับมีอาการร้องไห้ งอแง ไม่ยอมนอน ไม่ยอมกิน หรือมีอาการเซื่องซึมกว่าปกติ โดยปกติอาการไข้มักไม่เป็นอันตรายใด ๆ และสามารถบรรเทาได้ด้วยการเช็ดตัว ให้ลูกดื่มน้ำให้เพียงพอ นอนพักผ่อน หรืออาจให้ยาลดไข้สำหรับเด็ก อย่างไรก็ตาม หากมีอาการผิดปกติ เช่น ไข้สูง เป็นไข้ไม่ยอมหาย ชัก ควรรีบพาไปพบคุณหมอเพื่อรักษาในทันที อาการที่บอกว่าเด็กเป็นไข้ อุณหภูมิที่ถือว่าเด็กเป็นไข้ คือประมาณ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้ ไม่ยอมนอน ไม่ยอมกิน ไม่อยากเล่น หงุดหงิด อารมณ์เสีย เซื่องซึม เฉื่อยชา ชัก เด็กเป็นไข้ อันตรายหรือไม่ ที่จริงแล้ว ไข้ไม่ได้ถือว่าเป็นโรค แต่มันเป็นแค่ “อาการ” อย่างหนึ่ง ที่ร่างกายของคนเราต่อสู้กับอาการติดเชื้อ และระบบภูมิคุ้มกันกำลังทำงาน เด็กมักจะเป็นไข้ได้มากกว่าผู้ใหญ่ และเป็นไข้ได้บ่อยจากอาการเล็กน้อยเพียง อย่าง หวัดธรรมดา โดยปกติแล้ว อาการไข้ในเด็กมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส หรืออาจมีสาเหตุบางอย่างที่อาจพบไม่บ่อยนัก เช่น ปอดบวม ทางเดินปัสสาวะอักเสบ การติดเชื้อในหู […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ไข้สูง ปัญหาสุขภาพวัยเด็กที่พบบ่อยกับวิธีดูแลในเบื้องต้น

ไข้สูง ที่เกิดขึ้นกับเด็กทารกเป็นปัญหาสุขภาพที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจ โดยเฉพาะหากเด็กทารกในช่วงวัยอายุไม่เกิน 3 เดือน หากมีไข้สูง จำเป็นต้องพาลูกไปโรงพยาบาลทันที ส่วนเด็กในช่วงวัยสามเดือนเป็นต้นมา คุณพ่อคุณแม่อาจดูแลรักษาในเบื้องต้นได้ เช่น การวัดไข้ และหมั่นเช็ดตัว เป็นต้น แต่ทั้งนี้ อาจต้องคอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากไข้ไม่ลด อาจต้องรีบพาไปโรงพยาบาลเช่นกัน ไข้สูง เกิดจากสาเหตุใด อาการตัวร้อนและมีไข้ถือเป็นอาการที่พบบ่อยในเด็กเล็ก ผู้ปกครองมากกว่า 60% ที่มีลูกอยู่ในวัย 6 เดือนและ 5 ปีพบว่าลูกของพวกเขาเคยมีอาการดังกล่าว เวลาที่เด็กตัวร้อน หมายถึง การที่ร่างกายจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นเพื่อต่อสู้กับการติดเชื้อ โดยอาการเป็นไข้ ตัวร้อน มักจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเล็กน้อย เช่น ไอหรือไข้หวัด และสามารถรักษาที่บ้านได้ นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าอาการตัวร้อนจะสร้างความกังวลให้กับผู้ปกครอง แต่เด็กๆ มักจะมีอาการดีขึ้นภายใน 2-3 วัน ไข้สูง คุณพ่อคุณแม่รับมืออย่างไร ถ้าทารกอายุไม่เกิน 4 เดือน แล้วมีไข้สูง โดยมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส (100.4 องศาฟาเรนไฮต์) ควรพาเด็กไปโรงพยาบาล ส่วนเด็กที่อายุมากกว่า 4 เดือน ผู้ปกครองอาจปฏิบัติดังนี้ วัดอุณหภูมิร่างกาย วัดอุณหภูมิทางปาก สำหรับเด็กที่อายุ 4-5 […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

โรคไอกรน (Whooping cough) อาการ สาเหตุ และการรักษา

โรคไอกรน เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่รุนแรงในจมูกและลำคอ ในกรณีส่วนใหญ่ โรคนี้สังเกตได้จากอาการไอแค็ก ๆ ตามด้วยการเกิดเสียงแหลมดังขึ้นขณะหายใจเข้า [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ โรคไอกรนคืออะไร โรคไอกรน (Whooping cough) หรือ Pertussis จัดเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่รุนแรงในจมูกและลำคอ ในกรณีส่วนใหญ่ โรคนี้สังเกตได้จากอาการไอแค็ก ๆ ตามด้วยการเกิดเสียงแหลมดังขึ้นขณะหายใจเข้า โรคไอกรนสามารถแพร่กระจายได้ง่าย แต่สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน DTaP และวัคซีน Tdap ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โรคไอกรนพบบ่อยเพียงใด โรคไอกรนพบในทารกและเด็กมากกว่าวัยผู้ใหญ่ แต่สามารถส่งผลต่อผู้ป่วยได้ทุกวัย สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของโรคไอกรน ระยะเวลาแสดงอาการของโรคมักอยู่ที่ประมาณ 10 วันหลังจากได้รับเชื้อ โดยสิ่งบ่งชี้และอาการทั่วไปของไอกรนในระยะเริ่มแรกมักไม่รุนแรงและคล้ายคลึงกับอาการหวัดโดยทั่วไป เช่น น้ำมูกไหล คัดจมูก ตาแดงและน้ำตาไหล มีไข้ ไอ หลังจาก 1-2 สัปดาห์ผ่านไป สิ่งบ่งชี้และอาการจะเริ่มแย่ลง โดยจะมีอาการไอรุนแรงและเป็นเวลานาน ซึ่งก่อให้เกิดอาการร่วมต่างๆ ดังนี้ อาเจียน ใบหน้าเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือเขียวคล้ำ อ่อนเพลียมาก หายใจแล้วมีเสียงแหลมเกิดขึ้น อาจไม่พบอาการไอในทารกที่เป็นโรคไอกรน แต่อาจมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจหรืออาจหยุดหายใจชั่วคราว อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด ควรไปพบหมอหากมีอาการใดๆ ดังต่อไปนี้ อาเจียน ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือเขียว หายใจลำบากหรือหยุดหายใจอย่างสังเกตได้ หายใจเข้าแล้วมีเสียงดัง สาเหตุ สาเหตุของโรคไอกรน แบคทีเรียเป็นสาเหตุของโรคไอกรน โดยเมื่อสัมผัสกับผู้ติดเชื้อหรืออยู่ใกล้ผู้ติดเชื้อที่ไอหรือจาม แล้วอาจหายใจเอาละอองขนาดเล็กที่มีเชื้อที่แพร่กระจายในอากาศเข้าสู่ปอด ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงของโรคไอกรน มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่ทำให้เกิดโรคไอกรน เช่น วัคซีนไอกรนที่ได้รับในวัยเด็กหมดฤทธิ์ไป […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ธาลัสซีเมียในเด็ก อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและป้องกัน

ธาลัสซีเมียในเด็ก เป็นโรคเลือดที่เกิดจากการสร้างฮีโมโกลบินของร่างกายผิดปกติ ธาลัสซีเมียมีหลายประเภท บางชนิดไม่แสดงอาการใดๆ ในขณะที่ชนิดอื่นอาจทำให้เสียชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที [embed-health-tool-vaccination-tool] ธาลัสซีเมียในเด็ก คืออะไร ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เป็นโรคเกี่ยวกับเลือด ที่เกิดจากการสร้างฮีโมโกลบินของร่างกายผิดปกติ หากลูกน้อยเป็นธาลัสซีเมีย จะมีระดับฮีโมโกลบิน และเซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกายน้อยกว่าปกติ โรคนี้พบได้มากที่สุดในเด็กที่สืบเชื้อสายมาจากประเทศในแถบเมดิเตอร์เรเนียน แอฟริกา และเอเชีย ธาลัสซีเมียมีหลายประเภท บางชนิดไม่แสดงอาการใด ๆ ในขณะที่ชนิดอื่นอาจทำให้เสียชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาการของธาลัสซีเมียในเด็ก หากลูกน้อยเป็นธาลัสซีเมีย อาจมีอาการดังนี้ อ่อนเพลีย หมดแรง ผิวซีด กระดูกใบหน้าผิดรูป การเจริญเติบโตช้า ปัสสาวะมีสีเข้ม ท้องบวม สาเหตุของธาลัสซีเมียในเด็ก ธาลัสซีเมียเกิดจากยีนที่ทำหน้าที่สร้างฮีโมโกลบินมีความบกพร่อง เด็กอาจได้รับการถ่ายทอดยีนดังกล่าวจากพ่อหรือแม่ หรือทั้งสองคน หากทั้งพ่อและแม่มียีนบกพร่อง ทารกจะมีอาการอยู่ในระดับธาลัสซีเมียใหญ่ หรือ ธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง (Thalassemia Major) เมื่อมียีนผิดปกติถ่ายทอดมาจากพ่อหรือแม่ หรือจากทั้งสองคน หากทารกมีอาการอยู่ในระดับธาลัสซีเมียน้อย หรือ ธาลัสซีเมียไมเนอร์ (Thalassemia minor) แล้ว ทารกจะเป็นเพียงพาหะของยีนบกพร่อง การรักษาธาลัสซีเมียในเด็ก คุณหมอจะพิจารณาสัญญาณบ่งชี้และอาการ และทดสอบเลือด เพื่อยืนยันอาการผ่านการทดสอบต่างๆ ได้แก่ การตรวจตัวอย่างรกเด็ก การเจาะตรวจน้ำคร่ำ และการตรวจตัวอย่างเลือดทารกในครรภ์ ผู้ป่วยในระดับธาลัสซีเมียน้อย ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา ในขณะที่ผู้ป่วยในระดับธาลัสซีเมียใหญ่ ต้องเข้ารับการถ่ายเลือดเป็นประจำทุกเดือน […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

วิธีแก้ไอ สำหรับเด็ก โดยไม่ต้องใช้ยา

ยาแก้ไอที่ขายตามร้านขายยาทั่วไปถึงแม้จะหาซื้อได้ง่าย แต่อาจไม่เหมาะให้เด็กรับประทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 4 ปี หากลูกมีอาการหวัดเล็กน้อยหรือไอ ควรบรรเทาด้วย วิธีแก้ไอ สำหรับเด็ก ที่เหมาะสมและปลอดภัย ไม่เสี่ยงเกิดผลข้างเคียง ทั้งนี้ หากบรรเทาอาการไอแล้วอาการของเด็กยังไม่ดีขึ้นหรือยิ่งแย่ลง ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยอาการและรับการรักษาอย่างเหมาะสม วิธีแก้ไอ สำหรับเด็ก โดยไม่ต้องใช้ยา 1. น้ำผึ้ง น้ำผึ้ง เป็นสารให้ความหวานจากธรรมชาติที่สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ ทั้งยังมีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียและช่วยป้องกันการติดเชื้อ แต่อย่างไรก็ตามน้ำผึ้งกลับไม่ปลอดภัยสำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่าหนึ่งปีเพราะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคโบทูลิซึม การให้ลูกกินน้ำผึ้งหนึ่งช้อน หรือให้ลูกกินน้ำผึ้งบ่อยตามความต้องการ สามารถทำได้กับเด็กที่อายุ 1 ปีขึ้นไปเท่านั้น และควรระวังไม่ให้มีการกินน้ำผึ้งมากจนเกินไปเพราะในน้ำผึ้งมีสารประกอบของน้ำตาลฟรุกโตสที่อาจส่งผลให้มีอาการท้องเสีย คุณพ่อคุณแม่สามารถผสมน้ำผึ้งในน้ำอุ่นเพื่อให้ลูกสามารถกินน้ำผึ้งได้ง่ายขึ้น หรืออาจมีการผสมน้ำผึ้งกับน้ำมะนาวหรือน้ำขิง เพื่อเพิ่มวิตามินซี   2. การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ การใช้น้ำเกลือล้างจมูก ทำให้เด็กสามารถสั่งน้ำมูกได้ง่ายขึ้น เพราะการใช้น้ำเกลือล้างจมูกเป็นการขจัดน้ำมูกที่ขวางกั้นอยู่ในทางเดินหายใจ คุณอาจซื้อน้ำเกลือจากร้านขายยาทั่วไป หรืออาจทำเอง โดยผสมเกลือที่ไม่มีไอโอดีนและเบคกิ้งโซดากับน้ำ แล้วนำสารละลายที่ได้นี้ บรรจุในหลอดฉีดยาหรือขวดฉีดพ่นสำหรับล้างจมูก แต่สำหรับเด็กวัยหัดเดิน คุณพ่อคุณแม่อาจมีการพาลูกนั่งลงในอ่างน้ำอุ่นก็สามารถช่วยให้เด็กจมูกโล่งขึ้นได้ หรืออาจทำหลังจากที่มีการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ  3. ทาวาโปรับ วาโปรับ (Vapor rub) เป็นยาที่ออกแบบมาเพื่อบรรเทาอาการคัดจมูก ส่วนผสมของวาโปรับ ประกอบด้วยสารกดอาการไอและยาบรรเทาปวดเฉพาะที่ เช่น การบูร เมนทอล และน้ำมันยูคาลิปตัส ดังนั้น หากคุณใช้วิธีนี้เพื่อบรรเทาอาการไอกับลูก ควรทายาชนิดนี้บางๆ บนหน้าอกและลำคอ เพื่อให้เด็กสามารถหายใจเอายาที่ระเหยออกมาเข้าไป แต่อย่างไรก็ตามกุมารแพทย์บางท่านอาจแนะนำให้ทาบริเวณเท้ามากกว่าบริเวณหน้าอกเพื่อความปลอดภัยที่มากกว่า […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก อาการ สาเหตุ วิธีรักษา

ไทรอยด์เป็นพิษเป็นโรคที่พบได้บ่อยมาก สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย รวมทั้งเด็กทารกและเด็กเล็ก อย่างไรก็ตาม หากเกิดโรค ไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก (Hypothyroidism in Children) ขั้นรุนแรงอาจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กได้ คำจำกัดความไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก คืออะไร ไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก (Hypothyroidism in Children) เป็นโรคที่เกิดจากต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากผิดปกติ หากอยู่ในระดับรุนแรง อาจส่งผลให้เจริญเติบโตช้า มีพัฒนาการล่าช้า รวมถึงพัฒนาการด้านสติปัญญา อาการของโรคนี้มักไม่แสดงในช่วงแรกเกิด ช่วงอายุของเด็กในการแสดงอาการ และความรุนแรงของอาการ ขึ้นอยู่กับการทำงานของต่อมไทรอยด์ว่าสามารถทำงานได้ดีเพียงใด โรคไทรอยด์เป็นพิษเป็นโรคที่พบได้บ่อยมาก สามารถเกิดได้กับคนทุกวัย รวมทั้งเด็กและทารก อาการอาการ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก ทารกแรกเกิด โรคไทรอยด์เป็นพิษเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุ แต่อาการของโรคในเด็กอาจมีแตกต่างกันไป ในเด็กแรกเกิด อาการเกิดขึ้นในช่วง 2-3 สัปดาห์หรือเดือนแรก อาการอาจไม่ชัดเจน จนแพทย์หรือพ่อแม่ไม่สังเกตเห็น อาการอาจมีดังนี้ ตัวเหลือง และจุดขาวที่ตา ท้องผูก เบื่ออาหาร ตัวเย็น ร้องไห้น้อยลง หายใจดัง นอนหลับมากขึ้นหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ น้อยลง จุดนิ่มบนศีรษะขยายใหญ่ขึ้น ลิ้นโต ทารกและเด็กเล็ก ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาวะไทรอยด์เป็นพิษที่เริ่มในวัยเด็กนั้น แตกต่างกันไปตามช่วงอายุ อาการของ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษในเด็ก มีดังนี้ ส่วนสูงน้อยกว่าความสูงเฉลี่ย ขนาดตัวสั้นกว่าปกติ ฟันแท้ขึ้นช้ากว่าปกติ เข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์ช้ากว่า พัฒนาการทางอารมณ์ช้า อัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่าปกติ ผมขาดง่าย หน้าบวม อาการที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ที่มีภาวะไทรอยด์ มีดังนี้ เหนื่อย ท้องผูก ผิวแห้ง วัยรุ่น ภาวะไทรอยด์เป็นพิษในเด็กวัยรุ่น มักเกิดในเด็กผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมักเกี่ยวข้องกับปัญหาระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ โรคต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโต (Hashimoto’s Thyroiditis) วัยรุ่นที่มีประวัติครอบครัวที่เป็นโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน เช่น โรคต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโต โรคเกรฟ หรือเบาหวานชนิดที่ 1 […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ภาวะผิวลายในทารก สาเหตุ อาการ และการรักษา

ภาวะผิวลายในทารก (Cuties Marmorata) คืออาการทางผิวหนังชนิดหนึ่งที่ทำให้ผิวของทารกมีลายและมีสีแดงอมม่วงคล้ายตาข่าย เมื่อสัมผัสอากาศเย็นหรืออาบน้ำ มักไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ และอาจหายไปได้เองเมื่อเจออากาศอุ่น อย่างไรก็ตาม หากมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ผื่นแดง ระคายเคือง ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อทำการตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงและทำการรักษาอย่างรวดเร็ว [embed-health-tool-vaccination-tool] ภาวะผิวลายในทารก คืออะไร ภาวะผิวลาย ในทารกแรกเกิด คือภาวะที่ผิวหนังของเด็กทารกมีลักษณะลายคล้ายร่างแหตาข่าย สีแดงอมม่วง เกิดขึ้นประมาณร้อยละ 50  สามารถพบได้ในเด็กทารกแรกเกิด เมื่อสัมผัสอากาศเย็นหรือตอนอาบน้ำ ส่วนมากพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อย่างไรก็ตาม มีผลการศึกษาของชาวบราซิลในปี 2011 รายงานว่าในบรรดาทารกแรกเกิดจำนวน 203 คน พบทารกที่เกิดภาวะผิวลายต่ำมาก เพียงร้อยละ 5.91  ของทารกที่มีผิวสีอ่อน ภาวะผิวลายนี้สามารถเกิดในผู้ใหญ่ได้เหมือนกัน โดยเฉพาะในนักดำน้ำ หากดำน้ำซ้ำกันนาน ๆ หลายรอบ อาจเกิดภาวะผิวลายจากโรคจากการลดความกดอากาศ (Decompression Sickness) ได้ โรคจากการลดความกดอากาศหรือโรคลดความกด เป็นโรคที่เกิดจากฟองก๊าซก่อตัวขึ้นในระบบหลอดเลือดหรือในเนื้อเยื่อ มักเกิดจากการดำน้ำและลอยตัวขึ้นเร็ว ก๊าซไนโตรเจนอยู่ในภาวะเกินความอิ่มตัว เมื่อความดันอากาศลดลง กลายสภาพเป็นฟองอากาศ ซึ่งสามารถเกิดได้กับทุกส่วนของร่างกายทั้งส่วนที่เป็นของแข็งหรือของเหลว เช่น เกิดฟองอากาศที่กล้ามเนื้อข้อต่อจะมีอาการปวด ถ้าเข้าสู่กระแสเลือดไปอุดเส้นเลือดที่ไขสันหลังหรือสมอง จะทำให้สลบหรือเป็นอัมพาต สาเหตุของภาวะผิวลายในทารก เนื่องจากระบบประสาทและเส้นเลือดในทารกแรกคลอด ยังไม่มีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ เมื่อสัมผัสความเย็น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน