สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก เป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ตั้งแต่อาการทั่วไป จนถึงสัญญาณการติดเชื้อต่าง ๆ เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สุขภาพเด็ก เพื่อการดูแลสุขภาพของลูกน้อย ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพเด็ก

ป้องกันภูมิแพ้ได้ตั้งแต่เริ่ม ด้วยนมแม่ที่มีคุณสมบัติเป็น H.A.

เรื่องสุขภาพของลูก ถือเป็นเรื่องใหญ่ของพ่อแม่ ลูกไม่สบายทีไร คนที่กลุ้มใจที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นคุณพ่อคุณแม่ ดังนั้นแล้วหากมีสิ่งไหนที่ช่วยป้องกันลูกน้อยจากการเจ็บป่วยได้ก็คงจะดีไม่ใช่น้อย  หนึ่งในอาการป่วยที่มักพบในเด็กเล็กๆ คือภูมิแพ้ในเด็กซึ่งดูเหมือนว่าจำนวนผู้ป่วยจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละปี แต่รู้หรือไม่ ว่าตัวช่วยป้องกันภูมิแพ้ในเด็กที่ดีที่สุด ไม่ใช่ของที่หายาก แต่เป็น “นมแม่” นี่เอง ภูมิแพ้ในเด็ก ภูมิแพ้ คืออาการที่ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองไวต่อสารก่อภูมิแพ้หรือสารระคายเคือง ซึ่งสามารถเกิดได้กับหลายระบบในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ภูมิแพ้ทางเดินหายใจ ภูมิแพ้อาหารและยา ภูมิแพ้ผิวหนัง และภูมิแพ้ตา เป็นต้น สำหรับเด็กเล็กแล้ว ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ถือเป็นภูมิแพ้ในเด็กที่พบได้บ่อย สังเกตได้จากการที่ลูกเป็นผื่นเม็ดเล็กๆ เป็นตุ่มแดงหรือตุ่มใสแตกออกมีน้ำเหลืองแฉะหรืออาจเป็นผื่นหนาลักษณะเป็นปื้นตามตัว เป็นๆหายๆ แต่ไม่มีไข้ และผิวหนังจะมีลักษณะแห้งมากและคันมาก  หรือมีผดร้อนทารกนอกจากนี้ ภูมิแพ้ในเด็กที่พบได้บ่อยยังรวมถึง หอบหืด เยื่อบุจมูกอักเสบ และแพ้อาหารด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม อาการภูมิแพ้ในเด็ก อาจนำไปสู่การเกิด ลูกโซ่ภูมิแพ้ (Allergic March) หรือกระบวนการที่ภูมิแพ้ในเด็กพัฒนาต่อเนื่องจากชนิดหนึ่งไปเป็นอีกชนิดหนึ่งตามการเจริญเติบโต ซึ่งมีจุดเริ่มต้นได้ตั้งแต่โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ และการแพ้อาหารในช่วงวัยทารก ตามมาด้วยโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ ทั้งนี้ภาวะลูกโซ่ภูมิแพ้สามารถพัฒนาต่อเนื่องไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ได้เลย H.A. คุณสมบัติที่มีในนมแม่ ช่วยป้องกันภูมิแพ้ เหตุผลที่ “นมแม่” คือตัวช่วยป้องกันภูมิแพ้ตั้งแต่เริ่มต้น นั่นเพราะนมแม่เปี่ยมไปด้วยสารอาหารกว่า 200 ชนิด โดยมี 5 ใยอาหารหลัก […]

หมวดหมู่ สุขภาพเด็ก เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพเด็ก

ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

สัญญาณเตือนออทิสติก ที่พ่อแม่ควรสังเกต

ออทิสติก คือความผิดปกติของพัฒนาการเด็ก ซึ่งส่งผลให้เด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะทางสังคม ทักษะทางภาษาได้อย่างเหมาะสมตามวัย และจะแสดงพฤติกรรมอย่างเดิมซ้ำ ๆ สัญญาณเตือนออทิสติก ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ชัด คือ เด็กไม่ตอบสนองต่อเสียง ไม่ชอบให้ใครสัมผัสตัว ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อทราบถึงวิธีเสริมสร้างพัฒนาการ เพื่อกระตุ้นให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] ออทิสติก คืออะไร ออทิสติก หรือกลุ่มอาการออทิสติก คือ ภาวะความผิดปกติของสมองตั้งแต่กำเนิดที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของยีน จนส่งผลต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการเข้าสังคม ด้านการสื่อสาร ด้านพฤติกรรม ด้านอารมณ์ ทำพฤติกรรมเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ชอบพูดเลียนแบบ สะบัดมือไปมา เด็กที่เป็นโรคออทิสติกแต่ละคนอาจแสดงอาการต่างกัน บางคนอาจมีอาการเล็กน้อย ไม่กระทบการใช้ชีวิตประจำวันมากนัก ในขณะที่บางคนอาจต้องได้รับการดูแลอย่างเต็มรูปแบบ ไม่สามารถใช้ชีวิตตามปกติเองได้ หากพ่อแม่สงสัยและกังวลว่าลูกจะเป็นออทิสติกหรือไม่ คุณหมออาจแนะนำให้ทำการทดสอบและสังเกตพัฒนาการของลูก เช่น ทารกอายุ 6 เดือนไม่มีการยิ้มหรือแสดงความรู้สึกมีความสุข อายุ 12 เดือนแล้วไม่ร้องอ้อแอ้ อายุ 14 เดือนไม่แสดงท่าทาง ชี้ไปที่สิ่งของ หรืออายุ 16 เดือน ยังไม่สามารถพูดคำใด ๆ ได้ สัญญาณเตือนออทิสติก การสังเกตอาการ […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

สัญญาณและการดูแลเด็กที่เป็น Dyslexia

Dyslexia (ดิสเล็กเซีย) เป็นความผิดปกติทางด้านการเรียนรู้และการอ่านรูปแบบหนึ่ง ส่งผลให้เด็กมีปัญหาเรื่องการจดจำคำศัพท์ การอ่าน การสะกด และการเขียนคำศัพท์ ซึ่งไม่ได้เกิดจากความบกพร่องทางสติปัญญา เด็กที่เป็น Dyslexia อาจต้องใช้เวลานานกว่าที่จะสามารถเรียนรู้ตัวหนังสือแต่ละตัว ดังนั้น ผู้ปกครองและคุณครูจึงควรทำความเข้าใจและให้การดูแลเด็กที่เป็น Dyslexia อย่างเหมาะสม ทำความเข้าใจกับ Dyslexia Dyslexia หมายถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติในการเรียนรู้และการอ่าน โรคนี้มักจะส่งผลให้เด็กไม่สามารถจดจำและจัดการกับภาษาได้ เด็กที่เป็นโรคดิสเล็กเซียทักจะมีปัญหากับการเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ และไม่สามารถแบ่งย่อยคำ เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านออกเสียง จึงทำให้เกิดปัญหาในการอ่าน การเขียน และการสะกดคำ เด็กที่เป็นโรคนี้อาจจะสามารถจดจำคำศัพท์ได้ แต่จะมีปัญหาในการเรียนรู้ศัพท์ใหม่ ๆ และอาจจะนึกคำที่เคยเรียนรู้แล้วได้ช้า โรคดิสเล็กเซียนั้นไม่ใช่ความบกพร่องในการเรียนรู้ (learning disability) เพราะไม่ได้เกิดจากความบกพร่องทางสติปัญญาของเด็ก ในช่วงระยะแรกของการเรียน เด็กที่เป็นโรคดิสเล็กเซียอาจสามารถเรียนตามทันเพื่อนๆ ได้โดยไม่มีปัญหาอะไร แต่เมื่อยิ่งโตขึ้นและต้องเจอกับบทเรียนที่ยากขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจเริ่มแสดงให้เห็นถึงปัญหาในการเรียนรู้ของเด็กที่เป็นเด็กที่เป็นโรคดิสเล็กเซีย โรคดิสเล็กเซียเป็นปัญหาที่จะอยู่ไปตลอดชีวิต แต่การช่วยเหลืออย่างถูกวิธี อาจสามารถช่วยชดเชย และทำให้เด็กที่เป็นโรคดิสเล็กเซียสามารถเรียนรู้ความรู้ทางวิชาการ และใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเป็น Dyslexia สัญญาณของโรคดิสเล็กเซียอาจจะสังเกตได้ยากในช่วงแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงก่อนวัยเรียน แต่ก็อาจมีสัญญาณของโรคบางอย่างที่สามารถสังเกตได้ในช่วงวัยต่างๆ ของลูก ดังต่อไปนี้ ก่อนวัยเรียน สัญญาณของโรคดิสเล็กเซียในเด็กก่อนวัยเรียน ได้แก่ เริ่มพูดได้ช้า เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ได้ช้า ไม่สามารถออกเสียงคำได้อย่างถูกต้อง หรือสับสนว่าคำๆ นั้นออกเสียงอย่างไร มีปัญหากับการจดจำชื่อ ตัวเลข หรือสีต่างๆ มีปัญหากับการจับจังหวะเสียงดนตรีง่ายๆ วัยเรียน สัญญาณของโรคดิสเล็กเซียในวัยเรียนอาจสังเกตได้ง่ายมากขึ้น […]


สุขภาพเด็ก

วิธีแปรงฟัน สำหรับเด็ก และประโยชน์ของการแปรงฟันเด็ก

วิธีแปรงฟัน สำหรับเด็กที่ถูกต้อง เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจ แม้เด็กจะยังมีเพียงฟันน้ำนมก็ตาม เพราะหากไม่ดูแลสุขภาพฟันเสียตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น ฟันผุ ฟันขึ้นช้า รากฟันติดเชื้อ ซึ่งนอกจากจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเด็กได้ด้วย ความสำคัญของสุขภาพฟัน สุขภาพฟันของลูกเป็นสิ่งที่สำคัญที่คุณพ่อคุณต้องใส่ใจ ควรพาลูกไปพบทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อตรวจสุขภาพฟันและสุขภาพปากอย่างสม่ำเสมอ แม้จะเป็นเพียงฟันน้ำนม แต่ถ้าหากไม่ดูแลใส่ใจจนปล่อยให้ฟันผุอาจส่งผลเสียต่าง ๆ ตามมา ดังนี้ หากฟันน้ำนมผุไว อาจเพิ่มความเสี่ยงให้ฟันแท้ผุไวขึ้น หากฟันน้ำนมผุไว อาจทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นมาช้ากว่าปกติ หรือปัญหาฟันซ้อนฟันเอียงได้ หากฟันน้ำนมผุหลายซี่ อาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดขณะฟันผุ จนส่งผลการเจริญเติบโตของลูกได้ เช่น น้ำหนักตัวลดลง รับประทานอาหารได้น้อยลง หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นขาดสารอาหาร  3 ท่า แปรงฟันให้ลูก เพื่อสุขภาพฟันที่แข็งแรง ท่าที่ 1 อาจเหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุ 10 เดือนขึ้น ซึ่งอาจทำได้โดยจับลูกไว้ระหว่างขา 2 ข้าง หรือใช้ขาพาดทับแขนลูกไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกใช้มือปัดขณะแปรงฟัน รวมทั้งอาจใช้ขาไขว้ล็อคตัวลูกไว้ เพื่อไม่ให้ลูกดิ้นหนี ท่าที่ 2 เมื่อลูกโตในระดับนึงแล้ว แต่ยังแปรงฟันไม่ค่อยสะอาด คุณพ่อคุณแม่อาจยืนซ้อนด้านหลังของลูก ให้หัวลูกพิงกับตัวเอง จากนั้นจับคางลูกเงยหน้าเล็กน้อย […]


สุขภาพเด็ก

วิธีป้อนยาเด็ก ที่อาจช่วยให้ลูกกินยาง่ายขึ้น

การดูแลเด็กในช่วงที่เด็กป่วยถือเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะเวลาต้องป้อนยาลูก เพราะเด็กส่วนใหญ่ไม่ชอบกินยา บ้างอาจเป็นเพราะไม่ชอบรสชาติของยา บ้างก็ไม่เข้าใจว่าจะต้องกินยาไปทำไม หรือเด็กบางคนอาจกลืนยาเม็ดหรือยาแคปซูลไม่เป็น ยิ่งหากพยายามบังคับให้ลูกกินยา ก็อาจทำให้ลูกกินยายากขึ้น อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้ วิธีป้อนยาเด็ก อย่างถูกวิธี อาจช่วยให้เด็กกินยาง่ายขึ้น ซึ่งอาจส่งผลดีต่อสุขภาพของเด็กเป็นอย่างมาก วิธีป้อนยาเด็ก ที่อาจช่วยให้ลูกกินยาง่ายขึ้น 1. หาวิธีป้อนยาที่เหมาะสม คุณต้องหาว่าลูกคุณชอบกินยาวิธีไหน หรือที่ผ่านมาคุณป้อนยาลูกวิธีไหนแล้วได้ผลที่ดีสุด เช่น ให้กินยาจากช้อนตวง ใช้ไซรินจ์ ใช้หลอดหยดยา ใช้หลอดดูด ให้ดื่มจากแก้ว หากลูกโตพอรู้เรื่องแล้ว คุณอาจให้ลูกได้มีโอกาสเลือกด้วย เช่น เขาอยากกินยาวิธีไหน อยากกินยาตอนก่อนอาบน้ำหรือหลังอาบน้ำ อยากกินยาที่โต๊ะกินข้าวหรือบนโซฟา หากลูกอยากกินยาเอง คุณควรปล่อยให้เขาทำโดยดูแลอยู่ใกล้ๆ 2. ระวังอย่าให้สำลัก เวลาป้อนยา คุณต้องค่อยๆ ป้อน หรืออาจต้องแบ่งยาเป็นส่วนเล็กๆ อย่าพยายามยัดเยียดให้ลูกกินยาจนเขาสำลัก หากเป็นทารกหรือเด็กเล็ก ควรป้อนยาที่กระพุ้งแก้มแทนการป้อนยาที่บนลิ้นส่วนหลัง โดยให้เด็กอยู่ในท่านั่งหรือหลังตรง เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กสำลัก และต้องรอให้เด็กกลืนยาลงคอก่อนจึงค่อยป้อนยาเพิ่ม 3. อธิบายให้ลูกฟังว่าทำไมต้องกินยา หากลูกโตพอรู้ภาษา คุณควรอธิบายให้ลูกฟังว่าทำไมเขาต้องกินยา ให้ลูกรู้ว่ายาจะช่วยให้เขาหายป่วย เขาจะได้ไปโรงเรียน เล่นกับเพื่อน หรือทำกิจกรรมที่เขาชอบได้โดยเร็ว เด็กชอบเล่นหรือทำกิจกรรมต่างๆ มากกว่านอนพักนิ่งๆ อยู่ในบ้านอยู่แล้ว ยิ่งคุณพ่อคุณแม่อธิบายแบบนี้ ก็จะยิ่งทำให้เขาอยากกินยา เพราะจะได้รีบหายจากอาการป่วยและไปเล่นได้ไวๆ 4. ขอความช่วยเหลือจากคุณหมอ ยาบางตัวอาจมีรสชาติดีกว่ายาอีกตัว หรือยาบางตัวอาจกินแค่วันละสองครั้งในขณะที่ยาอีกตัวต้องกินวันละสี่ครั้ง […]


สุขภาพเด็ก

สาเหตุที่ทำให้เด็กมีกลิ่นปาก

เด็กมีกลิ่นปาก เป็นปัญหาที่พบบ่อย โดยเฉพาะในเด็กวัยเตาะแตะ ปัญหากลิ่นปากในเด็กอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การแปรงฟันไม่ถูกต้อง คราบหินปูน เศษอาหารตกค้าง จุกนมหลอก หรือการติดเชื้อภายในช่องปาก ดังนั้น ผู้ปกครองจึงควรศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุและวิธีการดูแลช่องปากอย่างเหมาะ เพื่อช่วยป้องกันปัญหากลิ่นปากในเด็ก สาเหตุที่ทำให้เด็กมีกลิ่นปาก 1. การแปรงฟันของเด็ก สิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่ควรคำนึง คือ การแปรงฟันของเด็ก เพราะถ้าหากเด็กไม่ได้แปรงฟันทุกวัน วันละ 2 ครั้ง และแปรงฟันผิดวิธี เช่น แปรงแค่บริเวณฟันหน้าเพียงอย่างเดียว ก็อาจทำให้มีเศษอาหารหลงเหลืออยู่ตามซอกฟัน บวกกับมีแบคทีเรียในช่องปาก อาจจะทำให้ฟันผุ จนทำให้เกิดปัญหากลิ่นปากในที่สุด 2. ปัญหาคราบหินปูน คราบหินปูน (Plaque) ไม่ได้เกิดแค่เฉพาะกับผู้ใหญ่ เด็กก็สามารถมีคราบหินปูนได้เช่นกัน คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกแปรงฟันทุกวันด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ (Fluoride) เพราะจะช่วยป้องกันฟันผุ และยังช่วยป้องกันคราบหินปูนด้วย ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก โดยให้ลูกแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง คือ ก่อนกินอาหารเช้า และหลังจากกินอาหารเย็น หรือเวลาตื่นนอนและก่อนเข้านอน นอกจากนี้ ถ้าลูกยังอยู่ในวัยเตาะแตะ การให้ลูกนั่งตัก และคุณพ่อคุณแม่ช่วยลูกแปรงฟัน ก็จะช่วยทำให้แปรงฟันได้สะดวกขึ้น 3. ปากแห้ง ปากแห้งสามารถทำให้เกิดปัญหากลิ่นปากได้ โดยบางครั้งลูกอาจจะมีอาการป่วย จนทำให้หายใจไม่สะดวก เลยต้องหายใจทางปาก ก็อาจทำให้เด็กมีอาการปากแห้งได้ แล้วถ้าลูกของคุณชอบดูดนิ้ว หรือดูดผ้าห่ม […]


สุขภาพเด็ก

ลูกฟันผุ สาเหตุ และวิธีรักษาที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

ภาวะฝันผุเกิดได้ทั้งกับเด็กและผู้ใหญ่ แต่อาจพบในเด็กได้มากกว่า เนื่องจากเด็กอาจมีพฤติกรรมในการรับประทานอาหารที่เสี่ยงเกิดฟันผุ เช่น ชอบกินขนมหวาน ชอบกินลูกอม ทั้งยังอาจดูแลและทำความสะอาดภายในช่องปากได้ไม่ดีนัก หากคุณพ่อคุณแม่ปล่อยให้ ลูกฟันผุ ไม่พาไปรักษาอย่างทันท่วงที อาจส่งผลให้เกิดภาวะสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้ โดยเฉพาะหากฟันแท้ผุ อย่างไรก็ตาม การรับรู้สาเหตุและวิธีการรักษาฝันผุที่เหมาะสม อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะฟันผุในเด็กได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกฟันผุ เกิดจากอะไร ฟันผุ คือ ภาวะที่เคลือบฟัน (Enamel) ซึ่งเป็นส่วนที่แข็งที่สุดและเป็นชั้นนอกสุดของฟันถูกทำลาย เนื่องจากมีแบคทีเรียเกาะอยู่บนผิวฟัน แล้วสร้างกรดแลคติกออกมาทำลายแร่ธาตุบนเคลือบฟัน จนทำให้เกิดจุดขาว จุดน้ำตาล หรือจุดสีดำบนฟัน ฟันไวต่อความร้อนหรือความเย็น มีกลิ่นปาก หรือหากฟันผุรุนแรง อาจทำให้ฟันเป็นโพรงขนาดใหญ่ ซึ่งหากปล่อยให้ลูกฟันผุไปถึงโพรงประสาทฟัน อาจทำให้เนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันติดเชื้อและอักเสบจนต้องถอนฟัน และอาจส่งผลให้เกิดภาวะสุขภาพรุนแรงขึ้น เช่น โรคเหงือกอักเสบ การติดเชื้อในกระแสเลือด จนเสี่ยงเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ สาเหตุของภาวะฟันผุในเด็กที่พบได้บ่อย เช่น การรับประทานอาหารน้ำตาลสูงอย่างลูกอม ขนมหวาน น้ำอัดลม แล้วไม่แปรงฟัน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยดังต่อไปนี้ ก็อาจทำให้ลูกฟันผุได้เช่นกัน สุขอนามัยในการดูแลฟันไม่ดี ปากแห้ง มีร่องหรือรอยแยกเกิดขึ้นบนฟัน ขาดฟลูออไรด์ การหลับคาขวดนมตั้งแต่อายุยังน้อย อาหารที่อาจทำให้ ลูกฟันผุ อาหารและเครื่องดื่มที่อาจทำให้ลูกเสี่ยงฟันผุได้ อาจมีดังนี้ ลูกอม ลูกอมส่วนมากมีน้ำตาลหรือสารให้ความหวานเป็นส่วนประกอบหลัก หากรับประทานมากเกินไป หรือรับประทานแล้วไม่แปรงฟันให้ดี […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

เด็กสมาธิสั้น กับการวางแผนการเรียนสำหรับเด็ก

เด็กสมาธิสั้น เป็นอาการสมองและระบบประสาท ที่อาจส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการและพฤติกรรมผิดปกติ และหากส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือการเรียนได้ อย่างไรก็ตาม การวางแผนการเรียนและการใช้ชีวิตที่เหมาะสมให้กับเด็กสมาธิสั้น อาจช่วยให้เด็กใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น และอาจช่วยเสริมสร้างพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กได้ด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคสมาธิสั้น คืออะไร โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder หรือ ADHD) เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและสมอง กล่าวคือ สมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการใช้สมาธิ การจดจ่อ เป็นต้น ทำงานผิดปกติ จนอาจส่งผลเด็กสมาธิสั้นมีอาการอยู่นิ่งไม่ได้ มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เป็นนาน ๆ ไม่ได้ เหม่อลอย วอกแวกง่าย มีอาการหุนหันพลันแล่น เป็นต้น และเด็กสมาธิสั้นมักพบโรคอื่น ๆ ด้วย เช่น โรควิตกกังวล โรคกล้ามเนื้อกระตุก โรคการเรียนรู้บกพร่อง การรักษาเด็กสมาธิสั้นที่นิยมใช้กันทั่วไป เช่น การปรึกษาคุณหมอหรือนักบำบัด และในบางกรณีอาจต้องรับประทานยาควบคู่ไปด้วย เช่น เมทิลเฟนิเดต (Methylphenidate) โดยระยะเวลาและวิธีในการรักษาอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แผนการเรียนสำหรับ เด็กสมาธิสั้น คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกสมาธิสั้นอาจกังวลว่า ทำอย่างไรลูกจึงจะมีผลการเรียนที่ดี เนื่องจากเด็กสมาธิสั้นมักไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียน และไม่สามารถจดจ่อกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นาน ๆ ทั้งยังอาจมีพฤติกรรม เช่น ทำการบ้านไม่เสร็จ อย่างไรก็ตาม เคล็ดลับหรือแผนการเรียนต่อไปนี้ อาจช่วยให้เด็กสมาธิสั้นสามารถเรียนหนังสือ หรือเรียนรู้เรื่องต่าง […]


สุขภาพเด็ก

เด็กผมร่วง เกิดจากอะไร และวิธีรับมือที่ควรรู้

เด็กผมร่วง เป็นปัญหาสุขภาพผมที่ไม่ค่อยพบได้เท่าไหร่ โดยอาจเกิดจากปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น กลาก เกลื้อน โรคดึงผม โรคผมร่วง หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตพบว่าเด็กผมร่วงมากกว่าปกติ ควรพาลูกไปเข้ารับการตรวจเพื่อสาเหตุที่แน่ชัดและทำการรักษาในทันที [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็กผมร่วง เกิดจากอะไร โดยปกติแล้ว เมื่อทุกคนเริ่มมีอายุมากขึ้น ผมก็จะหลุดร่วงไป ถือเป็นเรื่องปกติที่พบเห็นกันได้ทั่วไป และมีสาเหตุต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความเครียด อาการแพ้ การติดเชื้อ ไปจนถึงเรื่องของลักษณะทางพันธุกรรม แต่สำหรับเด็กนั้น ผมร่วงมีสาเหตุมาจาก กลากเกลื้อน  หากพบว่าลูกมีเกลื้อนบนหนังศีรษะ ให้พึงระวังว่านั่นจะเป็นสาเหตุของการทำให้เกิดผมร่วงได้ในเวลาต่อมา เมื่อผมร่วงลงไป บริเวณที่ผมไม่ร่วงก็จะมองดูลักษณะคล้ายกับว่ามีจุดสีดำอยู่ทั่วศีรษะ โรคผมร่วงเป็นหย่อม ๆ ผมร่วงเป็นหย่อมๆ มีสาเหตุมาจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่ทำงานผิดปกติและทำลายรูขุมขน อาการที่ปรากฏอย่างเห็นได้ชัดแบบฉับพลันเลยก็คือ ผมจะร่วงเป็นวงกลมหรือรูปไข่  โรคผมร่วงเป็นหย่อมๆจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันดังนี้ ผมร่วงเป็นหย่อมๆ ผมร่วงหมดทั้งศีรษะ ผมร่วงทั้งหมดบนหนังศีรษะและขนตามตัวร่วงทั้งหมด โรคดึงผม เด็กหลายคนชอบที่จะดึงผม ถอนผมของตัวเอง แพทย์จัดอาการนี้อยู่ในรูปแบบของความผิดปกติชนิดที่เรียกว่าโรคย้ำคิดย้ำทำ ซึ่งผลที่ตามมาคือผมจกบาง หรือบางลงเป็นหย่อมๆ ผมร่วงในระยะทีโลเจน (Telogen effluvium) ทีโลเจน (Telogen) เป็นส่วนหนึ่งของการเจริญเติบโตของเส้นผม ตามปกติแล้วเมื่อเส้นผมหยุดการเจริญเติบโต เส้นผมเก่าจะหลุดออกมาเพื่อให้เส้นผมใหม่ได้งอกขึ้น ซึ่งจะมีรูขุมขนแค่เพียง 10 ถึง 15 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่อยู่ในระยะนี้ในเวลาใดก็ได้ เด็กที่มีภาวะเกี่ยวกับทีโลเจน (Telogen) รูขุมขนจะเข้าสู่ระยะ ทีโลเจน (Telogen) มากกว่าปกติ ดังนั้นแทนที่จะสูญเสียเส้นผม 100 เส้นต่อวันเหมือนเด็กปกติ แต่จะเหลือ […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

สายตาสั้น ในเด็ก รู้หรือไม่ เกิดขึ้นได้อย่างไร?

สายตาสั้น ในเด็ก อาจเกิดจากพันธุกรรมที่ได้รับสืบทอดกันมาในครอบครัว โดยอาจมีปัจจัยเสี่ยงบางอย่างเป็นตัวกระตุ้น เช่น การใช้สายตาอย่างหนัก การใช้สายตาในที่มืด การมองจอมือถือ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็นและการใช้ชีวิตประจำวันได้ ดังนั้น พ่อแม่จึงควรเรียนรู้วิธีการดูแลและแก้ไขปัญหาสายตาสั้นให้ลูกน้อย [embed-health-tool-vaccination-tool] สายตาสั้น ในเด็ก เกิดขึ้นได้อย่างไร? ส่วนใหญ่แล้ว “สายตาสั้น” มักเกิดขึ้นจากการได้รับพันธุกรรม ของคุณพ่อคุณแม่โดยตรง ซึ่งเมื่อเด็กมีสายตาสั้น จะทำให้พวกเขา เห็นภาพในระยะไกลไม่ชัดเจน หรือภาพที่เห็น อาจจะพร่ามัว แต่นอกจากการได้รับพันธุกรรมแล้ว สายตาสั้น ยังเกิดขึ้นได้เมื่อเด็ก ใช้สายตาอย่างละเอียด หรือใช้สายตาอย่างใกล้ชิดจนเกินไป นอกจากนั้นการอ่านหนังสือ เล่นเกมบนมือถือ หรือแท็บเลต หนักมากเกินไปก็อาจส่งผลให้ สายตาสั้นได้ ภาวะสายตาสั้นในเด็ก มีสัญญาณอะไรบ่งบอก สำหรับ ภาวะสายตาสั้นในเด็กนั้น มักจะถูกพบ ในช่วงอายุ 9-10 ปี ซึ่งสัญญาณเริ่มแรกที่เกิดขึ้น คือ ลูกของคุณจะไม่สามารถอ่านข้อความบนกระดานดำจากหลังห้องได้ แต่ยังสามารถอ่านและเขียนได้โดยไม่มีปัญหาอะไร นอกจาก หากมีอาการเหล่านี้ปรากฏร่วมด้วย ก็ถือว่า เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า ลูกของคุณกำลังสายตาสั้น ซึ่งอาการต่างๆ มีดังนี้ ปวดศีรษะ มีอาการคลื่นไส้ หลังจากอ่านหนังสือ ถือหนังสือใกล้ใบหน้ามากกว่าปกติ เวลาเขียนหนังสือ จะมีพฤติกรรมเอาหน้าชิดโต๊ะ นั่งดูโทรทัศน์ในระยะใกล้ขึ้น […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูกเป็นหวัด หายใจไม่สะดวก วิธีป้องกันและการดูแล

ลูกเป็นหวัด หายใจไม่สะดวก มักเกิดขึ้นในเด็กเล็ก โดยเฉพาะเมื่อมีการเปลี่ยนฤดูกาล ไข้หวัดเกิดจากการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอาจเกิดจากไวรัสที่แตกต่างกันมากกว่า 200 ชนิด โดยเฉพาะไวรัสไรโน (Rhinovirus) ที่เป็นสาเหตุของไข้หวัดที่พบบ่อยที่สุด โดยเด็กมักจะเป็นหวัดบ่อยกว่าผู้ใหญ่ บางครั้งเด็กอาจเป็นหวัดด้วยตัวเองหรือได้รับเชื้อมาจากผู้อื่นก็ได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคหวัด คืออะไร หวัด หรือ ไข้หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอาจเกิดจากไวรัสที่แตกต่างกันมากกว่า 200 ชนิด โดยเฉพาะไวรัสไรโน (Rhinovirus) ที่เป็นสาเหตุของไข้หวัดที่พบบ่อยที่สุด โดยเฉพาะเด็กที่มักจะเป็นหวัดบ่อยกว่าผู้ใหญ่ บางครั้งเด็กอาจเป็นหวัดด้วยตัวเองหรือได้รับเชื้อมาจากผู้อื่น สำหรับการได้รับเชื้อหวัดในเด็ก โดยมากมักติดเชื้อหวัดมาจากเพื่อน ๆ ที่โรงเรียน การได้รับเชื้อทางอากาศ การได้รับเชื้อเข้าทางปากจากการหยิบจับสิ่งของที่มีเชื้อโรค และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเปลี่ยนฤดู ด้วยสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ร่างกายของเด็กอาจจะยังปรับตัวตามฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไม่ทัน จึงทำให้เป็นหวัดได้ง่าย อาการเมื่อ ลูกเป็นหวัด หายใจไม่สะดวก เมื่อลูกเป็นหวัด หายใจไม่สะดวก มักมีอาการโดยทั่วไปที่มักสังเกตเห็นได้ ดังนี้ มีอาการอ่อนเพลีย คัดจมูก เจ็บคอ มีน้ำมูกไหล มีอาการไอ สำหรับเด็ก ๆ ที่มีอาการหนัก อาจพบอาการดังต่อไปนี้ร่วมด้วย มีน้ำที่ดวงตา หรือน้ำตาไหล จามบ่อยครั้ง หรือจามไม่หยุด รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง มีไข้สูงในบางครั้ง ทั้งนี้ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน