สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก เป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ตั้งแต่อาการทั่วไป จนถึงสัญญาณการติดเชื้อต่าง ๆ เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สุขภาพเด็ก เพื่อการดูแลสุขภาพของลูกน้อย ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพเด็ก

โนโรไวรัส สาเหตุอาการท้องเสียที่ระบาดในเด็ก

โนโรไวรัส (Norovirus) เป็นเชื้อไวรัสก่อโรคในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในเด็ก เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำลาย น้ำมูก อาเจียน อุจจาระ การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน ยิ่งหากเด็กอยู่ในพื้นที่ปิดและมีผู้คนพลุกพล่านอย่างโรงเรียน เนอสเซอรี สถานรับเลี้ยงเด็ก ก็ยิ่งเสี่ยงรับเชื้อได้ง่าย การรักษาโรคติดเชื้อโนโรไวรัสทำได้ด้วยการดูแลให้ผู้ติดเชื้อพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก ๆ และหลีกเลี่ยงการออกไปที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น โดยทั่วไป หากดูแลถูกวิธี อาการจะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อโนโรไวรัส คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเด็กเล็กหรือวัยเรียนจึงควรรักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ และฝึกให้ลูกดูแลสุขอนามัยของตัวเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโนโรไวรัส [embed-health-tool-vaccination-tool] โนโรไวรัส คืออะไร โนโรไวรัส เป็นชื่อกลุ่มไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ไวรัสชนิดนี้พบได้บ่อยและติดต่อได้ง่ายมาก มักระบาดในหมู่เด็กเล็กและเด็กวัยเรียนที่รวมตัวกันในสถานที่เดียวกันหรือรับประทานอาหารที่จัดเตรียมไว้ให้กับคนจำนวนมาก เช่น เนอสเซอรี่ สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทหอยดิบหรือหอยที่สุกไม่ทั่วถึง ผักและผลไม้ที่ยังไม่ปรุงสุกหรือล้างไม่สะอาด นอกจากนี้ โนโรไวรัสยังสามารถแพร่กระจายผ่านวิธีต่อไปนี้ได้ด้วย การสัมผัสกับน้ำลาย อาเจียน หรืออุจจาระของผู้ติดเชื้อ การรับละอองอาเจียนของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย การสัมผัสกับมือที่ไม่ได้ล้างของผู้ติดเชื้อ การสัมผัสกับวัตถุที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสมาก่อน การรับประทานอาหารและน้ำดื่มร่วมกับผู้ติดเชื้อ อาการของการติดเชื้อ โนโรไวรัส การติดเชื้อโนโรไวรัสอาจทำให้มีอาการต่อไปนี้ อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือน มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยทั่วไป ผู้ติดเชื้อโนโรไวรัสจะแสดงอาการภายใน 1-2 วันหลังรับเชื้อ […]

หมวดหมู่ สุขภาพเด็ก เพิ่มเติม

วัคซีน

สำรวจ สุขภาพเด็ก

ปัญหาระบบย่อยอาหารในเด็ก

วิธีบรรเทาอาการ กรดไหลย้อนในทารก

กรดไหลย้อนในทารก เป็นอาการที่คุณพ่อคุณแม่อาจพบได้หลังจากที่ลูกรับประทานอาหารเสร็จ โดยเฉพาะหลังจากที่ทารกดื่มนม เนื่องจากอวัยวะและการทำงานของระบบย่อยอาหารของทารกอาจยังพัฒนาไม่เต็มที่ ส่งผลให้ทารกอาจมีอาการแสบร้อนทรวงอก ไอ หายใจผิดปกติ ไม่สบายเนื้อสบายตัว ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาวิธีบรรเทาอาการกรดไหลย้อนในทารก เพื่อเตรียมรับมือได้ทันหากลูกเผชิญกับปัญหากรดไหลย้อน สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนในทารก อาการแสบร้อนกลางทรวงอกในทารกและเด็กเล็กเป็นสัญญาณของการเกิดโรคกรดไหลย้อน อาการนี้เกิดขึ้นเมื่อกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหารซึ่งเชื่อมต่อระหว่างปากและกระเพาะอาหารบริเวณส่วนล่างของหลอดอาหารมีกล้ามเนื้อที่เรียกว่า กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหาร ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้กรดไหลออกจากกระเพาะอาหาร หากกล้ามเนื้อส่วนนี้คลายตัวมากเกินไป ก็อาจส่งผลให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไป สร้างความระคายเคืองแก่หลอดอาหาร เกิดอาการแสบร้อนในทรวงอก แต่อาการกรดไหลย้อนในทารกอาจหายไปเองได้เมื่ออายุ 1 ขวบ สาเหตุของการเกิดกรดไหลย้อนในทารก ส่วนใหญ่เกิดจากระบบย่อยอาหารที่ยังเจริญไม่เต็มที่ รวมถึงกรณีที่ทารกมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น น้ำหนักเกิน ได้รับสารพิษจากควันบุหรี่อาจมีอาการทางระบบประสาท สมองพิการ อาการกรดไหลย้อนในทารก เป็นอย่างไร อาการกรดไหลย้อนในทารก อาจทำให้ทารกรู้สึกแสบร้อนในทรวงอก บริเวณลำคอ และคอหอย  ทารกบางคนอาจมีอาการอื่น ๆ เช่น ปวดหลัง เจ็บหน้าอก ไอ เสียงแหบ หงุดหงิด เจ็บปวดเมื่อกลืนอาหาร เจ็บคอ และหายใจมีเสียงหวีดร่วมด้วย นอกจากความรู้สึกไม่สบายตัว ทารกที่มีอาการกรดไหลย้อนอาจมีปัญหาในเรื่องการเพิ่มน้ำหนักตัว มีแผลเกิดขึ้นในหลอดอาหารเนื่องจากกรดไหลย้อน หากไม่ได้รับการรักษากรดไหลย้อนอาจส่งผลให้หลอดอาหารแคบลงหรือเกิดเซลล์ผิดปกติในหลอดอาหาร และสัญญาณเตือนที่แสดงออกมา ดังนี้ เจ็บหน้าอก หายใจไม่สะดวก เสียงแหบ ไอต่อเนื่อง กลืนอาหารลำบาก เจ็บคอ อาเจียน สำลักอาหาร ร้องไห้ระหว่างรับประทานอาหารหรือหลังจากรับประทานอาหาร วิธีบรรเทาอาการกรดไหลย้อนในทารก วิธีบรรเทาอาการกรดไหลย้อนในทารก อาจให้ทารกนอนในตำแหน่งสูงขึ้น การดื่มนมสูตรเข้มข้น การใช้จุกหลอก ทำให้เรอหรือจับทารกให้อยู่ในท่าตั้งตรงเป็นเวลา 30 นาทีหลังจากรับประทานนมหรืออาหาร นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่อาจใช้วิธีการดังต่อไปนี้ […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

โรคเบาหวานชนิดที่1ในเด็ก สัญญาณเตือนและอาการ มีอะไรบ้าง

โรคเบาหวานชนิดที่1ในเด็ก หรือที่มักจะเรียกว่า โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น (Juvenile diabetes) จะเริ่มแสดงอาการหลังจากอายุ 5 ปี หรือบางคนอาจไม่มีอาการจนกระทั่งปลายอายุ 30 ปี โดยเป็นภาวะที่ร่างกายของเด็กไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ได้อีกต่อไป เด็กจึงต้องได้รับการฉีดอินซูลินตลอดชีวิต นอกจากนี้ ทั้งพ่อแม่และเด็กยังต้องเรียนรู้วิธีการฉีดอินซูลิน นับปริมาณคาร์โบไฮเดรต และตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งเป็นหนึ่งวิธีดูแลตนเองสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่1ในเด็ก [embed-health-tool-vaccination-tool] สัญญาณและอาการของ โรคเบาหวานชนิดที่1ในเด็ก สัญญาณและอาการของ โรคเบาหวานชนิดที่1ในเด็ก โดยปกติมักจะพัฒนาอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ โดยเด็กอาจมีอาการดังนี้ กระหายน้ำมากขึ้น และปัสสาวะบ่อย น้ำตาลส่วนเกินที่สะสมอยู่ในกระแสเลือด จะดึงของเหลวออกจากเนื้อเยื่อ ส่งผลให้เด็กรู้สึกหิวน้ำ ทำให้ดื่มน้ำและปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ นอกจากนี้ เด็กที่ป่วยเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 อาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอนด้วย รู้สึกหิวมากกว่าปกติ เมื่อร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอ ที่จะนำน้ำตาลไปยังหล่อเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อและอวัยวะต่าง ๆ ของเด็กขาดพลังงาน กระตุ้นให้เกิดความหิว จนทำให้เด็กอาจรู้สึกหิวมากเป็นพิเศษ น้ำหนักลด แม้ว่าจะรับประทานมากกว่าปกติเพื่อบรรเทาความหิว แต่เด็กที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่1 มักมีน้ำหนักลดลง และในบางครั้งน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากร่างกายไม่มีแหล่งพลังงานอย่างน้ำตาล เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อและไขมันจะหดตัว ซึ่งภาวะน้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ มักจะเป็นสัญญาณแรกของโรคเบาหวานชนิดที่ 1  ที่สามารถสังเกตได้ในเด็ก เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย การขาดน้ำตาลของเซลล์ในร่างกาย […]


ภาวะทุพโภชนาการ

เด็กอ้วน สาเหตุ ความเสี่ยง และวิธีการป้องกันโรคอ้วนในเด็ก

เด็กอ้วน เป็นปัญหาสุขภาพอย่างหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก จากข้อมูลของกรมอนามัยเมื่อปี พ.ศ. 2563 พบว่าเด็กไทยที่มีอายุ 6-14 ปี มีแนวโน้มที่จะมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนมากถึงประมาณ ร้อยละ 12 ซึ่งภาวะอ้วนในเด็กนี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น คอลเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และปัญหาสุขภาพอื่น ๆ หากไม่ได้รับการแก้ไขตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็อาจนำไปสู่โรคเรื้อรังอื่น ๆ เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ [embed-health-tool-”bmi”] เด็กอ้วน เกิดจากอะไร พ่อแม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเด็กมีภาวะน้ำหนักเกินหรือไม่ ด้วยการคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย (BMI) หากเด็กอ้วน ควรปรึกษาคุณหมอ หรือดูแลอาหารการกินของเด็ก และการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กมีน้ำหนักมากเกินไป สาเหตุที่ทำให้เด็กอ้วน เกิดจากหลายปัจจัย เช่น ขาดการออกกำลังกาย กินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ปัจจัยทางพันธุกรรม โรคต่างๆ เช่น มีปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมน เด็กก็เหมือนกับผู้ใหญ่ ที่เมื่อกินอาหารมากกว่าที่ร่างกายเผาผลาญต่อวัน ก็อาจทำให้มีไขมันสะสม แต่เด็กจะต่างจากผู้ใหญ่ตรงที่เด็กอาจต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นตามอายุ อย่างไรก็ตาม หากพบว่าเด็กมีแนวโน้มที่จะอยู่ในเกณฑ์อ้วน ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน และส่งเสริมให้เด็กออกกำลังกายมากขึ้น เพื่อช่วยควบคุมน้ำหนัก และป้องกันไม่ให้เกิดโรคอ้วน เด็กอ้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างไร เด็กอ้วนเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่าง ๆ ดังนี้ คอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

ลูกเลือกกิน กินยาก จะรับมือได้อย่างไรบ้าง

ลูกเลือกกิน หรือกินอาหารยาก เป็นหนึ่งปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนหนักใจ โดยเฉพาะเด็กอายุ 1-5 ปี ทั้งนี้ หากยอมให้ลูกกินแต่อาหารที่ชอบไปเรื่อย ๆ โดยไม่แก้ไข อาจก่อปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น ลูกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์หรือเกินเกณฑ์ พัฒนาการล่าช้า ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่า ลูกเลือกกิน อาจขอคำแนะนำที่เหมาะสมจากคุณหมอเพื่อช่วยให้ลูกมีสุขภาพแข็งแรง มีพัฒนาการที่เหมาะสมและลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพ [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกเลือกกิน เพราะสาเหตุใด ปัญหาเด็กกินยาก หรือเลือกกินมักเริ่มในช่วงอายุ 2-3 ปี ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจว่าที่ลูกเลือกกินนั้นเป็นเพราะอะไร โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ อาหารรสชาติไม่ถูกปาก เด็กบางคนชอบกินอาหารหวาน ซึ่งเป็นเพราะสัญชาตญาณที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เนื่องจากอยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโต ร่างกายจึงต้องการอาหารที่ให้พลังงานหรือแคลอรีสูง นอกจากนั้น เด็กบางคนยังมียีนที่ทำให้ไวต่อรสขม จึงไม่แปลกที่เด็กจะเลือกกิน ชอบกินแต่ขนมหรือกินอาหารบางอย่างยากเป็นพิเศษ ลูกยังไม่หิว พออายุครบ 2 ปีการเจริญเติบโตของเด็กจะค่อย ๆ ช้าลง พวกเขาจึงกินได้น้อยลง หรือบางวันก็ไม่อยากอาหาร และบางครั้งอาจกินขนมและเครื่องดื่มมากจนทำให้รู้สึกอิ่มและไม่อยากกินอาหารมื้อหลัก ลูกมีปัญหาสุขภาพ บางครั้งการที่ ลูกเลือกกินหรือกินยาก อาจมาจากปัญหาสุขภาพ หากลูกกระวนกระวาย หรืองอแงตลอดเมื่อถึงเวลากินอาหาร อาจเป็นเพราะเด็กเป็นภูมิแพ้อาหาร หรือมีความผิดปกติของระบบประมวลผลทางประสาทสัมผัส (Sensory Processing Disorder) เกิดจากสมองไม่สามารถประมวลข้อมูลที่ได้รับผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้ เด็กที่เป็นโรคนี้จึงมักไวต่อรส กลิ่น หรือเนื้อสัมผัสของอาหารบางชนิดเป็นพิเศษ ลูกเลือกกิน […]


สุขภาพเด็ก

วิธีการรับมือเมื่อเด็กกลัวความมืด

เด็กกลัวความืด เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในเด็กเล็ก เนื่องจากเด็กมักจะมีจินตนาการสูง ชอบคิดว่าอาจจะมีสัตว์ประหลาดที่อยู่ใต้เตียง หรือกลัวว่าตัวอะไรจะโผล่มาในความมืด ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาเกี่ยวกับวิธีการรับมืออย่างเหมาะสมเมื่อเด็กมีอาการกลัวความมืด [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็กกลัวความมืด พ่อแม่รับมืออย่างไร สิ่งที่ดีที่สุดที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ คือการสื่อสาร โดยควรพูดคุยกับลูกด้วยความเข้าใจ ซึ่งเด็กๆ จะสามารถเข้าใจได้ และที่สำคัญคือไม่ควรพูดกับลูกว่า การกลัวความมืดเป็นเรื่องงี่เง่า เพราะนอกจากจะไม่ช่วยให้อาการกลัวของเด็กหายไป ยังทำให้เด็กรู้สึกผิด รวมถึงรู้สึกอายด้วย นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำและไม่ควรทำดังต่อไปนี้ ควรใจเย็น เวลาพูดกับเด็ก ๆ เรื่องอาการกลัวความมืดให้พูดด้วยความใจเย็น และไม่ใช้อารมณ์เวลาพูดกับลูก เพราะอาจทำให้ทุกอย่างแย่ลง ให้คุณพ่อคุณแม่แก้ไขสถานการณ์โดยทำให้เด็ก ๆ รู้สึกว่าตัวเองปลอดภัย และทำให้พวกเขารู้สึกว่ารับมือกับความกลัวได้ นอกจากนี้ ยังอาจตั้งชื่อให้กับความกลัว เพื่อให้เด็ก ๆ รู้ว่าตัวเองกำลังกลัวอะไรแล้ว และทำความเข้าใจกับความกลัวนั้น อย่าใช้อารมณ์ เด็กกลัวความมืดอาจไม่ใช่เรื่องแปลก และคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรที่จะหงุดหงิด หรืออารมณ์เสีย เมื่อรู้ว่าสิ่งที่ลูกกลัวไม่มีอยู่จริง ฝึกให้เด็กตัดสินใจ ลองให้ลูก ๆ มีอำนาจในการตัดสินใจที่จะจัดการกับความกลัว โดยอาจถามลูกว่า อยากให้พ่อแม่นอนด้วยหรือไม่ หรือให้เข้ามาดูลูกเป็นระยะ และให้เด็ก ๆ ตัดสินใจว่าเวลาไหนที่ลูกจะรู้สึกปลอดภัยที่สุด เช่น อยากให้คุณพ่อคุณแม่มาหาทุก ๆ 5 นาทีหรือทุก ๆ 2 ชั่วโมง ซึ่งการให้เด็กตัดสินใจ จะช่วยให้ลูกรู้สึกดีขึ้น นอกจากนี้ยังควรให้ลูกอยู่กับอุปกรณ์ที่ทำให้พวกเขารู้สึกสบาย […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

เด็กตาเหล่ วิธีสังเกตและการรักษา

เด็กตาเหล่ สามารถรักษาได้หากพบอาการตั้งแต่เด็กอายุยังน้อย ยิ่งพบในอายุน้อยเท่าไหร่ โอกาสประสบความสำเร็จในการรักษายิ่งสูง คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลูกน้อยว่ามีพัฒนาการทางสายตาเหมาะแก่วัยหรือไม่ หากพบอาการผิดปกติหรือไม่แน่ใจว่าเป็นอาการตาเหล่หรือไม่ ควรปรึกษาคุณหมอ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดอาการแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายแก่ดวงตาได้ เช่น โรคตาขี้เกียจ (Amblyopia) เด็กตาเหล่ มีอาการอย่างไร ตาเหล่ หรือตาเข คืออาการที่ดวงตาทั้งสองข้างอยู่ในตำแหน่งที่ผิดปกติหรือไม่เท่ากัน โดยอาจเห็นได้ว่าดวงตาข้างหนึ่ง อาจมองตรงไปข้างหน้า ในขณะที่ดวงตาอีกข้างอาจจะเหลือกขึ้นบน เหลือกลงล่าง พลิกกลับเข้าด้านใน หรือโปนออกด้านนอก เป็นต้น โดยปกติแล้ว ดวงตาจะมีกล้ามเนื้อ 6 มัด ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว เพื่อให้ดวงตาทั้งสองข้างทำงานร่วมกันได้อย่างสอดคล้อง อาการตาเหล่จะเกิดขึ้นเมื่อระบบควบคุมกล้ามเนื้อดวงตาในสมองทำงานผิดปกติ ส่งผลให้มัดกล้ามเนื้อในดวงตาไม่สามารถทำงานสอดประสานกันเพื่อเคลื่อนไหวดวงตาไปมา ทำให้ดวงตามองไปในตำแหน่งที่ต่างกัน และไม่สามารถมองไปในทิศทางเดียวกันพร้อมกันได้ อาการตาเหล่อาจเป็นตั้งแต่เกิด หรือเกิดขึ้นได้เมื่อดวงตาได้รับผลกระทบจากการหักเหของแสงผิดปกติ เช่น จากภาวะสายตายาว สายตาสั้น หรือสายตาเอียง รวมถึงอาจเกิดขึ้นได้จากความป่วยไข้ หรือการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและเส้นประสาทได้เช่นกัน หากปล่อยไว้อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพดวงตา เช่น โรคตาขี้เกียจ (Amblyopia) จะรู้ได้อย่างไรว่า เด็กตาเหล่ หากเด็กมีอาการตาเหล่ จะสังเกตเห็นว่าตาดำสองข้างจะไม่อยู่ในแนวเดียวกัน และมองไปคนละทิศทาง ในเด็กทารก อาจพบว่ามีอาการตาเขได้เวลาที่เด็กรู้สึกเหนื่อยล้า แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีอาการตาเหล่โดยกำเนิด  อย่างไรก็ตาม หลังจากอายุ 4 เดือนไปแล้ว ผู้ปกครองควรนำลูกไปพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการตรวจ และหากทารกต้องหมุนศีรษะเวลามองสิ่งของ หรือหลับตาลงเพียงข้างเดียวเวลาเห็นแสงแดดจ้า อาจถือได้ว่ามีสัญญาณของอาการตาเหล่ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

เด็กละเมอ เป็นเรื่องปกติหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่ต้องกังวล

การเดินละเมอเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย แต่จะพบบ่อยในเด็ก ตามสถิติแล้วเด็ก 1 ใน 5 จะเดินละเมออย่างน้อย 1 ครั้ง นอกจากนี้อาการละเมอ สามารถเกิดขึ้นได้จนถึงตอนที่เป็นวัยรุ่น และบางครั้งอาจเกิดขึ้นจนถึงวัยที่เป็นผู้ใหญ่ เด็กละเมอ ถือเป็นเรื่องปกติหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่คุณพ่อคุณแม่ควรกังวล การเดินละเมอ คืออะไร เดินละเมอ (Sleepwalking) เป็นอาการที่เด็กจะลุกขึ้นจากที่นอน และเดินไปขณะที่กำลังหลับอยู่ ซึ่งลักษณะแบบนี้ถือเป็นอาการเดินละเมอที่พบบ่อย นอกจากนี้ยังมีอาการเดินละเมออื่นๆ ได้แก่ ละเมอพูด ตื่นนอนยาก ดูงุนงง ไม่ตอบสนองเวลาพูดด้วย ลุกขึ้นมานั่ง เคลื่อนไหวแบบเดิมซ้ำๆ เช่น ขยี้ตา นอกจากนี้ เด็กที่เดินละเมอสามารถลืมตาได้ แต่จะมองไม่เห็นเหมือนตอนตื่น โดยลักษณะที่พบบ่อยคือเด็กจะคิดว่าพวกเขาอยู่ในห้องที่แตกต่างจากห้องที่บ้าน หรืออยู่ในสถานที่อื่น มากไปกว่านั้น เด็กๆ มีแนวโน้มที่จะมีอาการเดินละเมอภายใน 1-2 ชั่วโมงก่อนจะหลับ และอาจเดินไปที่ใดที่หนึ่งโดยใช้เวลาตั้งแต่ไม่กี่วินาที ถึง 30 นาที และในขณะที่พวกเขากำลังละเมอ ก็ยากที่จะปลุกให้ตื่น แต่เมื่อตื่นแล้วเด็กอาจรู้สึกงัวเงียและสับสนเป็นเวลา 1-2 นาที ถึงแม้ว่าจะเรียกว่าการเดินละเมอ แต่ก็อาจไม่ได้เป็นเพียงแค่การเดิน เนื่องจากการเดินละเมอสามารถหมายถึงอาการอื่นๆ ได้ และไม่ว่าเด็กๆ จะมีอาการละเมอในลักษณะใด พวกเขาก็มักจะจำไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างตอนที่พวกเขาละเมอ ส่วนสาเหตุของการละเมอ มีดังนี้ สาเหตุของอาการเดินละเมอ การเดินละเมอนั้นพบได้ทั่วไปในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ และถ้าพ่อแม่เคยมีอาการเดินละเมอตอนเด็ก ลูกก็มีแนวโน้มที่จะเดินละเมอด้วย ซึ่งสาเหตุของอาการเดินละเมออาจเกิดจาก นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรืออ่อนเพลีย นอนหลับไม่ตรงเวลา ป่วย หรือเป็นไข้ ยาบางชนิด ความเครียด ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep […]


สุขภาพเด็ก

ดูแลสุขภาพฟันลูก ควรเริ่มต้นเมื่อไหร่ และทำอย่างไรดี

การ ดูแลสุขภาพฟัน ตั้งแต่ลูกอายุยังน้อย สามารถช่วยป้องกันไม่ให้ลูกมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากได้ในภายหลัง การเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพฟันของลูกที่ถูกต้อง จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลย อย่างไรก็ตาม หากไม่แน่ใจว่าควรดูแลสุขภาพฟันลูกอย่างไร หรือหากพบความผิดปกติเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากของลูก ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อขอคำปรึกษา และเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที พ่อแม่ควรเริ่ม ดูแลสุขภาพฟัน ของลูกเมื่อใด การดูแลสุขอนามัยทางช่องปากที่ดี อาจต้องเริ่มตั้งแต่ก่อนที่ฟันซี่แรกของลูกจะขึ้น โดยปกติแล้ว ฟันของทารกในครรภ์จะเริ่มก่อตัวขึ้นตั้งแต่ในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 และตอนคลอด เด็กทารกแรกเกิดจะมีฟันอยู่แล้วประมาณ 20 ซี่ ฟันบางซี่อาจโผล่พ้นเหงือกให้เห็นได้บ้าง ในขณะที่บางซี่ก็ยังอยู่ใต้ขากรรไกร ยังไม่โผล่พ้นเหงือก วิธีดูแลสุขภาพฟันให้ลูกที่เหมาะสม อาจมีดังนี้ ทำความสะอาดเหงือกให้ลูก โดยใช้ผ้าเนื้อนุ่มชุบน้ำอุ่น จากนั้นเช็ดเหงือกเบา ๆ เพื่อกำจัดสิ่งสกปรก สิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อแบคทีเรีย ที่อาจส่งผลให้มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้ หากฟันของลูกขึ้นแล้ว สามารถทำความสะอาดฟันและเหงือกให้ลูกด้วยแปรงสีฟันขนอ่อนนุ่มสำหรับเด็ก หากฟันของลูกขึ้นหลายซี่แล้ว หลังแปรงฟันให้ลูก สามารถใช้ไหมขัดฟันได้ เพื่อทำความสะอาดสิ่งสกปรกที่อาจตกค้างอยู่ตามซอกฟัน เมื่อลูกอายุประมาณ 2 ขวบ ควรหัดให้ลูกบ้วนปากหลังแปรงฟัน เมื่อลูกอายุเกิน 3 ขวบ สามารถใช้ยาสีฟันได้ในปริมาณเท่าเมลํดถั่ว หากลูกอายุต่ำกว่า 6 ขวบ ควรดูแลระหว่างแปรงฟันอย่างใกล้ชิด เพราะลูกอาจแปรงฟันไม่ทั่วถึงและไม่สะอาดพอ ปัญหาสุขภาพฟันเด็กที่พบได้บ่อย ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากและฟันของลูกที่พบได้บ่อย อาจมีดังนี้ ฟันผุ หากทำความสะอาดฟันและช่องปากไม่ถูกวิธี อาจทำให้มีแบคทีเรียสะสมอยู่ในช่องปาก แบคทีเรียเหล่านี้กินน้ำตาลจากอาหารและเครื่องดื่มเป็นอาหาร […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

เด็กเป็นหวัดบ่อยกว่าผู้ใหญ่ เกิดจากสาเหตุใด

ไข้หวัด เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่ติดได้จากการหายใจ ส่งผลต่อคนทุกวัย แต่จากผลของค่าสถิตินั้น พบว่า เด็กมีโอกาสที่จะติดเชื้อหวัด ได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตสัญญาณเตือนของโรคหวัดได้จากอาการ ปวดหัว ไข้สูง น้ำมูกไหล คัดจมูก และจาม หากพ่อแม่พบว่า เด็กเป็นหวัดบ่อย ควรเรียนรู้วิธีการป้องกัน และวิธีการจัดการกับโรคได้ดังต่อไปนี้ สาเหตุที่ทำให้ เด็กเป็นหวัดบ่อย คืออะไร ไข้หวัดเป็นการติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสหนึ่งชนิดหรือมากกว่า เชื้อไวรัสพวกนี้จะเข้าไปในจมูกและเพดานปากและมีอัตราการติดเชื้อสูงกว่าเชื้อโรคทุกประเภท เชื้อไวรัสเหล่านี้มักเข้าสู่ร่างกายทางปากหรือจมูกของทารกจากหลายแหล่ง ได้แก่ ทางอากาศ เมื่อมีคนไอ จาม หรือพูดคุย พวกเขาอาจจะแพร่เชื้อไวรัสสู่เด็กและทารกได้โดยตรง การสัมผัสเชื้อโดยตรง เช่น การกอด การจูบ เชื้อไวรัสสามารถแพร่ได้เมื่อมีการสัมผัสทารก การจูบที่หน้าหรือมือของทารก จะทำให้เด็กมีโอกาสติดเชื้อได้ เมื่อเอามือเข้าปากหรือขยี้ตา จากวัตถุที่ปนเปื้อน เชื้อไวรัสบางชนิดสามารถติดอยู่ที่วัตถุได้ตั้งแต่สองถึงสี่ชั่วโมง เด็กจะติดเชื้อจากไวรัสโดยการสัมผัสวัตถุต่างๆ เช่น ของเล่น อาการของโรคหวัดในเด็ก คัดจมูกหรือน้ำมูกไหล น้ำมูกข้นและเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือเขียว มีไข้สูง (ประมาณ 37.80 องศาเซลเซียส) จาม ไอ เบื่ออาหาร ระคายเคืองและนอนไม่หลับ ระบบภูมิคุ้มกันของทารกต้องใช้เวลาในการต่อต้านโรคหวัด หากเด็กทารกติดหวัดโดยไม่มีอาการแทรกซ้อน ควรได้รับการรักษาภายใน 7 ถึง 10 […]


สุขภาพเด็ก

ตาขี้เกียจ โรคพบบ่อยในเด็ก กับสาเหตุและอาการที่ควรรู้

ตาขี้เกียจ (Amblyopia) เป็นโรคทางจักษุที่เกิดขึ้นเมื่อดวงตาลดการทำงานในการมองเห็นอย่างรุนแรง ในช่วงวัยทารกและวัยเด็ก แว่นตาหรือคอนเทคเลนส์อาจไม่สามารถแก้ไขอาการดังกล่าวได้ ในบางรายผู้ป่วยอาจได้รับผลกระทบทางสายตาเพียงข้างเดียว หรือการมองเห็นลดลงอาจเกิดขึ้นกับดวงตาทั้ง 2 ข้าง หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษา อาการตาขี้เกียจอาจก่อให้เกิดอาการตาบอดได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] สัญญาณโรค ตาขี้เกียจ เป็นอย่างไร โรคตาขี้เกียจเป็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในทารกและเด็กวัยเจริญเติบโต ซึ่งกำลังมีพัฒนาการด้านการมองเห็น โดยอาการของโรคยากที่จะสังเกตเห็น เด็กที่มีอาการของโรคตาขี้เกียจอาจไม่รู้สึกว่ามีปัญหาการมองเห็น เพราะเคยชินกับการใช้งานสายตาในข้างที่ดีกว่า โดยไม่รู้สึกถึงว่าสายตาอีกข้างที่อ่อนแอกว่านั้นเป็นปัญหา คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็นปัญหา หากพบว่าเด็กหรี่ตาหรือเอียงคอ เพื่อทำให้มองเห็นได้ชัดเจนขึ้นอยู่บ่อยครั้ง หรือในเด็กหลายคนอาจมีปัญหาในการมองเห็นภาพสามมิติ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจลองทำการทดสอบง่าย ๆ ด้วยการปิดตาข้างหนึ่งและเปิดตาข้างหนึ่งของเด็กทีละข้าง และลองถามเด็กว่า ดวงตาแต่ละข้างสามารถมองเห็นได้ชัดเจนดีหรือไม่ เพื่อดูว่าเด็กไม่มีปัญหาเมื่อปิดตาข้างใดข้างหนึ่ง หากพบว่าเด็กรู้สึกมองเห็นได้ไม่สะดวกด้วยตาข้างใดข้างหนึ่ง นั่นหมายความว่า ดวงตาข้างที่ไม่ได้ปิดตานั้นมีอาการของโรคตาขี้เกียจ อย่างไรก็ตาม นี่เป็นทดสอบอาการขั้นพื้นฐาน ไม่อาจทดแทนการตรวจสอบสายตาจากผู้เชี่ยวชาญได้ ในกรณีที่เด็กมีอาการ คุณพ่อคุณแม่ควรนัดหมายเพื่อเข้ารับการตรวจสายตาอย่างละเอียดจากผู้เชี่ยวชาญทันที สาเหตุของโรคตาขี้เกียจ โรคตาขี้เกียจอาจเกิดขึ้นเมื่อดวงตาข้างหนึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดเจนกว่าดวงตาอีกข้างหนึ่ง ซึ่งสาเหตุอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้  เกิดจากตาเหล่ (Strabismic Amblyopia) อาจพบได้บ่อยและเป็นสาเหตุหลักของโรคตาขี้เกียจ โดยดวงตาไม่สามารถทำงานสอดประสานกันได้ดี ทำให้มองเห็นภาพซ้อนและอาจทำให้สมองละเลยภาพจากดวงตาข้างมีปัญหา สายตาข้างใดข้างหนึ่งมีปัญหา (Refractive Amblyopia) บางครั้งดวงตาของผู้ที่มีอาการตาขี้เกียจนั้นก็ปกติดี แต่ในบางกรณี อาการตาขี้เกียจอาจเกิดจากการที่สายตามีความผิดปกติในดวงตาทั้ง 2 ข้าง สมองจะเลือกใช้ตาข้างที่มีความผิดปกติทางสายตาที่น้อยกว่า และละเลยภาพที่ไม่ชัดเจนจากสายตาอีกข้างหนึ่ง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน