สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก เป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ตั้งแต่อาการทั่วไป จนถึงสัญญาณการติดเชื้อต่าง ๆ เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สุขภาพเด็ก เพื่อการดูแลสุขภาพของลูกน้อย ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพเด็ก

โนโรไวรัส สาเหตุอาการท้องเสียที่ระบาดในเด็ก

โนโรไวรัส (Norovirus) เป็นเชื้อไวรัสก่อโรคในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในเด็ก เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำลาย น้ำมูก อาเจียน อุจจาระ การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน ยิ่งหากเด็กอยู่ในพื้นที่ปิดและมีผู้คนพลุกพล่านอย่างโรงเรียน เนอสเซอรี สถานรับเลี้ยงเด็ก ก็ยิ่งเสี่ยงรับเชื้อได้ง่าย การรักษาโรคติดเชื้อโนโรไวรัสทำได้ด้วยการดูแลให้ผู้ติดเชื้อพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก ๆ และหลีกเลี่ยงการออกไปที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น โดยทั่วไป หากดูแลถูกวิธี อาการจะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อโนโรไวรัส คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเด็กเล็กหรือวัยเรียนจึงควรรักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ และฝึกให้ลูกดูแลสุขอนามัยของตัวเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโนโรไวรัส [embed-health-tool-vaccination-tool] โนโรไวรัส คืออะไร โนโรไวรัส เป็นชื่อกลุ่มไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ไวรัสชนิดนี้พบได้บ่อยและติดต่อได้ง่ายมาก มักระบาดในหมู่เด็กเล็กและเด็กวัยเรียนที่รวมตัวกันในสถานที่เดียวกันหรือรับประทานอาหารที่จัดเตรียมไว้ให้กับคนจำนวนมาก เช่น เนอสเซอรี่ สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทหอยดิบหรือหอยที่สุกไม่ทั่วถึง ผักและผลไม้ที่ยังไม่ปรุงสุกหรือล้างไม่สะอาด นอกจากนี้ โนโรไวรัสยังสามารถแพร่กระจายผ่านวิธีต่อไปนี้ได้ด้วย การสัมผัสกับน้ำลาย อาเจียน หรืออุจจาระของผู้ติดเชื้อ การรับละอองอาเจียนของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย การสัมผัสกับมือที่ไม่ได้ล้างของผู้ติดเชื้อ การสัมผัสกับวัตถุที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสมาก่อน การรับประทานอาหารและน้ำดื่มร่วมกับผู้ติดเชื้อ อาการของการติดเชื้อ โนโรไวรัส การติดเชื้อโนโรไวรัสอาจทำให้มีอาการต่อไปนี้ อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือน มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยทั่วไป ผู้ติดเชื้อโนโรไวรัสจะแสดงอาการภายใน 1-2 วันหลังรับเชื้อ […]

หมวดหมู่ สุขภาพเด็ก เพิ่มเติม

วัคซีน

สำรวจ สุขภาพเด็ก

ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

ภาวะบกพร่องทางการเขียน คืออะไร ทำไมจึงทำให้เด็กเรียนรู้ช้าได้

ภาวะบกพร่องทางการเขียน หรือโรคดิสกราเฟีย (Dysgraphia) คือภาวะที่เด็กมีปัญหาในการเขียนสะกดคำผิดเป็นประจำและอาจพัฒนาได้ช้าหรือไม่สามารถปรับปรุงหรือพัฒนาได้ด้วยตนเองแม้ว่าจะเติบโตขึ้นมาตามวัยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเรียงลำดับตัวอักษรผิด การพิมพ์ หรือการสะกดคำผิด เด็กแต่ละคนอาจต้องใช้เวลาในการเรียนรู้แตกต่างกันไป หากเด็กเขียนคำผิดบ้าง หรือใช้เวลาคิดคำหรือคิดประโยคใดนานก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะเด็กบางคนอาจเรียนรู้ได้ช้ากว่าเด็กคนอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่และคนรอบข้างจำเป็นที่จะต้องสังเกตหากเด็กเรียนรู้ช้า ไม่สามารถพัฒนาได้เมื่อเวลาผ่านไป  ควรหาวิธีช่วยพัฒนาทักษะการเขียนให้เด็ก ๆ เพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเข้าสังคมได้ตามวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] ทำความรู้จัก ภาวะบกพร่องทางการเขียน ภาวะบกพร่องทางการเขียน หรือโรคดิสกราเฟียเป็นโรคทางระบบประสาทในกลุ่มโรคบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือโรคการเรียนรู้บกพร่อง (Learning disorder) ที่สามารถส่งผลกระทบได้กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทำให้มีปัญหาในการเขียน เช่น เรียงลำดับตัวอักษรผิด เขียนตัวหนังสือติดกันเป็นพรืด หรือเว้นวรรคไม่ถูก สะกดคำไม่ได้ ถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นตัวอักษรไม่ได้ หรือบางครั้งอาจใช้คำผิดความหมาย ทำให้ผู้อื่นอ่านไม่เข้าใจ ภาวะนี้ส่งผลต่อการเรียนรู้และการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก และในปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญก็ยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่า ภาวะบกพร่องทางการเขียน หรือโรคดิสกราเฟียในเด็กนั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุใดกันแน่ แต่เด็กที่เกิดภาวะนี้มักจะมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้อื่น ๆ ด้วย เช่น ภาวะพร่องการอ่านหรือโรคดิสเล็กเซีย (Dyslexia) โรคสมาธิสั้น สำหรับผู้ใหญ่บางคนที่ต้องพบเจอกับประสบการณ์สะเทือนขวัญ หรือเหตุการณ์ร้ายแรงที่สร้างความบอบช้ำทางจิตใจ รวมถึงอาการบาดเจ็บทางสมอง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ก็สามารถส่งผลให้เกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน ปัจจัยเสี่ยงของภาวะบกพร่องทางการเขียน แม้ผู้เชี่ยวชาญจะยังไม่รู้สาเหตุที่แน่ชัดของภาวะนี้ แต่ก็พบว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ มักมีคนในครอบครัวประสบปัญหานี้มาก่อน เป็นไปได้ว่ามีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรืออาจเกี่ยวข้องกับพัฒนาการของทารกในช่วงตั้งครรภ์ เช่น เด็กคลอดก่อนกำหนด ภาวะบกพร่องทางการเขียน […]


โรคทางเดินหายใจในเด็ก

โรคโควิด 19 ส่งผลต่อสุขภาพเด็กอย่างไร และวิธีดูแลเด็กที่ควรรู้

การแพร่ระบาดของ ไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ หรือที่เรียกว่า โรคโควิด 19 ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง การเรียนรู้เกี่ยวกับไวรัสโคโรนา และวิธีป้องกันการติดเชื้อ จึงเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรละเลย เพื่อจะได้ดูแลลูกได้เป็นอย่างดี ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ และหากลูกติดเชื้อโคโรนา ก็จะได้สามารถดูแลได้อย่างเหมาะสม ไวรัสโคโรนา (Coronaviruses) และโรคโควิด 19 คืออะไร เชื้อไวรัสโคโรนา (Coronaviruses) เป็นโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นไวรัสตระกูลเดียวกันที่ก่อให้เกิดโรคซาร์ส (SARS: Severe Acute Respiratory Syndrome) หรือโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง และโรคเมอร์ส (MERS: Middle East Respiratory Syndrome) หรือโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง โดยพบผู้ติดเชื้อที่แรกในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประมาณปลายเดือนปี 2019 ในประเทศจีน โดยมีข้อสันนิษฐานว่าต้นตอการระบาดในครั้งนี้มาจากเนื้อสัตว์ป่าที่ขายในตลาดหัวหนาน ซึ่งปัจจุบันได้ระบาดไปยังเมืองต่างๆของประเทศจีนและไปยังต่างประเทศรวมถึงมีการแพร่ระบาดในประเทศไทยอีกด้วย โรคโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อเด็กอย่างไร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดย ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ลงนามหนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่ 26 มกราคม 2563 เรื่อง การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 […]


สุขภาพเด็ก

กลุ่มอาการพราเดอร์ วิลลี คืออะไร สังเกตได้อย่างไร

กลุ่มอาการพราเดอร์ วิลลี เป็นโรคพันธุกรรมชนิดหนึ่ง เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ส่งผลให้ทารกที่เกิดมามีปัญหาด้านการเจริญเติบโต การควบคุมอารมณ์ รวมทั้งการควบคุมความหิว ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอย่างโรคอ้วน โรคเบาหวาน ได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] กลุ่มอาการพราเดอร์ วิลลี คืออะไร กลุ่มอาการพราเดอร์ วิลลี (Prader-Willi syndrome) คือโรคทางพันธุกรรมโดยโครโมโซมคู่ที่ 15 จากยีนของผู้ที่เป็นพ่อนั้นได้หายไป ทำให้สมองปล่อยฮอร์โมนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ออกมามากผิดปกติทำให้ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ ส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ รวมถึงพฤติกรรมของลูกน้อยที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต การควบคุมอารมณ์ และปัญหาด้านการนอนหลับ รวมถึงความอยากอาหาร ทำให้ลูกรักไม่รู้สึกถึงความอิ่ม อาจนำไปสู่โรคแทรกซ้อนอย่างโรคอ้วน และโรคอื่นๆ ที่สามารถตามมาได้ เช่น โรคเบาหวานประเภท 2 โรคกระดูกพรุน โรคหัวใจ สัญญาณของกลุ่มอาการพราเดอร์ วิลลี อาการแรกเริ่มอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ช่วงอายุ ได้แก่ ช่วงที่ 1 ทารกอายุ  0 – 12 เดือน โดยมีอาการดังต่อไปนี้ กล้ามเนื้อผิดปกติ ลักษณะของอวัยวะบางส่วนบนใบหน้าเปลี่ยนแปลง เช่น ศีรษะเล็ก ริมฝีปากบนบาง ดวงตามีรูปทรงคล้ายเม็ดอัลมอนด์ การพัฒนาทางกายภาพลดลง ร่างกายไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติเนื่องจากมีกล้ามเนื้อที่ไม่แข็งแรง […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

โรคโมยาโมยา ในเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ ไม่สามารถประมาทได้

ถึงแม้ โรคโมยาโมยา จะเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ค่อนข้างยาก และยังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก แต่ก็สามารถส่งผลอันตรายร้ายแรงแก่ลูกน้อย ดังนั้น จึงควรเรียนรู้วิธีการสังเกตอาการ ควรถึงวิธีการรักษาอย่างเหมาะ เพื่อสุขภาพของลูกน้อย [embed-health-tool-vaccination-tool] รู้จักกับ โรคโมยาโมยา ที่คุณพ่อคุณแม่ศึกษาไว้ โรคโมยาโมยา (Moyamoya disease) ในภาษาญี่ปุ่นนั้นแปลได้ว่า กลุ่มควัน สาเหตุที่เรียกเช่นนี้ เป็นเพราะผนังหลอดเลือดแดงภายในสมองหนาขึ้นจนเกิดการอุดตัน ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดและออกซิเจนที่จำเป็นไปเลี้ยงสมองลดลง แต่ก็ยังคงมีเส้นเลือดกลุ่มอื่นๆ ที่คอยสนับสนุนโดยการลำเลียงเลือดเข้าไปช่วย จนเกิดเป็นกลุ่มก้อนบริเวณรอบๆ คล้ายกลุ่มควันลอยตัว ส่วนใหญ่โรคโมยาโมยาพบได้มากทางด้านแถบเอเชียตะวันออก และสามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกับเด็ก 5-10 ขวบขึ้นไป โรคนี้จะไม่ได้แสดงอาการในทันที แต่ค่อยๆ เป็นไปอย่างช้าๆ ตามลำดับขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 หลอดเลือดแดงคาโรทิด (carotid arteries) เริ่มมีการจำกัดการลำเลียงเลือด ขั้นที่ 2 หลอดเลือดมีผนังที่ขยายใหญ่ขึ้นจนเกิดการอุดตันขึ้น ขั้นที่ 3 มีแรงกดจากผนังที่หนาขึ้นจนทำให้การไหลเวียนเลือดของสมองส่วนหน้าและส่วนกลางลดลง ขั้นที่ 4 การอุดตันหลอดเลือดลุกลามไปยังสมองส่วนหลัง ขั้นที่ 5 สมองทุกส่วนเกิดการขาดเลือดและก๊าซออกซิเจนไปเลี้ยง ขั้นที่ 6 เป็นการอุดตันของหลอดเลือดแดงคาโรคทิดทั้งภายในและภายนอกโดยสมบูรณ์ หากคุณพ่อคุณแม่ชะล่าใจ หรือประมาทแม้แต่เล็กน้อย อาจทำให้ลูกรักของคุณสูญเสียการทำงานของร่างกายอย่างถาวร ยากที่จะคืนสภาพกลับมาเป็นดังเดิม  อาการที่บ่งบอกว่าลูกน้อยของคุณควรเข้าปรึกษาแพทย์ […]


สุขภาพเด็ก

โรคปอมเป คืออะไร จะสังเกตอาการและรักษาได้อย่างไร

ถึงแม้ โรคปอมเป จะเป็นโรคที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ยากกับทารก หรือลูกน้อยของคุณ แต่ก็เป็นเรื่องที่ไม่สามารถประมาทได้ เพราะโรคนี้มีความรุนแรงสูง เสี่ยงต่อสุขภาพร่างกายของเด็กแรกเกิดอย่างมาก วันนี้ Hello คุณหมอ ขอพาคุณพ่อคุณแม่ทุกคน มาทำความรู้จักลักษณะอาการเพื่อให้ลูกรักได้รับการรักษาอย่างเท่าทัน ทำความรู้จักกับ โรคปอมเป ก่อนจะสายเกินแก้ โรคปอมเป (Pompe Disease) เป็นภาวะทางพันธุกรรมที่ทำให้กล้ามเนื้อของทารกอ่อนแรง ซึ่งเกิดจากการขาดเอนไซม์ในการย่อยสลายโมเลกุลขนาดใหญ่ที่มีชื่อว่า ไกลโคเจน (glycogen) นอกจากจะไปทำลายระบบกล้ามเนื้อแล้ว ยังสามารถทำให้ระบบหายใจบกพร่อง และสร้างความเสียหายไปยังตับได้อีกด้วย ประเภทของโรคปอมเปแบ่งออกเป็น 3 ประเภท หรือตามช่วงอายุ ดังนี้ ชนิดที่เริ่มเป็นตอนแรกเกิด (Classic infantile-onset) ชนิดที่เริ่มตั้งแต่ในวัยทารก (Non-classic infantile-onset) ซึ่งอาจยังไม่แสดงอาการมากนัก แต่จะค่อยๆ ปรากฎขึ้นเมื่อทารกมีอายุได้ 1 ปี ชนิดที่เริ่มเป็นในวัยเด็กจนถึงผู้ใหญ่ (Late-onset) ชนิดนี้มีความรุนแรงน้อยลงกว่า 2 ชนิดแรก และอาจเริ่มมีอาการหลังอายุ 1 ปี หรือช่วงวัยรุ่น จนไปถึงวัยผู้ใหญ่ได้ อาการที่บ่งบอกว่าลูกน้อยคุณควรเข้ารับการรักษา อย่างเร่งด่วน คุณพ่อคุณแม่สามารถเช็กอาการของลูกได้ตั้งแต่กำเนิด หากพบความผิดปกติ ควรรีบขอคำแนะนำแนวทางการรักษาที่ถูกต้องจากแพทย์โดยทันที อาการแรกเริ่มของทารกนั้นมี ดังต่อไปนี้ กล้ามเนื้ออ่อนแรง พบข้อบกพร่องเกี่ยวกับหัวใจในเด็ก […]


โรคผิวหนังในเด็ก

ลูกผิวแห้ง ปัญหากวนใจ ที่คุณแม่ไม่อาจละเลย

ลูกผิวแห้ง อาจเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในทารกและเด็กเล็ก โดยสาเหตุที่ทำให้ลูกผิวแห้งอาจขึ้นตามธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ แต่ในบางครั้ง อาการผิวแห้งที่เกิดขึ้นก็อาจมีสาเหตุมาจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคผิวหนังอักเสบ โรคทางพันธุกรรม ดังนั้น การดูแลทำความสะอาดผิว รวมถึงการบำรุงผิวอย่างถูกต้อง อาจช่วยแก้ปัญหาผิวแห้งและทำให้สุขภาพผิวของลูกแข็งแรง ลูกผิวแห้ง เป็นอันตรายอะไรหรือไม่ อาการผิวแห้งของลูกอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่เกิดความกังวลใจ หรือไม่แน่ใจว่าอาการผิวแห้งที่เกิดขึ้นเป็นสัญญาณของภาวะที่เป็นอันตรายหรือไม่ โดยปกติแล้ว อาการผิวแห้งของเด็กมักจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติตั้งแต่แรกเกิด หรือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ อาการเหล่านี้ถือเป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นได้เป็นประจำ และสามารถจัดการได้ง่าย ๆ เพียงแค่บำรุงผิวให้ถูกต้อง ในบางครั้ง อาการผิวแห้งของลูกอาจมีสาเหตุมาจากโรคผิวหนังอักเสบหรือโรคทางพันธุกรรม ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบคุณหมอ เพื่อทำการวินิจฉัยและหาแนวทางการรักษาโรคอย่างถูกต้อง นอกจากนี้ คุณหมอยังอาจตรวจสอบดูว่ามีสัญญาณของการติดเชื้อที่ผิวหนัง เช่น มีหนอง มีอาการบวมตามรอยแตกแห้งของผิวด้วยหรือไม่ สาเหตุที่ทำให้ลูกผิวแห้ง ผิวของทารกและเด็กเล็กมีความบอบบางเป็นอย่างมาก ทำให้ไวต่อสิ่งระคายเคือง และความเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อมต่าง ๆ จนอาจนำไปสู่ปัญหาผิวแห้งได้ โดยสาเหตุที่อาจทำให้ลูกผิวแห้งอาจมีดังนี้ สภาพอากาศ อากาศที่เย็นและแห้งอาจทำลายชั้นไขมันที่ปกป้องผิว ทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้น เกิดเป็นผิวแห้ง แตก และกระด้าง นอกจากนี้ อากาศที่ร้อนจัดก็อาจทำให้ผิวของเด็กเกิดอาการแห้งได้เช่นกัน เนื่องจากแสงแดดในช่วงหน้าร้อน อากาศในห้องปรับอากาศ และการสูญเสียเหงื่อที่มากจนเกินไป อาจทำให้เด็กขาดน้ำ และส่งผลให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้นและแห้ง เป็นตั้งแต่แรกเกิด เด็กทารกหลายคนอาจจะมีผิวแห้งและลอกทันทีตั้งแต่หลังคลอด โดยเฉพาะทารกที่อยู่ในครรภ์มากกว่า 40 สัปดาห์ขึ้นไป และอาการอาจดีขึ้นเองเมื่อโตขึ้น อาบน้ำบ่อยเกินไป การอาบน้ำให้ลูกบ่อยเกินไปอาจเป็นการทำลายน้ำมันตามธรรมชาติบนผิวหนัง ทำให้ผิวหนังไม่สามารถกักเก็บความชุ่นชื้นไว้ได้ และเกิดเป็นอาการผิวแห้ง หรืออาจจะทำให้ผิวที่แห้งอยู่แล้ว […]


โรคติดเชื้อในเด็ก

Mycoplasma คืออะไร

Mycoplasma คือ เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการหลอดลมอักเสบและการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน สามารถติดต่อสู่กันได้ด้วยการแพร่กระจายระหว่างคนสู่คนผ่านของเหลวในร่างกาย รวมทั้งเสมหะที่มาจากการไอ นอกจากนี้ยังอาจแพร่กระจายผ่านละอองในอากาศด้วยการจาม หรือพูดคุย การติดเชื้อ Mycoplasma มักพบได้บ่อยในเด็กวัยเรียน ทั้งยังอาจเป็นสาเหตุของโรคปอดบวม แต่การติดเชื้อเหล่านี้อาจหาได้ยากในเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี Mycoplasma คือ ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการติดเชื้อ Mycoplasma ประมาณ 2 ล้านครั้ง/ปี โดยไมโคพลาสมานั้น เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการหลอดลมอักเสบและการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน สามารถติดต่อสู่กันได้ด้วยการแพร่กระจายระหว่างคนสู่คนผ่านของเหลวในร่างกาย รวมทั้งเสมหะที่มาจากการไอ นอกจากนี้ยังอาจแพร่กระจายผ่านละอองในอากาศด้วยการจาม หรือพูดคุย Mycoplasma อาจแพร่กระจายได้ง่ายที่สุดในหมู่คนที่อยู่ใกล้ชิดกับคนอื่น ซึ่งรวมไปถึงผู้ที่อาศัยอยู่ในครอบครัวเดียวกัน ค่ายทหาร ค่ายพัก โรงเรียน รวมไปถึงในมหาวิทยาลัย นอกจากนี้เชื้อ Mycoplasma ยังสามารถแพร่กระจายไปทั่วชุมชนได้อีกด้วย การติดเชื้อ Mycoplasma มักพบได้บ่อยในเด็กวัยเรียน ทั้งยังอาจเป็นสาเหตุของโรคปอดบวม แต่การติดเชื้อเหล่านี้อาจหาได้ยากในเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี อาการที่เกิดขึ้นเมื่อเด็กได้รับเชื้อ Mycoplasma โดยปกติแล้ว ความเจ็บป่วยที่เกิดจากเชื้อ Mycoplasma อาจไม่รุนแรงในช่วงแรก แต่เมื่อผ่านไป 1-4 สัปดาห์อาการอาจจะเริ่มแย่ลง ทำให้เกิดการติดเชื้อได้หลายประเภท สำหรับโรคที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก ก็คือ หลอดลมอักเสบ (Tracheobronchitis) หรือที่รู้จักทั่วไปว่า […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

อาการสมาธิสั้นในเด็ก ปัจจัยเสี่ยง วิธีป้องกัน

อาการสมาธิสั้นในเด็ก เป็นภาวะเรื้อรังที่เกิดขึ้นก่อนเด็กมีอายุ 12 ปี เด็กบางคนเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุ 3 ขวบและอาจเป็นต่อเนื่องจนถึงวัยผู้ใหญ่ โดยคุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตว่าเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ได้จากอาการกระสับกระส่ายอยู่ไม่นิ่ง หรือไม่สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาวิธีรับมือเมื่อเด็กมีอาการสมาธิสั้น ก่อนนำไปสู่ภาวะที่รุนแรงขึ้นจนกระทบกระเทือนการใช้ชีวิตเมื่อเตบโตขึ้นในอนาคต [embed-health-tool-vaccination-tool] อาการสมาธิสั้นในเด็ก อาการของเด็กสมาธิสั้นมีความรุนแรงหลายระดับ และพบได้มากในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง สำหรับเด็กผู้ชาย มักมีอาการอยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่นเป็นหลัก ส่วนเด็กผู้หญิงอาจมีอาการขาดสมาธิในการจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาการของเด็กสมาธิสั้นแบ่งได้ 3 ประเภท ดังนี้ สมาธิสั้นแบบขาดสมาธิ (Predominantly Inattentive) เด็กที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มนี้อาจไม่มีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งรอบตัว เช่น ไม่ใส่ใจรายละเอียดจนเกิดความผิดพลาด มีปัญหาในการจดจ่อกับสิ่งที่ต้องทำ มีอาการเมินเฉย ไม่ตอบโต้เมื่อมีคนพูดด้วยมีอาการลืมบ่อย ฟุ้งซ่าน สมาธิสั้นแบบอยู่ไม่นิ่งและหุนหันพลันแล่นเป็นหลัก (Predominantly Hyperactive/Impulsive) เด็กที่สมาธิสั้นในกลุ่มนี้จะมีอาการอยู่ไม่สุข พูดมากเกินไป ชอบขัดจังหวะผู้ถาม ไม่ชอบการรอ ไม่สามารถทำกิจกรรมใด ๆ หรืออาจทำอย่างเงียบ ๆ ไม่สามารถอยู่นิ่งได้จะต้องวิ่ง ปีน หรือเคลื่อนไหวร่างกายอยู่ตลอดเวลา สมาธิสั้นแบบผสม เด็กที่มีลักษณะโรคสมาธิสั้นแบบผสมจะมีอาการของทั้ง 2 ลักษณะผสมกันไปตามสถานการณ์หรืออารมณ์ของเด็กที่ไม่อาจคาดเดาได้ ปัจจัยเสี่ยงเด็กสมาธิสั้น อาการเด็กสมาธิสั้นอาจจะมีสาเหตุไม่แน่ชัด แต่เป็นไปได้ว่าอาจมาจากปัจจัยเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ดังนี้ กรรมพันธุ์ หากมีคนในครอบครัว เป็นโรคสมาธิสั้นหรือเป็นโรคทางจิตเวชอื่น ๆ อาจเป็นสาเหตุที่ส่งผลให้เด็กมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้ […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

ไบโพลาร์ในเด็ก อาการ ปัจจัยเสี่ยง และการรับมือ

ไบโพลาร์ในเด็ก อาจสังเกตได้จากอาการอารมณ์แปรปรวนผิดปกติ สมาธิสั้น หุนหันพลันแล่น ก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย หรือมีพฤติกรรมที่ดปลี่ยนแปลงไป คุณพ่อคุณแม่ควรคอยสังเกตอาการของลูก และปรึกษาคุณหมอเพื่อหาวิธีการรับมือกับโรคไบโพลาร์ในเด็กอย่างเหมาะสม อาการของไบโพลาร์ในเด็ก โรคไบโพลาร์ในเด็ก เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกเพศ ทุกวัย โรคไบโพลาร์ในเด็กสามารถทำให้อารมณ์ของพวกเขามีความแปรปรวน ตั้งแต่ระดับสูงจนถึงระดับต่ำ พวกเขาอาจมีอาการสมาธิสั้น อาการสงบ หรือบางครั้งก็เกิดภาวะซึมเศร้า ซึ่งอาการอารมณ์แปรปรวนในเด็ก ๆ ถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่หากเด็ก ๆ มีอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญานที่บ่งบอกว่าเขามีอาการโรคไบโพลาร์ มีอารมณ์แปรปรวนที่รุนแรง แตกต่างจากอารมณ์แปรปรวนตามปกติที่เกิดขึ้นในทุก ๆ วัน มีอาการสมาธิสั้น มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น ก้าวร้าว หรือมีพฤติกรรมต่อต้านสังคม มีปัญหาในการนอนหลับ หรือเป็นโรคนอนไม่หลับ มีอารมณ์หงุดหงิด เกือบทั้งวันในช่วงที่มีอาการซึมเศร้า มีความคิดที่อยากฆ่าตัวตาย พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องเพศหรือแสดงพฤติกรรมที่มีความสนใจทางเพศ รู้สึกไร้ค่า มีอาการร่าเริงผิดปกติ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่สมเหตุสมผล ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดไบโพลาร์ในเด็ก ยังไม่มีความชัดเจนถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค ไบโพลาร์ในเด็ก แต่ปัจจัยหลาย ๆ อย่างอาจเพิ่มความเสี่ยงของเด็กในการพัฒนาความผิดปกตินี้ เช่น พันธุกรรม การที่คนในครอบครัวมีประวัติเคยเป็นโรคไบโพลาร์ เป็นหนึ่งในความน่าจะเป็นที่เป็นความเสี่ยง ที่ถือว่าเป็นความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุด หากสมาชิกในครอบครัวคนอื่นมีความผิดปกติของโรคไบโพลาร์ เด็กที่เกิดมาก็อาจจะมีแนวโน้มที่จะมีอาการโรคไบโพลาร์ ปัญหาระบบประสาท โครงสร้างของสมองหรือการทำงานของสมอง ที่มีความผิดปกติสามารถทำให้เด็กมีความเสี่ยงที่จะพัฒนาเป็นโรคไบโพลาร์ได้ สภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมที่เจอในชีวิตประจำวันก็เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถทำให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไบโพลาร์ได้ หากเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความเครียด กดดัน ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคไบโพลาร์ บาดแผลทางจิตใจ การมีเหตุการณ์ในวัยเด็กที่ไม่พึงประสงค์ เกิดขึ้นซ้ำๆ หลายๆ ครั้ง […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

สัญญาณเตือนออทิสติก ที่พ่อแม่ควรสังเกต

ออทิสติก คือความผิดปกติของพัฒนาการเด็ก ซึ่งส่งผลให้เด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะทางสังคม ทักษะทางภาษาได้อย่างเหมาะสมตามวัย และจะแสดงพฤติกรรมอย่างเดิมซ้ำ ๆ สัญญาณเตือนออทิสติก ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ชัด คือ เด็กไม่ตอบสนองต่อเสียง ไม่ชอบให้ใครสัมผัสตัว ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อทราบถึงวิธีเสริมสร้างพัฒนาการ เพื่อกระตุ้นให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] ออทิสติก คืออะไร ออทิสติก หรือกลุ่มอาการออทิสติก คือ ภาวะความผิดปกติของสมองตั้งแต่กำเนิดที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของยีน จนส่งผลต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการเข้าสังคม ด้านการสื่อสาร ด้านพฤติกรรม ด้านอารมณ์ ทำพฤติกรรมเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ชอบพูดเลียนแบบ สะบัดมือไปมา เด็กที่เป็นโรคออทิสติกแต่ละคนอาจแสดงอาการต่างกัน บางคนอาจมีอาการเล็กน้อย ไม่กระทบการใช้ชีวิตประจำวันมากนัก ในขณะที่บางคนอาจต้องได้รับการดูแลอย่างเต็มรูปแบบ ไม่สามารถใช้ชีวิตตามปกติเองได้ หากพ่อแม่สงสัยและกังวลว่าลูกจะเป็นออทิสติกหรือไม่ คุณหมออาจแนะนำให้ทำการทดสอบและสังเกตพัฒนาการของลูก เช่น ทารกอายุ 6 เดือนไม่มีการยิ้มหรือแสดงความรู้สึกมีความสุข อายุ 12 เดือนแล้วไม่ร้องอ้อแอ้ อายุ 14 เดือนไม่แสดงท่าทาง ชี้ไปที่สิ่งของ หรืออายุ 16 เดือน ยังไม่สามารถพูดคำใด ๆ ได้ สัญญาณเตือนออทิสติก การสังเกตอาการ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน