เด็กทารก

วัยทารก คือช่วงเวลาที่เปราะบางและควรได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงและมีความสุข เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ เด็กทารก ตั้งแต่ทารกแรกเกิดถึงขวบปีแรก ทารกคลอดก่อนกำหนด ตลอดจนถึงโภชนาการสำหรับเด็กทารก และการดูแลเด็กทารก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กทารก

แพมเพิส มีประโยชน์อย่างไร เคล็ดลับการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

แพมเพิส ผ้าอ้อมเด็ก หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป ใช้สวมใส่ให้ลูกเพื่อรองรับการขับถ่ายของทารก แพมเพิสนั้นใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ควรเตรียมไปเพื่อให้ลูกใส่ก่อนออกจากโรงพยาบาล เพราะผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพิ่มความสะดวกสบายง่ายต่อการสวมใส่ แต่การใช้ผ้าอ้อมเด็ก ก็มีสิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังเช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ข้อดีของแพมเพิส หน้าที่ของแพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อซึมซับปัสสาวะและอุจจาระของทารกและเด็ก จึงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกสบาย เพียงใส่แพมเพิสให้กับทารก ลูกน้อยก็สามารถขับถ่ายได้สะดวก การซึมซับของแพมเพิสยังทำได้ดี คอยห่อตัวลูกให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ทารกสบายตัว นอนหลับได้ดี การใช้แพมเพิสยังง่ายต่อการเปลี่ยน โดยสามารถนำแพมเพิสที่ใช้แล้วทิ้งขยะได้เลย จึงประหยัดเวลา ไม่ต้องซักบ่อย ๆ แบบผ้าอ้อมชนิดผ้า  เคล็ดลับการใส่แพมเพิส แพมเพิสสำหรับทารกมี 2 ประเภท วิธีเปลี่ยนแพมเพิสจึงแตกต่างกัน ดังนี้ เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบเทปกาว ก่อนเปลี่ยนแพมเพิสควรดูแลทำความสะอาดทารก เช็ด หรือซับ ให้ตัวแห้งก่อนเปลี่ยนแพมเพิส เตรียมแพมเพิสแบบเทปกาวให้พร้อม กางออก หากมีขอบปกป้องการรั่วซึมให้ดึงตั้งขึ้น  จับทารกให้อยู่ในท่านอนหงาย นำแพมเพิสสอดเข้าไปใต้ก้นลูก โดยยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นเล็กน้อย ดึงตัวแพมเพิสขึ้นมาใกล้กับหน้าท้อง ให้ขอบของแพมเพิสต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย จากนั้นนำแถบเทปที่อยู่ด้านหลังดึงมาติดให้กระชับกับด้านหน้า โดยสามารถปรับแถบกาวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เสียสีกับสะดือทารก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดที่สะดือยังไม่หลุด ตรวจความเรียบร้อย ลองใช้นิ้วสอดระหว่างผ้าอ้อมกับตัวลูก ควรพอดีตัว ไม่หลวมเกินจนหลุด และไม่แน่นจนเสียดสีกับผิวของทารก สำหรับแพมเพิสแบบเทปกาวต้องคอยสังเกตไม่ให้แถบของเทปกาวสัมผัสกับผิวหนังลูก เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบกางเกง ทารกที่น้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม สามารถใส่แพมเพิสแบบกางเกงได้ ซึ่งแพมเพิสชนิดนี้จะเหมาะกับเด็ก […]

หมวดหมู่ เด็กทารก เพิ่มเติม

โภชนาการสำหรับทารก

สำรวจ เด็กทารก

การดูแลทารก

ฟันซี่แรก ของลูก และข้อควรรู้สำหรับคุณพ่อคุณแม่

ฟันซี่แรก ถือเป็นพัฒนาการทางกายที่สำคัญอย่างหนึ่งของเด็กทุกคน อย่างไรก็ตาม ฟันซี่แรก อาจทำให้เด็กรู้สึกไม่สบาย มีปัญหาสุขภาพ หรือมีพฤติกรรมแปลกไปจนคุณพ่อคุณแม่สังเกตได้ เช่น เหงือกบวม ร้องไห้ งอแง ดังนั้น การทราบข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลฟันซี่แรก วิธีแปรงฟัน รวมถึงวิธีบรรเทาอาการที่อาจเกิดขึ้น อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ดูแลและรับมือกับอาการที่เกิดขึ้นลูกน้อยได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ฟันซี่แรก ขึ้นเมื่อใด โดยทั่วไปแล้ว ฟันซี่แรกของเด็กจะขึ้นในช่วงอายุประมาณ 6 เดือน แต่เด็กอาจเริ่มมีฟันขึ้นในช่วงใดช่วงหนึ่งระหว่างอายุ 6-13 เดือนก็ได้ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรกังวลมากเกินไป หากลูกอายุครบ 6 เดือนแล้วแต่ฟันซี่แรกยังไม่ขึ้น ฟันซี่แรกที่ขึ้นมักจะเป็นฟันด้านหน้า โดยฟันล่างมักจะขึ้นก่อน แต่สำหรับเด็กบางคน ฟัน 2 ซี่บนอาจขึ้นมาก่อนพร้อม ๆ กัน จากนั้นฟันซี่อื่นจึงค่อย ๆ ขึ้นตามกันมาเป็นลำดับ เด็ก ๆ จะมีฟันน้ำนมครบทุกซี่ ภายในอายุ 3 ขวบ โดยทั่วไปแล้ว ลำดับการขึ้นของฟันในช่วงอายุต่าง ๆ ได้แก่ 6-12 เดือน ฟันหน้า 9-12 เดือน ฟันด้านข้าง (ที่ติดกับฟันหน้าตรงกลาง) […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ท่าให้นม ท่าไหนดีที่เหมาะสมทั้งคุณแม่และลูกน้อย

ท่าให้นม เป็นท่านั่งสำหรับคุณแม่ที่ต้องเน้นลักษณะท่าทางที่ผ่อนคลาย เนื่องจากเป็นการนั่งที่อาจต้องใช้เวลานาน หากนั่งผิดท่านอกจากจะไม่สบายตัวแล้ว อาจส่งผลต่อสุขภาพหลังและสุขภาพด้านอื่น ๆ ในระยะยาว ดังนั้น คุณแม่จึงควรเลือกท่าให้นมที่เหมาะสมกับสรีระ รวมทั้งต้องคำนึงถึงท่าทางการดื่มนมของลูกน้อยด้วย เพื่อลูกจะได้ดื่มนมอย่างถูกวิธีไม่เกิดปัญหาการสำลัก แก๊สในกระเพาะอาหาร หรือปัญหาอื่น ๆ ตามมา [embed-health-tool-due-date] ท่าให้นมที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่ 1. ท่าลูกนอนขวางตัก (Cradle Hold) ท่านี้เป็นท่าให้นมที่พบมากที่สุด โดยคุณแม่จะนั่งตัวตรง หลังพิงเก้าอี้หรือหมอนตามความถนัด ร่วมกับการงอแขนแล้วประคองตัวลูก โดยให้ศีรษะของลูกวางอยู่ที่ด้านในของข้อศอก ใช้ฝ่ามือของแขนข้างเดียวกัน ประคองก้นของลูกเอาไว้ ให้ลำตัวของลูกหันเข้ามาลำตัวของแม่ ซึ่งหน้าท้องของเด็กต้องอยู่แนบกับหน้าท้องของแม่ จากนั้นยกลูกขึ้นหาเต้านม โดยใช้มืออีกข้างหนึ่งเพื่อจับเต้านม เพื่อให้หัวนมอยู่ในตำแหน่งที่พอดีกับปากของลูก เพื่อให้ลูกอมหัวนมได้ง่ายขึ้น 2. ท่าลูกนอนขวางตักแบบประยุกต์ (Cross-cradle hold) ท่านี้คล้ายกับท่าลูกนอนขวางตัก แต่การวางตำแหน่งแขนจะต่างกัน นั่นคือให้ใช้แขนข้างที่ถนัดโอบด้านหลังลูก แล้วใช้มือข้างนั้นประคองศีรษะลูกเอาไว้ พร้อมกับหันตัวลูกเข้าหาลำตัวของแม่ โดยหน้าท้องของเด็ก และแม่อาจต้องแนบชิดกัน หรือหากไม่ถนัด อาจใช้หมอนรองแขน เพื่อช่วยยกตัวลูกให้อยู่ในระดับที่ใกล้กับหัวนมมากขึ้น แล้วใช้มืออีกด้านหนึ่งประคองเต้านมเอาไว้ เพื่อช่วยให้ลูกน้อยอมหัวนมได้ถนัดขึ้น 3. ท่าอุ้มฟุตบอล (Football Hold) ถือได้ว่าเป็นอีกท่าที่เหมาะสำหรับแม่ที่คลอดลูกด้วยการผ่าท้องคลอด หรือแม่ที่มีขนาดหน้าอกค่อนข้างใหญ่ ท่านี้ลำตัวส่วนล่างของเด็กจะถูกหนีบอยู่ใต้แขนของแม่ คล้ายกับการล็อคลำตัวของเด็กไว้ไม่ให้เคลื่อนขณะให้นม จากนั้นแม่จะใช้มือข้างเดียวกันประคองศีรษะของเด็กเอาไว้ และหันหน้าเด็กเขาหาเต้านม พร้อมนำอีกมือหนึ่งของแม่ประคองเต้านมไว้ร่วม เพื่อให้ลูกดื่มนมจากเต้าคุณแม่ได้ถนัดขึ้น 4. ท่าตะแคงข้าง […]


โภชนาการสำหรับทารก

ให้นมลูก นานเกิน 1 ปี มีประโยชน์อย่างไรบ้าง

คำแนะนำเกี่ยวกับการ ให้นมลูก โดยทั่วไปคือ ทารกควรได้รับน้ำนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน ทำให้คุณแม่หลายคนอาจหยุดให้นมลูกเมื่อครบ 6 เดือน แต่องค์การอนามัยโลกและองค์การยูนิเซฟได้ให้คำแนะนำว่า ควรให้ลูกกินนมแม่ต่อเนื่องไปจนอายุครบ 2 ปี เพื่อให้ทารกได้รับสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการและการเจริญเติบโตอย่างเต็มเปี่ยม นอกจากนี้ ยังอาจสามารถช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของลูก และช่วยลดความเสี่ยงการเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmi] ให้นมลูก นานแค่ไหนจึงจะดี นมแม่ได้รับการรับรองว่าเป็นอาหารที่เหมาะสมที่สุดในการเลี้ยงทารก โดยองค์การอนามัยโลกแนะนำว่า การให้นมลูกควรเริ่มต้นตั้งแต่ชั่วโมงแรกของชีวิต และต่อเนื่องไปจนถึงหกเดือน โดยให้นมแม่เพียงอย่างเดียว ไม่ต้องเพิ่มอาหารเสริมใดๆ และหลังจากหกเดือนจึงค่อยเพิ่มอาหารเสริมที่เหมาะกับวัยเข้ามา อย่างไรก็ตามนี่ไม่ได้หมายความว่า แม่ควรหยุดให้นมลูกเมื่ออายุ 6 เดือน แต่ยังควรให้นมลูกต่อเนื่องไปยาวนานกว่านั้น โดยองค์การอนามัยโลกและองค์การยูนิเซฟ ให้คำแนะนำตรงกันว่า แม่ควรจะให้นมลูกต่อเนื่องไปจนถึงสองปีหรือมากกว่านั้น องค์กรด้านสุขภาพหลายองค์กรในสหรัฐฯ ก็ให้คำแนะนำที่บ่งชี้ไปถึงประโยชน์ของการให้นมแม่นานกว่าหกเดือนแทบทั้งสิ้น อย่างเช่นสมาคมกุมารแพทย์สหรัฐฯ แนะนำว่า ควรให้นมแม่ต่อเนื่องไปจนอย่างน้อยในขวบปีแรกของเด็ก และนานกว่านั้นตราบเท่าที่ต้องการ การเพิ่มระยะเวลาของการให้นมแม่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ต่อพัฒนาการของเด็ก และต่อสุขภาพของทั้งเด็กและแม่อย่างมีนัยสำคัญ โดยไม่มีขีดจำกัดของระยะเวลาในการให้นมแม้ และไม่มีหลักฐานว่ามีอันตรายทางจิตใจใดๆ เกิดขึ้นจากการให้นมแม่จนถึงสามขวบหรือนานกว่านั้น สมาคมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวสหรัฐฯ ก็ให้คำแนะนำเช่นกันว่า ควรให้นมลูกตลอดขวบปีแรก และยังชี้ว่าช่วงเวลาการหย่านมตามธรรมชาตินั้น อยู่ระหว่างอายุสองถึงเจ็ดปี ความเข้าใจผิดเรื่องคุณค่าของนมแม่หลังขวบปีแรก การที่แม่หลายคนหยุดให้นมลูกหลังจากหกเดือน ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากการที่แม่ต้องกลับไปทำงาน และไม่สะดวกต่อการให้นมลูก อย่างไรก็ตาม เทคนิคการปั๊มนมแม่เพื่อเก็บไว้ให้ลูกกิน สามารถช่วยแก้ปัญหาในเรื่องนี้ได้ กระนั้นก็ตาม สิ่งที่เป็นอุปสรรคมากกว่า อาจจะมาจากความเชื่อที่ว่า […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ปั๊มนม ให้ถูกวิธีควรทำอย่างไร และวิธีเก็บน้ำนมแม่ที่เหมาะสม

ปั๊มนม เป็นหนึ่งในกิจวัตรประจำวันของคุณแม่มือใหม่ โดยเฉพาะคุณแม่ที่จะต้องกลับไปทำงานหลังครบกำหนดลาคลอด จำเป็นต้องปั๊มนมเก็บเอาไว้ให้ลูกน้อยกินระหว่างวัน คุณแม่มักเริ่มปั๊มนมทันทีหลังจากที่ลูกคลอด โดยเฉพาะที่โรงพยาบาลซึ่งมักจะมีพยาบาลมืออาชีพคอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีปั๊มนม นอกจากนั้นแล้ว คุณแม่ควรศึกษาถึงขั้นตอนการปั๊ม การเก็บรักษา และวิธีการนำนมที่ปั๊มเก็บไว้มาให้ลูกน้อยดื่มเพิ่มเติมอีกด้วย ข้อควรรู้ในการ ปั๊มนม เวลาในการปั๊มนม คุณแม่ส่วนใหญ่มักเลือกที่จะปั๊มนมในตอนเช้า แต่ทั้งนี้ เวลาในการปั๊มนมอาจขึ้นอยู่กับความสะดวกของคุณแม่แต่ละคน การปั๊มนมอาจทำหลังจากให้นมลูก 30-60 นาที หรือก่อนให้นมลูกอย่างน้อย 1 ชั่วโมง นอกจากนี้ ภายใน 24 ชั่วโมงคุณแม่อาจปั๊มน้ำนมได้ถึง 8-10 ครั้ง โดยปริมาณนมแม่ที่เหมาะสมคือวันละ 750-1,035 มิลลิลิตร การให้นมลูกไปด้วย ปั๊มนมไปด้วย อาจไม่เหมาะกับคุณแม่บางคน คุณแม่จึงอาจปั๊มนมหลังจากให้นมลูก 1 ชั่วโมงแทน คุณแม่และลูกน้อยแต่ละครอบครัวมีกิจวัตรประจำวันที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงควรจัดเวลาในการปั๊มนมให้เหมาะกับตัวเอง วิธีปั๊มนม โดยทั่วไปแล้ว คุณแม่มักเลือกซื้อเครื่องปั๊มนมตามงบประมาณและความชอบเป็นหลัก และเครื่องปั๊มนมมักมีคู่มือวิธีการใช้มาให้ด้วย แต่โดยหลักๆ แล้ววิธีปั๊มนมทำได้ดังนี้ อ่านคู่มือการใช้เครื่องปั๊มนมให้ละเอียด นั่งในท่าสบายๆ ตรวจสอบอุปกรณ์การปั๊มนมให้เรียบร้อย เครื่องปั๊มนมต้องพอดีกับเต้านมคุณแม่ การปั๊มนม จะคล้ายเวลาให้นมลูก คุณแม่สามารถปรับระดับขณะใช้เครื่องปั๊มนมได้ การปั๊มนม ต้องไม่เจ็บ เวลาปั๊มนมลูกต้องไม่รู้สึกเจ็บ คุณแม่อาจมีความรู้สึกคัดตึงเต้านม หรือรู้สึกไม่สบายตัวได้ แต่ไม่ควรถึงขั้นเจ็บ หากรู้สึกเจ็บ ต้องลองเปลี่ยนที่ปั๊มนม ให้เป็นขนาดที่เหมาะสมกับหน้าอก […]


เด็กทารก

เคล็ดลับในการเลือกผลิตภัณฑ์เพื่อ ดูแลผิวทารก มีอะไรบ้าง

การ ดูแลผิวทารก ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะค่อนข้างบอบบางและแพ้ง่าย ต้องใช้ทั้งเวลาและความใส่ใจ โดยเฉพาะการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ผลิตภัณฑ์ทาบำรุงผิว ควรเลือกชนิดอ่อนโยนและสำหรับใช้กับทารกเท่านั้น นอกจากนั้น ยังมีวิธีการอื่น ๆ ที่จะช่วยให้ผิวทารกนั้นเนียนนุ่มและไร้ผดผื่น ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจไม่แพ้เรื่องอื่น ๆ ผลิตภัณฑ์เฉพาะสำหรับทารกปลอดภัยจริงหรือเปล่า ผลิตภัณฑ์สำหรับผิวและเส้นผม ที่ระบุบนฉลากว่า สำหรับทารก อาจมีสารกระตุ้นอาการระคายเคืองหลายอย่าง ทารกบางคน อาจจะสามารถใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ตามปกติ แต่บางคนอาจจะเกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนังได้  ยิ่งไปกว่านั้น สารเติมแต่งอย่างพาราเบน (paraben) และพาทาเลต (phthalate)  ไดบิวทิล พาทาเลต (dibutyl phthalate) ไดเมทิลพาทาเลต (dimethylphthalate) และไดเอทิลพาทาเลต (diethyl phthalate)  คือ สาเหตุหนึ่งที่อาจทำให้ผิวทารกเกิดอาการแพ้หรือระคายเคืองได้ ดังนั้น ก่อนเลือใช้ผลิตภัณฑ์ใด ๆ ในการดูแลผิวทารก ควรอ่านฉลากให้ละเอียด หรือไม่หากไม่แน่ใจควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำ วิธีการเลือกผลิตภัณฑ์ ดูแลผิวทารก วิธีเลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิวทารก สามารถทำตามคำแนะนำต่อไปนี้ ได้แก่ ใช้เฉพาะสิ่งที่พื้นฐาน  โดยปกติแล้ว ทารกไม่ต้องการสบู่และแชมพูจำนวนมาก การใช้เพียงแค่สบู่ธรรมดาและน้ำสะอาดก็เพียงพอแล้ว นอกจากนี้ ยังไม่ควรอาบน้ำให้ทารกบ่อยเกินไป แค่วันละ 1-2 ครั้งก็เพียงพอแล้ว หากอาบน้ำให้ทารกบ่อยเกินไป อาจเสี่ยทำให้ทารกผิวแห้งเกินไปได้ หรือเกิดผื่นคันได้ มองหาส่วนประกอบที่เป็นธรรมชาติ  ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวทารก […]


การดูแลทารก

วิธีการสอนให้ลูกกินแบบ BLW

BLW (Baby Led Weaning) หมายถึง การให้ลูกหยิบอาหารกินด้วยตัวเอง อาหารที่นำมาให้ลูกฝึกกินควรเป็นอาหารที่ ค่อนข้างแข็งเล็กน้อย และควรผ่านการปรุงสุกเพื่อช่วยให้กินได้ง่าย เหมาะสำหรับเด็กเล็ก โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นอาหารประเภทผักและผลไม้ เช่น เช่น มะละกอ แอปเปิ้ล มะเขือเทศ แครอท การฝึกให้ลูกกินแบบ BLW ควรเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุ 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงที่สามารถเริ่มรับประทานอาหารอื่นนอกจากนมได้ สามารถเริ่มหยิบจับสิ่งของได้ และเริ่มนั่งตัวตรงได้แล้ว การฝึกให้ลูกกินแบบ BLW เป็นการเสริมทักษะเพื่อให้ลูกสามารถเริ่มหัดช่วยเหลือตัวเองได้ และอาจช่วยประหยัดเวลาในการป้อนอาหารได้มากขึ้น [embed-health-tool-baby-poop-tool] เมื่อไหร่ลูกจะพร้อมฝึก BLW  ลูกควรมีอายุ 6 เดือนขึ้นไป โดยที่สามารถนั่งบนเก้าอี้แบบทรงตัวตรง ๆ ได้ด้วยตัวเอง เพราะต้องกินอาหารได้เองแบบที่ไม่ต้องมีคนคอยช่วย เพียงแค่คอยสังเกตพฤติกรรมเท่านั้น การนั่งเองได้เป็นสิ่งที่สำคัญมากกับการกินแบบBLW เมื่อเด็กสามารถนั่งเองได้ก็จะง่ายต่อการกิน หยิบจับของได้ การกินแบบนี้ส่วนใหญ่เน้นให้เด็ก ๆ กินด้วยตัวเอง คุณพ่อหรือคุณแม่ควรสังเกตจากขั้นพื้นฐานของลูกในเรื่องการเริ่มหยิบจับสิ่งของ เริ่มเคี้ยวอาหารได้ แม้ว่าฟันของเด็ก ๆ จะยังไม่ขึ้นเต็มที่ แต่เขาก็มีเหงือกที่แข็งแรงพอที่จะเคี้ยวบดอาหารได้แล้ว วิธีการฝึกให้ลูกหยิบอาหารกินด้วยตัวเอง ให้ลูกนั่งร่วมโต๊ะอาหารในทุก ๆ มื้ออาหาร แม้เขาอาจจะไม่ได้กินอาหารในทุก ๆ […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

น้ำมะนาวกับคุณแม่ให้นมลูก เครื่องดื่มดี ๆ สำหรับคุณแม่

น้ำมะนาว อาจเป็นเครื่องดื่มโปรดของคุณแม่หลายคน แต่สำหรับ คุณแม่ให้นมลูกอาจมีความกังวลใจว่า การดื่มน้ำมะนาวจะส่งผลเสียต่อลูกหรือไม่ ความจริงแล้ว น้ำมะนาวนอกจากจะไม่เป็นอันตรายแล้ว ยังอาจเป็นเครื่องดื่มที่เหมาะกับคุณแม่ที่กำลังให้นมลูก เนื่องจาก น้ำมะนาวมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่อาจช่วยป้องกันการเสริมของเซลล์ในร่างกาย และช่วยเพิ่มระดับพลังงานให้คุณแม่ได้ นอกจากนี้ ยังอาจทำให้การไหลเวียนโลหิตในร่างกายดีขึ้น ซึ่งอาจทำให้คุณภาพของน้ำนมดีขึ้น น้ำมะนาวกับคุณแม่ให้นมลูก เกี่ยวข้องกันอย่างไร น้ำมะนาวเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดื่มน้ำมะนาวในช่วงให้นมลูกอาจช่วยกระตุ้นและสร้างความสดชื่นให้ร่างกาย สำหรับคุณแม่ที่อาจรู้สึกเหนื่อยในระหว่างการเลี้ยงลูกเล็ก และน้ำมะนาวยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่อาจช่วยป้องกันการเสริมของเซลล์ในร่างกาย และช่วยเพิ่มระดับพลังงานให้คุณแม่ได้ นอกจากนี้ ยังอาจทำให้การไหลเวียนโลหิตในร่างกายดีขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้คุณภาพของน้ำนมดีขึ้น คุณแม่อาจดื่มน้ำมะนาวคั้นสดหรืออาจผสมกับน้ำ เพื่อให้รสชาติเบาบางลงก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเริ่มดื่มน้ำมะนาว คุณแม่ควรสังเกตอาการของลูกว่า มีอาการแพ้อะไรเกิดขึ้นเนื่องจากการดื่มน้ำมะนาวหรือไม่ หากลูกมีอาการแพ้ควรหยุดดื่มน้ำมะนาว และพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยอาการที่เกิดขึ้นทันที ประโยชน์ของการดื่มน้ำมะนาว น้ำมะนาวมีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย โดยอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพดังนี้ อาจช่วยสุขภาพโดยรวมดีขึ้น น้ำมะนาวอาจดีต่อสุขภาพของคุณแม่และลูก โดยวิตามินและแร่ธาตุในน้ำมะนาว เช่น วิตามินซี อาจช่วยให้คุณแม่แข็งแรงขึ้น ทั้งยังอาจช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูก ซึ่งเป็นช่วงวัยที่สุขภาพยังไม่แข็งแรงและสมบูรณ์เต็มที่ อาจช่วยเพิ่มน้ำนม การดื่มน้ำมะนาวอาจช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมออกมาได้ดีขึ้น รวมทั้งยังช่วยให้น้ำนมที่ถูกผลิตออกมามีคุณภาพ เหมาะสมแก่การดูแลสุขภาพของลูก อาจดีต่อระบบย่อยอาหาร โดยทั่วไป การดื่มน้ำมะนาวอาจดีต่อระบบย่อยอาหาร ทั้งยังอาจช่วยจัดการกับปัญหาต่าง ๆ เช่น อาการท้องอืด ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ซึ่งลูกก็อาจพบปัญหาพวกนี้ได้บ่อยเช่นกัน ดังนั้น ในช่วงที่คุณแม่ยังให้นมลูก อาจการดื่มน้ำมะนาวหรือดื่มน้ำมะนาวผสมในน้ำเปล่า เพื่อช่วยป้องกันปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารเหล่านี้ให้กับตัวเองและลูก อาจช่วยให้น้ำนมสะอาด การดื่มน้ำมะนาวอาจช่วยในเรื่องของการทำความสะอาดน้ำนม และอาจทำให้น้ำนมของคุณแม่สะอาดขึ้น เนื่องจาก […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ปวดหัวขณะให้นมลูก เกิดจากสาเหตุใด

ปวดหัว เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นได้กับคุณแม่มือใหม่ที่กำลังให้นมลูก อย่างไรก็ตาม หลังคลอดนั้นคุณแม่มือใหม่อาจจะพบเจอปัญหาที่หลากหลายอย่าง เช่น ปวดเมื่อยร่างกาย เจ็บหัวนมบ้างเป็นบางครั้ง จนอาจกลายเป็นเรื่องปกติสำหรับคุณแม่มือใหม่ แต่สำหรับอาการ ปวดหัวขณะให้นมลูก อาจเป็นปัญหาแอบแฝงมากกว่าที่คุณแม่หลายคนคิด อาการ ปวดหัวขณะให้นมลูก คืออะไร ปวดหัวขณะให้นมลูก มักจะเกิดตลอดระยะเวลาที่ให้นมลูก แต่อาการนี้มักจะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าอาการปวดหัวขณะให้นมลูกเกิดจากสาเหตุใด อาการที่เกิดขึ้นอาจเป็นเพราะการเพิ่มขึ้นของระดับของฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จำเป็นสำหรับการคลอดลูกและให้นมลูก แต่ก็อาจจะมีสาเหตุมาจากเรื่องอื่นได้เช่นกัน สาเหตุของอาการปวดหัวขณะให้นมลูก กลไกการหลั่งน้ำนม คุณแม่บางคนอาจจะมีอาการปวดหัวขณะให้นมลูก เนื่องจากกลไกการหลั่งน้ำนมและการปล่อยฮอร์โมนออกซิโทซิน ในบางครั้งอาการปวดหัวนี้อาจหายไปภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ แต่ก็อาจจะมีอาการเรื้อรังต่อไปจนกว่าลูกจะหย่านม เต้านมคัด อาการเต้านมคัดเป็นผลมาจากการที่ร่างกายผลิตน้ำนมเพิ่มมากขึ้น อาการปวดหัวขณะให้นมลูกอาจมีสาเหตุมาจากการที่เต้านมของคุณแม่มีอาการตึง บวม ปวด และมีอุณหภูมิสูงขึ้น นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากปริมาณฮอร์โมนออกซิโทซินที่เพิ่มขึ้น ซึ่งฮอร์โมนชนิดเดียวกันกับที่คาดว่าจะเป็นสาเหตุของอาการปวดหัวขณะตั้งครรภ์ ขาดสารอาหารหรือขาดน้ำ หากคุณแม่รับประทานอาหารไม่เพียงพอหรืองดอาหาร ระดับน้ำตาลในร่างกายจะลดลง ทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้า อ่อนแรง และปวดหัวได้ นอกจากนี้ ในน้ำนมยังประกอบไปด้วยน้ำกว่า 88% คุณแม่ที่ให้นมลูกส่วนใหญ่มักจะรู้สึกกระหายน้ำขณะให้นมลูก ดังนั้น การดื่มน้ำไม่เพียงพออาจทำให้คุณแม่เกิดภาวะขาดน้ำ ซึ่งนำมาสู่อาการปวดหัว เหนื่อยล้า คุณแม่มือใหม่อาจเหนื่อยล้าและนอนไม่พอเนื่องจากต้องดูแลลูก การนอนไม่พอและการหมดแรงอาจทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ ดังนั้น ควรพยายามพักผ่อน หรืองีบหลับในระหว่างวัน เพื่อฟื้นฟูร่างกายให้ดีขึ้น ปวดหัวไมเกรน หากคุณแม่เคยมีอาการปวดหัวไมเกรนก่อนที่จะตั้งครรภ์อยู่แล้ว อาจทำให้อาการไมเกรนนั้นแย่ลงได้ในช่วงหลังคลอดบุตร เนื่องจาก การเปลี่ยนยาที่ใช้หรือมาจากความเครียดที่เพิ่มขึ้นขณะที่ต้องดูแลลูก วิธีแก้อาการปวดหัวขณะให้นมลูก สำหรับวิธีแก้ปัญหาอาการปวดหัวขณะให้นมลูกอาจทำได้ดังนี้ นวด การนวดอาจบรรเทาอาการปวดหัวได้ดี เพราะเป็นการคลายเส้นประสาทและช่วยผ่อนคลาย โดยอาจนวดเป็นวงกลมไปรอบ ๆ ศรีษะ ดื่มน้ำ เป็นหนึ่งในการรักษาการขาดน้ำจากร่างกาย […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หัวนมแตก จากการให้นมลูก คุณแม่ควรรับมืออย่างไรไม่ให้เจ็บปวด

หัวนมแตก หรือเจ็บหัวนม ระหว่างการให้นมเป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นได้แต่มักจะหายไปภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง หรืออาจแก้ไขด้วยการจัดท่าทางการให้นมที่เหมาะสม แต่หากหัวนมแตก หรือเจ็บหัวนมมากผิดปกติ จำเป็นที่จะต้องปรึกษาคุณหมอ เพราะหากปล่อยไว้อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอย่างอื่นตามมา สาเหตุที่ทำให้ หัวนมแตก ในช่วงสัปดาห์แรกของการให้นมแม่นั้น ท่าทางการอมคาบหัวนมของเด็กทารก หรือการวางท่าทางการให้นมที่ไม่เหมาะสม มักเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้หัวนมแตก ในกรณีที่หัวนมแตกหรือเจ็บหัวนมไม่มากนัก ผู้เป็นแม่อาจลองจัดท่าทางในการให้นมใหม่ แต่หากลองเปลี่ยนท่าให้นมใหม่แล้ว อาการหัวนมแตก หรือเจ็บหัวนมยังไม่ดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อขอคำแนะนำวิธีการให้นมที่ถูกต้อง และหาสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้น ผู้หญิงที่พ้นช่วงให้นมบุตรแล้ว แต่ยังมีอาการหัวนมแตก ควรเข้ารับการรักษาโดยเร็ว การรักษา อาการหัวนมแตก   หัวนมแตกอาจมีวิธีบรรเทาอาการในเบื้องต้นด้วยตนเอง ดังนี้ ระหว่างการให้นม ปรับเปลี่ยนท่าทาง ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ผู้เป็นแม่ อุ้มทารกเข้าเต้าข้างใดข้างหนึ่งโดยให้ปากของลูกอยู่ระดับเดียวกับหัวนม เหงือกล่างของทารกควรห่างจากฐานของหัวนมขณะที่เด็กอ้าปาก และเมื่อเด็กอ้าปากแล้ว ควรกอดกระชับให้แน่นเข้าอก เพื่อช่วยบังคับให้หัวนมอยู่ในปากของทารกอีกทางหนึ่ง หาท่าทางการให้นมในรูปแบบอื่น ๆ ลองเปลี่ยนท่าการให้นม เพื่อหาท่าที่คุณแม่และลูกรู้สึกสบายที่สุด หากอยู่ในท่าทางที่ดีแล้ว ลูกจะอมคาบหัวนมได้ง่าย และไม่ทำให้เจ็บหัวนม  หากเจ็บหัวนมข้างใดข้างหนึ่ง ให้เปลี่ยนไปให้นมอีกข้างที่เจ็บน้อยกว่า ทารกส่วนใหญ่จะดูดนมเต้าแรกแรงกว่า ในขณะที่เมื่อเปลี่ยนเต้าจะผ่อนอาการดูดเบาลง เนื่องจากรู้สึกหิวน้อยลง บรรเทาอาการเจ็บก่อนการให้นม หากเจ็บหัวนมมาก ควรประคบเย็น เพื่อทำให้รู้สึกชา เพราะการอมคาบนมครั้งแรก มักจะทำให้เจ็บที่สุด หลังการให้นม  รับประทานยา ในกรณีที่มีอาการหัวนมแตก และอาการเจ็บหัวนมไม่หายไป ควรรับประทานทานยารักษาอาการ […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หน้าอก เสียทรงเพราะให้นมลูกจริงหรือ

การตั้งครรภ์และการให้นมลูกอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ หน้าอก เปลี่ยนรูปร่างไป นอกจากนี้ อาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น อายุ ขนาดของเต้านมก่อนตั้งครรภ์ จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน อย่างไรก็ตาม ไม่ควรกังวลจนเกินไปถึงรูปร่างหน้าอกที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ควรดูแลรักษาสุขภาพหน้าอกและเต้านมให้ปลอดภัยจากโรคต่าง ๆ [embed-health-tool-ovulation] หน้าอก เสียทรงเพราะให้นมลูกจริงหรือ โดยปกติแล้ว ในเต้านมไม่มีกล้ามเนื้อแต่จะยึดติดอยู่กับหน้าอกได้ด้วยเส้นเอ็นบาง ๆ ที่เรียกว่า เส้นคูเปอร์ (Cooper’s Ligament) ขณะตั้งครรภ์เส้นเอ็นบาง ๆ เหล่านี้จะยืดออก และเลือดจะถูกปั๊มเข้าเต้านม ทำให้หน้าอกมีน้ำหนักและอวบอิ่ม การสร้างน้ำนมอาจทำให้เนื้อเยื่อในเต้านมหนาขึ้น และอาจทำให้เต้านมของดูเหมือนหย่อนยานลง เนื้อเยื่อไขมันและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ก็อาจจะค่อย ๆ มีการเปลี่ยนแปลงไป หลังจากการให้นมลูก อย่างไรก็ตาม แม้ไม่ได้ให้นมลูก แต่การตั้งครรภ์อาจส่งผลทำให้รูปร่างเต้านมของผู้หญิงแต่ละคนแตกต่างกันไป นอกจากนั้น ยังอาจขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย ได้แก่ ดัชนีมวลกาย พันธุกรรม จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ ขนาดของเต้านมก่อนตั้งครรภ์ อายุ ประวัติการสูบบุหรี่ พฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย การเปลี่ยนแปลงของเต้านม การเปลี่ยนรูปร่างของเต้านมอาจพบได้มากเมื่อเต้านมเต็มไปด้วยน้ำนม โดยเต้านมแต่ละข้างจะเป็นอิสระต่อกัน ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเต้านมข้างหนึ่ง อาจไม่เกิดขึ้นกับเต้านมอีกข้างก็ได้ ในขณะตั้งครรภ์ เส้นเอ็นที่ยึดติดเต้านมกับหน้าอกจะยืดออกและจะหดตัวลงหลังการให้นมลูก ซึ่งอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของรูปร่างของเส้นรอบอก […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน