เด็กทารก

วัยทารก คือช่วงเวลาที่เปราะบางและควรได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงและมีความสุข เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ เด็กทารก ตั้งแต่ทารกแรกเกิดถึงขวบปีแรก ทารกคลอดก่อนกำหนด ตลอดจนถึงโภชนาการสำหรับเด็กทารก และการดูแลเด็กทารก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กทารก

แพมเพิส มีประโยชน์อย่างไร เคล็ดลับการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

แพมเพิส ผ้าอ้อมเด็ก หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป ใช้สวมใส่ให้ลูกเพื่อรองรับการขับถ่ายของทารก แพมเพิสนั้นใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ควรเตรียมไปเพื่อให้ลูกใส่ก่อนออกจากโรงพยาบาล เพราะผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพิ่มความสะดวกสบายง่ายต่อการสวมใส่ แต่การใช้ผ้าอ้อมเด็ก ก็มีสิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังเช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ข้อดีของแพมเพิส หน้าที่ของแพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อซึมซับปัสสาวะและอุจจาระของทารกและเด็ก จึงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกสบาย เพียงใส่แพมเพิสให้กับทารก ลูกน้อยก็สามารถขับถ่ายได้สะดวก การซึมซับของแพมเพิสยังทำได้ดี คอยห่อตัวลูกให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ทารกสบายตัว นอนหลับได้ดี การใช้แพมเพิสยังง่ายต่อการเปลี่ยน โดยสามารถนำแพมเพิสที่ใช้แล้วทิ้งขยะได้เลย จึงประหยัดเวลา ไม่ต้องซักบ่อย ๆ แบบผ้าอ้อมชนิดผ้า  เคล็ดลับการใส่แพมเพิส แพมเพิสสำหรับทารกมี 2 ประเภท วิธีเปลี่ยนแพมเพิสจึงแตกต่างกัน ดังนี้ เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบเทปกาว ก่อนเปลี่ยนแพมเพิสควรดูแลทำความสะอาดทารก เช็ด หรือซับ ให้ตัวแห้งก่อนเปลี่ยนแพมเพิส เตรียมแพมเพิสแบบเทปกาวให้พร้อม กางออก หากมีขอบปกป้องการรั่วซึมให้ดึงตั้งขึ้น  จับทารกให้อยู่ในท่านอนหงาย นำแพมเพิสสอดเข้าไปใต้ก้นลูก โดยยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นเล็กน้อย ดึงตัวแพมเพิสขึ้นมาใกล้กับหน้าท้อง ให้ขอบของแพมเพิสต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย จากนั้นนำแถบเทปที่อยู่ด้านหลังดึงมาติดให้กระชับกับด้านหน้า โดยสามารถปรับแถบกาวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เสียสีกับสะดือทารก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดที่สะดือยังไม่หลุด ตรวจความเรียบร้อย ลองใช้นิ้วสอดระหว่างผ้าอ้อมกับตัวลูก ควรพอดีตัว ไม่หลวมเกินจนหลุด และไม่แน่นจนเสียดสีกับผิวของทารก สำหรับแพมเพิสแบบเทปกาวต้องคอยสังเกตไม่ให้แถบของเทปกาวสัมผัสกับผิวหนังลูก เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบกางเกง ทารกที่น้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม สามารถใส่แพมเพิสแบบกางเกงได้ ซึ่งแพมเพิสชนิดนี้จะเหมาะกับเด็ก […]

หมวดหมู่ เด็กทารก เพิ่มเติม

โภชนาการสำหรับทารก

สำรวจ เด็กทารก

เด็กทารก

โรคฉี่หอม ในเด็กแรกเกิด สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลาย เคยสังเกตกลิ่นปัสสาวะของลูกน้อยตนเองกันหรือไม่ ว่ามีกลิ่นที่แปลกๆ แตกต่างจากกลิ่นฉี่ทั่วไปอยู่หรือเปล่า แม้จะเป็นโรคที่ทุกคนยังไม่คุ้นเคยกันมากนัก จึงทำให้เพิกเฉยไม่ทันระวัง ซึ่งอาจก่อเกิดเป็นภัยร้ายแรงได้ โรคฉี่หอม (MSUD) อันตรายต่อลูกหรือไม่ โรคปัสสาวะกลิ่นน้ำเชื่อม หรือเรียกสั้นๆ ว่าโรคฉี่หอม (Maple syrup urine disease ; MSUD) เกิดจากความผิดปกติของยีนตั้งแต่กำเนิด และการเผาผลาญพลังงานที่ไม่สามารถสลายกรดอะมิโนบางชนิด รวมถึงร่างกายขาดเอนไซม์ BCKDC (ฺBranched-chain alpha-keto acid dehydrogenase complex) ทำให้กระแสเลือด และระบบปัสสาวะเป็นพิษ ซึ่งสังเกตได้จากกลิ่นฉี่ที่แปลกกว่าเด็กทารกทั่วไป ระดับความรุนแรงของ โรคฉี่หอม ที่ควรได้รับการรักษา ระดับรุนแรงทั่วไป มักพบได้ในทารกแรกเกิดหลังจากคุณแม่คลอดได้ประมาณ 2 – 3 วัน โดยเริ่มมีอาการเนื่องจากได้รับโปรตีนในอาหารที่มากเกินไป ซึ่งมีความรุนแรงในระดับหนึ่งเลยทีเดียว ระดับปานกลาง ระดับนี้จะเกิดขึ้นได้ไม่บ่อยนัก และมีอาการที่แตกต่างกันไปแต่ละบุคคล รวมทั้งปัจจัยของช่วงอายุ ด้านสุขภาพ ซึ่งจัดอยู่ในความอันตรายระดับสูง เกิดขึ้นเป็นระยะ อาการจะเริ่มออกให้เห็นในเด็กที่มีช่วงอายุประมาณ 1-2 ปี และหากมีความเครียดเพิ่มเติม หรืออาการเจ็บป่วย รวมถึงระดับของโปรตีนที่ไม่ย่อยสลายนั้นสูงขึ้น นอกจากจะมีกลิ่นปัสสาวะที่ผิดปกติแล้ว แล้วยังสามารถเพิ่มความรุนแรงได้พอๆ กับระดับปานกลางที่กล่าวมาข้างต้นอีกด้วย ภาวะเสี่ยงเป็นโรคฉี่หอมของลูก อาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาเจียน […]


เด็กทารก

ปานสตรอว์เบอร์รี่ อันตรายต่อเด็กแรกเกิดหรือไม่

ปานสตรอว์เบอร์รี่ หมายถึง จุดสีแดงบนผิวทารกซึ่งคล้ายสีแดงของผลสตรอว์เบอร์รี่บนร่างกาย ซึ่งอาจปรากฎได้ตามแขน ขา คอ ลำตัว มีขนาดใหญ่หรือเล็กต่างกันไป แต่ทั้งนี้เป็นความผิดปกติของสีผิวที่ไม่เป็นอันตราย และมักหายไปได้เองเมื่อทารกโตขึ้น ปานสตรอว์เบอร์รี่ (Strawberry Hemangioma or Strawberry Nevus) คืออะไร ปานสตรอว์เบอร์รี่ (Strawberry Hemangioma or Strawberry Nevus) คือ ปานมีลักษณะเป็นสีแดง ๆ หรือชมพู คล้ายคลึงกับสีผลของสตรอว์เบอร์รี่ เกิดจากการรวมตัวของเส้นเลือดฝอยที่อยู่ในชั้นบนสุดของผิวหนังเด็กทารก พบมากที่สุดในบริเวณ แขน ขา ลำตัว คอ ศีรษะ การเจริญเติบโตของปานในเด็กแรกเกิดนั้นมีตั้งแต่ขนาดเล็กจนไปถึงขนาดใหญ่ มีทั้งลักษณะเรียบหรือเป็นรอยนูนขึ้นมา ไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใดและมักหายไปได้เองเมื่อเด็กโตขึ้น ปานในเด็กแรกเกิดมีกี่ประเภท  ปานในทารกแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้ ปานที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มเส้นเลือดฝอย (Capillary hemangiomas) เป็นการรวมกลุ่มของเส้นเลือดฝอยที่อยู่ชั้นผิวบนสุดสามารถพบบ่อยมากที่สุดในเด็กทารก เนื่องจากอยู่ใกล้กับพื้นผิวของผิวหนังจึงปรากฏให้เห็นเป็นสีแดง อาจมีลักษณะแบนกับผิวหนังหรือพื้นผิวนูน ปาน นี้สามารถอยู่ที่จุดในจุดหนึ่งหรือกระจายอยู่ตามทั่วร่างของเด็กทารกแรกเกิดได้ ปานที่เกิดขึ้นใต้ผิวหนัง (Cavernous hemangioma) ถูกสร้างขึ้นจากหลอดเลือดที่มีโพรงขนาดใหญ่ที่ขยายกว้างอยู่ใต้ผิวหนัง เส้นเลือดนี้จะไม่จับก้อนแน่นเหมือนกลุ่มของเส้นเลือดฝอย มักปรากฏออกมาเป็น ปาน […]


เด็กทารก

ทารกหนังศีรษะแห้ง เป็นสะเก็ด ควรรักษาอย่างไรเพื่อให้อาการดีขึ้น

ทารกหนังศีรษะแห้ง อาจมีอาการตกสะเก็ด มีรอยแดง มีรังแค หรือหนังศีรษะเป็นแผล ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อหาวิธัรับมือและรักษาตามสภาพหนังศีรษะและผิวของทารกแต่ละคน คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรทดลองแก้ไขปัญหานี้ด้วยตัวเองเพราะอาจยิ่งทำให้แพ้และอาการแย่ลงได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ทารกหนังศีรษะแห้ง มีอาการเป็นอย่างไร ทารกหนังศีรษะแห้ง เป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิด ปกติไม่มีอาการคันแต่อาจมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้ ได้แก่ มีรอยบนหนังศีรษะเกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ หรือมีคราบหนาบนหนังศีรษะ ผิวแห้ง หรือผิวมัน และมีสะเก็ดสีขาวหรือสีเหลืองบนหนังศีรษะ หัวลูกลอกเป็นขุย ผิวเป็นสะเก็ด ผิวมีรอยแดง อาการหนังศีรษะแห้งอาจลามไปถึงใบหู เปลือกตา จมูก ซึ่งถ้าอาการลามไปทั่วตัว ควรไปพบคุณหมอทันที สาเหตุของอาการหนังศีรษะแห้งในทารก ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดปัญหา หนังศีรษะทารกแห้ง ผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะฮอร์โมนที่ส่งต่อจากแม่สู่ลูกในช่วงตั้งครรภ์ โดยฮอร์โมนเหล่านั้นอาจทำให้เกิดการผลิตน้ำมันบนชั้นผิวมากเกินไป นอกจากนี้ ปัญหาหนังศีรษะทารกแห้ง อาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น ยีสต์  เชื้อรา แบคทีเรีย  รวมทั้งอาจเป็นอาการของโรคผิวหนังอักเสบ (eczema)  ได้ ซึ่งหากทารกแรกเกิดพบปัญหาหนังศีรษะแห้ง คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปหาคุณหมอ เพื่อให้รับการวินิจฉัยและทำการรักษาอย่างถูกวิธี วิธีบรรเทาอาการ หนังศีรษะทารกแห้ง โดยเบื้องต้น การบรรเทาอาการหนังศีรษะทารกแห้ง คุณหมอมักแนะนำวิธีต่าง ๆ ดังนี้ สระผมวันเว้นวัน ยาสระผมของเด็ก มักมีส่วนผสมที่อ่อนโยนต่อผิวหนัง ช่วยกำจัดสิ่งสกปรกและน้ำมันส่วนเกินออกจากหนังศีรษะ แต่ควรใช้ยาสระผมทำความสะอาดหนังศีรษะวันเว้นวัน เพื่อป้องกันอาการผิวแห้ง เลือกใช้ยาสระผมสำหรับ หนังศีรษะทารกแห้ง การใช้ยาสระผมที่มีส่วนผสมของยาจำเป็นต้องสั่งโดยแพทย์เท่านั้น  หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการใช้เปลี่ยนมาใช้ยาสระผมที่มีส่วนผสมของยา […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ให้นมลูก อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วนในเด็กได้

การให้นมลูกมีประโยชน์ต่อสุขภาพคุณแม่และทารก นอกจากนี้ยังมีข้อมูลจากองค์กรอนามัยโลก ที่พบว่า ให้นมลูก สามารถลดโอกาสที่เด็กจะอ้วนในอนาคต ได้มากถึง 25% Hello คุณหมอ บทความนี้จึงชวนมาดูประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ที่มีต่อสุขภาพของลูกน้อย ดังนี้ค่ะ [embed-health-tool-vaccination-tool] เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีส่วนช่วยป้องกันโรคอ้วนในเด็ก งานวิจัยจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization, WHO) ที่ศึกษาใน 16 ประเทศทั่วทวีปยุโรปเรื่อง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และ ให้นมลูก ที่มีต่อสุขภาพของลูกน้อย ผลการวิจัยพบว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สามารถลดโอกาสที่เด็กจะอ้วน ได้ถึง 25% โดยผลการวิจัยพบว่า เด็กที่ไม่ได้กินนมแม่ 22% มีแนวโน้มว่าจะอ้วน และเด็กที่กินนมแม่ในเวลาไม่ถึง 6 เดือน 12% มีแนวโน้มว่าจะอ้วน เมื่อเทียบกับกลุ่มเด็กที่กินนมแม่เป็นเวลา 6 เดือน นอกจากนี้ งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสาร the journal Obesity Facts ได้ให้ข้อมูลว่า มีเหตุผลหลายประการที่การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สามารถป้องกันเด็กจากโรคอ้วนได้ และยังมีหลักฐานที่พบว่าการให้ทารกกินนมผง อาจมีระดับอินซูลินในเลือดสูงกว่า เมื่อเทียบกับการกินนมแม่ ซึ่งการมีระดับอินซูลินในเลือดสูงจะสามารถกระตุ้นการสะสมไขมัน ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำว่าให้กินนมแม่ เพราะเปรียบเหมือนเป็นวัคซีนแรกของเด็ก ที่ป้องกันการติดเชื้อ และยังส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว รวมถึงป้องกันโรคอ้วนด้วย […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับการให้นมลูก ที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้

คุณแม่มือใหม่มักจะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับ การให้นมลูก จากเหล่าคุณแม่ที่เคยมีประสบการณ์มาก่อน หรือจากเพื่อนๆ และญาติๆ ซึ่งบางคำแนะนำก็อาจเป็นความเข้าใจผิดที่สืบต่อกันมา ดังนั้น จึงควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้นมลูก รวมถึงปรึกษาคุณหมอเพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับการให้นมลูกอย่างถูกต้องเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ การให้นมลูก ความเข้าใจผิดที่ 1 ถ้าทารกกินนมแม่บ่อย แสดงว่าลูกได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ ทารกกินนมแม่บ่อย อาจไม่ได้หมายความว่าลูกได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ เนื่องจากนมแม่ง่ายต่อการย่อย เด็กจึงมักจะรู้สึกหิวเร็วกว่า เมื่อเทียบกับการกินนมผง นอกจากนี้เวลาที่เหมาะสมที่ควรให้นมลูก คือทุกๆ 2-3 ชั่วโมง ความเข้าใจผิดที่ 2 หยุดให้นมลูกสักพัก จะช่วยให้มีน้ำนมมากขึ้น ความจริงแล้ว ยิ่งให้นมลูกมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีน้ำนมมากขึ้น ดังนั้นความเชื่อที่ว่าควรหยุดให้นมลูกเพื่อให้มีน้ำนมมาก จึงไม่ถูกต้องนัก นอกจากนี้คุณแม่บางคนอาจคิดว่า ควรหยุดปั๊มน้ำนมในช่วงกลางวัน เพื่อเก็บไปปั๊มน้ำนมทีเดียวตอนกลางคืน แต่ความจริงแล้วในวันต่อมา อาจมีน้ำนมน้อยลง ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำว่า ควรปั๊มน้ำนมประมาณ 9-10 ครั้งต่อวัน ความเข้าใจผิดที่ 3 เป็นเรื่องปกติที่จะเจ็บหัวนม เวลาให้นมลูก คุณแม่ทุกคนย่อมรู้สึกไม่สบายตัว ในช่วงวันสองวันแรกของการให้นมลูก แต่เมื่อเรียนรู้การให้นมลูกแล้ว ก็จะรู้วิธีที่ถูกต้องที่ไม่ทำให้เจ็บหัวนม แต่หากคุณแม่มีอาการเจ็บหัวนมไม่หาย หรือเจ็บทุกครั้งที่ให้นมลูก ควรปรึกษาแพทย์ ความเข้าใจผิดที่ 4 นมผงทำให้ลูกนอนหลับดีกว่า งานวิจัยชี้ว่าเด็กที่กินนมผงอาจนอนหลับนานขึ้น แต่คุณภาพนอนหลับอาจไม่ได้ดีขึ้น เนื่องจากนมผงไม่ได้ย่อยอย่างรวดเร็ว และอาจยืดระยะเวลาในการให้นมลูก จึงทำให้เด็กนอนหลับนานขึ้น นอกจากนี้ โดยปกติแล้วการกินนมแม่ ทารกจะเริ่มนอนหลับนานขึ้น […]


เด็กทารก

เด็กแรกเกิดปากแห้ง คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรรับมืออย่างไรดี

เด็กแรกเกิดปากแห้ง เป็นอาการริมฝีปากแห้งหรือแตกเป็นขุย ซึ่งเกิดขึ้นได้ในเด็กทารกแรกเกิด สาเหตุมีได้จากการที่ทารกแรกเกิดบางครั้งยังต้องอาศัยการหายใจทางปาก หรืออาจโดนอากาศเย็น รวมทั้งภาวะขาดน้ำ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพได้ เช่น ทำให้เด็กแรกเกิดนอนไม่ค่อยหลับ ดูดนมลำบาก คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องหาวิธีรับมือเพื่อแก้ไขปัญหาปากแห้งของเด็กแรกเกิด [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุที่ทำให้ เด็กแรกเกิดปากแห้ง สาเหตุที่ทำให้เด็กแรกเกิดปากแห้งนั้นอาจมีหลายปัจจัย ได้แก่ สภาพอากาศ ทารกปากแห้ง อาจเกิดจากสภาพอากาศ เช่น อากาศหนาว อาการร้อน หรือโดนลมแรงมากเกินไป ก็ทำให้ริมฝีปากสูญเสียความชุ่มชื้นได้ นอกจากนี้ การหายใจทางปากเนื่องจากเด็กแรกเกิดต้องการออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายอาจทำให้ปากแห้งได้ การเผชิญกับแสงแดดเป็นเวลานาน คุณพ่อคุณแม่ที่พาเด็กแรกเกิดไปเที่ยวนอกบ้านอาจทำให้ริมฝีปากของเด็กแรกเกิดแห้งได้ เนื่องจากบางครั้งเด็กแรกเกิดอาจต้องเผชิญกับแสงแดดเป็นเวลานาน ริมฝีปากสูญเสียความชุ่มชื้น เลียริมฝีปากบ่อย   การที่เด็กทารกเลียริมฝีปากบ่อย ๆ สามารถทำให้ริมฝีปากสูญเสียความชุ่มชื้น เนื่องจากน้ำลายจะระเหยอย่างรวดเร็ว เหลือไว้เพียงริมฝีปากที่แห้ง ไม่ชุ่มชื้น ทำให้ปากแห้งตามมา ภาวะขาดน้ำในเด็ก ปากแห้งเป็นหนึ่งในสัญญาณของภาวะขาดน้ำ ซึ่งจะทำให้มีอาการเหล่านี้ ได้แก่ ปากแห้ง หรือลิ้นแห้ง ไม่มีน้ำตาเวลาร้องไห้ ผ้าอ้อมเปียกน้อยกว่า 6 ผืนต่อวัน ผิวแห้ง แตกเป็นสะเก็ด หายใจถี่ มือและเท้าเย็นผิดปกติ มีอาการเจ็บปาก เป็นโรคคาวาซากิ (Kawasaki disease) โรคคาวาซากิเป็นโรคหลอดเลือดอักเสบประเภทหนึ่งซึ่งพบได้น้อยมาก ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเด็กทารก และเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีเด็กที่เป็นโรคคาวาซากิประมาณ 4,200 คนต่อปี โรคนี้มักจะเกิดขึ้นในเด็กผู้ชายมากกว่าผู้หญิง อาการของโรคคาวาซากิมักจะมีหลายอาการ ได้แก่ ริมฝีปากแห้ง […]


เด็กทารก

ประโยชน์ของการฝึกให้ทารกว่ายน้ำ

การฝึกให้ทารกว่ายน้ำ อาจมีผลดีต่อพัฒนาการทางด้านความคิดความเข้าใจ การทรงตัว เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง และอาจช่วยสร้างความมั่นใจให้ทารกได้ นอกจากนี้ ยังอาจสามารถช่วยลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุจากการจมน้ำได้ อย่างไรก็ตาม การฝึกสอนทารกว่ายน้ำควรทำอย่างถูกต้องและเหมาะสม ไม่ควรปล่อยให้เด็กฝึกเองตามลำพัง เนื่องจากอาจเป็นอันตรายได้ [embed-health-tool-bmr] ทารกว่ายน้ำมีประโยชน์อย่างไร ประโยชน์ที่ทารกอาจได้รับจากการว่ายน้ำ มีดังนี้ ช่วยพัฒนาความคิดความเข้าใจ (Cognitive functioning) การเคลื่อนไหวร่างกายซ้ายขวาพร้อมกันทั้งสองซีกทำให้สมองของทารกเจริญเติบโตขึ้น ทั้งยังช่วยสร้างเซลล์ประสาทสั่งการในสมองทุกส่วน โดยเฉพาะส่วนคอร์ปัส แคลโลซัม (Corpus Callosum) ที่ทำหน้าที่กระตุ้นการสื่อสาร การตอบสนอง และการสับเปลี่ยนหน้าที่ระหว่างสมองซีกซ้ายและซีกขวา จึงช่วยพัฒนาทักษะการอ่าน พัฒนาการด้านภาษา ทักษะการเรียน ทักษะด้านการรับรู้มิติสัมพันธ์ (spatial awareness) ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในตัวเอง โดยปกติแล้ว คลาสสอนว่ายน้ำสำหรับทารกส่วนใหญ่จะผสมผสานกิจกรรมร้อง เล่น และกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์กับคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ดูแล ทำให้ทารกได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม รวมไปถึงทักษะใหม่ๆ ที่อาจช่วยให้ทารกเริ่มเกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง หรือเห็นคุณค่าในตัวเองได้ โดยงานวิจัยในปี 2010 ชิ้นหนึ่งพบว่า เด็กอายุ 4 ปีที่เคยเรียนว่ายน้ำ ตั้งแต่อายุ 2 เดือนถึง 4 ปี มีความมั่นใจในตัวเอง รู้จักพึ่งพาตนเอง และปรับตัวเข้ากับสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมใหม่ ได้ดีกว่าเด็กที่ไม่เคยเรียนว่ายน้ำ ทารกว่ายน้ำ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง การฝึกว่ายน้ำและลอยตัวในน้ำเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยพัฒนาระบบกล้ามเนื้อสำคัญของทารก เนื่องจากทารกต้องควบคุมศีรษะไม่ให้จมน้ำ ต้องเคลื่อนไหวแขนขา และควบคุมกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวให้ประสานกับอวัยวะส่วนที่เหลือ ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและพัฒนาการควบคุมกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ลดน้ำหนักหลังคลอด ด้วยการให้นมลูก ทำได้จริงหรือไม่

ในช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และอาจยังมีน้ำหนักเกินอยู่หลังจากคลอดลูกแล้ว โดยทั่วไป ในช่วง 6 เดือนแรกหลังจากคลอดลูก น้ำหนักคุณแม่อาจลดลงประมาณ 0.45-0.9 กิโลกรัมต่อเดือน ทั้งนี้ คุณแม่บางคนที่ให้ลูกกินนมแม่ อาจ ลดน้ำหนักหลังคลอด ได้ เนื่องจากการร่างกายเผาผลาญพลังงานเพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 500 กิโลแคลอรี่ อย่างไรก็ตาม คุณแม่ที่ให้ลูกกินนมไม่ควรงดอาหารหรือกินอาหารน้อยเกินไป เพื่อให้มีสารอาหารเพียงพอในการใช้ชีวิตประจำวัน และช่วยให้ลูกได้รับสารอาหารจากน้ำนมแม่ตามปริมาณที่ร่างกายต้องการ [embed-health-tool-due-date] ลดน้ำหนักหลังคลอด ด้วยการให้นมลูก ทำได้อย่างไร น้ำหนักของคุณแม่อาจลดลงประมาณ 0.45-0.9 กิโลกรัมต่อเดือน ในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด จากนั้นน้ำหนักจะลดลงได้ช้ากว่าเดิม ซึ่งการลดน้ำหนักหลังคลอดอาจใช้เวลาประมาณ 6-9 เดือนกว่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมาในช่วงตั้งครรภ์จะลดลงไปใกล้เคียงกับช่วงก่อนตั้งครรภ์ ทั้งนี้ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจมีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักหลังคลอดของคุณแม่ได้เนื่องจากการให้ลูกกินนมแม่อาจช่วยให้คุณแม่เผาผลาญพลังงานได้มากขึ้น โดยสมาคมสูตินรีแพทย์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (The American College of Obstetricians and Gynecologists หรือ ACOG) ระบุว่า ร่างกายจะใช้พลังงานประมาณ 450-500 กิโลแคลอรี่ในการผลิตน้ำนมแม่ในแต่ละวัน ซึ่งอาจเทียบเท่ากับการออกกำลังกายในระดับปานกลางประมาณ 45-60 นาที นอกจากนี้ คุณแม่ให้นมลูกอาจระมัดระวังเรื่องอาหารมากกว่าเดิม เช่น ลดการกินอาหารแปรรูป […]


โภชนาการสำหรับทารก

4 ข้อเตือนใจ เมื่อต้องฝึกลูกรับประทานอาหาร

การ ฝึกลูกรับประทานอาหาร เมื่อลูกเข้าสู่วัยตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป คุณพ่อคุณแม่หลายๆ ท่านคงเกิดความกังวลเกี่ยวกับสารอาหารที่เจ้าตัวน้อยได้รับว่ามีความเหมาะสม และถูกต้องตามหลักโภชนาการมากน้อยเพียงใด ยิ่งถ้าวันไหนคุณลูกงอแง ปฎิเสธอาหาร ก็ยิ่งเพิ่มความหนักใจเข้าไปอีก บทความนี้เรามีขั้นตอนง่ายๆ ของเทคนิคการป้อนอาหารให้ลูกน้อย มาฝากกันค่ะ เทคนิคการ ฝึกลูกรับประทานอาหาร อย่างได้ผล มีอะไรบ้าง 1. ใส่ใจเลือกวัตถุดิบ เด็กจะได้สารอาหารครบถ้วนหรือไม่นั้น การเลือกวัตถุดิบถือว่าเป็นหัวใจสำคัญเลยนะคะ ในแต่ละวันเด็กๆ ควรได้รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรเลือกซื้อวัตถุดิบให้หลากหลาย ควรประกอบไปด้วยอาหารจำพวกข้าวและแป้ง โปรตีนจากเนื้อสัตว์และไข่ รวมทั้งผักผลไม้หลากสี เพื่อให้ได้วิตามินและเกลือแร่ครบถ้วน และอย่าลืมคำนึงถึงวัตถุดิบอาหารปลอดภัย เช่น ผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษ การล้างทำความสะอาด รวมทั้งการเตรียมวัตถุดิบอย่างพิถีพิถันด้วย ตัวอย่างวัตถุดิบที่ใช้สำหรับเด็กวัย 6 เดือน ที่กำลังฝึกรับประทานอาหาร ได้แก่ ข้าวกล้อง ไข่แดง เนื้อปลาน้ำจืด กล้วยน้ำว้า มะละกอสุก น้ำส้มคั้น มะม่วงสุกจัด  แอปเปิ้ล ฟักทอง อะโวคาโด เป็นต้น 2. เลือกลักษณะอาหารที่เหมาะสม ในแต่ละช่วงวัยของเด็กนั้นจะมีพัฒนาการที่ต่างกัน การเลือกลักษณะอาหารที่เหมาะสมจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กเล็กได้ โดยอาหารที่ข้นเกินไปอาจทำให้ลูกสำลักได้ ให้คุณพ่อคุณแม่ลองเติมน้ำซุปเคี่ยวผัก ปลา […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

สารอาหารบำรุงนมแม่ และข้อแนะนำสำหรับแม่ให้นมลูก

ในกระบวนการผลิตน้ำนมแม่ ร่างกายจำเป็นต้องใช้พลังงานสูง อาหารที่คุณแม่กินระหว่างให้นมลูก จึงนับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมากที่จะช่วยในการผลิตน้ำนมให้มีคุณภาพ และเพื่อช่วยให้ทารกได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมอง แต่ สารอาหารบำรุงนมแม่ ที่แม่ให้นมลูกควรกินมีอะไรบ้างนั้น Hello คุณหมอ มีคำตอบมาฝากค่ะ สารอาหารบำรุงนมแม่ มีอะไรบ้าง โปรตีน ทารกที่กำลังเจริญเติบโตต้องการโปรตีนสูง ดังนั้น แม่ให้นมลูก จึงต้องกินโปรตีนในปริมาณที่มากพอกับที่ทารกต้องการ เพราะโปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโต การรักษาสภาพร่างกาย และการซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ โดยปริมาณโปรตีนที่แม่ให้นมลูกควรได้รับจะอยู่ที่ประมาณ 54 กรัมต่อวัน แต่ในคุณแม่บางรายอาจต้องการถึง 67 กรัมต่อวันหรือมากกว่า แหล่งโปรตีนที่สำคัญ ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง โฟเลต โฟเลตเป็นวิตามินบีชนิดหนึ่งที่สำคัญต่อการเติบโตของร่างกาย โดยปกติ แม่ให้นมลูก ควรได้รับโฟเลตในปริมาณ 450 ไมโครกรัมต่อวัน แต่ในคุณแม่บางรายอาจต้องการในปริมาณ 500 ไมโครกรัมต่อวันหรือมากกว่า แหล่งโฟเลตที่สำคัญได้แก่ ผักประเภทใบ ธัญพืช ถั่วต่าง ๆ อะโวคาโด สารสกัดจากยีสต์ ไอโอดีน ไอโอดีนเป็นแร่ธาตุที่สำคัญสำหรับการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ เพื่อพัฒนาการของสมองและระบบประสาท แม่ให้นมลูก ควรได้รับไอโอดีนปริมาณ 190 ไมโครกรัมต่อวัน หรือ 270 ไมโครกรัมในคุณแม่บางราย แหล่งไอโอดีนที่ดีได้แก่ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน