เด็กทารก

วัยทารก คือช่วงเวลาที่เปราะบางและควรได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงและมีความสุข เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ เด็กทารก ตั้งแต่ทารกแรกเกิดถึงขวบปีแรก ทารกคลอดก่อนกำหนด ตลอดจนถึงโภชนาการสำหรับเด็กทารก และการดูแลเด็กทารก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กทารก

แพมเพิส มีประโยชน์อย่างไร เคล็ดลับการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

แพมเพิส ผ้าอ้อมเด็ก หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป ใช้สวมใส่ให้ลูกเพื่อรองรับการขับถ่ายของทารก แพมเพิสนั้นใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ควรเตรียมไปเพื่อให้ลูกใส่ก่อนออกจากโรงพยาบาล เพราะผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพิ่มความสะดวกสบายง่ายต่อการสวมใส่ แต่การใช้ผ้าอ้อมเด็ก ก็มีสิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังเช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ข้อดีของแพมเพิส หน้าที่ของแพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อซึมซับปัสสาวะและอุจจาระของทารกและเด็ก จึงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกสบาย เพียงใส่แพมเพิสให้กับทารก ลูกน้อยก็สามารถขับถ่ายได้สะดวก การซึมซับของแพมเพิสยังทำได้ดี คอยห่อตัวลูกให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ทารกสบายตัว นอนหลับได้ดี การใช้แพมเพิสยังง่ายต่อการเปลี่ยน โดยสามารถนำแพมเพิสที่ใช้แล้วทิ้งขยะได้เลย จึงประหยัดเวลา ไม่ต้องซักบ่อย ๆ แบบผ้าอ้อมชนิดผ้า  เคล็ดลับการใส่แพมเพิส แพมเพิสสำหรับทารกมี 2 ประเภท วิธีเปลี่ยนแพมเพิสจึงแตกต่างกัน ดังนี้ เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบเทปกาว ก่อนเปลี่ยนแพมเพิสควรดูแลทำความสะอาดทารก เช็ด หรือซับ ให้ตัวแห้งก่อนเปลี่ยนแพมเพิส เตรียมแพมเพิสแบบเทปกาวให้พร้อม กางออก หากมีขอบปกป้องการรั่วซึมให้ดึงตั้งขึ้น  จับทารกให้อยู่ในท่านอนหงาย นำแพมเพิสสอดเข้าไปใต้ก้นลูก โดยยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นเล็กน้อย ดึงตัวแพมเพิสขึ้นมาใกล้กับหน้าท้อง ให้ขอบของแพมเพิสต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย จากนั้นนำแถบเทปที่อยู่ด้านหลังดึงมาติดให้กระชับกับด้านหน้า โดยสามารถปรับแถบกาวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เสียสีกับสะดือทารก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดที่สะดือยังไม่หลุด ตรวจความเรียบร้อย ลองใช้นิ้วสอดระหว่างผ้าอ้อมกับตัวลูก ควรพอดีตัว ไม่หลวมเกินจนหลุด และไม่แน่นจนเสียดสีกับผิวของทารก สำหรับแพมเพิสแบบเทปกาวต้องคอยสังเกตไม่ให้แถบของเทปกาวสัมผัสกับผิวหนังลูก เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบกางเกง ทารกที่น้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม สามารถใส่แพมเพิสแบบกางเกงได้ ซึ่งแพมเพิสชนิดนี้จะเหมาะกับเด็ก […]

หมวดหมู่ เด็กทารก เพิ่มเติม

โภชนาการสำหรับทารก

สำรวจ เด็กทารก

เด็กทารก

ภาษากาย ของลูกรัก ท่าทางแบบไหน มีความหมายว่าอย่างไร

ภาษากาย ของเด็กทารกโดยเฉพาะในช่วงอายุขวบปีแรกนั้นสำคัญต่อคุณพ่อคุณแม่เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นช่วงที่ลูกน้อยยังไม่สามารถสื่อสารได้ด้วยการพูด การตีความหมายจากภาษากายได้อย่างถูกต้องจะทำให้คุณพ่อคุณแม่ทราบถึงอารมณ์ ความต้องการ และความรู้สึกของลูกน้อย เพื่อที่จะตอบสนองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] ความสำคัญของ ภาษากาย ในเด็ก การทำความเข้าใจกับภาษากายของเด็กเป็นเรื่องสำคัญมาก เนื่องจากเสียงเด็กทารกร้องไห้ ท่าทางต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นวิธีการสื่อสารถึงความต้องการของเด็ก ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ควรตีความหมายให้ใกล้เคียงสิ่งที่เด็กต้องการ และทำความเข้าใจ เพื่อตอบสนองความต้องการของเด็กได้อย่างเหมาะสม เด็กน้อยจะได้มีความสุขจากการดูแลเอาใจใส่ของคุณพ่อและคุณแม่ ภาษากาย ของเด็ก ๆ ที่พบได้บ่อย เตะขา ถ้าเด็กเตะขาพร้อมกับยิ้มและดูมีความสุข อาจเป็นสัญญาณว่า เด็กกำลังอยากเล่น แต่ถ้าเตะขาไปร้องไห้ไปด้วยอาการหงุดหงิดก็สื่อว่า กำลังมีอะไรรบกวนเด็กอยู่ อาจจะเป็นผ้าอ้อมเปียกแฉะหรืออาการท้องอืด หรือแน่นท้องต้องการเรอ ซึ่งพ่อแม่ควรรีบตรวจดูว่า มีอะไรที่ทำให้เด็กหงุดหงิดอยู่ และรีบจัดการให้ตรงกับความต้องการเพื่อที่เด็กจะน้อยอารมณ์ดีมีความสุข จับหูหรือดึงหู อาจเป็นเพียงการแสดงออกของเด็ก ๆ ที่เพิ่งสำรวจเจอว่าตัวเองมีหู ซึ่งเป็นอวัยวะใหม่ที่เด็ก ๆ อาจจะไม่เคยสำรวจหรือสัมผัสโดนมาก่อน ส่วนใหญ่แล้วมักไม่เกี่ยวข้องกับอาการติดเชื้อที่หูแต่อย่างใด เพราะหากมีการติดเชื้อที่หู มักมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้ คัดจมูก ร้องไห้งอแง นอกจากนั้น เด็กมักจะชอบดึงหูตัวเอง เพื่อเป็นการปลอบตัวเองให้หายหงุดหงิดจากบางสิ่งบางอย่าง เช่น ต้องการของเล่น ต้องการดื่มนม ง่วงนอน กำหมัด ท่ากำหมัดเป็นท่าของเด็กส่วนใหญ่ที่กำลังผ่อนคลายและกำลังพักผ่อน เนื่องจากทารกแรกเกิดยังไม่สามารถทำอะไรกับมือตัวเองได้มากนัก เนื่องจากการเคลื่อนไหวนิ้วและมือ ต้องอาศัยพัฒนาการทางระบบประสาทและสมองที่มากพอ ปกติแล้วเด็กจะเริ่มแบมือตอนนอนหลับเมื่ออายุราว 8 สัปดาห์ และสามารถหยิบฉวยและไขว่คว้าสิ่งต่าง ๆ […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ตั้งท้องขณะให้นมลูก มีโอกาสเป็นไปได้หากไม่คุมกำเนิดจริงหรือ?

ตั้งท้องขณะให้นมลูก คือการให้นมลูกหลังคลอด แล้วตั้งครรภ์ซึ่งโอกาสเป็นไปได้ค่อนข้างน้อยเนื่องจากช่วงเวลาหลังคลอดประมาณ 3-8 เดือนหญิงให้นมลูกมักจะไม่มีประจำเดือน โอกาสที่ร่างกายของฝ่ายหญิงจะมีไข่ตกนั้นต่ำ อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีความเป็นไปได้ที่จะตั้งท้องขณะให้นมลูกหากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลาดังกล่าวและไม่คุมกำเนิด โอกาสตั้งท้องขณะให้นมลูกเป็นไปได้หรือไม่ ตั้งท้องขณะให้นมลูก เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้หากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน เพียงแต่โอกาสจะเกิดขึ้นได้น้อย เพราะภาวะเจริญพันธ์ุในช่วงเดือนที่ให้นมบุตรนั้นลดลง และการให้นมบุตรส่งผลกระทบต่อการตกไข่ เนื่องจากร่างกายของผู้หญิงจะสร้างฮอร์โมนโปรแลคติน (ฮอร์โมนน้ำนม) ขึ้นมาในปริมาณมาก ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้จะยับยั้งฮอร์โมนอื่นที่กระตุ้นการตกไข่ ดังนั้น ยิ่งให้นมทารกบ่อยและนานเท่าไหร่ โอกาสที่จะตั้งครรภ์อีกครั้งก็มักน้อยลงเท่านั้น หากเริ่มให้อาหารเสริมทดแทนน้ำนมแม่ และให้นมลูกลดลง ฮอร์โมนโปรแลคตินก็จะลดลงตามไปด้วย ทำให้ภาวะเจริญพันธุ์กลับคืนมา แต่โดยปกติแล้วมักจะใช้เวลา 3 ถึง 8 เดือน กว่าที่วงจรของไข่ตกจะกลับมาเป็นปกติ [embed-health-tool-ovulation] สัญญาณของการตกไข่ขณะให้นมลูก การตั้งท้องขณะให้นมลูก อาจเกิดขึ้นได้ยาก เพราะร่างกายมักไม่มีการตกไข่ และไม่มีประจำเดือน แต่เมื่อให้นมลูกน้อยลง วงจรของวันตกไข่ก็จะเริ่มกลับมา แต่ถึงอย่างนั้น จะทราบได้อย่างไรว่า ร่างกายเริ่มเข้าสู่ภาวะตกไข่เมื่อใด โดยปกติแล้ว ประจำเดือนมักขาดหลายเดือนหลังจากคลอด แต่การไม่มีประจำเดือนไม่ได้หมายความว่า ไม่อยู่ในภาวะเจริญพันธุ์ เพราะในความเป็นจริงแล้วร่างกายจะมีไข่ตกออกมาก่อนการมีประจำเดือนครั้งแรกหลังคลอด ดังนั้น ควรสังเกตสัญญาณล่วงหน้าของภาวะเจริญพันธุ์หรือการที่ร่างกายพร้อมมีลูกอีกครั้ง ดังนี้ การมีสารคัดหลั่งจากอวัยวะเพศเพิ่มขึ้น เป็นสัญญาณแรกของการตกไข่ หากสังเกตเห็นตกขาว ที่สับเปลี่ยนกันระหว่างของเหลวสีขาวข้น ไปเป็นของเหลวที่มีลักษณะใสและยืดหยุ่น อาจจะหมายความว่า ภาวะเจริญพันธุ์นั้นกลับมาเป็นปกติแล้ว อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น อาจเป็นตัวบ่งบอกของการตกไข่ หากสังเกตว่าอุณหภูมิของร่างกายเพิ่มขึ้น นั่นอาจหมายถึงร่างกายกำลังมีภาวะไข่ตก ประจำเดือนครั้งแรก […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 7 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 7 ที่สังเกตเห็นได้ชัดคือ ทารกอาจเริ่มมีรอยยิ้ม เริ่มกำและแบมือได้เอง โดยหากนำสิ่งของใส่มือจะสามารถกำไว้ได้นาน และเริ่มซึมซับเสียงและคำพูดของผู้ที่อยู่รอบตัว ช่วงสามเดือนแรกเป็นช่วงที่สมองของทารกกำลังพัฒนามากที่สุด ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรพูดกับลูกบ่อย ๆ สัมผัสลูกด้วยความรัก แม้ว่าทารกจะไม่สามารถสื่อสารออกมาเป็นคำพูดได้ก็ตาม [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 7 ลูกน้อยจะเติบโตและมี พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 7 อย่างไร ใกล้ครบสองเดือนแล้ว ลูกน้อยสามารถจดจำเสียงของคุณพ่อคุณแม่ได้แล้ว ซึ่งการได้ยินเสียงที่คุ้นเคยจะช่วยทำให้ลูกน้อยปรับตัวเข้ากับโลกใหม่นอกครรภ์มารดาได้ง่ายขึ้น และทำให้รู้สึกว่าไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว ฉะนั้น ยิ่งพูดคุยกับทารกมากเท่าไหรยิ่งดี แม้ลูกน้อยอาจไม่เข้าใจคำพูดแต่ทารกสามารถรับรู้ได้ถึงความรักและความรู้สึกต่าง ๆ ผ่านคำพูด โทนเสียง น้ำเสียง แววตา ท่าทาง ในสัปดาห์นี้ทารกจะมีพัฒนาการดังต่อไปนี้ เมื่อจับอยู่ในท่านอนคว่ำ ลูกน้อยจะสามารถชันคอขึ้นมาได้ประมาณ 45 องศา สามารถส่งเสียงอื่น ๆ ได้มากกว่าการร้องไห้ เช่น ส่งเสียงอ้อแอ้ในลำคอ สามารถยิ้มตอบได้ เมื่อมีใครยิ้มให้ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ในช่วงสัปดาห์นี้ ทารกจะตื่นบ่อยขึ้นในช่วงระหว่างวัน ควรใช้ช่วงเวลานี้เพื่อช่วยพัฒนาประสาทสัมผัสโดยการเล่นดนตรีหรือร้องเพลงกล่อมเด็ก ถึงแม้ว่าลูกน้อยจะไม่เข้าใจ แต่อาจแสดงปฎิกิริยาตอบสนองต่อเพลงที่คุณร้องได้ ซึ่งไม่จำเป็นต้องร้องแต่เพลงเด็ก ๆ อาจใช้เพลงได้ตามใจชอบ ตั้งแต่เพลงป๊อปไปจนถึงเพลงคลาสสิค และสังเกตดูว่าลูกน้อยชอบเพลงแบบไหน หากชอบลูกน้อยจะแสดงออกด้วยการขยับปาก […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 10 ของลูกน้อย

ถ้าคุณเป็นคุณแม่ที่เพิ่งคลอดได้ไม่นาน แล้วอยากจะรู้ถึงพัฒนาการของลูกน้อยในแต่ละช่วงเวลาล่ะก็ นี่คือข้อมูลของ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 10 ที่คุณแม่ควรรู้เอาไว้ มาดูกันว่าตัวเล็กในสัปดาห์ที่ 10 นี้ เขาจะมีพัฒนาการไปขนาดไหน [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 10 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไรและมี พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 10 อย่างไร ถ้าลูกน้อยของคุณนอนในเวลากลางคืนเป็นเวลา 5-6 ชั่วโมง ก็นับเป็นความโชคดีของคุณมาก เนื่องจากเด็กอายุ 10 สัปดาห์ ส่วนใหญ่จะตื่นขึ้นกลางดึก แต่ถ้าลูกน้อยไม่ได้นอนข้ามคืนในระยะนี้ เขาก็จะมีช่วงการนอนหลับและตื่นที่ยาวนานกว่า ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถแอบไปงีบหลับเพื่อเอาแรงได้ ลูกน้อยอาจมีช่วงเวลานอนประมาณ 2-4 ครั้ง และตื่นมากกว่า 10 ชั่วโมงในหนึ่งวัน สิ่งที่ต้องจำเอาไว้คือ ไม่ว่าลูกของคุณจะเป็นนกฮูกกลางคืน หรือเป็นนกน้อยในยามเช้า นิสัยการนอนก็จะเป็นแบบนี้ไปตลอดช่วงวัยเยาว์ ในสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนที่ 2 นี้ ลูกน้อยของคุณอาจจะ ใช้เสียงในรูปแบบต่างๆ แทนที่จะร้องไห้อย่างเดียว สามารถยกหัวขึ้นได้ถึง 45 องศาในขณะที่นอนอยู่ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไรในช่วง พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 10 วิธีการสื่อสารกับลูกน้อยนั้นมีมากมายนับไม่ถ้วน และเพื่อพัฒนาการที่ดีของลูกน้อย คุณก็ควรลองทำสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้ ไม่ว่าจะทำในเดือนนี้หรือในเดือนถัดไป […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 9 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 9 หรือประมาณ 3 เดือนแรก เป็นช่วงเวลาที่ลูกน้อยเพิ่มมีพัฒนาการทางด้านการได้ยินมากขึ้น สามารถแยกแยะและจดจำเสียงต่าง ๆ ได้มากขึ้น อีกทั้งยังอาจเปร่งเสียงเพื่อสื่อสารได้เล็กน้อย อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพของลูกน้อยได้อย่างเต็มที่ คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาเกี่ยวกับวิธีการดูลูกที่เหมาะสมสำหรับเด็กอายุ 9 สัปดาห์ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 9 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไรและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 9 ตอนนี้ลูกมีอายุได้ 9 สัปดาห์แล้ว เขาสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างเสียงที่คุ้นเคยกับเสียงอื่นๆ ได้ และกำลังจะกลายเป็นผู้ฟังที่ดี นอกจากนี้ลูกน้อยยังแสดงให้เห็นด้วยว่า เขาปรับตัวให้เขากับสภาพแวดล้อมได้แล้ว และเวลาที่มีเสียงอะไรเกิดขึ้น เขาก็จะหันไปมองตามเสียงนั้น การพูดคุยอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้ลูกน้อยมีการพัฒนาในการรับรู้เรื่องสถานที่ ลูกน้อยอาจมองปากคุณเวลาที่คุณกำลังพูด หรืออาจจะรู้สึกพิศวงถึงการทำงานของมัน คุณจะต้องทึ่งเมื่อเขาสามารถสื่อสารออกมาเป็นเสียงสูงเสียงต่ำได้แล้ว รวมทั้งยิ้มและร้องไห้เพื่อแสดงความต้องการต่างๆด้วย ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนที่สองนี้ ลูกน้อยอาจจะ… ยิ้มตอบ เวลาที่คุณยิ้มให้ แยกแยะได้ระหว่างเสียงที่คุ้นเคยและเสียงอื่นๆ เริ่มหันไปมองตามเสียง ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีขึ้น ตอบสนองกับเสียงกระดิ่งในหลายๆ รูปแบบ อย่างเช่น การจ้องมอง ร้องไห้ หรือนิ่งไป ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร คุณอาจช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อย ด้วยการพูดคุยกับเขาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถึงแม้จะทำให้ดูเหมือนคุณกำลังคุยกับตัวเอง แต่นั่นจะช่วยพัฒนาด้านสติปัญหาให้ลูกน้อยได้ เขาสามารถเรียนรู้จากการเคลื่อนไหวของปาก การแสดงออก และน้ำเสียงที่ชวนให้รู้สึกตื่นเต้น […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 11 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 11 ทารกจะเริ่มเคลื่อนไหวมากขึ้นแล้ว โดยเฉพาะแขนและขาที่อาจมีการขยับมากขึ้นกว่าหลังแรกคลอด คุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยให้ลูกได้ขยับร่างกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและพัฒนาการของกล้ามเนื้อ  [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 11 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร การเคลื่อนไหวของทารกจะเริ่มต้นอย่างราบรื่น คุณแม่จะสังเกตเห็นว่าลูกเคลื่อนไหวของแขนและขาในรูปแบบที่ซับซ้อนได้มากขึ้น การเคลื่อนไหวเหล่านี้จะช่วยให้ลูกน้อยสามารถเสริมสร้างความแข็งแรงและพัฒนาการของกล้ามเนื้อได้ เมื่อลูกนอนหงายจะเริ่มยกขามากขึ้น นี่คือ ขั้นตอนแรกในการเตรียมความพร้อมสำหรับการคลานของลูกน้อย พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกน้อยในสัปดาห์ที่ 11 ควบคุมศีรษะให้อยู่นิ่ง ๆ ได้ เมื่อจับให้นั่งตัวตรง เมื่อนอนลง ลูกน้อยจะสามารถใช้มือดันหน้าอกขึ้นมาได้ หมุนตัวได้ (ไปยังทิศทางเดียว) จับของเล่นเขย่าให้มีเสียง ให้ความสนใจกับสิ่งของขนาดเล็ก เช่น ลูกกวาด (ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าสิ่งของเล็ก ๆ จะไม่ทำให้ลูกน้อยสำลัก) เอื้อมมือไปหยิบจับข้าวของต่าง ๆ เปล่งเสียงเป็นคำ ๆ ได้แล้ว ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ควรมีพื้นที่เพียงพอให้ลูกน้อยสามารถยืดตัว และเคลื่อนไหวแขนขาได้อย่างปลอดภัย คุณพ่อคุณแม่ควรปูผ้าห่มลงบนพื้น และปล่อยให้ลูกน้อยเคลื่อนไหวได้ตามใจชอบ วิธีนี้จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงและพัฒนากล้ามเนื้อได้ สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร คุณหมออาจอาจทำการประเมิน หรือใช้วิธีตรวจสอบที่แตกต่างกันไปตามสภาวะของลูกน้อย ความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง หากลูกน้อยมีอารมณ์เปลี่ยนแปลง อาหารไม่ย่อย มีไข้สูง อุจจาระผิดปกติ มีปัสสาวะหยด มีผื่นคันบริเวณตาและหูเป็นเวลานาน อาจเป็นสัญญาณว่าลูกน้อยป่วย ถ้าลูกน้อยมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจหรือชัก ก็ควรพาไปพบคุณหมอทันที อุณหภูมิ หากลูกน้อยมีไข้ ควรใช้วิธีเช็ดตัว เพราะไข้คือวิธีที่ร่างกายตอบสนองต่อแบคทีเรียที่ร่างกายได้รับ และถือเป็นสัญญาณที่ดี เมื่อโทรศัพท์ไปปรึกษาคุณหมอ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 12 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 12 หรือประมาณ 3 เดือน เป็นช่วงที่ลูกน้อยมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว ในช่วงนี้ทารกอาจหัวเราะอย่างต่อเนื่องและยาวนาน สามารถยกศีรษะขณะนอนคว่ำได้ และอาจเริ่มมองของที่อยู่ใกล้ตัว คุณพ่อคุณแม่ควรระวังปัญหาศีรษะทารกลีบแบน รวมไปถึงปัญหาเส้นประสาทกดทับที่อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการ หากสังเกตพบความผิดปกติ หรือลูกมีอาการร้องไห้เป็นเวลานานติดต่อกัน ควรปรึกษาคุณหมอ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 12 ลูกน้อยจะเติบโตและมี พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 12 อย่างไร ในช่วงวัยนี้ ลูกน้อยอาจมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ในช่วงสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนที่ 2 ลูกจะมีพัฒนาการดังต่อไปนี้ หัวเราะอย่างต่อเนื่องยาวนาน จีบนิ้วมือเข้าหากัน เมื่อนอนคว่ำ ลูกสามารกยกศีรษะได้ 90 องศา หัวเราะเสียงดัง ร้องไห้เมื่อต้องการบางสิ่งบางอย่าง มองตามสิ่งของที่ห่างจากตัวประมาณ 15 เซนติเมตร และหันหน้าได้ประมาณ 180 องศา ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร การอ่านออกเสียง เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อย เสียงของคุณพ่อคุณแม่จะช่วยให้การได้ยินของลูกสอดคล้องไปกับทำนองของภาษาพูด การเปลี่ยนน้ำเสียงในขณะเล่านิทาน การลงเสียงหนักเบา หรือการร้องเพลง จะช่วยให้ลูกมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับพ่อแม่ อีกทั้งยังช่วยดึงดูดความสนใจจากลูกมากขึ้น แต่หากลูกหันหน้าหนีหรือไม่แสดงความสนใจกับการเล่านิทาน ควรให้เขาได้พักผ่อน มีหนังสือดี ๆ มากมายที่เหมาะสำหรับลูกน้อย ควรเลือกหนังสือที่มีภาพประกอบขนาดใหญ่ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 6 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 6 หรือประมาณ 2 เดือน เป็นช่วงเวลาที่ลูกน้อยอาจเริ่มมีการตอบสนองต่อเสียงรอบตัว เช่น เสียงกริ่ง เสียงพูดคุย และอาจจ้องมองด้วยความสงสัยใคร่รู้ ในช่วงนี้ลูกน้อยอาจใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอนหลับ คุณพ่อคุณแม่ควรทำกิจวัตรก่อนเข้านอนด้วยการอาบน้ำอุ่นหรือเล่านิทานให้ลูก เพื่อสร้างนิสัยในการนอนที่ดีให้กับลูกตั้งแต่ยังเล็ก [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 6 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร การยิ้ม คือ ภาษาสากล ฉะนั้นคุณแม่เตรียมตัวรอรับรอยยิ้มที่มองไม่เห็นฟันจากลูกเป็นรางวัลได้เลย รอยยิ้มนี้อาจทำให้หัวใจละลายได้ ในช่วงสัปดาห์ที่สองของเดือนแรก ลูกน้อยอาจอาจแสดงอาการตอบสนองบางอย่างต่อเสียงกดกริ่งได้แล้ว อย่างเช่น การจ้องมอง ร้องไห้ หรือนิ่งเงียบ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับส่วนใหญ่ แนะนำให้พาลูกเข้านอนในขณะที่ยังตื่นอยู่แต่มีอาการงัวเงีย วิธีนี้จะช่วยให้ลูกน้อยเรียนรู้ที่จะกล่อมตัวเองให้นอนหลับได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากเวลาที่ลูกตื่นขึ้นมากลางดึก ทั้งนี้ การสร้างนิสัยการนอนที่ดีให้ลูกตั้งแต่ยังเด็กสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การทำกิจวัตรก่อนเข้านอนด้วยการอาบน้ำอุ่นให้สบาย นวดเนื้อนวดตัวหรือเล่านิทานให้ลูกน้อยฟัง สุขภาพและความปลอดภัยของพัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 6 ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร หมออาจอาจทำการตรวจสอบร่างกายในด้านต่าง ๆ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประวัติสุขภาพของลูกว่าเป็นอย่างไร ถ้ามีนัดไปพบหมอในช่วงสัปดาห์นี้ ก็ควรปรึกษากับหมอในเรื่องต่อไปนี้ ถ้าลูกน้อยมีน้ำหนักตัวขึ้นช้า พัฒนาการช้า การตอบสนองต่าง ๆ ถ้ารู้สึกเป็นกังวลเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ พฤติกรรม การนอนหลับ และการป้อนนมให้แก่ลูกน้อย ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา  สิ่งที่ควรรู้ อาหารสำหรับเด็ก ไม่ต้องเป็นกังวลถ้าไม่มีน้ำนมให้ลูกกิน เด็กที่กินนมจากขวดก็สามารถมีสุขภาพดี มีความสุข และทำน้ำหนักได้อย่างเหมาะสม ถ้าได้รับน้ำนมอย่างพอเพียง ถ้าให้นมมากไปอาจกลายเป็นเด็กอ้วน […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 5 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 5 หรือทารก 2 เดือน ในช่วงนี้ทารกอาจจะยังคงบอบบางและต้องการการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาวิธีการดูแลทารก 5 สัปดาห์อย่างเหมาะสม เพื่อให้ลูกน้อยมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 5 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ภายในสัปดาห์แรกของเดือนแรกนี้ ลูกของคุณอาจยกหัวได้เล็กน้อยในขณะที่กำลังนอนคว่ำ นอกจากนี้ยังสามารถเพ่งมองใบหน้าของผู้อื่นได้อีกด้วย โดยเฉพาะใบหน้าคุณ ผู้ที่คอยดูแลเขามาเสมอ ในช่วงนี้ลูกของคุณอาจพูดอะไรที่มีเสียงอ้อแอ้ๆ เพื่อแสดงความรู้สึกออกมา เด็กบางคนอาจหวีดร้องหรือหัวเราะได้แล้ว ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ทำเสียงอ้อแอ้หรือพูดคุยโต้ตอบลูกน้อยเป็นประจำ จะทำให้เขาพออกพอใจกับความสนใจของคุณในระยะนี้ คุณควรพูดคุยกับเขาโดยตรง นอกจากนี้ก็ควรใช้ภาษาของเด็กในการพูดคุยหรือสอนการใช้ภาษาให้เขา การสื่อสารกับลูกน้อยแบบนี้จะช่วยเพิ่มความใกล้ชิด และความผูกพันระหว่างแม่กับลูกได้ สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร คุณหมออาจอาจทำการตรวจสอบต่างๆ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสุขภาพของลูกคุณว่าตอนนั้นเป็นยังไง ถ้าคุณมีนัดไปพบคุณหมอในช่วงสัปดาห์นี้ ก็ควรปรึกษากับคุณหมอในเรื่องต่อไปนี้ สอบถามเกี่ยวกับสิ่งที่คุณและคนในครอบครัวควรทำเมื่ออยู่ที่บ้าน และการรับประทานอาหาร การนอน และพัฒนาการโดยทั่วไปของลูกน้อย ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และเส้นรอบวงศีรษะ และพัฒนาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่คลอด ทดสอบความสามารถทางการได้ยิน และการมองเห็นของเด็ก สิ่งที่ควรรู้ การคายอาหาร ในช่วงเดือนแรกนี้เด็กทารกส่วนใหญ่จะแหวะนมเป็นบางครั้ง เด็กบางคนก็แหวะทุกครั้งที่ป้อน บางครั้งเด็กแหวะนมเพราะกินเข้าไปมากเกิน ยังไม่มีวิธีแก้ปัญหาได้แบบเวิร์คๆ แต่อาจลองลดการกลืนอากาศเข้าไปในระหว่างกินนมดู ถึงแม้การแหวะนมจะเป็นเรื่องปกติและไม่มีอะไรน่าห่วง แต่การแหวะนมบางประเภทก็ส่อว่ามีปัญหาได้เหมือนกัน คุณแม่ควรโทรไปปรึกษาคุณหมอ ถ้าลูกน้อยแหวะนมพร้อมมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ หรือสำลักหรือไอเป็นเวลานานๆ หรืออาเจียนออกมาเป็นสีน้ำตาลหรือสีเขียว อาการแพ้นม อาการแพ้นมมักพบได้บ่อยในเด็กทารก ซึ่งในรายที่มีอาการแพ้รุนแรง […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 4 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 4 เป็นช่วงที่ลูกน้อยเริ่มรู้จักมองดูสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และมักจะชอบดูดนิ้ว คุณแม่จึงควรดูแลความสะอาดมือและนิ้วมือของลูกเป็นประจำ เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้ อาจใช้จุกนมหลอกเพื่อช่วยป้องกันลูกดูดนิ้ว และควรพาลูกน้อยเข้าพบคุณหมอ เพื่อรับการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี และตรวจร่างกาย [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรม และ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 4 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร เมื่อลูกอายุครบ 4 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน มักจะชอบดูดนิ้ว หรือสิ่งที่อยู่ใกล้ปาก แต่การดูดนิ้วก็อาจทำให้ลูกเสี่ยงได้รับเชื้อโรคจากนิ้วมือได้ คุณแม่อาจให้ลูกดูดจุกนมแทน และควรดูแลมือของลูกให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ เมื่ออายุ 4 สัปดาห์ ลูกอาจเพ่งมองไปที่วัตถุไกล ๆ ได้ในระยะ 20-35 เซนติเมตร ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร พยายามจ้องมองหน้าลูกบ่อย ๆ เพื่อให้ลูกพยายามยกหัวขึ้นมามองตอบคุณพ่อคุณแม่ สามารถใช้ผ้าม้วนหรือผ้าห่มยัดเอาไว้ใต้อก เพื่อช่วยให้ลูกเริ่มดันตัวขึ้นได้ง่าย และอาจช่วยในการพัฒนาระบบประสาทและการควบคุมกล้ามเนื้อของลูกได้ สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร คุณแม่ควรพาลูกไปพบคุณหมอตามนัด โดยคุณหมออาจตรวจร่างกายลูกน้อย ดังนี้ การเจาะเอาเลือดตัวอย่างจากข้อเท้าไปตรวจดูว่าลูกมีโรคต่าง ๆ เช่น โรคทางเดินปัสสาวะ โรคฟีนิลคีโตนูเรีย ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ ปัญหาความผิดปกติของระบบเผาผลาญ หรือไม่ ทั้งนี้ คุณหมออาจแนะนำให้ทำการทดสอบในเชิงลึก เพื่อตรวจหาความผิดปกติหรือปัญหาสุขภาพอื่น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน