เด็กทารก

วัยทารก คือช่วงเวลาที่เปราะบางและควรได้รับการดูแลเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงและมีความสุข เรียนรู้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ เด็กทารก ตั้งแต่ทารกแรกเกิดถึงขวบปีแรก ทารกคลอดก่อนกำหนด ตลอดจนถึงโภชนาการสำหรับเด็กทารก และการดูแลเด็กทารก ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กทารก

“ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF” สกิลสำคัญที่ Gen Alpha- Beta ควรมีในโลกยุค AI

โลกกำลังก้าวเข้าสู่ยุค AI อะไรๆ ก็ดูจะง่ายดายไปหมด ในช่วงเวลาที่เด็กๆ ที่เกิดหลังปี 2020 กำลังเติบโต เทคโนโลยีล้ำสมัยอย่างเช่น AI ก็อาจกลายเป็นปัจจัยที่ 5 คอยอำนวยความสะดวกให้ในหลายๆ ด้านของชีวิต และคงจะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม  ความสะดวกสบายที่เกิดขึ้น อาจทำให้เด็กๆ ไม่มีโอกาสได้ฝึกทักษะจำเป็นของชีวิต ซึ่งอาจทำให้พ่อแม่เป็นกังวลว่าลูกๆ จะมีทักษะอะไรติดตัวไปบ้างเพื่อให้ประสบความสำเร็จในอนาคต แน่นอนว่า IQ เป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ แต่เพียงแค่นั้นอาจยังไม่พอ ต้องมี “ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF” ด้วย EF คืออะไร ทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF หรือ Executive Function คือกระบวนการทำงานของสมองส่วนหน้าที่มีหน้าที่ช่วยควบคุมความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม รวมถึงแก้ไขปัญหา ซึ่งถือเป็นความสามารถในการบริหารจัดการชีวิตที่จะต่อยอดไปสู่ความสำเร็จ แต่ EF คือทักษะที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน โดยทักษะ EF ของเด็กช่วงปฐมวัย มีทั้งหมด 9 ด้าน ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มทักษะใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่มทักษะพื้นฐาน ประกอบไปด้วย การจดจำเพื่อใช้งาน การยั้งคิดไตร่ตรอง และการยืดหยุ่นทางความคิด ในกลุ่มนี้จะเน้นให้ความสำคัญกับกระบวนการทางความคิด  […]

หมวดหมู่ เด็กทารก เพิ่มเติม

สำรวจ เด็กทารก

ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 4 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 4 เป็นช่วงที่ลูกน้อยเริ่มรู้จักมองดูสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และมักจะชอบดูดนิ้ว คุณแม่จึงควรดูแลความสะอาดมือและนิ้วมือของลูกเป็นประจำ เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้ อาจใช้จุกนมหลอกเพื่อช่วยป้องกันลูกดูดนิ้ว และควรพาลูกน้อยเข้าพบคุณหมอ เพื่อรับการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี และตรวจร่างกาย [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรม และ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 4 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร เมื่อลูกอายุครบ 4 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน มักจะชอบดูดนิ้ว หรือสิ่งที่อยู่ใกล้ปาก แต่การดูดนิ้วก็อาจทำให้ลูกเสี่ยงได้รับเชื้อโรคจากนิ้วมือได้ คุณแม่อาจให้ลูกดูดจุกนมแทน และควรดูแลมือของลูกให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ เมื่ออายุ 4 สัปดาห์ ลูกอาจเพ่งมองไปที่วัตถุไกล ๆ ได้ในระยะ 20-35 เซนติเมตร ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร พยายามจ้องมองหน้าลูกบ่อย ๆ เพื่อให้ลูกพยายามยกหัวขึ้นมามองตอบคุณพ่อคุณแม่ สามารถใช้ผ้าม้วนหรือผ้าห่มยัดเอาไว้ใต้อก เพื่อช่วยให้ลูกเริ่มดันตัวขึ้นได้ง่าย และอาจช่วยในการพัฒนาระบบประสาทและการควบคุมกล้ามเนื้อของลูกได้ สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร คุณแม่ควรพาลูกไปพบคุณหมอตามนัด โดยคุณหมออาจตรวจร่างกายลูกน้อย ดังนี้ การเจาะเอาเลือดตัวอย่างจากข้อเท้าไปตรวจดูว่าลูกมีโรคต่าง ๆ เช่น โรคทางเดินปัสสาวะ โรคฟีนิลคีโตนูเรีย ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ ปัญหาความผิดปกติของระบบเผาผลาญ หรือไม่ ทั้งนี้ คุณหมออาจแนะนำให้ทำการทดสอบในเชิงลึก เพื่อตรวจหาความผิดปกติหรือปัญหาสุขภาพอื่น […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 3 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 3 ทารกอาจเริ่มมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ชัดเจนขึ้น เริ่มให้ความสนใจกับใบหน้าของคุณพ่อคุณแม่มากขึ้น อาจสามารถเริ่มจดจำและแยกแยะเสียงได้ แต่ยังไม่สามารถสื่อสารออกมาเป็นคำพูดได้ ทำได้เพียงแค่ร้องไห้เป็นหลัก ในช่วงนี้เด็กอาจมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตฉับพลันเนื่องจากการขาดอากาศหายใจ เพราะเด็กอาจสามารถพลิกตัวคว่ำหน้าได้เองแต่อาจไม่สามารถพลิกกลับได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรระวังและดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 3 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ทารกอายุ 3 สัปดาห์สามารถมองตามวัตถุได้ในระยะ 20-35 เซนติเมตร ซึ่งเป็นระยะห่างระหว่างดวงตาของลูกน้อยกับระยะใบหน้าของผู้ที่ป้อนนมให้ เด็กในช่วงวัยนี้มักจะให้ความสนใจกับใบหน้ามากกว่าวัตถุ ควรส่งเสริมโดยมองตาทารกขณะที่ป้อนนมให้ ในขณะเดียวกันอาจลองเลื่อนศีรษะช้า ๆ จากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง แล้วสังเกตว่าดวงตาของทารกจ้องมองตามอยู่หรือเปล่า วิธีนี้จะช่วยบริหารกล้ามเนื้อและทักษะในการมองตามให้ทารกได้ การสื่อสารด้วยการสบตากันนั้น ยังช่วยเพิ่มความสัมพันธ์สายใยระหว่างแม่หรือผู้ที่ป้อนนมให้ทารก นอกจากนั้น ทารกยังสามารถขยับแขนขาและเคลื่อนไหวหรืออาจพลิกตัวนอนคว่ำเองได้แล้ว ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ลูกน้อยสามารถสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่ได้เพียงวิธีเดียว นั่นก็คือ การร้องไห้ ตอนนี้ลูกน้อยอาจจำเสียงได้แล้ว และสามารถแยกแยะเสียงของคุณพ่อคุณแม่ออกจากเสียงคนอื่น ๆ ได้ด้วย ลูกน้อยอาจชอบให้กอด ลูบไล้ จูบ นวด และอุ้ม โดยอาจจะทำเสียง “อา” เวลาที่ได้ยินเสียงหรือเห็นหน้า  สุขภาพและความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์อย่างไร โดยทั่วไปแล้ว หากทารกมีพัฒนาการตามปกติอาจไม่จำเป็นต้องพาไปพบคุณหมอ อย่างไรก็ตาม ควรสำรวจหาสัญญาณที่ส่อถึงปัญหาสุขภาพต่าง ๆ อย่างเช่น ตรวจดูปัสสาวะหรือสีอุจจาระ เพื่อตรวจหาปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ สังเกตรอยช้ำหรือจุดแดงเป็นจ้ำ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 2 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 2 ของลูกน้อย เป็นช่วงที่ลูกน้อยเริ่มจำเสียงของคุณแม่ได้แล้ว คุณแม่จึงควรพูดคุยกับลูกน้อยให้มากขึ้น เพื่อทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่นและสบายใจ และรู้สึกได้รับความรักจากคุณแม่ด้วย อีกทั้งช่วงนี้ยังเป็นช่วงที่ลูกยังต้องการกินนมแม่ จึงควรให้ลูกได้กินนมแม่อย่างสม่ำเสมอตามเวลาที่เหมาะสม เพื่อช่วงส่งเสริมสุขภาพ การเจริญเติบโต และพัฒนาการ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรม และ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 2 ของลูกน้อย ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร แม้จะเพิ่งมีอายุได้เพียง 2 สัปดาห์ แต่ลูกก็รับรู้ได้แล้วว่า คุณแม่เป็นที่พึ่งพาได้ ลูกน้อยจะเริ่มจำเสียงคุณแม่ได้แล้ว การได้ยินเสียงจะทำให้ลูกรู้สึกสบายใจ ปรับตัวเข้ากับโลกใบใหม่หลังคลอดได้ง่ายขึ้น และทำให้รู้ว่าไม่ได้อยู่เพียงลำพัง ดั้งนั้น ยิ่งคุณแม่พูดกับลูกมากเท่าไร ก็จะยิ่งดีต่อลูกมากเท่านั้น แม้ลูกอาจจะยังไม่เข้าใจในสิ่งที่พูด แต่ความรักและความอบอุ่นที่ได้รับเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับคุณแม่ ก็เป็นสิ่งที่ลูกต้องการมากที่สุดในช่วงสัปดาห์ที่ 2 นี้ ลูกมีแนวโน้มที่จะโงหัวขึ้นได้บ้างแล้ว สิ่งที่คุณแม่ต้องให้ความสำคัญก็คือ ลูกสามารถหายใจได้อย่างสะดวกเสมอเวลานอนคว่ำ ทั้งนี้ ดวงตาของลูกน้อย 2 สัปดาห์จะยังบวม ๆ อยู่ และลูกจะสามารถมองเห็นได้ในระยะ 20-40 เซนติเมตรเท่านั้น ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ลูกสามารถรับรู้ถึงสิ่งรอบตัวได้แล้ว คุณแม่จึงควรช่วยให้ลูกสามารถสำรวจหน้าตาของคุณแม่ให้ง่ายขึ้น โดยการมองลูกในระยะใกล้ ๆ ในขณะให้นม หรือในเวลาที่ดูแลลูกทุก ๆ วัน คุณแม่อาจลองขยับศีรษะซ้าย-ขวา แล้วสังเกตดูว่าลูกกำลังมองตามอยู่หรือเปล่า […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 1 ของลูกน้อย

เด็กแรกคลอดอายุ 1 สัปดาห์หรือ 7 วัน ถือเป็นช่วงที่ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างทะนุถนอม เนื่องจากเด็กยังมีความเปราะบางมาก การดูแลลูกอย่างถูกวิธีและพาลูกไปพบคุณหมอทันทีเมื่อพบอาการผิดปกติ อาจช่วยให้ลูกมี พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 1 ที่เหมาะสมและมีสุขภาพแข็งแรงตามวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 1 ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร แขนขาของลูกน้อยวัย 1 สัปดาห์จะยังยืดออกไม่เต็มที่ และตาของลูกจะยังดูบวม ๆ อยู่ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ และเด็กส่วนใหญ่จะยืดตัวได้อย่างเต็มที่เมื่ออายุได้ประมาณ 6 เดือน น้ำหนักโดยเฉลี่ยของทารกแรกเกิดนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 3.5 กิโลกรัม และความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ทั้งนี้ น้ำหนักและส่วนสูงอาจแตกต่างกันไปตั้งแต่ 2.5-4.5 กิโลกรัม และความสูงตั้งแต่ 48-51 เซนติเมตร อย่างไรก็ตามตัวเลขเหล่านี้ ไม่เกี่ยวข้องกับขนาดตัวตอนที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่ ตราบใดน้ำหนักและส่วนสูงของลูกอยู่ในเกณฑ์ปกติ คุณแม่ก็ไม่ควรเป็นกังวลกับเรื่องตัวเลขมากเกินไป แต่สิ่งที่ควรใส่ใจในตอนนี้ คือ การให้ลูกกินนมแม่เป็นประจำ เพื่อให้ได้รับสารอาหารและพลังงานเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากไม่สะดวกให้ลูกกินนมแม่ ควรปรึกษาคุณหมอถึงทางเลือกอื่นที่เหมาะสม เช่น การให้ลูกกินนมผงสำหรับเด็กแรกเกิด ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ด้วยความที่อยู่ในครรภ์มารดามาถึง 9 เดือน จึงนับเป็นเรื่องยากสำหรับลูกน้อยที่จะทำความคุ้นเคยกับทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัว ลูกน้อยต้องการเวลาในการทำความคุ้นเคยกับโลกใหม่ คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลสภาพแวดล้อมรอบตัวลูกให้ดี รักษาความอบอุ่นให้ลูกน้อยอยู่เสมอ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 8 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 8 เป็นช่วงที่สมองของลูกน้อยมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีความซับซ้อนมากขึ้นด้วย ซึ่งภายในไตรมาสแรกนี้สมองอาจจะใหญ่ขึ้นได้ถึง 5 เซนติเมตร คุณแม่คุณพ่อควรใช้เวลาอยู่กับลูกน้อยเพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสมองและทักษะด้านต่าง ๆ ให้เติบโตสมวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 8 ของลูกน้อย ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร ตอนนี้สมองของลูกน้อยมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีความซับซ้อนมากขึ้นด้วย ซึ่งภายในไตรมาสแรกนี้อาจจะใหญ่ขึ้นได้ถึง 5 เซนติเมตร อาจสังเกตได้จากบางครั้งที่มีช่วงตื่นตัวและช่วงเงียบ ถือเป็นเรื่องปกติลูกน้อยกำลังสำรวจสภาพแวดล้อมต่าง ๆ  คุณพ่อคุณแม่ควรโต้ตอบกับลูก เช่น พูดคุย ร้องเพลง หรือบรรยายรายละเอียดว่ากำลังทำอะไร ลูกน้อยอาจจะไม่เข้าใจ แต่จะเรียนรู้และซึมซับน้ำเสียงและการแสดงออกต่าง ๆ ไว้ในหน่วยความจำของสมอง พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 8 มีอะไรบ้าง ในช่วงสัปดาห์นี้ลูกน้อยอาจมีพัฒนาการต่าง ๆ ดังนี้ ชันศีรษะขึ้น 90 องศา เวลานอนคว่ำ ยกคอตั้งขึ้นได้เมื่อจับตัวตั้งตรง นำมือสองข้างมาประสานกันได้ มีอาการเงียบผิดสังเกต ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะลูกน้อยกำลังสังเกตและเรียนรู้อยู่ ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ช่วงนี้คือเวลาสำคัญในการเรียนรู้ของลูกน้อย ควรใช้เวลาตอนที่เขากำลังเงียบ ๆ เพื่อพูดคุย สื่อสาร ร้องเพลง หรือบรรยายภาพต่าง ๆ  คุณแม่สามารถพูดคุยไปพร้อม ๆ กับลูบไล้เนื้อตัวลูกน้อยด้วยความรัก ในขณะที่เปลี่ยนผ้าอ้อมหรือป้อนอาหาร นี่คือ วิธีที่ดีที่สุดในการช่วยส่งเสริมพัฒนาทักษะทางด้านภาษา การได้ยิน […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

6 เคล็ดลับ เพิ่มน้ำนม ให้คุณแม่ด้วยวิธีธรรมชาติ

คุณแม่หลายคนอาจต้องการ เคล็ดลับ เพิ่มน้ำนม เพื่อจะได้แน่ใจว่าตัวเองนั้นมีน้ำนมให้ลูกอย่างเพียงพอ ซึ่งการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ พยายามให้นมลูกบ่อย ๆ อาจช่วยทำให้น้ำนมมีปริมาณเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือบริโภคคาเฟอีกมากเกินไป เพราะอาจส่งผลให้น้ำนมน้อยลงได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] เคล็ดลับ เพิ่มน้ำนม ด้วยวิธีธรรมชาติ สำหรับคุณแม่ที่ต้องการเพิ่มน้ำนมให้ตัวเองด้วยวิธีธรรมชาติ อาจทำได้ดังนี้ 1. เทคนิคผิวสัมผัสผิว เทคนิคผิวสัมผัสผิว (Skin-to-skin)  คือ การที่คุณแม่กอดลูกไว้ในอ้อมอก โดยที่คุณแม่ไม่สวมเสื้อและลูกสวมเพียงผ้าอ้อม เพื่อให้ผิวของคุณแม่กับลูกสัมผัสกันโดยตรง คุณแม่อาจทำตอนช่วงงีบหลับตอนกลางวัน ตอนก่อนนอน หรือในตอนกลางคืนก็ได้ เนื่องจาก การที่ผิวได้สัมผัสผิวแบบนี้จะช่วยทำให้คุณแม่มีน้ำนมมากขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนแห่งความรัก หรือ ฮอร์โมนอ็อกซีโทซิน (Oxytocin) หลั่ง ส่งผลให้มีน้ำนมเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ลูกผ่อนคลาย กินนมได้นานขึ้น รวมถึงช่วยเรื่องระบบการหายใจและอุณหภูมิในร่างกายด้วย 2. กินอาหารที่มีประโยชน์ คุณแม่ควรกินอาหารที่มีประโยชน์ กินให้ครบ 5 หมู่ในทุก ๆ มื้อ เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนในแต่ละวัน การกินอาหารที่ดี มีประโยชน์ จะทำให้มีน้ำนมเพิ่มขึ้น และช่วยทำให้ร่างกายมีพลังมากขึ้นด้วย โดยคุณแม่อาจกินอาหารที่ช่วยเพิ่มน้ำนม หรือในทางการแพทย์จะเรียกกลุ่มอาหารที่ช่วยเพิ่มน้ำนมว่า กาแลคตาโกจี (Galactagogues) เช่น […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ประโยชน์ของการให้นมลูก มีอะไรบ้าง

น้ำนมแม่ ได้ชื่อว่าเป็นอาหารที่เหมาะสมกับทารกแรกเกิดมากที่สุด เพราะมีสารอาหารสำคัญหลายชนิดที่ดีต่อพัฒนาของทารก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พัฒนาการของระบบภูมิคุ้มกัน แต่ ประโยชน์ของการให้นมลูก อาจมีมากกว่าประโยชน์ต่อสุขภาพของลูกน้อย เพราะการให้นมลูกอาจส่งผลดีต่อสุขภาพของคุณแม่ด้วยเช่นกัน 10 ประโยชน์ของการให้นมลูก ที่คุณแม่จะได้รับ 1. ลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกาให้ข้อมูลว่า คุณแม่ที่ให้นมลูกนานกว่า 1 ปี จะลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ 10%  เนื่องจากการให้นมลูกจะช่วยทำให้ความดันโลหิตลดลง และช่วยลดคอเลสเตอรอลด้วย ซึ่งทั้งความดันและคลอเรสเตอรอลต่างก็เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ ส่วนสาเหตุที่ทำให้การให้นมลูกมีผลต่อโรคหัวใจ ก็เป็นเพราะเวลาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คุณแม่จะกินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย และหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ช่วยป้องกันการเป็นโรคหัวใจ 2. ภาวะเลือดออกหลังคลอด ร่างกายของผู้หญิงจะมีการสร้างเลือดมากขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ เพื่อการเลี้ยงดูทารกในครรภ์ และหลังจากให้กำเนิดทารกแล้ว เลือดนี้จะถูกขับออกมาจากร่างกายเหมือนกับประจำเดือน และมันจะค่อยๆ น้อยลงหลังจากผ่านไปราวหนึ่งสัปดาห์หรือราวๆ นั้น แต่ก็อาจจะใช้เวลาหลายสัปดาห์ก็ได้กว่าจะหยุดโดยสิ้นเชิง (เราเรียกเลือดนี้กันว่า “น้ำคาวปลา”) ถึงแม้เรื่องนี้จะเป็นเรื่องปกติ แต่เราก็สามารถช่วยร่างกายในการกำจัดเลือดนี้ให้หมดไปไวขึ้นได้ และการให้นมลูกก็เป็นวิธีหนึ่งที่ได้ผลดีในการทำให้น้ำคาวปลาหมดไวขึ้น และเมื่อคุณแม่มีเลือดออกลดลง ผลดีอีกอย่างที่ได้ก็คือ จะทำให้ระดับพลังงานของคุณแม่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการเสียเลือดมักทำให้เรารู้สึกอ่อนเพลีย และความอ่อนเพลียก็เป็นเรื่องไม่ดีต่อคุณแม่ เพราะอาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้าหลังคลอดลูกได้ การให้นมลูกที่ช่วยลดปริมาณและระยะเวลาของการมีเลือดออก (ในน้ำคาวปลา) จึงถือว่าช่วยให้คุณแม่ไม่อ่อนเพลีย และมีความเสี่ยงต่อปัญหาอื่นๆ ต่ำลงด้วย 3. เบาใจเรื่องโรคเบาหวาน ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน เมื่อลูกโตขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้คุณแม่ ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 […]


เด็กทารก

สีอุจจาระทารก ที่แตกต่างกันสะท้อนสุขภาพลูกน้อยอย่างไรบ้าง

สีอุจจาระทารก นั้นมีความสำคัญมากกว่าที่คุณพ่อ และคุณแม่คิด เพราะสีและลักษณะเนื้ออุจจาระอาจช่วยบ่งบอกถึงสุขภาพของลูกน้อยในขณะนั้นได้ การสังเกตสีและลักษณะของอุจจาระทารกจึงถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่คนในครอบครัวไม่ควรละเลย หากเกิดความผิดปกติกับลูกน้อย จะได้รักษาทันท่วงที   สีอุจจาระทารก บ่งบอกโรคอะไรได้บ้าง สีที่แตกต่างกันของอุจจาระทารกนั้นสะท้อนสุขภาพของทารกแตกต่างกันไปด้วย โดยสีอุจจาทารกนั้น อาจมีสีต่างๆ ได้ดังนี้ สีดำอมเขียว หากลูกน้อยอยู่ในช่วงอายุ 2-4 วัน โดยส่วนใหญ่แล้วอุจจาระมักมีสีดำอมเขียว มีลักษณะข้นๆ เหนียวๆ คล้ายน้ำมันรถ เป็นผลมาจากการย่อยสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น นม อาหาร น้ำคร่ำ น้ำมูก เซลล์ผิวหนัง ในช่วงที่ทารกยังอยู่ในครรภ์ตลอดระยะเวลา 9 เดือน สิ่งเหล่านี้จะถูกคัดกรองออกมาในรูปแบบของอุจจาระจึงทำให้เกิดเป็นสีดำอมเขียวขึ้น ถึงแม้อุจจาระสีนี้จะดูน่าเกลียดน่ากลัว แต่มักไม่มีกลิ่นเหม็น  หลังจากถ่ายอุจจาระออกมาเป็นสีนี้สองสามครั้ง อุจจาระของลูกน้อยก็จะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีอ่อนขึ้น โดยเริ่มจากสีเขียวเข้มเรื่อยไปจนถึงสีเหลืองมัสตาร์ด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทารกเริ่มย่อยนมแม่และนมผงได้แล้ว ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดี สีเหลืองมัสตาร์ด ลูกน้อยจะเปลี่ยนจากการถ่ายอุจจาระสีดำอมเขียวมาเป็นสีเหลืองมัสตาร์ด หรือสีส้ม หากให้ลูกน้อยกินนมแม่เพียงอย่างเดียว ซึ่งอุจจาระสีเหลืองนี้ถือเป็นเรื่องปกติ นอกจากนี้ อุจจาระยังมีลักษณะเหลวๆ เช่นเดียวกับมัสตาร์ดจริงๆ และยังไม่ส่งกลิ่นเหม็น  สีเหลืองเข้ม ถ้าลูกน้อยกินนมผงมากกว่านมแม่ อุจจาระมักเป็นสีเหลืองเข้ม นอกจากนี้ ยังมีเนื้ออุจจาระที่ค่อนข้างหนากว่า และอาจส่งกลิ่นเหม็นเล็กน้อย  แต่ก็ยังถือว่าเป็นอุจจาระที่อยู่ในระดับปกติ เนื่องจากกระเพาะของลูกน้อยนั้นสามารถย่อยนมแม่ และนมผงได้แตกต่างกัน สีเขียวสด อุจจาระสีนี้มักจะพบได้กับเด็กทารกที่กินนมแม่ สาเหตุที่พบได้โดยทั่วไปก็เกิดจากการที่ทารกได้รับนมส่วนหน้า (ที่มีไขมันต่ำ) เกินปริมาณที่เหมาะสม ในขณะที่ได้รับนมส่วนหลัง (ที่มีแคลอรี่มากกว่า) ซึ่งน้ำนมที่ลูกน้อยดูดกินในช่วงแรกๆ […]


เด็กทารก

ทารกสะอึก คุณแม่มือใหม่ควรรับมืออย่างไรดี

ทารกสะอึก เกิดจากกล้ามเนื้อกระบังลมและฝาปิดกล่องเสียงของทารกหดตัวกะทันหัน จึงทำให้เกิดเสียงสะอึกขึ้นมา โดยทั่วไปการสะอึกไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการหายใจหรือภาวะสุขภาพของทารกแต่อย่างใด ทารกสามารถนอนหลับไปพร้อมกับสะอึกไปด้วยได้ อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรศึกษาวิธีแก้อาการสะอึกของทารกให้ดี เพราะหากแก้อาการสะอึกของทารกแบบผิดวิธีเพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ทารกสะอึก ควรรับมืออย่างไร เมื่อ ทารกสะอึก อาจหาวิธีทำให้ทารกหยุดสะอึก ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้ หยุดป้อนนมแล้วปล่อยให้เรอ หยุดป้อนนมแล้วปล่อยให้ทารกเรอ เพราะการเรอจะช่วยกำจัดแก๊สส่วนเกินออกไป ซึ่งแก๊สพวกนี้อาจเป็นสาเหตุของอาการสะอึกได้ โดยการจับให้ตัวทารกให้อยู่ในท่าตัวตั้งตรง สำหรับทารกที่กินนมแม่ ควรปล่อยให้ทารกเรอก่อนที่จะสลับเต้านมให้นมลูกดูดอีกข้าง ใช้จุกนมหลอก อาการสะอึกในทารกอาจไม่ได้เริ่มจากการป้อนนมเสมอไป ฉะนั้น เวลาที่ทารกเริ่มมีอาการสะอึกขึ้นมาเอง อาจปล่อยให้ดูดจุกนมหลอกดู เพราะอาจจะช่วยให้กระบังลมเกิดการผ่อนคลาย แล้วในที่สุดก็หยุดสะอึกได้ ปล่อยให้หยุดเอง โดยปกติแล้ว อาการสะอึกในเด็กทารกมักจะหยุดได้เอง ถ้าอาการสะอึกไม่ยอมหยุดเอง ควรปรึกษาคุณหมอ เพราะมีบางกรณีที่อาการสะอึกอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพที่มีอาการรุนแรงได้ วิธีป้องกันทารกสะอึก การป้องกันการสะอึกนั้นทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากเป็นภาวะปกติของร่างกาย แต่อาจลองปฏิบัติตามวิธีดังนี้ กล่อมให้ทารกอยู่ในอาการสงบขณะป้อนนม โดยอาจจะไม่ต้องรอให้ทารกหิวแล้วค่อยป้อน เพราะเมื่อทารกหิวมาก ๆ อาจจะร้องไห้ หรือมีอาการโยเยก่อนที่จะได้ป้อนนมทำให้เกิดอาการสะอึกได้  หลังจากป้อนนมเสร็จแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการให้ทารกทำกิจกรรมอะไรหนัก ๆ อย่างเช่น การเขย่าตัว การจั๊กจี้ทารก การปล่อยให้คลานเร็ว ๆ  หลังป้อนนมเสร็จแล้ว ควรจับทารกให้อยู่ในท่าตัวตั้งตรง เป็นเวลา 20 ถึง 30 นาที สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรทำเมื่อทารกสะอึก ถึงแม้จะมีวิธีแก้อาการสะอึกที่ใช้กับผู้ใหญ่ได้ แต่ไม่ควรนำมาใช้กับเด็กทารก เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะวิธีเหล่านี้   แหย่ให้ทารกตกใจ อย่าพยายามแหย่ทารกให้สะดุ้ง เพราะเสียงดังอาจทำให้แก้วหูที่บอบบางของทารกเกิดความเสียหายได้ และอาการตกใจนั้น อาจทำให้ทารกร้องไห้ไม่หยุด ให้รับประทานผลไม้หรือขนมรสเปรี้ยว  ถึงแม้ขนมเปรี้ยวๆ […]


การดูแลทารก

สายสะดือ มีหน้าที่อะไร และวิธีดูแลสายสะดือที่ถูกต้อง

สายสะดือ ทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหารและออกซิเจน เพื่อช่วยให้ลูกน้อยได้มีพัฒนาการในการเจริญเติบโตตอนที่ยังอยู่ในครรภ์ แต่หลังจากที่ทารกคลอดออกมา สายสะดือก็ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป สายสะดือจึงถูกตัดและรัดเอาไว้จนกลายเป็นตอสั้น ๆ ซึ่งถ้าดูแลไม่ดี ก็อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อจนทำให้เลือดไหลออกมา มีไข้ มีหนองไหลอกมาได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] สายสะดือ คืออะไร สายสะดือ เป็นสายที่ต่อมาจากช่องท้องของทารก แล้วเชื่อมต่อกับรก ทำหน้าที่ในการลำเลียงสารอาหารและออกซิเจนผ่านทางรกที่ติดอยู่กับผนังมดลูกด้านในของคุณแม่ หลังจากที่ทารกคลอดออกมาแล้ว สายสะดือจะถูกรัดและตัดให้ชิดอยู่กลางลำตัวของร่างกายเด็ก ทำให้เกิดเป็นตอสะดือ ซึ่งขั้นตอนนี้ไม่ทำให้ทารกรู้สึกเจ็บปวด สายสะดือจะแห้งและหลุดออกภายใน 7-21 วัน เหลือไว้แต่แผลเล็ก ๆ ที่อาจหายได้เองภายใน 2-3 วัน วิธีดูแลสายสะดือ สายสะดือจะแห้งและหลุดออกไปในที่สุด ซึ่งโดยปกติจะหลุดออกภายใน 1-3 สัปดาห์หลังคลอด ซึ่งในระหว่างนี้คุณพ่อคุณแม่ก็ควรดูแลสายสะดือให้เด็กทารก ด้วยวิธีการต่อไปนี้ รักษาความสะอาดและทำให้สายสะดือแห้งอยู่เสมอ พับผ้าอ้อมไม่ให้ไปกดทับในบริเวณสายสะดือ (หรือซื้อผ้าอ้อมสำหรับเด็กแรกเกิดที่ทำรอยเว้าเอาไว้สำหรับสายสะดือ) วิธีนี้อาจช่วยให้สายสะดือโดนลม และช่วยป้องกันไม่ได้โดนปัสสาวะของเด็กด้วย อาบน้ำให้ลูกน้อยด้วยการใช้ฟองน้ำ ชุบน้ำเช็ดตามเนื้อตัวให้ลูกน้อย แทนการจับลูกน้อยลงไปนอนแช่ในอ่างน้ำ เลือกเสื้อผ้าที่โปร่งสบายให้ลูกน้อย ถ้าสภาพอากาศอบอุ่นสบาย ก็ให้ลูกน้อยใส่แค่ผ้าอ้อมและเสื้อยืดหลวม ๆ เพื่อช่วยให้เกิดอากาศถ่ายเท ซึ่งจะทำให้แผลแห้งได้เร็วขึ้น อย่าสวมเสื้อผ้ารัดแน่นให้ลูกน้อย หลีกเลี่ยงการสวมกางเกงหรือบอดี้สูทให้ลูกน้อย อย่าพยายามแกะแผลสายสะดือ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การไม่ไปแตะต้องกับแผลบริเวณสะดือเลย จะช่วยให้แผลแห้งได้เร็วกว่า และไม่ต้องเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อ  สัญญาณที่บ่งบอกว่าสายสะดือเกิดการติดเชื้อ ถึงแม้แผลสายสะดือจะเกิดอาการติดเชื้อได้ยาก แต่ถ้าลูกน้อยมีอาการต่อไปนี้ ก็ควรรีบปรึกษาคุณหมอทันที […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน