พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

พ่อแม่เลี้ยงลูก

ทะเลาะกับแฟน รับมือได้อย่างไร

ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว ทะเลาะกับแฟน อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ปัญหาด้านการเงิน ปัญหาด้านอุปนิสัยส่วนตัวที่เข้ากันไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งของครอบครัวเป็นปัญหาที่อาจแก้ไขได้ด้วยเปิดใจพูดคุย การปรับตัว และทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน จึงควรหมั่นสังเกตสถานการณ์หรือพฤติกรรมที่อาจส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในครอบครัว และหาทางแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม โดยอาจปรึกษาคุณหมอ นักบำบัด หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำให้บรรยากาศภายในบ้านดีขึ้น และให้บ้านเป็นพื้นที่แห่งความสุข ซึ่งอาจส่งผลดีต่อสุขภาพกายและใจของทุกคนในครอบครัวด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] ทะเลาะกับแฟน เกิดจากสาเหตุอะไร ปัญหา ทะเลาะกับแฟน ความขัดแย้งในครอบครัว อาจมีสาเหตุดังนี้ ปัญหาการเงิน เป็นปัญหาครอบครัวที่พบได้บ่อย เมื่อรายได้ไม่สอดคล้องกับภาระค่าใช้จ่ายภายในบ้าน มีภาวะหนี้สิน หรือคนในครอบครัวประสบปัญหาว่างงาน อาจทำให้รายได้ของครอบครัวลดลง จนส่งผลให้เครียด วิตกกังวล หรือคิดมาก และอาจทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างคนในครอบครัวได้ ปัญหาอุปนิสัยส่วนตัว เมื่อต้องใช้ชีวิตร่วมกันทุกวัน อุปนิสัยส่วนตัวหรือความคิดเห็นที่แตกต่างกันอาจทำให้เกิดการกระทบกระทั่งและไม่ลงรอยในครอบครัว ยิ่งหากไม่ปรับตัวเข้าหากัน ต้องการเอาชนะเมื่อมีเรื่องถกเถียงกัน ก็อาจยิ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงขึ้น ปัญหาความรับผิดชอบภายในบ้าน บางครั้งอาจแบ่งภาระหน้าที่ภายในบ้านไม่เท่าเทียมกัน หรือสมาชิกคนใดคนหนึ่งรู้สึกว่ามีหน้าที่รับผิดชอบภายในบ้านมากเกินไป จนอาจรู้สึกไม่ดีต่อกัน และเกิดความขัดแย้งเรื่องการรับผิดชอบงานบ้านได้ ปัญหาการไม่เอาใจใส่กัน หากสมาชิกในครอบครัวไม่ค่อยพูดคุยกัน ไม่สนใจเรื่องราวในชีวิตประจำวันของกันและกัน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากงานยุ่งจนไม่มีเวลาให้กัน ตารางเวลาไม่ตรงกัน อาจทำให้เกิดความห่างเหิน ขาดความผูกพันและความรักใคร่กลมเกลียว ซึ่งอาจกระทบต่อความสัมพันธ์ในระยะยาวของสมาชิกในครอบครัวได้ การรับมือ ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัว วิธีรับมือปัญหาการขัดแย้งในครอบครัว อาจมีดังนี้ พยายามรับฟังกันและกัน ปัญหาความขัดแย้งในครอบครัวอาจเกิดจากคนในครอบครัวไม่ยอมรับความเห็นของกันและกัน […]


เด็กทารก

ทารกมองเห็นตอนไหน และพัฒนาการด้านการมองเห็นที่พ่อแม่ควรรู้

คุณพ่อคุณแม่อาจสงสัยว่า ทารกมองเห็นตอนไหน คำตอบคือ พัฒนาการด้านการมองเห็นของทารกเริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนพัฒนาเต็มที่ในวัย 2 ขวบ ทารกสามารถมองเห็นได้ตั้งแต่แรกเกิด เพียงแต่อาจมองเห็นได้ไม่ชัดนัก แต่ทักษะด้านการมองเห็นจะพัฒนาไปเรื่อย ๆ ตามการเจริญเติบโตในแต่ละเดือน คุณพ่อคุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมการมองเห็นของทารก หากพบว่ามีความผิดปกติบางประการ เช่น ตาเหล่ ตากระตุก โดยเฉพาะเมื่ออายุเกิน 3 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่ดวงตาพัฒนาค่อนข้างสมบูรณ์แล้ว อาจต้องพาทารกไปพบคุณหมอ เพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม หากพบความผิดปกติใด ๆ จะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที ทารกมองเห็นตอนไหน ทารกสามารถมองเห็นสิ่งรอบตัวได้ตั้งแต่เกิด และทักษะด้านการมองเห็นจะพัฒนาไปเรื่อย ๆ พัฒนาการด้านการมองเห็นของทารกแต่ละช่วงวัย มีดังนี้ อายุ 4 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน ในช่วงแรกทารกจะมองเห็นเลือนราง สามารถมองเห็นได้ในระยะใกล้เพียง 20-40 เซนติเมตร หรือระยะห่างจากหน้าแม่ในขณะกินนม และเห็นเพียงสีดำ ขาวและเทาเท่านั้น ทารกจะจดจำใบหน้าของคุณแม่ได้เมื่อให้นม เริ่มมีอาการตาเหล่ เนื่องจากดวงตาแต่ละข้างยังแยกกันทำงาน และประสานงานกันได้ยังไม่ดีนัก อายุ 8 สัปดาห์ หรือ 2 เดือน ทารกสามารถจำหน้าคนที่อยู่ด้วยบ่อย ๆ ได้ […]


เด็กทารก

ของเล่นเสริมพัฒนาการ 6 เดือน ควรเลือกอย่างไร

ของเล่นเสริมพัฒนาการ 6 เดือน ควรเลือกให้เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก เด็กวัยนี้กำลังเรียนรู้ทักษะด้านต่าง ๆ เช่น การเคลื่อนไหว การมองเห็น การสื่อสาร สามารถหยิบจับของเล่นได้ถนัดมือ และเรียนรู้ที่จะเล่นของเล่นเดิมซ้ำเป็นประจำ การเลือกของเล่นให้เด็กในวัยนี้ควรคำนึงถึงเรื่องการเสริมสร้างพัฒนาการ ส่งเสริมจินตนาการ เพิ่มทักษะการแก้ปัญหา และเป็นของเล่นที่ปลอดภัยต่อการใช้งานของเด็กมากที่สุด พัฒนาการเด็ก 6 เดือน พัฒนาการของเด็กในวัย 6 เดือน อาจมีดังนี้ พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว เด็กในวัยนี้มีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว สามารถขยับแขนขาได้มากขึ้น เตะได้อย่างคล่องแคล่ว พลิกตัวไปมาจากนอนหงายเป็นนอนคว่ำ ลุกขึ้นมานั่งได้เอง มือกับสายตาทำงานประสานกันได้ดีขึ้น เริ่มใช้นิ้วหยิบจับสิ่งต่าง ๆ ใกล้มือแล้วนำเอาเข้าปาก จึงควรเลือกของใช้ที่ชิ้นไม่เล็กเกินไป ลดความเสี่ยงที่เด็กจะหยิบเข้าปากหรือกลืนลงคอ และควรจับตาดูพฤติกรรมของเด็กอย่างใกล้ชิด พัฒนาการด้านการมองเห็น เด็กในวัยนี้สามารถแยกแยะเฉดสีหลัก ๆ เช่น สีฟ้า สีเหลือง สีแดง ได้บ้างแล้ว อาจชอบมองของที่มีรูปร่างซับซ้อน เช่น ของเล่นที่เป็นรูปทรง สีสันสดใส มีความสนใจต่อสิ่งที่รอบตัวที่มองเห็นได้ด้วยตา และมักมองตามการเคลื่อนไหวของวัตถุต่าง ๆ เช่น เด็กจะหันศีรษะตามลูกบอลที่กลิ้งไปตามพื้นห้อง พัฒนาการด้านการสื่อสาร เด็กในวัยนี้เริ่มหัดเปล่งเสียง เลียนเสียงตัวเองและผู้อื่น พูดจาอ้อแอ้ตามประสาเด็กเล็ก […]


เด็กทารก

ทารกอุจจาระเป็นเม็ด สัญญาณของอาการท้องผูก

ทารกอุจจาระเป็นเม็ด แข็ง หรือขี้แพะ เป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่าระบบขับถ่ายของทารกอาจมีปัญหา ปกติแล้ว อุจจาระทารกจะเหลวและมีสีที่แตกต่างตามสารอาหารที่ได้รับ แต่หากอุจจาระแห้งหรือเป็นเม็ด มักเป็นสัญญาณว่าทารกมีอาการท้องผูก ซึ่งอาจเกิดจากภาวะขาดน้ำ การแพ้นมวัว การเปลี่ยนประเภทอาหารที่กิน คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาวิธีป้องกันทารกอุจจาระเป็นเม็ด และอาการที่อาจต้องพาทารกไปหาคุณหมอ เพื่อที่จะได้รักษาได้ทันท่วงที สาเหตุที่ทารกอุจจาระเป็นเม็ด ทารกอุจจาระเป็นเม็ด อาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ เปลี่ยนอาหาร เมื่ออยู่ในช่วงที่เปลี่ยนจากการกินนมแม่อย่างเดียวมากินนมผงซึ่งย่อยยากกว่านมแม่ หรือในช่วงเปลี่ยนจากนมผงไปเป็นอาหารแข็งหรืออาหารเสริม ร่างกายทารกอาจยังปรับตัวไม่ทัน จนทำให้ถ่ายอุจจาระเป็นเม็ดได้ ร่างกายทารกขาดน้ำ หากทารกได้รับของเหลวไม่เพียงพอ อยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนเกินไป หรือมีไข้ ก็อาจส่งผลให้ร่างกายขาดน้ำ และทำให้ทารกอุจจาระเป็นเม็ดได้ ให้อาหารเสริมก่อนวัย หากให้ทารกกินอาหารเหลวหรืออาหารเสริมก่อนอายุ 6 เดือน ซึ่งเป็นวัยที่กระเพาะอาหารยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ อาจส่งผลให้ทารกย่อยอาหารได้ไม่ดีนัก และถ่ายอุจจาระเป็นเม็ด แพ้นมวัวหรือกินนมวัวเยอะเกินไป ทารกบางคนอาจแพ้นมวัว หรือย่อยนมได้ไม่ดี เนื่องจากมีภาวะการย่อยแลคโตสผิดปกติ (Lactose Intolerance) จึงมีอาการท้องผูก อุจจาระเป็นเม็ด นอกจากนี้ การดื่มนมวัว หรือกินผลิตภัณฑ์จากนมวัว เช่น ชีส เยอะเกินไป ก็อาจทำให้ทารกอุจจาระเป็นเม็ดได้ เนื่องจากระบบย่อยอาหารของทารกยังทำงานได้ไม่เต็มที่ และไม่สามารถผลิตน้ำย่อยที่เพียงพอต่อการย่อยสารอาหารในนมวัวได้ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ไม่ควรให้ทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือนกินอาหารแข็ง เพราะอาจย่อยได้ไม่ดี […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

อาการดาวน์ซินโดรม สาเหตุ ภาวะแทรกซ้อน และวิธีดูแลที่ควรรู้

อาการดาวน์ซินโดรม คือภาวะทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของโครโมโซมในร่างกาย ส่งผลให้เกิดความบกพร่องทางพฤติกรรม สติปัญญา และพัฒนาการ ซึ่งอาจสังเกตได้จากการเรียนรู้ล่าช้า ชอบทำกิจกรรมเดิม ๆ ซ้ำกันเป็นกิจวัตร คุณพ่อคุณแม่ควรใช้ความเข้าใจในการดูแลลูกที่เป็นดาวน์ซินโดรม อีกทั้งควรพาเข้ารับการบำบัดตามโปรแกรมที่คุณหมอแนะนำ เพื่อให้ลูกสามารถใช้ชีวิตได้ด้วยตัวเองเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต อาการดาวน์ซินโดรม มีสาเหตุมาจากอะไร โดยปกติแล้วร่างกายจะมีโครโมโซม 23 คู่ หรือ 46 แท่ง ที่ได้รับจากคุณพ่อคุณแม่อย่างละครึ่ง แต่หากโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง รวมเป็น 47 แท่ง ดังนั้นจึงอาจส่งผลให้ลูกเสี่ยงเป็นดาวน์ซินโดรม ดาวน์ซินโดรมแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่  ไตรโซมี 21 (Trisomy 21) คือภาวะที่ โครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 ชุด เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด Translocation Down syndrome คือภาวะที่โครโมโซมคู่ที่ 21 แบ่งตัวออก แล้วเคลื่อนย้ายไปติดกับโครโมโซมคู่อื่น ๆ Mosaic Down syndrome เป็นภาวะที่เกิดจากการแบ่งตัวของโครโมโซมผิดปกติหลังจากที่มีการแบ่งตัวไปบางส่วนแล้ว ทำให้ร่างกายอาจมีโครโมโซม […]


การเติบโตและพัฒนาการในวัยเรียน

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของวัยรุ่น มีอะไรบ้าง

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของวัยรุ่น เป็นภาวะปกติที่เกิดขึ้นเมื่อลูกเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น มักเริ่มต้นเมื่อลูกอายุประมาณ 8-14 ปี ไปจนถึงอายุ 18 หรือ 20 ต้น ๆ ช่วงวัยนี้เป็นช่วงรอยต่อจากเด็กไปเป็นผู้ใหญ่ คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลอย่างเหมาะสม เช่น ดูแลให้ลูกได้รับสารอาหารที่หลากหลายและครบถ้วน เสริมสร้างความมั่นใจให้กับลูก สอนให้ลูกมีทัศนคติที่ดีต่อร่างกายตัวเอง สอนการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เพื่อให้วัยรุ่นมีพัฒนาการทั้งทางร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา และการเข้าสังคม อย่างไรก็ตาม หากคุณพ่อคุณแม่พบว่า ลูกวัยรุ่นมีปัญหาพัฒนาการทางร่างกาย ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อจะได้หาวิธีรักษา ซึ่งอาจช่วยให้วัยรุ่นมีพัฒนาการและการเติบโตที่เหมาะสมตามวัย [embed-health-tool-ovulation] การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของวัยรุ่น ในช่วงนี้ลูกมีพัฒนาการทั้งภายนอกและภายในร่างกาย เนื่องจากระดับฮอร์โมนในร่างกายเพิ่มมากขึ้น ฮอร์โมนเพศหญิงได้แก่ เอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ฮอร์โมนเพศชาย คือ เทสโทสเทอโรน (Testosterone) ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของวัยรุ่น เช่น น้ำหนักและส่วนสูงที่เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ความแข็งแรงที่เพิ่มมากขึ้น เสียงแตกหนุ่ม การมีประจำเดือน ส่วนใหญ่แล้ว ผู้หญิงจะเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นก่อนผู้ชาย โดยการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของวัยรุ่นผู้ชายและผู้หญิงที่พบได้ อาจมีดังนี้ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของวัยรุ่นผู้ชาย ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ชายจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายตอนอายุประมาณ 9-16 ปี ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แต่มักช้ากว่าผู้หญิงประมาณ 2 ปี […]


เด็กทารก

ทารก กับพฤติกรรมทั่วไปของทารกที่ควรรู้

ทารก โดยเฉพาะในวัยแรกเกิดมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ และอาจมีปฏิกิริยาตอบสนองตามธรรมชาติและพฤติกรรมบางประการที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลใจ เช่น ตาเขเป็นครั้งคราว หยุดหายใจเป็นช่วง ๆ คุณพ่อคุณแม่จึงควรหมั่นศึกษาพฤติกรรมทั่วไปของทารก เช่น การนอนหลับ การหายใจ การมองเห็น เพื่อให้ทราบว่าพฤติกรรมใดที่เป็นปกติ และพฤติกรรมใดที่อาจเป็นสัญญาณความผิดปกติของทารก หากพบว่าทารกอาจมีพฤติกรรม หรือพัฒนาการผิดปกติ จะได้หาทางแก้ไขได้ทันท่วงที พฤติกรรมทั่วไปของทารก พฤติกรรมทั่วไปของทารก อาจมีดังนี้ การนอนหลับ ทารกมักนอนหลับประมาณ 20 ชั่วโมงต่อวัน โดยจะนอนหลับรอบละ 20 นาที ถึง 4 ชั่วโมง และเนื่องจากกระเพาะอาหารทารกยังมีขนาดเล็ก จึงมักต้องตื่นขึ้นมากินนมทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง เมื่ออายุได้ 3 เดือน ทารกอาจหลับได้นานถึง 6-8 ชั่วโมงในตอนกลางคืน และทารกแต่ละคนอาจมีพฤติกรรมการนอนไม่เหมือนกัน เช่น ทารกบางคนตื่นมาในช่วงกลางดึกประมาณ 3-4 ครั้ง ในขณะที่ทารกบางคนสามารถหลับได้ตลอดคืน นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจประสบปัญหาทารกนอนหลับยากและพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งอาจแก้ไขได้ด้วยการให้ทารกอาบน้ำอุ่น ให้ทารกดูดจุกนมหลอก ร้องเพลงกล่อมนอน เป็นต้น การมองเห็น ในช่วงหลังคลอด ทารกอาจมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

การเลี้ยงลูก ให้สุขทั้งกายและใจ ทำได้อย่างไรบ้าง

ครอบครัวเป็นรากฐานสำคัญที่สุดที่อาจช่วยสนับสนุนให้ลูกเติบโตได้อย่างแข็งแรงทั้งทางด้านสุขภาพกายใจ มีทักษะการใช้ชีวิตและการเข้าสังคมที่เหมาะสม การศึกษาเคล็ดลับใน การเลี้ยงลูก ให้มีความสุขทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เช่น การดูแลเอาใจใส่ลูกให้ดี การเปิดโอกาสให้ลูกได้ทำในสิ่งที่สนใจ การรับฟังปัญหาทุกข์ใจของลูก จึงถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ อย่างไรก็ตาม หากสังเกตได้ว่าลูกอาจมีปัญหาสุขภาพกายใจ ควรปรึกษาคุณหมอโดยเร็วที่สุด คุณหมอจะได้วินิจฉัยและรักษาได้อย่างตรงจุด เคล็ดลับ การเลี้ยงลูก ให้สุขทั้งกายและใจ การเลี้ยงลูก ให้มีสุขภาพกายที่ดี คุณพ่อคุณแม่สามารถสนับสนุนให้ลูกมีสุขภาพกายที่ดีได้ ดังนี้ การเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้ลูก สอนให้ลูกรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพเป็นหลัก อาจเริ่มจากการให้เมนูสุขภาพเป็นจานหลักในทุกมื้ออาหาร ให้ลูกช่วยเลือกวัตถุดิบ ช่วยจ่ายตลาด หรือเป็นคนคิดเมนูเอง ซึ่งอาจทำให้ลูกรู้สึกมีส่วนร่วมและอยากรับประทานอาหารจานนั้น ๆ มากขึ้น นอกจากนี้ ควรรับประทานอาหารร่วมกันทั้งครอบครัว เนื่องจากเด็กที่ร่วมโต๊ะอาหารกับคนในครอบครัวมีแนวโน้มที่จะรับประทานอาหารที่หลากหลายและให้สารอาหารครบถ้วน ให้ความสำคัญกับเวลานอนของลูก ในช่วงเวลาที่ลูกเข้านอน ควรหรี่หรือปิดไฟในห้อง เพื่อช่วยกระตุ้นให้ร่างกายของลูกหลั่งเมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยทำให้รู้สึกง่วงนอนและพร้อมพักผ่อนในเวลากลางคืน ไม่ควรมีโทรทัศน์ไว้ภายในห้องนอนลูก เนื่องจากเสียงและแสงสว่างจากโทรทัศน์อาจรบกวนการนอนของลูก ทำให้ลูกนอนไม่หลับหรือนอนดึกกว่าที่ควร ควรให้ลูกเข้านอนตรงเวลาทุกวัน และควรให้ลูกพักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จำนวนชั่วโมงในการนอนที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงวัย อาจมีดังนี้ เด็กอายุ 4-12 เดือน ควรนอน 12-16 ชั่วโมงต่อวัน (รวมการนอนกลางวัน) เด็กอายุ 1-2 ปี ควรนอน 11-14 ชั่วโมงต่อวัน (รวมการนอนกลางวัน) เด็กอายุ 3-5 […]


เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

เด็กพูดไม่ชัด สาเหตุและวิธีการแก้ปัญหา

พูดไม่ชัด เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กก่อนวัยเรียนซึ่งอยู่ในช่วงกำลังเรียนรู้ทักษะการสื่อสารและการพูด ภาวะนี้เป็นความผิดปกติของการเปล่งเสียงพูด ส่งผลให้เด็กออกเสียงผิดได้ ทั้งเสียงพยัญชนะและเสียงสระ อย่างไรก็ตาม การศึกษาสาเหตุที่ทำให้เด็กพูดไม่ชัด และหาวิธีการแก้ไขที่เหมาะสม เช่น การฝึกพูด การบริหารกล้ามเนื้อของอวัยวะที่ใช้พูด อาจช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านการสื่อสารที่ดีขึ้นและเหมาะสมตามวัยได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ประเภทของความผิดปกติในการพูด ความผิดปกติในการพูดสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ จังหวะการพูดผิดปกติ (Fluency disorder) เป็นภาวะที่มีจังหวะการพูดผิดปกติ พูดคำเดิมซ้ำ ๆ ตะกุกตะกัก พูดแล้วลากเสียงยาว หรือเสียงอาจหายไปบางช่วง เช่น การพูดติดอ่าง ความผิดปกติของเสียงพูด (Voice disorder) เป็นการพูดที่ใช้เสียงผิดปกติ อาจมีน้ำเสียง คุณภาพของเสียง หรือระดับเสียงผิดปกติ เช่น พูดเสียงดังเกินไป พูดเบาจนไม่ได้ยิน พูดเสียงแหบแห้ง การพูดไม่ชัด (Articulation disorder) เป็นภาวะที่มีความผิดปกติของการเปล่งเสียง มักเกิดในเด็กเล็กที่ออกเสียงพยัญชนะและสระไม่ถูกต้อง ทั้งนี้อาจต้องดูตามช่วงอายุ เพราะเมื่อถึงวัยก็จะพูดได้ปกติ ทำให้ออกเสียงผิดหรือพูดผิดเพี้ยนไปจากที่ตั้งใจ สาเหตุที่ทำให้เด็ก พูดไม่ชัด ปัญหาเด็กพูดไม่ชัดอาจเกิดได้จากปัจจัยต่อไปนี้ การพูดอะแพรกเซียในเด็ก (Childhood apraxia of speech) เป็นภาวะที่สมองไม่สามารถสื่อสารและสั่งการอวัยวะที่ใช้พูดได้ตามปกติ ทำให้เด็กไม่สามารถควบคุมริมฝีปากและลิ้นได้ตามต้องการ อาจเกิดขึ้นเมื่อเด็กเริ่มหัดพูด ทำให้ไม่สามารถออกเสียงพยัญชนะ […]


การเติบโตและพัฒนาการ

ของเล่นเสริมพัฒนาการเด็ก 2 ขวบ เลือกอย่างไรให้ปลอดภัยต่อเด็ก

เด็กวัย 2 ขวบ เป็นวัยที่เริ่มเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ การเลือก ของเล่นเสริมพัฒนาการเด็ก 2 ขวบ ที่เหมาะสมและตรงตามช่วงวัยจะช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้และพัฒนาการทั้งทางร่างกาย ภาษา ความคิด อารมณ์และสังคม ของเล่นที่เหมาะกับเด็กในวัยนี้ ควรเป็นของเล่นที่กระตุ้นและพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว การใช้ความคิด และการเข้าสังคมของเด็ก การหมั่นศึกษาเรื่องพัฒนาการและเลือกของเล่นเสริมพัฒนาการเด็ก 2 ขวบ อาจช่วยส่งเสริมพัฒนาการและกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามวัยของเด็ก พัฒนาการเด็ก 2 ขวบ พัฒนาการตามช่วงวัยของเด็ก 2 ขวบ อาจมีดังนี้ พัฒนาการด้านร่างกาย เด็กวัย 2 ขวบ มีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว เช่น การวิ่ง การเล่น การปีนป่าย ค่อนข้างรวดเร็ว เด็กวัยนี้เริ่มใช้เวลาในการเล่นของเล่นอย่างเพลิดเพลิน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรเลือกของเล่นและกิจกรรมที่ช่วยเสริมทักษะการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การเตะบอล หรือหาของเล่นที่ช่วยพัฒนาทักษะการควบคุมกล้ามเนื้อ ข้อมือ มือ และนิ้วมือ เช่น การวาดรูปเล่นด้วยดินสอ สีเทียน การวาดรูปแบบฟิงเกอร์เพนต์ (Finger Paint) หรือการวาดรูปด้วยนิ้วมือ ที่ให้เด็กได้ใช้มือและนิ้วมือป้ายสีต่าง ๆ ลงบนกระดาษแทนพู่กัน ซึ่งอาจช่วยเสริมสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กได้เป็นอย่างดี พัฒนาการด้านร่างกายของเด็ก 2 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน