พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

โรคเด็กและอาการทั่วไป

วิธีรับมือเมื่อลูกลิ้นเป็นร้อนใน

ลิ้นเป็นร้อนใน คือ ภาวะที่มีแผลเปื่อยขนาดเล็กเกิดขึ้นบริเวณลิ้น ลิ้นบวมแดง หรือเป็นสีขาว รวมทั้งบนเนื้อเยื่ออ่อนบริเวณอื่นภายในช่องปากได้ด้วย ทั้งริมฝีปากด้านใน กระพุ้งแก้ม เพดานปาก เหงือก หรือลิ้น เมื่อลิ้นเป็นร้อนในมักทำให้รู้สึกเจ็บหรือแสบ ภาวะนี้พบได้ทั่วไปในคนทุกเพศทุกวัย แต่อาจพบบ่อยในเด็ก เมื่อลูกเป็นร้อนใน คุณพ่อคุณแม่ควรบรรเทาอาการด้วยการให้ลูกดื่มน้ำมาก ๆ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีฤทธิ์กัดกร่อน เป็นต้น โดยทั่วไป ภาวะร้อนในไม่เป็นอันตราย ไม่ติดต่อไปยังบุคคลอื่น และสามารถหายเองได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่หากมีอาการรุนแรงขึ้น หรืออาการไม่หายไปภายใน 3 สัปดาห์ ควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการรักษาและวินิจฉัยอาการเพิ่มเติม [embed-health-tool-vaccination-tool] ลิ้นเป็นร้อนใน เกิดจากอะไร สาเหตุที่ทำให้ลิ้นเป็นร้อนในยังไม่แน่ชัดนัก แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดได้จากสาเหตุดังต่อไปนี้ เกิดจากการทำทันตกรรม การแปรงฟันรุนแรงเกินไป การเผลอกัดลิ้น เป็นต้น ติดเชื้อโรคเอชไพโลไร (Helicobacter pylori หรือ H. pylori) ที่เป็นเชื้อเดียวกับแบคทีเรียที่อยู่ในกระเพาะอาหาร ทำให้ลิ้นอักเสบ ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อเซลล์ปกติภายในช่องปากแทนการโจมตีเชื้อโรคแปลกปลอมอย่างไวรัสและแบคทีเรีย ใช้ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของสารโซเดียมลอริลซัลเฟต (Sodium Lauryl Sulfate) ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดฟอง แต่มีฤทธิ์ค่อนข้างแรง อาจทำให้เนื้อเยื่อในปากระคายเคืองและทำให้เป็นแผลที่ลิ้นได้ ขาดสารอาหารบางชนิด เช่น วิตามินบี […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ คือ โรคอะไร สาเหตุ อาการ วิธีป้องกัน

โปลิโอ คือ โรคติดต่อชนิดร้ายแรงที่เกิดจากเชื้อไวรัสโปลิโอ ทำให้ไขสันหลังอักเสบ กล้ามเนื้อแขนและขาเป็นอัมพาต หลังติดเชื้อ เชื้อจะแบ่งตัวอยู่ภายในลำไส้เป็นเวลาหลายสัปดาห์ สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ผ่านการสัมผัสอุจจาระผู้ป่วยโดยตรง การบริโภคอาหารและน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อน เป็นต้น หากติดเชื้อและมีอาการรุนแรงแล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันโปลิโอเป็นโรคที่ไม่พบผู้ป่วยในประเทศไทยแล้ว และสามารถป้องกันได้ด้วยการให้เด็กเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอย่างครบถ้วนตามกำหนด โปลิโอ คือ โรคอะไร โปลิโอ (Polio หรือ Poliomyelitis) คือ โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) เป็นโรคที่พบมากในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ขวบ เชื้อจะเข้าไปทำลายการทำงานของกระดูกสันหลังและสมอง ทำให้กล้ามเนื้อและระบบประสาทอักเสบและผิดปกติ ส่งผลให้เป็นอัมพาต ทั้งนี้ ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโปลิโอรายสุดท้ายเมื่อปี 2540 และสามารถรักษาสถานะปลอดโปลิโอมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โรคโปลิโอสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกัน จึงควรพาบุตรหลานไปฉีดวัคซีนตามกำหนดเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโปลิโอ สาเหตุที่ทำให้เป็นโปลิโอ โปลิโอ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโปลิโอ ส่วนใหญ่ผ่านการสัมผัสกับเชื้อโดยตรง เชื้อนี้สามารถติดต่อได้จากคนสู่คน หรือจากการสัมผัสเชื้อที่อยู่บนสิ่งของต่าง ๆ แล้วเชื้อเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหารผ่านทางปากหรือจมูก ด้วยวิธีต่อไปนี้ จากการสัมผัสเชื้อของผู้ป่วยที่ออกมาทางอุจจาระ เชื้ออาจติดมือหรือสิ่งของต่าง ๆ และปนเปื้อนอาหารหรือเครื่องดื่ม เมื่อรับประทานเข้าไป จึงทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้ เมื่อผู้ป่วยไอหรือจาม อาจทำให้เชื้อปนอยู่ในละอองฝอย และผู้ที่อยู่ใกล้เคียงอาจหายใจรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย อาการที่พบในผู้ป่วยโปลิโอ อาการที่พบได้ในผู้ป่วยโปลิโอ อาจมีดังนี้ กลุ่มที่ไม่แสดงอาการ ผู้ที่ติดเชื้อโปลิโอส่วนใหญ่ประมาณ 90-95% จะไม่แสดงอาการผิดปกติ แต่ยังสามารถแพร่เชื้อผ่านทางอุจจาระได้ […]


เด็กวัยเรียน

บูลลี่ ผลเสียต่อสุขภาพ และวิธีรับมือเมื่อโดนบูลลี่

บูลลี่ คือ การกลั่นแกล้ง ให้ร้าย ระราน หรือคุกคามที่ส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจของผู้อื่น เช่น ทำให้ทุกข์ใจและเจ็บปวด ทำให้ได้รับบาดเจ็บ การบูลลี่เป็นปัญหาความรุนแรงในสังคมที่พบได้ทั่วไป อาจแบ่งได้เป็นการกลั่นแกล้งทางวาจา เช่น การดูหมิ่นเหยียดหยามด้วยคำพูด ทางร่างกาย เช่น การทำร้ายทางร่างกาย ทางสังคม เช่น การกีดกันทางสังคม และในโลกไซเบอร์ เช่น การรุมประจานในโซเชียลมีเดีย  ซึ่งอาจกระทบต่อพัฒนาการทางอารมณ์ สังคม จิตใจ ไปจนถึงบุคลิกของเด็กในอนาคต ทั้งนี้ ควรศึกษาผลเสียต่อสุขภาพและวิธีการรับมือที่เหมาะสมเมื่อโดนบูลลี่ เพราะอาจช่วยลดปัญหาอื่น ๆ ที่อาจตามมาจากการบูลลี่ หรือการโดนบูลลี่ได้ [embed-health-tool-bmr] การบูลลี่ คืออะไร การบูลลี่ (Bullying) คือ พฤติกรรมกลั่นแกล้ง เหยียดหยาม ให้ร้าย คุกคาม ทำร้ายร่างกายและจิตใจของคนอื่น เป็นต้น เนื่องจากผู้กระทำอาจต้องการรู้สึกเหนือกว่าหรือมีอำนาจมากกว่า เและรู้สึกสุขใจเมื่อเห็นผู้อื่นหรือผู้ที่โดนบูลลี่เป็นทุกข์ รู้สึกไม่มีความสุข คิดว่าตัวเองไร้ค่า มีบาดแผลในใจ ได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น การโดนบูลลี่อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ใหญ่ขึ้น เช่น โรคซึมเศร้า ภาวะอยากฆ่าตัวตาย และอาจบ่มเพาะบุคลิกภาพในทางลบ เช่น กลายเป็นคนที่ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง มีความก้าวร้าวแอบแฝง และมีความนับถือตัวเองต่ำ […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

อาการแบบไหนที่ควรพาลูกไปพบ จิตแพทย์ เด็ก

เมื่อเด็กมีพฤติกรรมหรือการแสดงออกทางอารมณ์ที่แปลกไปจากเดิม อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าเด็กมีปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญและไม่ควรปล่อยผ่าน คุณพ่อคุณแม่ควรพาเด็กไปพบคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ หรือ จิตแพทย์ เด็ก เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาด้านพฤติกรรมและอารมณ์ให้เป็นปกติ ทั้งนี้ ควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมและความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพจิต เช่น ซึมเศร้าบ่อยครั้ง ไม่ยอมเข้าสังคม ผลการเรียนแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด หากพบควรรีบพาเด็กไปเข้ารับการวินิจฉัยปัญหาสุขภาพจิต และรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้แก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดมากที่สุด [embed-health-tool-vaccination-tool] ปัญหาสุขภาพจิตในเด็กที่พบได้บ่อย ปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้บ่อย อาจมีดังนี้ โรคซึมเศร้า เป็นภาวะความผิดปกติทางอารมณ์ที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก ทั้งในเรื่องการเรียน การเข้าสังคม ชีวิตที่บ้าน และงานอดิเรก โรคนี้มักส่งผลให้เด็กแยกตัวออกจากสังคม อาจมีอารมณ์แปรปรวน หรือเศร้าหมอง มองโลกในแง่ร้าย และอาจรุนแรงถึงขั้นทำให้เด็กรู้สึกอยากทำร้ายตัวเองหรืออยากตาย สาเหตุอาจเกิดจากสภาพแวดล้อมรอบตัว เช่น ครอบครัวมีการทะเลาะวิวาทหรือใช้ความรุนแรงเป็นประจำ โดนเพื่อนที่โรงเรียนรังแกอย่างหนัก เด็กกังวลเรื่องเรียน ปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลให้เกิดอาการซึมเศร้าและพัฒนาเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งถือเป็นโรครุนแรงที่ไม่ควรปล่อยผ่าน หรือรอให้หายเอง จำเป็นต้องพาเด็กเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วน โรควิตกกังวล เช่น อาการแพนิก อาการย้ำคิดย้ำทำ โรคกลัวกิจกรรมทางสังคม (Social phobia) เป็นภาวะความผิดปกติทางอารมณ์ที่มักเกิดจากความเครียดและวิตกกังวลที่เด็กต้องเผชิญ ทำให้เด็กรู้สึกไม่ปลอดภัย เครียด และวิตกกังวล ซึ่งกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน สาเหตุอาจเกิดได้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่รุมเร้า เช่น ความกดดันเรื่องผลการเรียน ความเครียดกับการปรับตัวเมื่อต้องเรียนออนไลน์ในช่วงที่โรคโควิด-19 กำลังระบาดอย่างต่อเนื่อง หรือความกังวลเกี่ยวกับปัญหาส่วนตัว เช่น […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

การใช้ชีวิตคู่ กับข้อควรรู้ เพื่อความสัมพันธ์ที่ดีอย่างยั่งยืน

พื้นฐานสำคัญของ การใช้ชีวิตคู่ อย่างยั่งยืน อาจอยู่ที่การเอาใจใส่ รู้จักให้อภัย รู้จักปรับตัว และเคารพความคิดเห็นของกันและกัน ทั้งสองคนต้องทุ่มเทเวลา ใช้ความพยายามและความอดทนในการร่วมมือกันรักษาความสัมพันธ์ให้ยั่งยืนที่สุด หากมีปัญหาเกิดขึ้น และไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือความขัดแย้งได้ด้วยตัวเอง คู่รักอาจไปพบคุณหมอ จิตแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดชีวิตคู่ เพื่อรับคำปรึกษาและเรียนรู้ที่จะประคองความสัมพันธ์ให้ดำรงต่อไปได้ [embed-health-tool-ovulation] การใช้ชีวิตคู่ ทำอย่างไรให้ความสัมพันธ์ดีอย่างยั่งยืน วิธีเหล่านี้ อาจช่วยให้การใช้ชีวิตคู่ดีและยั่งยืนขึ้นได้ รู้จักให้อภัย เมื่อมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำผิด อีกฝ่ายอาจรู้สึกไม่พอใจหรือโกรธเคืองได้เป็นเรื่องธรรมดา แต่หากเป็นเรื่องที่สามารถให้อภัยกันได้ก็ควรพูดคุย ขอโทษ และปรับความเข้าใจซึ่งกันและกันโดยเร็วที่สุด เพราะหากฝ่ายหนึ่งยึดถือความผิดพลาดบางประการของอีกฝ่ายมาคิดในแง่ลบตลอดเวลา ก็อาจกระทบต่อความสัมพันธ์ได้ การก้าวข้ามความรู้สึกโกรธเคืองเมื่อคู่รักทำเรื่องผิดพลาดบางประการไปได้ อาจช่วยรักษาความสัมพันธ์ให้ยั่งยืนขึ้นได้ ปรับมุมมองการใช้ชีวิตให้ใกล้เคียงกัน ความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนควรมีเป้าหมายชีวิตในทิศทางเดียวกัน และมีทัศนคติต่อเรื่องต่าง ๆ ใกล้เคียงและไม่ขัดแย้งกันเอง เช่น เรื่องครอบครัว สังคม วัฒนธรรม เพื่อที่จะสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้อย่างลื่นไหล นอกจากนี้ คนทั้งคู่อาจต้องให้ความสำคัญกับเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตที่คล้ายคลึงกัน เช่น ต่างคนต่างก็ให้ความสำคัญกับการดูแลครอบครัว ตั้งใจเลี้ยงดูลูกให้มีชีวิตที่มีคุณภาพ หรือทั้งคู่อาจให้ความสำคัญกับการสะสมทรัพย์และการลงทุน เพื่อที่จะได้ร่วมมือกันทำตามเป้าหมายไปด้วยกันได้ในระยะยาว เอาใจใส่กันอยู่เสมอ เมื่อใช้ชีวิตร่วมกันมาสักพักหนึ่ง คู่รักบางคู่อาจเกิดความเคยชินจนละเลยความรู้สึกของคนข้างตัว ดังนั้น จึงควรหมั่นเติมความหวานและความห่วงใยด้วยการถามสารทุกข์สุกดิบกันทุก ๆ วัน บอกรัก หรือแสดงความรักกันอยู่เสมอ เช่น กอด หอมแก้ม ห่มผ้าห่มให้อีกฝ่าย การแสดงความใส่ใจเหล่านี้เป็นสิ่งที่คู่รักสามารถทำให้กันได้ในทุกวัน ซึ่งอาจช่วยให้รู้สึกว่ายังมีความห่วงใยและความรักให้กันเหมือนเดิม […]


สุขภาพเด็ก

Cystic fibrosis คืออะไร ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของลูกอย่างไร

Cystic fibrosis (ซิสติก ไฟโบรซิส) คือ โรคทางพันธุกรรมที่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อปอดและทางเดินหายใจ ระบบย่อยอาหาร และระบบสืบพันธุ์ โรคนี้ไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่อาจบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้ด้วยการใช้ยาหรือการบำบัด ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับลูก เช่น อาการไอแบบมีเสมหะ หายใจลำบาก ท้องผูกเรื้อรัง และควรพาลูกพบคุณหมอทันทีเพื่อทำการรักษาและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต Cystic fibrosis คืออะไร Cystic fibrosis คือ โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของยีน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบที่ควบคุมการดูดซึมของโซเดียมและน้ำ จนส่งผลให้สารคัดหลั่งมีความเหนียวข้นกว่าปกติ และอาจอุดตันหรือสร้างความเสียหายต่ออวัยวะภายในร่างกาย เช่น ระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ระบบสืบพันธุ์ มักเกิดในคนต่างชาติมากกว่าคนชาวเอเชีย อาการของ Cystic fibrosis คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตอาการของลูกที่เป็น Cystic fibrosis ได้ดังนี้ ไอแบบมีเสมหะ คัดจมูก หายใจเสียงดัง หายใจถี่ อุจจาระมีกลิ่นเหม็นและมันเยิ้ม น้ำหนักขึ้น ท้องบวม มีปัญหาด้านการเจริญเติบโต ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ท้องผูกเรื้อรังเนื่องจากลำไส้อุดตัน จนอาจส่งผลให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของลำไส้ยื่นออกมาทางทวารหนัก นอกจากนี้ หากสังเกตว่าลูกมีอาการหายใจลำบาก มีเสมหะปริมาณมาก อ่อนเพลีย น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว ท้องอืด ไอ อาเจียนและอุจจาระเป็นเลือด ควรพาเข้าพบคุณหมอทันที โรค Cystic […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

โรคดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) สาเหตุ อาการ การรักษา

โรคดาวน์ซินโดรม เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่มีหน้าตาลักษณะเฉพาะ ส่งผลทำให้เกิดความบกพร่องทางพฤติกรรม สติปัญญา พัฒนาการตั้งแต่เด็ก ซึ่งอาจมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล โดยอาจสังเกตได้จากอาการสมาธิสั้น ปัญหาด้านการเรียนรู้ และปัญหาด้านการสื่อสาร บางคนอาจมีภาวะแทรกซ้อนทางด้านโรคหัวใจ โรคมะเร็งเม็ดเลือด โรคพร่องฮอร์โมน โรคดาวน์ซินโดรมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถฝึกฝนเพื่อกระตุ้นพัฒนาการด้านการสื่อสารและการเรียนรู้ เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ แต่ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง และต้องรักษาภาวะโดรคที่เกิดร่วม คำจำกัดความโรคดาวน์ซินโดรม คืออะไร โรคดาวน์ซินโดรม คือ กลุ่มอาการที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิด เกิดจากการที่โครโมโซมในร่างกายคู่ที่ 21 เกินมา จึงส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ และพัฒนาการของร่างกาย อีกทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็น การได้ยิน และการทำงานของหัวใจ โรคดาวน์ซินโดรมไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด แต่อาจรักษาตามอาการ และให้ลูกเรียนรู้ในการอยู่กับโรคเพื่อให้ใช้ชีวิตได้สะดวกมากขึ้น อาการอาการของโรคดาวน์ซินโดรม อาการของโรคดาวน์ซินโดรม อาจสังเกตได้จาก หน้าตาที่มีลักษณะเฉพาะ ศีรษะ หู มือ และเท้า มีขนาดเล็ก คอสั้น ผิวหนังด้านหลังคอย่น จมูกแบนราบ รอยพับบนฝ่ามือและนิ้วที่มีความย่นของผิวหนัง จุดสีขาวเล็ก ๆ ในม่านตา รูปทรงดวงตาคล้ายถั่วอัลมอนด์และมีลักษณะเอียงขึ้น ปากขนาดเล็ก จนลิ้นอาจยื่นออกจากปาก ลิ้นจุกปาก มีปัญหาด้านการมองเห็นและการได้ยิน กล้ามเนื้ออ่อนแรง ข้อต่อหลวม การเจริญเติบโตล่าช้า ความจำสั้น สมาธิสั้น ปัญญาอ่อน พูดไม่ชัด ไม่เป็นคำ เนื่องจากมีพัฒนาการด้านภาษาล่าช้า การทำงานของหัวใจบกพร่อง ปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ สาเหตุสาเหตุของโรคดาวน์ซินโดรม สาเหตุของโรคดาวน์ซินโดรมเกิดจากการที่โครโมโซมคู่ที่ 21 (Trisomy 21) เกินมา โดยปกติแล้วร่างกายจะมีโครโมโซม 23 คู่ หรือ 46 แท่ง […]


การดูแลทารก

เลือกของเล่นเด็กแรกเกิดอย่างไร ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้ลูกน้อย

ของเล่นเด็กแรกเกิดและทารกในวัยต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ให้กับลูกน้อย ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม โดยคุณพ่อคุณแม่ควรเลือกของเล่นที่เสริมสร้างประสาทสัมผัสทั้ง 5 นั่นก็คือ การมองเห็น การสัมผัส การได้ยิน การใช้ปาก และการสูดดม เพราะประสาทสัมผัสเหล่านี้อาจช่วยส่งเสริมให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ นอกจากนี้ ของเล่นยังช่วยเพิ่มความสนุกสนานให้กับเด็ก ซึ่งถือเป็นการช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านอารมณ์ ทั้งยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัวได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ควรเลือกของเล่นเด็กแรกเกิดที่ปลอดภัยและเหมาะสม เพื่อพัฒนาการที่ดีสมวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] การเล่นเสริมสร้างพัฒนาการอย่างไร การเล่นสำคัญต่อพัฒนาการของเด็กแรกเกิดทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา การเรียนรู้ อารมณ์และสังคม โดยเด็กแรกเกิดจะเริ่มเรียนรู้จากคนใกล้ตัวและสภาพแวดล้อมรอบตัว ดังนั้น การเล่นจึงเป็นวิธีที่จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหวทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่ รู้จักการสื่อสารเพื่อแสดงความต้องการหรือความรู้สึก การแสดงออกทางอารมณ์ รู้จักการเข้าสังคมผ่านการเล่น เข้าใจสภาพแวดล้อมรอบตัว และเข้าใจถึงการอยู่ร่วมกับผู้อื่นมากขึ้น ของเล่นเด็กแรกเกิด ของเล่นเด็กแรกเกิดถึง 12 เดือน อาจมีลักษณะที่แตกต่างกันไป ล้อไปกับพัฒนาการตามวัย เพื่อช่วยเสริมสร้างพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ดังนี้ ของเล่นเด็กแรกเกิดถึง 3 เดือน ในช่วงวัยนี้เด็กอาจยังไม่สามารถขยับตัวหรือเคลื่อนที่ไปไหนได้ จึงควรเลือกของเล่นที่ช่วยเสริมพัฒนาการทางด้านการมองเห็นและการได้ยิน เช่น ตุ๊กตาแขวนหลากสี โมไบล์ เตียงเด็กหรือรถเข็นสีสันสดใส ตุ๊กตาหรือของเล่นที่มีเสียงแสง […]


เด็กทารก

ของเล่นเด็กอ่อน เลือกแบบไหนถึงจะเหมาะ

เด็กอ่อน หมายถึง เด็กที่อยู่ในวัยแรกเกิดจนถึง 1 ปี ซึ่งเป็นวัยที่การเจริญเติบโตและพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว วิธีการหนึ่งที่อาจช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กได้ก็คือ การให้เด็กเล่นของเล่น อย่างไรก็ตาม ของเล่นเด็กอ่อน ควรเลือกให้เหมาะกับพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย โดยต้องให้ทั้งความเพลิดเพลิน ความสนุกสนาน และช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้และทักษะด้านต่าง ๆ ให้กับเด็กได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ การเลือกซื้อของเล่นให้เด็กอ่อนควรคำนึงคุณภาพและมาตรฐานของของเล่นเป็นหลัก เพื่อความปลอดภัยสูงสุดในการใช้งานของเด็ก [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการเด็กอ่อนในแต่ละช่วงวัย พัฒนาการของเด็กอ่อนแต่ละช่วงวัย อาจมีดังนี้ พัฒนาการเด็กอ่อนวัย 1-3 เดือน เด็กแรกเกิดในวัยนี้เริ่มมีพัฒนาการทางร่างกายและสมอง พัฒนาการที่พบได้ทั่วไป อาจมีดังนี้ กำและแบมือ ขยับมือเข้าหาปากของตัวเองได้ หยิบสิ่งของเข้าปากได้ ไขว่คว้าหรือเอื้อมมือหาวัตถุที่ห้อยให้เห็นได้ เช่น โมบายหนีบรถเข็นหรือหนีบเปล พัฒนาการเด็กอ่อนวัย 4-6 เดือน เด็กในวัยนี้เรียนรู้เรื่องรอบตัวมากขึ้น สามารถหยิบจับ รู้จักเรียนรู้ที่จะใช้งานสิ่งของรอบตัวได้คล่องแคล่วมากขึ้น และเริ่มส่งเสียงเพื่อสื่อสารในสิ่งที่ต้องการ พัฒนาการที่พบได้ทั่วไป อาจมีดังนี้ เริ่มนอนคว่ำและนอนหงายได้เอง ส่งเสียงสูงต่ำด้วยภาษาของทารก เริ่มหัวเราะ หยอกล้อ และเล่นกับคนรอบข้าง สามารถเล่นของเล่นเองได้ และมักเอื้อมมือหยิบจับสิ่งของใกล้มือ ซึ่งอาจต้องระวังเด็กเอื้อมมือคว้าหรือดึงสิ่งของต่าง ๆ เช่น ดึงผมของคนอื่น ช่วยพยุงให้นั่งได้ และควบคุมศีรษะและคอได้ดีขึ้น พัฒนาการเด็กอ่อนวัย […]


วัยรุ่น

การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ความเสี่ยงสุขภาพที่อาจพบได้ และวิธีรับมือ

การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพของแม่และทารกในครรภ์ เช่น การคลอดก่อนกำหนด ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ภาวะทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ ทั้งนี้ เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ ควรรับมืออย่างถูกวิธี โดยคำนึงถึงสุขภาพกายและสุขภาพใจของคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์เป็นสำคัญ นอกจากนี้ หากต้องการยุติการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเนื่องจากความไม่พร้อมหรือปัญหาสุขภาพ ควรเลือกวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องโดยให้หน่วยงานรัฐหรือสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐานเป็นผู้ดำเนินการ เพื่อให้ปลอดภัยต่อผู้ตั้งครรภ์มากที่สุด [embed-health-tool-vaccination-tool] ความเสี่ยงต่อสุขภาพของ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพทั้งต่อแม่และทารก ดังต่อไปนี้ ภาวะความดันโลหิตสูง ผู้หญิงที่อายุยังน้อยเสี่ยงเกิดภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ได้มากกว่าผู้หญิงในวัย 20-30 ปี ภาวะนี้อาจส่งผลให้ร่างกายทำงานไม่ปกติ ใบหน้าและมือบวม ระดับโปรตีนในปัสสาวะสูงขึ้น และหากความดันโลหิตสูง หรือมีความรุนแรงจนทำให้เกิดอาการชัก อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อทั้งแม่และเด็กได้ เช่น รกเสื่อม ทารกเสียชีวิตในครรภ์ ภาวะคลอดก่อนกำหนด ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ เด็กที่เกิดมาอาจมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ เนื่องจากคลอดก่อนกำหนด เป็นต้น เช่น เด็กอาจมีน้ำหนักเพียง 1.4-2.4 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าน้อยกว่าน้ำหนักตัวทารกคลอดตามกำหนดที่มักอยู่ระหว่าง 2.9-4 กิโลกรัม ทารกแรกเกิดที่น้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ส่วนใหญ่จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากหน่วยดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติ (Neonatal Intensive Care Unit หรือ NICU) เพื่อให้การดูแลในด้านที่จำเป็น เช่นเสริมโภชนาการ รักษาภาวะติดเชื้อ หรือ สังเกตอาการหายใจที่อาจผิดปกติเนื่องจากบางรายปอดยังเจริญไม่เต็มที่ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน