พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

สุขภาพจิตวัยรุ่น

สัญญาณสุขภาพจิตวัยรุ่น ที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ

สัญญาณสุขภาพจิตวัยรุ่น อาจแสดงออกทางร่างกายไม่ว่าจะเป็นอาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย หงุดหงิด เกิดปัญหาเกี่ยวกับความเข้าใจในการสื่อสาร รวมไปถึงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ใช้สารเสพติด สูบบุหรี่ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตสัญญาณเหล่านี้ เพื่อเตรียมการรับมือ และเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที เพราะปัญหาสุขภาพจิตวัยรุ่นรอไม่ได้อาจทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงอื่น ๆ ตามมาได้ สุขภาพจิตวัยรุ่น สิ่งที่ไม่ควรละเลย วัยรุ่น คือ ช่วงอายุตั้งแต่ 10-19 ปี เป็นช่วงอายุที่มีการพัฒนาในหลายด้านทั้งทางร่างกาย อารมณ์และสังคม รวมถึงการเผชิญหน้ากับสิ่งต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น การล่วงละเมิด ความรุนแรง ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตวัยรุ่น การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตวัยรุ่นอาจส่งผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว และยังส่งผลดีต่อปัญหาอื่น ๆ ที่อาจตามมาในอนาคตเมื่อวัยรุ่นเหล่านั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ สัญญาณสุขภาพจิตวัยรุ่น สัญญาณปัญหาสุขภาพจิตวัยรุ่น อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความผิดปกติของจิตใจ สถานการณ์ และปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งทำให้ส่งผลต่ออารมณ์ ความคิด พฤติกรรม และนี่คือตัวอย่าง สัญญาณสุขภาพจิตวัยรุ่น ที่อาจพบได้บ่อย สัญญาณวิตกกังวลทั่วไป รู้สึกกระสับกระส่าย เหนื่อยง่าย มีปัญหาการนอนหลับ หลับยาก หลับไม่สนิท ความคิดสับสน หรือสมาธิสั้นลง มีอาการหงุดหงิด รู้สึกตึงกล้ามเนื้อ มีปัญหาในการควบคุมอารมณ์ มีอารมณ์โกรธ ความเกลียดชัง […]


สุขภาพวัยรุ่น

ปัญหาสุขภาพกายวัยรุ่น อย่ามองข้าม ช่วงวัยสำคัญที่ควรใส่ใจ

ปัญหาสุขภาพกายวัยรุ่น สามารถส่งผลต่อพัฒนาการของวัยรุ่นทั้งด้านร่างกาย อารมณ์และสังคมได้ เพื่อป้องกันวัยรุ่นให้ห่างไกลจากปัญหาที่อาจเกิดขึ้น วันนี้เราได้รวบรวม ปัญหาสุขภาพกายวัยรุ่น ที่พบบ่อยมากฝากทุกคนแล้วค่ะ ปัญหาสุขภาพกายวัยรุ่น หมายถึงอะไร ปัญหาสุขภาพกายของวัยรุ่นที่เกิดขึ้นมักทำให้พัฒนาการของวัยรุ่นเกิดความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ทั้งการเจ็บป่วยจากโรค การบาดเจ็บ การผ่าตัด การรักษาพยาบาล จนอาจส่งผลให้เกิดความกังวลใจในเรื่องรูปลักษณ์ภายนอกและสุขภาพร่างกายมากยิ่งขึ้น ปัญหาสุขภาพกายวัยรุ่นอาจส่งผลต่อพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมของวัยรุ่นทั้งความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และเพื่อนฝูง การมีโอกาสได้ใช้ชีวิตอย่างอิสระ และอื่น ๆ อีกมากมาย ปัญหาสุขภาพกายวัยรุ่น มีอะไรบ้างนะ? ปัญหาสุขภาพกายวัยรุ่นที่อาจเกิดขึ้นได้และสามารถส่งผลเสียให้กับพัฒนาการของวัยรุ่น ดังนี้ สิว ในช่วงวัยรุ่นฮอร์โมนต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นประกอบกับการอุดตันของไขมันในรูขุมขนจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิว บริเวณที่มีสิวส่วนใหญ่จะขึ้นที่ใบหน้า ลำคอ หลัง หน้าอก และไหล่ สิวไม่ใช่ปัญหาสุขภาพร้ายแรงที่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บหรือแผลเป็นถาวร แต่สิวอาจทำลายความมั่นใจให้กับวัยรุ่นได้ การป้องกันสิวในวัยรุ่น พยายามอย่าล้างหน้ามากเกินไปหรือใช้สครับที่รุนแรง ล้างหน้าแค่วันละ 2 ครั้งต่อวันก็เพียงพอต่อการทำความสะอาดใบหน้า เพราะการล้างหน้ามากเกินไปอาจทำให้ผิวระคายเคืองและแห้ง ยิ่งกระตุ้นให้ผิวผลิตต่อมน้ำมันออกมามากขึ้นและส่งผลให้เกิดสิวเพิ่มขึ้น เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากน้ำมันหรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดสิว พยายามอย่าบีบหรือกดสิว เพราะการบีบสิวอาจทำให้แบคทีเรียเข้าไปในผิวหนังได้ และอาจเพิ่มความอักเสบมากขึ้นจนทำให้เกิดแผลเป็นถาวร ความผิดปกติของประจำเดือน วัยรุ่นหญิงบางคนอาจมีความผิดปกติของประจำเดือน ทั้งประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอบ่อยครั้ง มีอาการปวดท้องเมื่อมีประจำเดือนโดยเฉพาะในช่วง 2-3 เดือนแรกเมื่อมีประจำเดือน ความผิดปกติของประจำเดือนอาจส่งผลต่อสุขภาพวัยรุ่นในระยะยาว อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ในอนาคตได้อีกด้วย การรักษาจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้วัยรุ่นมีประจำเดือนเป็นปกติ โดยแพทย์อาจแนะนำให้กินยาแก้ปวดสำหรับผู้ที่มีอาการปวดประจำเดือน หรืออาจใช้วิธีรักษาด้วยฮอร์โมนสำหรับผู้ที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือด้วยวิธีอื่น ๆ ซึ่งวิธีการวินิจฉัยขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายโดยรวมของผู้ป่วยและการวินิจฉัยเบื้องต้นของแพทย์ด้วย สุขภาพช่องปาก วัยรุ่นบางคนเริ่มมีปัญหาช่องปากทั้งรูปฟันที่ไม่สวยงาม ฟันผุ หรือฟันคุด เหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาช่องปากที่อาจส่งผลต่อความมันใจในตัวเองของวัยรุ่น การจัดฟัน เมื่อคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการกัด ฟันบิดเบี้ยว มีตำแหน่งฟันที่ไม่เหมาะสม การจัดฟันอาจช่วยปรับปรุงการเรียงตัวของฟันและช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับรอยยิ้มได้ ไม่เพียงเท่านั้นการจัดฟันยังช่วยรักษาปัญหาการเคี้ยวอาหาร การกัด […]


สุขภาพจิตวัยรุ่น

เรื่องนี้อย่าปล่อยผ่าน การฆ่าตัวตายในวัยรุ่น ปัญหาใหญ่ระดับโลก

การฆ่าตัวตายในวัยรุ่น ไม่ใช่เรื่องที่จะปล่อยผ่านไปได้เพราะหนึ่งชีวิตมีความสำคัญ และพฤติกรรมการฆ่าตัวตายในวัยรุ่นสามารถเกิดขึ้นได้กับวัยรุ่นทุกคน ดังนั้นพ่อแม่ ผู้ปกครองควรให้ความสำคัญและใส่ใจปัญหาที่ลูกของคุณอาจกำลังเผชิญอยู่ เพื่อให้ง่ายต่อการปกป้องลูกคุณจากการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น ลองมาอ่านบทความนี้แล้วคุณจะรู้ว่าวัยรุ่นกำลังเผชิญกับอะไรอยู่ อะไรที่ทำให้เสี่ยงต่อ การฆ่าตัวตายในวัยรุ่น อาจเป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจความรู้สึกนึกคิดบางอย่างของวัยรุ่นที่กำลังประสบปัญหามีพฤติกรรมฆ่าตัวตาย ซึ่งวัยรุ่นอาจกำลังเผชิญกับความเครียด ความกังวลหรือความกดดันจากรอบตัว อีกทั้งช่วงวัยรุ่นยังเป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ต้องการความเป็นอิสระที่มักขัดแย้งกับกฎเกณฑ์และความคาดหวังจากคนในครอบครัวและคนรอบข้าง วัยรุ่นที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ หรืออาการนอนไม่หลับ มีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น และยิ่งวัยรุ่นที่มีความกดดันจากปัญหาในชีวิต เช่น พ่อแม่หย่าร้าง หรือถูกกลั่นแกล้ง ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงขึ้นไปอีก หรืออาจจะเป็นเรื่องอื่น ๆ เช่น ความผิดปกติทางจิตใจ โดยเฉพาะภาวะซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาเสพติด ความรู้สึกหงุดหงิดกับเรื่องต่าง ๆ ความรู้สึกสิ้นหวังและไรค่าที่มาพร้อมกับภาวะซึมเศร้า เคยพยายามฆ่าตัวตายมาแล้ว ประวัติครอบครัวเคยเป็นโรคซึมเศร้า หรือมีพฤติกรรมฆ่าตัวตาย การถูกล่วงละเมิดทางเพศ โดนทารุณกรรม ใช้ความรุนแรง หรือการกลั่นแกล้ง มีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีระหว่างครอบครัว เพื่อนและสังคม เกิดความผิดปกติจากการใช้สารเสพติด สามารถเข้าถึงวิธีการฆ่าตัวตายได้ เช่น อาวุธปืน หรือยาต่าง ๆ มีปัญหาทางร่างกายอาจด้วยโรคร้ายหรือพิการทางร่างกาย เด็กที่เป็นลูกบุญธรรม กลุ่มเพศ LGBTQ ที่โดนต่อต้านจากครอบครัวและสังคม สัญญาณเตือน การฆ่าตัวตายในวัยรุ่น การฆ่าตัวตายในวัยรุ่นมักเกิดได้จากหลายสาเหตุข้างต้น โดยอาจมีสัญญาณอาการ ดังนี้ พูดถึงการตายหรือการฆ่าตัวตายบ่อยครั้ง อาจส่งสัญญาณบอกใบ้ว่าจะไม่อยู่แล้ว พูดถึงความรู้สึกสิ้นหวังหรือรูสึกผิด ออกห่างจากครอบครัวและสังคมเพื่อน อาจเขียนจดหมายเกี่ยวกับเรื่องความตาย เริ่มแจกหรือมอบสิ่งของแทนใจให้คนในครอบครัว หมดความชื่นชอบในสิ่งที่เป็นงานอดิเรก เหม่อลอย มีปัญหาทางความคิด พฤติกรรมการกิน การนอนเปลี่ยนแปลงไป เข้าไปมีส่วนร่วมในพฤติกรรมเสี่ยง ไม่อยากออกไปไหนหรือทำอะไร เช่น การไปโรงเรียน เล่นกีฬา การป้องกัน ปัญหาการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถมีส่วนในการช่วยป้องกันการฆ่าตัวตายในวัยรุ่นได้ ดังนี้ พูดคุยกับบุตรหลานเกี่ยวกับสุขภาพจิต หากวัยรุ่นมีอาการเศร้า วิตกกังวล […]


ปัญหาระบบย่อยอาหารในเด็ก

ทำความรู้จัก โรคเซลิแอคในเด็ก ลูกคุณป่วยเป็นโรคนี้อยู่ไหมนะ

โรคเซลิแอคในเด็ก เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศทุกวัย โดยมีแนวโน้มสูงที่จะเกิดจากการสืบทอดทางพันธุกรรม เพื่อให้แน่ใจว่าลูกของคุณมีแนวโน้มเป็นโรคเซลิแอคหรือไม่ มาลองอ่านบทความนี้แล้วคุณจะรู้ว่าโรคเซลิแอคแท้จริงแล้วเป็นอย่างไร โรคเซลิแอคในเด็ก คืออะไร? โรคเซลิแอค (Celiac disease) เป็นโรคภูมิต้านทานตนเองที่ร้ายแรง มีแนวโน้มสูงที่จะเกิดจากการสืบทอดทางพันธุกรรม ซึ่งเกิดจากการกินกลูเตน คือ โปรตีนที่พบในอาหารจำพวกแป้งหรือข้าว ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันเข้าไปโจมตีลำไส้เล็กจนเกิดความเสียหายของวิลลี่ (Villi) ในลำไส้เล็ก โดยวิลลี่ (Villi) มีหน้าที่ช่วยในการดูดซึมสารอาหาร เมื่อได้รับความเสียหายสารอาหารจะไม่สามรถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างเหมาะสม จนอาจนำไปสู่ภาวะทุพโภชนาการ สูญเสียความหนาแน่นของกระดูก การแท้งบุตร ภาวะมีบุตรยาก โรคระบบประสาท หรือแม้แต่โรคมะเร็งบางชนิด ในเด็กการดูดซึมที่ผิดปกติอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กได้ อาการ โรคเซลิแอคในเด็ก อาการของโรคเซลิแอค (Celiac disease) อาจแตกต่างกันระหว่างในเด็กและผู้ใหญ่ โดยอาการที่แสดงในเด็กจะมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาทางเดินอาหารมากกว่าผู้ใหญ่ ดังนี้ คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสียเรื้อรัง ท้องบวม ท้องผูก มีแก๊ส อุจจาระสีซีด มีกลิ่นเหม็น เมื่อร่างกายไม่สามารถดูดซับสารอาหารได้อาจส่งผลต่อ การเจริญเติบโตของทารก เคลือบฟันเสียหาย น้ำหนักลดลง โรคโลหิตจาง หงุดหงิดง่าย มีอาการทางระบบประสาท เช่น โรคสมาธิสั้น ความบกพร่องทางการเรียนรู้ ปวดหัว กล้ามเนื้อขาดการประสานงาน อาการชัก หากลูกของคุณมีอาการท้องร่วง รู้สึกไม่สบายท้อง เป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ควรรีบพบหมอทันที หรือถ้ามีอาการหงุดหงิดง่าย อุจจาระสีซีดมีกลิ่นเหม็น เจริญเติบโตช้าร่วมด้วยก็อย่านิ่งนอนใจเช่นเดียวกัน การรักษา โรคเซลิแอค (Celiac disease) มักรักษาด้วยการงดอาหารจำพวกที่มีกลูเตนเพื่อป้องกันความเสียหายของเยื่อบุลำไส้ เพราะกลูเตนจะส่งผลร้ายในระยะยาวให้กับร่างกายสำหรับผู้ที่เป็นโรคเซลิแอคในเด็ก อาการของลูกจะเริ่มดีขึ้นเมื่อคุณจัดการกับอาหารโดยไม่มีกลูเตนเป็นส่วนประกอบ แต่อาจต้องใช้ระยะเวลาถึง 2 ปีกว่าที่ระบบย่อยอาหารจะกลับมาเป็นปกติ […]


โภชนาการสำหรับทารก

โภชนาการสำหรับทารก ในช่วงวัย 6 เดือนแรก ที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ

สำหรับทารกในช่วงวัย 6 เดือนแรก อาจต้องได้รับสารอาหารเป็นพิเศษ เพื่อช่วยเสริมสร้างร่างกายให้พวกเขามีภูมิต้านทานและสุขภาพที่แข็งแรงมากขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ จึงนำข้อมูลเกี่ยวกับ โภชนาการสำหรับทารก ในช่วง 6 เดือนแรก เพื่อเป็นตัวช่วยสำหรับคุณพ่อคุณแม่ ในการดูแลลูกน้อยให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน [embed-health-tool-vaccination-tool] ทารกช่วง 6 เดือนแรก ควรได้รับอาหารรูปแบบใด หากลูกรักของคุณอยู่ในช่วง 1-3 เดือนแรก ควรต้องได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียว เพราะภายในนมแม่นั้นจะมีสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของทารก แต่หากคุณแม่ไม่มีน้ำนมเพียงพอ อาจให้ลูกกินนมผงที่มีสูตรเสริมธาตุเหล็ก วิตามินดีหรือสารอาหารอื่นๆเข้ามาช่วย ครั้งละ 4-5 ออนซ์ โดยต้องผ่านการพิจารณาจากแพทย์ร่วมด้วย เพราะเนื่องจากสุขภาพทารกนั้นมีข้อจำกัด หรือเงื่อนไขของสุขภาพแตกต่างกัน แต่สำหรับทารกช่วง 4-6 เดือน นอกจากการให้น้ำนมแม่และนมผงแล้ว อาจจะเริ่มฝึกให้ลูกรับประทานอาหารแข็งร่วมด้วยเช่น ซีเรียล ผัก ผลไม้บดละเอียด เนื้อสัตว์ต้มเปื่อย ไข่ต้มสุกสนิทโดยเริ่มจากไข่แดงก่อน ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนประกอบของถั่วหรือน้ำผึ้ง เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กได้ โภชนาการสำหรับทารก ช่วง 6 เดือนแรก โภชนาการ หรือสารอาหารที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตให้แก่ลูกรักของคุณนอกเหนือจากการให้รับประทานแต่นมผง มีดังต่อไปนี้ แคลเซียม : ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูก และฟัน โฟเลต : เป็นสารสำคัญที่่วยในกระบวนการแบ่งตัวของเซลล์ โปรตีน […]


ช่วงเวลาสำคัญและพัฒนาการวัยรุ่น

3 การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น ที่พ่อแม่ควรใส่ใจ

การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น มักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกาย อารมณ์ และสังคม เด็กเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นตั้งแต่อายุ 13-18 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจและให้ความสำคัญ เพราะการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด เช่น สูงขึ้นหลายเซนติเมตรในเวลาไม่กี่เดือน เริ่มมีความสนใจเรื่องเพศมากขึ้น อาจทำให้วัยรุ่นไม่แน่ใจว่าจะต้องรับมืออย่างไรและอาจต้องขอคำปรึกษาจากคุณพ่อคุณแม่ [embed-health-tool-bmr] การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น  ช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดทั้งทางร่างกาย อารมณ์ และสังคม และการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่นมักเกิดขึ้นแบบก้าวกระโดด ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตทางร่างกาย เช่น ความสูงที่อาจเพิ่มขึ้นได้หลายเซนติเมตรในเวลาไม่กี่เดือน หรืออาจเริ่มมีความสนใจเรื่องเพศมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น ในแต่ละด้าน มีดังนี้ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ผู้หญิงมักมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายก่อนผู้ชาย บางคนอาจเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงร่างกายตั้งแต่อายุ 8 ขวบ โดยการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของวัยรุ่นหญิงที่พบได้ เช่น เต้านมเริ่มขยาย รูปร่างและส่วนสูงเปลี่ยนแปลง อวัยวะเพศเปลี่ยนแปลงหรือเจริญเติบโตขึ้น เริ่มมีขนรักแร้และขนตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น อวัยวะเพศ ส่วนใหญ่จะเริ่มมีประจำเดือนตั้งแต่อายุ 10-16 ปี ผู้ชายมักเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายตั้งแต่อายุ 11-12 ปี หรือบางคนอาจมีการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตเห็นได้ในช่วงอายุ 9-14 ปี โดยการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของวัยรุ่นชายที่พบได้ เช่น องคชาตและอัณฑะเจริญเติบโตขึ้น รูปร่างและส่วนสูงเปลี่ยนแปลง เริ่มมีความรู้สึกทางเพศมากขึ้น อวัยวะเพศแข็งตัวบ่อยและอาจมีฝันเปียก มีมวลกล้ามเนื้อมากขึ้น และใบหน้าเริ่มเปลี่ยนแปลง บางคนเริ่มมีเสียงแตกหนุ่ม เริ่มมีขนรักแร้และขนตามอวัยวะต่าง […]


สุขภาพจิตวัยรุ่น

5 ปัญหาสุขภาพจิตของวัยรุ่น ที่ควรเฝ้าระวัง ก่อนนำไปสู่เหตุการณ์รุนแรง

ปัญหาสุขภาพจิตของวัยรุ่น ที่พบเจอส่วนใหญ่มักมาจากสภาพแวดล้อมรอบด้านพวกเขา จนทำให้ลูกรักมักเผชิญกับสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึก และอารมณ์ หากคนในครอบครัวไม่รู้จักสังเกตการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จากที่เด็ก ๆ เลือกจะเก็บไว้ภายในจิตใจ อาจนำมาสู่การแสดงออกในรูปแบบเหตุการณ์รุนแรงก็เป็นได้ สัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพจิต ที่ผู้ปกครองควรสังเกต หากเป็นอาการแรกเริ่มลูกรักของคุณอาจปวดศีรษะบ่อย นอนหลับยาก พร้อมน้ำหนักที่ลดลง แต่กรณีเมื่อสภาวะจิตใจของพวกเขาย่ำแย่ลง คุณพ่อคุณแม่ทุกควรควรสังเกตถึงสัญญาณเตือนจากปฏิกิริยาต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไปของลูกรัก ดังต่อไปนี้ ความโศกเศร้าต่อเนื่องเป็นเวลามากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย และรุนแรง รับประทานอาหารได้น้อยลง ไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรมใด ๆ หาที่ระบายด้วยการทำร้ายตัวเอง หรือใช้สารเคมีผิดกฎหมายเข้ามาช่วยคลายความเครียด อยากอยู่คนเดียว เลี่ยงการเจอกับผู้คนรอบข้าง บางครั้งอาจมีการพูดถึงความตาย ผลการเรียนไปในเชิงลบ หรือมีการขาดเรียน โดดเรียนบ่อยครั้ง เป็นต้น แน่นอนว่าเมื่อสัญญาณเตือนข้างต้นปรากฏขึ้น คุณควรพาเข้ารับขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเภททันที เนื่องจากแพทย์อาจมีหลักจิตวิทยา และทักษะการสื่อสารที่อาจทำให้เด็กช่วงวัยรุ่นนี้เข้าใจได้ง่ายขึ้น เพราะเด็กที่เข้าสู่ช่วงวัยรุ่น บางคนอาจไม่มีความกล้าพอที่จะพูดคุยกับคนในครอบครัวได้อย่างเปิดเผย 5 ปัญหาสุขภาพจิตของวัยรุ่น มีอะไรบ้าง เมื่อปัญหาต่าง ๆ รุมเร้าเกินกว่าที่จิตใจของพวกเขาจะรับไหว อาจทำให้เด็ก ๆ นั้นเผชิญกับโรคที่เกี่ยวข้องกับ สุขภาพจิต โดยไม่รู้ตัว ดังนี้ 1. โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) โรควิตกกังวล คือความวิตกกังวลที่มากจนเกินไปของผู้ป่วย และมาจากปัจจัยหลาย ๆ ทาง เช่น สถานการณ์แต่ละวันในสังคม เหตุการณ์รุนแรงที่ฝังอยู่ในความทรงจำตั้งแต่อดีต ที่อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการตื่นตระหนก หวาดระแวง และตึงเครียดตลอดเวลา 2. […]


ช่วงเวลาสำคัญและพัฒนาการวัยรุ่น

ช่วงเวลาสำคัญและพัฒนาการวัยรุ่น ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

ช่วงเวลาสำคัญและพัฒนาการวัยรุ่น ในช่วงอายุ 12-17 ปี มักมีความแตกต่างกันออกไปตามสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน รวมถึงการเลี้ยงดูของคนในครอบครัว ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการวัยรุ่น เพื่อนำไปใช้ในการฝึกฝนและกระตุ้นพัฒนาการของวัยรุ่น เพื่อให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพ [embed-health-tool-bmi] ช่วงเวลาสำคัญและพัฒนาการวัยรุ่น เปลี่ยนไปอย่างไร คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็นว่า เมื่อเด็กกำลังเข้าสู่ช่วงของวัยรุ่น ก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างตามมา ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการและการใช้ชีวิต ที่อาจส่งผลต่อการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต โดยการเปลี่ยนแปลงเบื้องต้นที่อาจเกิดขึ้นกับวัยรุ่นในช่วงอายุต่าง ๆ อาจมีดังนี้ พัฒนาการวัยรุ่น อายุ 12-14 ปี เด็กวัยรุ่นในช่วงอายุ 12-14 ปี เป็นช่วงที่กำลังเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น มักเริ่มจดจ่ออยู่กับการค้นหาในสิ่งที่ตัวเองชอบ รักอิสระ อยากดูแลตัวเองให้มากขึ้นเพื่อเข้าสู่สังคม เช่น การเลือกเสื้อผ้า จัดทรงผม รวมถึงเริ่มมีอารมณ์ที่แปรปรวนต่างจากกับช่วงวัยเด็ก พร้อมทั้งมีกระบวนการคิดที่ค่อนข้างซับซ้อน และเริ่มแสดงความรู้สึกออกมาให้คุณพ่อคุณแม่หรือคนรอบตัวได้ทราบว่า พวกเขากำลังมีความคิด และความรู้สึกอย่างไรต่อเหตุการณ์นั้น ๆ เนื่องจากเด็กช่วงวัยรุ่น อาจถูกชักจูงไปในทางที่ไม่ดีได้ง่าย เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สารเสพติด หากเข้าไปอยู่ในกลุ่มสังคมใหม่ ๆ ในเชิงลบ เพราะพวกเขาอาจต้องการเป็นที่ยอมรับในคนหมู่มาก แต่กลับกันเมื่อพวกเขาเข้าไปอยู่สภาพแวดล้อมที่ดี หรือได้รับการเลี้ยงดูอย่างเอาใจใส่จากคนในครอบครัว เด็กก็อาจมีแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตตามต้นแบบที่พวกเขาอยากจะเป็นในอนาคต เช่น สนใจเล่นกีฬา เพื่ออยากเป็นนักกีฬามืออาชีพ พัฒนาการวัยรุ่น อายุ 15-17 ปี เด็กวัยรุ่นช่วงอายุ 15-18 ปี […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

วัคซีนสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนด ที่ควรได้รับ

เนื่องจากร่างกายของทารกคลอดก่อนกำหนด อาจยังทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เมื่อเวลาผ่านไปจึงอาจก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้ในอนาคต ดังนั้น การฉีดวัคซีนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทารกควรได้รับตามเกณฑ์การพิจารณาจากทางแพทย์ โดย วัคซีนสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนด นั้น มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนที่ทารกควรได้รับ เพื่อเข้ารับการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์ [embed-health-tool-vaccination-tool] วัคซีนสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนด มีอะไรบ้าง เนื่องจากร่างกายของทารกคลอดก่อนกำหนด อาจยังทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เมื่อเวลาผ่านไปจึงอาจก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้ในอนาคต ดังนั้น การฉีดวัคซีนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทารกควรได้รับตามเกณฑ์การพิจารณาจากทางแพทย์ โดย วัคซีนสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนด อาจมีดังนี้ วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนชนิดนี้ คุณหมออาจจำเป็นต้องตรวจร่างกายคุณแม่ร่วมด้วยว่ามีแอนติเจนที่เป็นลบหรือเป็นบวก หากเป็นทารกคลอดก่อนกำหนด โดยคุณแม่ที่มีแอนติเจนลบ อาจจำต้องรอให้ทารกมีน้ำหนักมากกว่า 2,000 กรัมเสียก่อน เนื่องจากร่างกายอาจไม่สามารถตอบสนองต่อวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีได้เพียงพอ ในกรณีที่ทารกคลอดก่อนกำหนด โดยคุณแม่ที่มีแอนติเจนบวก อาจเข้ารับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีชนิดโมโนวาเลน (Monovalent) ได้ภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอด แต่หากทารกที่คลอดก่อนกำหนดมีน้ำหนัก 2,000 กรัม อาจได้รับวัคซีน 3 โดส ตั้งแต่แรกเกิด วัคซีนป้องกันโรคปอดบวม การคลอดก่อนกำหนดอาจทำให้ทารกมีความเสี่ยงในการเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพปอดได้ เช่น โรคปอดบวม โดยส่วนใหญ่คุณหมออาจกำหนดให้ทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีอายุ 2 เดือนขึ้นไปได้รับวัคซีนนี้ แม้ว่าทารกจะยังรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล วัคซีนไวรัสโรต้า วัคซีนไวรัสโรต้าเป็นวัคซีนชนิดรับประทานที่ค่อนข้างมีความปลอดภัยสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีสุขภาพโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับที่ดีจากการประเมินของคุณหมอ โดยสามารถรับได้ตั้งแต่ทารกอายุ […]


ทารกคลอดก่อนกำหนด

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ ทารกคลอดก่อนกำหนด ที่คุณพ่อคุณแม่ควรทราบ

ทารกคลอดก่อนกำหนด เป็นหมายถึงการที่คุณแม่คลอดลูกในช่วงก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ โดยอาจมีสาเหตุมาจากหลากหลายปัจจัยด้วยกัน วันนี้ Hello คุณหมอ จะพามารู้จักกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ ทารกคลอดก่อนกำหนด ทั้งปัจจัยเสี่ยง ลักษณะ และการดูแลลูกน้อยเบื้องต้น เพื่อให้ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเตรียมพร้อมรับมือได้อย่างถูกต้อง [embed-health-tool-vaccination-tool] ปัจจัยเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยงป้องกัน ทารกคลอดก่อนกำหนด ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้ทารก คลอดก่อนกำหนด บางปัจจัย คุณแม่ตั้งครรภ์ก็อาจสามารถทำการหลีกเลี่ยงได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการ คลอดก่อนกำหนด เช่น ลดระดับความเครียด การหยุดสูบบุหรี่ และการใช้ยาที่ไม่ได้รับอนุญาตจากแพทย์ แต่สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสภาวะสุขภาพต่าง ๆ อาจค่อนข้างหลีกเลี่ยงได้ยาก เช่น การติดเชื้อบางชนิด บริเวณช่องคลอด ปัญหาเกี่ยวกับมดลูก ภาวะความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน อุบัติเหตุ ภาวะครรภ์เป็นพิษ น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ โดยอาจมาจากพันธุกรรม หรือพฤติกรรมส่วนตัว ก่อนการตั้งครรภ์ ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ยังสามารถส่งผลต่อพัฒนาการของทารก ทำให้ทารกมีพัฒนาการที่ล่าช้าหรือบกพร่อง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านการมองเห็น การรับรู้การเข้าใจ ปัญหาการได้ยิน คุณแม่จึงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอยู่เสมอทั้งช่วงการวางแผนก่อนการตั้งครรภ์ และระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อช่วยป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้ คลอดก่อนกำหนด เหล่านี้ ลักษณะของทารกคลอดก่อนกำหนด ที่ควรสังเกต เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เผชิญกับเหตุฉุกเฉินด้านสุขภาพที่จำเป็นต้อง คลอดก่อนกำหนด ก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบบางอย่างกับลูกน้อยทั้งในระดับต่ำ จนถึงขั้นรุนแรง ได้ดังนี้ ลักษณะของทารก คลอดก่อนกำหนด ที่พบเจอได้บ่อย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน