พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

ไหลตายในเด็กทารก หรือ SIDS (Sudden Infant Death Syndrome)

โรค ไหลตายในเด็กทารก (Sudden Infant Death Syndrome หรือ SIDS) ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดในเด็กอายุ 1 เดือน ถึง 1 ปี เป็นการเสียชีวิตของเด็กทารกอย่างกะทันหัน โดยไม่สามารถอธิบายถึงสาเหตุการเสียชีวิตได้ แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากความบกพร่องทางสมองในส่วนควบคุมการหายใจ ไม่สามารถรักษาหรือป้องกันได้ แต่อาจใช้วิธีดูแลอย่างใกล้ชิดในช่วงขวบปีแรกและพยายามให้ลูกนอนหงายหรือนอนตะแคงมากกว่านอนคว่ำ [embed-health-tool-”vaccination-tool”] คำจำกัดความไหลตายในเด็กทารก คืออะไร โรค ไหลตายในเด็กทารก (Sudden Infant Death Syndrome หรือ SIDS) เป็นกลุ่มอาการเสียชีวิตอย่างกะทันหันในเด็กทารกที่มีสุขภาพดีโดยไม่มีคำอธิบายถึงสาเหตุการเสียชีวิต แม้แพทย์จะตรวจสอบอย่างละเอียดแล้วก็อาจไม่พบสาเหตุของการเสียชีวิต แม้จะยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่ โรคไหลตายในทารก นั้นมีความเกี่ยวข้องกับความบกพร่องของสมองทารกในส่วนที่ควบคุมการหายใจและการตื่นตัวจากการนอนหลับ พบได้บ่อยเพียงใด โรคไหลตายในทารก ถือเป็นโรคที่พบได้ยาก แต่ถือว่าเป็นโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบได้บ่อยที่สุดสำหรับเด็กในช่วงอายุ 1 เดือน ถึง 1 ปี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดในช่วงอายุระหว่าง 2-4 เดือน อาการอาการของโรค ไหลตายในเด็กทารก โรคไหลตายในทารก ไม่มีอาการที่สามารถสังเกตเห็นได้ มักเกิดขึ้นอย่างกะทันหันในทารกที่ดูจะเหมือนแข็งแรงดี ควรไปพบหมอเมื่อใด โรคไหลตายในทารก มักจะไม่มีอาการที่สามารถสังเกตเห็นหรือมีสัญญาณเตือนใด ๆ ที่ควรต้องไปพบคุณหมอ สาเหตุของโรคสาเหตุของโรค ไหลตายในเด็กทารก โรคไหลตายในทารก เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่มีสาเหตุบางประการที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบ โดยสาเหตุที่เป็นไปได้ของโรคสามารถแบ่งได้เป็น 2 ปัจจัย […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

ภาวะเท้าบิดเข้าด้านใน ปัญหาสุขภาพลูกน้อยที่ไม่ควรมองข้าม

ภาวะเท้าบิดเข้าด้านใน (Pigeon Toes) เป็นปัญหาสุขภาพที่มักพบบ่อยในเด็กตั้งแต่ช่วงวัยทารกจนถึงอายุ 10 ปี มีสาเหตุเกิดจากการขดตัวอยู่ในครรภ์มารดาซึ่งอาจมีพื้นที่คับแคบจนทำให้เกิดการหักปลายเท้าเข้า หรืออาจเกิดจากการบิดตัวของกระดูกในวัยหัดเดิน คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตท่าทางและอวัยวะต่าง ๆ ของลูกน้อยนับแต่แรกเกิดเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ภาวะเท้าบิดเข้าด้านใน คืออะไร ภาวะเท้าบิดเข้าด้านใน พบได้บ่อยในเด็กตั้งแต่ช่วงวัยทารก จนถึง 10 ขวบ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ปัจจัยหลัก ได้แก่ การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ที่อยู่ในมดลูกซึ่งมีพื้นที่คับแคบ จึงทำให้เด็กเกิดการหักปลายเท้าเข้า หรือเกิดจากการบิดตัวของบริเวณกระดูกหน้าแข้งในช่วงวัยกำลังหัดเดินจนทำให้ทรงตัวไม่อยู่ และล้มง่ายในขณะยืน หรือเดิน นอกจากนี้ อาจเกิดได้จากการที่ครอบครัวเคยมีประวัติของภาวะเท้าบิดเข้าด้านในมาจากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง  ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ก็สามารถเป็นไปได้ว่าเด็กนั้นจะถูกส่งต่อของภาวะดังกล่าวมาจากทางพันธุกรรมถึงพัฒนาการสุขภาพกระดูก และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อความผิดปกติของรูปลักษณ์เท้าและขาได้ อาการของ ภาวะเท้าบิดเข้าด้านใน อาการที่เกิดขึ้นกับเด็กแต่ละคนมักแตกต่างกันออกไป ในกรณีที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยทารกที่อยู่ในครรภ์ คุณแม่สามารถสังเกตได้จากรูปเท้าที่บิดเบี้ยวเข้าหากันจากการสัมผัสบริเวณผิวหน้าท้อง แต่หากคุณแม่มีข้อกังวล และไม่แน่ใจ ก็อาจสามารถเข้ารับการอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) ตามการนัดหมายจากแพทย์เพิ่มเติมได้ อีกทั้งกรณีที่ทารกเติบโตขึ้นเข้าสู่ช่วงวัยกำลังหัดเดิน คุณแม่อาจตรวจสอบลักษณะของเท้า หรือหน้าแข้งขณะเดิน โดยมักจะมีลักษณะเท้าทั้งสองข้างที่บิดเข้าหากัน และมักจะเห็นได้ชัดเจนขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 3-6 ขวบ การรักษาภาวะเท้าบิดเข้าด้านใน ภาวะเท้าบิดเข้าด้านในอาจหายไปเองได้ในกรณีที่ไม่รุนแรงมากนัก แต่หากมีลักษณะที่บิดเข้าด้านในมากจนเห็นได้ชัด หรือทรงตัวไม่อยู่ขณะเดินบ่อยครั้ง […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

ลูกอาละวาด เกิดจากอะไร คุณพ่อคุณแม่ควรรับมืออย่างไร

ลูกอาละวาด หรือร้องงอแง ถือเป็นพฤติกรรมที่พบได้ทั่วไปของเด็กวัยเตาะแตะ หรือเด็กอายุ 1-3 ปี แต่ถึงอย่างนั้น คุณพ่อคุณแม่ก็ควรรับมือกับพฤติกรรมนี้ของลูกให้ถูกวิธี เพราะอาจส่งผลต่อการแสดงอารมณ์ของเด็กเมื่อเขาโตขึ้นได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกอาละวาด เกิดจากอะไร การร้องอาละวาด (Temper tantrums) ของเด็กนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การร้องสะอื้นเบา ๆ การร้องไห้แบบโวยวาย การเตะต่อย ไปจนถึงการร้องกลั้นหายใจ ซึ่งเป็นการร้องไห้อย่างรุนแรงและกลั้นหายใจตอนหายใจออก จนทำให้ขาดออกซิเจนและส่งผลต่ออวัยวะหลายส่วนในร่างกายได้ โดยพฤติกรรมร้องอาละวาดของเด็กสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย ส่วนใหญ่มักพบในเด็กวัยเตาะแตะ (อายุ 1-3 ปี) การร้องอาละวาดถือเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการเด็ก เด็กบางคนอาจร้องอาละวาดบ่อย ๆ ในขณะที่บางคนก็แทบจะไม่แสดงพฤติกรรมนี้เลย โดยปกติแล้ว เด็กจะร้องอาละวาดเมื่อพวกเขาเกิดความรู้สึก หรืออยู่ในสถานการณ์เหล่านี้ พื้นฐานอารมณ์ (Temperament) หมายถึง ความโน้มเอียงทางอารมณ์ของเด็กแต่ละคน ที่ส่งผลให้เด็กแสดงออกหรือตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมต่างกันไป เช่น เด็กที่โมโหง่าย อาจแสดงพฤติกรรมร้องอาละวาดเวลาที่เผชิญเหตุการณ์ไม่ได้ดังใจบ่อยกว่าเด็กที่อารมณ์ดี สภาวะทางอารมณ์ด้านลบ เช่น โกรธ หงุดหงิด เครียด เหนื่อย โมโหหิว กลัว วิตกกังวล เมื่อเด็กไม่รู้จะรับมือกับอารมณ์ดังกล่าวอย่างไร ก็อาจแสดงออกด้วยการร้องอาละวาดได้ สถานการณ์ที่รับมือไม่ได้ เช่น เวลาคุณพ่อคุณแม่หยิบของเล่นของลูกไป ลูกไม่รู้จะทำยังไง ก็เลยแสดงออกด้วยการร้องไห้อาละวาด […]


สุขภาพวัยรุ่น

อาหารว่างสำหรับวัยรุ่น แบบไหนถึงจะดีต่อสุขภาพ

วัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องการสารอาหารไปพัฒนาร่างกายให้เจริญเติบโตอย่างสมวัย ดังนั้น การเลือกอาหารว่างสำหรับวัยรุ่นให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการและการเจริญเติบโตให้สมบูรณ์สมวัย และอาจช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจตามมาในภายหลัง [embed-health-tool-bmi] อาหารว่างสำหรับวัยรุ่น ที่กินแล้วดีต่อสุขภาพ ผลไม้สด ผลไม้สดส่วนใหญ่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ และมีคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงาน ทำให้วัยรุ่นมีพลังในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของเขา โดยผลไม้ที่เหมาะเป็นอาหารว่างสำหรับวัยรุ่น เช่น แอปเปิ้ล กล้วย ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ลูกแพร์ ลูกพีช เสาวรส และอย่าลืมให้เขากินผลไม้หลากหลาย จะได้ได้รับสารอาหารหลายชนิดตามไปด้วย ป๊อปคอร์น ป๊อปคอร์นมีไฟเบอร์สูง แต่หากเป็นป๊อปคอร์นกึ่งสำเร็จรูป หรือป๊อปคอร์นที่ขายอยู่ทั่วไป ก็อาจมีโซเดียม (Sodium) ไขมัน หรือน้ำตาลสูง ทางที่ดี คุณจึงควรทำป๊อปคอร์นเอง หรือหากไม่สะดวก ก็ให้เลือกป๊อปคอร์นกึ่งสำเร็จรูปที่มีไขมันและโซเดียมน้อย และควรหลีกเลี่ยงป๊อปคอร์นชนิดที่เคลือบคาราเมล คุณสามารถเติมโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพ เช่น เม็ดมะม่วงหิมพานต์ อัลมอนด์ ชีส ลงในป๊อปคอร์นได้ด้วย โปรตีนเหล่านี้นอกจากจะทำให้วัยรุ่นได้สารอาหารครบถ้วนขึ้น และช่วยให้อยู่ท้องนานขึ้นแล้ว ยังเป็นการเพิ่มรสชาติ และรสสัมผัส ทำให้เขาไม่เบื่อป๊อปคอร์นแบบปกติด้วย สมูทตี้ สมูทตี้ผลไม้ถือเป็นอาหารว่างสำหรับวัยรุ่นอีกหนึ่งอย่างที่ทำง่ายมาก ๆ แถมยังสามารถดัดแปลงส่วนผสมและรสชาติตามต้องการได้ด้วย สูตรสมูทตี้ที่เหมาะกับวัยรุ่น เช่น สมูทตี้กล้วยหอมบลูเบอร์รี่ สมูทตี้ควินัว สมูทตี้ดาร์กช็อกโกแลตกับเชอรี่ สมูทตี้กล้วยหอมเนยถั่วและดาร์กช็อกโกแลต เพราะสมูทตี้สูตรต่าง ๆ เหล่านี้ นอกจากจะอร่อยแล้วยังให้พลังงานและสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อวัยรุ่นมากด้วย แซนวิชเนยถั่ว วัยรุ่นส่วนใหญ่ชอบกินขนมอบ หรือเบเกอรี่ เช่น เค้ก […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

วิธีพัฒนาสมองเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้

สมองของเด็กมีการพัฒนาตั้งแต่ยังเป็นทารกในครรภ์จนกระทั่งเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ตอนต้น ซึ่งกิจกรรมในแต่ละวันของเด็กอาจช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสมองของเด็กได้เป็นอย่างดี วิธีพัฒนาสมองเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ทำได้ง่าย ๆ เช่น การพาเด็กออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน ชวนอ่านหนังสือหรืออ่านหนังสือให้ฟัง ชวนเด็กร้องเพลง การทำกิจกรรมเหล่านี้เป็นประจำอาจช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางสมอง รวมถึงพัฒนาการด้านอื่น ๆ ที่ดีและเติบโตสมวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] วิธีพัฒนาสมองเด็ก วิธีพัฒนาสมองเด็ก ง่าย ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ทำได้ อาจมีดังนี้ ให้เด็กกินนมแม่ การให้เด็กกินนมแม่ เป็นวิธีพัฒนาสมองเด็กที่ทำได้ง่ายมาก เวลาที่ให้เด็กกินนมจากเต้า เด็กจะโฟกัสที่ใบหน้าของคุณแม่ตลอดเวลา อีกทั้งหากคุณแม่กับเด็กยังได้มีปฏิสัมพันธ์กันผ่านการแสดงสีหน้าท่าทาง ก็อาจช่วยให้เด็กได้เรียนรู้พื้นฐานในการสื่อสารกับผู้อื่นไปในตัว หากให้เด็กกินนมจากขวด ไม่ได้ให้กินนมจากเต้า เวลาป้อนนม แนะนำให้อุ้มเด็กให้อยู่ในระดับอกเพื่อที่จะให้เด็กสามารถโฟกัสที่ใบหน้าของคุณแม่ได้ ใช้เวลาอาบน้ำเป็นเวลาในการเรียนรู้ ช่วงอาบน้ำ ถือเป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาโปรดของเด็ก ๆ เพราะเด็กส่วนใหญ่ชอบเล่นน้ำ คุณพ่อคุณแม่จึงควรใช้ช่วงเวลานี้ให้เป็นประโยชน์ เช่น ชวนเด็กร้องเพลง เพื่อให้เด็กได้พัฒนาทักษะด้านภาษาและการพูด มีภาชนะไว้ให้เด็กตักน้ำเล่น กิจกรรมนี้อาจช่วยให้เด็กเล็กได้ฝึกทักษะการหยิบจับ และหากเป็นเด็กที่โตขึ้นมาหน่อยก็อาจให้เริ่มเรียนรู้เรื่องคณิตศาสตร์ เช่น ปริมาตรน้ำ แบบง่าย ๆ หรือสอนกฎวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เช่น กฎแรงโน้มถ่วง ได้ด้วย พาเด็กไปซื้อของ เวลาพาเด็กไปซื้อของ คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจให้เด็กนั่งในรถเข็นพร้อมให้ดูคลิปในมือถือ เพื่อกันไม่ให้เด็กงอแง แต่หากเปลี่ยนจากการให้เด็กอยู่กับมือถือ มาเป็นการพัฒนาประสาทสัมผัสของเด็ก ด้วยการให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรง ขนาด หรือกลิ่นของสิ่งต่าง ๆ เช่น ให้ลองจับผลกีวีกับส้ม แล้วสอนให้รู้ว่าผลไม้ 2 […]


สุขภาพเด็ก

ภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด อาการ สาเหตุ และการรักษา

ภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด (Gastroschisis) เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิดของผนังหน้าท้องในช่องท้องที่ปิดไม่สนิทในทารกแรกคลอด ทำให้ลำไส้ของทารกออกมาอยู่นอกช่องท้องและอาจส่งผลให้อวัยวะอื่น ๆ หลุดออกมาด้วย ภาวะนี้ต้องได้รับการรักษาทันที เพราะอาจอันตรายถึงชีวิตได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] คำจำกัดความ ภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด คืออะไร ภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด (Gastroschisis) เกิดจากความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดของผนังหน้าท้องในช่องท้องที่ปิดไม่สนิทในทารกแรกคลอด ทำให้ลำไส้ของทารกออกมาอยู่นอกช่องท้องและอาจส่งผลให้อวัยวะอื่น ๆ หลุดออกมาด้วย ภาวะนี้ต้องได้รับการรักษาทันทีหลังคลอด เนื่องจากอาจอันตรายถึงชีวิต ภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิดพบได้บ่อยเพียงใด ภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิดพบได้บ่อยในทารกแรกคลอด อาการ อาการของภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด ทารกที่อยู่ในภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด อาจสูญเสียความร้อนและน้ำอย่างรวดเร็วจากลำไส้ ส่งผลให้ทารกมีภาวะขาดน้ำและภาวะตัวเย็นเกิน นอกจากนี้ อวัยวะอื่น ๆ อาจยื่นออกมาพร้อมกับลำไส้ เช่น ถุงน้ำดี มดลูก รังไข่ กระเพาะปัสสาวะ อัณฑะ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุ สาเหตุของภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด ในปัจจุบันยังไม่สามารถพบสาเหตุที่แน่ชัดของภาวะลำไส้ทารกอยู่นอกช่องท้อง แต่อาจเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมกันร่วมกับปัจจัยสภาพแวดล้อม  ปัจจัยเสี่ยงของภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด ปัจจัยเสี่ยงของภาวะลำไส้ทารกอยู่นอกช่องท้อ อาจมีดังนี้ อายุต่ำกว่า 20 ปี สูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์ ดื่มเครื่องแอลกอฮลล์ การวินิจฉัยและการรักษา ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด โดยปกติอาการจะไม่แสดงออกขณะตั้งครรภ์ แต่ในระหว่างการตั้งครรภ์คุณหมออาจสันนิษฐานโรคได้จากการตรวจวัดระดับโปรตีน ที่มีชื่อเรียกว่า อัลฟาฟีโตโปรตีน (Alpha-Fetoprotein หรือ AFP) หากมีระดับโปรตีนสูงกว่าปกติอาจทำให้ทารกเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด การรักษาภาวะหน้าท้องไม่ปิดแต่กำเนิด คุณหมออาจใช้วิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับทารก ในกรณีที่ทารกมีช่องโหว่บริเวณหน้าท้องขนาดเล็ก คุณหมอจะทำการผ่าตัดเพื่อนำอวัยวะที่ออกมานอกลำไส้กลับเข้าไปสู่ภายช่องท้องในทารก หากทารกมีช่องโหว่ขนาดใหญ่ คุณหมออาจนำ ไซโล ซึ่งเป็นพลาสติกที่ทำขึ้นพิเศษ […]


วัคซีน

ตารางการให้วัคซีนในเด็ก กับสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

ตารางการให้วัคซีนในเด็ก อาจแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละประเทศเกี่ยวกับอุบัติการณ์โรค ความรุนแรงของโรค ประสิทธิภาพของวัคซีน ราคาของวัคซีน และสถานการณ์โดยรวมของวัคซีนในประเทศ ซึ่งตารางการให้วัคซีนในเด็กของประเทศไทยนั้นจะถูกกำหนดโดยกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นวัคซีนขึ้นพื้นฐานที่เด็กไทยควรได้รับเอาไว้ โดยจะเน้นในเรื่องของวัคซีนป้องกันโรคที่เป็นปัญหาสำคัญ ตารางฉีดวัคซีนสำหรับเด็ก ในขณะที่องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration หรือ FDA) ตัดสินใจว่า จะจำหน่ายวัคซีนในสหรัฐอเมริกาหรือไม่ ทางอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (Advisory Committee on Immunization Practice หรือ ACIP) จึงทำหน้าที่ในการให้คำแนะนำว่าควรให้วัคซีนชนิดใดและเมื่อไหร่ ซึ่งคำแนะนำเหล่านี้ถูกทางหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention หรือ CDC) สมาคมกุมารแพทย์แห่งอเมริกา (American Academy of Pediatrics; AAP) และทีมแพทย์ทั่วประเทศ นำมาใช้ในภายหลัง เพื่อใช้ในการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะเด็ก ๆ อนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขและการแพทย์ ประกอบด้วย กลุ่มสมาชิกที่ลงคะแนน 15 คน ซึ่งได้รับเลือกจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์แห่งสหรัฐอเมริกา (United […]


วัคซีน

วัคซีนโควิด-19 ฉีดให้เด็กทารกกับเด็กเล็กได้หรือไม่

วัคซีนโควิด-19 สามารถฉีดให้เด็กทารกกับเด็กเล็กได้หรือไม่ อาจเป็นคำถามที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนสงสัย เนื่องจาก ปัจจุบันสถานการณ์โควิด-19 ยังเป็นเรื่องที่น่ากังวลใจ อย่างไรก็ตาม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในประเทศไทย ได้อนุญาตให้มีการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ในเด็กอายุ 5-11 ปี และอาจฉีดวัคซีนกระตุ้นได้เมื่อเด็กมีอายุ 12 ปีขึ้นไป ส่วนวัคซีนโควิด-19 สำหรับเด็กที่มีอายุ 6 เดือนขึ้นไปและต่ำกว่า 5 ปี ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม ความเสี่ยงในการเกิดโรคโควิด-19 ในเด็ก โดยปกติแล้ว เด็กอาจมีความเสี่ยงในการเกิดโรคโควิด-19 ในระดับรุนแรงน้อยกว่าผู้ใหญ่ เด็กที่ป่วยเป็นโควิด-19 มักมีอาการอย่างอ่อน หรือไม่แสดงอาการเลย และบางรายอาจมีภาวะที่เรียกว่า กลุ่มอาการอักเสบของอวัยวะหลายระบบ (Multisystem Inflammatory Syndrome หรือ MIS) ที่ทำให้มีไข้ เกิดการอักเสบในอวัยวะหลายส่วน และทำให้อวัยวะล้มเหลวได้ในที่สุด แต่ก็ถือเป็นกรณีที่พบได้ยาก วัคซีนโควิด-19 กับทารกและเด็กเล็ก นักวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริการะบุว่า ระบบภูมิคุ้มกันของเด็กต่างจากของผู้ใหญ่มาก ฉะนั้น จึงต้องมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 ในเด็กเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นด้านความแรงของวัคซีน ขนาดการให้วัคซีน และระยะในการให้วัคซีน ดังนั้น อาจจะยังไม่เหมาะที่จะฉีดวัคซีนโคิด-19 ให้กับเด็กที่มีอายุ 6 เดือนขึ้นไปและต่ำกว่า 5 ปี […]


สุขภาพเด็ก

กลุ่มอาการเร็ทท์ คืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษา

กลุ่มอาการเร็ทท์ (Rett Syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่พบได้ยาก เกิดจากความผิดปกติทางระบบประสาทและพัฒนาการทางพันธุกรรม ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยมีพัฒนาการเจริญเติบโตช้าผิดปกติ มีปัญหาทางทักษะด้านการเคลื่อนไหว และการพูด เป็นต้น คำจำกัดความกลุ่มอาการเร็ทท์ คืออะไร กลุ่มอาการเร็ทท์ (Rett Syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่พบได้ยาก เกิดจากความผิดปกติทางระบบประสาทและพัฒนาการทางพันธุกรรม ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยมีพัฒนาการเจริญเติบโตช้าผิดปกติ มีปัญหาทางทักษะด้านการเคลื่อนไหว และการพูด เป็นต้น พบได้บ่อยแค่ไหน กลุ่มอาการเร็ทท์มักพบได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยอาการมักปรากฎในเด็กทารกช่วงอายุระหว่าง 6-18 เดือนแรก  อาการอาการของกลุ่มอาการเร็ทท์ เป็นอย่างไร  กลุ่มอาการเร็ทท์มักเกิดขึ้นกับทารกหลังตั้งครรภ์ ทารกส่วนใหญ่ที่มีอาการเรทท์จะมีการเจริญเติบโตและพฤติกรรมตามปกติในช่วง 6 เดือนแรก หลังจากนั้นจะเริ่มมีอาการแสดงเด่นชัดเมื่ออายุ 12-18 เดือน โดยส่วนใหญ่มีอาการแสดงออกดังต่อไปนี้  การเจริญเติบโตช้า การเจริญเติบโตของสมองช้าลงหลังคลอด ขนาดศีรษะจะมีขนาดเล็กกว่าปกติ (Microcephaly) เมื่ออายุมากขึ้นจะเห็นอย่างชัดเจนว่าส่วนต่าง ๆ ในร่างกายมีการเจริญเติบโตช้า ปัญหาด้านการเคลื่อนไหว เช่น การควบคุมด้วยมือ การเดินมีประสิทธิภาพลดลง ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวนี้อาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จนในที่สุดกล้ามเนื้อจะอ่อนแรงหรือแข็งเกร็งเมื่อมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ความผิดปกติด้านการสื่อสาร เด็กที่เป็นโรคเรทท์มักมีความผิดปกติด้านการสื่อสาร เช่น การพูด การสบตา  ความผิดปกติการเคลื่อนไหวของดวงตา เด็กที่เป็นโรคเรทท์มักมีความผิดปกติในการเคลื่อนไหวของดวงตา เช่น การกระพริบตา หลับตาได้ทีละข้าง  ปัญหาด้านการหายใจ เช่น มีอาการหายใจเข้าออกอย่างรวดเร็ว หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ  กระดูกสันหลังผิดปกติ มักจะมีอาการกระดูกสันหลังคดงอ อาการดังกล่าวนี้มักเกิดขึ้นในช่วงอายุ 8-11 ปี […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

อันตรายของ โฮเวอร์บอร์ด สกูตเตอร์ไฟฟ้า และวิธีการเล่นอย่างปลอดภัย

โฮเวอร์บอร์ด (Hoverboard) เป็นสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่น อย่างไรก็ตาม การเล่นโฮเวอร์บอร์ดอย่างไม่ถูกต้องอาจนำมาสู่อุบัติเหตุและการบาดเจ็บได้ ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีการเล่นโฮเวอร์บอร์ดที่ถูกต้อง เพื่อช่วยป้องกันอันตรายต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] สกูตเตอร์ไฟฟ้ายุคใหม่สุดฮิต.. “โฮเวอร์บอร์ด” (Hoverboard) ในภายหลังจากที่โฮเวอร์บอร์ดถูกเปิดตัวในตลาดไม่นาน ผู้ผลิตหลายรายก็เริ่มหันมาขายโฮเวอร์บอร์ดโดยที่ไม่มีการตรวจสอบคุณภาพหรือความปลอดภัย และยังมีรายงานข่าวเผยให้เห็นถึงความอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากโฮเวอร์บอร์ด โดยตัวบอร์ดนั้นจะมีเครื่องยนต์ประกอบอยู่ เมื่อเครื่องยนต์ร้อนจัดจะทำให้เกิดไฟไหม้ได้ ซึ่งปัจจุบันมีรายงานเหตุการณ์เหล่านี้มากกว่า 300 เหตุการณ์ อย่างไรก็ดีแม้โฮเวอร์บอร์ดรุ่นใหม่จะไม่ก่อให้เกิดไฟไหม้รุนแรงเหมือนโฮเวอร์บอร์ดรุ่นแรก แต่ทาง Consumer Product Safety Commission (CPSC) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ออกมาเตือนประชาชนเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากโฮเวอร์บอร์ด โดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับไฟไหม้หรือความร้อนที่สูงเกินไป โดยในเดือนมีนาคม ปีค.ศ. 2017 มีเด็กผู้หญิงอายุ 2 ปี และเด็กหญิงอายุ 10 ปี เสียชีวิตจากไฟไหม้บ้าน ซึ่งมีต้นเหตุมาจากโฮเวอร์บอร์ด ยิ่งไปกว่านั้นทาง CPSC ยังมีรายงานเกี่ยวกับผู้บาดเจ็บจากไฟไหม้ 13 ราย บาดเจ็บจากการสูดดมคัน 3 ราย และทรัพย์สินเสียหายมากกว่า 4 ล้านดอลลาร์อีกด้วย อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจาก โฮเวอร์บอร์ด แม้ลูกของคุณจะมีโฮเวอร์บอร์ดรุ่นใหม่ล่าสุด แต่ก็ยังมีอันตรายที่ยังต้องพิจารณาอยู่ดี การทรงตัวบนโฮเวอร์บอร์ดอาจเป็นเรื่องยาก บางครั้งหากทรงตัวบนโฮเวอร์บอร์ดไม่ดีก็อาจทำให้เกิดการล้มและได้รับความบาดเจ็บได้ ส่วนอันตรายที่อาจะเกิดขึ้นจากโฮเวอร์บอร์ดที่พบได้มาที่สุด ได้แก่ การเผาไหม้ที่เกิดขึ้นเอง อันตรายที่น่ากลัวที่สุดของโฮเวอร์บอร์ด […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน