พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

พ่อแม่เลี้ยงลูก

ลูกน้อยปากเหม็นเรื้อรัง คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอย่างไร

อาการปากเหม็น มีกลิ่นปาก อาจเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย หากคุณพ่อคุณแม่พบว่า ลูกน้อยปากเหม็นเรื้อรัง ก็อาจเกิดความกังวลไม่น้อย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกตพฤติกรรมประจำวันของลูกน้อยอย่างสม่ำเสมอว่า ลูกน้อยแปรงฟันทุกวันหรือไม่ รวมถึงมีการรักษาสุขอนามัยในช่องปากที่ดีพอหรือไม่ เพื่อจะปรึกษาคุณหมอและเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที กลิ่นปาก คืออะไร กลิ่นปาก (Bad Breath) อาจเกิดขึ้นได้กับทุก ๆ คน โดยอาจมีสาเหตุมาจากการไม่แปรงฟันไปจนถึงภาวะทางการแพทย์บางอย่าง อย่างไรก็ตาม การเกิดกลิ่นปากในเด็กอาจเกิดขึ้นได้โดยที่พวกเขาไม่รู้ตัส ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องบอกลูกน้อยว่า พวกเขามีกลิ่นปาก และควรให้คำแนะนำว่าอาหารอะไรที่กินเข้าไปแล้วทำให้เกิดกลิ่นปาก รวมถึงควรบอกว่าควรแก้ไขอย่างไร เช่น แปรงฟันหลังจากกินอาหาร เคี้ยวหมาหฝรั่ง อาการของปากเหม็นเรื้อรัง อาการปากเหม็นเรื้อรังที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่สาเหตุของการเกิดอาการปากเหม็นเรื้อรัง บางคนอาจจะกังวลกับลมหายใจมากเกินไป แม้ว่าจะมีกลิ่นปากเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย ในขณะที่คนอื่นอาจมีกลิ่นปากโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากเป็นเรื่องยากที่จะประเมินว่าลมหายใจมีกลิ่นอย่างไร จึงอาจใช้วิธีถามจากเพื่อนสนิทหรือญาติ เพื่อยืนยันคำถามเกี่ยวกับอาการปากเหม็นเรื้อรัง ลูกน้อยปากเหม็นเรื้อรัง เกิดจากอะไร โดยส่วนใหญ่แล้วสาเหตุที่ทำให้ ลูกน้อยปากเหม็นเรื้อรัง อาจเริ่มที่ช่องปาก นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ อาหารและเครื่องดื่ม เช่น กระเทียม หัวหอม ชีส น้ำส้ม โซดา สุขอนามัยของฟันที่ไม่ดี เช่น ไม่แปรงฟัน ไม่ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ สุขอนามัยในช่องปากที่ไม่ดีอาจนำไปสู่อาการปากเหม็นเรื้อรัง เพราะเมื่อเศษอาหารตกค้างในปาก […]


ช่วงวัยเรียน

การแต่งตัวให้ลูก เมื่อลูกต้องไปโรงเรียนอนุบาล หรือเนอสเซอรี่

คุณพ่อคุณแม่รู้ไหมว่า การสวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะกับกาลเทศะ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตในแต่ละวันของเด็กมากกว่าที่คุณคิด เวลาจะแต่งตัวให้ลูก โดยเฉพาะหากลูกของคุณกำลังอยู่ในวัยอนุบาลหรือต้องไปเนอสเซอรี่ คุณพ่อคุณแม่ยิ่งต้องคำนึงถึงความสะดวกสบาย ความคล่องตัว ความปลอดภัย สุขภาพ และรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันของลูกมากเป็นพิเศษ ว่าแต่ การแต่งตัวให้ลูก เมื่อลูกต้องไปโรงเรียนอนุบาล หรือไปเนอสเซอรี่ แบบไหนถึงจะเหมาะสม Hello คุณหมอ จะพาไปดูกันเลย การแต่งตัวให้ลูก ไป โรงเรียนอนุบาล หรือเนอสเซอรี่ หากลูกไม่ได้ใส่ชุดเครื่องแบบของ โรงเรียนอนุบาล หรือเนอสเซอรี่ เลือกเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับฤดูกาล ข้อแรกที่คุณพ่อคุณแม่ควรคำนึงเวลาแต่งตัวให้ลูกก็คือ การเลือกเสื้อผ้าลูกให้เหมาะสมกับฤดูกาล หากเป็นฤดูร้อน ควรเลือกเสื้อผ้าที่ทำจากเนื้อผ้าสวมใส่สบาย ระบายเหงื่อได้ดี เช่น ผ้าฝ้าย และอย่าลืมเตรียมหมวก และเสื้อคลุม ไว้ให้ลูกใส่กันแดดด้วย หากเป็นฤดูหนาว ควรเตรียมเสื้อกันหนาว กางเกงขายาว และรองเท้าที่ปิดทั้งเท้า หรือถ้าเป็นฤดูฝน อย่าลืมเตรียมเสื้อกันฝน รองเท้ากันฝน และร่มให้ลูกด้วย เลือกเสื้อผ้าสวมใส่สบาย และเหมาะกับกาลเทศะ เสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย ไม่คับและไม่หลวมจนเกินไป จะทำให้เด็กสามารถโฟกัสกับการเรียนรู้ หรือการเล่นเพื่อเสริมทักษะได้มากขึ้น เสื้อผ้าสำหรับเด็กวัยอนุบาลควรเป็นเสื้อผ้าที่ทำความสะอาดง่าย และเด็กสามารถใส่ได้อย่างปลอดภัย ไม่ควรมีของประดับตกแต่ง เช่น ลูกปัด เลื่อม ที่อาจหลุดออกมาแล้วเด็กเผลอเอาเข้าปาก และคุณพ่อคุณแม่ต้องคำนึงถึงกิจกรรมในแต่ละวันที่ลูกต้องทำด้วย เช่น หากเป็นวันออกกำลังกาย ก็ควรให้ลูกใส่ชุดกางเกงที่ขยับตัวได้ง่าย […]


สุขภาพเด็ก

โรคไหลตายในทารก คืออะไร เกิดจากสาเหตุใด

โรคไหลตายในทารก เป็นโรคร้ายแรงที่ทำให้ทากรกเสียชีวิตอย่างกระทันหันขณะนอนหลับ โดยยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่อาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของสมองในส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการหายใจ รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอย่างการให้ทารกนอนคว่ำ หรือนอนตะแคง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตทารกอย่างสม่ำเสมอ ร่วมถึงควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคไหลตายในทารก คืออะไร โรคไหลตายในทารก (Sudden Infant Death Syndrome หรือ SIDS) คือ การที่ทารกดูเหมือนสุขภาพแข็งแรง แต่กลับเสียชีวิตอย่างกะทันหัน โดยไม่ทราบสาเหตุของการเสียชีวิต แม้จะมีการตรวจสอบอย่างละเอียดแล้วก็ตาม โดยโรคไหลตายในทารกนั้น มักเกิดขึ้นในขณะที่ทารกนอนหลับในเปล แม้ว่าโรคไหลตายในทารกจะเป็นเรื่องที่พบได้ยาก แต่ก็ถือว่าเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบได้บ่อยที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดยมักจะพบในเด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปี ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกับทารกที่มีอายุระหว่าง 2-4 เดือน ในปี ค.ศ. 2015 จากแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้ มีเด็กประมาณ 1,600 คนในสหรัฐอเมริกา ที่เสียชีวิตจากโรคไหลตายในทารก อาการของ โรคไหลตายในทารก โรคไหลตายในทารกนั้นยังไม่มีอาการที่สังเกตได้อย่างชัดเจน เพราะอาการมักเกิดขึ้นอย่างกะทันหันกับทารกที่ดูเหมือนจะมีร่างกายที่แข็งแรงโดยที่คุณพ่อคุณแม่อาจไม่ทันได้คาดคิด สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับ โรคไหลตายในทารก เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของโรคไหลตายในทารก แต่นักวิทยาศาสตร์กำลังพิจารณาถึงสาเหตุที่เป็นไปได้บางประการ ซึ่งสาเหตุที่เป็นไปได้บางประการที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบนั้น ได้แก่ รูปแบบของการหยุดหายใจ เช่น การหยุดหายใจขณะนอนหลับ ความผิดปกติของสมองในส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการหายใจ แม้ว่าจะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคไหลตายในทารก แต่โรคไหลตายในทารกมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการ ซึ่งคุณสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรตระหนักถึงปัจจัยเหล่านี้ด้วย ซึ่งปัจจัยเสี่ยงบางประการสำหรับโรคไหลตายในเด็ก ได้แก่ เชื้อชาติ […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

ให้ลูกนอนห่มผ้า ได้ตอนไหน และห่มผ้าให้ลูกอย่างไรถึงจะปลอดภัย

ในช่วงที่ทารกกำลังมีพัฒนาการต่าง ๆ เป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่ควรจะต้องสังเกตพัฒนาการของพวกเขาเอาไว้ ลูกของพวกคุณจะเริ่มเรียนรู้ที่จะคลาน นอนหนุนหมอน รวมไปถึงนอนห่มผ้าห่ม ลูกนอนห่มผ้า ได้ตอนไหนอาจขึ้นอยู่กับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ลูกนอนห่มผ้า ได้ตอนไหน สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (U.S. American Academy of Pediatrics; AAP) แนะนำให้เก็บของนุ่ม ๆ และผ้าปูที่นอนหลวม ๆ ออกจากที่นอนในช่วง 12 เดือนแรก โดยคำแนะนำนี้อ้างอิงจากข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตจากการนอนหลับของทารกและแนวทางในการลดความเสี่ยงโรคไหลตายในทารก (Sudden Infant Death Syndrome; SIDS) นอกเหนือจากคำแนะนำจากสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกาแล้ว เมื่อลูกน้อยของคุณโตขึ้น ปัจจัยอื่น ๆ ที่ควรพิจารณาก็จะตามมา อย่างเช่น การมีผ้าห่มในเปลนั้นปลอดภัยหรือไม่ รวมถึงขนาด ความหนา ประเภทของผ้า และขอบของผ้าห่ม ผ้าห่มที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวลูก อาจทำให้ผ้าห่มพันและทำให้ลูกน้อยหายใจไม่ออกได้ ซึ่งผ้าห่มผืนเล็กจะปลอดภัยกว่าแม้ว่าลูกของคุณจะอายุ 1 ขวบแล้วก็ตาม เนื้อผ้าของผ้าห่มอาจมีผลต่อความปลอดภัยและเหมาะสมหรือไม่ที่จะใช้กับลูกน้อยของคุณ ผ้าห่มที่ทำจากผ้ามัสลินสามารถระบายอากาศได้เป็นอย่างดี ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับเด็ก ๆ แต่สำหรับผ้าห่มหนา ๆ หรือผ้าห่มถ่วงน้ำหนักซึ่งบางครั้งจะใช้สำหรับเด็กโตที่มีปัญหาด้านประสาทสัมผัสนั้น มักไม่ปลอดภัยหากนำมาใช้กับทารก แม้ว่าลูกของคุณจะโตขึ้นเรื่อย ๆ แต่การเลือกผ้าห่มที่มีด้ายยาวตรงขอบหรือมีริบบิ้นที่ขอบก็อาจทำให้หายใจไม่ออก หรือพันรอบตัวลูกของคุณได้ […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

ควรเริ่มฝึกให้ ลูกนอนหนุนหมอน เมื่อไหร่ดี

หมอนและผ้าห่มทำให้ลูกน้อยอบอุ่นและหลับสบาย อย่างไรก็ตาม เครื่องนอนอาจเป็นสาเหตุทำให้ทารกเสียชีวิตระหว่างการนอนหลับได้ เพราะอาจไปอุดกั้นการหายใจของทารกทำให้หายใจไม่ออกแม้ว่า คุณพ่อคุณแม่ต้องการฝึกให้ ลูกนอนหนุนหมอน แต่ควรสังเกตความพร้อมและฝึกแบบค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้ลูกน้อยคุ้นชินกับการหนุนหมอนและการห่มผ้าโดยเฉพาะเมื่อต้องแยกห้องนอน เมื่อไหร่ที่ควรจะให้ ลูกนอนหนุนหมอน คณะกรรมาธิการความปลอดภัยสินค้าอุปโภคบริโภคของสหรัฐอเมริกา (U.S. Consumer Product Safety Commission; CPSC)  แนะนำว่า ควรให้ลูกนอนหนุนหมอนตอนช่วงอายุ 1 ปีครึ่งหรือ 18 เดือน ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญบางคนอาจแนะนำให้เริ่มใช้หมอนกับเด็กเมื่ออายุ 24 ขึ้นไปหรืออาจช้ากว่านั้น โดยคำแนะนำเหล่านี้เป็นคำแนะนำพื้นฐานซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคไหลตายในทารก (Sudden Infant Death Syndrome; SIDS) และอาการเสียชีวิตอย่างกะทันหันโดยไม่มีสาเหตุในเด็ก (Sudden Unexplained Death In Childhood; SUDC) โดยทั่วไปโรคไหลตายในทารกมักหมายถึงการเสียชีวิตในทารกอายุไม่เกิน 12 เดือน ส่วนอาการเสียชีวิตอย่างกะทันหันโดยไม่มีสาเหตุในเด็ก หมายถึงการเสียชีวิตในเด็กเล็กที่มีอายุมากกว่า 1 ปี แม้ว่าความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตอย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุจะลดลงไปเมื่อลูกน้อยอายุครบ 1 ขวบ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ยังไม่สามารถไว้วางใจได้ เพราะเด็กวัยไม่เกิน 1 ปีครึ่งอาจโดนเครื่องนอนหรือสิ่งของในเปลทับและหายใจไม่ออกจนนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ช่วงอายุที่แนะนำให้ลูกนอนหนุนหมอนก็คือ ช่วงเวลาเดียวกับที่เด็ก ๆ สามารถย้ายจากการนอนในเปลไปนอนบนเตียง จึงจะสามารถฝึกให้ลูกนอนหนุนหมอน ทั้งนี้ […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

ลูกชอบเอาหัวโขก เป็นเพราะอะไร และควรดูแลอย่างไร

บางครั้งก็เป็นเรื่องยากที่คุณพ่อคุณแม่จะเข้าใจในพฤติกรรมที่ลูกน้อยแสดงออกมา เนื่องจากพวกเขายังไม่สามารถสื่อสารให้เข้าใจได้ว่าต้องการสิ่งใด บางครั้งเมื่อ ลูกน้อยชอบกระแทกศีรษะ อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่วิตกกังวล และกลัวรู้น้อยจะเกิดอาการบาดเจ็บ แต่ลองมาทำความเข้าใจพฤติกรรมที่เกิดขึ้น จากบทความนี้ของทาง Hello คุณหมอ กันดีกว่า ลักษณะของการที่ ลูกชอบเอาหัวโขก เป็นเรื่องที่อาจดูแปลก เมื่อลูกน้อยของคุณชอบกระแทกศีรษะ ซึ่งพฤติกรรมนี้มักจะเกิดขึ้นในช่วงทารกและเด็กเล็ก เด็กบางคนจะทำพฤติกรรมนี้ในช่วงเวลางีบหลับหรือก่อนนอน ซึ่งเกือบจะเป็นเทคนิคการผ่อนคลายของพวกเขา ถึงแม้จะเป็นนิสัยทั่วไป แต่มันก็ถือเป็นเรื่องที่ทำให้คุณรู้สึกตกใจได้ เนื่องจากคุณกังวลว่าการกระแทกศีรษะแบบนั้นอาจทำให้สมองเสียหาย เป็นสัญญาณของอาการที่ร้ายแรง ทั้งยังสามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บอื่น ๆ การกระแทกศีรษะอาจมีหลายรูปแบบ เด็กบางคนอาจจะกระแทกศีรษะเมื่อนอนคว่ำบนเตียง หลังจากนั้นจึงกระแทกศีรษะลงบนหมอนหรือผ้าปูรองนอนซ้ำ ๆ  ในขณะที่บางครั้งเด็กทารกหรือเด็กเล็กจะกระแทกศีรษะในระหว่างที่นั่งอยู่ ในกรณีแบบนี้พวกเขาอาจเอาหัวกระแทกกับกำแพง ราวเปล หรือหลังเก้าอี้ เด็กบางคนโยกตัวขณะกระแทกศีรษะ ส่วนเด็กคนอื่น ๆ อาจจะมีการส่งเสียงครางหรือส่งเสียงอื่น ๆ ร่วมด้วย สิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรทราบ ก็คือ โดยปกติแล้วการที่ลูกน้อยชอบกระแทกศีรษะไม่ใช่เรื่องน่ากังวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกิดขึ้นในช่วงเวลางีบหลับหรือเวลานอนเท่านั้น นิสัยชอบกระแทกศีรษะนั้นจะเริ่มได้ในช่วงอายุ 6-9 เดือน โดยเด็กหลาย ๆ คนจะเลิกนิสัยนี้ได้ เมื่ออายุ 3-5 ขวบ ช่วงเวลาของการกระแทกศีรษะนั้นค่อนข้างสั้น แต่บางครั้งก็ใช้เวลานานถึง 15 นาที บางครั้งเวลาในการกระแทกศีรษะอาจจะดูยาวนานมากกว่าที่เกิดขึ้นจริงจนทำให้เหล่าคุณพ่อคุณแม่กังวลได้ ลูกชอบเอาหัวโขก เป็นเพราะอะไร การทำความเข้าใจว่าทำไมเด็ก ๆ ถึงชอบกระแทกศีรษะ […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

ลูกตกเตียง สังเกตอาการและดูแลอย่างไรเพื่อให้ลูกปลอดภัย

ลูกตกเตียง เป็นปัญหาที่มักพบได้ทั่วไปในเด็ก ๆ เนื่องจากเด็กนั้นมันไม่อยู่นิ่ง ทั้งนี้แม้การตกเตียงจะไม่ใช่ปัญหาร้ายแรง แต่พ่อแม่ผู้ปกครองควรระมัดระวังและหาวิธีป้องกัน เพราะหากลูกตเตียงบ่อยครั้งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและสมองของเด็กทารกได้ และสิ่งสำคัญคือเมื่อเกิดเหตุการณ์ลูกตกเตียงแล้ว คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองควรรู้จักวิธีดูแลลูกน้อยให้ปลอดภัย [embed-health-tool-ovulation] ลูกตกเตียง ผู้ปกครองควรทำอย่างไร ปัญหาลูกตกเตียง แม้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรง แต่ก็อาจจะมีอาการบาดเจ็บบ้างในบางครั้ง เมื่อลูกตกจากเตียงสิ่งแรกที่พ่อแม่ควรมีคือ “สติ” และค่อย ๆ ดูอย่างละเอียดว่าลูกปลอดภัยหรือไม่ มีอาการเช่นไรบ้าง หากลูกหมดสติ มีเลือดออกจำนวนมาก หรือได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงควรรีบโทรหาแพทย์ฉุกเฉินในทันที ในกรณีที่เด็กได้รับการบาดเจ็บที่ศีรษะหรือกระดูกส่วนอื่น ๆ ไม่ควรเคลื่อนย้าย แต่ควรโทรแจ้งหน่วยแพทย์เพื่อนำรถพยาบาลฉุกเฉินมารับ เพราะการเคลื่อนย้ายเองโดยไม่ถูกวิธีอาจส่งผลกระทบต่อกระดูกสันหลังได้ จนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้ หากลูกมีอาการอาเจียนหรือชัก ให้ค่อย ๆ พลิกตัว นอนตะแคง เพื่อป้องกันการสำลักหรือการมีเศษอาหารลงไปอุดกั้นหลอดลม หลังจากนั้นค่อย ๆ ตรวจดูอย่างละเอียด โดยเฉพาะบริเวณศีรษะ ว่ามีอาการฟกช้ำหรือได้การบาดเจ็บอื่น ๆ อีกหรือไม่ แม้ทารกไม่มีอาการบาดเจ็บใด ๆ ร้ายแรงใดๆ ที่มองเห็นได้ แต่อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ผู้ปกครองควรติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีอาการบาดเจ็บภายในขั้นร้ายแรง สัญญาณที่บ่งบอกว่าควรพาลูกไปห้องฉุกเฉิน เมื่อลูกตกเตียง แม้ว่าจะไม่มีอาการหมดสติหรือได้รับความบาดเจ็บที่รุนแรง แต่หากมีอาการหรือสัญญาณเหล่านี้ คุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องนำส่งห้องฉุกเฉินทันทีเพื่อความปลอดภัย ได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะ มีอาการบวมหรือหัวปูด เด็กถูที่ศีรษะบ่อย ๆ เด็กๆ มีอาการง่วงนอนมากผิดปกติ มีสารคัดหลั่งไม่ว่าจะเป็นเลือดหรือน้ำสีเหลืองไหลออกมาจากจมูกหรือหู […]


ปัญหาสุขภาพเด็กแบบอื่น

กลุ่มอาการครูซอง (Crouzon Syndrome)

กลุ่มอาการครูซอง หรือ โรคกะโหลกปิดก่อนเวลาอันควร เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ซับซ้อน ซึ่งอาจส่งผลต่อใบหน้า กะโหลกศีรษะ และฟันของทารกแรกเกิดให้หลอมรวมกันก่อนกำหนด ส่งผลให้รูปร่างของใบหน้าและกะโหลกมีความผิดปกติ ผิดรูปร่าง ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพหลายประการ เช่น ภาวะหายใจลำบาก มีปัญหาต่อการมองเห็น  อย่างไรก็ตาม กลุ่มอาการครูซองแสดงออกแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อรับคำแนะนำในการผ่าตัดหรือวิธีรักษาอื่น ๆ ที่เหมาะสมต่อไป คำจำกัดความ กลุ่มอาการครูซอง (Crouzon Syndrome) คืออะไร กลุ่มอาการครูซอง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “โรคกะโหลกปิดก่อนเวลาอันควร (Craniosynostosis)” เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ซับซ้อน ซึ่งอาจส่งผลต่อใบหน้า กะโหลกศีรษะ และฟันของเด็ก เด็กที่เป็นโรคนี้กระดูกกะโหลกศีรษะจะหลอมรวมกันก่อนกำหนด ซึ่งนั่นจะป้องกันไม่ให้กะโหลกศีรษะเติบโตได้ตามปกติ และมีผลต่อรูปร่างของศีรษะและใบหน้าของเด็กด้วย บางครั้งกลุ่มอาการนี้ยังทำให้เกิดความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น กลุ่มอาการครูซอง พบบ่อยเพียงใด กลุ่มอาการครูซอง สามารเกิดขึ้นในทารกแรกเกิด 1 ใน 61,000 คน ซึ่งโรคกะโหลกปิดก่อนเวลาอันควร เป็นกลุ่มอาการที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเด็กทุกคนที่อยู่ในกลุ่มอาการครูซอง จะมีความเสี่ยงจากความดันในกะโหลกศีรษะ และหายใจลำบาก จนต้องได้รับการผ่าตัด อาการอาการของกลุ่มอาการครูซอง อาการของกลุ่มอาการครูซอง จะทำให้เกิดการหลอมรวมของกระดูกบางส่วนในกะโหลกศีรษะก่อนวันอันควร และส่งผลต่อรูปร่างของศีรษะและใบหน้าจนดูผิดปกติ โดยลักษณะทั่วไปของกลุ่มอาการนี้ ได้แก่ รูปร่างหน้าตาผิดปกติ กลางใบหน้าตื้น ซึ่งอาจทำให้หายใจลำบาก หน้าผากสูง ตาโปนกว้าง เบ้าตาตื้น ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาการมองเห็น ตาเหล่ จมูกเล็กเหมือนจะงอยปาก ขากรรไรบนด้อยพัฒนาการ ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในการกินอาหาร ขากรรไกรด้านล่างยื่นออกมา การสบฟันมากเกินไป ปัญหาทางทันตกรรม หูตั้งต่ำ สูญเสียการได้ยิน เพราะช่องหูแคบ ลักษณะของโรคที่พบได้น้อย คือ เพดานโหว่ […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

ลูกน้ำหนักเกิน จะสังเกตได้อย่างไร และวิธีดูแลน้ำหนักตัวให้ลูก

ภาวะน้ำหนักเกินในเด็ก เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อย และอาจส่งผลให้เด็กมีปัญหาสุขภาพอื่น เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้น หากพบว่า ลูกน้ำหนักเกิน โดยเฉพาะเมื่อถึงขั้นเป็นโรคอ้วน คุณพ่อคุณแม่ควรพยายามให้ลูกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น กินอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้ลูกมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี และลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เนื่องจากน้ำหนักเกิน [embed-health-tool-bmi] จะรู้ได้อย่างไรว่า ลูกน้ำหนักเกิน วิธีหนึ่งในการตรวจสอบเบื้องต้นว่าลูกน้ำหนักเกินหรือไม่ ก็คือ การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความสมดุลของน้ำหนักตัวและส่วนสูง และถือเป็นค่ามาตรฐานในการประเมินภาวะอ้วนผอม ค่าดัชนีมวลกายที่ได้จะสามารถบอกได้ว่า ลูกมีน้ำหนักตัวในอยู่ในเกณฑ์ปกติ น้ำหนักตัวเกิน หรือเป็นโรคอ้วนหรือไม่ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา หรือซีดีซี (CDC) กำหนดค่าดัชนีมวลกายสำหรับเด็กอายุ 2-20 ปี ไว้ดังนี้ น้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ ค่าดัชนีมวลกาย น้อยกว่า 5% น้ำหนักตัวตามเกณฑ์ ค่าดัชนีมวลกาย ตั้งแต่ 5-84% น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ ค่าดัชนีมวลกาย ตั้งแต่ 85-94% โรคอ้วน ค่าดัชนีมวลกาย ตั้งแต่ 95% ขึ้นไป เด็กแต่ละวัย ต้องการพลังงานเท่าไร ความต้องการพลังงานในแต่ละวันของเด็กขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น เพศ […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

ฟันน้ำนมผุ กับเทคนิคช่วยลดปัญหาสุขภาพฟันของลูกน้อย

ฟันน้ำนมผุ เป็นปัญหาสุขภาพฟันของลูกน้อยที่คุณพ่อและคุณแม่อาจจะมองข้ามความสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพของฟันน้ำนมไป เพราะคิดว่าเดี๋ยวอย่างไรเสียฟันน้ำนมก็ต้องหลุดออกไป และมีฟันแท้ขึ้นมาแทนที่ โดยหารู้ไม่ว่า ปัญหาฟันน้ำนมผุ นั้นอาจนำมาสู่ปัญหาสุขภาพอื่นๆ ได้  คุณพ่อคุณแม่จึงควรใส่ใจฟันน้ำนมของลูกน้อยไม่ต่างจากการดูแลฟันแท้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ฟันน้ำนมผุ ปัญหาสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ฟันน้ำนมผุ เป็นปัญหาที่มักจะถูกมองข้ามจากคุณพ่อคุณแม่ เพราะเข้าใจว่าฟันน้ำนมนั้นเป็นเพียงฟันชุดแรก ซึ่งไม่นานก็ต้องหลุดออกไป และมีฟันแท้มาแทนที่ ดังนั้นฟันผุในฟันน้ำนมไม่น่าก่อให้เกิดปัญหาตามมา แต่ในความเป็นจริงนั้น ปัญหาฟันน้ำนมผุนั้นอาจส่งผลต่อสุขภาพปากและฟันของเด็กมากกว่าที่คิด อาการฟันผุนั้นจะเกิดขึ้นจากการที่มีเศษอาหาร คราบนม หรือคราบน้ำหวานต่าง ๆ ตกค้างอยู่ภายในปาก เนื่องจากการที่พ่อแม่ให้เด็กทารกดื่มนม น้ำหวาน น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มหวาน ๆ ก่อนนอน โดยไม่แปรงฟันและบ้วนปากให้เรียบร้อย คราบเศษอาหารเหล่านี้จะกลายเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของเชื้อแบคทีเรียภายในช่องปาก เชื้อแบคทีเรียภายในช่องปากเหล่านี้จะสร้างกรดขึ้นมา กัดกร่อนชั้นผิวเคลือบฟัน และเนื้อฟัน ส่งผลให้เกิดอาการฟันผุ และปัญหาสุขภาพในช่องปากอื่น ๆ อาการฟันผุเหล่านี้หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจากทันตแพทย์ ก็อาจส่งผลให้อาการลุกลาม และส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ได้ เช่น ปวดฟัน เหงือกร่น เหงือกอักเสบ กลิ่นปาก การติดเชื้อในช่องปาก เคี้ยวอาหารลำบาก ปัญหาสุขภาพในช่องปากเหล่านี้ นอกจากจะสร้างความทรมานให้แก่ลูกน้อยแล้ว ยังอาจส่งผลให้ผู้ปกครองต้องเสียเงินค่ารักษาเป็นจำนวนมากอีกด้วย เทคนิคป้องกันฟันผุในเด็กที่พ่อแม่ควรรู้ คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟันของลูกน้อย ให้ห่างไกลจากปัญหาฟันน้ำนมผุได้ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ สำหรับเด็กทารก หลังจากป้อนนมหรือป้อนข้าวเสร็จ ให้ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำ ถูเบา ๆ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน