พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

แพมเพิส มีประโยชน์อย่างไร เคล็ดลับการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

แพมเพิส ผ้าอ้อมเด็ก หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป ใช้สวมใส่ให้ลูกเพื่อรองรับการขับถ่ายของทารก แพมเพิสนั้นใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ควรเตรียมไปเพื่อให้ลูกใส่ก่อนออกจากโรงพยาบาล เพราะผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพิ่มความสะดวกสบายง่ายต่อการสวมใส่ แต่การใช้ผ้าอ้อมเด็ก ก็มีสิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังเช่นกัน [embed-health-tool-vaccination-tool] ข้อดีของแพมเพิส หน้าที่ของแพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อซึมซับปัสสาวะและอุจจาระของทารกและเด็ก จึงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกสบาย เพียงใส่แพมเพิสให้กับทารก ลูกน้อยก็สามารถขับถ่ายได้สะดวก การซึมซับของแพมเพิสยังทำได้ดี คอยห่อตัวลูกให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ทารกสบายตัว นอนหลับได้ดี การใช้แพมเพิสยังง่ายต่อการเปลี่ยน โดยสามารถนำแพมเพิสที่ใช้แล้วทิ้งขยะได้เลย จึงประหยัดเวลา ไม่ต้องซักบ่อย ๆ แบบผ้าอ้อมชนิดผ้า  เคล็ดลับการใส่แพมเพิส แพมเพิสสำหรับทารกมี 2 ประเภท วิธีเปลี่ยนแพมเพิสจึงแตกต่างกัน ดังนี้ เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบเทปกาว ก่อนเปลี่ยนแพมเพิสควรดูแลทำความสะอาดทารก เช็ด หรือซับ ให้ตัวแห้งก่อนเปลี่ยนแพมเพิส เตรียมแพมเพิสแบบเทปกาวให้พร้อม กางออก หากมีขอบปกป้องการรั่วซึมให้ดึงตั้งขึ้น  จับทารกให้อยู่ในท่านอนหงาย นำแพมเพิสสอดเข้าไปใต้ก้นลูก โดยยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นเล็กน้อย ดึงตัวแพมเพิสขึ้นมาใกล้กับหน้าท้อง ให้ขอบของแพมเพิสต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย จากนั้นนำแถบเทปที่อยู่ด้านหลังดึงมาติดให้กระชับกับด้านหน้า โดยสามารถปรับแถบกาวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เสียสีกับสะดือทารก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดที่สะดือยังไม่หลุด ตรวจความเรียบร้อย ลองใช้นิ้วสอดระหว่างผ้าอ้อมกับตัวลูก ควรพอดีตัว ไม่หลวมเกินจนหลุด และไม่แน่นจนเสียดสีกับผิวของทารก สำหรับแพมเพิสแบบเทปกาวต้องคอยสังเกตไม่ให้แถบของเทปกาวสัมผัสกับผิวหนังลูก เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบกางเกง ทารกที่น้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม สามารถใส่แพมเพิสแบบกางเกงได้ ซึ่งแพมเพิสชนิดนี้จะเหมาะกับเด็ก […]

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

สุขภาพวัยรุ่น

อาหารที่เหมาะสมกับวัยรุ่น เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงทั้งร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ

อาหารที่เหมาะสมกับวัยรุ่น คือ อาหารที่มีประโยชน์สำหรับผู้ที่มีอายุประมาณ 12-20 ปี เพื่อช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์แข็งแรงทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ รวมทั้งได้รับพลังงานอย่างเพียงพอเพื่อนำไปใช้ในการทำกิจกรรมแต่ละวัน เนื่องจากในแต่ละช่วงวัยต้องการสารอาหารแต่ละชนิดในปริมาณที่แตกต่างกันออกไป จำเป็นต้องเลือกรับประทานเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เหมาะสมแก่วัย อาหารที่เหมาะสมกับวัยรุ่น อาหารที่เหมาะสมกับวัยรุ่น คืออาหารที่ให้สารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะในส่วนของการสร้างกระดูก กล้ามเนื้อ และเลือด วัยรุ่นจำเป็นต้องรับประทานอาหารหลากหลายเพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นต้องเลือกสรรอาหารที่เหมาะสมกับวัยรุ่น ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีไขมัน โซเดียม หรือน้ำตาลสูง แต่ควรให้รับประทานอาหารที่ให้สารอาหารแก่ร่างกายทั้งไฟเบอร์ วิตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็น โดยเฉพาะสารอาหารดังนี้ 1. ธาตุเหล็ก ร่างกายต้องการธาตุเหล็กเพื่อใช้ในการสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์เม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนจากปอดไปยังเซลล์และอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ ธาตุเหล็กยังช่วยในการเผาผลาญโปรตีน เสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยให้อวัยวะภายในและกล้ามเนื้อของวัยรุ่นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเจริญเติบโตได้เป็นปกติ ทั้งยังช่วยให้มีสมาธิ และนอนหลับได้ดีขึ้น หากร่างกายวัยรุ่นได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอจะทำให้เหนื่อยง่าย หายใจหอบ ติดเชื้อและเป็นหวัดบ่อย ปวดศีรษะเป็นประจำ และไม่มีสมาธิในเวลาเรียน ธาตุเหล็ก พบได้มากในเนื้อสัตว์ไร้มัน เนื้อไก่ ปลา อาหารทะเล ผักใบเขียว ถั่วเหลือง ธัญพืช ผลไม้แห้ง เป็นต้น วัยรุ่นชายควรได้รับธาตุเหล็กในปริมาณ 11 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนวัยรุ่นหญิงควรได้รับธาตุเหล็กในปริมาณ 15 มิลลิกรัมต่อวัน สาเหตุที่วัยรุ่นหญิงต้องการธาตุเหล็กมากกว่าวัยรุ่นชาย ก็เพราะอยู่ในช่วงเริ่มมีประจำเดือน […]


โภชนาการเด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกติดหวาน ควรทำอย่างไร

ลูกติดหวาน เป็นหนึ่งในปัญญาที่สร้างความหนักใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ เมื่อลูกเอาแต่รับประทานขนมหวาน ไม่ว่าจะเป็นลูกอม ไอศกรีม เค้ก โดนัท หรือน้ำอัดลม จนไม่ยอมกินข้าว ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน โรคขาดสารอาหาร โรคเบาหวาน ฟันผุ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาวิธีรับมืออย่างเหมาะสมเมื่อลูกติดหวาน เพื่อช่วยดูแลสุขภาพของลูกให้แข็งแรง ห่างไกลโรค [embed-health-tool-vaccination-tool] สาเหตุที่ทำให้ลูกติดหวาน น้ำนมแม่มีรสหวานอ่อน ๆ ทำให้เด็กชอบกินหวานมาตั้งแต่กำเนิด อีกทั้งต่อมรับรสของเด็กยังไวต่อสัมผัสมากกว่าผู้ใหญ่ เวลาได้กินอาหารรสชาติใหม่ ๆ ที่ไม่คุ้นเคย เด็กจึงรับรสได้มากกว่าผู้ใหญ่ และอาจรู้สึกแปลก ๆ เลยไม่ค่อยชอบรสชาติใหม่ที่ได้ลิ้มลองเท่าไหร่นัก นอกจากนี้ เด็กยังมีสัญชาตญาณการเอาตัวรอดที่ติดตัวมาแต่กำเนิด ทำให้ร่างกายของลูกโหยหาอาหารที่ให้พลังงานสูง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เด็กจะชอบกินของหวาน เช่น แพนเค้ก โดนัท ลูกอม อมยิ้ม เพราะน้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายสามารถย่อยและนำไปใช้ได้ไวกว่าสารอาหารประเภทอื่น แต่ถึงอย่างนั้น เด็กกินของหวานมากไปก็ไม่ใช่เรื่องดี โดยสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (American Heart Association หรือ AHA) แนะนำว่า เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี ไม่ควรบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีการเติมน้ำตาลโดยเด็ดขาด ส่วนเด็กอายุ 2-18 ปี ไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกินวันละ 25 […]


เด็กทารก

ฝึกลูกกินข้าวเอง เคล็ดลับง่าย ๆ ที่พ่อแม่ควรใส่ใจตั้งแต่ขวบปีแรก

ฝึกลูกกินข้าวเอง อาจเริ่มได้ตั้งแต่ช่วงขวบปีแรก ซึ่งจะช่วยให้เด็กสามารถรู้จักฝึกหัดช่วยเหลือตัวเอง เป็นการแบ่งเบาภาระพ่อแม่ ทำให้มีเวลาเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งเป็นการส่งเสริมทักษะและพัฒนาการการใช้นิ้ว มือ และรู้จักควบคุมการเคลื่อนไหวของเด็ก อีกทั้งฝึกฝนให้เด็ก ๆ เริ่มรู้จักควบคุมตัวเองและรับผิดชอบตัวเอง [embed-health-tool-vaccination-tool] ควร ฝึกลูกกินข้าวเอง เมื่อไรดี โดยทั่วไปแล้ว เมื่อเด็กมีอายุ 7-9 เดือน ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้น ฝึกลูกกินข้าวเอง   ในช่วงเวลานี้ ลูกน้อยสามารถนั่งตัวตรงได้ด้วยตัวเอง และเริ่มฝึกการควบคุมการเคลื่อนไหว และใช้นิ้วมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้แล้ว การหยิบจับของเด็กเล็ก จะเริ่มจากการใช้หัวแม่มือร่วมกับนิ้วอื่น ๆ มีสัญญาณต่าง ๆ ที่สามารถบ่งบอกได้ว่า ลูกน้อยพร้อมแล้ว สำหรับฝึกกินอาหารด้วยตนเอง เช่น สามารถนั่งได้ด้วยตนเอง หยิบจับสิ่งของเข้าปากได้ เริ่มเคี้ยวอาหารได้ ถือขวดนมได้เองระหว่างป้อนนม เริ่มต้น ฝึกลูกกินข้าวเอง ได้อย่างไร ขั้นตอนแรก ควรให้โอกาสลูกน้อย ในการลองกินอาหารด้วยตัวเองก่อน ลองให้อาหารแห้ง ชิ้นใหญ่ (แต่ไม่ใหญ่จนอาจทำให้สำลัก) หรืออาจแบ่งอาหารออกเป็น 4-5 ชิ้น แล้วค่อย ๆ เพิ่มอย่างช้า ๆ วางลงในจานข้าวขณะที่ลูกกินอาหาร เนื่องจากการเริ่มต้นด้วยอาหารที่มากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งวางไว้ในจุด ๆ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม