พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

เมนูข้าวกล่อง ไป โรงเรียน ง่ายๆ ดีต่อสุขภาพ

มื้อกลางวัน เป็นอีกหนึ่งมื้ออาหารที่สำคัญไม่แพ้มื้อไหน ๆ โดยเฉพาะสำหรับเด็กวัยเรียน ที่ต้องการสารอาหารและพลังงานเพื่อให้ร่างกายพร้อมสำหรับการเรียนในช่วงบ่าย ยิ่งหากจัดเตรียมข้าวกล่องไปเองจะยิ่งมั่นใจได้ว่าสามารถเลือกสรรค์วัตถุดิบที่มีคุณภาพและมีสารอาหารที่ครบถ้วนสำหรับลูก บทความนี้จึงอยากจะมาแนะนำ เมนูข้าวกล่อง ไป โรงเรียน ง่ายๆ ที่ดีต่อสุขภาพของลูก [embed-health-tool-vaccination-tool] โภชนาการที่เหมาะสมกับเด็กวัยเรียน เด็กวัยเรียนควรได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเหมาะสม จากข้อแนะนำการบริโภคเพื่อสุขภาพที่ดีแห่งสหรัฐอเมริกา ฉบับปี พ.ศ. 2563-2568 แนะนำว่า ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ควรบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบ ดังนี้ ผักและผลไม้ต่าง ๆ ธัญพืช  ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม โปรตีนจากอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ และถั่วต่าง ๆ ไขมันดี นอกจากนี้ ยังควรหลีกเลี่ยงหรือจำกัดปริมาณการบริโภคอาหารดังต่อไปนี้ อาหารไขมันไม่ดีสูง เช่น ของทอด อาหารที่มีการเติมน้ำตาล เช่น ขนมหวาน น้ำอัดลม อาหารรสเค็มจัด ทั้งนี้ ควรเลือกรับประทานอาหารให้หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับคุณค่าทางสารอาหารที่ครบถ้วนและสมวัย เหมาะสำหรับพัฒนาการของเด็กวัยเรียน 3 เมนูข้าวกล่อง ไป โรงเรียน ง่ายๆ 1. ไข่ยัดไส้ ส่วนผสม ไข่ไก่ 1 ฟอง หมูสับ (หรือไก่สับ)  […]

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

เด็กทารก

การคลาน กับสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรป้องกัน

การคลาน เป็นหนึ่งในการพัฒนาของทารก เมื่อทารกเริ่มคลายสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังและป้องกันนั่นคือ อุบัติเหตุจากสิ่งต่าง ๆ ภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ ประตู ไฟฟ้า สารเคมี ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงขั้นทำให้ทารกเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ การป้องกันร่างกายก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความใส่ใจ เพื่อช่วยลดแรงกระแทกที่อาจเกิดขึ้นเมื่อทารกคลานไปชนกับสิ่งต่าง ๆ [embed-health-tool-vaccination-tool] การคลาน กับสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรป้องกัน สำหรับสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรระวังและป้องกันเมื่อลูกเริ่มคลายได้ อาจมีดังนี้ ป้องกันร่างกาย การป้องกันร่างกายให้กับทารกที่กำลังฝึกคลาน อาจทำได้ด้วยการสวมเสื้อผ้าที่สามารถรองรับแรงกระแทกได้ เพราะถ้าหากว่าทารกคลานไปกระแทกกับบริเวณต่าง ๆ เสื้อผ้าอาจช่วยลดอาการเจ็บปวดได้พอสมควร นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจใช้แผ่นรองเข่า เพื่อช่วยป้องกันร่างกายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ป้องกันประตู การให้ทารกได้ฝึกคลานถือเป็นเรื่องที่ดี แต่เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นหากคลาดสายตาจากคุณพ่อคุณแม่ขณะที่ฝึกคลาน คือ คุณพ่อคุณแม่ควรจะทำคอกกั้นหรือทำการกั้นพื้นที่เพื่อให้ทารกได้ฝึกคลานในบริเวณที่เหมาะสม เพราะหากทารกคลานไปบริเวณรอบๆ  บ้าน ก็อาจมีโอกาสที่จะคลานไปยังห้องอื่น ๆ แล้วถูกขังเอาไว้ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องอันตราย นอกจากนี้ หากเจ้าตัวเล็กฝึกคลานอยู่บริเวณชั้นบนของบ้านโดยไม่มีอะไรมากั้น ก็อาจจะทำให้ทารกคลายไปยังบริเวณใกล้ ๆ กับบันได จนอาจพลาดตกลงมาบาดเจ็บ หรืออาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ที่สำคัญที่สุด การทำคอกกั้นหรือทำการกั้นพื้นที่ไม่ควรให้อยู่ใกล้กับประตู เพราะหากคนด้านนอกเปิดประตูเข้ามาก็อาจจะกระแทกกับทารกที่กำลังคลานอยู่ได้ ป้องกันไฟฟ้า เมื่อทารกเล็กเริ่มคลานบางครั้งอาจจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องคลานไปบริเวณที่มีปลั๊กไฟ หรือรูสำหรับเสียบปลั๊กไฟ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องมีการถอดสายไฟทั้งหมดออก รวมถึงอาจจะต้องหาที่บังปลั๊กไฟและรูสำหรับเสียบปลั๊กไฟ เพื่อป้องกันทารกไปเล่นกับไฟฟ้านั่นเอง ป้องกันสารเคมี สารเคมีส่วนใหญ่ที่ทารกอาจไปเล่นได้โดยไม่รู้ตัว อาจเป็นพวกน้ำยาปรับผ้านุ่ม หรือสารเคมีต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้น จึงไม่ควรที่จะเก็บเอาไว้ในตู้ที่อยู่ติดกับพื้น หรือบริเวณที่ต่ำ ๆ […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกน้อยวัย 26 เดือน

ลูกน้อยวัย 26 เดือน เป็นช่วงที่ลูกมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในช่วงนี้ลูกจะเริ่มใช้มือข้างใดข้างหนึ่งในการกินอาหาร เอื้อมมือหยิบของ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มสังเกตได้ว่าลูกถนัดมือซ้ายหรือมือขวา นอกจากนี้ ลูกจะเริ่มเรียนรู้คำศัพท์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรค่อย ๆ สอนคำศัพท์ใหม่ ๆ ให้ลูก เพื่อส่งเสริมด้านการเรียนรู้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและพฤติกรรมของ ลูกน้อยวัย 26 เดือน  ลูกน้อยควรจะต้องทำอะไรได้บ้าง ในช่วงเวลานี้ คุณแม่อาจปวดศีรษะเนื่องจากลูกอาจจะชอบกัดเวลาที่โกรธหรือรู้สึกถูกคุกคาม ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นผลมาจากการที่เด็กมีปัญหาในการสื่อสารอารมณ์ ในปีที่ผ่านมา คุณแม่อาจสังเกตเห็นลูกน้อยเริ่มใช้มือข้างใดข้างหนึ่งในการทำสิ่งต่าง ๆ เช่น เวลากินอาหาร หรือเอื้อมหยิบอะไร (ทารกมักใช้มือทั้งสองข้างสลับกัน) ซึ่งในปีต่อไปหลังจากนี้ เด็กจะเริ่มมีการใช้มือข้างที่ถนัดมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่จึงสามารถที่จะรู้ได้อย่างแน่นอนแล้วว่าลูกเป็นคนถนัดซ้ายหรือถนัดขวา ลูกน้อยควรเตรียมตัวอย่างไร ถึงแม้จะเข้าใจได้ว่าทำไมลูกถึงต้องกัด แต่การกัดก็ไม่ใช่พฤติกรรมที่ดีนัก ฉะนั้นจึงควรพูดให้ลูกน้อยรับรู้ว่า นั่นเป็นพฤติกรรมที่ไม่ควรทำ โดยพูดด้วยน้ำเสียงที่หนักแน่นและสงบ เช่น “ห้ามกัด การกัดทำให้คนอื่นรู้สึกเจ็บนะ” จากนั้นก็หันไปปลอบโยนเด็กที่โดนกัด การดุด่าว่ากล่าวคนกัดในตอนนี้ ก็เหมือนเป็นการให้ท้ายว่าเขาไม่ควรทำการเรียกร้องความสนใจแบบนี้อีกในครั้งต่อไป ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็กกล่าวว่า เด็กในวัย 2 ขวบนั้นเหมาะจะ “จับเข้ามุม” เพื่อเป็นการลงโทษได้แล้ว เนื่องจากเด็กโตพอที่จะสามารถเข้าใจถึงสาเหตุและผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งเคล็ดลับในการ “จับเข้ามุม” ให้สำเร็จนั้นก็ได้แก่… […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกน้อยวัย 33 เดือน มีพัฒนาการอย่างไรบ้าง

ลูกน้อยวัย 33 เดือน เป็นวัยที่สมองกำลังพัฒนาอย่างเต็มที่ เป็นช่วงวัยที่กำลังจะก้าวพ้นวัยเตาะแตะ ลูกน้อยจะมีเรื่องเล่าที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่ประหลาดใจอยู่เสมอ และอาจหยิบสิ่งต่าง ๆ รอบตัวมาเล่าเรื่อง และเริ่มเรียนรู้ที่จะรู้จักสิ่งต่าง ๆ ความมืด ความกลัว สนใจอยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบตัวโดยเฉพาะเมื่ออยู่นอกบ้าน นอกจากนั้น ยังสามารถเริ่มเรียนรู้ด้านวิชาการ อ่าน เขียน นับเลข [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและพฤติกรรม ลูกน้อยวัย 33 เดือน ควรจะต้องทำอะไรได้บ้าง เด็กวัยนี้เริ่มมีจินตนาการแสนบรรเจิด ลูกน้อยจะมีเรื่องเล่าทั้งสัตว์ประหลาด มังกร ภูติผี หรือสิ่งลึกลับต่าง ๆ ทักษะการนับเลขจะเกิดขึ้นเมื่อลูกน้อยเริ่มนับก้าวเดินของตัวเอง แรกเริ่มเลยนั้นเด็กจะเริ่มจากหนึ่งและมากกว่าหนึ่ง (ไม่ว่าจะเป็น 2 หรือ 6 ก็ตาม) เด็กในวัย 2 ขวบจะนับได้แค่ 2 และจากนั้นเมื่ออายุสามขวบก็จะนับได้ถึง 3 แต่ถ้าลูกน้อยสามารถนับได้ถึง 10 เขาก็อาจจะยังไม่เข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร และอาจระบุจำนวนตามที่เขาตั้งชื่อเอาไว้ คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมตัวอย่างไร ลูกน้อยวัย 33 เดือน เป็นวัยที่พ่อแม่ควรให้ความใส่ใจและสนใจในเรื่องที่เขาพูด เพื่อทำให้เขารู้สึกว่าสิ่งที่เขาคิดค้นหรือค้นพบนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เป็นการส่งเสริมจินตนาการไปพร้อม ๆ กัน ได้แก่ หากลูกพูดถึงความกลัว คนในครอบครัวควรให้ความสนใจกับความกลัวนั้นอย่างจริงจัง อย่าทำเป็นเรื่องเล็กน้อย […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกน้อยวัย 32 เดือน การเจริญเติบโต พัฒนาการ และวิธีดูแล

ลูกน้อยวัย 32 เดือน เป็นช่วงวัยที่มีการเติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เด็ก ๆ เริ่มที่จะสื่อสารและเข้าใจอารมณ์ต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนขึ้น สามารถเริ่มเล่นบทบาทสมมติ เริ่มมีความเป็นตัวของตัวเอง และรู้จักคิดมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรหากิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมทักษะด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนให้ลูกได้ฝึกพัฒนาตนเองในทุก ๆ วัน [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและพฤติกรรมของ ลูกน้อยวัย 32 เดือน  ลูกน้อยควรจะต้องทำอะไรได้บ้าง เมื่อลูกน้อยมีอายุได้ 3 ขวบ พัฒนาการด้านภาษาโดยเฉพาะการพูด ฟัง อ่าน เขียน จะเริ่มชัดขึ้น โดยเริ่มสนใจการเล่นเป็นบทบาทสมมติ ตุ๊กตารูปสัตว์ต่าง ๆ จะไม่เพียงเป็นตุ๊กตาที่เอาไว้กอดอีกต่อไปแล้ว แต่จะเป็นของเล่นที่มีชีวิตจริง ๆ และมีชื่อ มีครอบครัว ต้องการอาหาร อาบน้ำ และไปร่วมปาร์ตี้น้ำชากับลูกน้อยด้วย ผ้าเช็ดตัวบนหลังลูกน้อยอาจทำให้กลายเป็นซุปเปอร์ฮีโร่ขึ้นมาทันที ซึ่งมีเรื่องราวในการเดินทางหรือการผจญภัยตามมาด้วย ลูกน้อยจะเริ่มบรรยายความคิดและจินตนาการขณะที่เล่นอยู่ด้วย และสามารถสร้างบทสนทนาและใช้คำพูดโต้ตอบได้เร็วขึ้น ควรช่วยส่งเสริมพัฒนาการลูกน้อยอย่างไร หนังสือบทกลอนหรือคำคล้องจอง วิธีที่จะช่วยเสริมพัฒนาการทางการใช้ภาษาก็คือการใช้บทกวี บทกลอน นิทานหรือเรื่องราวที่มีสัมผัสคล้องจอง และการเล่นคำ จะทำให้ลูกน้อยเข้าใจความแตกต่างของคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน และช่วยเพิ่มคำศัพท์ให้ลูกน้อย นอกจากนี้ ยังช่วยให้เกิดความจำจากการฟัง ช่วยเพิ่มทักษะการอ่านหนังสือ และช่วยสร้างพัฒนาการทางด้านจังหวะดนตรีด้วย รูปภาพของตัวอักษรบทกวีที่ได้ยินเป็นประจำ จะกลายเป็นภาพที่คุ้นเคยและสิ่งที่น่าหลงใหล นอกจากนั้น […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

เด็กอายุ 30 เดือน การเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ควรรู้

เด็กอายุ 30 เดือน มักมีพฤติกรรมที่คาดเดาได้ยาก เช่น กลายเป็นเด็กดื้อ ทั้งที่เคยเชื่อฟังคุณพ่อคุณแม่ แต่เด็กวัยนี้ก็เริ่มใช้นิ้วมือได้ชำนาญขึ้นแล้ว คุณพ่อคุณแม่จึงอาจฝึกกล้ามเนื้อมือไปพร้อม ๆ กับพัฒนาการทางความคิดและจินตนาการได้ด้วยการวาดรูป ทั้งนี้ หากสังเกตพบว่าเด็กอายุ 30 เดือนมีพัฒนาการผิดปกติ ควรรีบพาไปพบคุณหมอทันที การเจริญเติบโตและพฤติกรรมของ เด็กอายุ 30 เดือน ลูกน้อยควรจะต้องทำอะไรได้บ้าง คุณคงคาดเดาพฤติกรรมของ ลูกน้อยวัย 30 เดือน ในเวลานี้ไม่ได้สักเท่าไหร่ เช่น เด็กน้อยที่เคยนอนกรนตลอดคืนจะเริ่มลุกขึ้นมาตอนตี 3 หรือลูกน้อยที่เคยเชื่อฟังมาตลอด ก็กลายเป็นเด็กที่ชอบเหวี่ยงวีน ดื้อ และไม่สามารถควบคุมได้ และจู่ ๆ ลูกน้อยที่เพิ่งถูกฝึกให้เข้าห้องน้ำก็ซุ่มซ่ามจนเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาเสียนี่ เด็กก่อนวัยเรียนมีตาและหูที่เก็บรายละเอียดได้อย่างเหลือเชื่อ เพราะมีสิ่งใหม่ ๆ ให้เขาต้องเรียนรู้มากมาย เขาถูกปรับให้เข้ากับเสียง สีสัน ขนาด และการเคลื่อนไหว ที่คุณอาจจะปรับแบบเขาไม่ได้ ฉะนั้นไม่ประหลาดใจล่ะถ้าได้ยินเขาอ้างถึง “แมวตัวนั้นที่ร้องเหมียว ๆ” หรือ “รองเท้าสีฟ้าของหนู” ในไม่ช้าคุณจะสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านการขีดเขียน เมื่อเจ้าตัวเล็กเรียนรู้ที่จะทำเครื่องหมายบนกระดาษ (ในวัยประมาณ 12-15 เดือน) ซึ่งเขาสามารถคว้าสีเทียนไปขีดเป็นเส้นตรงและเส้นเกลียวได้ด้วยการตวัดข้อมือไปมา เมื่อถึงวัยประมาณ 2 ขวบครึ่ง นิ้วมือของเขาจะพัฒนาจนเกิดความชำนาญ […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกน้อยวัย 31 เดือน การเตรียมตัวและการดูแลสุขภาพ

ลูกน้อยวัย 31 เดือน หรือประมาณ 2 ปีกว่า ๆ เป็นช่วงวัยที่เด็กกำลังซนและพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รอบข้างอยู่เสมอ ในช่วงนี้เด็กอาจสามารถแสดงอารมณ์บางส่วน เช่น พูด หัวเราะ ยิ้ม ออกมา รวมถึงบางคนอาจมีท่าทีรุนแรงเมื่อไม่ได้ดั่งใจ ดังนั้น จึงควรดูแลแมวให้ดีเพราะบางคนอาจมีอาการแพ้ขนแมวได้เลย [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] การเจริญเติบโตและพฤติกรรม ลูกน้อยควรจะต้องทำอะไรได้บ้าง จากคำศัพท์ทั้งหมดที่เขาเรียนรู้ในปีนี้ ดูเหมือนจะมีอยู่คำเดียวที่ชื่นชอบมาก นั่นก็คือคำว่า “ไม่” สาเหตุที่เด็กก่อนวัยเรียนพูดคำว่า “ไม่” เพราะกำลังค้นพบความเป็นอิสระในการแสดงความคิดเห็นของตัวเอง (บางครั้งเขาจะพูดว่า “ไม่” ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วลูกต้องการจะบอกว่า “ใช่”) บางครั้งลูกจะใช้คำว่า “ไม่” เพียงเพราะว่าเขารู้สึกโกรธ ผิดหวัง และดิ้นรนต่อสู้ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับ เด็กก่อนวัยเรียนอาจเรียนรู้ว่า หากลูกพูดให้ดังและฟังดูมีพลังได้มากพอ คุณพ่อคุณแม่ก็จะให้ความสนใจหรือให้ในสิ่งที่ลูกต้องการก็ได้ ลูกน้อยควรเตรียมตัวอย่างไร ให้ตัวเลือกแก่ลูกน้อยและฝึกเขาใช้ทางเลือกอื่น “อะไรคือคำตรงกันข้ามของคำว่า “ไม่?” “ใช่!” “ลูกอาจพูดว่า ‘ไม่’ หรืออาจพูดว่า ‘ใช่’ ก็ได้ หรือลองเดาซิว่าคำอะไรอยู่ระหว่างกลาง? ลูกอาจพูดว่า ‘อาจจะ’” นอกจากนี้ ก็ส่งเสริมให้เขาตอบด้วยเสียงเรียบ […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกน้อยวัย 35 เดือน

ลูกน้อยวัย 35 เดือน เปฺ็นช่วงที่ควรหากิจกรรมต่าง ๆ ให้ลูกได้ทำ เช่น ทำอาหาร ทำสวน เล่นนอกบ้าน เดินเล่น เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการ และทำให้รู้สึกสนุกนาน นอกจากนี้ ควรได้รับวัคซีนตามที่แนะนำครบถ้วน เช่น วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ การเจริญเติบโตและพฤติกรรม ลูกน้อยควรจะต้องทำอะไรได้บ้าง พยายามอย่าคิดมากถ้าลูกน้อยก่อนวัยเรียนจะชอบคุณพ่อคุณแม่ของเพื่อนมากกว่า แต่ลูกอาจตัดสินใจในวันใดหนึ่งขึ้นมาว่า มีแต่คุณพ่อคนเดียวเท่านั้นที่จะอ่านนิทานก่อนนอนให้ฟังได้ สาเหตุที่เป็นอย่างนี้ก็อาจมาจากความเคยชิน ถ้าคุณแม่พาเขาไปฝากคนอื่นเลี้ยงเด็กทุกวัน เด็กก็จะเกิดความไม่พอใจขึ้นมาได้ โดยปกติทั่วไป มีหลักฐานให้เห็นกันอยู่แล้วว่า ถ้าคุณพ่อคุณแม่จากลูกน้อยไปไหนไกล ๆ ลูกน้อยจะแสดงอาการไม่พอใจ เพราะเวลาที่กลับมา ลูกน้อยก็มักจะพูดขึ้นเสมอว่า “คิดถึงพ่อกับแม่จัง” “หนูไม่ชอบแบบนี้เลย” “หนูกลัวว่าพ่อกับแม่จะทำแบบนี้อีก” สำหรับเด็กก่อนวัยเรียนแล้ว เส้นแบ่งระหว่างจินตนาการกับความเป็นจริงนั้นเป็นเพียงเส้นบาง ๆ เท่านั้น ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมลูกถึงชอบโกหก แต่ไม่ได้ตั้งใจจะหลอกลวง ลูกน้อยควรเตรียมตัวอย่างไร ถ้าคุณรู้สึกเบื่อในระหว่างที่ลูกเล่นตุ๊กตา หรือเล่นต่อบล็อกไม้ ก็ไม่ต้องรู้สึกผิดที่จะปล่อยให้ล่นคนเดียวบ้างเป็นบางครั้ง เพราะนั่นจะช่วยให้ลูกพึ่งพาตัวเองได้ นอกจากนี้ คุณควรมองหาทางเลือกอื่นที่ทำร่วมกันกับลูกน้อยได้โดยไม่เบื่อ เช่น ทำอาหาร ทำสวน เล่นนอกบ้าน เดินเล่น ลูกน้อยในวัยนี้อาจชอบพูดโกหก ฉะนั้นอย่าไปทำอะไรให้ลูกเห็นถึงความน่ากลัวในการพูดความจริง เช่น ถ้าเขาปฎิเสธว่า ไม่ได้ขีดเขียนผนังบ้าน ก็ควรช่วยลูกทำความสะอาดรอยเปรอะเปื้อนบนผนังอย่างสงบและใจเย็น และอธิบายให้เข้าใจว่าดินสอเทียนมีไว้ขีดเขียนบนกระดาษ ไม่ใช่บนผนัง เด็กส่วนใหญ่จะปั่นรถสามล้อได้ในช่วงอายุระหว่าง 2-3 ขวบ […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกน้อยวัย 34 เดือน มีพัฒนาการอย่างไร

ลูกน้อยวัย 34 เดือน มีพัฒนาการที่กำลังเปลี่ยนผ่านจากวัยเตาะแตะมาเป็นวัยเด็ก คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมทักษะด้านต่าง ๆ ทั้งด้วยการเล่น การรับประทานอาหาร และสังเกตพฤติกรรมลูกน้อยอย่างใกล้ชิด เพราะเป็นช่วงวัยที่เขากำลังสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวด้วยความอยากรู้อยากเห็น [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและพฤติกรรม ลูกน้อยควรจะต้องทำอะไรได้บ้าง นอกเหนือจากทักษะทางด้านภาษาที่ดีขึ้นแล้ว ลูกน้อยอาจมีบุคลิกที่ดูน่ารำคาญเกิดขึ้นในช่วงนี้ด้วย นั่นก็คือบุคลิกที่ดูเจ้ากี้เจ้าการ “ใส่เสื้อคลุมให้หน่อย” “แม่มานี่หน่อย!” “พ่อนั่งตรงนี้” ลูกน้อยมองตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ดังนั้นเขาจึงเห็นเป็นเรื่องธรรมดา ที่ใคร ๆ จะต้องหมุนรอบตัวเขา ไม่ใช่เป็นเพราะคุณพ่อคุณแม่พูดหรือทำอะไรตล๊ก…ตลกในชีวิตประจำวัน แต่เขาจะแสดงปฎิกิริยาต่อเรื่องตลกพวกนั้นแบบเกินจริงมาก การที่เขาชอบความตลกโปกฮานั้น ไม่ใช่เรื่องฟังดูตลกเท่านั้นนะ แต่เขาชอบที่มีการทำเสียงแปลก ๆ การแสดงทางใบหน้าที่ดูตลก ๆ ด้วย ลูกน้อยควรเตรียมตัวอย่างไร ถึงแม้ว่าลูกน้อยอาจเข้าใจยาก แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถสอนให้เขาอ่อนโยนขึ้นได้ ด้วยการพยายามให้ลูกน้อยใช้คำว่า “กรุณา” และ “ใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวล” เวลาที่เขาเรียกร้องต้องการอะไร ถ้าไม่ได้ฝึกลูกน้อยให้รู้จักการใช้ห้องน้ำ หรือฝึกไม่สำเร็จก่อนหน้านี้ ช่วงเวลานี้ก็นับเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ฝึกให้เขารู้จักวิธีใช้ห้องน้ำดูอีกที ตอนนี้ลูกน้อยพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้นแล้ว และจะอยากเข้าห้องน้ำด้วยตัวเอง ก่อนอื่นก็อธิบายให้เขาฟังว่าชักโครกมีไว้ทำอะไร ในขณะที่เขานั่งอยู่บนชักโครกโดยปิดฝาเอาไว้ วิธีนี้จะช่วยลดความน่ากลัวลงได้ ควรพาลูกน้อยไปที่ชักโครกทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง เพื่อคอยเตือนลูกน้อยและป้องกันอุบัติเหตุ โดยควรทำแบบนี้เป็นกิจวัตร ยกตัวอย่างเช่น ในทุก ๆ เช้า ก่อนช่วงงีบหลับในตอนกลางวัน และในช่วงกล่อมนอนตอนกลางคืน เพื่อเป็นการเตือนให้ลูกน้อยเข้าห้องน้ำ หลังจากใช้ห้องน้ำเสร็จแล้ว […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

พัฒนาการเด็ก เดือนที่ 13 เป็นอย่างไรบ้าง

พัฒนาการเด็ก เดือนที่ 13 โดยทั่วไป เด็กอาจมีพฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยอาจจะเลือกกินมากขึ้น นอกจากนี้ พฤติกรรมการนอนก็อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น คุณแม่ควรศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กเดือนที่ 13 เอาไว้ เพื่อจะได้ดูแลได้อย่างถูกต้อง [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก เดือนที่ 13 ลูกน้อยจะเติบโตและมีพัฒนาการเด็ก เดือนที่ 13 อย่างไร ลูกน้อยวัย 13 เดือน อาจมีพฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อาจเลือกกินมากขึ้น ซึ่งช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่อาจให้ลูกน้อยได้ลองรับประทานอาหารชนิดต่าง ๆ หรืออาหารที่ไม่ชอบกินมาก่อน เพราะการรับรสของลูกน้อยจะพัฒนาขึ้น จึงควรลองใช้เครื่องปรุงรสต่าง ๆ  แต่ควรระวังหากลูกน้อยน้ำหนักลด หรือมีอาการอื่น ๆ เช่น เป็นไข้ ท้องเสีย อาจเกิดการติดเชื้อทางเดินอาหาร ซึ่งควรพาลูกน้อยไปพบคุณหมอ ไม่เพียงแต่พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เปลี่ยนไป พฤติกรรมการนอนของลูกน้อยก็อาจเปลี่ยนแปลงไปด้วย โดยลูกน้อยที่นอนหลับเป็นปกติมาตลอด อาจตื่นขึ้นมากลางดึก ในช่วงอายุระหว่าง 12-14 เดือน และเริ่มฝัน ซึ่งฝันนั้นอาจทำให้ตกใจและร้องไห้กลางดึก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรปลอบโยน ด้วยการนอนกับลูกน้อยจนกว่าจะหลับ อาการเช่นนี้จะผ่านไปในไม่ช้า ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร บางครั้งการที่ลูกน้อยเลือกรับประทานมากขึ้นอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่เครียด แต่ก็ไม่ควรบังคับให้ลูกน้อยรับประทานอาหารมากจนเกินไป ควรปล่อยให้รับประทานตามความต้องการ แม้ว่าจะไม่สามารถควบคุมปริมาณการรับประทานอาหารของลูกน้อยได้ แต่คุณพ่อคุณแม่คือผู้ควบคุมสิ่งที่ลูกน้อยรับประทานเข้าไป ดังนั้น จึงควรเลือกอาหารที่มีประโยชน์ […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

พัฒนาการเด็ก เดือนที่ 12 พ่อแม่ควรส่งเสริมเรื่องอะไร

พัฒนาการเด็ก เดือนที่ 12 คือ ช่วงที่ลูกน้อยจะเริ่มเดินได้ด้วยตัวเอง โดยอาจจะยังเกาะสิ่งของต่าง ๆ เพื่อใช้ในการพยุงตัว นอกจากนั้น ยังเริ่มเปล่งเสียงพูดได้เป็นภาษามากขึ้น และเริ่มสำรวจสภาพแวดล้อมรอบตัวมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิดและหาวิธีส่งเสริมพัฒนาการและทักษะด้านต่าง ๆ ของลูกน้อยให้เหมาะสมกับวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก เดือนที่ 12 ลูกน้อยจะเติบโตและมีพัฒนาการเด็ก เดือนที่ 12 อย่างไร ในช่วงนี้เป็นช่วงที่ลูกน้อยมีอายุครบ 1 ขวบ และเริ่มเดินได้ด้วยตัวเอง ซึ่งเด็กหลายคนอาจเริ่มเดินเมื่ออายุระหว่าง 9-12 เดือน และจะเดินคล่องแคล่วขึ้นเมื่อมีอายุได้ 14 หรือ 15 เดือน อย่างไรก็ตาม หากลูกน้อยยังเกาะเฟอร์นิเจอร์บางอย่างไม่ยอมปล่อย ไม่ควรเป็นกังวลมากเกินไป เพราะถือเป็นเรื่องปกติที่เด็กแต่ละคนอาจมีพัฒนาการช้าเร็วแตกต่างกันไป นอกจากนั้น ลูกน้อยจะเริ่มเปล่งเสียงพูดได้เป็นภาษามากขึ้น หลังจากที่พูดอ้อแอ้มาเมื่อหลายเดือนก่อน คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยกับลูก เปล่งเสียงถ้อยคำต่าง ๆให้ชัดเจน เพื่อลูกจะได้เรียนรู้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ ความสามารถและพัฒนาการในการพูดของเด็กแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน ควรให้เวลาลูกน้อยได้เรียนรู้ หากอยู่กับผู้ใหญ่ที่พูดคุยกับเด็กตลอดเวลา อาจทำให้เด็กมีพัฒนาการพูดที่เร็วขึ้น ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร ส่งเสริมให้ลูกน้อยเดิน ด้วยการให้ลูกน้อยได้เคลื่อนไหวบ่อย ๆ โดยไม่ต้องช่วย หรือคอยอุ้มจนบ่อยเกินไป ถ้าลูกน้อยพยายามจะเดินเตาะแตะ และหกล้มบ้าง ควรปล่อยให้เขาเริ่มเรียนรู้ที่จะทำอะไรด้วยตัวเอง […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม