พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

เมนูข้าวกล่อง ไป โรงเรียน ง่ายๆ ดีต่อสุขภาพ

มื้อกลางวัน เป็นอีกหนึ่งมื้ออาหารที่สำคัญไม่แพ้มื้อไหน ๆ โดยเฉพาะสำหรับเด็กวัยเรียน ที่ต้องการสารอาหารและพลังงานเพื่อให้ร่างกายพร้อมสำหรับการเรียนในช่วงบ่าย ยิ่งหากจัดเตรียมข้าวกล่องไปเองจะยิ่งมั่นใจได้ว่าสามารถเลือกสรรค์วัตถุดิบที่มีคุณภาพและมีสารอาหารที่ครบถ้วนสำหรับลูก บทความนี้จึงอยากจะมาแนะนำ เมนูข้าวกล่อง ไป โรงเรียน ง่ายๆ ที่ดีต่อสุขภาพของลูก [embed-health-tool-vaccination-tool] โภชนาการที่เหมาะสมกับเด็กวัยเรียน เด็กวัยเรียนควรได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเหมาะสม จากข้อแนะนำการบริโภคเพื่อสุขภาพที่ดีแห่งสหรัฐอเมริกา ฉบับปี พ.ศ. 2563-2568 แนะนำว่า ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ควรบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบ ดังนี้ ผักและผลไม้ต่าง ๆ ธัญพืช  ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม โปรตีนจากอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ และถั่วต่าง ๆ ไขมันดี นอกจากนี้ ยังควรหลีกเลี่ยงหรือจำกัดปริมาณการบริโภคอาหารดังต่อไปนี้ อาหารไขมันไม่ดีสูง เช่น ของทอด อาหารที่มีการเติมน้ำตาล เช่น ขนมหวาน น้ำอัดลม อาหารรสเค็มจัด ทั้งนี้ ควรเลือกรับประทานอาหารให้หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับคุณค่าทางสารอาหารที่ครบถ้วนและสมวัย เหมาะสำหรับพัฒนาการของเด็กวัยเรียน 3 เมนูข้าวกล่อง ไป โรงเรียน ง่ายๆ 1. ไข่ยัดไส้ ส่วนผสม ไข่ไก่ 1 ฟอง หมูสับ (หรือไก่สับ)  […]

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกน้อยวัย 24 เดือน มีพัฒนาการอะไรบ้าง

ลูกน้อยวัย 24 เดือน หรือ 2 ปี เป็นช่วงที่ลูกสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ประมาณหนึ่งแล้ว อาจสามารถเปลี่ยนชุดได้ด้วยตัวเอง สามารถเลือกเสื้อผ้าที่ชอบได้ และอาจเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกได้ทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ เช่น ฝึกเปลี่ยนเสื้อผ้าด้วยตัวเอง ลองหาของ หรือตั้งคำถามง่าย ๆ กับลูก เพื่อช่วยฝึกทักษะการคิดและการสื่อสารของลูกน้อย [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและพฤติกรรมของ ลูกน้อยวัย 24 เดือน ตอนนี้ลูกน้อยมีอายุ 2 ขวบแล้ว ลูกอาจจะถอดเสื้อผ้าหรือใส่เสื้อผ้าได้เอง และเขาอาจรู้ว่าชอบหรือไม่ชอบใส่อะไร นอกจากนี้ทักษะการเคลื่อนไหวของลูก ก็กำลังพัฒนาด้วยเหมือนกัน ตอนนี้เขาอาจจะยืนได้อย่างมั่นใจแล้ว เขาอาจสามารถก้มตัวหยิบของที่พื้นได้ด้วย หรืออาจจะกระโดดเข้าที่หรือยืนเขย่งปลายเท้าได้ แต่เมื่อลูกน้อยมีอายุ 2 ขวบ เขาจะเข้าใจแล้วว่าสิ่งของต่าง ๆ นั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้องของเขายังไง เขาจะเข้าใจได้ดีขึ้นในเรื่องขนาดของวัตถุ และความเกี่ยวข้องกับข้าวของอย่างอื่น เขาอาจทำตามคำสั่งในเรื่องทิศทางได้ อย่างเช่น “หยิบลูกบอลตรงมุมห้องมาให้แม่หน่อย” หรือ “มองหาบนเตียงสิลูก” ลูกน้อยควรเตรียมตัวอย่างไร คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยเหลือลูกน้อยได้ ด้วยการซื้อเสื้อผ้าที่มีกระดุม 2-3 เม็ด เทปตีนตุ๊กแก หรือตะขอ เพื่อช่วยให้ลูกน้อยได้เรียนรู้วิธีใส่เสื้อผ้าด้วยตัวเอง เขาจะใส่กางเกงเอวยางยืด เสื้อที่สวมทางศีรษะ และรองเท้าที่ใช้เทปตีนตุ๊กแกได้ดีที่สุด การเตรียมเสื้อผ้าที่ใส่ง่ายไว้ให้ลูกน้อย จะช่วยลดความยุ่งยากในตอนเช้าๆ ให้ได้ […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกน้อยวัย 23 เดือน มีพัฒนาการอย่างไรบ้าง

ลูกน้อยวัย 23 เดือน เป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งด้านร่างกาย ตัวอาจจะเริ่มยืดขึ้น แลดูผอมลง และพัฒนาการด้านต่าง ๆ ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่น การพูดคุย การใช้มือ เด็กในวัยนี้สามารถจดจำและเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งสามารถสื่อสารได้เป็นคำหรือประโยคสั้น ๆ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ลืมว่าเด็กแต่ละคนต่างมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน หากลูกน้อยมีพัฒนาการที่เร็วหรือช้ากว่าปกติ ไม่ควรกังวลใจมากเกินไป ค่อย ๆ ส่งเสริมและหาทางสนับสนุนพร้อมเรียนรู้ไปกับลูกน้อย  [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและพฤติกรรมของลูกน้อยวัย 23 เดือน ลูกน้อยวัย 23 เดือน อาจจะเรียนรู้คำใหม่ ๆ ได้มากถึงวันละสิบคำ โดยเฉพาะเมื่อเมื่อมีอายุครบ 2 ขวบ จะสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้มากขึ้น ได้แก่ สร้างประโยคที่ใช้คำ 2-4 คำได้ ร้องเพลงง่าย ๆ ได้ ทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ ใช้สรรพนามได้ ถึงแม้ว่าจะไม่ถูกต้องเสมอไป พูดซ้ำคำที่ได้ยินจากบทสนทนา จำชื่อคน สิ่งของ และส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ ถ้าการเติบโตของลูกน้อยดูช้าลงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับปีแรก ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเด็กที่มีอายุ […]


การเติบโตและพัฒนาการ

การปลอบ ลูก เมื่อลูกอารมณ์แปรปรวน ทำได้อย่างไร

คุณพ่อคุณแม่อาจพบเจอกับปัญหาทางด้านอารมณ์ของเด็ก เช่น โกรธเมื่อไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ เสียใจที่ถูกแกล้งรังแก ไม่พอใจเมื่อถูกขัดใจ หากปัญหาเหล่านี้ไม่ได้รับการแก้ไข อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์ในระดับที่รุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล ซึ่งอาจเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากกว่าเดิม ดังนั้น เมื่อเด็กมีปัญหาทางอารณ์ต่าง ๆ ผู้ปกครองควรเรียนรู้ที่จะมี การปลอบ ให้เด็ก ๆ ผ่อนคลายความรู้สึกทางอารมณ์ลง ความผิดปกติทางอารมณ์ คืออะไร เด็ก ๆ หลายคน มักไม่สามารถที่จะควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ นั่นอาจเป็นลักษณะของความผิดปกติทางอารมณ์ (Emotion Dysregulation) ซึ่งอาจเป็นความไม่สามารถในการจัดการกับความรุนแรงของอารมณ์ในเชิงลบ เช่น ความกลัว ความเศร้า ความโกรธ โดยอารมณ์ด้านลบที่ยืดเยื้ออาจส่งผลต่อทั้งทางร่างกาย อารมณ์ และพฤติกรรมที่รุนแรง เช่น การทะเลาะกับเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัว เด็กอาจไม่สามารถหยุดคิดถึงเรื่องราวในแง่ลบเหล่านั้นแม้กระทั่งในตอนที่นอนหลับ และแม้ว่าคุณพ่อคุณแม่จะปลอบโยนเด็กว่าให้ปล่อยผ่านไป แต่เด็กอาจไม่มีความสามารถในการที่จะควบคุมอารมณ์เหล่านั้นได้ด้วยตัวเอง คุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกตพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กอย่างใกล้ชิดอยู่เสมอ การปลอบ ลูก คุณพ่อคุณแม่ทำได้อย่างไร ไม่ใช่แค่เพียงเวลาที่เด็กเกิดความเศร้าเท่านั้นที่ต้องมีการปลอบใจ แต่เมื่อเด็กโกรธ ไม่พอใจ หรือโดนขัดใจ การปลอบก็สามารถช่วยให้เด็กมีอารมณ์ที่ผ่อนคลายลง สามารถเข้าใจถึงเหตุผล และความเป็นไปของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ โดยการปลอบอาจทำได้ ดังนี้ วางข้อกำหนดหรือกฎต่าง ๆ เพื่อเป็นการฝึกให้เด็กรู้จักการควบคุมอารมณ์และความรู้สึกของตัวเอง คุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะบอกให้เด็ก ๆ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูกน้อยร้องไห้บ่อย เกิดจากอะไร ควรรับมืออย่างไร

ลูกน้อยร้องไห้บ่อย อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกกังวลใจและเกิดความเครียด โดยปกติแล้วเมื่อลูกร้องไห้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความหิว เหนื่อย ความเครียด หรืออาจเกิดจากอาการโคลิค (Colic) ซึ่งเป็นอาการที่อาจพบบ่อยในเด็กแรกเกิดถึง 3 เดือน ส่งผลทำให้เด็กร้องไห้งอแงมากและอาจควบคุมได้ยาก ดังนั้น การเข้าใจถึงสาเหตุและการดูแลให้ลูกรู้สึกสบายตัว จึงอาจช่วยทำให้ลูกน้อยร้องไห้น้อยลง ลูกน้อยร้องไห้บ่อย เกิดจากอะไร การร้องไห้ของลูกเป็นการสื่อสารที่เด็กสามารถทำได้ เพื่อบ่งบอกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น เนื่องจากพวกเขายังไม่สามารถพูดได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องสังเกตทุกครั้งที่ลูกร้องไห้ว่าพวกเขากำลังจะสื่อสารอะไร ซึ่งสาเหตุที่อาจทำให้ลูกน้อยร้องไห้บ่อย อาจมีดังนี้ อาจมีอาการเหนื่อย เด็กต้องการการพักผ่อนที่เพียงพอและเหมาะสม ดังนั้นหากเด็กรู้สึกเหนื่อยหรืออ่อนเพลีย คุณพ่อคุณแม่ควรให้เด็กพักผ่อนทันที โดยอาจสังเกตลักษณะอาการที่บ่งบอกถึงความเหนื่อยล้า เช่น การขยี้ตา หาว ทำสีหน้าอ่อนเพลีย และในบางครั้งอาจ ร้องไห้งอแงออกมานั่นเอง ซึ่งอาการดังกล่าวจะพบได้ในเด็กเล็ก ๆ หากเป็นเด็กที่โตกว่าจะมีอาการร้องไห้น้อยลง อาจกำลังหิว อาการนี้สามารถพบได้บ่อยในเด็กทารก เนื่องจากยังไม่สามารถสื่อสารหรือโต้ตอบกับคุณพ่อคุณแม่ได้ จึงร้องไห้ออกมาเพื่อเป็นสัญญาณให้รู้ว่าพวกเขากำลังหิว อาจต้องการให้คุณพ่อคุณแม่สนใจ การร้องไห้อาจเป็นวิธีที่เด็กใช้ในการทำให้คุณพ่อคุณแม่สนใจ ดังนั้น เมื่อเด็กร้องไห้เพื่อเรียกร้องความสนใจ คุณพ่อคุณแม่อาจต้องปล่อยผ่าน หรือควรมีการพูดคุยให้เข้าใจถึงเหตุและผลอย่างตรงไปตรงมา อาจเกิดจากคาเฟอีนในนมแม่ สำหรับคุณแม่ที่ดื่มเครื่องดื่มหรืออาหารที่มีคาเฟอีนเป็นประจำทุกวัน อาจต้องหลีกเลี่ยงคาเฟอีนในขณะให้นมลูก เพราะอาจส่งผลต่อน้ำนม ทำให้เด็กไม่ง่วงนอน ตื่นกลางดึกบ่อยและอาจทำให้งอแงมากขึ้น ถึงแม้การร้องไห้อาจเป็นอีกหนึ่งวิธีที่เด็กใช้ในการสื่อสาร แต่หากเด็กร้องไห้นานกว่า 15 นาทีไปจนถึง 1 ชั่วโมง นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าเด็กอาจกำลังมีปัญหา ไม่ว่าจะเรื่องของอาการป่วยหรือมีบางอย่างที่ทำให้ไม่สบายตัว ลูกน้อยร้องไห้บ่อยคุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร วิธีแก้ปัญหาเมื่อลูกน้อยร้องไห้บ่อยอาจทำได้หลายวิธี ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจใช้วิธีต่อไปนี้ เพื่อช่วยให้ลูกหยุดร้องไห้ อุ้มลูกแล้วโยกเบา ๆ […]


การเติบโตและพัฒนาการ

การเล่นกับการพัฒนาทักษะ เกี่ยวข้องกันอย่างไร

การพัฒนาทักษะของลูก ๆ ไม่เพียงการส่งเสริมด้านวิชาการเท่านั้น แต่การเล่นต่าง ๆ และกิจกรรมที่สนุกสนานยังช่วยให้ลูกพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตและการเติบโตได้ด้วย คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญกับ การเล่นกับการพัฒนาทักษะ ในแต่ละช่วงวัยของลูกน้อยอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] การเล่นกับการพัฒนาทักษะ ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ การเล่นทราย การเล่นทราย ฟังดูเหมือนเป็นเพียงการเล่นเพื่อความเพลิดเพลินเท่านั้น แต่พ่อแม่รู้หรือไม่ว่า การเล่นทรายเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้ พัฒนาทักษะ ในหลาย ๆ ด้าน เช่น ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อ สอนให้เด็กรู้จักการทำงานเป็นทีม รู้จักการแบ่งปัน ทั้งยังช่วยพัฒนาทักษะทางสังคมหากเล่นร่วมกับพี่น้อง หรือเด็กในวัยเดียวกัน การเล่นดินน้ำมัน หรือแป้งโดว์ การเล่นประเภทนี้ ลูกจะได้ใช้มือในการนวดและปั้น ซึ่งนอกจากจะเสริมสร้างกล้ามเนื้อแล้ว เด็กยังได้ใช้จินตนาการในการปั้นดินน้ำมันออกมาเป็นรูปทรงต่าง ๆ ซึ่งช่วยเพิ่มทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ด้วย การเล่นสวมบทบาท การเล่นชนิดนี้ เป็นการช่วยปลดปล่อยจินตนาการของเด็ก ๆ พวกเขาอาจค้นพบตัวตนได้จากบทบาทสมมติที่ตนเองกำลังเล่นอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นการสร้างทักษะปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่นด้วย การวาดภาพระบายสี แน่นอนว่า กิจกรรมนี้เป็นการเสริมสร้างจินตนาการของเด็กให้กว้างไกลมากขึ้น นอกจากจินตนาการของภาพที่วาดแล้ว การผสมสีต่าง ๆ ก็เป็นการ พัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการคิดค้นสีใหม่ ๆ ผ่านการผสมสี การเล่นจิ๊กซอว์ การเล่นของเล่นประเภทตัวต่อ หรือจิ๊กซอว์ จะช่วยเสริมให้ลูกของคุณได้ใช้ความคิด ใช้ตรรกะพื้นฐานในการแก้ปัญหา จัดการกับรูปทรง และขนาดต่าง ๆ การเล่นกับธรรมชาติ การพาลูกไปเดินป่า หรือการพาลูกไปอยู่กับธรรมชาติ เป็นการทำให้เด็กได้พบเจอกับสิ่งแปลกใหม่ในชีวิต ต่อยอดให้เกิดการค้นคว้า การตั้งคำถามว่าสิ่งนั้นหรือสิ่งนี้คืออะไร สิ่งสำคัญคือเป็นการสอนให้ลูกรักธรรมชาติ และใส่ใจสิ่งแวดล้อม การร้องเพลง การฟังเพลง กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยเพิ่มทักษะในเรื่องของจังหวะ […]


เด็กทารก

การสื่อสารกับทารก ทักษะสำคัญของลูกน้อยที่ไม่ควรมองข้าม

การสื่อสารกับทารก อาจเป็นวิธีที่ทารกแสดงออก เช่น ร้องไห้ ส่งยิ้ม การส่งเสียง เพื่อบ่งบอกบางสิ่งบางอย่างให้กับคุณพ่อคุณแม่ได้รู้ แต่การสื่อสารของทารกอาจจะไม่สามารถสื่อได้อย่างชัดเจนว่าพวกเขาต้องการอะไร ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องการสังเกตว่า ทารกตอบสนองต่อเสียงของคุณพ่อคุณแม่อย่างไร นอกจากนี้ การสื่อสารกับทารกเป็นประจำทุกวัน อาจช่วยกระตุ้นให้ทารกมีพัฒนาการด้านการสื่อสาร และพัฒนาการด้านการพูดที่ดีขึ้นได้ [embed-health-tool-child-growth-chart] วิธีสื่อสารของทารก ที่ควรรู้ ตามปกติแล้วทารกมักจะส่งเสียงร้องเมื่อเกิดสิ่งที่ผิดปกติบางอย่าง เช่น หิว รู้สึกไม่สบายตัว รู้สึกถึงสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ซึ่งการร้องไห้อาจเป็นวิธีเบื้องต้นที่ลูกใช้สื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่ อย่างไรก็ตาม ทารกก็ยังใช้รูปแบบอื่น ๆ ในการสื่อสารด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ทารกยังสามารถบอกความแตกต่างระหว่างเสียงของมนุษย์และเสียงอื่น ๆ ได้ด้วย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องพยายามสังเกตว่า ทารกตอบสนองต่อเสียงของคุณพ่อคุณแม่อย่างไร โดยอาจสังเกตได้จากเวลาที่ทารกกำลังร้องไห้อยู่ในเปล ให้ดูว่าเสียงที่คุณพ่อคุณแม่กำลังจะเดินเข้าไปหาที่เปลนั้นทำให้เสียงร้องของทารกเงียบลงหรือไม่ ดูว่าทารกสบตาเวลาที่พูดด้วยหรือไม่ ทารกอาจมีการขยับร่างกาย เช่น ขยับแขนหรือขา แสดงออกทางใบหน้าเวลาที่กำลังพูดด้วย บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็นว่า ทารกกำลังยิ้มให้ ซึ่งรอยยิ้มอาจเป็นอีกหนึ่งสัญญาณการสื่อสารจากทารกได้เช่นกัน การสื่อสารกับทารก ทำได้อย่างไรบ้าง แม้ว่าทารกจะไม่สามารถตอบโต้ออกมาเป็นรูปประโยค คำ หรือวลีสั้น ๆ กับคุณพ่อคุณแม่ได้ แต่การสื่อสารกับทารกเป็นประจำทุกวันอาจช่วยกระตุ้นให้ทารกมีพัฒนาการด้านการสื่อสาร และพัฒนาการด้านการพูดที่ดีขึ้นได้ ซึ่งทักษะการพูดและการใช้ภาษาเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการอ่าน การเขียน และทักษะมนุษยสัมพันธ์ตั้งแต่ในวัยทารกไปจนกระทั่งเมื่อลูกโตขึ้น โดนคุณพ่อคุณแม่อาจใช้วิธีการเหล่านี้ในการสื่อสารกับทารก ยิ้มให้ทารกบ่อย […]


การเติบโตและพัฒนาการ

พฤติกรรมที่ช่วย พัฒนาทักษะของลูก ได้ มาดูสิว่ามีอะไรบ้าง

ลูก ๆ อาจมีพฤติกรรมบางอย่างที่ชวนให้พ่อแม่สงสัย บางครั้งอาจเป็นการกระทำที่ดูน่ารำคาญ ขัดหูขัดตา หรือแปลกเกินไป แต่เราขอแนะนำว่าคุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งใจร้อน เพราะพฤติกรรมดังกล่าว อาจเป็นการกระทำที่ช่วย พัฒนาทักษะของลูก ได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ทักษะที่สำคัญสำหรับเด็ก มีอะไรบ้าง การพัฒนาทักษะของลูก สามารถทำได้ในหลายกรณี ผู้ปกครองไม่ควรบังคับ หรือกดดันให้ลูกทำในสิ่งที่คุณต้องการ แต่ควรให้คำแนะนำ หรือเลือกกิจกรรมที่จะช่วยเสริมสร้างทักษะสำคัญที่จะเป็นประโยชน์สำหรับการใช้ชีวิต ดังนี้ ทักษะการแก้ไขปัญหา การสอนให้ลูกรู้จักกับชีวิตย่อมเป็นสิ่งที่ดี คุณไม่ควรปกป้องหรือโอ๋ลูกมากจนเกินไป ควรปล่อยให้ลูกได้เผชิญกับปัญหาและแก้ไขปัญหาเล็กน้อยด้วยตัวเองบ้าง เขาจะได้เรียนรู้และปรับตัวกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม หากคุณเห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นยากเกินความสามารถในการตัดสินใจของเด็ก ก็ควรแนะนำและช่วยเหลือเขาบ้าง อย่าปล่อยให้เขาแก้ปัญหาเองทุกเรื่อง การได้ทำในสิ่งที่ชอบ บางครั้งผู้ปกครองมักจะเข้มงวดกับกิจกรรมที่ลูก ๆ ชอบทำ และหากกิจกรรมดังกล่าวไม่ตรงตามความต้องการของตัวเอง พ่อแม่หลายคนก็อาจจะไม่ยอมให้ลูกได้ทำกิจกรรมนั้น ๆ คุณควรระลึกไว้ว่า ต่อให้เป็นกิจกรรมที่คุณไม่ชอบ แต่หากเป็นกิจกรรมโปรดของลูก และคุณดูแล้วไม่ได้ก่อผลเสียอะไร คุณก็ควรสนับสนุนเขาบ้าง เพราะการได้ทำกิจกรรมที่ชอบอาจส่งผลให้ลูกได้ใช้พรสวรรค์ของตัวเอง และพัฒนาต่อไปจนกลายเป็นความสามารถพิเศษของเขาต่อไปในอนาคต ความเห็นอกเห็นใจ การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เป็นอีกหนึ่งทักษะที่สำคัญของมนุษย์ พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างเรื่องการแบ่งปัน สอนให้ลูกรู้จักช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอกว่า และต้องการความช่วยเหลือ ความอดทน พ่อแม่ควรสอนให้ลูกรู้จักอดทน เช่น เวลาซื้อขนม ก็ควรรู้จักรอคิว และอดทนรอจนกว่าจะถึงคิวของตัวเอง เด็กจะได้เรียนรู้ว่า ไม่มีอะไรได้มาง่าย ๆ แต่ละอย่างต้องใช้เวลา เราจำเป็นที่จะต้องรู้จักรอคอยและอดทนบ้างในบางครั้ง โดยเฉพาะเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกน้อยวัย 29 เดือน การเจริญเติบโต พัฒนาการ และวิธีดูแลที่ควรรู้

ลูกน้อยวัย 29 เดือน หรือประมาณ 2 ขวบกว่า ๆ เป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เด็กบางคนอาจยังไม่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการแบ่งปัน จึงยังคงมีความรู้สึกหวงของและแย่งชิงของเล่นอยู่เสมอ อีกทั้งเด็กบางคนก็อาจมีอาการดื้อและไม่เชื่อฟัง คุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการที่เหมาะสมสำหรับลูกน้อยวัย 29 เดือน เพื่อให้สามารถดูแลลูกน้อยได้อย่างเหมาะสมกับวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและพฤติกรรมของ ลูกน้อยวัย 29 เดือน การต่อสู้เพื่อแย่งชิงของเล่น มักจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กในวัยนี้ เมื่อเด็ก 2 คนเล่นด้วยกัน การหวงของเล่นหรือการแบ่งปันของเล่น เป็นทักษะที่ยังไม่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของเด็กในวัยนี้ พัฒนาการเด่น ๆ ของเด็กในวัยนี้คือการทำอะไรซ้ำ ๆ เช่น ลูกน้อยอาจต้องการกินอะไรซ้ำแล้วซ้ำอีก สวมเสื้อผ้าแบบเดิม ทำอะไรแบบเดียวกัน นั่นแสดงว่าเขากำลังพยายามทำความเข้าใจกับโลกใบนี้ และรักษาบางสิ่งบางอย่างไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง นั่นเป็นวิธีที่เขาใช้ฝึกการควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ เด็กกำลังทำอะไรเพื่อให้ตนเองรู้สึกสบายใจ เด็กในช่วงวัยนี้ จะมีการพัฒนาวิธีการคิดที่เรียกว่า การแสดงเชิงพื้นที่หรือการคิดเชิงสัญลักษณ์ ซึ่งก็หมายความว่าเด็กสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ภายในใจตนเองได้ เมื่อเด็กมีประสบการณ์หรือมีความเคยชิน ก็จะทำให้เกิดความเชื่อมโยงกับสมอง และสามารถมองเห็นภาพนั้นได้ชัดเจนขึ้น เช่น ตุ๊กตาหมีที่หายไปมีรูปร่างหน้าตายังไง จะไปบ้านคุณยายได้ยังไง อาหารที่กินไปเมื่อวานนี้เป็นยังไง ลูกน้อยควรเตรียมตัวอย่างไร เด็กในวัยนี้อาจมีการทะเลาะกัน หรือไม่เข้าใจกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการทะเลาะเบาะแว้งระหว่างเด็ก ควรปฎิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างของการแบ่งปันและการให้ อาจใช้คำว่า […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกน้อยวัย 28 เดือน การเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ควรรู้

ลูกน้อยวัย 28 เดือน [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและพฤติกรรมของลูกน้อยวัย 28 เดือน ลูกน้อยควรจะต้องทำอะไรได้บ้าง ไม่ว่าลูกของคุณจะเป็นเด็กที่ชอบเข้าสังคมหรือเก็บตัวเงียบ เขาก็จะเริ่มแสดงความสนใจในเด็กคนอื่นเพิ่มมากขึ้น มิตรภาพครั้งแรกจะเป็นมิตรภาพที่แท้จริงสำหรับเด็ก และมีส่วนช่วยให้เด็กวัยก่อนเข้าเรียนได้ฝึกทักษะการเข้าสังคม และช่วยทำให้การเล่นของเขามีความหลากหลายขึ้นด้วย ถ้าลูกน้อยอยู่ในการดูแลของศูนย์รับเลี้ยงเด็กในช่วงกลางวัน เด็กอาจได้เล่นสนุกกับเพื่อนมากขึ้น เด็กก่อนวัยเรียนดูเหมือนจะเรียนรู้ได้เยอะและเร็ว แล้วถ้าลูกน้อยมีพรสวรรค์จะสังเกตเห็นในวัยนี้ไหม? ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้บอกว่า บางครั้งก็อาจเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเด็กสามารถเรียนรู้ได้เร็วกว่าเด็กในวัยเดียวกัน แต่ก็มีหลายคนที่ยังไม่ส่งสัญญาณว่ามีพรสวรรค์ออกมาจนกว่าจะเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษา ลูกน้อยสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ตอนนี้เขาสามารถเล่นกับข้าวของอันเล็กๆ ได้ง่าย และสามารถต่อบล็อคไม้เป็นหอคอยสูงๆ ได้โดยไม่ถล่มลงมา นอกจากนี้ยังมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานขึ้นถึง 20 นาที ลูกน้อยควรเตรียมตัวอย่างไร วิธีช่วยสร้างมิตรภาพให้กับเด็กๆ ได้แก่ จับกลุ่มเป็นกลุ่มเล็กๆ ถ้ามีเด็กมากเกินไปอาจทำให้เกิดความวุ่นวาย และชวนให้ทะเลาะกัน โดยเด็กๆ จะอยู่ร่วมกับเด็กในวัยเดียวกันได้เป็นอย่างดี ฉะนั้นเด็กในวัย 2 ขวบคือเพื่อนเล่นที่ดีที่สุดของลูกน้อย ให้เล่นในช่วงสั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเพื่อนใหม่ ไม่ควรให้เล่นด้วยกันนานเกิน 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง หลีกเลี่ยงการเล่นของเล่น ควรให้เด็กได้วิ่งเล่นนอกบ้าน และเล่นกับสิ่งของรอบตัว อย่างเช่น กล่องใบใหญ่ๆ จะช่วยส่งเสริมให้เด็กๆ มีปฎิสัมพันธ์กันโดยไม่มีการแสดงความเป็นเจ้าของมาเป็นชนวนให้เกิดการทะเลาะกัน ใช้คำว่า “เพื่อน” เมื่อพูดคุยกับลูกเกี่ยวกับเพื่อนๆ และลูกของคุณ สุขภาพและความปลอดภัย จะเกิดอะไรกับลูกน้อยเวลาไปพบคุณหมอ ถ้าคุณเห็นลูกน้อยสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง ก็ไม่ต้องตื่นตระหนกไปล่ะ การสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเองเป็นเรื่องปกติมาก และไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกาย มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ หรือไม่ได้หมายความว่าลูกน้อยจะกลายเป็นคนบ้าเซ็กส์ […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกน้อยวัย 27 เดือน

ลูกน้อยวัย 27 เดือน เริ่มมีพัฒนาการทางสังคมแล้ว จากที่เคยเล่นคนเดียวมาตลอด ตอนนี้ลูกจะเริ่มสนใจเด็กคนอื่น ๆ บ้างแล้ว ถึงแม้พวกเด็ก ๆ จะไม่ได้ตอบโต้กันในระหว่างที่เล่น แต่พวกเขาจะรับรู้ได้ว่ามีกันและกันอยู่ตรงนั้นด้วย นอกจากนั้น พัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กในวัยนี้จะโดดเด่นมาก คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมให้ถูกทาง [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและพฤติกรรมของ ลูกน้อยวัย 27 เดือน  ลูกน้อยควรจะต้องทำอะไรได้บ้าง  ลูกน้อยวัย 27 เดือนสามารถเรียนรู้ภาษาได้ง่ายขึ้น เนื่องจากสมองของเด็กในช่วงอายุ 2-3 ขวบ มีการเชื่อมต่อเส้นประสาทใหม่ ๆ กันแบบเต็มพิกัด เด็กที่เติบโตในครอบครัวที่พูดกันสองภาษา ดูเหมือนจะรู้คำศัพท์น้อยกว่าในแต่ละภาษา แต่จำนวนคำศัพท์โดยรวมนั้นก็ใกล้เคียงกับเด็กที่พูดภาษาเดียว นอกจากนี้ การพูดสองภาษายังแสดงให้เห็นว่า จะได้รับประโยชน์ทางด้านสติปัญญาด้วย บางครั้งก็ดูเหมือนว่าลูกน้อยมีสมาธิที่แน่วแน่ และมีแววเป็นนักวิทยาศาสตร์ได้ แต่ในความจริงแล้ว เด็กแค่มีพัฒนาการบางอย่าง เพื่อที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งซ้ำแล้วซ้ำอีกเท่านั้นเอง นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเด็กถึงอดที่จะปีนป่ายไม่ได้ ทั้งๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ย้ำแล้วย้ำอีกว่าอย่าทำ ลูกน้อยควรเตรียมตัวอย่างไร ถ้าลูกน้อยเติบโตในครอบครัวที่พูดสองภาษา วิธีที่ดีที่สุดในการส่งเสริมให้ลูกน้อยเรียนภาษาก็คือ ให้ลูกน้อยได้พูดกับเจ้าของภาษาจริง ๆ การฝึกพูดตามเสียงเจ้าของภาษาในแผ่นซีดี หรือการเข้าคลาสเรียนภาษาสัปดาห์ละครั้งนั้นอาจไม่ค่อยได้ผลนัก สุขภาพและความปลอดภัย   จะเกิดอะไรกับลูกน้อยเวลาไปพบคุณหมอ ถ้า ลูกน้อยวัย 27 เดือน ยังมีพัฒนาการด้านการพูดไม่ถึงเกณฑ์ ผู้ปกครองไม่ต้องกังวลกับเหตุการณ์นี้ เพราะแม้แต่เด็กในวัยก่อนเข้าเรียนก็สามารถมีพัฒนาการช้ากว่าเพื่อนในวัยเดียวกันได้ ตราบใดที่ลูกมีพัฒนาการทางด้านภาษาในทุก ๆ เดือน ก็ไม่มีอะไรที่ต้องเป็นห่วง อย่างไรก็ตาม หากรู้สึกเป็นกังวลกับความสามารถของลูกน้อย […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม