อาการปวดศีรษะและไมเกรน

อาการปวดศีรษะและไมเกรน เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยมาก หลายคนอาจคิดว่าอาการเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่จริง ๆ แล้ว อาการปวดศีรษะและไมเกรนสามารถรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างมาก การเรียนรู้ข้อมูลที่เรานำมาฝากเหล่านี้ จะช่วยให้คุณรับมือกับอาการเหล่านี้ได้ดีขึ้นแน่นอน

เรื่องเด่นประจำหมวด

อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ไมเกรนเกิดจาก อะไร และบรรเทาอาการได้อย่างไร

ไมเกรน (Migraines) คือ อาการปวดศีรษะเรื้อรังชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อย โดยมักปวดศีรษะข้างเดียว หรือเริ่มจากปวดศีรษะข้างเดียวก่อนจะปวดศีรษะทั้งสองข้างอย่างรุนแรง อาจเกิดขึ้นนาน ๆ ครั้งหรือเกิดขึ้นแทบทุกวัน สาเหตุที่ทำให้เกิดไมเกรนยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เป็นไปได้ว่า ไมเกรนเกิดจาก ความผิดปกติของระดับสารเคมีในสมองที่ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือดและเส้นประสาทในสมอง นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยภายนอกอีกหลายปัจจัยที่อาจกระตุ้นให้เกิดไมเกรนได้ เช่น ความเครียด ความร้อน สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง กลิ่นแรง ๆ แสงสว่างที่จ้าเกินไป การพักผ่อนไม่เพียงพอ ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในเพศหญิง การดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน การไม่ได้ดื่มกาแฟในคนที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ การสูบบุหรี่ ทั้งนี้ การปวดไมเกรนอาจรุนแรงจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ จึงควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] ไมเกรนเกิดจาก อะไร ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่า ไมเกรนเกิดจาก สาเหตุใด แต่อาจเกิดจากเซลล์ประสาททำงานผิดปกติและส่งสัญญาณไปกระตุ้นเส้นประสาทไตรเจมินัล (Trigeminal nerve) ให้เกิดความรู้สึกบริเวณศีรษะและใบหน้า ส่งผลให้ร่างกายปล่อยสารเคมีอย่างเซโรโทนิน (Serotonin) และสาร Calcitonin gene-related peptide (CGRP) ซึ่งเป็นนิวโรเปปไทด์ชนิดหนึ่งในร่างกายโดยสาร CGRP จะทำให้หลอดเลือดในเยื่อหุ้มสมองบวม จากนั้นสารสื่อประสาทในสมองจะทำให้เกิดการอักเสบและความรู้สึกเจ็บปวด ปัจจัยเสี่ยงที่อาจกระตุ้นให้เกิดไมเกรน อาจมีดังนี้ พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นไมเกรน อาจเสี่ยงเกิดไมเกรนได้มากกว่าคนทั่วไป เพศ เพศหญิงเสี่ยงเป็นไมเกรนมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะผู้หญิงวัย 15-55 […]

สำรวจ อาการปวดศีรษะและไมเกรน

อาการปวดศีรษะและไมเกรน

สาวผมยาวแสนเศร้าใจ ไม่รู้ทำไม มัดผมทีไร ปวดหัวทุกที

หนึ่งในปัญหาที่สาว ๆ ที่ไว้ผมยาวหลายคนอาจะเคยเจอ คงหนีไม่พ้นอาการปวดหัวจากการมัดผม โดยเฉพาะหากเรามัดผมตึง ๆ เป็นระยะเวลานาน ๆ ก็จะยิ่งเพิ่มความปวดหัวไปขึ้นไปอีก อาการ มัดผมแล้วปวดหัว นี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นเพียงแค่อุปาทานหมู่ที่เราคิดกันไปเอง หาคำตอบได้จาก Hello คุณหมอ [embed-health-tool-bmi] อาการ มัดผมแล้วปวดหัว มีจริง หรือคิดไปเอง งานวิจัยเมื่อปี 2004 ได้ทำการสำรวจผู้หญิงที่มัดผมเป็นประจำเป็นจำนวน 93 คน พบว่ามี 50 คนในจำนวนนั้นที่มีอาการปวดหัวจากการมัดผม โดยที่อาการปวดนั้นจะเริ่มจากบริเวณที่มัดผม ก่อนที่อาการปวดจะกระจายไปยังหน้าผาก กระหม่อม แล้วก็คอ เวด คูเปอร์ D.O. (Wade Cooper, D.O.) นักประสาทวิทยาการปวดหัว แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน ได้กล่าวว่า “อาการปวดหัวจากการมัดผมนั้น เป็นอาการปวดหัวเนื่องจากสิ่งกระตุ้นภายนอก อยู่ในกลุ่มเดียวกับอาการ Allodynia” โดยอาการปวดแบบ Allodynia หมายถึง ความผิดปกติหรือความปวด ที่เกิดจากการกระตุ้นโดยสิ่งที่จะไม่ทำให้เกิดความปวดในภาวะปกติ และเมื่อมีแรงกระตุ้นนั้นมาถึงสมอง อาการปวดก็จะเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ควรจะเป็น ตามปกติแล้วการมัดผมนั้นไม่ควรจะทำให้เกิดอาการปวดใด ๆ แต่อาการนี้กลับพบได้มาก โดยเฉพาะกับผู้ที่มัดผมแบบแน่น ๆ นอกจากนี้ยังสามารถพบได้กับผู้ที่สวมหมวก หรือใส่หมวกกันน็อคได้เช่นกัน ใครบ้างที่จะมีโอกาสเกิดอาการนี้ได้มากกว่าปกติ อาการนี้เป็นอาการที่พบได้มาก […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

7 รูปแบบ ของ อาการปวดหัวยอดฮิต ที่คนส่วนใหญ่นิยมเป็น

ปวดศีรษะจนไม่อันเป็นทำอะไร ทั้งรบกวนการพักผ่อนระหว่างวัน อยากจะหลับตาให้สนิทก็ยังยาก แถมยังไม่รู้ว่าตนเองปวดหัวชนิดใดอีก ทำได้แค่ภาวนาให้อาการนี้บรรเทาลงในคืนเร็ววัน แต่ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปเมื่อทุกคนได้รู้จักและทำความเข้าใจกับ 7 รูปแบบของ อาการปวดหัวยอดฮิต ที่ Hello คุณหมอได้นำ สาเหตุเบื้องต้น และวิธีรักษามาให้ทุกคนได้ทราบกันแล้ว ในบทความนี้ รู้จักกับ 7 รูปแบบ ของ อาการปวดหัวยอดฮิต กันเถอะ ไมเกรน เป็นการกระตุ้นอย่างรุนแรงภายในส่วนที่ลึกของศีรษะคุณ เป็นความเจ็บปวดที่อยู่ได้ยาวนาน และติดต่อกันหลายวัน มักปวดด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว มีความรู้สึกที่ไวต่อการรับกลิ่น และแสงรอบตัว รวมถึงอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนด้วยเล็กน้อย สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในวัยเด็กจนถึงผู้ใหญ่ สาเหตุที่ทำให้ไมเกรน ความเครียด การถูกรบกวนการนอนหลับ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ผลกระทบจากยา หรืออาหารบางชนิด วิธีรักษาอาการไมเกรน ยาที่จำหน่ายตามเคาน์เตอร์ร้านขายยา หรือได้รับการอนุญาตจากแพทย์ และเภสัชกร เช่น ไอบูโพนเฟน (Ibuprofen) แอสไพริน (Aspirin) โทพิราเมท (Topiramate) โพรพราโนลอล (Propranolol) และ อะมิทริปไทลีน ( Amitriptyline) พักผ่อนในที่เงียบสงบไร้เสียงดังรบกวน นำเจลเย็น หรือน้ำแข็งประกบบริเวณหน้าผาก ดื่มน้ำให้พอเหมาะต่อวัน หากรักษาตามวิธีข้างต้นแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น หรือมากกว่า 15 วัน ควรเข้าขอรับคำแนะนำ และการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง View this post on […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ปวดหัว หลังร้องไห้ เกิดจากอะไรกันแน่

การร้องไห้เป็นการตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกายต่ออารมณ์ ไม่ว่าเราจะเสียใจ ทุกข์ใจ แม้กระทั่งดีใจ ก็สามารถทำให้เราร้องไห้ได้ แต่หากเราร้องไห้อย่างรุนแรง อาจทำให้เกิดอาการปวดหัวตามมา วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนไปดูว่าทำไมนะ การร้องไห้ถึงเป็นสาเหตุของอาการปวดหัว แล้วเราจะจัดการกับอาการ ปวดหัว หลังร้องไห้ ที่เกิดขึ้นอย่างไรดี ปวดหัวหลังร้องไห้ เกี่ยวข้องกันอย่างไร หลายๆ คนคงเคยร้องไห้ แล้วมีอาการปวดหัวหลังจากที่ร้องไห้เสร็จ นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามทำความเข้าใจ และหาความเชื่อมโยงระหว่างการร้องไห้และอาการปวดหัว การร้องไห้บางครั้งเกิดขึ้นจากการตอบสนองของร่างกาย ต่อความเศร้า ที่เกิดจากการสูญเสียของรัก การปฏิบัติตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ไม่ได้ เป็นต้น ซึ่งความเศร้าที่เกิดขึ้นเหล่านั้น เป็นตัวการทำให้เกิดความเครียด ซึ่งส่งผลให้ร่างกายปล่อยฮอร์โมนออกมา เช่น ฮอร์โมนต์คอร์ติซอล ที่เป็นฮอร์โมนความเครียด ฮอร์โมนที่หลั่งออกมานี้จะกระตุ้นสารสื่อประสาทในสมองที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางกายภาพ ความเครียดและความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น จะกระตุ้นกระบวนการในสมอง ที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดหัว นอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Fiona Gupta ซึ่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาจากโรงเรียนแพทย์ Icahn แห่ง Mount Sinai กล่าวว่า การร้องไห้สามารถทำให้เกิดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อบริเวณที่หัวและคอเหตุนี้จึงนำไปสู่อาการปวดหัวได้   View this post on Instagram   พฤติกรรมอะไร กระตุ้นไมเกรนกำเริบ มาดูกันเลย . #Hellokhunmor #Migraine […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ปวดศีรษะเรื้อรัง (Chronic Headache)

คำจำกัดความปวดศีรษะเรื้อรังคืออะไร หลายคนอาจมีอาการปวดหัว หรือปวดศีรษะอยู่เป็นประจำ แต่ถ้ามีอาการปวดติดต่อกันหลายวัน ก็เป็นไปได้ที่ผู้เกิดอาการอาจมีภาวะปวดศีรษะเรื้อรัง เนื่องจากอาการปวดศีรษะเรื้อรังมักเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงถูกจัดอยู่ในประเภทอาการปวดศีรษะที่รุนแรงที่สุดชนิดหนึ่ง การเข้ารับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการจัดการในระยะยาวอาจช่วยลดความเจ็บปวดจากอาการปวดศีรษะเรื้อรังได้ ปวดศีรษะเรื้อรังพบได้บ่อยเพียงใด อาการปวดศีรษะเรื้อรังพบได้ทั่วไป มักเกิดขึ้นกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และเกิดขึ้นได้ในทุกวัย สามารถควบคุมได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการปวดศีรษะเรื้อรัง อาการปวดศีรษะเรื้อรังตามคำจำกัดความ ก็คือ เกิดอาการปวดศีรษะอย่างต่อเนื่องนาน 15 วันหรือมากกว่าต่อเดือน และเกิดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 เดือน และภาวะปวดศีรษะปฐมภูมินั้นไม่ได้เกิดจากปัญหาสุขภาพอื่นๆ ภาวะปวดศีรษะเรื้อรังมีทั้งแบบที่เป็นในระยะสั้นและระยะยาว ภาวะระยะยาวนั้นอาจเกิดอาการปวดศีรษะต่อเนื่องมากกว่า 4 ชั่วโมง ซึ่งประกอบด้วยอาการปวดศีรษะประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้ ไมเกรนเรื้อรัง ปวดศีรษะจากความเครียดเรื้อรัง ปวดศีรษะแบบสม่ำเสมอ ปวดศีรษะข้างเดียวแบบเป็นๆ หายๆ แต่ไม่เคยหายสนิท 1.ไมเกรนเรื้อรัง ปกติแล้วอาการปวดศีรษะชนิดนี้ จะเกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่เคยมีประวัติปวดศีรษะไมเกรนมาก่อน ผู้เกิดอาการจะปวดศีรษะไมเกรนมากกว่า 8 วันต่อเดือน ติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน โดยอาการของไมเกรนมีดังต่อไปนี้ ปวดศีรษะข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง รู้สึกปวดศีรษะแบบตุบๆ ปวดศีรษะระดับปานกลางถึงระดับรุนแรง อาการกำเริบแรงขึ้นเมื่อใช้ร่างกายทำกิจวัตรประจำวัน ไมเกรน อาจก่อให้อาจอาการต่อไปนี้ร่วมด้วยได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน หรือทั้งสองอย่าง มีปฏิกิริยาอ่อนไหวต่อการรับแสงและได้ยินเสียง 2. ปวดศีรษะจากความเครียดเรื้อรัง ปวดศีรษะจากความเครียดมีอาการดังต่อไปนี้ ปวดศีรษะทั้งสองข้าง ปวดศีรษะระดับอ่อนๆ ถึงปานกลาง รู้สึกปวดศีรษะแบบถูกกด ถูกบีบรัด ไม่ใช่ปวดแบบตุบๆ อาการไม่กำเริบเมื่อใช้ร่างกายทำกิจวัตรประจำวัน ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการปวดตึงทั้งศีรษะ 3. ปวดศีรษะแบบสม่ำเสมอ อาการปวดศีรษะชนิดนี้มักเกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ปกติแล้วจะเกิดในกลุ่มคนที่ไม่เคยมีประวัติปวดศีรษะมาก่อน และจะเกิดอาการซ้ำขึ้นอีกครั้งภายใน 3 วันหลังจากปวดศีรษะครั้งแรก อาการของการปวดศีรษะแบบสม่ำเสมอจะมีอาการเฉพาะที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนอย่างน้อย 2 ประการจากอาการด้านล่างนี้ ปวดศีรษะทั้งสองข้าง รู้สึกปวดศีรษะแบบถูกกด ถูกบีบรัด ไม่ใช่ปวดแบบตุบๆ ปวดศีรษะระดับอ่อนๆ ถึงปานกลาง อาการไม่กำเริบขณะทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ 4. ปวดศีรษะข้างเดียวแบบเป็นๆ หายๆ อาการมีดังต่อไปนี้ ปวดศีรษะข้างเดียว ปวดศีรษะทุกวันอย่างต่อเนื่อง และไม่เคยหายปวดสนิท ปวดศีรษะระดับปานกลางถึงระดับรุนแรง ตอบสนองต่อยาแก้ปวดชนิดอินโดเมทาซิน […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ปวดศีรษะ (Headache)

ปวดศีรษะ มีตั้งแต่ระดับที่ไม่รุนแรง สามารถกินยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการได้ ไปจนถึงอาการปวดหัวรุนแรง ซึ่งถ้าคุณมีอาการปวดหัวเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรักษาอาการต่อไป คำจำกัดความอาการ ปวดศีรษะ คืออะไร อาการปวดศีรษะ คืออาการปวดที่อาจขึ้นได้ในทุกบริเวณของศีรษะ อาจปวดทั้งสองข้าง หรือปวดเพียงข้างใดข้างหนึ่ง อาจปวดรุนแรง ปวดจี๊ด หรือ ปวดตื้อ อาการอาจค่อย ๆ เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นโดยฉับพลัน และอาจปวดเป็นชั่วโมงหรือปวดตลอดวัน อาการปวดศีรษะแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ๆ ได้แก่ ปวดศีรษะแบบปฐมภูมิ (Primary headaches) เป็นการปวดศีรษะที่ไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่ ปวดไมเกรน ปวดศีรษะจากความเครียด และปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ ปวดศีรษะแบบทุติยภูมิ (Secondary headaches) เป็นอาการปวดศีรษะที่เกิดจากโรคอื่น ๆ ปวดศีรษะ พบได้บ่อยแค่ไหน อาการปวดศีรษะเป็นหนึ่งในอาการที่พบได้บ่อยที่สุดในคนทุกเพศ ทุกวัย แต่สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการปวดศีรษะ อาการปวดศีรษะอาจแตกต่างกันไป ตามประเภทของการปวดศีรษะ เช่น อาการปวดศีรษะที่เกิดจากความเครียด (Tension headache) มีอาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลาง มีอาการปวดทั้งศีรษะ มีอาการปวดตลอดทั้งวัน ปวดตอนตื่นนอน มีอาการเหนื่อยล้า ไม่มีสมาธิ มีปฏิกิริยาไวต่อแสงและเสียงดัง ปวดกล้ามเนื้อ อาการปวดศีรษะไมเกรน (Migraines headache) มีอาการปวดปานกลางถึงรุนแรง ตาพร่า คลื่นไส้และอาเจียน ปวดท้อง เบื่ออาหาร เกิดจุดบอดในตา ผิวซีด อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ (Cluster headaches) ปวดแบบสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และมีอาการปวดรุนแรงคล้ายอาการแสบไหม้ หรือถูกเจาะ ปวดบริเวณด้านข้างศีรษะ ปวดที่ดวงตาหรือบริเวณกระบอกตาข้างใดข้างหนึ่ง เพียงข้างเดียวตลอดโดยไม่เปลี่ยนข้าง อาการจะค่อยๆ หายไป และจะกลับมามีอาการใหม่ภายในวันเดียวกัน หรือวันต่อๆ ไป สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด โดยทั่วไป […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ปวดศีรษะจากความเครียด (Tension Headaches)

ปวดศีรษะจากความเครียด สามารถรักษาได้ และอาจไม่สร้างความเสียหายต่อระบบประสาท แต่หากอาการปวดศีรษะจากความเครียดเกิดขึ้นเรื้อรัง อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ หากมีอาการปวดหัวเฉียบพลัน หรือปวดหัวเป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์ คำจำกัดความปวดศีรษะจากความเครียด คืออะไร ปวดศีรษะจากความเครียด (Tension Headaches) คืออาการปวด ตึง หรือปวดเหมือนมีแรงกดบริเวณหน้าผาก ท้ายทอย และคอ โดยมักมีอาการปวดศีรษะเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยอาจอธิบายลักษณะของการปวดว่า คล้ายกับมีเชือกมารัดรอบศีรษะ หรือมีคีมมาหนีบบริเวณกระโหลกไว้ การปวดศีรษะจากความเครียดสามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 2 ประเภทย่อยๆ คือ อาการปวดศีรษะจากความเครียดแบบครั้งคราว (episodic tension headaches) หมอจะวินิจฉัยว่าคุณมีอการปวดศีรษะประเภทนี้ก็ต่อเมื่อมีความถี่ในการปวดศีรษะน้อยกว่า 15 วันต่อเดือน การปวดศีรษะจากความเครียดแบบเรื้อรัง (chronic tension headaches) โดยหมอจะวินิจฉัยว่าคุณมีอการปวดศีรษะแบบนี้ หากคุณมีความถี่ในการปวดศีรษะมากกว่า 15 วันต่อเดือน การปวดศีรษะจากความเครียดรุนแรงพบได้บ่อยเพียงใด เป็นอาการที่พบได้บ่อยครั้ง ส่วนใหญ่พบในเพศหญิงมากกว่าชาย และพบได้ในคนทุกวัย สามารถป้องกันได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของการปวดศีรษะจากความเครียดมีอะไรบ้าง สัญญาณและอาการที่พบได้ทั่วไป ได้แก่ อาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลาง หรือรู้สึกเหมือนถูกกดบริเวณหน้าผาก ส่วนบนของศีรษะ และศีรษะด้านข้าง อาการปวดมักเกิดในช่วงบ่าย มีปัญหาการนอนหลับ รู้สึกเพลียและเหนื่อยล้า กระสับกระส่าย ไม่สบายตัว ไม่มีสมาธิจดจ่อ มีปฎิกิริยาไวต่อเสียงและแสง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตื้อบริเวณศีรษะ รู้สึกหนักเหมือนมีอะไรมากดบริเวณหน้าผาก รู้สึกปวดบริเวณรอบหน้าผากและหนังศีรษะ หากคุณมีสัญญาณหรืออาการอื่นที่ไม่ได้ระบุข้างต้น และกังวลกับอาการดังกล่าว โปรดปรึกษาแพทย์ เมื่อใดควรไปพบหมอ ควรปรึกษาแพทย์หากคุณมีอการดังต่อไปนี้ อาการปวดศีรษะรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ ต้องพึ่งยาบรรเทาอาการปวดเกินกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ มีลักษณะอาการปวดศีรษะที่แตกต่างจากเดิมที่เคยเป็น มีอาการปวดศีรษะรุนแรงแบบฉับพลัน มีไข้สูง คอแข็ง สับสน ชัก ตาพร่า อ่อนแรง […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ลักษณะอาการปวดศีรษะ แบบไหนที่กำลังเล่นงานคุณอยู่ตอนนี้ เช็กเลย!

หลายคนคงเคยมีอาการปวดศีรษะกันมาแล้ว บางคนก็มีอาการเป็นครั้งคราวและไม่รุนแรงมากนัก ในขณะที่บางคนมีอาการปวดรุนแรงชนิดที่ว่าไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติได้เลย แล้วคุณเคยสังเกตกันบ้างไหมว่า อาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นกับคุณในแต่ละครั้งนั้นมีลักษณะแตกต่างกันบ้างไหม และเกิดจากสาเหตุใดกันแน่ บทความนี้จะนำคุณมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ลักษณะอาการปวดศีรษะ ประเภทต่างๆ ที่สามารถบ่งบอกถึงภาวะสุขภาพที่คุณอาจเผชิญอยู่ได้ อาการปวดศีรษะคืออะไร อาการปวดศีรษะเป็นคำจำกัดความรวมสำหรับอาการปวดบริเวณศีรษะ ซึ่งสามารถจำแนก ลักษณะอาการปวดศีรษะ ออกไปได้กว่า 150 ชนิด สามารถพบได้ทั่วไปในทุกปัญหาสุขภาพ ไม่ว่าจะเมาค้าง เมารถ เครียดจัด หรือเป็นเนื้องอกในสมอง ก็สามารถทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ทั้งสิ้น อีกทั้งอาการปวดศีรษะยังสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกช่วงอายุ ทุกเชื้อชาติ และทุกเพศโดยผู้เชี่ยวชาญคาดว่า ผู้ที่มีอาการปวดศีรษะกว่าร้อยละ 50 นั้นมักรักษาอาการปวดด้วยตัวเองมากกว่าไปปรึกษาแพทย์ อย่างไรก็ตาม อาการปวดศีรษะนั้นอาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่ส่งผลเสียรุนแรงต่อสุขภาพได้ คุณจึงควรปรึกษาแพทย์ หากอาการปวดศีรษะของคุณก่อให้เกิดปัญหาดังต่อไปนี้ สับสนหรือสื่อสารสับสน เป็นลม ไข้สูงกว่า 39-40 องศาเซลเซียส เกิดอาการชา อ่อนเพลีย หรือมีอาการอัมพฤกษ์ครึ่งซีก ขยับไม่ได้ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย คอแข็ง มีปัญหาการมองเห็น มีปัญหาการพูด มีปัญหาการเดิน คลื่นไส้ หรืออาเจียน ที่ชี้ชัดว่าไม่ได้เกิดจาก ไข้หวัด หรืออาการเมาค้าง แพทย์จะทำการวินิจฉัยจากประวัติทางการแพทย์และรายละเอียดของอาการที่ตรวจพบ ก่อนจะแนะนำวิธีรักษาที่เหมาะสม กับประเภทของการปวดศีรษะให้กับคุณ ลักษณะอาการปวดศีรษะ มีอะไรบ้าง อาการปวดศีรษะที่พบได้บ่อยๆ ได้แก่ ปวดศีรษะจากความเครียด ปวดศีรษะจากความเครียด (Tension headaches) เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในกลุ่มผู้ใหญ่และวัยรุ่น โดยสามารถเรียกได้หลายชื่อ ได้แก่ ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อในศีรษะหดตัว (muscle contraction headache) […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ (Cluster Headache)

การ ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ (Cluster headache) คือการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นเพียงด้านใดด้านหนึ่ง บ่อยครั้งเกิดขึ้นบริเวณรอบดวงตา คำจำกัดความปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ คืออะไร การ ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ (Cluster headache) คือการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นเพียงด้านใดด้านหนึ่ง บ่อยครั้งเกิดขึ้นบริเวณรอบดวงตา อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ นั้นมักมีอาการรุนแรง และถือเป็นหนึ่งในอาการปวดที่รุนแรงที่สุดประเภทหนึ่งของการปวดศีรษะ ที่จะเกิดขึ้นเป็นช่วงเวลาต่อเนื่องนานเป็นสัปดาห์ (ประมาณ 4-12 สัปดาห์) ตามด้วยช่วงเวลาที่อาการทุเลาลงเมื่ออาการปวดศีรษะหายไป การ ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ พบบ่อยเพียงใด อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ นั้นไม่ใช่โรคที่พบได้ทั่วไป สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง การปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ส่วนใหญ่มักพบในเพศชาย และจะมีอาการรุนแรงขึ้นเมื่ออายุเกิน 20 ปี โปรดปรึกษาแพทย์หากคุณต้องการข้อมูลและคำแนะนำเพิ่มเติม อาการอาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ มีอะไรบ้าง อาการส่วนใหญ่ของการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ได้แก่ อาการปวดรุนแรงมาก และบ่อยครั้งมักได้รับการอธิบายว่ามีความรู้สึกเหมือนโดนของแหลมทิ่มแทง เหมือนโดนเผา หรือโดนเจาะที่ศีรษะด้านใดด้านหนึ่ง มักเกิดขึ้นบริเวณรอบดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง บางครั้งอาจกินบริเวณกว้างทั่วใบหน้า ศีรษะ ต้นคอและหัวไหล่ การปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์มักเกิดขึ้นทันทีทันใด และไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า กระวนกระวายและกระสับกระส่ายระหว่างมีอาการ ตาแดงและมีน้ำตาไหล คัดจมูก หรือน้ำมูกไหลในด้านที่มีอาการปวด เหงื่อออกทั่วใบหน้า ผิวซีด หรือหน้าแดง เปลือกตาตก หรือตาข้างหนึ่งมีอาการบวมที่เปลือกตา อาการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ นั้นจะหยุดหรือทุเลาลงในช่วงเวลา 1 เดือนหรือมากกว่า บางครั้งเรียกว่า การปวดแบบครั้งคราว การปวดศีรษะคลัสเตอร์แบบเรื้อรังอาจมีอาการต่อเนื่องยาวนานเป็นปีๆ หรือมีช่วงเวลาที่ไม่แสดงอาการน้อยกว่า 1 เดือน ในช่วงเวลาที่มีอาการปวด อาการปวดจะเกิดขึ้นทุกวัน บางครั้งเกิดขึ้นหลายครั้งในหนึ่งวัน ในเวลาเดิมๆ โดยการปวดแต่ละครั้งมักคงอยู่ราวๆ  15 […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

วิธีแก้ปวดหัว สุดเจ๋ง ดูแลตัวเองได้...ไม่ต้องพึ่งยา

ปวดศีรษะ หรือปวดหัว เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน อาการปวดหัวมีด้วยกันหลายชนิด ทั้งปวดหัวจากกล้ามเนื้อเกร็ง ปวดหัวจากความเครียด ปวดหัวแบบคลัสเตอร์ หรือปวดหัวไมเกรน ในยามที่ปวดหัว คนส่วนใหญ่อาจคิดถึงการรักษาด้วยยา แต่ความจริงแล้ว ยังมี วิธีแก้ปวดหัว แบบไม่ต้องพึ่งยาอีกมากมาย ทำแล้วเห็นผลจริง มีอะไรบ้าง ไปดูกัน วิธีแก้ปวดหัว แบบไม่ต้องพึ่งยา ดื่มน้ำเปล่า จากการศึกษาพบว่า การขาดน้ำเรื้อรัง คือสาเหตุหลักของอาการปวดหัวจากกล้ามเนื้อเกร็ง และปวดหัวไมเกรน และผู้ที่มีอาการปวดหัวรุนแรงส่วนใหญ่มีอาการดีขึ้นภายใน 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมงหลังดื่มน้ำ ในแต่ละวันคุณจึงควรดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ หรือกินอาหารที่มีน้ำเยอะ เช่น แตงโม ส้ม โยเกิร์ต เพื่อป้องกันการขาดน้ำ ที่ไม่เพียงทำให้ปวดหัว แต่ยังทำให้ไม่มีสมาธิ และหงุดหงิดง่ายด้วย เสริมแมกนีเซียม แมกนีเซียม คือแร่ธาตุสำคัญที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และระบบประสาท มีหลักฐานที่ชี้ชัดว่า ผู้ที่ปวดหัวไมเกรนเป็นประจำ เกิดภาวะขาดแมกนีเซียมบ่อยกว่าผู้ที่ไม่ได้ปวดหัว และการกินอาหารเสริมแมกนีเซียมซิเตรตวันละ 600 มิลลิกรัมสามารถลดอาการปวดหัวไมเกรนได้ อย่างไรก็ตาม บางคนกินอาหารเสริมแมกนีเซียมแล้วอาจเกิดผลข้างเคียง เช่น ท้องเสีย ดังนั้นควรเริ่มจากขนาดยาน้อยๆ ก่อน ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผลการวิจัยพบว่า 1 ใน 3 ของผู้ที่ปวดหัวเป็นประจำ เกิดอาการไมเกรนหลังดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ไมเกรนกำเริบ! อาจมาจากอาหารก็ได้ มาเช็ก อาหารกระตุ้นไมเกรน กัน

อาการปวดหัวข้างเดียวที่เรารู้จักกันในชื่อของ “ไมเกรน” ไมเกรนเป็นอาการปวดหัว ที่หลายคนบอกว่าแสนทรมาน และไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น หนึ่งในปัจจัยที่กระตุ้นให้อาการปวดหัวไมเกรนกำเริบขึ้นมาได้ ใกล้ตัวคุณอย่างที่สุด ก็คืออาหารที่คุณกิน แต่ อาหารกระตุ้นไมเกรน คืออะไรกันบ้าง? ตาม Hello คุณหมอ ไปดูกันเลย ไมเกรนกับอาหาร ไมเกรน เป็นอาการปวดหัวเรื้อรัง มีลักษณะพิเศษต่างจากอาการปวดหัวทั่วไป คือ ความรู้สึกของการปวดแบบตุ้บๆ อาการปวดที่มักเกิดขึ้นที่ด้านใดด้านหนึ่งของศีรษะ และมักมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ ไวต่อแสง เสียง และกลิ่น บางคนอาจมีการเปลี่ยนแปลงทางการมองเห็น หรือที่เรียกว่าออร่า สาเหตุของไมเกรนไม่สามารถสรุปได้แน่ชัด แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนหนึ่งเชื่อว่า เกิดจากความผิดปกติของระบบไฟฟ้าที่ผิวสมอง ทำให้สมองเกิดการกระตุ้นได้ง่ายและค่อนข้างไวกว่าคนปกติ หลังจากสมองถูกกระตุ้น จะเกิดกระแสไฟฟ้าที่ทำให้การไหลเวียนของเลือดในสมองเปลี่ยนแปลง และไปกระตุ้นเส้นประสาทสมอง ทำให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทบางชนิด ทำให้หลอดเลือดสมองขยายตัวและเกิดการอักเสบขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวในที่สุด ปัจจัยที่กระตุ้นให้สมองเกิดอาการปวดขึ้นมานี้ มีหลายอย่างด้วยกัน เช่น ฮอร์โมน ความเครียด หรืออาหาร โดยผู้ที่เป็นไมเกรนราวร้อยละ 27-30 เชื่อว่าอาหารบางอย่างสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้นมาได้ ถึงแม้เรื่องนี้จะยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่ก็มีการศึกษาที่ชี้ว่า คนบางคนที่เป็นไมเกรนอาจมีอาการกำเริบได้จากการกระตุ้นของอาหารบางชนิด สำหรับอาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการไมเกรนในแต่ละคน อาจแตกต่างกัน อาหารกระตุ้นไมเกรน ที่ทำให้ไมเกรนกำเริบ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ไม่มีคำแนะนำที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับอาหารที่สามารถกระตุ้นให้เกิดไมเกรน แต่งานวิจัยจำนวนหนึ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ของอาหารเหล่านี้กับการเกิดอาการไมเกรน ซึ่งสามารถเป็นแนวทางให้ผู้ป่วยไมเกรน ในการสังเกตตัวเอง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน