ระบบประสาทและสมอง

ระบบประสาท มีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมการทำงานของสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทที่มีอยู่มากมายในร่างกาย เมื่อระบบประสาทเกิดความผิดปกติ ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายได้อย่างมาก เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาวะที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของ สมองและระบบประสาท รวมถึงการป้องกันและการรักษา ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ระบบประสาทและสมอง

‘ซุปไก่สกัด’ เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ ตัวช่วยกระตุ้นสมองให้จำดีขึ้น!

‘ซุปไก่สกัด’ หนึ่งในสุดยอดเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศแถบทวีปเอเชีย เนื่องจากมีความเชื่อกันว่าซุปไก่สกัดนั้นอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ จึงมีสรรพคุณที่มีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองและช่วยฟื้นบำรุงร่างกายจากอาการเหนื่อยล้า โดยปัจจุบันพบว่ามีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันถึงประโยชน์ของซุปไก่สกัดต่อสุขภาพไว้มากมาย โดยเฉพาะในด้านประโยชน์ต่อการทำงานของสมอง เนื่องจากในซุปไก่สกัดนั้นมี Dipeptine Anserine และ Carnosine ที่มีคุณสมบัติช่วยต้านสารอนุมูลอิสระซึ่งมีประโยชน์ต่อการส่งเสริมสุขภาพสมอง ซุปไก่สกัดกับประโยชน์ดีๆ ต่อสมอง  1. มีส่วนช่วยเพิ่มออกซิเจนในสมอง ซึ่งช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมองและความจำ   สมองของคนเรานั้นจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในการทำงาน หากสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ หรือหากขาดออกซิเจนเพียง 5 นาที จะส่งผลทำให้เซลล์สมองค่อยๆ ตายลงได้ โดยสมองส่วนที่ไวต่อการขาดออกซิเจนเร็วที่สุดคือสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งสมองส่วนนี้มีบทบาทสำคัญในการช่วยทำให้ความจำระยะสั้นกลายเป็นความจำระยะยาว หากสมองส่วนนี้ฝ่อหรือเสียหายจากการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้ผู้ป่วยเริ่มมีปัญหาด้านความจำ การคิด การสั่งการ และการบริหารจัดการ จากผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่ดื่มซุปไก่สกัดมีระดับของออกซีฮีโมโกลบิน (Oxy-Hemoglobin) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จึงอาจกล่าวได้ว่าซุปไก่สกัดมีส่วนช่วยให้เลือดสามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมองส่วนหน้าซึ่งเป็นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ การคิด การตัดสินใจได้ดีขึ้น โดยมีงานวิจัยหนึ่งให้ผู้ทดลองที่อยู่ในวัยสูงอายุและมีสุขภาพดีจำนวน 12 ราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกให้ดื่มซุปไก่สกัด ส่วนกลุ่มที่ 2 ให้ดื่มซุปไก่สกัดหลอก ในปริมาณขนาด 70 มล. เท่ากัน จำนวน 2 ขวด เป็นระยะเวลาติดต่อกันนาน 7 วัน แล้วให้ผู้ทดลองทำแบบทดสอบด้านความจำและการทำงานต่าง ๆ […]

หมวดหมู่ ระบบประสาทและสมอง เพิ่มเติม

สำรวจ ระบบประสาทและสมอง

ปัญหาระบบประสาทและสมองแบบอื่น

อาการปากชา อีกหนึ่งสัญญาณเตือนโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

อาการของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งมีอยู่ด้วยกันหลายอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ อาการปากชาและรู้สึกเสียวซ่าในปาก สำหรับ อาการปากชา ถือเป็นความผิดปกติในการรับรู้ความรู้สึก แต่มันจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคปลอกประสาทเสื่อแข็งหรือไม่ ทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน อาการปากชา กับ โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ในขณะที่หลายคนที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง จะมีอาการชาและรู้สึกเสียวซ่าในบางครั้ง แต่คุณอาจจะไม่เคยได้ยินหรือเคยมีอาการปากชา และรู้สึกเสียวซ่าในปาก ซึ่งเป็นอาการที่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว อาจจะทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัว ในโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง อาการปากชาถือเป็นความผิดปกติในการรับรู้ความรู้สึก (Sensory Disturbances) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเยื่อไมอีลิน (Myelin) ซึ่งเป็นปลอกไขมันที่หุ้มใยประสาท เกิดความเสียหายหรือถูกทำลาย โดยทั่วไปมักเกิดจากรอยโรค (Lesion) ที่ก้านสมอง และอาจส่งผลต่อใบหน้าด้วย เช่นเดียวกับอาการของโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งอื่น ๆ คุณหมอสามารถวินิจฉัยอาการชาที่เกิดขึ้นใหม่ได้โดยการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging; MRI) การศึกษาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ชี้ให้เห็นว่า การใช้ศักยภาพที่เกิดขึ้นจากการกระตุ้นทางประสาทวิทยาของเส้นประสาทไทรเจมินัล (Trigeminal) สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยได้ ความรู้สึกเมื่อเกิดอาการปากชา สำหรับอาการปากชาที่เกิดขึ้นของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งอาการชาสามารถทำให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ เหล่านี้ บางคนอธิบายว่า อาการปากชาเปรียบเทียบได้กับการอุดฟัน (Cavity Filled) เมื่อเหงือกถูกฉีดยาชา คนอื่น ๆ อธิบายว่า อาการปากชามีความรู้สึกเหมือนลิ้นหรือบริเวณอื่น ๆ ภายในปากบวม หรือแสบร้อน อาการปากชาที่เกิดขึ้นกับบางคน […]


ภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์

อาการประสาทหลอนในผู้ป่วยสมองเสื่อม หนึ่งในอาการที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยสมองเสื่อม

อาการประสาทหลอน เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในผู้ป่วยสมองเสื่อม ซึ่งผู้ป่วยจะเห็นภาพหลอน บางครั้งก็จะได้ยินเป็นเสียง ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง ซึ่งอาการประสาทหลอนนั้นนอกจากทำให้ผู้ป่วยกลัวและหวาดระแวงแล้ว ก็อาจทำให้ผู้ดูแลหวาดกลัวได้เช่นกัน วันนี้ Hello คุณหมอ จะชวนไปรู้จักกับ อาการประสาทหลอนในผู้ป่วยสมองเสื่อม และวิธีดูแลรักษาผู้ป่วยกันค่ะ ทำความรู้จักกับ อาการประสาทหลอนในผู้ป่วยสมองเสื่อม อาการประสาทหลอน เป็นการรับรู้ การสัมผัสได้ถึงภาพและเสียงที่เหมือนความเป็นจริง แต่จริง ๆ แล้วภาพและเสียงเหล่านั้นถูกสร้างขึ้นมาจากสมอง ส่วนใหญ่แล้วมักจะเห็นเป็นภาพหลอนขึ้นมา บางครั้งก็มักจะได้ยินเป็นเสียงด้วย บางครั้งอาจจะได้เห็นทั้งภาพและได้ยินเสียงพร้อม ๆ กัน แต่อาการนี้มักจะพบได้ยาก สำหรับผู้ป่วยสมองเสี่อม อาการประสาทหลอนจะเกิดขึ้นในช่วงระยะหนึ่งและหายไป ไม่ได้มีอาการประสาทหลอนอยู่ตลอดเวลา อาการประสาทหลอนในผู้ป่วยสมองเสื่อม เกิดได้จากอะไร อาการประสาทหลอนในผู้ป่วยสมองเสื่อมนั้น เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงในสมอง ซึ่งเกิดจากอาการของโรคสมองเสื่อม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสูญเสียความทรงจำ ซึ่งผู้ป่วยจะไม่สามารถจำใบหน้าหรือเหตุการณ์ในอดีตได้ ทำให้เกิดภาพหลอน นอกจากนี้ผู้ป่วยที่มีโรคสมองเสื่อมจากลิววี่ บอดี้ (Lewy body dementia) ซึ่งเป็นโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีความสามารถในการรับรู้ขนาดและระยะห่างของสิ่งรอบ ๆ ตัวลดลง จนทำให้เกิดเป็นภาพหลอนขึ้นมา อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยสมองเสื่อมเกิดภาพหลอนขึ้นมาได้คือ การประมวลผลของสมองผิดปกติ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดภาพหลอนในผู้ป่วยสมองเสื่อมอีกด้วย เช่น ผลข้างเคียงจากการใช้ยา สภาพแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน Sundown syndrome ความวิตกกังวล วิธีรับมือกับอาการประสาทหลอนในผู้ป่วยสมองเสื่อม การรับมือกับอาการประสาทหลอนหรือสิ่งที่มองไม่เห็นนั้นถือเป็นเรื่องยากและน่ากลัว แต่ก็ยังมีวิธีที่สามารถรับมือกับอาการที่เกิดขึ้นได้ ดังนี้ สร้างความอุ่นใจให้กับผู้ป่วย การสร้างความอุ่นใจให้กับผู้ป่วยนั้นสามารถทำได้หลายวิธีนอกจากการอยู่เคียงข้างในช่วงเวลาที่อาการกำเริบแล้ว การพูดปลอบใจด้วยถ้อยคำที่น่าฟังยังช่วยให้เขารู้สึกอุ่นใจขึ้นได้ด้วย […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

การติดตามอาการโรคไมเกรน อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้คุณควบคุมโรคนี้ได้ดีขึ้น

อาการปวดศีรษะไมเกรน (Migraine) เป็นการปวดศีรษะอีกหนึ่งประเภทที่รุนแรงและสามารถส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างมาก เมื่อมีอาการปวดศีรษะไมเกรน ผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำให้คุณเข้ารับการรักษาพยาบาลอย่างเหมาะสม ร่วมกับดูแลตัวเองในเบื้องต้น และปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์บางอย่าง แต่นอกจากวิธีเหล่านี้แล้ว Hello คุณหมอ ก็อยากแนะนำให้คุณจดบันทึกที่เรียกว่า “การติดตามอาการโรคไมเกรน” ไว้ด้วย ว่าแต่การติดตามอาการโรคไมเกรนสำคัญอย่างไร และเราควรจดบันทึกอะไรบ้าง เราไปหาคำตอบกันเลย การติดตามอาการโรคไมเกรน สำคัญอย่างไร การติดตามอาการโรคไมเกรน เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและรักษาโรคไมเกรนที่เกิดขึ้น ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับคุณที่สุด ทั้งยังช่วยให้ตัวคุณเองรู้เท่าทันอาการของโรค และสามารถปรับตัว หรือปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์เพื่อรับมือกับโรคให้ดีขึ้นได้ด้วย แม้อาการของโรคไมเกรนมักจะมาแบบเป็น ๆ หาย ๆ ผู้เชี่ยวชาญก็แนะนำให้คุณบันทึกหรือติดตามอาการของโรคไว้ตลอด โดยผู้ป่วยโรคไมเกรนแต่ละรายอาจต้องบันทึกการติดตามอาการของโรคติดต่อกันทุกวันยาวเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน หรือตลอดการรักษา ขึ้นอยู่กับอาการและระดับความรุนแรงของโรค การติดตามอาการโรคไมเกรน ควรบันทึกเรื่องใดบ้าง สิ่งที่คุณควรจดบันทึกไว้เวลาติดตามอาการโรคไมเกรนอาจขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แต่โดยทั่วไปแล้ว ผู้เชี่ยวชาญจะให้คุณจดบันทึกสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้ อาการที่เกิดขึ้น ระดับความรุนแรงของอาการ และความถี่ในการเกิดอาการ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้คุณบันทึกอาการ และแบ่งระดับความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นออกเป็น 4 ระดับ ตั้งแต่ 0-3 โดยวัดจากผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนี้ ระดับ 0 : วันที่ไม่มีอาการปวดศีรษะไมเกรน สำหรับคนที่ปวดศีรษะไมเกรนเรื้อรัง อาจมีวันที่อาการไม่กำเริบเลยไม่บ่อยนัก ฉะนั้น หากมีวันไหนที่คุณไม่รู้สึกปวดศีรษะไมเกรนเลย ก็ต้องบันทึกไว้ด้วย ห้ามลืมเด็ดขาด ระดับ 1 […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ปวดหัว ปวดไมเกรน ต้องลองดื่ม ชาบรรเทาอาการปวดศีรษะ

อาการปวดหัว เป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป เมื่อรู้สึกได้ถึงอาการปวดแล้ว มักจะตามมาด้วยความรู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย และต้องการการพักผ่อน เราจึงจำเป็นที่จะต้องหาวิธีลดอาการปวดลง บางคนอาจแก้ได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวด บางคนขอแค่นอนสักงีบก็รู้สึกดีขึ้น หรือบางคนขอแค่ออกไปพักสายตาสักครู่หนึ่งอาการปวดหัวก็หายเป็นผลิดทิ้งได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีอีกหนึ่งตัวช่วยดี ๆ สำหรับผู้ที่มีอาการปวดหัวเป็นประจำ รวมไปถึงอาจสามารถบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนได้เช่นกัน วิธีนั้นคือการดื่ม ชาบรรเทาอาการปวดศีรษะ แต่จะมีชาอะไรบ้างที่แก้ปวดหัวได้ มาติดตามกันที่บทความนี้เลยค่ะ ชาบรรเทาอาการปวดศีรษะ มีอะไรบ้าง ชาขิง ชาขิง หรือบางคนอาจจะเรียกว่าขิงผงก็ได้ ชาขิงแม้จะไม่ใช่ชาชนิดที่ทำมาจากใบชา แต่จัดอยู่ในหมวดหมู่ของชาสมุนไพร คือไม่ได้เก็บจากใบชา แต่มีกรรมวิธีในการชงที่คล้ายกับชา ชาขิงเป็นชาที่มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดหัวมาอย่างยาวนาน เนื่องจากอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่มีส่วนช่วยต้านการอักเสบ ช่วยลดอาการเจ็บปวดที่สมอง ผ่อนคลายและขยายหลอดเลือดเพื่อให้เลือดสามารถไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ดี จากผลการศึกษาที่ได้รับการเผยแพร่ลงในเว็บไซต์ทางการแพทย์พบว่า การดื่มชาขิงให้ผลลัพธ์ในการบรรเทาอาการปวดหัวได้ใกล้เคียงกับการใช้ยารักษาไมเกรน (Migrain) และปวดศีรษะอย่าง ซูมาทริปแทน (Sumatriptan)  ชาเปปเปอร์มิ้น (สะระแหน่) ลำไส้เป็นอวัยวะที่มีผลกระทบโดยตรงต่อสมอง เพราะการหดหรือเกร็งตัวของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อบริเวณลำไส้สามารถส่งผลไปยังสมอง ทำให้เกิด อาการปวดหัว ได้ มีผลการวิจัยพบว่า ชาเปปเปอร์มิ้นหรือชาใบสะระแหน่ มีสรรพคุณช่วยคลายเส้นประสาทและอาการหดเกร็งในลำไส้ จึงช่วยลดความเสี่ยงหรือบรรเทาอาการปวดหัวให้ทุเลาลงได้ ชาฟีเวอร์ฟิว ฟีเวอร์ฟิว เป็นพืชดอกในตระกูลเดียวกับดอกเดซี่ และมีสรรพคุณทางยาที่ถูกใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดหัวมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีผลการวิจัยที่ได้เผยให้เห็นถึงประสิทธิภาพของฟีเวอร์ฟิวว่าสามารถช่วยลดอาการปวดหัว โดยเฉพาะอาการปวดหัวแบบไมเกรนได้เป็นอย่างดี แต่ชาฟีเวอร์ฟิวจะมีรสชาติที่ค่อนข้างติดขม สามารถเพิ่มความหวานด้วยน้ำผึ้ง เพื่อให้สามารถดื่มได้ง่ายขึ้น ชาเปลือกต้นวิลโลว์ เปลือกต้นวิลโลว์หรือเปลือกต้นหลิว เป็นสมุนไพรที่ถูกใช้เพื่อรักษาอาการเจ็บปวดและอาการอักเสบมายาวนานนับพันปี จากผลการวิจัยพบว่าเปลือกต้นวิลโลว์อุดมไปด้วยสารซาลิซิน […]


ปัญหาระบบประสาทและสมองแบบอื่น

ซินเนสทีเซีย (Synesthesia) สัมผัสพิเศษให้คุณเห็นภาพสีจากเสียง

บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสัมผัสพิเศษที่ใคร ๆ หลายคนอยากมี เพราะเป็นเหมือนพรพิเศษจากพระเจ้าที่ทำให้เรามีความสามารถเพิ่มขึ้นแตกต่างจากคนทั่วไป ซึ่งอาการดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า “ซินเนสทีเซีย”  ผู้ที่มีสัมผัสพิเศษดังกล่าว นอกจากจะมีความจำเป็นเลิศแล้ว ยามที่ฟังเพลง ก็จะสามารถจะเห็นเพลงเป็นภาพสี หรือสีสันในรูปทรงอิสระ หรือแม้แต่ในยามรับประทานอาหาร กลุ่มคนเหล่านี้ก็อาจจะรู้สึกถึงรูปทรงจากผิวสัมผัส เช่น รูปร่างกลมมนหรือหนามแหลม เป็นต้น แต่..จะมีความพิเศษอะไรอีกบ้างนั้น ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลยค่ะ สัมผัสพิเศษ หรือ ซินเนสทีเซีย (Synesthesia) คืออะไร   ซินเนสทีเซีย (Synesthesia) หมายถึงการรับรู้ประสาทสัมผัสตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นพร้อมกัน โดยคำดังกล่าวมีที่มาจากคำภาษากรีกคำว่าซิน (Syn) ที่แปลว่าร่วมกัน และเอสทีเซีย (Ethesia) ที่แปลว่า การรับรู้ อย่างไรก็ตาม สัมผัสพิเศษซินเนสทีเซียนี้ไม่ใช่ความผิดปกติของโรคหรืออาการป่วยใด ๆ เป็นเพียงลักษณะพิเศษ หรือเรียกว่า อาการ เท่านั้น ลักษณะของผู้ที่มีสัมผัสพิเศษซินเนสทีเซียส่วนใหญ่จะถนัดซ้ายและมีประสาทสัมผัสที่พบบ่อยที่สุดคือ การเห็นตัวอักษรหรือตัวเลข เป็นสี ประเภทของ สัมผัสพิเศษ ที่พบบ่อย โดยปกติคนเราจะมีประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการรับรู้ความรู้สึก เช่น การมองเห็น การดมกลิ่น การสัมผัส การได้ยิน การรับรส […]


โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งหรือโรคเอ็มเอส

ชอบให้แฟนนอนหนุนแขนบ่อยๆ ระวังเสี่ยงเป็น ภาวะพาเรสทีเซีย

การนอนหนุนแขนแฟน ช่างดูเป็นท่านอนที่ให้ความรู้สึกโรแมนติกและอบอุ่นซะเหลือเกิน สัมผัสที่โอบกอดซึ่งกันและกันสามารถช่วยกระชับความสัมพันธ์ของคู่รักให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น แต่ในทางทฤษฎี หากคุณให้แฟนนอนหนุนแขนบ่อย ๆ อาจทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาทแบบไม่ได้ตั้งใจ และเสี่ยงต่อการเกิด ภาวะพาเรสทีเซีย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงพาทุกคนมาทำความรู้จักกับภาวะดังกล่าวนี้ให้มากขึ้นกันค่ะ ภาวะพาเรสทีเซีย (Paresthesia) คืออะไร ภาวะพาเรสทีเซีย (Paresthesia) เกิดจากการกดทับที่เส้นประสาท โดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการนั่งทับขา การนอนทับแขน เป็นเวลานาน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการชา คัน ปวดแสบปวดร้อน เหมือนโดนเข็มทิ่มโดยเฉพาะบริเวณแขนและขา อย่างไรก็ตาม ภาวะพาเรสทีเซียไม่ใช่โรคเรื้อรังร้ายแรง เป็นอาการเพียงชั่วคราวสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรับการรักษา แต่หากคุณมีโรคประจำตัว และยังมีอาการชาอย่างต่อเนื่อง ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป สาเหตุของภาวะพาเรสทีเซีย ภาวะพาเรสทีเซียเกิดจากการกดทับของเส้นประสาท หรือช่วงเวลาสั้น ๆ ในการขัดขวางระบบการหมุนเวียนของเลือด โดยส่วนใหญ่มักเกิดจาก การนอนหลับทับมือหรือแขน การนั่งไขว้ขานานเกินไป แต่ในผู้ป่วยที่มีอาการชาเรื้อรัง อาจเกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาท ซึ่งมีสาเหตุดังต่อไปนี้ โรคหลอดเลือดสมอง เส้นเลือดตีบ เนื้องอกในไขสันหลังหรือสมอง โรคเบาหวาน โรคไฟโบรมัยอัลเจีย ความดันโลหิตสูง การติดเชื้อต่าง ๆ ความผิดปกติของเส้นประสาท แขนขา รู้สึกชาโดยไม่ทราบสาเหตุ สัญญาณเตือนของภาวะพาเรสทีเซีย  ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะพาเรสทีเซีย จะมีอาการดังต่อไปนี้ รู้สึกเสียวซ่า เหมือนโดนเข็มทิ่มร่างกาย ปวดเมื่อย ปวดแสบ ปวดร้อน อาการชา คัน ผิวหนังร้อน ๆ หนาว ๆ ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะพาเรสทีเซีย มีอาการทางระบบประสาท เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis; MS) มีภาวะแพ้ภูมิตัวเอง เคลื่อนไหวซ้ำ […]


โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งหรือโรคเอ็มเอส

วิธีบรรเทาอาการปวด จาก อาการเส้นประสาทกดทับข้อมือ แบบที่ไม่ต้องพึ่งการผ่าตัด

กลุ่มอาการเส้นประสาทกดทับข้อมือ นั้นเป็นภาวะที่ทำให้เราเกิดอาการมือไม้อ่อนแรง นิ้วกระตุก มือชา หรืออาจทำให้เรารู้สึกปวดเส้นประสาท จนไม่สามารถใช้งานมือข้างนั้นได้อย่างเต็มที่ วันนี้ Hello คุณหมอ เลยจะมาแนะนำวิธีดีๆ ในการ ลดอาการปวดจากอาการเส้นประสาทกดทับข้อมือ มาให้คุณผู้อ่านกันค่ะ เทคนิคการ ลดอาการปวดจากอาการเส้นประสาทกดทับข้อมือ พักผ่อน การพักผ่อน และงดเว้นการเคลื่อนไหวในบริเวณมือข้างที่มีอาการ เป็นวิธีการที่ดีที่สุด ที่จะช่วยลดอาการปวดเส้นประสาท จากอาการเส้นประสาทกดทับที่มือได้ เพราะหากคุณยิ่งใช้มือข้างที่มีปัญหา ก็อาจจะยิ่งทำให้อาการอักเสบและบวมในบริเวณข้อมือนั้นยิ่งมีอาการรุนแรงขึ้นได้ หากคุณกลัวว่าตัวเองจะเผลอใช้ข้อมือที่มีอาการนั้น อาจใช้วิธีการพันผ้าพันแผลในข้อมือข้างที่มีอาการ เพื่อตรึงให้ข้อมืออยู่นิ่งได้มากขึ้น นอกจากนี้แพทย์ก็อาจจะใช้วิธีการใส่เฝือกที่ข้อมือ เพื่อช่วยตรึงข้อมือให้อยู่นิ่ง และลดโอกาสการเคลื่อนไหวของข้อมือได้มากยิ่งขึ้น เปลี่ยนท่า ปัญหาการกดทับของเส้นประสาทที่ข้อมือนั้น มักจะมีสาเหตุมาจากการเคลื่อนไหวข้อมือด้วยท่าเดิมซ้ำๆ หรือมาจากการวางมือทำงานในลักษณะที่ไม่เหมาะสม เช่น การวางมือขณะพิมพ์งาน วาดรูป หรือเล่นเปียโน การเคลื่อนไหวข้อมือในลักษณะเดิมซ้ำๆ นั้นจะทำให้เกิดความตึงเครียดต่อเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อในบริเวณมือ และส่งผลให้เกิดการอักเสบ บวม และเส้นประสาทกดทับได้ ลองเปลี่ยนท่าทางการใช้ข้อมือดู โดยอาจจะเริ่มจากการพักการใช้มือ มายืดเส้นยืดสายเล็กน้อย ทุกๆ 30 นาที และพยายามจัดวางมือให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม เป็นธรรมชาติ ไม่ยกสูงหรือต่ำจนเกินไป หากคุณต้องพิมพ์งานหรือเขียนงานเป็นเวลานานๆ อาจลองปรับท่านั่งให้ถูกต้อง และหาอะไรนุ่มๆ มารองในบริเวณข้อมือ จะช่วยให้มืออยู่ในท่าที่เหมาะสม และช่วยให้อาการปวดลดน้อยลงได้ เลือกรับประทานอาหาร การเลือกรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม และมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ก็เป็นอีกหนึ่งหนทางที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดจากอาการเส้นประสาทกดทับข้อมือได้เช่นกัน โดยอาหารที่คุณควรเลือกรับประทานมีดังนี้ พริกหยวกแดง หนึ่งในปัญหาจากอาการเส้นประสาทกดทับข้อมือนั้น คืออาการอักเสบและอาการบวมที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อมือ […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

แมกนีเซียมบรรเทาอาการไมเกรน ได้จริงหรือไม่

เมื่ออาการปวดหัวไมเกรน เข้าโจมตีคุณเมื่อไร อาการปวดนั้นก็จะทำให้คุณทุกข์ทรมาน หลายๆ คนก็อาจจะหาวิธีในการบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนว่าควรทำอย่างไร และแน่นอนว่าการใช้ แมกนีเซียมบรรเทาอาการไมเกรน อาจจะผ่านตาหลาย ๆ คนมาบ้างแล้ว แต่หลายคนคงมีคำถามในใจว่า แล้วแมกนีเซียมนั้นมีส่วนช่วยในการป้องกันและบรรเทาอาการปวดไมเกรนได้จริงหรือไม่ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลที่มีความน่าสนใจนี้มาให้อ่านกันแล้วค่ะ ประเภทของแมกนีเซียม แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ที่มีส่วนช่วยในการสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อ นอกจากนี้แมกนีเซียมยังมีบทบาทและประโยชน์อื่นๆ ต่อร่างกายอีกด้วย แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีหลายประเภท ดังนี้ แมกนีเซียมออกไซด์ (magnesium oxide) เป็นแมกนีเซียมในปริมาณสูง มักใช้ในการรักษาไมเกรน และใช้เพื่อเสริมในผู้ที่มีภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ แมกนีเซียมซัลเฟต (magnesium sulfate) เป็นอาหารเสริมที่สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ แมกนีเซียมคาร์บอเนต (magnesium carbonate) เป็นเกลืออนินทรีย์ที่มีระดับแมกนีเซียมสูง ส่วนใหญ่แล้วต้องผ่านกระบวนการเผาเพื่อให้ได้ แมกนีเซียมออกไซด์ แมกนีเซียมคลอไรด์ (magnesium chloride) เป็นสารตั้งต้นที่มักจะนำมาผลิตสารประกอบแมกนีเซียมอื่น ๆ แมกนีเซียมซิเตรต (magnesium citrate) เป็นแร่ธาตุที่สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ในปริมาณมาก มักใช้เพื่อกระตุ้นในการขับถ่าย มีคุณสมบัติเป็นยาระบายอ่อน ๆ แมกนีเซียมบรรเทาอาการไมเกรน ได้อย่างไร จากการวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีปัญหาไมเกรนนั้นมีระดับแมกนีเซียมในร่างกายที่ต่ำกว่าผู้ที่ไม่มีปัญหาไมเกรน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่าการบริโภคแมกนีเซียมเป็นประจำนั้นมีส่วนช่วยลดความถี่ในการเกิดไมเกรนได้ถึงร้อยละ 41.6 นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าการได้รับอาหารเสริมแมกนีเซียมมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดไมเกรนที่มาจากประจำเดือนได้อีกด้วย อาหารที่อุดมไปด้วยแมกนีเซียม สำหรับผู้ที่มีปริมาณแมกนีเซียมต่ำ และต้องการเสริมแมกนีเซียมให้ร่างกาย อาหารเหล่านี้เป็นอาหารที่มีแมกนีเซียมอยู่ตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่แล้วเรามักจะพบแมกนีเซียมในผักใบเขียว เช่น ผักโขม ผักใบเขียวหนึ่งถ้วยให้แมกนีเซียมมากถึงร้อยละ 38-40 […]


ความผิดปกติของระบบประสาทส่วนปลาย

ทำความรู้จัก อาการยึกยือ อวัยวะเคลื่อนไหวเองแบบไม่ได้ตั้งใจ

บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ อาการยึกยือ อีกหนึ่งความผิดปกติทางระบบประสาท โดยมักเกิดจากผลข้างเคียงของการใช้ยารักษาโรคจิตเภท  ส่งผลให้กล้ามเนื้อขยับเองโดยไม่สามารถควบคุมได้ เช่น นิ้วกระตุกเอง แขนสะบัดเองโดยไม่ตั้งใจ เป็นต้น ทำความรู้จัก อาการยึกยือ (Tardive Dyskinesia) อาการยึกยือ (Tardive Dyskinesia)  เกิดจากผลข้างเคียงของการใช้ยารักษาทางจิตเภท ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดความผิดปกติไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ตากระพริบเอง นิ้วกระตุก อย่างไรก็ตาม อาการยึกยือไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนที่ทานยารักษาโรคทางจิตเภท ดังนั้นหากคุณรับประทานยาทางจิตเภทและพบว่าตนเองมีอาการเสี่ยงต่อการเป็นอาการยึกยือควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม สาเหตุของอาการยึกยือ สาเหตุของอาการยึกยือ เกิดจากผลข้างเคียงของการรับประทานยาที่รักษาโรคทางจิตเภท โดยยาที่รักษาโรคจิตเภทจะไปยับยั้งการทำงานของสารโดพามีน (Dopamine)  (สารโดพามีนมีหน้าที่ช่วยให้ระบบกล้ามเนื้อสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างราบรื่น) โดยเฉพาะในผู้ที่รับประทานยารักษาโรคทางจิตเภทนาน 3 เดือน ขึ้นไปมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอาการยึกยือ ซึ่งยาส่วนใหญ่ที่มีผลต่อการเกิดอาการยึกยือ มีดังต่อไปนี้ ยาฮาโลเพอริดอล (Haloperidol) ยาฟลูนาริซีน (Flunarizine) ยาริสเพอริโดน (Risperidone) โอแลนซาปีน (Olanzapine) หากคุณรับประทานยาที่เกี่ยวกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน กรดไหลย้อน และยาที่ใช้ในการรักษาเกี่ยวกับโรคกระเพาะ นานเกิน 3 เดือน อาจทำให้เกิดอาการยึกยือได้เช่นกัน เช่น ยาเมโทโคลพราไมด์ (Metoclopramide) คลอร์โปรมาซีน (Chlorpromazine) นอกจากนี้ยังสาเหตุและปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการยึกยือ เช่น ผู้หญิงสูงอายุวัย 55 ปี […]


โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งหรือโรคเอ็มเอส

ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis)

ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis)เป็นโรคที่อาจทำให้สมอง ไขสันหลัง และระบบประสาทส่วนกลางปิด นอกจากนั้นยังสามารถทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสารระหว่างสมองและอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้อีกด้วย ดังนั้น ลองมาทำความรู้จักกับโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งให้มากขึ้น กับบทความนี้ของ Hello คุณหมอ กันได้เลย คำจำกัดความ ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis) คืออะไร โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือโรคเอ็มเอส (MS) เป็นโรคที่ส่งผลต่อสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทในดวงตา ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น การทรงตัว การควบคุมกล้ามเนื้อ และการทำงานพื้นฐานอื่นๆ ของร่างกาย ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นในแต่ละคนจะแตกต่าง บางคนมีอาการเพียงเล็กน้อยและไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา แต่บางคนอาจจะส่งผลต่อการเดินทางและการทำงานในชีวิตประจำวัน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของคุณโจมตีสารไขมัน (Fatty Material) ที่มีชื่อเรียกว่า ไมอีลิน (Myelin) ซึ่งทำหน้าที่ในการปกป้องเส้นประสาทด้วยการพันรอบใยประสาท หากไม่มีไมอีลิน เส้นประสาทของคุณจะเสียหาย เนื้อเยื่อแผลเป็นก็อาจจะก่อตัวขึ้น ความเสียหายดังกล่าว หมายความว่า สมองคุณจะไม่สามารถส่งสัญญาณผ่านร่างกายได้อย่างถูกต้อง ประสาทของคุณจะไม่ทำงานได้เท่าที่ควร เพื่อช่วยให้คุณเคลื่อนไหวและรู้สึกได้ เป็นผลทำให้คุณอาจมีอาการ ดังต่อไปนี้ มีปัญหาในการเดิน รู้สึกเหนื่อย กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือกระตุก การมองเห็นไม่ชัดหรือเห็นภาพซ้อน อาการชาหรือเสียวซ่า ปัญหาทางเพศ การควบคุมกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ไม่ดี ความเจ็บปวด ซึมเศร้า ปัญหาในการโฟกัสหรือจดจำ ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง พบบ่อยเพียงใด อาการแรกเริ่มมักจะเริ่มเกิดขึ้นในช่วงอายุ 20-40 ปี คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง จะมีอาการกำเริบหรืออาการทรุดลงอย่างเห็นได้ชัด และมักจะฟื้นตัวเมื่ออาการดีขึ้น ในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์พบวิธีการรักษาใหม่ๆ มากมาย ที่มักจะช่วยป้องกันการกำเริบของโรคและชะลอผลของโรคได้ อาการอาการของ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน