backup og meta

อยู่ก็ได้ ไม่อยู่ก็ดี ภาวะเฉยชากับชีวิต ที่นำไปสู่การคิดฆ่าตัวตาย

อยู่ก็ได้ ไม่อยู่ก็ดี ภาวะเฉยชากับชีวิต ที่นำไปสู่การคิดฆ่าตัวตาย

เบื่อหน่ายกับการใช้ชีวิต แม้แต่ตอนหลับสมองก็ยังคิดถึงแต่ความตาย หากตัวคุณ หรือคนรอบข้างกำลังแสดงอาการ และพฤติกรรมที่ทำร้ายตนเองอยู่ละก็ พวกเขาอาจกำลังเข่าสู่ ภาวะเฉยชากับชีวิต ที่อาจเกี่ยวข้องกับโรคซึม แต่จะมีอาการอย่างไรเพิ่มเติมนั้น มารู้ให้เท่าทันกับบทความนี้ ที่ Hello คุณหมอ ได้นำมาฝากทุกๆ คนกัน

รู้จักกับ ภาวะเฉยชากับชีวิต (Passive Death Wish) เพื่อการรับมืออย่างเท่าทัน

ภาวะเฉยชากับชีวิต หรือการคิดฆ่าตัวตายแบบพาสซีพ คือ อาการหมกมุ่นที่จะอยากจบชีวิตตนเองแบบไม่มีการคาดการณ์ หรือวางแผนไว้ล่วงหน้า เป็นการฆ่าตัวตายทางความคิดจินตนาการร่วมด้วย เช่น หากนอนหลับไปแล้ว ถ้าไม่ตื่นขึ้นมาก็คงจะดี หรือโลกจะน่าอยู่กว่านี้ถ้าไม่มีเรา ถึงแม้จะเป็นเพียงแค่ความคิดแต่ไม่ได้หมายความว่าเหตุการณ์ร้ายแรงจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ อย่าประมาทภาวะน่ากลัวนี้เพราะคุณคาดเดาไม่ได้เลยว่าผู้ป่วยจะลงมือทำร้าย หรือจบชีวิตของพวกเขาตอนไหน

สาเหตุหลักๆ ของภาวะเฉยชากับชีวิต มีหลายปัจจัยด้วยกัน คือ

  • การใช้สารเสพติด
  • ความกดดันจากสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิตจนทำให้สะสม
  • ปัญหาตามสภาพแวดล้อมในสังคม เช่น ปัญหาทางการเงิน ปัญหาด้านความสัมพันธ์ หรือสภาพแวดล้อมตามถิ่นที่อยู่อาศัยเป็นเชิงลบ
  • มีความผิดปกติด้านจิตใจ (ภาวะซึมเศร้า หรือโรคซึมเศร้า)
  • ความเครียด วิตกกังวล

เช็กอาการตนเอง และคนที่คุณรักโดยด่วน ก่อนจะสายเกินแก้

  • รู้สึกสิ้นหวังกับบางอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตของพวกเขา
  • พูดถึงความตาย หรือคิดที่จะฆ่าตัวตายอยู่บ่อยครั้ง
  • การพึ่งสารเสพติดในปริมาณที่มากขึ้น
  • อารมณ์แปรปรวนง่าย
  • มีวิธีการคิดฆ่าตัวตายอย่างรุนแรง เช่น การใช้อาวุธปืน และของมีคม เป็นต้น
  • คำพูดสื่อความหมายในเชิงบอกลาผู้คนที่พวกเขารัก
  • ชอบแยกตนเองออกมาจากสังคม หรือผู้อื่น

คุณสามารถสังเกตอาการข้างต้นที่กล่าวมาได้ หรือหากมีอาการอื่นๆ ที่ใกล้เคียง หรือรุนแรงกว่านั้น ให้คุณรีบพาผู้ป่วยไปขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ และนักบำบัดโดยเร็วที่สุด

บำบัดอย่างถูกวิธี ด้วยเทคนิคของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ลดความเสี่ยงในผู้ป่วยที่มีความคิดอยากตาย ด้วย เทคนิคทางการแพทย์ ดังนี้

  • จิตบำบัด หรือพฤติกรรมบำบัด เป็นการพูดคุยถึงอาการ รวมถึงเรื่องราวต่างๆ ที่คุณกำลังประสบปัญหาอยู่ให้นักบำบัดได้รับฟังพร้อมรักษาในขั้นตอนถัดไปได้อย่างถูกวิธี
  • ยารักษาอาการซึมเศร้า ซึ่งเป็นยาที่จะช่วยคลายความกังวล เป็นยารักษาโรคทางจิตอย่างหนึ่ง ทางแพทย์อาจให้ยากล่อมประสาทร่วมด้วยในระหว่างการรักษา
  • การจัดการกับความเครียด เป็นการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิต ปรับปรุงเรื่องการนอนหลับ การรับประทานอาหาร รวมถึงการออกกำลังกาย เพื่อจัดการกับความเครียด และเบี่ยงเบนความสนใจ

หากอาการอยู่ในขั้นที่ไม่รุนแรงมากนัก คุณควรรับมือกับพวกเขาตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนจะพัฒนาจนไปถึงการฆ่าตัวตายได้ โดยการสร้างพลังบวก หรือพาผู้ป่วยไปอยู่ในที่ผ่อนคลาย อาจใช้การนั่งสมาธิเข้าช่วยเพื่อให้จิตใจสงบขึ้น

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Managing Suicidal Ideation https://www.healthline.com/health/suicidal-ideation#treatments Accessed February 04, 2020

What cognitive functions are associated with passive suicidal ideation? https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3544336/ Accessed February 04, 2020

An Overview of Suicidal Ideation https://www.verywellmind.com/suicidal-ideation-380609 Accessed February 04, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

อัตราการฆ่าตัวตาย ที่เพิ่มขึ้น ในยุค "Modernization"

รู้ไว้ มลภาวะทางเสียง อาจเพิ่มความเสี่ยง โรคซึมเศร้า ไม่รู้ตัว


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา