สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

วัคซีน HPV ผู้ชายฉีดได้ไหม? ช่วยอะไร?

HPV (Human Papillomavirus) คือไวรัสที่ติดต่อทางการมีเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อย อีกทั้งยังอาจนำไปสู่การเกิดโรคร้ายอย่างมะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก และมะเร็งลำคอ อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจคิดว่า HPV ส่งผลกระทบแค่กับผู้หญิงเท่านั้น จึงมองข้ามความสำคัญของการฉีดวัคซีน hpv สำหรับผู้ชายไปได้ บทความนี้จึงอยากจะมาแก้ไขความเข้าใจผิด และนำเสนอให้ผู้อ่านได้เห็นถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีน HPV ในผู้ชาย [embed-health-tool-vaccination-tool] HPV ส่งผลอะไรต่อผู้ชาย เชื้อไวรัส HPV เป็นเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ โดย แบ่งเป็นสายพันธุ์เสี่ยงต่ำ และสายพันธุ์เสี่ยงสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเพศชาย ดังนี้ มะเร็งทวารหนัก มะเร็งทวารหนักเกิดจากการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูง เช่น HPV 16 และ 18 ซึ่งทำให้เซลล์บริเวณทวารหนักเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเป็นมะเร็งได้  ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ติดเชื้อ HIV  ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย  การมีคู่นอนหลายคน  อาการที่พบบ่อยคือ เลือดออกจากทวารหนัก ปวดหรือกดเจ็บในบริเวณนั้น และรู้สึกว่ามีก้อนเนื้อ  การป้องกันทำได้โดยการฉีดวัคซีน HPV การตรวจคัดกรองในกลุ่มเสี่ยง และการใช้ถุงยางอนามัย มะเร็งองคชาต มะเร็งองคชาตเกิดจากการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูง เช่น HPV 16 และ […]

หมวดหมู่ สุขภาพทางเพศ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ

เลือดประจำเดือน คืออะไร แบบไหนที่ผิดปกติและควรพบคุณหมอ

เลือดประจำเดือน คือ เลือดที่เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกลอกตัวออกและไหลออกทางช่องคลอดเป็นประจำทุกเดือนหลังจากมีการตกไข่แต่ไม่ได้มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ผู้หญิงมักเริ่มมีเลือดประจำเดือนเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ และแต่ละครั้งอาจมีประจำเดือนนาน 3-7 วัน แตกต่างกันออกไปตามภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตาม หากสังเกตว่าประจำเดือนขาด มาไม่สม่ำเสมอ และมีลักษณะผิดปกติ ควรเข้าพบคุณหมอทันที เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสม [embed-health-tool-ovulation] เลือดประจำเดือน คืออะไร เลือดประจำเดือน คือ เลือดที่เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกลอกตัวออกและไหลออกทางช่องคลอดเป็นประจำทุกเดือนหลังจากที่มีการตกไข่แต่ไม่ได้มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น โดยปกติ เมื่อถึงช่วงการตกไข่ ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่มีหน้าที่ในการควบคุมการตกไข่จะเพิ่มขึ้น เพื่อกระตุ้นให้รังไข่ปล่อยไข่ออกมาและทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น เตรียมพร้อมให้ตัวอ่อนที่เกิดจากการปฏิสนธิของอสุจิและไข่ฝังตัว และเกิดเป็นการตั้งครรภ์ แต่หากไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ระดับฮอร์โมนเพศหญิงทั้งสองจะลดลง ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกและไหลออกมาเป็นประจำเดือน มักจะเกิดขึ้นในทุก ๆ 28 วัน ลักษณะของเลือดประจำเดือนที่ปกติ ลักษณะของเลือดประจำเดือนที่ปกติอาจสังเกตได้จากประจำเดือนมาสม่ำเสมอ โดยประจำเดือนแต่ละครั้งมีระยะห่างกันประมาณ 21-35 วัน ประจำเดือนมาในช่วงเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกันทุกรอบเดือน และอาจเป็นนานประมาณ 3-7 วัน โดยมีปริมาณเลือดที่พอดี มีสีชมพู สีแดง หรืออาจมีสีน้ำตาลและดำในช่วงใกล้หมดประจำเดือน นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการอื่น ๆ ก่อนประจำเดือนมาหรือระหว่างการมีประจำเดือน เช่น สิวขึ้น ปวดท้องน้อย รู้สึกอยากอาหาร อารมณ์แปรปรวน เจ็บเต้านม ท้องอืด มีปัญหาการนอนหลับ ลักษณะของเลือดประจำเดือนที่ผิดปกติ ลักษณะของเลือดประจำเดือนที่ผิดปกติ อาจมีดังนี้ ประจำเดือนขาด […]


สุขภาพทางเพศ

ปจด.มาไม่ปกติ มีสาเหตุจากอะไร และการดูแลตัวเอง

ปจด.มาไม่ปกติ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของประจำเดือนที่แตกต่างไปจากที่เคยเป็น เช่น ประจำเดือนไม่มา ประจำเดือนมามากหรือมานาน ประจำเดือนมาน้อย ประจำเดือนห่าง โดยสาเหตุของ ปจด.มาไม่ปกติ มักเกิดจากความเครียด ความอ้วน การคุมกำเนิด โรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ รวมถึงความไม่สมดุลของฮอร์โมนและความผิดปกติต่าง ๆ เกี่ยวกับต่อมไทรอยด์หรือระบบสืบพันธุ์ [embed-health-tool-ovulation] ปจด. คืออะไร ปกติเป็นแบบไหน ปจด. ย่อมาจาก ประจำเดือน เป็นภาวะสุขภาพของเพศหญิงในวัยเจริญพันธุ์ที่ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงหลังตกไข่และไม่ได้รับการปฏิสนธิกับอสุจิ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกกลายเป็นเลือดไหลออกทางช่องคลอดเดือนละครั้ง โดยทั่วไป เพศหญิงจะเริ่มมีประจำเดือนตั้งแต่อายุ 12-15 ปี และหยุดมีประจำเดือนเมื่อเข้าสู่วัยทอง หรือประมาณอายุ 45-55 ปี ซึ่งเกิดจากภาวะรังไข่หยุดทำงานโดยธรรมชาติ ทำให้ไม่มีการสร้างฮอร์โมนเพศทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน และไม่มีการตกไข่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ประจำเดือนแต่ละรอบ จะเกิดห่างกันประมาณ 28 วัน อย่างไรก็ตาม ประจำเดือนอาจมาเร็วหรือช้ากว่านั้น คือ อยู่ในช่วงระหว่าง 21-35 วัน โดยประจำเดือนแต่ละรอบจะมาติดต่อกันราว 3-7 วัน อาการแบบไหนเข้าข่าย ปจด.มาไม่ปกติ ปจด.มาไม่ปกติ หมายถึง การมีประจำเดือนที่แตกต่างไปจากที่เคยเป็น ซึ่งพบได้ในเพศหญิงที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ได้แก่ ประจำเดือนขาด (Amenorrhea) หรือบางครั้งเรียกว่า ประจำเดือนไม่มา […]


สุขภาพทางเพศ

ประจําเดือนหมดแล้วมาใหม่ ในเดือนเดียวกัน (Intermenstrual bleeding) เกิดจากอะไร

โดยทั่วไป ประจำเดือนของผู้หญิงในแต่ละรอบเดือนจะมีระยะห่างประมาณ 21-35 วัน และผู้หญิงมักมีประจำเดือนประมาณ 3-7 วัน หากเกิดภาวะ ประจําเดือนหมดแล้วมาใหม่ ทั้งที่ประจำเดือนเพิ่งหมดไปเพียง 1-2 สัปดาห์ อาจเป็นอาการของภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ ที่อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งสาเหตุทางกายภาพ เช่น การมีติ่งเนื้อปากมดลูก การมีติ่งเนื้อโพรงมดลูก การติดเชื้อระบบสืบพันธุ์ การเข้าสู่วัยก่อนหมดประจำเดือน หรือเกิดจากสาเหตุทางใจเช่น ความเครียด การใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งนี้ อาจมีอาการผิดปกติอื่น ๆ เช่น ปวดท้องรุนแรง มีตกขาวผิดปกติ ร่วมด้วย การรักษาภาวะประจำเดือนหมดแล้วมาใหม่ควรเข้าพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรักษาต่อไป [embed-health-tool-ovulation] สาเหตุของ ประจําเดือนหมดแล้วมาใหม่ ในเดือนเดียวกัน (Intermenstrual bleeding) ประจําเดือนหมดแล้วมาใหม่ อาจเกิดจากปัจจัยต่อไปนี้ ความเครียด ภาวะเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ทำให้ระดับฮอร์โมนเพศในร่างกายผิดปกติ และอาจส่งผลให้ประจำเดือนหมดแล้วมาใหม่ได้ การใช้ชีวิตประจำวัน กิจวัตรประจำวันของผู้หญิง เช่น พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายหักโหมมากเกินไป สัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนไป อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้ น้ำหนักตัวมากหรือน้อยเกินไป การเพิ่มหรือลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วของผู้หญิง อาจกระทบต่อระดับฮอร์โมนในร่างกาย ส่งผลให้การตกไข่ผิดปกติ และอาจทำให้ประจำเดือนหมดแล้วมาใหม่เร็วกว่ากำหนดได้ การคุมกำเนิด เช่น ยาคุมฉุกเฉิน […]


สุขภาพทางเพศ

คัดเต้า ช่วงเป็น ประจําเดือน เกิดจากสาเหตุใด

คัดเต้า ประจําเดือน คืออาการเจ็บบริเวณหน้าอกในช่วงที่เป็นประจำเดือน อาจรู้สึกคัดตึงเต้านม เต้านมบวมแข็ง และรู้สึกปวดไล่ไปตามหน้าอก โดยอาจปวดแค่ข้างใดข้างหนึ่งหรือปวดทั้งสองข้างก็ได้ อาการคัดเต้าพบได้บ่อยในช่วงไข่ตกหรือช่วงมีประจำเดือนทุก ๆ เดือน มักเกิดก่อนเริ่มเป็นประจำเดือนประมาณ 2 สัปดาห์ ไปจนถึงในช่วงที่เป็นประจำเดือน และอาจหายไปเองหลังรอบเดือนหมด ทั้งนี้ การศึกษาวิธีการดูแลตัวเองที่เหมาะสมอาจช่วยบรรเทาอาการปวดที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม หากอาการรุนแรงจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม [embed-health-tool-ovulation] สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการคัดเต้า ช่วงเป็นประจําเดือน คัดเต้า ประจําเดือน (Cyclic breast pain) เกิดจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในร่างกายเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ท่อและต่อมบริเวณเต้านมขยาย และมีปริมาณน้ำในหน้าอกเพิ่มขึ้น ทำให้เต้านมหนักขึ้นและคัดตึงเต้านม อาการคัดเต้าเป็นอาการก่อนประจำเดือน (Premenstrual syndrome หรือ PMS) ที่พบได้บ่อยและสามารถหายไปได้เองหลังหมดรอบเดือน แต่อาจกลับมาเป็นซ้ำได้ในแต่ละรอบเดือนจนกว่าจะถึงวัยที่หมดประจำเดือน นอกจากนี้ อาการคัดเต้ายังสามารถเกิดขึ้นในช่วงที่ไม่ได้เป็นประจำเดือนได้ด้วย เรียกว่า Noncyclic breast pain ซึ่งเกิดจากความผิดปกติหรือการติดเชื้อบริเวณเต้านมที่ไม่ได้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงที่เป็นประจำเดือน เช่น เต้านมอักเสบ (Mastitis) เต้านมเป็นฝี (Breast abscess) มีก้อนในเต้านมชนิดไฟโบรซิสติค (Fibrocystic breast disease) ภาวะเหล่านี้ หากปล่อยไว้อาจเป็นอันตรายได้ หากรู้สึกว่าอาการคัดเต้ารุนแรงและต่างจากการปวดเต้านมในช่วงเป็นประจำเดือนที่เคยประสบ ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาโดยเร็วที่สุด คัดเต้า ช่วงเป็น […]


สุขภาพทางเพศ

ผ่าตัดมดลูก การเตรียมตัวและวิธีดูแลตัวเอง

การ ผ่าตัดมดลูก ใช้เพื่อรักษาปัญหาเกี่ยวกับมดลูกต่าง ๆ เช่น เนื้องอกในมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ การเรียนรู้เกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดและดูแลตัวเองหลังการผ่าตัด อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดมดลูก และช่วยให้ฟื้นตัวจากการผ่าตัดได้เร็วขึ้น [embed-health-tool-ovulation] ผ่าตัดมดลูก คืออะไร การผ่าตัดมดลูก คือ การผ่าตัดที่ช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายในมดลูก มีทั้งการผ่าตัดเพื่อกำจัดแค่เฉพาะส่วนที่มีปัญหา การผ่าตัดเพื่อตัดมดลูกรวมถึงปากมดลูก และการผ่าตัดเพื่อนำทั้งมดลูกและเนื้อเยื่อโดยรอบ เช่น รังไข่ ท่อนำไข่ ออกไปทั้งหมด โดยการผ่าตัดจะพิจารณาจากปัญหาที่เกิดขึ้นภายในมดลูกตามแต่ละบุคคล ผ่าตัดมดลูก เพื่ออะไร การผ่าตัดมดลูกเหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพดังต่อไปนี้ เนื้องอกในมดลูก เกิดจากเนื้อเยื่อที่เจริญเติบโตผิดปกติภายในมดลูกจนอาจส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น เลือดออกทางช่องคลอด ปัสสาวะบ่อย ท้องผูก ปวดท้องน้อย หากเนื้องอกมีขนาดเล็กอาจผ่าตัดเพื่อกำจัดแค่เนื้องอกเท่านั้น แต่หากเนื้องอกมีขนาดใหญ่อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดมดลูกออกไปทั้งหมด ภาวะเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ หากประจำเดือนมามากผิดปกติ หรือมาไม่สม่ำเสมอ การผ่าตัดมดลูกอาจช่วยบรรเทาอาการนี้ได้ โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เป็นภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกที่ควรเจริญเติบโตอยู่ในโพรงมดลูกตามปกติไปเจริญเติบโตอยู่ในตำแหน่งอื่น โดยเฉพาะในบริเวณรังไข่ ท่อนำไข่ หรืออุ้งเชิงกราน ส่งผลให้เสี่ยงเกิดช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate cyst) และมีอาการปวดท้องรุนแรง หรือหากเยื่อบุโพรงมดลูกไปเจริญเติบโตที่กล้ามเนื้อมดลูก ก็อาจทำให้มีอาการปวดประจำเดือนมาก เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ รวมถึงมีภาวะมีบุตรยากได้ จึงอาจต้องทำการรักษาโดยการผ่าตัดมดลูก เพื่อนำเนื้อเยื่อมดลูกที่เจริญเติบโตผิดที่ รวมถึงรังไข่และท่อนำไข่ออก ภาวะมดลูกหย่อน อาจทำให้เกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ อาการปวดอุ้งเชิงกราน […]


สุขภาพทางเพศ

ผ่าตัดเนื้องอกมดลูก การเตรียมตัว และความเสี่ยง

การผ่าตัดเนื้องอกมดลูก คือกระบวนการผ่าตัดเพื่อกำจัดเซลล์ที่เจริญเติบโตผิดปกติภายในมดลูก ซึ่งมีทั้งการผ่าตัดแบบกำจัดแค่เพียงส่วนที่เป็นเนื้องอก กับการผ่าตัดนำมดลูกออกไปทั้งหมด ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและการลุกลามของเนื้องอก การศึกษาเกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดมดลูก อาจช่วยลดวามเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดได้ [embed-health-tool-ovulation] การผ่าตัดเนื้องอกมดลูก คืออะไร การผ่าตัดเนื้องอกมดลูก คือ กระบวนการผ่าตัดเพื่อกำจัดเนื้องอกในมดลูกออกไป โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ การผ่าตัดเฉพาะแค่ส่วนของเนื้องอก (Myomectomy) คือการผ่าตัดเพื่อนำเนื้อส่วนที่เป็นเพียงก้อนเนื้องอกออก เหมาะสำหรับผู้ที่วางแผนจะตั้งครรภ์ในอนาคต ทั้งนี้ควรสังเกตอาการผิดปกติหลังการผ่าตัด หากพบว่ามีไข้ หายใจลำบาก เลือดออกทางช่องคลอดมาก ควรพบคุณหมอทันที การตัดมดลูก (Hysterectomy) คือการผ่าตัดเพื่อนำเนื้องอกมดลูกและมดลูกออกไปทั้งหมด ส่งผลให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีกในอนาคต และจะไม่มีประจำเดือน แต่ถ้ายังไม่ได้ตัดรังไข่ ก็ยังมีฮอร์โมนตามธรรมชาติ ไม่ต้องกินยาฮอร์โมนทดแทน วิธีการนี้มักใช้กับผู้ที่มีอายุ 40-50 ปีขึ้นไปที่ไม่ต้องการมีบุตรแล้ว การผ่าตัดมดลูกมีอยู่ 3 รูปแบบ ได้แก่ การตัดมดลูกออกเพียงบางส่วน เป็นการผ่าตัดเพื่อนำแค่เฉพาะส่วนบนของมดลูกออกไป แต่ยังคงเหลือส่วนปากมดลูกเอาไว้ การตัดมดลูกออกทั้งหมด เป็นการผ่าตัดเพื่อนำส่วนของมดลูกทั้งหมด รวมไปถึงปากมดลูกออกไป การตัดมดลูกแบบถอนราก เป็นการผ่าตัดเพื่อนำมดลูกและเนื้อเยื่อโดยรอบ รวมไปถึงรังไข่ ท่อนำไข่ ต่อมน้ำเหลือง ต่อมไขมัน และเนื้อเยื่อบางส่วนของช่องคลอดออกไปด้วย มักใช้ในกรณีที่เป็นมะเร็งปากมดลูก วิธีการผ่าตัดเนื้องอกมดลูก วิธีการผ่าตัดเนื้องอกมดลูก มี 3 รูปแบบ ดังนี้ […]


สุขภาพทางเพศ

ตุ่มนูนแดง คัน บริเวณอวัยวะเพศ เป็นอาการของโรคอะไรได้บ้าง

ตุ่มนูนแดง คัน โดยเฉพาะที่เกิดบริเวณอวัยวะเพศ เป็นอาการร่วมที่พบได้บ่อยในหลายโรค ไม่ว่าจะเป็นเริม ผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ หูดข้าวสุก สังคัง ทั้งนี้ อาการตุ่มนูนแดง คัน สามารถป้องกันได้ด้วยการรักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศสม่ำเสมอ มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย และหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่อาจทำให้ผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศระคายเคือง หรือเกิดอาการแพ้ได้ [embed-health-tool-ovulation] ตุ่มนูนแดง คัน เป็นอาการของโรคอะไร หากพบ ตุ่มนูนแดง คัน บริเวณอวัยวะเพศ อาจเป็นอาการของโรคดังต่อไปนี้ เริม (Genital Herpes) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus หรือ HSV) ชนิดที่ 1 หรือ 2 ซึ่งมักแพร่กระจายระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ผ่านการสัมผัสตุ่มนูนแดง หรือแผลพุพอง ซึ่งเป็นอาการของโรค รวมถึงผ่านน้ำลายและสารคัดหลั่งของคู่นอน นอกจากนี้ เมื่อเป็นเริม อาจพบอาการอื่น ร่วมด้วย ได้แก่ อาการแสบร้อนบริเวณผิวหนังที่ติดเชื้อ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ไข้ขึ้น ต่อมน้ำเหลืองโต หูดข้าวสุก (Molluscum Contagiosum) เกิดจากเชื้อไวรัสพอกซ์ (Poxvirus) ที่ติดต่อกันจากคนสู่คนผ่านการสัมผัสทางผิวหนัง การมีเพศสัมพันธ์ […]


สุขภาพทางเพศ

ตกขาวสีขาวขุ่น เกิดจากอะไร ผิดปกติหรือไม่

ตกขาวสีขาวขุ่น หมายถึง ตกขาวซึ่งปกติจะเป็นสีขาวใส ไม่มีกลิ่นหรือมีกลิ่นอ่อน ๆ จาง ๆ มีลักษณะเปลี่ยนไปเป็นตกขาวที่มีสีและลักษณะคล้ายแป้ง อาจมีกลิ่นคล้ายของบูดร่วมด้วย ซึ่งตกขาวสีขาวขุ่นนี้ อาจหมายถึงปัญหาสุขภาพในระบบสืบพันธุ์ ส่วนใหญ่มักเป็นอาการของผู้ที่ติดเชื้อราในช่องคลอด ควรเข้าพบคุณหมอ เพื่อรับการรักษา [embed-health-tool-ovulation] ตกขาวคืออะไรแบบไหนเรียกปกติ ตกขาว เป็นสารคัดหลั่งจากต่อมบริเวณช่องคลอดหรือปากมดลูก มีลักษณะเป็นของเหลวข้น หรือเมือกใส ๆ ช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้ช่องคลอด และป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ทั้งนี้ เซลล์หรือแบคทีเรียที่ตายแล้วจะถูกขับออกมานอกร่างกายพร้อมตกขาว ลักษณะของตกขาวอาจเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะสุขภาพของเพศหญิง เช่น เมื่อตั้งครรภ์ ตกขาวจะมีปริมาณมากกว่าปกติ เนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งกลิ่นของตกขาวยังอาจเปลี่ยนไปจากปกติด้วย ตกขาวสีขาวขุ่นเกิดจากอะไร ผิดปกติหรือไม่ ตกขาวสีขาวขุ่น ถือเป็นลักษณะของตกขาวที่ผิดปกติ และอาจเป็นอาการหนึ่งของภาวะเชื้อราในช่องคลอดซึ่ง เกิดจากการเสียสมดุลของจำนวนจุลินทรีย์ในช่องคลอด โดยแบคทีเรียแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในช่องคลอดลดจำนวนลง ทำให้เชื้อราแคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida Albicans) ซึ่งปกติจะถูกควบคุมไม่ให้มีจำนวนมากเกินไปโดยแลคโตบาซิลลัส เพิ่มจำนวนอย่างผิดปกติ และนำไปสู่การติดเชื้อในช่องคลอด นอกจากอาการตกขาวสีขาวขุ่น ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนภาวะเชื้อราในช่องคลอด ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ได้แก่ อาการคันหรือระคายเคือง บริเวณช่องคลอด อาการแสบช่องคลอด เมื่อปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์ ช่องคลอดแดง บวม หรือเป็นผื่น ตกขาวจับตัวเป็นก้อนคล้ายชีส หรือใสเป็นน้ำ ทั้งนี้ กลุ่มเสี่ยงภาวะเชื้อราในช่องคลอดจนทำให้ตกขาวมีสีขาวขุ่น […]


สุขภาพทางเพศ

ช่องคลอดมีก้อนเนื้อขรุขระ สัญญาณเตือน และวิธีรักษา

ช่องคลอดมีก้อนเนื้อขรุขระ อาจพบได้เมื่อใช้นิ้วลูบคลำบริเวณปากช่องคลอดหรือสอดเข้าไปภายในช่องคลอดแล้วสัมผัสเจอกลุ่มติ่งเนื้อหรือก้อนเนื้องอกบริเวณผิวหนังด้านนอก รวมถึงอาจคลำเจอก้อนเนื้อที่อยู่ใต้ผิวหนังบริเวณช่องคลอด หรือบริเวณด้านในตะปุ่มตะป่ำ ไม่เรียบ โดยมักเป็นสัญญาณเตือนภาวะสุขภาพในระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงที่ผิดปกติที่อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น หูดหงอนไก่ มะเร็งช่องคลอด ถุงน้ำต่อมบาร์โธลิน เมื่อคลำเจอก้อนขรุขระบริเวณช่องคลอด ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัย ทั้งนี้ สามารถดูแลตนเองเพื่อลดความเสี่ยงช่องคลอดมีก้อนเนื้อขรุขระได้ เช่น สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อเพศสัมพันธ์ เข้ารับการตรวจภายในเป็นประจำทุกปี ดูแลทำความสะอาดช่องคลอดอยู่เสมอ [embed-health-tool-ovulation] ช่องคลอดมีก้อนเนื้อขรุขระ เป็นอาการของโรคอะไรได้บ้าง ช่องคลอดมีก้อนเนื้อขรุขระ เป็นอาการร่วมของภาวะสุขภาพหลาย ๆ อย่างเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ในเพศหญิง ดังนี้ หูดหงอนไก่ หูดหงอนไก่ (Genital Warts) ผู้ป่วยมักคลำพบว่าช่องคลอดมีก้อนเนื้อขรุขระ โดยเกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ซึ่งแพร่กระจายผ่านสารคัดหลั่ง ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ โดยทั่วไป หูดหงอนไก่จะมีลักษณะเป็นหูดหรือติ่งเนื้อสีชมพูหรือน้ำตาลขึ้นเป็นกลุ่มก้อนบริเวณอวัยวะเพศ มีลักษณะคล้ายดอกกะหล่ำ อาจทำให้คันหรือไม่สบายตัวบริเวณช่องคลอดได้ รวมถึงเป็นสาเหตุหนึ่งของการมีเลือดออกระหว่างมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนั้น หูดหงอนไก่อาจเกิดขึ้นภายในช่องคลอด ทำให้มองไม่เห็น หรือไม่ทราบว่าตัวเองกำลังเป็นหูดอยู่ การรักษาหูดหงอนไก่ หูดหงอนไก่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถดูแลตนเองตามคำแนะนำของคุณหมอเพื่อบรรเทาและควบคุมอาการของโรคไม่ให้ลุกลามได้ โดยคุณหมอจะให้ใช้ยาสำหรับทาภายนอก อย่างยาอิมิควิโมด (Imiquimod) ซึ่งมีสรรพคุณกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สามารถต่อสู้กับเชื้อหูดหงอนไก่ หรือยาโพโดฟิลลิน (Podophyllin) ซึ่งสามารถออกฤทธิ์ทำลายเนื้อเยื่อของหูดหงอนไก่ ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างใช้ยารักษาโรค นอกจากนี้ หากการใช้ยารักษาไม่ได้ผลหรือหากตรวจพบหูดหงอนไก่ลุกลามเป็นบริเวณกว้าง คุณหมอจะรักษาโดยการผ่าเอาก้อนขรุขระหรือกลุ่มติ่งเนื้อออกจากร่างกายผู้ป่วย ด้วยการใช้กระแสไฟฟ้าหรือแสงเลเซอร์จี้ออก ถุงน้ำบริเวณช่องคลอด ถุงน้ำบริเวณช่องคลอด (Vaginal Cysts) มักเกิดจากการอุดตันของท่อหรือต่อมบริเวณช่องคลอด รวมถึงการบาดเจ็บของช่องคลอด […]


สุขภาพทางเพศ

ประจำเดือนขาด เกิดจากอะไร รักษาได้อย่างไร

ประจำเดือนขาด (Amenorrhea) หรือ ภาวะขาดประจำเดือน หมายถึงการที่เพศหญิงไม่เคยมีประจำเดือนเลย แม้เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์แล้ว หรืออายุเกิน 16 ปีขึ้นไป รวมถึงการขาดประจำเดือนติดต่อกัน 3 รอบขึ้นไป ทั้งนี้ ประจำเดือนขาด อาจเกิดจากความเครียด การใช้ยา การออกกำลังกายอย่างหนักรวมทั้งภาวะธรรมชาติอย่างการตั้งครรภ์ และวัยทอง [embed-health-tool-ovulation] ประจำเดือน คืออะไร แบบไหนเรียกปกติ ประจำเดือน เป็นภาวะสุขภาพแบบหนึ่งของเพศหญิงเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ โดยร่างกายจะมีเลือดไหลออกจากช่องคลอด ซึ่งเกิดจากเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกจากร่างกาย เนื่องจากไข่หรือเซลล์สืบพันธุ์เพศหญิงไม่ได้รับการปฏิสนธิจากอสุจิในเดือนนั้น ๆ โดยทั่วไป เพศหญิงจะมีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 12-16 ปี และประจำเดือนในแต่ละรอบจะเกิดขึ้นทุก ๆ 21-35 วัน ทั้งนี้ ประจำเดือนจะมาติดต่อกันเป็นเวลา 5-7 วัน หรือคิดเป็นเลือดราว 30-72 มิลลิลิตร ต่อประจำเดือน 1 รอบ นอกจากนี้ ระหว่างเป็นประจำเดือนอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดท้อง ท้องอืด อยากอาหาร ปวดหัว อารมณ์แปรปรวน อาการของประจำเดือนขาด เป็นอย่างไร ประจำเดือนขาด หรือภาวะขาดประจำเดือน หมายถึงการไม่มีประจำเดือนแม้เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์แล้ว โดยทางการแพทย์แบ่งภาวะขาดประจำเดือนเป็น 2 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน