สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

ไขข้อสงสัย เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เกี่ยวข้องกันอย่างไร

เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก ทั้ง 2 โรคนี้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร? คุณเคยสงสัยหรือไม่? วันนี้เราจะมาหาคำตอบถึงความเกี่ยวข้องกันของ เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เพื่อให้คุณผู้หญิงทุกคนได้ระมัดระวังตัวมากยิ่งขึ้น ถ้าพร้อมแล้วหาคำตอบความเกี่ยวข้องของเชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูกได้ในบทความนี้ HPV คือกลุ่มของเชื้อไวรัสที่เกี่ยวข้องมากกว่า 200 ชนิด บางชนิดแพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางช่องปาก โดยจะแบ่งออกเป็นกล่มที่มีความเสี่ยงต่ำกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง HPV กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดโรค แต่บางชนิดอาจทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก ปาก หรือลำคอได้ HPV กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสามารถทำให้เกิดมะเร็งได้หลายประเภทหนึ่งในนั้น คือ มะเร็งปากมดลูก เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เกี่ยวข้องกันอย่างไร มะเร็งปากมดลูกในสตรีส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ ฮิวแมนแพพพิลโลมาไวรัส (Human papillomavirus : HPV) ซึ่งเป็นกลุ่มของเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 200 ชนิด เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายในระหว่างมีเพศสัมพันธ์และการทำกิจกรรมทางเพศอื่น ๆ  เช่น การสัมผัสทางผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ เชื้อ HPV อย่างน้อย 15 ชนิด มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก ส่วนใหญ่ HPV16 และ HPV18 จะเป็นตัวที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด โดยเชื้อ HPV ที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้จะเข้าไปหยุดการทำงานของเซลล์ ซึ่งส่งผลให้เซลล์สืบพันธ์มีความผิดปกติแบบควบคุมไม่ได้ นำไปสู่การเจริญเติบโตของเนื้องอกมะเร็ง ปัจจัยเสี่ยงเชื้อเอชพีวีพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูก ชนิดของเชื้อ […]

หมวดหมู่ สุขภาพทางเพศ เพิ่มเติม

การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ

เนื้องอกในมดลูก มีสาเหตุมาจากอะไร

ในปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของ เนื้องอกในมดลูก แต่เนื้องอกของกล้ามเนื้อมดลูกแต่ละก้อนมีต้นกำเนิดมาจากเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกเพียงหนึ่งเซลล์  (monoclonal) ซึ่งมีหลายปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดเนื้องอกในมดลูก เช่น พันธุกรรม ฮอร์โมนในร่างกาย พฤติกรรมการใช้ชีวิต ดังนั้น จึงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำ เพื่อตรวจคัดกรองโรคและภาวะผิดปกติที่อาจนำไปสู่การเกิดเนื้องอก [embed-health-tool-ovulation] สาเหตุของเนื้องอกในมดลูก สาเหตุของการเกิดเนื้องอกในมดลูกยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่อาจมีปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเนื้องอกมดลูก ดังนี้ พันธุกรรม พันธุกรรมบางอย่างอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเนื้องอกในมดลูกได้ โดยเฉพาะหากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นเนื้องอกในมดลูก การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ปัจจุบันเชื่อว่าเนื้องอกเริ่มต้นจาก somatic  mutation ของเซลล์กล้ามเนื้อมดลูก (myocyte)  จากการกระตุ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone)  และ growth factor เช่น EGF, IGF1, PDGF  ทั้งเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนมีส่วนในการกระตุ้นให้เนื้องอกโตขึ้น เพราะพบเนื้องอกชนิดนี้น้อยมากในวัยก่อนมีประจำเดือน ผู้หญิงส่วนใหญ่จะเริ่มมีเนื้องอกและขนาดก้อนเนื้องอกโตขึ้นในวัยเจริญพันธ์ุ และส่วนใหญ่มีขนาดเล็กลงภายหลังวัยหมดประจำเดือน โดยพบได้ว่าเนื้องอกโตขึ้นได้บ่อยในสตรีตั้งครรภ์และในสตรีที่รับประทานยาคุมกำเนิดชนิดที่มีเอสโตรเจนขนาดสูง สารเคลือบเซลล์ (Extracellular matrix) เป็นสารที่มีหน้าที่เคลือบเซลล์ เพื่อช่วยทำให้เซลล์เกาะติดกัน หากสารเคลือบเซลล์นี้มีปริมาณเพิ่มขึ้น อาจส่งผลกระตุ้นการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในมดลูก และนำไปสู่การเกิดเนื้องอกในมดลูกได้ ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น โรคอ้วน การสูบบุหรี่ ร่างกายขาดวิตามินดี การเป็นประจำเดือนตั้งแต่อายุยังน้อย สตรีที่ไม่เคยมีบุตร การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง […]


หนองในแท้

หนองในผู้หญิง สาเหตุ อาการ การรักษา

หนองในผู้หญิง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่บริเวณทวารหนัก อวัยวะเพศ ปากมดลูก และท่อปัสสาวะ ที่แพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน และทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น มีหนองไหลจากบริเวณอวัยวะเพศหรือทวารหนัก เจ็บแสบอวัยวะเพศขณะปัสสาวะ ตกขาวผิดปกติ ปวดท้องน้อยหรือบริเวณอุ้งเชิงกราน ควรรับการตรวจคัดกรองโรคและทำการรักษาทันที เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง [embed-health-tool-ovulation] หนองในผู้หญิง คืออะไร หนองในผู้หญิง คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมี 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ แบคทีเรียไนซีเรีย โกโนเรีย (Neisseria gonorrhoeae) ที่ทำให้เกิดโรคหนองในแท้ (Gonorrhea) และแบคทีเรียคลาไมเดีย ทราโคมาติส (Chlamydia trachomatis) ที่ทำให้เกิดโรคหนองในเทียม (Chlamydia) โรคหนองในผู้หญิงพบได้มากในช่วงวัยเจริญพันธุ์ อายุประมาณ 15-24 ปี มักส่งผลกระทบต่อลำคอ อวัยวะเพศ ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก ปากมดลูก และอาจแพร่กระจายไปยังทารกได้ระหว่างคลอดบุตร ทารกที่ติดเชื้อหนองในอาจเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น มีแผลบนหนังศีรษะ ตาบอด ปัจจัยเสี่ยงของหนองในผู้หญิง ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดหนองในผู้หญิง มีดังนี้ การมีคู่นอนหลายคน การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย การใช้เซ็กส์ทอยร่วมกับผู้อื่นโดยไม่ทำความสะอาด เคยเป็นหนองในมาก่อน อาการหนองในผู้หญิง อาการหนองในผู้หญิง อาจสังเกตได้ดังนี้ มีหนองไหลออกจากอวัยวะเพศหรือทวารหนัก ตกขาวผิดปกติและมีปริมาณมาก […]


สุขภาพทางเพศ

เชื้อราในช่องคลอด เรื้อรัง สาเหตุ อาการ และการรักษา

เชื้อราในช่องคลอด เรื้อรัง เป็นภาวะที่เกิดจากการเพิ่มจำนวนมากเกินไปของเชื้อราแคนดิดา (Candida) ซึ่งเป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ภายในร่างกายส่วนต่าง ๆ เช่น ปาก ลำคอ ลำไส้ และช่องคลอด ทำให้ความเป็นกรด-เบสตามธรรมชาติในช่องคลอดเสียสมดุล ทำให้เกิดการติดเชื้อ เป็น ๆ หาย ๆ จนเรื้อรัง โดยอาจสังเกตจากอาการคันช่องคลอด ตกขาว และผื่นบริเวณช่องคลอด [embed-health-tool-ovulation] เชื้อราในช่องคลอด เรื้อรัง คืออะไร เชื้อราในช่องคลอดเรื้อรัง คือ การติดเชื้อราในช่องคลอดที่อาจเป็นยาวนานกว่า 2 สัปดาห์ หรืออาจติดเชื้อซ้ำ ๆ ตั้งแต่ 3 ครั้ง/ปี ขึ้นไป เพราะปกติแล้วการติดเชื้อราในช่องคลอดในระดับไม่รุนแรงอาจหายได้เองภายใน 3-14 วัน โดยเกิดจากการเสียสมดุลของแบคทีเรียแลคโตบาซิลลัส (Lactobacilli) ซึ่งเป็นแบคทีเรียดีที่ช่วยควบคุมปริมาณของเชื้อที่เป็นอันตรายต่อช่องคลอด จนส่งผลให้เชื้อราแคนดิดาที่อาศัยอยู่ในช่องคลอดเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนมากเกินไป ทำให้เกิดการติดเชื้อราในช่องคลอด สาเหตุของเชื้อราในช่องคลอด เรื้อรัง สาเหตุของเชื้อราในช่องคลอดเรื้อรัง มีดังนี้ ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอเนื่องจากสภาวะบางอย่าง เช่น การติดเชื้อ HIV โรคหัด ไข้หวัดใหญ่ ไวรัสตับอักเสบ มะเร็ง ที่อาจทำให้เชื้อราเจริญเติบโตจนควบคุมได้ยาก การรับประทานยาคุมกำเนิด หรือการบำบัดด้วยฮอร์โมน อาจทำให้เสียความสมดุลของแบคทีเรียดีในช่องคลอด การรับประทานยาปฏิชีวนะ อาจลดปริมาณของแบคทีเรียดีในช่องคลอด […]


สุขภาพทางเพศ

Myoma uteri คือ อะไร อาการและภาวะแทรกซ้อน

เนื้องอกมดลูก หรือ Myoma uteri คือ ก้อนเนื้องอกของกล้ามเนื้อมดลูก เกิดจากเซลล์กล้ามเนื้อเรียบมดลูกเพิ่มจำนวนมากผิดปกติ เนื้องอกมดลูกอาจมีเพียงก้อนเดียวหรือหลายก้อน Myoma uteri สามารถทำให้เกิดอาการที่ผิดปกติได้ ขึ้นกับขนาดและตำแหน่งของเนื้องอก ทั้งยังก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ในหญิงตั้งครรภ์ เช่น ภาวะแท้งบุตร ภาวะคลอดก่อนกำหนด เนื้องอกมดลูกพบได้ในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ แต่อาจพบมากในผู้หญิงวัย 40-50 ปี อย่างไรก็ตาม หากพบความผิดปกติของมดลูกหรือบริเวณอวัยวะเพศ ควรเข้าพบคุณหมอทันที เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง [embed-health-tool-ovulation] Myoma uteri คือ อะไร เนื้องอกมดลูก หรือ Myoma uteri คือ ก้อนเนื้องอกที่เจริญเติบโตบริเวณกล้ามเนื้อมดลูก เนื่องจากเซลล์กล้ามเนื้อเรียบบริเวณมดลูกเจริญเติบโตผิดปกติ เนื้องอกที่พบอาจมีเพียงก้อนเดียวหรือหลายก้อน และอาจมีขนาดเล็กจนไม่แสดงอาการ ไปจนถึงมีขนาดใหญ่ที่ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยต้องขึ้นกับตำแหน่งของเนื้องอกมดลูกด้วย เนื้องอกมดลูกส่วนใหญ่ไม่ใช่เนื้อร้ายที่ทำให้เกิดมะเร็ง แต่หากปล่อยไว้อาจขยายใหญ่ขึ้นจนทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้ โรคนี้พบได้ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุ 40-50 ปี อย่างไรก็ตาม หากมีปัจจัยบางประการ เช่น การมีประจำเดือนเร็ว การคุมกำเนิด การขาดวิตามินดี การรับประทานเนื้อสัตว์แดงมากเกินไป การดื่มแอลกอฮอล์ ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเนื้องอกมดลูกได้ ประเภทของ Myoma uteri ประเภทของเนื้องอกมดลูก หรือ […]


สุขภาพทางเพศ

เป็นประจำเดือนห้ามกินอะไร และอาหารที่ควรกิน

ในระหว่างเป็นประจำเดือน ร่างกายของเพศหญิงมักเกิดความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เช่น อารมณ์แปรปรวน ปวดเมื่อยตามตัว ปวดท้อง หิวบ่อย จึงอาจเกิดข้อสงสัยว่า เป็นประจำเดือนห้ามกินอะไร และควรกินอะไร เพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ และชดเชยสารอาหารที่ร่างกายสูญเสียไประหว่างเป็นประจำเดือน [embed-health-tool-ovulation] เป็นประจำเดือนห้ามกินอะไร เมื่อเป็นประจำเดือน ผู้หญิงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจส่งผลให้อาการต่าง ๆ ระหว่างมีประจำเดือนแย่ลง เช่น ปวดประจำเดือน ท้องอืด ปวดหัว ท้องเสีย อารมณ์แปรปรวน โดยอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง อาจมีดังนี้ อาหารรสเค็ม การบริโภคเกลือปริมาณมาก อาจนำไปสู่การบวมน้ำและอาการท้องอืด ทั้งนี้ ผู้เป็นประจำเดือน ควรหลีกเลี่ยงการเติมเครื่องปรุงรสเค็มลงไปในอาหาร รวมถึงควรงดอาหารแปรรูปต่าง ๆ ที่มีเกลือในปริมาณมาก เช่น แฮม ไส้กรอก ถั่วลิสงคั่วเกลือ ถั่วกระป๋อง พิซซ่า ของหวาน โดยทั่วไป ผู้ที่เป็นประจำเดือนมักต้องการบริโภคของหวาน เพราะการลดลงของระดับน้ำตาลช่วงก่อนประจำเดือน ซึ่งส่งผลให้ร่างกายต้องการน้ำตาลทดแทน อย่างไรก็ตาม การบริโภคน้ำตาลมากเกินไป อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และส่งผลให้อารมณ์แปรปรวนหรือซึมเศร้าได้ อาหารรสจัด เมื่อเป็นประจำเดือน ระบบย่อยอาหารจะทำงานได้ไม่สมบูรณ์เหมือนในช่วงเวลาปกติ อาจทำให้เกิดอาการท้องร่วงง่ายกว่าเดิมโดยเฉพาะเมื่อบริโภคอาหารรสจัดหรืออาหารหมักดอง เนื้อแดง ขณะเป็นประจำเดือน ร่างกายเพศหญิงจะหลั่งฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน […]


สุขภาพทางเพศ

ประจำเดือนเป็นสีดำ ส่งผลอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่

ประจำเดือนเป็นสีดำ อาจเป็นเลือดเก่าที่ตกค้างในมดลูก หรือเลือดที่ใช้เวลานานกว่าที่จะออกจากช่องคลอด ซึ่งมีลักษณะเป็นสีดำคล้ายกากกาแฟ และมักจะไม่เป็นอันตรายใด ๆ อย่างไรก็ตาม ประจำเดือนสีดำก็อาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพ เช่น การอุดตันภายในช่องคลอด การแท้งบุตร โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ดังนั้น หากมีประจำเดือนเป็นสีดำ ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพช่องคลอดอย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด [embed-health-tool-ovulation] ประจำเดือนคืออะไร ประจำเดือน คือ เลือดและเยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดออกมาทางช่องคลอด โดยปกติในแต่ละเดือนร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ออกมาเพื่อกระตุ้นให้รังไข่ปล่อยไข่ออกมา และทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับตั้งครรภ์ แต่หากไม่เกิดการตั้งครรภ์ ระดับฮอร์โมนจะลดลง และส่งผลให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกและไหลออกมาเป็นประจำเดือน สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนเป็นสีดำ ประจำเดือนเป็นสีดำ คือเลือดเก่าที่ตกค้างอยู่ภายในช่องคลอด และใช้เวลานานกว่าที่จะไหลออกมาทางช่องคลอด ผสมเข้ากับตกขาว ทำให้เลือดเปลี่ยนจากสีแดงหรือสีชมพูเป็นสีน้ำตาลหรือสีแดงเข้มจนถึงสีดำเข้มคล้ายกับกากกาแฟ ประจำเดือนเป็นสีดำ อันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ ประจำเดือนสีดำมักไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่หากพบว่ามีเลือดหรือตกขาวสีดำไหลออกทางช่องคลอดหลังหมดประจำเดือน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ แสบช่องคลอด กลิ่นไม่พึงประสงค์ ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนของสภาวะต่าง ๆ ดังนี้ สิ่งแปลกปลอมอุดตันภายในช่องคลอด เช่น อุปกรณ์คุมกำเนิด ถุงยางอนามัย ผ้าอนามัยแบบสอด ที่ตกค้างภายในช่องคลอดและทำให้เยื่อบุช่องคลอดเกิดความระคายเคืองจนเกิดการติดเชื้อ สังเกตได้จากการมีกลิ่นไม่พึงประสงค์บริเวณช่องคลอด อาการคันช่องคลอดและผิวรอบ ๆ ช่องคลอดบวม ผื่นขึ้นที่อวัยวะเพศ ปัสสาวะลำบาก การตั้งครรภ์ การฝังตัวของตัวอ่อนอาจส่งผลให้มีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย ซึ่งหากเลือดใช้เวลานานกว่าที่จะไหลออกจากช่องลอดก็อาจทำให้เลือดมีสีดำได้ […]


โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

มดลูกอักเสบ สาเหตุ อาการ การรักษา

มดลูกอักเสบ หรือ ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ เป็นภาวะการติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์เพศหญิงส่วนบน ทำให้เกิดการอักเสบในบริเวณอุ้งเชิงกราน ได้แก่ มดลูก ท่อนำไข่ รังไข่ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิดจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน หากติดเชื้อรุนแรงจะทำให้เกิดอาการป่วยและเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูก การมีบุตรยาก การเกิดฝีหนอง จึงควรไปพบคุณหมอเพื่อรักษาให้เร็วที่สุด [embed-health-tool-ovulation] ประเภทของภาวะมดลูกอับเสบ ภาวะมดลูกอักเสบ หรือภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic inflammatory disease หรือ PID) เป็นการอักเสบของอวัยวะที่อยู่ในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง โดยอาจแบ่งประเภทออกตามตำแหน่งที่มีการอักเสบได้ดังนี้ ภาวะปีกมดลูกอักเสบ (Salpingitis) เป็นภาวะอักเสบที่เกิดขึ้นบริเวณท่อรังไข่และรังไข่ เยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ (Endometritis) เป็นภาวะอักเสบที่ขึ้นบริเวณเยื่อบุภายในโพรงมดลูก ปากมดลูกอักเสบ (Cervicitis) เป็นภาวะอักเสบที่เกิดขึ้นบริเวณปากมดลูก ซึ่งเป็นส่วนที่เชื่อมกับช่องคลอด สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะมดลูกอักเสบ ปัจจัยที่อาจทำให้เกิดภาวะ มดลูกอักเสบ มีดังนี้ ติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้อคลาไมเดีย ทราโคมาติส (Chlamydia Trachomatis) เชื้อเนอิสซีเรีย โกโนเรีย (Neisseria Gonorrhoeae) จากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เนื่องมาจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน โรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดมดลูกอักเสบ เช่น โรคหนองใน โรคหนองในเทียม เริมที่อวัยวะเพศ โรคพยาธิในช่องคลอด โรคติดเชื้อไมโคพลาสมา […]


สุขภาพทางเพศ

sexually harassment คืออะไร ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร

sexually harassment คือ พฤติกรรมคุมคามหรือการล่วงละเมิดทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นการล่วงละเมิดทางกาย ทางคำพูด หรือแม้แต่การพิมพ์ข้อความที่ส่อไปทางเรื่องเพศลงในโซเชียลมีเดีย โดย sexually harassment เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย การกระทำเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและจิตใจให้แก่ผู้ที่ถูกกระทำ เช่น ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ ไม่ปลอดภัย หวาดกลัว ขุ่นเคืองใจหรืออับอาย นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล เก็บตัว จนก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยทางกายในระยะยาวได้ sexually harassment คืออะไร sexually harassment คือ การคุมคามหรือล่วงละเมิดทางเพศกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ถือเป็นพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้รับความยินยอมทั้งทางกายและทางวาจา เช่น การแตะเนื้อต้องตัว โอบกอด การพูดส่อไปในเรื่องทางเพศ การจ้องมองส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การพูดล้อเลียนรูปร่าง การเขียนจดหมาย ส่งข้อความหรือส่งรูปภาพร่างกายให้กับผู้อื่น ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยอาจเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างเพศเดียวกันหรือต่างเพศก็ได้ หากทำให้ใครคนใดรู้สึกไม่สบายใจ ไม่ปลอดภัย กลัว ขุ่นเคืองใจหรืออับอาย ก็ถือเป็นการคุมคามหรือการล่วงละเมิดทางเพศทั้งสิ้น การคุมคามหรือการล่วงละเมิดทางเพศอาจส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต โดยอาจทำให้ผู้ที่ถูกกระทำรู้สึกเป็นตราบาปในจิตใจ จนอาจเกิดเป็นภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หมดความนับถือในตัวเองหรืออาจรุนแรงถึงขั้นฆ่าตัวตาย รวมทั้งอาจกระทบต่อสุขภาพกายทำให้มีอาการเหนื่อยล้า ปวดหัว นอนไม่หลับ ไม่อยากอาหาร จนอาจส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอและเจ็บป่วยได้ พฤติกรรมแบบไหน คือ […]


สุขภาพทางเพศ

เลือดประจำเดือน คืออะไร แบบไหนที่ผิดปกติและควรพบคุณหมอ

เลือดประจำเดือน คือ เลือดที่เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกลอกตัวออกและไหลออกทางช่องคลอดเป็นประจำทุกเดือนหลังจากมีการตกไข่แต่ไม่ได้มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ผู้หญิงมักเริ่มมีเลือดประจำเดือนเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ และแต่ละครั้งอาจมีประจำเดือนนาน 3-7 วัน แตกต่างกันออกไปตามภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตาม หากสังเกตว่าประจำเดือนขาด มาไม่สม่ำเสมอ และมีลักษณะผิดปกติ ควรเข้าพบคุณหมอทันที เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสม [embed-health-tool-ovulation] เลือดประจำเดือน คืออะไร เลือดประจำเดือน คือ เลือดที่เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกลอกตัวออกและไหลออกทางช่องคลอดเป็นประจำทุกเดือนหลังจากที่มีการตกไข่แต่ไม่ได้มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น โดยปกติ เมื่อถึงช่วงการตกไข่ ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่มีหน้าที่ในการควบคุมการตกไข่จะเพิ่มขึ้น เพื่อกระตุ้นให้รังไข่ปล่อยไข่ออกมาและทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น เตรียมพร้อมให้ตัวอ่อนที่เกิดจากการปฏิสนธิของอสุจิและไข่ฝังตัว และเกิดเป็นการตั้งครรภ์ แต่หากไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ระดับฮอร์โมนเพศหญิงทั้งสองจะลดลง ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกและไหลออกมาเป็นประจำเดือน มักจะเกิดขึ้นในทุก ๆ 28 วัน ลักษณะของเลือดประจำเดือนที่ปกติ ลักษณะของเลือดประจำเดือนที่ปกติอาจสังเกตได้จากประจำเดือนมาสม่ำเสมอ โดยประจำเดือนแต่ละครั้งมีระยะห่างกันประมาณ 21-35 วัน ประจำเดือนมาในช่วงเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกันทุกรอบเดือน และอาจเป็นนานประมาณ 3-7 วัน โดยมีปริมาณเลือดที่พอดี มีสีชมพู สีแดง หรืออาจมีสีน้ำตาลและดำในช่วงใกล้หมดประจำเดือน นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการอื่น ๆ ก่อนประจำเดือนมาหรือระหว่างการมีประจำเดือน เช่น สิวขึ้น ปวดท้องน้อย รู้สึกอยากอาหาร อารมณ์แปรปรวน เจ็บเต้านม ท้องอืด มีปัญหาการนอนหลับ ลักษณะของเลือดประจำเดือนที่ผิดปกติ ลักษณะของเลือดประจำเดือนที่ผิดปกติ อาจมีดังนี้ ประจำเดือนขาด […]


สุขภาพทางเพศ

ปจด.มาไม่ปกติ มีสาเหตุจากอะไร และการดูแลตัวเอง

ปจด.มาไม่ปกติ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของประจำเดือนที่แตกต่างไปจากที่เคยเป็น เช่น ประจำเดือนไม่มา ประจำเดือนมามากหรือมานาน ประจำเดือนมาน้อย ประจำเดือนห่าง โดยสาเหตุของ ปจด.มาไม่ปกติ มักเกิดจากความเครียด ความอ้วน การคุมกำเนิด โรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ รวมถึงความไม่สมดุลของฮอร์โมนและความผิดปกติต่าง ๆ เกี่ยวกับต่อมไทรอยด์หรือระบบสืบพันธุ์ [embed-health-tool-ovulation] ปจด. คืออะไร ปกติเป็นแบบไหน ปจด. ย่อมาจาก ประจำเดือน เป็นภาวะสุขภาพของเพศหญิงในวัยเจริญพันธุ์ที่ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงหลังตกไข่และไม่ได้รับการปฏิสนธิกับอสุจิ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกกลายเป็นเลือดไหลออกทางช่องคลอดเดือนละครั้ง โดยทั่วไป เพศหญิงจะเริ่มมีประจำเดือนตั้งแต่อายุ 12-15 ปี และหยุดมีประจำเดือนเมื่อเข้าสู่วัยทอง หรือประมาณอายุ 45-55 ปี ซึ่งเกิดจากภาวะรังไข่หยุดทำงานโดยธรรมชาติ ทำให้ไม่มีการสร้างฮอร์โมนเพศทั้งฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน และไม่มีการตกไข่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ประจำเดือนแต่ละรอบ จะเกิดห่างกันประมาณ 28 วัน อย่างไรก็ตาม ประจำเดือนอาจมาเร็วหรือช้ากว่านั้น คือ อยู่ในช่วงระหว่าง 21-35 วัน โดยประจำเดือนแต่ละรอบจะมาติดต่อกันราว 3-7 วัน อาการแบบไหนเข้าข่าย ปจด.มาไม่ปกติ ปจด.มาไม่ปกติ หมายถึง การมีประจำเดือนที่แตกต่างไปจากที่เคยเป็น ซึ่งพบได้ในเพศหญิงที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ได้แก่ ประจำเดือนขาด (Amenorrhea) หรือบางครั้งเรียกว่า ประจำเดือนไม่มา […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน