สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

วัคซีน HPV ผู้ชายฉีดได้ไหม? ช่วยอะไร?

HPV (Human Papillomavirus) คือไวรัสที่ติดต่อทางการมีเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อย อีกทั้งยังอาจนำไปสู่การเกิดโรคร้ายอย่างมะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก และมะเร็งลำคอ อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจคิดว่า HPV ส่งผลกระทบแค่กับผู้หญิงเท่านั้น จึงมองข้ามความสำคัญของการฉีดวัคซีน hpv สำหรับผู้ชายไปได้ บทความนี้จึงอยากจะมาแก้ไขความเข้าใจผิด และนำเสนอให้ผู้อ่านได้เห็นถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีน HPV ในผู้ชาย [embed-health-tool-vaccination-tool] HPV ส่งผลอะไรต่อผู้ชาย เชื้อไวรัส HPV เป็นเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ โดย แบ่งเป็นสายพันธุ์เสี่ยงต่ำ และสายพันธุ์เสี่ยงสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเพศชาย ดังนี้ มะเร็งทวารหนัก มะเร็งทวารหนักเกิดจากการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูง เช่น HPV 16 และ 18 ซึ่งทำให้เซลล์บริเวณทวารหนักเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเป็นมะเร็งได้  ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ติดเชื้อ HIV  ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย  การมีคู่นอนหลายคน  อาการที่พบบ่อยคือ เลือดออกจากทวารหนัก ปวดหรือกดเจ็บในบริเวณนั้น และรู้สึกว่ามีก้อนเนื้อ  การป้องกันทำได้โดยการฉีดวัคซีน HPV การตรวจคัดกรองในกลุ่มเสี่ยง และการใช้ถุงยางอนามัย มะเร็งองคชาต มะเร็งองคชาตเกิดจากการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูง เช่น HPV 16 และ […]

หมวดหมู่ สุขภาพทางเพศ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ

ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน มีสาเหตุมาจากอะไร

ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน หรือมากกว่านั้น อาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การตั้งครรภ์  ความเครียดสะสม ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ โดยปกติแล้วผู้หญิงจะมีประจำเดือนทุก ๆ 28-30 วัน ตามภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล ดังนั้น หากพบว่าประจำเดือนไม่มา 1 เดือนขึ้นไป ควรตรวจครรภ์และเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด [embed-health-tool-ovulation] ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน เกิดจากอะไร ประจำเดือนไม่มา 1 เดือนขึ้นไป อาจเกิดจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้ การตั้งครรภ์ เมื่อมีการตั้งครรภ์ ร่างกายจะหยุดกระบวนการตกไข่ ทำให้ประจำเดือนไม่มา วัยหมดประจำเดือน พบได้มากในผู้หญิงอายุ 45 ปีขึ้นไป เนื่องจากระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ส่งผลให้การตกไข่น้อยลงจนทำให้ประจำเดือนไม่มาและหยุดลงโดยสมบูรณ์ ยาคุมกำเนิด อาจช่วยชะลอการตกไข่ และทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบาง เพื่อไม่ให้เกิดการปฏิสนธิและฝังตัวของไข่และอสุจิ ซึ่งส่งผลให้ประจำเดือนไม่มาด้วยเช่นกัน ความเครียด อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของต่อมไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ที่อยู่บริเวณสมองส่วนหน้า ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการตกไข่ ทำให้ประจำเดือนไม่มา น้ำหนักตัว การมีน้ำหนักมากเกิน หรือน้ำหนักน้อยเกินไป อาจทำให้ร่างกายหยุดผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนที่จำเป็นต่อการตกไข่ หรือทำให้มีปริมาณมากเกินไปจนเสียความสมดุล และอาจทำให้ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน […]


สุขภาพทางเพศ

ฮอร์โมนเพศชายคืออะไร

ฮอร์โมนเพศชายคืออะไร เป็นคำถามที่หลายคนอาจสงสัย ซึ่งฮอร์โมนเพศชายนี้มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโต ควบคุมความต้องการทางเพศ ควบคุมการทำงานของรังไข่ หากร่างกายมีระดับฮอร์โมนเพศชายต่ำ อาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้ โดยฮอร์โมนส่วนใหญ่ที่พบได้มากคือฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosteron) [embed-health-tool-bmr] ฮอร์โมนเพศชายคืออะไร ฮอร์โมนเพศชาย คือ ฮอร์โมนที่สามารถพบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งผลิตขึ้นในอัณฑะของผู้ชาย รวมถึงรังไข่และต่อมหมวกไตของผู้หญิง มีบทบาทสำคัญที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กระดูกและกล้ามเนื้อ กระตุ้นการสร้างขนทั่วทั้งร่างกาย กระตุ้นให้เกิดแรงขับทางเพศ ผลิตอสุจิ ควบคุมการทำงานของรังไข่ที่ช่วยให้ประจำเดือนมาตามปกติ การตั้งครรภ์ โดยร่างกายจะมีระดับฮอร์โมนเพิ่มขึ้นสูงสุดเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ และจะค่อย ๆ ลดลงเมื่อมีอายุมากขึ้น ฮอร์โมนเพศชายมีบทบาทสำคัญอย่างไร บทบาทสำคัญของฮอร์โมนเพศชายสำหรับผู้ชาย ช่วยผลิตเม็ดเลือดแดง ปรับโทนเสียง ที่อาจส่งผลให้มีเสียงทุ้มขึ้น เสริมสร้างพัฒนาการกล้ามเนื้อและกระดูกให้แข็งแรง และเสริมสร้างพัฒนาการของอวัยวะเพศชายและอัณฑะ กระตุ้นการสร้างขนทั่วทั้งร่างกาย เช่น ใบหน้า ขนอวัยวะเพศ รักแร้ หน้าอก เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น เพิ่มความต้องการทางเพศ กระตุ้นการผลิตอสุจิ บทบาทสำคัญของฮอร์โมนเพศชายสำหรับผู้หญิง มีดังนี้ ช่วยผลิตเม็ดเลือดแดง เพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อและกระดูก ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน กระตุ้นการสร้างขนบริเวณรักแร้และขนอวัยวะเพศ กระตุ้นความต้องการทางเพศ ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นหากฮอร์โมนเพศชายไม่สมดุล ปกติแล้วระดับฮอร์โมนเพศชายในผู้ชายตามเกณฑ์ควรอยู่ที่ประมาณ 200-800 นาโนกรัม/เดซิลิตร ส่วนฮอร์โมนเพศชายในผู้หญิงจะอยู่ที่ประมาณ 20-80 นาโนกรัม/เดซิลิตร ซึ่งหากฮอร์โมนเพศชายไม่สมดุลก็อาจส่งผลให้เกิดปัญหาที่กระทบต่อสุขภาพ ดังนี้ ปัญหาที่เกิดจากฮอร์โมนเพศชายไม่สมดุลในผู้ชาย ผมร่วง อัณฑะ และอวัยวะเพศอ่อนแอ การผลิตอสุจิและอารมณ์ทางเพศลดลง […]


สุขภาพทางเพศ

ฮอร์โมนของผู้หญิง มีอะไรบ้าง

ฮอร์โมนผู้หญิง มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญพันธุ์ การสืบพันธุ์ และการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย หากร่างกายมีฮอร์โมนผู้หญิงไม่สมดุลอาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น อารมณ์แปรปรวน ความแข็งแรงของกระดูกลดลง ภาวะช่องคลอดแห้ง ประจำเดือนมาไม่ปกติ [embed-health-tool-ovulation] ฮอร์โมนผู้หญิงคืออะไร ฮอร์โมนผู้หญิง คือ สารเคมีที่รังไข่และต่อมไร้ท่อผลิตขึ้น โดยจะปล่อยเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น การเจริญเติบโต การนอนหลับ การสืบพันธุ์ ความต้องการทางเพศ ซึ่งระดับฮอร์โมนผู้หญิงอาจสูงสุดเมื่อเข้าสู่วัยแรกรุ่นระหว่างอายุ 8-13 ปี และอาจลดลงเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นเมื่ออายุ 50 ปี ฮอร์โมนผู้หญิง แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เป็นฮอร์โมนเพศที่รังไข่ผลิตขึ้น มีบทบาทสำคัญช่วยในการเจริญพันธุ์และระบบสืบพันธุ์ต่าง ๆ รวมถึงระบบทางเดินปัสสาวะ และการเจริญเติบโตด้านร่างกาย เช่น การขยายของหน้าอก ช่วยให้กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรง กระตุ้นการสร้างเส้นผมและขนบริเวณรักแร้และอวัยวะเพศ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) เป็นฮอร์โมนที่รังไข่และต่อมหมวกไตผลิตขึ้น มีบทบาทสำคัญช่วยควบคุมการตกไข่ ซึ่งมีผลกระทบต่อการมีประจำเดือนและการตั้งครรภ์ นอกจากนี้ ผู้หญิงยังอาจมีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone)  ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายที่รังไข่ผลิตขึ้นร่วมด้วย แต่อาจมีในปริมาณน้อย หากผู้หญิงมีระดับฮอร์โมนเพศชายมากเกินไป […]


สุขภาพทางเพศ

ซีสเกิดจากอะไร มีกี่ประเภท รักษาได้อย่างไร

ซีสเกิดจากอะไร ซีส คือ ถุงน้ำหรือถุงอากาศที่เกิดขึ้นตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ตามร่างกาย มักปรากฏเป็นตุ่มหรือก้อนใต้ผิวหนัง บางครั้งอาจดูคล้ายตุ่มฝี โดยซีสเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ การบาดเจ็บ การทำงานของร่างกายซึ่งผิดปกติ ทั้งนี้ ซีสโดยทั่วไปไม่เป็นอันตราย มักไม่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง เมื่อเป็นแล้วมักหายเองได้ อย่างไรก็ตาม หากซีสทำให้ไม่สบายตัว เจ็บปวด หรือไม่หายไปเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่่ง ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับตรวจวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาซึ่งมักใช้วิธี ผ่าตัดหรือเลเซอร์ออก ซีสเกิดจากอะไร ซีส (Cyst) เป็นก้อนหรือตุ่มเนื้อ ลักษณะคล้ายถุง มีของเหลว อากาศ หรือสารอื่น ๆ บรรจุอยู่ข้างใน เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ การบาดเจ็บ เซลล์ซึ่งทำงานผิดปกติ การอุดตันของต่อมหรือท่อในร่างกาย โดยปกติ ซีสมักอยู่ใต้ผิวหนัง บริเวณอวัยวะเพศ รวมถึงอวัยวะภายในร่างกาย มักมีขนาดเท่า ๆ กับเม็ดสิว หรือใหญ่กว่านั้น และอาจเข้าใจผิดว่าเป็นเม็ดฝีได้ ในทางการแพทย์ ซีสมีหลายชนิด มีตั้งแต่ซีสที่เกิดจากการอักเสบ ซีสแบบที่เป็นถุงน้ำไม่ก่อโรคร้ายแรง ไปจนถึงซีสที่ก่อโรคร้ายแรง เช่น มะเร็ง เพราะฉะนั้นหากมีซีส ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำในการรักษาซีสให้หายโดยเร็วที่สุด ประเภทของซีสรูปแบบต่าง ๆ ซีสสามารถเกิดขึ้นได้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย […]


สุขภาพทางเพศ

ลิ่มเลือดประจำเดือน เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่

ลิ่มเลือดประจำเดือน คือเลือดประจำเดือนที่ตกค้างอยู่ในช่องคลอด มีลักษณะออกมาเป็นก้อนขนาดไม่ใหญ่ มักพบในวันแรกหรือวันสุดท้ายของรอบเดือน นับเป็นเรื่องปกติและมักไม่เป็นอันตราย อย่างไรก็ตาม หากลิ่มเลือดมีขนาดใหญ่และ มักเป็นสัญญาณบอกถึงความผิดปกติในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง เช่น ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก เนื้องอกในมดลูก มะเร็งปากมดลูก ดังนั้น หากพบลิ่มเลือดขนาดใหญ่ไหลออกมาจากช่องคลอด ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยหาสาเหตุที่แน่ชัด [embed-health-tool-ovulation] ลิ่มเลือดประจำเดือน เกิดจากอะไร เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ร่างกายของเพศหญิงจะตกไข่ทุก ๆ 21-35 วัน เพื่อรอการปฏิสนธิกับตัวอสุจิของเพศชาย และเกิดการสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นมา เพื่อรองรับการตั้งครรภ์ หากเซลล์ไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิในเดือนนั้น ๆ ร่างกายเพศหญิง จะขับเยื่อบุโพรงมดลูกออกทางช่องคลอด ออกมาเป็นเลือดประจำเดือน ทั้งนี้ เพื่อป้องกันร่างกายสูญเสียเลือดจำนวนมาก โดยเฉพาะในวันแรกหรือวันสุดท้ายของการมีประจำเดือน กลไกในร่างกายจะสร้างลิ่มเลือดขึ้นมาโดยมีส่วนประกอบเป็นน้ำเลือดหรือพลาสมา (Plasma) และเกล็ดเลือด  เพื่อขัดขวางการไหลของเลือดประจำเดือนไม่ให้ไหลออกจากร่างกายจำนวนมาก ลิ่มเลือดประจำเดือน อันตรายหรือไม่ ลิ่มเลือดประจำเดือน เกิดขึ้นได้เป็นครั้งคราว และไม่ใช่เรื่องน่ากังวล อย่างไรก็ตาม การพบลิ่มเลือดขนาดใหญ่กว่าเหรียญหนึ่งบาท พร้อมกับมีปริมาณประจำเดือนมากกว่าปกติ มักเป็นสัญญาณของความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ เช่น ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก มักพบในผู้หญิงอายุระหว่าง 40-50 ปี โดยยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ไม่เป็นอันตราย สันนิษฐานว่า เกี่ยวข้องกับการผลิตเยื่อบุโพรงมดลูกที่มากเกินไป ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดลิ่มเลือดหรือประจำเดือนมามากทั้งนี้ หากมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เลือดออกมากผิดปกติ มีเลือดจางมากกว่าปกติ […]


สุขภาพทางเพศ

ช่องคลอดมีกลิ่น กินยาอะไรดี มีสาเหตุมาจากอะไร

ช่องคลอดมีกลิ่น กินยาอะไรดี? อาจเป็นคำถามที่ผู้หญิงหลายคนสงสัยและมีความกังวล เพราะช่องคลอดมีกลิ่นเกิดขึ้นได้เป็นครั้งคราวกับผู้หญิงทุกคน ช่องคลอดมีกลิ่น อาจเกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือปรสิต หรือเป็นอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ วิธีรักษาคุณหมอจะให้ผู้ป่วยรับประทานยาฆ่าเชื้อ เพื่อรักษาการติดเชื้อและกลิ่นเหม็น ทั้งนี้ ช่องคลอดมีกลิ่นสามารถป้องกันได้ ด้วยการทำความสะอาดช่องคลอดเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการสวมใส่กางเกงชั้นในที่รัดแน่นเกินไป รวมทั้งการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อันเป็นสาเหตุหนึ่งของช่องคลอดมีกลิ่น [embed-health-tool-ovulation] ช่องคลอดมีกลิ่น เกิดจากอะไร โดยทั่วไป ช่องคลอดสุขภาพดี จะมีกลิ่นเปรี้ยวจาง ๆ หรือมีกลิ่นคล้ายผลไม้รสหวาน จะมีความสมดุลของภาวะกรด-เบสในช่องคลอด และมีความสมดุลของแบคทีเรียแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็นอันตราย ลดโอกาสติดเชื้อในช่องคลอด อย่างไรก็ตาม ช่องคลอดบางครั้งอาจมีกลิ่นคล้ายโลหะ เกิดจากกลิ่นของเลือดประจำเดือน หรือหลังมีเพศสัมพันธ์อย่างรุนแรงจนช่องคลอดเป็นแผล ทั้งนี้ หากช่องคลอดมีกลิ่นเหม็น กลิ่นคล้ายคาวปลา หรือมีกลิ่นที่แตกต่างจากที่กล่าวมา อาจเป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้ ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis) เกิดจากการเสียสมดุลของกรด-เบสนช่องคลอด หรือแบคทีเรียก่อโรคมีจำนวนมากเกินไป ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อ และอาการต่าง ๆ เช่น ช่องคลอดเหม็น คันช่องคลอด รู้สึกแสบร้อนเมื่อปัสสาวะ รวมถึงมีของเหลวสีเทาหรือเขียว ไหลออกมาจากช่องคลอด โรคพยาธิในช่องคลอด (Trichomoniasis) เกิดจากเชื้อปรสิต ซึ่งแพร่ติดต่อกันผ่านการมีเพศสัมพันธ์ เมื่อเป็นโรคนี้ ช่องคลอดของผู้ติดเชื้อจะมีกลิ่นเหม็น […]


สุขภาพทางเพศ

เป็นเมน ประจำเดือนมาแบบไหนที่ควรไปพบคุณหมอ

เป็นเมน หรือประจำเดือน เป็นภาวะสุขภาพโดยปกติของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ เกิดจากการที่ร่างกายตกไข่เดือนละ 1 ฟองเพื่อรอการปฏิสนธิ เมื่อไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิ ระดับฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้เยื่อบุผนังมดลูกลอกตัวออกกลายเป็นเลือดประจำเดือน โดยเลือดประจำเดือนจะไหลออกทางช่องคลอด ทุก ๆ 21-35 วันอย่างไรก็ตาม ควรหมั่นสังเกตลักษณะ ปริมาณ สีประจำเดือน และรอบของประจำเดือน หากพบอาการเป็นเมนหรือประจำเดือนที่ผิดปกติ และทำให้รู้สึกไม่สบายตัว หรือกังวลใจ เช่น เมนไม่มา เมนมามาก เมนมาน้อย หรือมีลิ่มเลือดขนาดใหญ่ ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยสาเหตุและเข้ารับการรักษา [embed-health-tool-ovulation] เป็นเมน คืออะไร เมน ย่อมาจากเมนสทรูเอเชิน (Menstruation) หมายถึง ประจำเดือน เป็นภาวะสุขภาพอย่างหนึ่งของเพศหญิง เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เริ่มต้นเมื่อช่วงอายุประมาณ 12-16  ปี ไปจนถึงอายุประมาณ 45-55 ปี อาการเมื่อเป็นเมน คือ มีเลือดไหลจากช่องคลอด ทุก ๆ 21-35 วัน โดยเลือดประจำเดือน จะไหลติดต่อกัน 4-8 วัน หรือคิดเป็นปริมาณเลือดประมาณ 5-80 มิลลิลิตร ต่อการเป็นเมน 1 ครั้ง ทั้งนี้ […]


สุขภาพทางเพศ

รีแพร์ กระชับช่องคลอด เหมาะกับใคร มีความเสี่ยงอย่างไร

รีแพร์ (Repair) เป็นการผ่าตัดตกแต่งช่องคลอดเพื่อซ่อมแซมกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่หย่อนยานก่อนวัยอันควร เนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้งเป็นเวลานาน การตั้งครรภ์ การคลอดบุตรหลายคน การทำรีแพร์อาจช่วยให้ช่องคลอดกระชับและเล็กลง ส่งผลให้การหดรัดตัวของช่องคลอดดีขึ้น [embed-health-tool-ovulation] รีแพร์ คืออะไร รีแพร์ คือ การผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อที่หย่อนยานบริเวณช่องคลอด รวมทั้งเนื้อเยื่อและผิวหนังบริเวณปากช่องคลอดให้มีขนาดเล็กลง กระชับขึ้น ส่งผลให้การหดรัดตัวของช่องคลอดดีขึ้น โดยการทำรีแพร์อาจเหมาะกับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้งเป็นเวลานาน การตั้งครรภ์ การคลอดทางช่องคลอด การคลอดบุตรหลายคน ทารกในครรภ์มีขนาดตัวใหญ่ มีภาวะอ้วน วัยทอง เป็นต้น ซึ่งภาวะช่องคลอดหย่อนยานอาจส่งผลต่อความมั่นใจเมื่อต้องมีเพศสัมพันธ์ ทั้งยังอาจทำให้เกิดปัญหา เช่น กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะเล็ดเมื่อไอหรือจาม รีแพร์ เหมาะสำหรับใคร การทำรีแพร์อาจเหมาะกับผู้ที่มีพฤติกรรมบางอย่างหรือเกิดจากปัจจัยสุขภาพที่ทำให้ช่องคลอดหลวมหรือเกิดภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน  ได้แก่ มีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้งเป็นเวลานาน การตั้งครรภ์ การคลอดทางช่องคลอด การคลอดบุตรหลายคน ทารกในครรภ์มีขนาดตัวใหญ่ อายุมากขึ้น วัยทอง มีภาวะอ้วน ผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมที่ออกแรงเกร็งท้องเป็นประจำ เช่น ยกของหนัก เล่นกีฬา ออกกำลังกายอย่างหนัก โรคประจำตัวบางอย่าง เช่น ไอเรื้อรัง จาม ท้องผูกเรื้อรัง มีก้อนเนื้อในช่องท้อง รีแพร์ ทำแล้วอยู่ถาวรหรือไม่ การทำรีแพร์เป็นวิธีที่ช่วยกระชับช่องคลอด โดยอาจเริ่มเห็นผลตั้งแต่ครั้งแรกที่ทำ ซึ่งอาจช่วยให้ช่องคลอดกระชับได้นาน 8-12 เดือน และสามารถกลับมาทำซ้ำได้ตามต้องการ แต่ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อยประมาณ […]


สุขภาพทางเพศ

ประจําเดือนหมดแล้วมาใหม่ ในวัยหมดประจำเดือน ผิดปกติไหม

โดยทั่วไปแล้ว เมื่อผู้หญิงถึงวัยหมดประจำเดือน หรืออายุประมาณ 45-50 ปี ร่างกายจะหยุดผลิตฮอร์โมนเพศ ส่งผลให้อวัยวะสืบพันธุ์ รวมถึงรังไข่ค่อย ๆ หยุดทำงาน รังไข่จะหยุดผลิตไข่ ทำให้ไม่มีประจำเดือนอีก อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนบางคนอาจพบว่า ประจําเดือนหมดแล้วมาใหม่ โดยอาจมีเลือดออกกะปริบกะปรอย หลังจากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนไปแล้วระยะหนึ่ง ซึ่งภาวะนี้พบได้ทั่วไป แต่หากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนและกลับมามีประจำเดือนอีกครั้งหลังหมดประจำเดือนไปแล้วอย่างน้อย 1 ปี อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงภาวะผิดปกติ เช่น ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว โรคมะเร็งโพรงมดลูก ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก ควรไปพบหมอสูตินรีเวชเพื่อตรวจภายในและรักษาอย่างถูกวิธี [embed-health-tool-ovulation] ประจําเดือนหมดแล้วมาใหม่ ในวัยหมดประจำเดือน เกิดขึ้นเพราะอะไร สาเหตุที่ ประจำเดือนหมดแล้วมาใหม่ ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนหรือหมดระดู หรือที่เรียกว่า วัยทอง อาจเกิดจากปัจจัยต่อไปนี้ ภาวะช่องคลอดอักเสบ (Atrophic vaginitis) ทำให้เยื่อบุช่องคลอดบางลง และอาจทำให้มีเลือดออกจากช่องคลอดได้ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกบางลง เนื่องจากร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศ เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจน น้อยลง เมื่อเยื่อบุโพรงมดลูกบางลงอาจทำให้เกิดแผลหรือมีเลือดออกจากช่องคลอดได้ ติ่งเนื้อในมดลูกหรือปากมดลูก อาจทำให้เลือดออกหากเกิดจากเสียดสีที่มดลูก เช่น การมีเพศสัมพันธ์ และทำให้ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ได้ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว (Endometrial hyperplasia) ภาวะเลือดออกจากช่องคลอดอาจเกิดจากการใช้ยาฮอร์โมนทดแทนเพื่อบำบัดอาการต่าง ๆ […]


สุขภาพทางเพศ

ยาเหน็บช่องคลอด ใช้อย่างไร มีผลข้างเคียงหรือไม่

ยาเหน็บช่องคลอด เป็นยารักษาเฉพาะที่ มักใช้เพื่อรักษาติดเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด มีทั้งชนิดที่ซื้อเองได้จากร้านขายยา หรือคุณหมอเป็นผู้จ่ายยาให้ รูปทรงของยาเหน็บช่องคลอดมักมีลักษณะคล้ายจรวดขนาดเล็ก เพื่อให้สอดใส่ได้ง่าย อย่างไรก็ตาม ก่อนใช้ยาเหน็บช่องคลอด ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำ เนื่องจากยาเหน็บช่องคลอดมีผลข้างเคียง และข้อควรระวัง โดยเฉพาะหากใช้กับผู้ที่แพ้ยา หรือหญิงตั้งครรภ์ [embed-health-tool-ovulation] ยาเหน็บช่องคลอด คืออะไร ยาเหน็บช่องคลอด หรือยาสอดช่องคลอด เป็นยาใช้เฉพาะที่เพื่อรักษาการติดเชื้อราหรือแบคทีเรียในช่องคลอด โดยการหยุดเชื้อโรคบริเวณดังกล่าวไม่ให้เติบโต ปกติผู้ป่วยมักใช้ยาเหน็บช่องคลอดติดต่อกันนาน 7 วันหรือตามที่คุณหมอสั่งจ่ายยา โดยทั่วไป ยาเหน็บช่องคลอดมักเคลือบด้วยเจลาตินหรือโกโก้บัตเตอร์ซึ่งเป็นไขมันจากเมล็ดโกโก้ เมื่อสอดยาเข้าไปในช่องคลอด อุณหภูมิร่างกายจะทำให้ชั้นเคลือบละลาย ตัวยาจึงสัมผัสกับเนื้อเยื่อ และถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดในเวลาต่อมา ใช้ยาเหน็บช่องคลอดในกรณีใดบ้าง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรืออาการผิดปกติบริเวณช่องคลอดที่อาจต้องรักษาด้วยการใช้ยาเหน็บช่องคลอด มีดังนี้ โรคติดเชื้อราในช่องคลอด อาจใช้ยาเหน็บช่องคลอดที่มีตัวยาโคลไตรมาโซล (Clotrimazole) 100 มิลลิกรัม สอดช่องคลอดก่อนนอน นาน 7 วัน หรือที่มีตัวยาโคลไตรมาโซล 500 มิลลิกรัม สอดช่องคลอดก่อนนอน นาน 1 วัน ช่วยยับยั้งเชื้อรา โดยควรเหน็บในช่องคลอดให้ลึกที่สุดและงดเพศสัมพันธ์ขณะเหน็บยา ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด ใช้ยาเหน็บช่องคลอดซึ่งมีตัวยาเมโทรนิดาโซล (Metronidazole) 750 มิลลิกรัม และไมโคนาโซล (Miconazole nitrate) 200 มิลลิกรัม สอดช่องคลอดก่อนนอน วันละ 1 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน