สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

ไขข้อสงสัย เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เกี่ยวข้องกันอย่างไร

เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก ทั้ง 2 โรคนี้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร? คุณเคยสงสัยหรือไม่? วันนี้เราจะมาหาคำตอบถึงความเกี่ยวข้องกันของ เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เพื่อให้คุณผู้หญิงทุกคนได้ระมัดระวังตัวมากยิ่งขึ้น ถ้าพร้อมแล้วหาคำตอบความเกี่ยวข้องของเชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูกได้ในบทความนี้ HPV คือกลุ่มของเชื้อไวรัสที่เกี่ยวข้องมากกว่า 200 ชนิด บางชนิดแพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางช่องปาก โดยจะแบ่งออกเป็นกล่มที่มีความเสี่ยงต่ำกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง HPV กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดโรค แต่บางชนิดอาจทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก ปาก หรือลำคอได้ HPV กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสามารถทำให้เกิดมะเร็งได้หลายประเภทหนึ่งในนั้น คือ มะเร็งปากมดลูก เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เกี่ยวข้องกันอย่างไร มะเร็งปากมดลูกในสตรีส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ ฮิวแมนแพพพิลโลมาไวรัส (Human papillomavirus : HPV) ซึ่งเป็นกลุ่มของเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 200 ชนิด เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายในระหว่างมีเพศสัมพันธ์และการทำกิจกรรมทางเพศอื่น ๆ  เช่น การสัมผัสทางผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ เชื้อ HPV อย่างน้อย 15 ชนิด มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก ส่วนใหญ่ HPV16 และ HPV18 จะเป็นตัวที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด โดยเชื้อ HPV ที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้จะเข้าไปหยุดการทำงานของเซลล์ ซึ่งส่งผลให้เซลล์สืบพันธ์มีความผิดปกติแบบควบคุมไม่ได้ นำไปสู่การเจริญเติบโตของเนื้องอกมะเร็ง ปัจจัยเสี่ยงเชื้อเอชพีวีพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูก ชนิดของเชื้อ […]

หมวดหมู่ สุขภาพทางเพศ เพิ่มเติม

การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

การป้องกันโรคเอดส์ สำคัญอย่างไร และทำได้อย่างไร

การป้องกันโรคเอดส์ อาจทำได้โดยการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ใช้ถุงอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนคู่นอนบ่อย และอาจหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเลือดและสารคัดหลั่งของผู้อื่นเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (The human immunodeficiency virus ; HIV) ซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคเอดส์ [embed-health-tool-ovulation] การป้องกันโรคเอดส์ สำคัญอย่างไร เชื้อเอชไอวี เป็นเชื้อที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ทำให้ร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรค เชื้อไวรัส เชื้อรา และเชื้อโรคอื่นๆ ได้ เมื่อติดเชื้อเอชไอวีไปแล้วจะไม่สามารถรักษาให้เชื้อโรคหมดไปจากร่างกายได้ ทำได้แค่เพียงรักษาเพื่อประคับประคองอาการ เชื้อเอชไอวีแพร่กระจายได้อย่างไร เชื้อเอชไอวีนั้นติดต่อกันผ่านทางเลือด น้ำอสุจิ หรือสารคัดหลั่งในช่องคลอด เชื้อเอชไอวีสามารถส่งผ่านได้ทางช่องคลอด ช่องปาก หรือทวารหนัก ที่ไม่มีการป้องกัน รวมทั้งการสัมผัสกับเลือด และของเหลวจากร่างกาย ในขณะที่เป็นแผล  แต่ทั้งนี้คนปกติสามารถจูบ สัมผัส และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีได้ สำหรับวิธีปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันโรคเอดส์สามารถทำได้ ดังนี้ วิธี ป้องกันโรคเอดส์ โรคเอดส์ป้องกันได้ โดยอาจปฏิบัติตัวตามคำแนะนำต่อไปนี้ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการใช้ยาเสพติด ควรเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเสพยาเสพติด เนื่องจากแอลกอฮอล์ จะส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจ และนำไปสู่สถานการณ์เสี่ยงอันตรายต่างๆ ได้ นอกจากนี้ การใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด ก็ทำให้มีความเสี่ยงสูง ที่จะติดเชื้อเอชไอวีได้ มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย หมายถึง การใช้ถุงยางอนามัย โดยเฉพาะในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่ติดเชื้อเอชไอวี สิ่งสำคัญคือต้องสวมถุงยางอนามัยให้ถูกวิธี และหมั่นตรวจหาเชื้อเอชไอวีอย่างสม่ำเสมอ หรือเลือกใช้ยาต้านไวรัส เช่น ยาทีโนโฟเวียร์ […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

ติดเชื้อฉวยโอกาส โรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเอชไอวีที่พบได้บ่อย

ติดเชื้อฉวยโอกาส เป็นภาวะสุขภาพของผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี (Human immunodeficiency virus; HIV) ที่ต้องเผชิญอันตรายร้ายแรงจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือปรสิต ที่เรียกรวม ๆ ว่า “นักฉวยโอกาส” จนเกิดเป็นโรคต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง เมื่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลง เชื้อโรคเหล่านี้จึงเข้ามาก่อให้เกิดโรคได้ง่ายขึ้น [embed-health-tool-bmi] ภาวะ ติดเชื้อฉวยโอกาส ที่พบได้บ่อย ภาวะติดเชื้อฉวยโอกาสนี้มักเกิดขึ้นเมื่อร่างกายอ่อนแอจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันถูกทำลายหรืออ่อนแอลงจากเชื้อเอชไอวีที่เข้าสู่ร่างกายและไม่ได้รับการเยียวยา โดยภาวะติดเชื้อฉวยโอกาสในผู้ป่วยเอชไอวีเกิดขึ้นได้เพราะเชื้อเอชไอวีเข้าไปทำลายเซลล์ที่ชื่อว่า CD4 ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง คอยทำหน้าที่ควบคุมและต่อสู้กับเชื้อโรค โรคที่พบได้บ่อยจากการติดเชื้อฉวยโอกาส ได้แก่ การติดเชื้อราแคนดิดา (Candida)  แคนดิดาคือเชื้อราชนิดหนึ่ง ที่มักพบในผู้ป่วยเอชไอวี ในบริเวณหลอดลม หลอดอาหาร และปอด  เมื่อเซลล์ CD4 ถูกทำลาย ทำให้โอกาสที่เชื้อราแคนดิดาเข้าสู่ร่างกายมีมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณผิวหนัง เล็บ และเยื่อเมือกบุผิวทั่วร่างกาย อาจได้รับผลกระทบจากเชื้อราชนิดนี้ รวมทั้งเยื่อเมือกบุผิวภายในปากและช่องคลอด อย่างไรก็ตาม เชื้อแคนดิดาจะทำให้เกิดการติดเชื้อฉวยโอกาสก็ต่อเมื่อมีการ ติดเชื้อ ในหลอดอาหาร รวมทั้งในระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง อย่างเช่น หลอดลม หรือในเนื้อเยื่อปอดชั้นลึก ๆ ซึ่งอาการที่เห็นได้ชัดเจนก็คือมีจุดสีขาวบริเวณลิ้นหรือคอหอย รักษาได้ด้วยการใช้ยาต้านเชื้อราตามใบสั่งแพทย์ รวมทั้งสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ด้วยน้ำยาบ้วนปากที่มีตัวยาคลอร์เฮกซิดีน (Chlorhexidine) โรคปอดบวม (Pneumonia) เชื้อราบาง เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสบางชนิด […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

อาการติดเชื้อบนผิวหนัง ที่มักพบในผู้ป่วยโรคเอดส์ มีอะไรบ้าง

ผลกระทบของโรคเอดส์ จะสามารถเกิดขึ้นกับระบบต่างๆ ของร่างกายได้หลายระบบ อาการติดเชื้อบนผิวหนัง ก็มักเป็นอีกหนึ่งอาการที่พบได้บ่อย และมองเห็นได้อย่างชัดเจน อาการทางผิวหนังที่พบมาในผู้ป่วยโรคเอดส์ เช่น ผิวหนังอักเสบหรือผื่นคัน ที่อาจมีอาการไปทั่วร่างกาย นอกจากนี้ยังมีการติดเชื้อทางผิวหนังอื่น ๆ อีกด้วย การเรียนรู้เกี่ยวกับอาการติดเชื้อบนผิวหนังที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเอดส์ อาจช่วยให้สามารถรับมือกับอาการได้อย่างเหมาะสม [embed-health-tool-ovulation] อาการติดเชื้อบนผิวหนัง ที่มักพบในผู้ป่วยโรคเอดส์ หนอง หนองสามารถเกิดขึ้นได้ ที่บริเวณใดของร่างกายก็ได้ เมื่อมีรอยขีดข่วน หรือแม้แต่รอยเกา หรือรอยแมลงกัด ก็อาจทำให้เกิดการติดหนอง จนเกิดเป็นฝี บวม และอักเสบได้ การรักษาต้องใช้ยาปฏิชีวนะชนิดแรงกว่าปกติ และบางครั้งอาการของโรค ก็ทำให้ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงมีอาการบวมด้วย เชื้อรา โรคที่เกิดจากการติดเชื้อรา เช่น กลาก เกลื้อน และเชื้อรา โดยกลากจะมีลักษณะเป็นวงแดง มีขุยขาวขยายวงกว้างออกไปได้เรื่อยๆ  มักเป็นบริเวณต้นขา มือ เท้า และเล็บ แต่ในผู้ป่วยเอดส์อาจจะลามไปได้ทั่วตัว และมีอาการคัน การรักษาด้วยยาทาธรรมดามักไม่ค่อยหาย จึงต้องกินยาร่วมด้วย ส่วนเกลื้อนจะมีอาการลุกลามอย่างรวดเร็ว โดยจู่ๆ ก็อาจมีเกลื้อนขึ้นมาเต็มตัว ทั้งๆ ที่ไม่เคยเป็นมาก่อน โดยอาจลามไปถึงแขนขา ซึ่งไม่ค่อยพบในคนปกติ และเชื้อรามักเกิดในบริเวณช่องปาก ลักษณะเป็นฝ้าสีขาวในบริเวณเยื่อบุช่องปากและลิ้น การติดเชื้อตามตัวจะมีลักษณะชื้นแฉะ และผิวลอกแดง ในบริเวณซอกแขนและขา เช่น บริเวณรักแร้ […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

ระยะของการติดเชื้อเอชไอวี รักษาทันอาจช่วยป้องกันการเป็นเอดส์

ระยะของการติดเชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus; HIV) หมายถึง การที่ร่างกายได้รับเชื้อเอชไอวีแล้วค่อย ๆ สร้างความเปลี่ยนแปลงแก่ร่างกายมีทั้งหมด 3 ระยะ โดยที่แต่ละระยะของการติดเชื้อเอชไอวีนั้น ร่างกายจะแสดงอาการของโรคต่างกัน หากเข้าขั้นระยะสุดท้ายจะเรียกว่าเป็นโรคเอดส์ โดยเชื้อเอชไอวีสามารถติดต่อผ่านกันทางสารคัดหลั่งและเลือด ทั้งทางช่องคลอด ทวารหนัก และปาก รวมทั้งจากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน และจากแม่ไปสู่ทารกในครรภ์ได้ด้วย แต่ปัจจุบันนี้ การแพทย์ได้พัฒนาไปมาก ผู้ป่วยเอชไอวีที่อยู่ในระยะที่ 1-2 สามารถควบคุมอาการและเชื้อไม่ให้แพร่สู่ระยะที่ 3  และมีชีวิตอยู่ยืนยาวเทียบเท่ากับคนปกติได้ ระยะของการติดเชื้อเอชไอวี การติดเชื้อเอชไอวีสามารถแบ่งออกได้เป็น  3 ระยะคือ ระยะเฉียบพลัน (Acute HIV Infectious) ระยะติดเชื้อเรื้อรัง (Chronic HIV infection) และระยะโรคเอดส์ (AIDS) ซึ่งมีความแตกต่างกัน ดังนี้ ติดเชื้อเอชไอวี ระยะที่ 1 ระยะเฉียบพลัน ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีจะไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อ กระทั่งผ่านไปประมาณ 2-6 สัปดาห์ ร่างกายแสดงอาการบางอย่าง ซึ่งเกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต้องต่อสู้กับเชื้อไวรัส หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นอาการติดเชื้อระยะแรก (Primary HIV infection) เมื่อติดเชื้อเอชไอวี ร่างกายจะแสดงอาการอยู่ประมาณ 1-2 […]


โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ไวรัสซิกา ติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่

โรคติดเชื้อ ไวรัสซิกา หรือโรคไข้ซิกา เกิดจากเชื้อไวรัสซิกาที่อยู่ในตระกูลเฟลวิไวรัส (Flavivirus) มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี ไวรัสเวสไนล์ และไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ส่วนใหญ่ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีอาการไม่รุนแรง สามารถหายเองได้ แต่หากหญิงตั้งครรภ์ป่วยเป็นโรคนี้ อาจส่งผลกระทบกับทารกในครรภ์ เช่น ทำให้คลอดก่อนกำหนด ทารกตายคลอดหรือเสียชีวิตในครรภ์ (fetal death) รวมถึงทำให้เกิดมาพิการแต่กำเนิด เช่น ภาวะศีรษะเล็ก (microcephaly) สมองพิการรุนแรง นอกจากแพร่เชื้อผ่านพาหะอย่างยุงลายแล้ว ไวรัสซิกายังสามารถแพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย และปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันหรือยารักษาโรคติดเชื้อไวรัสซิกาโดยเฉพาะ [embed-health-tool-ovulation] ไวรัสซิกา ติดต่อจากกิจกรรมทางเพศได้หรือไม่ เชื้อไวรัสซิกาสามารถแพร่เชื้อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนได้จากเพศสัมพันธ์ทั้งทางทวารหนัก ช่องคลอด หรือช่องปาก นอกจากนี้ การใช้อุปกรณ์ในการประกอบกิจกรรมทางเพศ เช่น เซ็กส์ทอย ร่วมกับผู้อื่น ก็สามารถทำให้ไวรัสซิกาแพร่กระจายได้เช่นกัน ไวรัสซิกาจะอยู่ในน้ำอสุจิหรือของเหลวในอวัยวะสืบพันธ์ุได้นานกว่าของเหลวชนิดอื่น ๆ ในร่างกาย โดยระยะฟักตัวของเชื้อไวรัสซิกาในผู้หญิงและผู้ชายอาจแตกต่างกัน และถึงแม้ว่าจะมีความสัมพันธ์ทางเพศกับคู่รักแค่คนเดียว ก็ยังสามารถติดเชื้อไวรัสซิกาได้เช่นกัน ระหว่างมีเพศสัมพันธ์ป้องกันไวรัสซิกาอย่างไรดี การมีเพศสัมพันธ์แบบปลอดภัย เช่น การใช้ถุงยาง ถือว่าเป็นวิธีที่สามารถลดโอกาสในการติดเชื้อไวรัสซิการะหว่างมีเพศสัมพันธ์ได้มากที่สุด ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงในการติดโรคต่อต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น ซิฟิลิส หนองในแท้ หนองในเทียม เริม เอชไอวี ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี ได้อีกด้วย หากเคยเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสซิกา หรือพื้นที่เสี่ยงติดเชื้อ ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ทุกรูปแบบ […]


เคล็ดลับเรื่องบนเตียง

ความเชื่อและความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องเพศ

เพศสัมพันธ์ เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจ เพราะ ความเชื่อและความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องเพศ แค่เพียงเล็กน้อยก็อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพทางเพศได้ อย่างไรก็ตาม การทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเพศ และสุขภาพทางเพศให้ถูกต้อง อาจส่งผลดีต่อความสัมพันธ์ และทำให้การทำกิจกรรมทางเพศมีประสิทธิภาพมากขึ้น ความเชื่อและความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องเพศ 1.จำกัดเซ็กส์อยู่แค่เรื่องบนเตียง สำหรับผู้หญิง การสร้างหรือเร้าอารมณ์ถือเป็นเรื่องสำคัญ ผู้ชายส่วนใหญ่อาจไม่ทราบว่า สาวๆ ประทับใจกับการกอด จูบ และจับมือ ไม่น้อยไปกว่าการมีเซ็กส์ เพราะการแสดงความรักเช่นนี้ ช่วยให้ผู้หญิงรู้สึกผ่อนคลาย สบายใจ และยังช่วยเพิ่มความมั่นใจ ในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ โดยงานทดลองทางวิทยาศาสตร์เผยว่า การกอดกันเป็นเวลา 30 วินาที จะช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxitocin) ซึ่งจะช่วยในการกระชับความสัมพันธ์ และเพิ่มความเชื่อใจต่อกันได้ 2. ทึกทักไปเองว่ารู้หมดทุกเรื่อง ผลสำรวจเปิดเผยว่า ผู้หญิงจำนวนมากแสร้งว่าตนเองถึงจุดสุดยอด เพื่อให้คู่นอนของเธอพึงพอใจ และไม่อยากให้ฝ่ายชายเสียเซลฟ์ ทำให้ฝ่ายชายอาจไม่ทราบว่า คู่รักของตนกำลังมีความสุขอยู่จริงหรือไม่ ผู้ชายจึงไม่ควรทึกทักเอาเองว่า ตัวเองทำให้ผู้หญิงได้รับความสุขแล้ว แต่ควรเปิดใจ และพูดคุย และขอคำแนะนำจากฝ่ายหญิงด้วยว่า เธอชอบหรือไม่ชอบ 3. เรื่องเซ็กส์ของผู้ชาย พังเพราะไม่ยอมเปลี่ยนแปลงสิ่งเดิมๆ เทคนิค หรือรูปแบบการมีเซ็กส์บางอย่างที่เคยได้ผลและทำให้สุขสมมาก่อน อาจใช้ไม่ได้ผลเสมอไป เพราะอารมณ์ของสาวๆ ณ ขณะนั้น มีผลอย่างมากต่อการปลุกเร้าอารมณ์ และความสุขในการมีเซ็กส์ หนุ่มๆ ควรสังเกตปฏิกิริยาของสาวๆ ระหว่างการสัมผัส หรือเล้าโลม และต้องไม่ลืมหาวิธีที่เหมาะสมในแต่ละครั้ง […]


เคล็ดลับเรื่องบนเตียง

cybersex ยกระดับความสัมพันธ์ได้จริงหรือ

cybersex คือ การสื่อสารทางเพศระหว่างบุคคลอย่างน้อย 2 คน โดยมุ่งเน้นที่ความสัมพันธ์ทางเพศ ซึ่งเป็นการสื่อสารโดยผ่านอินเทอร์เน็ตพร้อมกัน cybersex ไม่ได้เหมาะกับคนมีคู่เท่านั้น แต่ยังถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคนโสด ที่มีนิสัยขี้อาย และไม่มีความมั่นใจในตัวเอง แต่ปรารถนาที่จะเสพความสุขทางเพศ cybersex คืออะไร ผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวบรันสวิกเผยว่า นิยามของ cybersex หรือออนไลน์เซ็กส์ คือ การสื่อสารทางเพศระหว่างบุคคลอย่างน้อย 2 คน โดยมุ่งเน้นที่ความสัมพันธ์ทางเพศ ซึ่งเป็นการสื่อสารโดยผ่านอินเทอร์เน็ตพร้อมกัน จากคำอธิบายนี้ ทำให้ cybersex มีรูปแบบการสื่อสารออนไลน์มากมาย ไม่ว่าจะผ่านทางอีเมล ห้องแชท เป็นต้น โดยมีการช่วยตัวเองหรือไม่มีก็ได้ cybersex ไม่ได้เหมาะกับคนมีคู่เท่านั้น แต่ยังถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคนโสด ที่มีนิสัยขี้อาย และไม่มีความมั่นใจในตัวเอง แต่ปรารถนาที่จะเสพความสุขทางเพศ โดยไม่มีใครมาคอยตัดสิน สำหรับวัยรุ่น cybersex แบบปลอดภัย ยังช่วยให้พวกเขาสามารถทดลองความคิด และอารมณ์ทางเพศของตัวเองได้ด้วย cybersex ยกระดับความสัมพันธ์ได้หรือไม่ cybersex อาจช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ให้ดีขึ้นได้ เพราะ cybersex สามารถเป็นวิธีการแก้ปัญหาในชีวิตทางเพศของคู่รัก และช่วยให้คู่รักรู้สึกใกล้ชิดได้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อปัญหาเหล่านั้นน่าอึดอัดเกินไป หรืออายที่จะพูดคุยกันตรง ๆ อีกทั้ง cybersex ยังเป็นทางเลือกที่ดี […]


เคล็ดลับเรื่องบนเตียง

ไม่ถึงจุดสุดยอด เป็นเพราะอะไร ทำอย่างไรให้ถึงจุดสุดยอด

ภาวะ ไม่ถึงจุดสุดยอด จากการทำกิจกรรมทางเพศหรือการมีเพศสัมพันธ์ เป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพทางเพศที่พบได้บ่อยทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย หากปล่อยไว้ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น ทำให้เบื่อเซ็กส์ ทำให้เครียดหรือวิตกกังวล ทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ได้ด้วย อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้สาเหตุที่อาจทำให้ไปไม่ถึงจุดสุดยอด และวิธีแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง อาจข่วยเพิ่มโอกาสในการถึงจุดสุดยอด ช่วยให้การมีเพศสัมพันธ์มีประสิทธิภาพขึ้น ทั้งยังอาจส่งผลดีต่อความสัมพันธ์ด้วย [embed-health-tool-ovulation] การถึงจุดสุดยอด คืออะไร การถึงจุดสุดยอดหรือออกัสซั่ม (Orgasm) คือ ปฏิกิริยาตอบสนองทางเพศของร่างกายเนื่องจากถูกกระตุ้นอารมณ์ทางเพศจนรู้สึกสุขสมอย่างมาก อาจเกิดจากการช่วยตัวเอง การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก ทางปาก หรือในบางกรณี เพียงแค่ลูบไล้หรือจูบบริเวณที่ไวต่อการสัมผัส เช่น หน้าอก ใบหู ลำคอ ก็อาจทำให้ไปถึงจุดสุดยอดได้เช่นกัน การถึงจุดสุดยอด สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศ อาจสังเกตได้จาก หัวใจเต้นแรง หายใจถี่ กล้ามเนื้อหดเกร็งหรือกระตุก เช่น บริเวณหน้าท้อง ก้น โดยเฉพาะบริเวณอวัยวะเพศ ผู้ชายมักหลั่งน้ำกามหรือน้ำอสุจิเมื่อถึงจุดสุดยอด ส่วนผู้หญิงมักมีน้ำหล่อลื่นในช่องคลอดมากขึ้น แต่บางคนก็อาจเกิดภาวะน้ำพุ่ง (Female Ejaculation) ได้เมื่อถึงจุดสุดยอด ไม่ถึงจุดสุดยอด เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง แม้การถึงจุดสุดยอดจะเป็นปฏิกิริยาทางร่างกายที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ แต่บางคนก็อาจประสบปัญหาไปไม่ถึงจุดสุดยอดได้เช่นกัน โดยสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้ไปไม่ถึงจุดสอดยอด หรือไปถึงจุดสุดยอดได้ยาก อาจมีดังนี้ การรักษาโรค เช่น การทำเคมีบำบัดรักษามะเร็งซึ่งส่งผลต่อฮอร์โมน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน