สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

ไขข้อสงสัย เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เกี่ยวข้องกันอย่างไร

เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก ทั้ง 2 โรคนี้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร? คุณเคยสงสัยหรือไม่? วันนี้เราจะมาหาคำตอบถึงความเกี่ยวข้องกันของ เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เพื่อให้คุณผู้หญิงทุกคนได้ระมัดระวังตัวมากยิ่งขึ้น ถ้าพร้อมแล้วหาคำตอบความเกี่ยวข้องของเชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูกได้ในบทความนี้ HPV คือกลุ่มของเชื้อไวรัสที่เกี่ยวข้องมากกว่า 200 ชนิด บางชนิดแพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางช่องปาก โดยจะแบ่งออกเป็นกล่มที่มีความเสี่ยงต่ำกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง HPV กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดโรค แต่บางชนิดอาจทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก ปาก หรือลำคอได้ HPV กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสามารถทำให้เกิดมะเร็งได้หลายประเภทหนึ่งในนั้น คือ มะเร็งปากมดลูก เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เกี่ยวข้องกันอย่างไร มะเร็งปากมดลูกในสตรีส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ ฮิวแมนแพพพิลโลมาไวรัส (Human papillomavirus : HPV) ซึ่งเป็นกลุ่มของเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 200 ชนิด เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายในระหว่างมีเพศสัมพันธ์และการทำกิจกรรมทางเพศอื่น ๆ  เช่น การสัมผัสทางผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ เชื้อ HPV อย่างน้อย 15 ชนิด มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก ส่วนใหญ่ HPV16 และ HPV18 จะเป็นตัวที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด โดยเชื้อ HPV ที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้จะเข้าไปหยุดการทำงานของเซลล์ ซึ่งส่งผลให้เซลล์สืบพันธ์มีความผิดปกติแบบควบคุมไม่ได้ นำไปสู่การเจริญเติบโตของเนื้องอกมะเร็ง ปัจจัยเสี่ยงเชื้อเอชพีวีพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูก ชนิดของเชื้อ […]

หมวดหมู่ สุขภาพทางเพศ เพิ่มเติม

การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

โรคซิฟิลิส

ซิฟิลิส อาการ การรักษาและวิธีป้องกัน

ซิฟิลิส (Syphilis) คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซิฟิลิส มักไม่แสดงอาการใด ๆ ในระยะแรก จึงอาจทำให้ผู้ป่วยแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้โดยไม่รู้ตัว ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยจึงควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ ผื่นขึ้น อ่อนเพลีย และแผลบริเวณอวัยวะเพศ สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ และควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อให้สามารถตรวจพบโรคตั้งแต่ในระยะแรก ๆ และทำการรักษาได้ทันท่วงที [embed-health-tool-ovulation] ซิฟิลิส เกิดจากอะไร ซิฟิลิส เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่าทรีโพนีมา แพลลิดัม (Treponema pallidum) ที่อาจได้รับจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางปาก หรือผ่านทางผิวหนังที่มีแผลเปิด อีกทั้งสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นซิฟิลิสก็อาจแพร่กระจายเชื้อสู่ทารกได้ในขณะคลอดบุตร ซิฟิลิสสามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็อาจกลับมาติดเชื้อซ้ำได้อีกเช่นกัน หากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ไม่สวมถุงยางขณะมีเพศสัมพันธ์ ไม่เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคขณะตั้งครรภ์ ใช้เซ็กส์ทอยร่วมกับผู้อื่น ซิฟิลิส อาการเป็นอย่างไร อาการของซิฟิลิส แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ซิฟิลิสระยะที่ 1 (Primary syphilis) มีระยะฟักตัว 10-90 วัน โดยเชื้ออาจเข้าทางเยื่อบุปกติหรือเยื่อบุผิวหนังที่มีรอยถลอกหรือฉีกขาดบริเวณอวัยวะเพศ ริมฝีปาก ลิ้น ทวารหนัก ในระยะแรกรอยโรคอาจมีลักษณะสีแดงเข้ม ต่อมาจะเป็นตุ่มเล็ก ๆ […]


การคุมกำเนิด

ระยะปลอดภัย นับอย่างไร ช่วยคุมกำเนิดได้จริงหรือไม่

ระยะปลอดภัย เป็นวิธีคุมกำเนิดตามธรรมชาติ เป็นช่วงเวลาที่อาจเหมาะสำหรับการมีเพศสัมพันธ์สำหรับผู้ที่ไม่ป้องกันด้วยวิธีอื่น และยังไม่พร้อมตั้งครรภ์ เพราะแทบจะไม่มีโอกาสในการตั้งครรภ์เลยหรือมีโอกาสในการตั้งครรภ์ต่ำ อย่างไรก็ตาม การนับระยะปลอดภัย เหมาะกับผู้หญิงที่มีรอบเดือนมาตรงเวลาสม่ำเสมอเพราะทำให้โอกาสในการนับระยะปลอดภัยมีความแม่นยำสูง หากรอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอ การคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้อาจมีความเสี่ยงในการตั้งครรภ์สูง เพราะระยะปลอดภัยอาจคลาดเคลื่อนได้ [embed-health-tool-ovulation] ระยะปลอดภัย คืออะไร ระยะปลอดภัย หมายถึง ช่วงระยะเวลาหลังจากตกไข่ไปแล้วและระยะเวลาก่อนที่ร่างกายจะตกไข่อีกครั้ง เมื่อร่างกายยังไม่ตกไข่จึงไม่เกิดการผสมกับอสุจิจนเกิดการปฏิสนธิ ทำให้การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลานั้นไม่ก่อให้เกิดการตั้งครรภ์ และนับเป็นการคุมกำเนิดตามธรรมชาติแบบหนึ่ง การคุมกำเนิดด้วยการนับระยะปลอดภัย นอกจากประหยัดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังเป็นทางเลือกของผู้หญิงที่อาจมีปัญหาในการคุมกำเนิดแบบอื่น เช่น แพ้ถุงยางอนามัย แพ้ยาคุม ไม่ต้องการการเกิดผลข้างเคียงจากการกินยาคุม เช่น เจ็บเต้านม น้ำหนักขึ้น อารมณ์แปรปรวน ปวดหัว คลื่นไส้ เลือดไหลออกจากช่องคลอด สิวขึ้น อย่างไรก็ตาม หากต้องการคุมกำเนิดด้วยการนับระยะปลอดภัย ผู้หญิงในกลุ่มต่อไปนี้ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อขอรับคำแนะนำก่อนเริ่มนับระยะปลอดภัย ผู้หญิงที่เป็นประจำเดือนครั้งแรก ผู้หญิงที่เพิ่งคลอดบุตร ผู้หญิงที่เพิ่งเลิกใช้ยาคุมกำเนิด ผู้หญิงที่ใกล้เข้าสู่วัยทอง ผู้หญิงที่มีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ หรือผิดปกติ การนับระยะปลอดภัย นับอย่างไร ผู้หญิงซึ่งสนใจคุมกำเนิดด้วยการนับระยะปลอดภัย ต้องติดตามรอบเดือนของตัวเองเป็นระยะเวลา 6-12 เดือน และจดบันทึกไว้ทุกเดือน โดยนับวันแรกซึ่งมีประจำเดือนเป็นวันที่ 1 และเริ่มนับ 1 อีกครั้ง เมื่อมีประจำเดือนรอบใหม่ โดยปกติรอบเดือนจะห่างกัน 28 วัน และมักจะมีไข่ตกในวันที่ […]


สุขภาพทางเพศ

เพศสัมพันธ์ครั้งแรก เป็นอย่างไร และมีข้อควรระวังอะไรบ้าง

เพศสัมพันธ์ครั้งแรก หรือเซ็กส์ ครั้ง แรก มักเป็นประสบการณ์ชวนตื่นเต้นสำหรับใครหลายคน อย่างไรก็ตาม ก่อนเริ่มการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ว่าเป็นอย่างไร ควรป้องกันอย่างไร มีข้อควรระวังในเรื่องใดบ้าง เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และภาวะตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม เพศสัมพันธ์ครั้งแรก กับเรื่องที่ควรรู้ ก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ควรทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ ดังต่อไปนี้ การมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอาจทำให้รู้สึกเจ็บ การมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก มักทำให้ฝ่ายหญิงเจ็บบริเวณช่องคลอด ขณะถูกสอดใส่ เนื่องจากช่องคลอดแห้งเกินไปหรือไม่มีความยืดหยุ่นมากพอ ซึ่งอาจแก้ได้โดยการใช้เจลหล่อลื่น และเล้าโลมให้นานยิ่งขึ้น ทั้งนี้ อาจเจ็บปวดหรือแสบบริเวณช่องคลอดประมาณ 1-2 วัน และมักจะค่อย ๆ ทุเลาลงจนหายไปเองหลังจากมีเพศสัมพันธ์ แต่หากอาการดังกล่าวไม่หายไปในระยะเวลา 3-5 วัน ควรไปพบคุณหมอ นอกจากนั้น ผู้หญิงบางคนอาจมีเลือดไหลออกจากช่องคลอด เนื่องจากเยื่อพรมจารีฉีกขาด รวมทั้งจากการเสียดสีอย่างรุนแรงขององคชาตหรือนิ้วมือเมื่อเกิดการสอดใส่ เนื่องจากช่องคลอดมีความบอบบาง อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงบางรายอาจแค่รู้สึกไม่สบายตัวระหว่างมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ไม่จำเป็นต้องเลือดออกเสมอไป ตามความเชื่อดั้งเดิม การมีเซ็กส์ ครั้ง แรกของผู้หญิงอาจทำให้มีเลือดออกเนื่องจากเยื่อพรหมจารีฉีกขาด ทั้งนี้ ความเชื่อดังกล่าวอาจไม่เป็นความจริง เพราะเยื่อพรหมจารีสามารถฉีกขาดก่อนมีเพศสัมพันธ์ได้ จากการทำกิจกรรมต่อไปนี้ ใช้ผ้าอนามัยแบบสอด สำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง เล่นกีฬาซึ่งกระทบกระเทือนบริเวณอวัยวะเพศ เช่น ยิมนาสติก ปั่นจักรยาน หรือประสบอุบัติเหตุที่ทำให้อวัยวะเพศฉีกขาด ผู้หญิงหลายคนอาจไม่ทราบว่าเยื่อพรหมจารีของตนฉีกขาดก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก เนื่องจากบางครั้งการฉีกขาดของเยื่อพรหมจารี ไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ […]


สุขภาพทางเพศ

ตกขาวสีน้ำตาลเข้ม เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่

ตกขาวสีน้ำตาลเข้ม เป็นภาวะสุขภาพที่พบได้ทั่วไปในเพศหญิง มักเกิดจากการปะปนของเลือดประจำเดือนในตกขาวซึ่งไม่เป็นอันตราย อย่างไรก็ตาม ตกขาวสีน้ำตาลเข้ม อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ อาทิ การตั้งครรภ์ การคุมกำเนิด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ  หากพบตกขาวสีน้ำตาลเข้ม พร้อมอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อาเจียน เป็นไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว มีเลือดออกจากช่องคลอด ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัย [embed-health-tool-ovulation] ตกขาวคืออะไร ตกขาว หมายถึงของเหลวหรือเมือก ซึ่งหลั่งจากช่องคลอด เพื่อป้องกันช่องคลอดติดเชื้อ และทำให้ช่องคลอดสะอาด ชุ่มชื้นโดยปกติ ตกขาวจะมีลักษณะเป็นเมือกสีขาวขุ่นหรือใส มีกลิ่นจาง ๆ ให้ความรู้สึกหยุ่น ๆ และลื่นเมื่อสัมผัสทั้งนี้ ตกขาวอาจมีลักษณะแตกต่างไปจากนี้ได้ แต่มักเป็นสัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ในเพศหญิง เช่น ตกขาวสีเหลือง หมายถึงอาการติดเชื้อรา ตกขาวสีเขียว อาจเป็นสัญญาณการติดเชื้อแบคทีเรียจากการมีเพศสัมพันธ์ ตกขาวสีน้ำตาลเข้มเกิดจากอะไร ตกขาวสีน้ำตาลเข้ม เกิดจากการเจือปนของเลือดประจำเดือนในตกขาว ซึ่งทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ทำให้เห็นเป็นสีน้ำตาลหรือสีดำ มักไม่เป็นอันตราย อย่างไรก็ตาม สาเหตุของตกขาวสีน้ำตาลเข้ม อาจประกอบด้วย ประจำเดือน ตกขาวสีน้ำตาลเข้มพบได้ช่วงก่อน ระหว่าง หรือหลังมีประจำเดือน มักเป็นเลือดประจำเดือนเก่าที่ตกค้างอยู่ในช่องคลอด ไม่ใช่ความผิดปกติหรือเป็นเรื่องน่ากังวลแต่อย่างใด การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน […]


สุขภาพทางเพศ

เมน คืออะไร ควรใช้ผ้าอนามัยแบบไหน

เมน คืออะไร ? มักเป็นคำถามของเพศหญิงเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นและมีอาการเลือดไหลออกทางช่องคลอด เมน หรือประจำเดือน เป็นภาวะสุขภาพของเพศหญิงซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากเพศหญิงเข้าสู่วัยรุ่นหรือวัยเจริญพันธุ์ โดยเกิดจากการจากที่ร่างกายตกไข่เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการผสมกับอสุจิ แต่หากไม่มีการปฏิสนธิ ไข่รวมทั้งเนื้อเยื่อผนังมดลูกจะหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน โดยปกติ ผู้หญิงจะเป็นเมนติดต่อกันราว 5-7 วัน ทุก ๆ 21-35 วัน และระหว่างเป็นเมน ผู้หญิงอาจหงุดหงิดง่ายกว่าปกติ ปวดท้อง หรือปวดเมื่อยเนื้อตัว รวมถึงอาจรู้สึกอยากรับประทานอาหารมากเป็นพิเศษ นอกจากนี้ ผู้หญิงจะหยุดเป็นเมนหลังจากร่างกายไม่ผลิตฮอร์โมนเพศหรือเรียกว่าเข้าสู่วัยทองเมื่อมีอายุประมาณ 48 ปีขึ้นไป เมน คืออะไร เมื่อเป็นเมนแล้วจะมีอาการอย่างไร เมน ย่อมาจาก เมนสทรูเอเชิน (Menstruation) หรือประจำเดือน เป็นภาวะสุขภาพปกติของเพศหญิงเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์พร้อมที่จะตั้งครรภ์โดยอาการที่พบคือ การมีเลือดไหลออกทางช่องคลอด ทุก ๆ 21-35 วัน โดยทั่วไป ผู้หญิงจะเป็นเมนครั้งแรกเมื่ออายุประมาณ 12 ปี อย่างไรก็ตาม บางรายอาจเป็นเมนครั้งแรกตั้งแต่ 8 ปี หรือช้ากว่านั้นแต่มักไม่เกิน 16 ปี ขึ้นอยู่กับภาวะทางสุขภาพ พันธุกรรม เมื่อเป็นเมน ผู้หญิงจะมีเลือดออกทางช่องคลอด ติดต่อกันประมาณ 5-7 วัน หรือประมาณ […]


สุขภาพทางเพศ

PCOS คือ อะไร อาการ วิธีรักษาและวิธีดูแลตัวเอง

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ Polycystic Ovary Syndrome: PCOS คือ ภาวะที่ต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติ ส่งผลให้เกิดภาวะฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) สูง ร่วมกับภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติและอาจมีบุตรยาก นอกจากนี้ ระดับฮอร์โมนที่แปรปรวนอาจทำให้มีสิวขึ้น ผมร่วง มีขนดกขึ้นตามตัว ผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ควรหมั่นสังเกตสัญญาณของภาวะ PCOS หากพบอาการเข้าข่ายควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาโดยเร็วที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย [embed-health-tool-ovulation] PCOS คือ อะไร PCOS คือ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ เป็นภาวะที่มีถุงของเหลว หรือซีสต์จำนวนมากเติบโตภายในรังไข่ ถุงน้ำในรังไข่เหล่านี้ไม่สามารถปล่อยไข่ออกมาได้และไปเบียดรังไข่ ทำให้การทำงานของรังไข่ เช่น การผลิตไข่ การตกไข่ ผิดปกติ นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลให้ต่อมหมวกไตผลิตแอนโดรเจนหรือฮอร์โมนเพศชาย เช่น ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนออกมามากเกินไป (Hyperandrogenism) จนส่งผลต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย เช่น กระตุ้นการทำงานของต่อมไขมัน ทำให้เกิดสิวฮอร์โมน ทั้งยังทำให้มีขนขึ้นตามร่างกาย และอาจสูญเสียผมบนศีรษะในลักษณะเดียวกับที่พบบ่อยในผู้ชาย PCOS เป็นภาวะที่พบได้บ่อย โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Human Reproductive Sciences เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. […]


สุขภาพทางเพศ

วิธี แก้ปวดท้องประจําเดือน ที่ควรรู้

ประจำเดือน คือ ภาวะที่มีเลือดออกทางช่องคลอดทุกเดือน หรือทุก ๆ 21-35 วัน ภาวะนี้เกิดขึ้นกับผู้หญิงทุกคนเมื่อเข้าสู่ภาวะเจริญพันธุ์ ในช่วงที่มีประจำเดือน บางคนอาจอาการปวดประจำเดือนร่วมด้วย และในบางครั้งอาการปวดอาจรุนแรงจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การศึกษาวิธี แก้ปวดท้องประจำเดือน เช่น การออกกำลังกาย การเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อาจช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนได้ ทั้งนี้ หากอาการปวดรุนแรงและเกิดขึ้นนานกว่าที่เคยเป็น อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพ เช่น เนื้องอกในมดลูก ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ ควรไปพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาอย่างเร่งด่วน [embed-health-tool-ovulation] สาเหตุของอาการปวดท้องประจำเดือน อาการปวดประจำเดือนเกิดจากสารเคมีที่เรียกว่าพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ที่อยู่ในเยื่อบุโพรงมดลูกกระตุ้นให้มดลูกบีบเกร็งและหดตัว เพื่อขับเยื่อบุโพรงมดลูกที่ลอกตัวออกมาเป็นประจำเดือน หากมดลูกบีบตัวแรงเกินไป อาจไปกดทับหลอดเลือดที่อยู่ใกล้ ๆ และทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อได้ไม่เพียงพอ จึงทำให้เกิดอาการปวดท้องเมื่อกล้ามเนื้อขาดออกซิเจนไปเลี้ยงชั่วขณะ นอกจากนี้ อาการปวดท้องประจำเดือน ยังอาจเกิดจากปัจจัยด้านปัญหาสุขภาพได้ด้วย หากปวดท้องประจำเดือนรุนแรงผิดปกติ ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที โดยปัญหาสุขภาพที่สัมพันธ์กับการปวดท้องประจำเดือน อาจมีดังต่อไปนี้ เนื้องอกในมดลูก ภาวะมดลูกโต ภาวะปากมดลูกตีบ ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflammatory Disease: PID) ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) อาการปวดท้องประจำเดือน อาการปวดท้องประจำเดือน อาจมีดังนี้ ปวดท้องส่วนล่างหรือท้องน้อย โดยเฉพาะในช่วง 1-2 วันแรกของการมีประจำเดือน และบางครั้งอาจมีอาการปวดรุนแรง ปวดบีบหรือปวดเกร็งเป็นพัก […]


โรคติดเชื้อเอชพีวี

ตรวจมะเร็งปากมดลูก ควรตรวจเมื่อไร ใครคือกลุ่มเสี่ยง

ตรวจมะเร็งปากมดลูก เป็นการตรวจสุขภาพของปากมดลูกโดยนำเซลล์เนื้อเยื่อไปตรวจสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อดูว่าเซลล์ดังกล่าวมีความผิดปกติหรือมีโอกาสเกิดมะเร็งมากน้อยเพียงใด รวมทั้งการตรวจหาเชื้อเอชพีวี (Human Papillomavirus หรือ HPV) อันเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก ทั้งนี้ ผู้หญิงอายุ 25-65 ปี ควรเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูกที่สถานพยาบาล เพื่อหาวิธีรับมือและรักษาหากตรวจพบเซลล์ที่ผิดปกติและป้องกันความเสี่ยงจากโรคมะเร็งที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต มะเร็งปากมดลูก คืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่เกิดบริเวณปากมดลูก หรือส่วนล่างของมดลูก ที่เชื่อมต่อกับช่องคลอด สาเหตุของมะเร็งชนิดนี้ คือการติดเชื้อเอชพีวี ซึ่งติดต่อกันได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าทางอวัยวะเพศ ปาก หรือทวารหนัก ทั้งนี้ อาการของโรคมะเร็งปากมดลูกที่พบได้ ประกอบด้วย ช่องคลอดมีเลือดออก หลังจากมีเพศสัมพันธ์ ระหว่างมีรอบเดือน หรือขณะอยู่ในช่วงวัยทอง ตกขาวใส มีเลือดปน บางครั้งมีปริมาณมากผิดปกติ หรือมีกลิ่นเหม็น ประจำเดือนมามากหรือนานกว่าปกติ ปวดท้องน้อยระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ท้องน้อยบวม ตรวจมะเร็งปากมดลูก มีกี่รูปแบบ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มักช่วยให้ตรวจเจอเซลล์มะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ซึ่งยังไม่เป็นอันตราย และง่ายต่อการรักษาโดยรูปแบบการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่พบได้ตามสถานพยาบาล ประกอบด้วย การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test) หรือ การตรวจเซลล์วิทยาของปากมดลูก (cervical cytology) คือ การสอดอุปกรณ์ทางการแพทย์เฉพาะเข้าไปในช่องคลอด เพื่อเก็บตัวอย่างเซลล์จากพื้นผิวปากมดลูก […]


สุขภาพทางเพศ

การเปลี่ยนแปลงทางเพศ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น มีอะไรบ้าง

การเปลี่ยนแปลงทางเพศ หมายถึง การที่ร่างกายของเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงเริ่มแสดงลักษณะทางเพศออกมาในช่วงเริ่มเป็นวัยรุ่นหรือเมื่อมีอายุประมาณ 11-12 ปีจนถึงช่วงอายุประมาณ 20 ปี การเปลี่ยนแปลงทางเพศเป็นการเตรียมความพร้อมทางร่างกายสำหรับการสืบพันธุ์ ระดับฮอร์โมนเพศจะเพิ่มขึ้น ทำให้ร่างกายมีความเปลี่ยนแปลง เช่น ผู้หญิงมีประจำเดือน ผู้ชายฝันเปียก [embed-health-tool-bmi] การเปลี่ยนแปลงทางเพศ ของวัยรุ่นชาย การเปลี่ยนแปลงทางเพศ ของวัยรุ่นชาย จะเริ่มเห็นได้ชัดเมื่ออายุประมาณ 11 ปี และจะดำเนินไปถึงอายุประมาณ 18 ปี การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเพศเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ซึ่งผลิตจากอัณฑะจะส่งผลให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้ องคชาต อัณฑะ และถุงอัณฑะ ใหญ่ขึ้นและสีเข้มขึ้น มีอารมณ์ทางเพศ อวัยวะเพศแข็งตัว และหลั่งน้ำอสุจิได้เมื่อถึงจุดสุดยอด มีขนบริเวณอวัยวะเพศ หน้าอก รักแร้ หน้าแข้ง และมีหนวดเคราขึ้นบริเวณใบหน้า เสียงแตก และค่อย ๆ ทุ้มใหญ่ขึ้น เห็นลูกกระเดือกชัดเจน มีกล้ามเนื้อแข็งแรง ทั้งกล้ามเนื้ออก กล้ามแขน กล้ามขา เริ่มเป็นสิวบนใบหน้า แผ่นหลัง หน้าอก นอกจากนี้ วัยรุ่นชายอาจเริ่มฝันเปียก ซึ่งเป็นการหลั่งน้ำอสุจิหรือถึงจุดสุดยอดขณะนอนหลับ มักเริ่มพบได้เมื่อเพศชายมีอายุประมาณ 13 ปี ถือเป็นสัญญาณว่าร่างกายสามารถสืบพันธุ์ได้แล้ว ฝันเปียกเกิดจากการมีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเพิ่มขึ้น ฮอร์โมนนี้ทำหน้าที่กระตุ้นให้อัณฑะสร้างตัวอสุจิ หรือเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย โดยปกติ […]


สุขภาพทางเพศ

นมใหญ่ เกิดจากอะไร ผิดปกติหรือไม่

นมใหญ่ หมายถึง การมีขนาดหน้าอกใหญ่กว่าขนาดหน้าอกเฉลี่ย สำหรับผู้หญิงไทยรอบอกเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 32 นิ้ว แต่บางคนอาจมีนมใหญ่กว่านั้นมาก ซึ่งอาจทำให้เสียความมั่นใจ ทั้งนี้ นมใหญ่เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย อาทิ พันธุกรรม การตั้งครรภ์ ความอ้วน แม้ผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องการมีนมใหญ่ แต่สำหรับด้านสุขภาพแล้ว นมใหญ่อาจเป็นสาเหตุของการปวดหลัง หัวไหล่ หรือลำคอ รวมถึงอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดเม็ดผื่นและโรคผิวหนังบริเวณหน้าอกและใต้ราวนมได้ด้วย [embed-health-tool-bmr] นมใหญ่เกิดจากอะไร นมใหญ่ หรือการมีขนาดหน้าอกที่ใหญ่กว่าค่าเฉลี่ยถือเป็นลักษณะของร่างกายที่แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล เช่นเดียวกับสีผิวหรือความสูง ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด แต่อาจทำให้เกิดความกังวลได้ ทั้งนี้ การที่มีนมใหญ่อาจเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ พันธุกรรม ซึ่งสืบทอดผ่านยีนของบิดาหรือมารดา ฮอร์โมน จากการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเพศเอสโทรเจน (Estrogen) ในช่วงวัยรุ่น รวมถึงการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) เมื่อตั้งครรภ์ น้ำหนักตัว เนื่องจากเต้านมประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อไขมัน เมื่อน้ำหนักเพิ่มขึ้น ขนาดเต้านมจึงอาจขยายไปด้วยได้ นมใหญ่ หมายถึงขนาดหน้าอกเท่าไรบ้าง ปัจจุบัน ยังไม่พบนิยามของ นมใหญ่ อย่างเป็นทางการ โดยปกติผู้ที่มีนมใหญ่ มักหมายถึงผู้หญิงที่มีหน้าอกคัพ D ขึ้นไป อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของคนไทยหรือคนเอเชียส่วนใหญ่ นมใหญ่อาจเป็นนิยามของผู้หญิงซึ่งมีขนาดหน้าอกใหญ่กว่าค่าเฉลี่ย หรือใหญ่กว่าคัพ A หรือ B (รอบอก […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน