สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

ไขข้อสงสัย เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เกี่ยวข้องกันอย่างไร

เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก ทั้ง 2 โรคนี้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร? คุณเคยสงสัยหรือไม่? วันนี้เราจะมาหาคำตอบถึงความเกี่ยวข้องกันของ เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เพื่อให้คุณผู้หญิงทุกคนได้ระมัดระวังตัวมากยิ่งขึ้น ถ้าพร้อมแล้วหาคำตอบความเกี่ยวข้องของเชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูกได้ในบทความนี้ HPV คือกลุ่มของเชื้อไวรัสที่เกี่ยวข้องมากกว่า 200 ชนิด บางชนิดแพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางช่องปาก โดยจะแบ่งออกเป็นกล่มที่มีความเสี่ยงต่ำกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง HPV กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดโรค แต่บางชนิดอาจทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก ปาก หรือลำคอได้ HPV กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสามารถทำให้เกิดมะเร็งได้หลายประเภทหนึ่งในนั้น คือ มะเร็งปากมดลูก เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เกี่ยวข้องกันอย่างไร มะเร็งปากมดลูกในสตรีส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ ฮิวแมนแพพพิลโลมาไวรัส (Human papillomavirus : HPV) ซึ่งเป็นกลุ่มของเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 200 ชนิด เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายในระหว่างมีเพศสัมพันธ์และการทำกิจกรรมทางเพศอื่น ๆ  เช่น การสัมผัสทางผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ เชื้อ HPV อย่างน้อย 15 ชนิด มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก ส่วนใหญ่ HPV16 และ HPV18 จะเป็นตัวที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด โดยเชื้อ HPV ที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้จะเข้าไปหยุดการทำงานของเซลล์ ซึ่งส่งผลให้เซลล์สืบพันธ์มีความผิดปกติแบบควบคุมไม่ได้ นำไปสู่การเจริญเติบโตของเนื้องอกมะเร็ง ปัจจัยเสี่ยงเชื้อเอชพีวีพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูก ชนิดของเชื้อ […]

หมวดหมู่ สุขภาพทางเพศ เพิ่มเติม

การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

มดลูกอักเสบเกิดจาก อะไร มีปัจจัยเสี่ยงและวิธีป้องกันอย่างไร

มดลูกอักเสบเกิดจาก ภาวะติดเชื้อภายในมดลูกและระบบสืบพันธุ์ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ผู้ที่มีมดลูกอักเสบอาจมีอาการปวดบริเวณอุ้งเชิงกรานหรือท้องส่วนล่าง ประจำเดือนมามาก มีตกขาวผิดปกติ เป็นต้น ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้มดลูกอักเสบ เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใส่ถุงยางอนามัย การมีคู่นอนหลายคน อย่างไรก็ตาม หากมดลูกอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ แต่หากติดเชื้อนานเกินไปอาจไม่สามารถรักษาแผลที่เกิดขึ้นบริเวณอวัยวะภายในได้ จึงควรหมั่นสังเกตอาการเป็นประจำ และหากรู้สึกถึงความผิดปกติ ควรรีบพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม การรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอักเสบเรื้อรัง และช่วยให้มดลูกกลับสู่สภาวะปกติได้อย่างรวดเร็ว [embed-health-tool-ovulation] มดลูกอักเสบเกิดจาก ส่วนใหญ่แล้ว มดลูกอักเสบเกิดจาก การติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้อคลาไมเดียหรือเชื้อหนองในเทียม (Chlamydia) เชื้อหนองใน (Gonorrhoea) ซึ่งเป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคบริเวณอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง แบคทีเรียเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายผ่านทางช่องคลอด ก่อนจะไปถึงปากมดลูก และอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะใกล้เคียง เช่น มดลูก ท่อนำไข่ รังไข่ อุ้งเชิงกราน เชื้อมักถ่ายทอดผ่านการมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากมดลูกติดเชื้อจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การระคายเคืองเมื่อใช้ผ้าอนามัยแบบสอด ความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศและแบคทีเรียในช่องคลอด ภาวะเหล่านี้หากไม่รักษาและปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรัง ฝีในท่อรังไข่ ภาวะมีบุตรยากในอนาคต และภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูกได้ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มดลูกอักเสบ ปัจจัยต่อไปนี้อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะมดลูกอักเสบได้ มีเพศสัมพันธ์ก่อนอายุ 25 ปี มีคู่นอนหลายคน […]


การคุมกำเนิด

ยาคุมเมโลเดีย ราคา ส่วนประกอบ ผลข้างเคียง

ยาคุมเมโลเดีย ราคา ประมาณ 285-310 บาท ต่อหนึ่งแผง เป็นยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมแบบรับประทาน ประกอบด้วยตัวยาโดรสไพริโนน (Drospirenone) และเอทินิลเอสทราไดออล (Ethinylestradiol) ทั้งนี้ การรับประทานยาคุมเมโลเดีย อาจเพิ่มความเสี่ยงลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ รวมทั้งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ ดังนั้น ก่อนเลือกใช้ยาคุมชนิดนี้ ควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด หรือปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญ [embed-health-tool-ovulation] ยาคุมเมโลเดีย ราคา และส่วนประกอบ เมโลเดีย (Melodia) เป็นยาคุมกำเนิดแบบรับประทาน บรรจุแผงละ 21 เม็ด ประกอบด้วยตัวยาโดรสไพริโนน 3 มิลลิกรัม และเอทินิลเอสทราไดออล 0.3 มิลลิกรัม ยาคุมเมโลเดียมีฤทธิ์คุมกำเนิด และบางครั้งใช้ ยาคุมเมโลเดีย รักษาสิว ในผู้หญิงอายุ 14 ปี ขึ้นไป ปัจจุบัน ยาชนิดนี้สามารถหาซื้อได้ทั่วไป ในราคาแผงละ 285-310 บาท วิธีรับประทานยาคุมเมโลเดีย ขนาดรับประทานของ ยาคุมเมโลเดีย คือ วันละ 1 เม็ด โดยต้องรับประทานติดต่อกัน 21 วัน ตามจำนวนยาใน 1 แผง […]


สุขภาพทางเพศ

รังไข่ คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรบ้าง

รังไข่ เป็นอวัยวะหนึ่งในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ลักษณะเป็นคู่ รูปร่างคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์อยู่บริเวณปลายท่อนำไข่ทั้งสองข้างของมดลูก ทำหน้าผลิตไข่ให้ตกเข้าสู่ท่อนำไข่เพื่อรองรับการปฏิสนธิจนเกิดการตั้งครรภ์ และสร้างฮอร์โมนเพศเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน [embed-health-tool-ovulation] รังไข่ คืออะไร รังไข่เป็นส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง รูปร่างคล้ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์ขนาดประมาณนิ้วโป้งมีความยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร อยู่ข้างปีกมดลูกทั้ง 2 ข้าง รังไข่ มีหน้าที่อะไร หน้าที่หลักของรังไข่ คือการผลิตไข่ และการผลิตฮอร์โมนเพศ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ผลิตไข่ รังไข่ มีหน้าที่ผลิตไข่ ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศหญิง ภายใต้การกระตุ้นของฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญของไข่ (Follicle Stimulating Hormone) และฮอร์โมนลูทิไนซิง (Luteinizing Hormone) ซึ่งหลั่งออกมาจากสมอง และถูกส่งมายังรังไข่ผ่านหลอดเลือด โดยปกติ ในแต่ละเดือน รังไข่แต่ละข้างจะสลับกันผลิตไข่ขึ้นมาโดยรังไข่หนึ่งข้างจะผลิตไข่ขึ้นมาพร้อมกันจำนวนหลายฟอง เมื่อมีไข่ 1 ฟองที่เติบโตและแข็งแรงกว่าไข่ฟองอื่น ๆ ที่เหลือจะหยุดการเติบโตหรือฝ่อลง โดยปกติตลอดชีวิต ร่างกายผู้หญิงจะผลิตไข่ทั้งหมดประมาณ 400 ฟอง เมื่อไข่สมบูรณ์พร้อมสำหรับการสืบพันธุ์แล้ว จะเกิดการตกไข่ (ovulation) ไข่ดังกล่าวจะเคลื่อนตัวไปยังท่อนำไข่ ซึ่งเชื่อมต่อกับมดลูก เพื่อรอปฏิสนธิกับตัวอสุจิ หรือเซลล์สืบพันธุ์เพศชาย ทั้งนี้ หากได้ปฏิสนธิกับตัวอ่อน ไข่จะเคลื่อนไปฝังตัวที่ผนังมดลูก และเกิดการตั้งครรภ์ หากไม่ได้รับการปฏิสนธิ ไข่จะเคลื่อนไปที่มดลูกและฝ่อสลายไปในที่สุด และรังไข่จะเริ่มกระบวนการผลิตไข่อีกครั้ง ผลิตฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนซึ่งผลิตจากรังไข่ ประกอบด้วย เอสโตรเจน (Estrogen) เป็นฮอร์โมนซึ่งมีความสำคัญมากในเพศหญิง […]


การคุมกำเนิด

ยาคุมพรีม ใช้อย่างไร มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

ยาคุมพรีม (Preme) เป็นยาเม็ดรวมฮอร์โมนสำหรับรับประทานเพื่อคุมกำเนิด ประกอบด้วยตัวยาฮอร์โมน ไซโปรเทอโรน อะซีเตท (Cyproterone Acetate) และเอทินิล เอสทราไดออล (Ethinyl Estradiol) ยาคุมพรีมแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือยาคุมชนิด 21 เม็ดและยาคุมชนิด 28 เม็ด ทั้งนี้ ก่อนเลือกใช้ยาคุมพรีม ควรปรึกษาและเข้ารับการประเมินภาวะสุขภาพจากคุณหมอหรือเภสัชกรเสียก่อน เนื่องจากการใช้ยาคุมพรีมอาจมีประสิทธิภาพต่อการคุมกำเนิดและส่งผลต่อสุขภาพแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล [embed-health-tool-ovulation] ยาคุมพรีม คืออะไร  ยาคุมพรีม เป็นยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมแบบรับประทาน ประกอบด้วยฮอร์โมนไซโปรเทอโรน อะซีเตท 2 มิลลิกรัม และเอทินิล เอสทราไดออล 0.035 มิลลิกรัม ยาคุมพรีมออกฤทธิ์คุมกำเนิด โดยยับยั้งการตกไข่ ทำให้เกิดเมือกที่ปากมดลูก ซึ่งขัดขวางการเดินทางของเชื้ออสุจิ ที่หลั่งเข้ามาในช่องคลอดจากการมีเพศสัมพันธ์ รวมทั้งออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) ซึ่งอาจทำให้สิวและอาการหน้ามันลดลงด้วย ยาคุมพรีมแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ยาคุมพรีมแบบ 21 เม็ด และ 28 เม็ด โดยแบบหลัง ประกอบด้วยเม็ดยา 21 เม็ด เช่นเดียวกับแบบแรก […]


สุขภาพทางเพศ

ประจำเดือนขาด เกิดจากสาเหตุใด

ประจำเดือนขาด อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การตั้งครรภ์ การให้นมบุตร การเข้าสู่หรืออยู่ในวัยหมดประจำเดือน การรับประทานยาบางชนิด รวมถึงอาจเกิดจากปัญหาสุขภาพที่ส่งผลทำให้ประจำเดือนขาด ดังนั้น หากพบว่าประจำเดือนขาด ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือประจำเดือนขาดไป 3 เดือน ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยหาสาเหตุที่แน่ชัดและรับการรักษา [embed-health-tool-ovulation] ประจำเดือน คืออะไร  ประจำเดือน คือ เลือดที่ออกมาจากทางช่องคลอดเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์ ผู้หญิงอาจเริ่มมีประจำเดือนตอนอายุประมาณ 11-14 ปี โดยเฉลี่ยผู้หญิงจะมีรอบประจำเดือนประมาณ 24-38 วัน และจะมีประจำเดือนครั้งละประมาณ 3-5 วัน แต่ไม่ควรเกิน 7 วัน นอกจากนี้ หากมีประจำเดือนผิดปกติ เช่น ปริมาณเลือดประจำเดือนมาน้อยหรือมามากเกินไป ประจำเดือนขาด รอบเดือนมีความคลาดเคลื่อน ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยหาสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนผิดปกติ เมื่อทราบสาเหตุแล้ว จะได้รักษาได้อย่างเหมาะสมที่สุด สาเหตุที่ประจำเดือนขาด ประจำเดือนขาดอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้  การตั้งครรภ์ เนื่องจากร่างกายของผู้หญิงจะไม่มีการตกไข่ในช่วงตั้งครรภ์ จึงส่งผลให้ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่มีประจำเดือน การเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน มักเริ่มเมื่ออายุประมาณ 50 ปี แต่ผู้หญิงบางคนอาจเริ่มมีการตกไข่ที่คลาดเคลื่อนจากเดิม เนื่องจากร่างกายกำลังปรับตัวเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ประจำเดือนขาดหรือประจำเดือนมาไม่ปกติ ก่อนที่จะหมดประจำเดือนจริง ๆ การคุมกำเนิด ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานยาคุมกำเนิด การฉีดยาคุมกำเนิดหรือการฝังยาคุมกำเนิด ก็อาจทำให้ประจำเดือนขาดได้ […]


สุขภาพทางเพศ

วิธีแก้ปวดท้องประจำเดือน มีวิธีใดบ้าง

ปวดท้องประจำเดือน เป็นอาการปวดท้องน้อยหรือบริเวณอุ้งเชิงกรานที่เกิดขึ้นขณะมีประจำเดือน มีลักษณะปวดบีบบริเวณท้องน้อย 2-3 ชั่วโมงก่อนหรือหลังเริ่มมีประจำเดือน อาการจะมากที่สุดในช่วงที่มีเลือดระดูออกมาก มักมีอาการอยู่ประมาณ 1 วัน แต่อาจพบมีอาการได้นานถึง 2-3 วัน พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ จนถึงวัยหมดประจำเดือน ภาวะปวดท้องประจำเดือน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบปฐมภูมิ (Primary dysmenorrhea) และแบบทุติยภูมิ (Secondary dysmenorrhea) ภาวะปวดท้องประจำเดือนแบบปฐมภูมิมีลักษณะปวดบีบบริเวณท้องน้อยในขณะมีประจำเดือนโดยที่ไม่มีพยาธิสภาพในช่องอุ้งเชิงกราน ในขณะที่ภาวะปวดท้องประจำเดือนทุติยภูมิเป็นการปวดที่เกิดจากพยาธิสภาพในช่องอุ้งเชิงกราน เช่น โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) นอกจากอาการปวดท้องน้อยขณะมีประจำเดือน อาจพบอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะ ปวดหลัง ผู้หญิงบางคนอาจมีอาการปวดประจำเดือนรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้น หากทราบ วิธีแก้ปวดท้องประจำเดือน ที่เหมาะสม อาจช่วยบรรเทาอาการได้ [embed-health-tool-ovulation] ประจำเดือน คืออะไร  ประจำเดือน คือ เลือดที่ไหลออกมาจากทางช่องคลอดทุกเดือนเมื่อถึงช่วงวัยเจริญพันธุ์ ผู้หญิงส่วนใหญ่จะเริ่มมีประจำเดือนตอนอายุ 11-14 ปี และจะมีประจำเดือนต่อเนื่องไปจนถึงอายุประมาณ 45-55 ปี หลังจากนั้นจะเริ่มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน หรือที่เรียกว่าวัยทอง ทั้งนี้ ประจำเดือนปกติอาจมาประมาณ 3-5 […]


สุขภาพทางเพศ

ไข้ทับระดู อาการป่วยเมื่อเป็นประจำเดือนที่ควรรู้

ไข้ทับระดู เป็นปัญหาสุขภาพหญิงที่พบได้ในผู้หญิงที่ยังอยู่ในวัยมีประจำเดือน มักเกิดขึ้นในช่วงก่อนหรือช่วงที่กำลังเป็นประจำเดือน โดยทั่วไปอาการจะไม่รุนแรงนักและสามารถหายได้เองจากการรับประทานยาลดไข้ หรือยาแก้ปวด สาเหตุอาจเกิดจากระดับฮอร์โมนภายในร่างกายแปรปรวนในช่วงมีประจำเดือน แต่หากมีอาการที่รุนแรง เช่น มีไข้สูง หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน มีตกขาวผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณของภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณช่องคลอด ซึ่งควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยและรักษาให้ทันท่วงที [embed-health-tool-ovulation] ไข้ทับระดู คืออะไร ไข้ทับระดู เป็นอาการป่วยที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนและระหว่างเป็นประจำเดือน ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายอ่อนแอและมีภูมิคุ้มกันต่ำ อาจทำให้เกิดอาการป่วยไข้ได้ ไข้ทับระดูแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ ไข้ทับระดูทั่วไปที่ทำให้เกิดอาการไข้ต่ำ ๆ รู้สึกไม่สบายตัว ปวดท้อง ปวดหลัง โดยทั่วไปสามารถหายได้เองหลังรักษาเบื้องต้น เช่น รับประทานยาลดไข้ หรือยาแก้ปวด ไข้ทับระดูที่มีภาวะแทรกซ้อนร่วมด้วย ทำให้เกิดอาการที่รุนแรงกว่า เช่น เกิดไข้สูง หนาวสั่น วิงเวียนศีรษะ มีตกขาวผิดปกติ สาเหตุอาจเกิดจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา อาจต้องรักษาตามเชื้อที่พบ เช่น หากเป็นเพราะการติดเชื้อแบคทีเรีย อาจใช้ยาปฏิชีวนะตามใบสั่งยาเพื่อฆ่าเชื้อ ไข้ทับระดู เกิดจากอะไร ไข้ทับระดู เป็นอาการไข้หรือความรู้สึกไม่สบายตัวที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนหรือช่วงที่เป็นประจำเดือน ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่มีความเป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) […]


สุขภาพทางเพศ

มดลูกต่ำ สาเหตุ อาการ การรักษา

มดลูกต่ำ เป็นภาวะที่มดลูกหย่อน หรือเคลื่อนตัวออกจากตำแหน่งเดิมที่อยู่บริเวณอุ้งเชิงกราน โดยปกติกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อในอุ้งเชิงกรานจะพยุงมดลูกไว้ แต่เมื่อกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อบริเวณนั้นเสื่อมสมรรถภาพหรือบาดเจ็บ จึงไม่สามารถพยุงมดลูกให้อยู่ในตำแหน่งเดิมได้ ส่งผลให้มดลูกต่ำและเคลื่อนตัวลงมาอยู่บริเวณช่องคลอด ภาวะนี้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การตั้งครรภ์ อายุที่มากขึ้น การยกของหนัก การไอหรือท้องผูกเรื้อรัง ซึ่งมักทำให้ต้องเกร็งหน้าท้องหรือเบ่งอวัยวะบริเวณมดลูกบ่อยครั้ง ทั้งนี้ การรักษามดลูกต่ำอาจทำได้ด้วยการดูแลตัวเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย ทั้งนี้ หากภาวะมดลูกต่ำรุนแรงและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับคำปรึกษาและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมที่สุด [embed-health-tool-ovulation] มดลูกต่ำ เกิดจากอะไร สาเหตุที่ทำให้มดลูกต่ำหรือมดลูกหย่อนตัว อาจมีดังนี้ การตั้งครรภ์และการคลอด การคลอดลูกอาจทำให้มดลูกหย่อนตัวลงได้ โดยเฉพาะเมื่อตั้งครรภ์มาแล้วหลายครั้ง หรือคลอดลูกที่มีขนาดตัวใหญ่กว่าปกติ น้ำหนักตัวเยอะ อาจเพิ่มแรงกดบริเวณกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ทำให้มดลูกต่ำ อายุมากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะในวัยหมดประจำเดือน ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายจะลดลง ส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแอและทำให้มดลูกต่ำได้ ปัญหาสุขภาพ เช่น ท้องผูกเรื้อรัง มักทำให้ต้องนั่งเบ่งเป็นเวลานานและเกิดแรงกดในช่องท้อง จนอาจเกิดภาวะมดลูกต่ำ ไอเรื้อรังหรือหลอดลมอักเสบ ทำให้เกิดแรงดันภายในช่องท้อง กระทบต่ออวัยวะภายใน และดันให้มดลูกขยับลงไปอยู่ใกล้ช่องคลอดมากขึ้น เนื้องอกในมดลูก เนื้องอกอาจถ่วงให้มดลูกหย่อนหยานและเคลื่อนตัวลงต่ำได้ การยกของหนักเป็นประจำ อาจทำให้เกิดแรงกดบริเวณช่องท้อง เมื่อต้องเกร็งท้องเป็นเวลานานก็จะทำให้มดลูกเคลื่อนตัวต่ำ อาการของคนที่มีมดลูกต่ำ อาการของผู้ที่มี มดลูกต่ำ อาจสังเกตได้ดังนี้ รู้สึกหน่วงตึงบริเวณช่องท้องส่วนล่าง กระดูกเชิงกราน หรือช่องคลอด […]


สุขภาพทางเพศ

ปวดท้องน้อยก่อนเป็นประจําเดือน สาเหตุเกิดจากอะไร

ปวดท้องน้อยก่อนเป็นประจําเดือน คือ อาการปวดหน่วงบริเวณท้องน้อย และอาจปวดไปจนถึงหลังหรือต้นขา เกิดจากฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อขับเยื่อบุโพรงมดลูกออกมาในช่วงที่เป็นประจำเดือน อาการนี้อาจรุนแรงแตกต่างกันไปในแต่ละคน และความรุนแรงของอาการอาจลดลงเมื่ออายุมากขึ้น และอาจหายไปได้เองหลังมีบุตร นอกจากนี้ อาการปวดท้องยังอาจเป็นสัญญาณของภาวะแทรกซ้อนบางประการ เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกมดลูก หากอาการปวดรุนแรงจนกระทบการใช้ชีวิตประจำวัน ควรไปพบคุณหมอเพื่อรักษาอาการปวดท้องน้อยก่อนเป็นประจำเดือน และวินิจฉัยเพิ่มเติมในกรณีที่อาจมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย [embed-health-tool-ovulation] ปวดท้องน้อยก่อนเป็นประจําเดือน เกิดจากอะไร การปวดท้องน้อยก่อนเป็นประจำเดือน อาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ ปวดประจำเดือนปฐมภูมิ (Primary dysmenorrhea) เป็นอาการปวดประจำเดือนทั่วไป ที่เกิดจากสารพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandins) กระตุ้นกล้ามเนื้อมดลูกให้บีบตัวและหดเกร็งเพื่อขับเยื่อบุโพรงมดลูกออกมาเป็นประจำเดือน หากมดลูกหดตัวรุนแรงเกินไป อาจไปกดทับหลอดเลือดบริเวณใกล้เคียง และขัดขวางการส่งออกซิเจนไปเลี้ยงบริเวณมดลูกได้ เมื่อมดลูกขาดออกซิเจนไปหล่อเลี้ยง จึงทำให้เกิดอาการปวดท้องและมีตะคริว การปวดประจำเดือนลักษณะนี้มักมีอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่ อาการปวดศีรษะ วิงเวียน คลื่นไส้ ที่เป็นผลมาจากระดับฮอร์โมนแปรปรวน ปวดประจำเดือนทุติยภูมิ (Secondary Dysmenorrhea) เป็นอาการ ปวดท้องน้อยก่อนประจำเดือน และระหว่างเป็นประจำเดือนที่รุนแรงและเรื้อรัง อาจเกิดได้จากปัญหาสุขภาพ ดังต่อไปนี้ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis externa) เกิดจากเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกฝังตัวและเจริญผิดที่ โดยอาจเข้าไป โดยอาจเข้าไปอยู่ภายนอกมดลูก เช่น บริเวณท่อนำไข่ รังไข่ ลำไส้ หรือภายในช่องอุ้งเชิงกราน ทำให้เกิดพังผืดหรือเป็นถุงน้ำหรือช็อกโกแลตซีสต์ ภาวะมดลูกโต (Adenomyosis) […]


สุขภาพทางเพศ

การตรวจภายใน คืออะไร ต้องตรวจบ่อยแค่ไหน และควรเตรียมตัวอย่างไร

การตรวจภายใน คือ การตรวจอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง ทั้งภายนอกและภายในบริเวณอุ้งเชิงกราน ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีตรวจคัดกรองอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้หญิง เช่น ตกขาวผิดปกติ เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ผู้หญิงที่มีอายุ 21 ปีขึ้นไปที่เคยมีเพศสัมพันธ์ควรเข้ารับการการตรวจภายในเป็นประจำทุกปี หรือตามที่คุณหมอแนะนำ หากพบปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์ จะได้รักษาได้ทันท่วงที [embed-health-tool-ovulation] การตรวจภายใน คืออะไร  การตรวจภายใน คือ การตรวจอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งภายนอกและภายในบริเวณอุ้งเชิงกรานของผู้หญิง เพื่อหาสัญญาณความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ ภายในอุ้งเชิงกราน เช่น  ช่องคลอด เป็นช่องทางให้ประจำเดือนไหลออกมา และเป็นทางผ่านของอสุจิที่จะเข้าสู่มดลูก ทั้งยังเป็นช่องทางให้ทารกออกจากมดลูกเมื่อถึงกำหนดคลอดด้วย  ปากมดลูก เป็นทางผ่านของประจำเดือน และเป็นช่องทางที่อสุจิจะเดินทางเข้าไปผสมกับไข่ในมดลูก มดลูก เป็นที่ฝังตัวของตัวอ่อนที่เกิดจากไข่ที่ได้รับการผสมกับอสุจิแล้วเกิดการปฎิสนธิ ไข่จะเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนทารกต่อไป รังไข่ มีหน้าที่ผลิตไข่ และสร้างฮอร์โมนเพศหญิง ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโทรเจน (Estrogen) ฮอร์โมนโปรเจสเทอโรน (Progesterone) ท่อนำไข่ เป็นท่อเล็ก ๆ อยู่ที่มดลูกทั้งสองข้าง เชื่อมต่อระหว่างมดลูกกับรังไข่ทั้งสองข้าง ทำหน้าที่เป็นทางผ่านให้ไข่เดินทางจากรังไข่ไปสู่มดลูก กระเพาะปัสสาวะ มีหน้าที่กักเก็บปัสสาวะ โดยทั่วไปจะเก็บปัสสาวะได้ประมาณ 350-500 มิลลิลิตร ทวารหนัก ส่วนท้ายสุดของระบบขับถ่าย มีหน้าที่เป็นช่องทางขับถ่ายอุจจาระ วัตถุประสงค์ในการตรวจภายใน คุณหมออาจแนะนำให้ผู้หญิงตรวจภายใน เพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน