สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

ไขข้อสงสัย เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เกี่ยวข้องกันอย่างไร

เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก ทั้ง 2 โรคนี้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร? คุณเคยสงสัยหรือไม่? วันนี้เราจะมาหาคำตอบถึงความเกี่ยวข้องกันของ เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เพื่อให้คุณผู้หญิงทุกคนได้ระมัดระวังตัวมากยิ่งขึ้น ถ้าพร้อมแล้วหาคำตอบความเกี่ยวข้องของเชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูกได้ในบทความนี้ HPV คือกลุ่มของเชื้อไวรัสที่เกี่ยวข้องมากกว่า 200 ชนิด บางชนิดแพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางช่องปาก โดยจะแบ่งออกเป็นกล่มที่มีความเสี่ยงต่ำกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง HPV กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดโรค แต่บางชนิดอาจทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก ปาก หรือลำคอได้ HPV กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสามารถทำให้เกิดมะเร็งได้หลายประเภทหนึ่งในนั้น คือ มะเร็งปากมดลูก เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เกี่ยวข้องกันอย่างไร มะเร็งปากมดลูกในสตรีส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ ฮิวแมนแพพพิลโลมาไวรัส (Human papillomavirus : HPV) ซึ่งเป็นกลุ่มของเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 200 ชนิด เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายในระหว่างมีเพศสัมพันธ์และการทำกิจกรรมทางเพศอื่น ๆ  เช่น การสัมผัสทางผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ เชื้อ HPV อย่างน้อย 15 ชนิด มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก ส่วนใหญ่ HPV16 และ HPV18 จะเป็นตัวที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด โดยเชื้อ HPV ที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้จะเข้าไปหยุดการทำงานของเซลล์ ซึ่งส่งผลให้เซลล์สืบพันธ์มีความผิดปกติแบบควบคุมไม่ได้ นำไปสู่การเจริญเติบโตของเนื้องอกมะเร็ง ปัจจัยเสี่ยงเชื้อเอชพีวีพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูก ชนิดของเชื้อ […]

หมวดหมู่ สุขภาพทางเพศ เพิ่มเติม

การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ

การใช้ถุงยางอนามัย ให้ถูกต้อง ไม่รั่ว ไม่หลุด และมีข้อควรระวังอะไรบ้าง

การใช้ถุงยางอนามัย คือ การสวมใส่ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ ซึ่งนับเป็นวิธีที่ปลอดภัย ใช้ได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง ค่าใช้จ่ายน้อย และมีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง ทั้งนี้ การใช้ถุงยางอนามัยจำเป็นต้องใส่ให้ถูกวิธีเพื่อการป้องกันที่ได้ผล  และมีข้อควรระวังที่จำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจก่อนใช้งาน ถุงยางอนามัย คืออะไร ถุงยางอนามัย เป็นอุปกรณ์สำหรับคุมกำเนิดและป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยการสวมใส่ให้อวัยวะเพศ ส่วนใหญ่ทำจากน้ำยางธรรมชาติหรือน้ำยางสังเคราะห์ มีขนาดเล็กและบาง แต่ขยายได้ตามขนาดของอวัยวะเพศ แยกเป็นถุงยางอนามัยสำหรับเพศชายและสำหรับเพศหญิง ซึ่งมีความแตกต่างกันดังนี้ ถุงยางอนามัยสำหรับเพศชาย เป็นแบบใช้ภายนอก โดยสวมครอบองคชาตเมื่อแข็งตัว เพื่อป้องกันน้ำอสุจิไหลเข้าสู่ช่องคลอด และอาจทำให้ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม รวมถึงป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองใน หนองในเทียม ซิฟิลิส หูดหงอนไก่ เอชไอวี (HIV) ถุงยางอนามัยของผู้หญิง เป็นแบบใช้ภายใน โดยสอดเข้าไปในช่องคลอด เพื่อไม่ให้น้ำอสุจิไหลเข้าสู่ช่องคลอด และป้องกันความเสี่ยงเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หากใช้อย่างถูกวิธี ถุงยางอนามัยจะลดโอกาสตั้งครรภ์และการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้ประมาณ 98 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าใช้ผิดวิธีหรือไม่เหมาะสม ประสิทธิภาพของการป้องกันโรคและการตั้งครรภ์อาจลดลงเหลือ 75 เปอร์เซ็นต์ การใช้ถุงยางอนามัย ที่ถูกต้อง ทำอย่างไร วิธีการใช้ถุงยางอนามัย ทั้งของเพศชายและของเพศหญิง มีดังต่อไปนี้ การใช้ถุงยางอนามัยสำหรับเพศชาย นำถุงยางอนามัยออกจากห่อ เวลาฉีดซองให้ระวังไม่ให้ถุงยางอนามัยเสียหาย ฉีดขาด ควรตรวจสอบว่ายังอยู่ในสภาพดี ไม่ขาด ไม่รั่วทุกครั้งก่อนการใช้งาน หากพบว่าถุงยางอนามัยหมดอายุ หรือมีลักษณะผิดปกติ […]


การคุมกำเนิด

ฉีดยาคุม มีประโยชน์และผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง

ฉีดยาคุม เป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่มีประสิทธิภาพสูงและปลอดภัย การฉีดยาคุมกำเนิด 1 ครั้งอาจช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ประมาณ 3 เดือน ช่วงหลังคลอดหรือให้นมบุตรก็สามารถเข้ารับการฉีดยาคุมกำเนิดได้ การฉีดยาคุมกำเนิดแต่ละครั้งใช้เวลาไม่นาน มีราคาย่อมเยา และอาจสะดวกกว่าการกินยาเม็ดคุมกำเนิดสำหรับบางคน เนื่องจากแก้ไขปัญหาการลืมรับประทานยา อย่างไรก็ตาม การศึกษาประโยชน์และผลข้างเคียงของการฉีดยาคุมกำเนิด อาจช่วยให้ทราบว่าการคุมกำเนิดวิธีนี้เหมาะกับตนเองหรือไม่ และอาจทำให้สามารถคุมกำเนิดด้วยการฉีดยาคุมได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยยิ่งขึ้น [embed-health-tool-ovulation] การทำงานของยาคุมกำเนิดแบบฉีด ยาคุมกำเนิดแบบฉีดชนิดที่นิยมใช้ในประเทศไทย ได้แก่ ยาคุมกำเนิดแบบฉีดชนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสตินอย่างเดียว (Progestin-only Injectable Contraceptives) หรือที่เรียกว่า ยาฉีดเมดร็อกซีโพรเจสเทอโรนแอซีเทต (Medroxyprogesterone Acetate) ยาคุมชนิดนี้มีเพียงโปรเจสตินซึ่งเป็นฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในรูปแบบสังเคราะห์ ไม่มีส่วนผสมของฮอร์โมนในกลุ่มเอสโตรเจน ที่อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อารมณ์แปรปรวน คลื่นไส้อาเจียน วิธีฉีดยาคุมกำเนิดทำได้โดยฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อบริเวณต้นแขนข้างที่ไม่ถนัดหรือบริเวณกล้ามเนื้อสะโพก ฮอร์โมนโปรเจสตินจะซึมเข้าสู่กระแสเลือดและช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ด้วยการทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางลงจนตัวอ่อนที่เกิดจากการปฏิสนธิไม่สามารถฝังตัวได้ ทำให้มูกมดลูกเหนียวขึ้นจนอสุจิผ่านเข้าไปผสมกับไข่ที่บริเวณปากมดลูกได้ยากขึ้น ทั้งยังช่วยยับยั้งการตกไข่ด้วย เพื่อให้ยาคุมกำเนิดแบบฉีดออกฤทธิ์อย่างต่อเนื่อง ควรฉีดทุก 3 เดือน และควรไปพบคุณหมอตามนัดฉีดยาหรือภายในไม่เกิน 1 สัปดาห์หากครบกำหนดฉีดยาคุมกำเนิดรอบใหม่ การฉีดยาคุมกำเนิด มีประโยชน์อย่างไร ประโยชน์ของการฉีดยาคุมกำเนิด อาจมีดังนี้ มีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์สูงและปลอดภัย ช่วยให้ป้องกันการตั้งครรภ์ได้สะดวกขึ้น เนื่องจากไม่ต้องกินยาทุกวัน จึงอาจช่วยลดความเสี่ยงในการลืมกินยาเม็ดคุมกำเนิด และอาจออกฤทธิ์ได้นานถึง 3 เดือน ไม่กระทบต่อการมีเพศสัมพันธ์ ราคาถูก อาจเข้าถึงได้ง่ายกว่าการคุมกำเนิดประเภทอื่น เช่น ห่วงอนามัยคุมกำเนิด […]


การคุมกำเนิด

ฝังยาคุมกำเนิด ดีหรือไม่ เหมาะกับใคร

การ ฝังยาคุม เป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ออกฤทธิ์ได้นาน สามารถใช้คุมกำเนิดระยะยาวได้ถึง 3-5 ปี ขึ้นอยู่กับยี่ห้อที่เลือกใช้ การฝังยาคุมกำเนิดมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูง สามารถฝังและนำออกยาคุมออกได้อย่างรวดเร็ว อาจไม่ต้องผ่าตัดหรือใช้เวลาพักฟื้นนาน อีกทั้งยังไม่ต้องกินยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นประจำทุกเดือน อย่างไรก็ตาม ผู้ที่สนใจป้องกันการตั้งครรภ์ด้วยการใช้ยาคุมแบบฝังควรศึกษาถึงประโยชน์และผลข้างเคียงให้ถี่ถ้วน จะได้ทราบว่าเป็นวิธีที่เหมาะสมกับตัวเองหรือไม่ [embed-health-tool-ovulation] ยาคุมกำเนิดแบบฝังทำงานอย่างไร การใช้ยาคุมกำเนิดแบบฝังสามารถทำได้โดยการฝังหลอดยาขนาดเล็ก ยืดหยุ่นสูง ขนาดประมาณ 4 เซนติเมตรหรือประมาณไม้ขีดไฟไว้ใต้ผิวหนังบริเวณท้องแขนท่อนบนของแขนข้างที่ไม่ถนัด ภายในหลอดยาจะบรรจุฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) หรือบางครั้งเรียกว่า โปรเจสโตเจน (Progestogen) ซึ่งจะค่อย ๆ ถูกปล่อยเข้าสู่กระแสเลือดประมาณวันละ 70-60 ไมโครกรัม ตัวฮอร์โมนจะไปกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกฝ่อลง ทำให้ตัวอ่อนที่เกิดจากการปฏิสนธิฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูกได้ยากขึ้น กระตุ้นให้มูกมดลูกเหนียวข้นจนอสุจิเข้าไปสู่ปากมดลูกได้ยากขึ้น ทั้งยังมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของไข่และป้องกันไม่ให้มีการตกไข่ สามารถใช้คุมกำเนิดระยะยาวได้นานถึง 3-5 ปี ประโยชน์ของการ ฝังยาคุม ประโยชน์ของการฝังยาคุมกำเนิด อาจมีดังนี้ สามารถคุมกำเนิดอย่างได้ผลและมีประสิทธิภาพ ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน อาจมีอาการปวดท้องน้อยลง นอกจากนี้ รอบเดือนอาจมีระยะเวลาสั้นลงหรืออาจไม่มาเลย ใช้สะดวก อาจไม่ต้องกังวลเรื่องวิธีใช้ที่ถูกต้องเหมือนการคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น เช่น ถุงยาง ยาเม็ดคุมกำเนิด แผ่นแปะคุมกำเนิด ยาฉีดคุมกำเนิด ไม่มีส่วนผสมของฮอร์โมนเอสโตรเจน จึงไม่เกิดผลข้างเคียง เช่น วิงเวียนศีรษะ อารมณ์แปรปรวนง่าย เหมือนกับการกินยาเม็ดคุมกำเนิด […]


สุขภาพทางเพศ

ต่อมลูกหมากมีความสำคัญอย่างไร เรื่องของอวัยวะภายในที่ผู้ชายควรรู้

ต่อมลูกหมากมีความสำคัญอย่างไร? ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะภายในของระบบสืบพันธุ์เพศชาย อยู่บริเวณเชิงกรานรอบ ๆ ท่อปัสสาวะ มีหน้าที่ผลิตน้ำเมือกสำหรับหล่อเลี้ยงตัวอสุจิ นับเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญต่อระบบสืบพันธุ์อย่างมาก [embed-health-tool-bmr] ต่อมลูกหมาก คืออะไร ต่อมลูกหมาก เป็นอวัยวะภายในของระบบสืบพันธุ์เพศชาย อยู่บริเวณใต้กระเพาะปัสสาวะ และห่อหุ้มรอบท่อปัสสาวะส่วนต้น ต่อมลูกหมากมีขนาดเท่าลูกเกาลัดหรือประมาณลูกปิงปอง หนักราว 15-20 กรัม จะหยุดโตเมื่อผู้ชายอายุประมาณ 20 ปี ต่อมลูกหมากมีหน้าที่ผลิตของเหลวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของน้ำอสุจิ เพื่อหล่อเลี้ยงตัวอสุจิและนำพาตัวอสุจิออกสู่ภายนอกร่างกายเมื่อมีการหลั่งในขณะที่มีเพศสัมพันธ์ แม้ต่อมลูกหมากจะอยู่ภายในร่างกาย แต่สามารถตรวจหาความผิดปกติได้ด้วยการสอดนิ้วมือผ่านรูทวารเข้าไปสัมผัสและตรวจสอบขนาดหรืออาการบวมของต่อมลูกหมากเรียกว่า การตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนัก ในเพศหญิง อวัยวะภายในซึ่งเปรียบเสมือนต่อมลูกหมากคือต่อมสกีน (Skene's Gland หรือ Paraurethral Gland) โดยอยู่บริเวณส่วนปลายของท่อปัสสาวะ ทำหน้าที่หลั่งสารหล่อลื่นให้ทั้งช่องคลอดและท่อปัสสาวะ ต่อมลูกหมากมีความสำคัญอย่างไร ต่อมลูกหมากมีความสำคัญ ดังนี้ ผลิตส่วนประกอบของน้ำอสุจิ หรือของเหลวสภาพเป็นกรดซึ่งคิดเป็น 15-30 เปอร์เซ็นต์ของน้ำอสุจิทั้งหมด สำหรับหล่อเลี้ยงตัวอสุจิ ขับน้ำอสุจิออกนอกร่างกาย กล้ามเนื้อบริเวณต่อมลูกหมากทำหน้าที่ขับน้ำอสุจิให้ออกจากองคชาตเมื่อถึงจุดสุดยอด ความแรงของน้ำอสุจิคือปัจจัยสำคัญที่ช่วยดันให้ตัวอสุจิเข้าไปในช่องคลอดได้ลึกพอ และมีโอกาสว่ายไปผสมกับไข่เพื่อปฏิสนธิ ทำให้องคชาตแข็งตัว เส้นประสาทของต่อมลูกหมากจะกระตุ้นให้เลือดจำนวนมากไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงองคชาตและค้างอยู่ในเนื้อเยื่อฟองน้ำในองคชาต ทำให้องคชาตแข็งตัวและพร้อมสำหรับการสอดใส่เข้าไปในช่องคลอดของเพศหญิง มีเอนไซม์ที่เปลี่ยนฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ให้เป็นฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (Dihydrotestosterone; DHT) ควบคุมปัสสาวะ ไม่ให้รั่วไหลออกจากกระเพาะปัสสาวะขณะรอขับถ่าย เพราะหากเกิดการรั่วไหลอาจไปปนเปื้อนกับตัวอสุจิซึ่งรอหลั่งออกเมื่อถึงจุดสูงยอด โรคที่อาจเกิดขึ้นกับ ต่อมลูกหมาก โรคที่อาจเกิดกับต่อมลูกหมาก อาจมีดังนี้ ต่อมลูกหมากอักเสบ มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แต่ในบางรายอาจไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน […]


สุขภาพทางเพศ

ตรวจช่องคลอด การเตรียมตัว และความเสี่ยงที่ผู้หญิงควรรู้

การตรวจช่องคลอด หรือการตรวจภายใน เป็นการตรวจที่อาจทำให้ทราบถึงสุขภาพภายในช่องคลอดและบริเวณอวัยวะเพศว่าเสี่ยงเป็นโรคหรือมีการติดเชื้อใด ๆ หรือไม่ เพื่อให้สามารถทำการรักษาได้ทันท่วงทีก่อนที่อาการจะลุกลาม ก่อนการตรวจช่องคลอด ควรเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเข้ารับการตรวจ และคอยสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นหลังการตรวจ เช่น เจ็บช่องคลอด เลือดออกมาก จะได้แจ้งคุณหมอให้ทราบในทันที [embed-health-tool-ovulation] ประโยชน์ของการตรวจช่องคลอด การตรวจช่องคลอด เป็นการตรวจเพื่อหาสัญญาณของการเกิดภาวะต่าง ๆ เช่น ซีสต์ในรังไข่ ปัญหาของท่อรังไข่ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เนื้องอกในมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากมดลูก ซึ่งควรตรวจเป็นประจำทุกปี โดยสามารถเริ่มตรวจได้ตั้งแต่อายุ 21 ปี และสำหรับผู้ที่กำลังวางแผนการตั้งครรภ์ก็ควรทำการตรวจช่องคลอดเพื่อคัดกรองโรคที่อาจเป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ผู้ที่มีอาการตกขาวผิดปกติ เลือดออกทางช่องคลอด ปัญหาทางเดินปัสสาวะ ปวดบริเวณช่องคลอดขณะปัสสาวะและระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ก็ควรเข้ารับการตรวจช่องคลอดเพื่อคัดกรองโรคด้วยเช่นกัน การเตรียมตัวก่อนตรวจช่องคลอด การเตรียมตัวก่อนตรวจช่องคลอด ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ ควรนับเวลาที่รอบเดือนมา เพราะการตรวจช่องคลอดควรตรวจในวันที่ไม่มีประจำเดือน ทำความสะอาดบริเวณช่องคลอดและอวัยวะเพศให้สะอาดก่อนตรวจ ไม่ควรใช้ยาหรือครีมทาบริเวณช่องคลอดก่อนตรวจ หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือกิจกรรมที่มีการสอดวัตถุในช่องคลอดก่อนตรวจอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ขั้นตอนการตรวจช่องคลอด ขั้นตอนการตรวจช่องคลอด มีดังนี้ การตรวจช่องคลอดภายนอกด้วยสายตา เป็นการตรวจขั้นแรก โดยคุณหมออาจตรวจดูบริเวณภายนอกของช่องคลอดเพื่อมองหาความผิดปกติ เช่น ช่องคลอดบวมแดง อาการคันเมื่อสัมผัส แผลพุพอง สีของตกขาวผิดปกติ โดยให้ถอดเสื้อผ้าส่วนล่างและนอนลงบนเตียงสำหรับตรวจภายใน พร้อมกับยกขาขึ้นวางบนที่วางขา เพื่อให้สะดวกต่อการตรวจ การตรวจช่องคลอดภายในด้วยสเปคคูลั่ม (Speculum) […]


สุขภาพทางเพศ

ทำหมันชาย ข้อดี ข้อเสีย และวิธีแก้หมัน

ทำหมันชาย หมายถึง การคุมกำเนิดถาวรในผู้ชาย ด้วยการตัดหรือผูกท่อนำอสุจิ เพื่อไม่ให้อสุจิซึ่งโตเต็มที่แล้วถูกส่งออกนอกร่างกายเมื่อมีเพศสัมพันธ์ และปฏิสนธิกับไข่ของฝ่ายหญิง จนทำให้เกิดการตั้งครรภ์ โดยปกติ การทำหมันชายมีโอกาสสำเร็จสูง จึงเหมาะกับผู้ชายซึ่งมีบุตรเพียงพอแล้วหรือไม่ต้องการมีบุตร ในกรณีอยากมีบุตรอีกครั้ง สามารถแก้หมันได้ แต่โอกาสสำเร็จค่อนข้างต่ำ ดังนั้น หากมีความประสงค์ที่จะทำหมันชาย ควรศึกษาข้อดี ข้อเสีย และพิจารณาให้ดีเสียก่อน ประเภทของการทำหมันชาย การทำหมันชาย อาจใช้เวลาราว 10-30 นาที โดยวิธีการทำหมันแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ ทำหมันแบบดั้งเดิม คือ การผ่าตัดโดยใช้มีดกรีดบริเวณถุงอัณฑะของคนไข้ ภายใต้ฤทธิ์ยาชาเพื่อหาหลอดนำอสุจิทั้ง 2 ข้างแล้วตัดหรือปิดผนึก ก่อนเย็บปิดแผล ทำหมันเจาะ คือ การผ่าตัดภายใต้ฤทธิ์ยาชาเช่นเดียวกับการทำหมันแบบดั้งเดิม ไม่ใช้มีดผ่าตัด แต่เป็นการใช้เครื่องมือขนาดเล็กเฉพาะทางการแพทย์เจาะผ่านผิวหนังบริเวณถุงอัณฑะเข้าไปในร่างกายเพื่อผูกหรือตัดหลอดนำอสุจิโดยใช้ความร้อน แผลจะเล็กกว่าการทำหมันแบบดั้งเดิม ไม่ต้องเย็บปิดแผลภายนอก และใช้เวลาพักฟื้นน้อยกว่า ทั้งนี้ ในการปิดผนึกหลอดนำอสุจิ นอกจากการผูกด้วยมือหรือจี้ด้วยความร้อน คุณหมออาจเลือกใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ซึ่งเรียกว่า Surgical Clips หรือใช้มากกว่าหนึ่งวิธีในการผ่าตัดทำหมัน เมื่อไรจึงทราบว่าทำหมันชายสำเร็จ การทำหมันชายอาจจะไม่ได้ผลทันที ผู้ที่ทำหมันแล้วจำเป็นต้องสวมถุงยางอนามัยป้องกันทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์เป็นระยะเวลา 1-3 เดือนหลังผ่าตัด หรือจนกว่าจะถึงเวลาที่คุณหมอนัดตรวจตัวอย่างน้ำเชื้อ โดยในการตรวจ คุณหมอจะให้หลั่งน้ำเชื้อใส่ภาชนะ เพื่อนำไปตรวจดูว่ายังมีตัวอสุจิหลงเหลืออยู่หรือไม่ หากไม่พบตัวอสุจิในน้ำเชื้อ แสดงว่าการทำหมันสำเร็จแล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์อีกต่อไป ทั้งนี้ […]


สุขภาพทางเพศ

ขลิบปลาย ขั้นตอนและการเตรียมตัว

ขลิบปลาย เป็นการขลิบส่วนปลายองคชาต ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งสำหรับช่วยรักษาความสะอาดของอวัยวะเพศชาย ลดความเสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงป้องกันความผิดปกติขององคชาต เช่น ภาวะหนังหุ้มปลายไม่เปิด หรือเป็นการขลิบตามประเพณีปฏิบัติซึ่งมักทำตั้งแต่แรกเกิดหรือในช่วงที่ยังเป็นเด็กชาย การเตรียมตัวก่อนขลิบปลาย การขลิบปลายองคชาต เป็นการผ่าตัดเล็ก ไม่จำเป็นต้องงดน้ำหรืออาหารก่อนการผ่าตัด อย่างไรก็ตาม  คุณหมอจะแนะนำให้งดรับประทานยาที่อาจส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพรินเป็นเวลา 7-10 วัน ก่อนเข้ารับการผ่าตัด ทั้งนี้ คุณหมอจะไม่อนุญาตให้เข้ารับการผ่าตัด เนื่องจากกรณีต่อไปนี้ เป็นโรคซึ่งทำให้เลือดหยุดไหลยาก เช่น โรคเลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia) รูเปิดของอวัยวะเพศอยู่ต่ำหรือสูงกว่าปกติ มีโรคที่ทำให้ต้องรับประทานยากดภูมิต้านทานอยู่ ซึ่งมีผลทำให้ติดเชื้อได้ง่ายจากการผ่าตัด องคชาตติดเชื้อ หรือเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นมะเร็งองคชาต ขั้นตอนการขลิบปลาย ขั้นตอนการขลิบปลายองคชาต แบ่งตามประเภทเครื่องมือการผ่าตัด ดังนี้ การผ่าตัดขลิบปลายองคชาตแบบดั้งเดิม ใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที และคนไข้สามารถกลับบ้านได้เลยหลังผ่าตัดเสร็จ โดยเริ่มแรก คุณหมอจะทำความสะอาดองคชาตของคนไข้และบริเวณโดยรอบ หลังจากนั้น จึงผ่าตัดตามขั้นตอน ดังนี้ ฉีดยาชาที่องคชาต รัดปลายองคชาตด้วยตัวหนีบหรือวงแหวนพลาสติก ตัดหนังหุ้มปลายออกด้วยมีดผ่าตัดหรือกรรไกร ทายาปฏิชีวนะหรือปิโตรเลียมเจลลีบริเวณองคชาต พันองคชาตด้วยผ้าพันแผล การขลิบปลายแบบไร้เลือด ขั้นตอนจะแตกต่างจากการขลิบปลายแบบดั้งเดิมเล็กน้อย และใช้เวลาผ่าตัดเพียง 10-15 นาที โดยหลังจากฉีดยาชาให้คนไข้แล้ว คุณหมอจะปฏิบัติดังนี้ สอดชิ้นส่วนของเครื่องมือผ่าตัด ซึ่งมีรูปทรงคล้ายกระดิ่ง เข้าไปในองคชาต หรือใต้หนังหุ้มปลาย กะขนาดและส่วนของปลายองคชาตซึ่งจะถูกตัดออก ใช้ปากท่อเครื่องมือผ่าตัดเฉพาะทางซึ่งมีรูปร่างคล้ายปืนครอบบนปลายองคชาตเพื่อตัดหนังหุ้มปลายและห้ามเลือดในเวลาเดียวกัน […]


สุขภาพทางเพศ

ปวดอัณฑะ สาเหตุ และการดูแลตัวเอง

ปวดอัณฑะ เป็นอาการที่พบได้ในผู้ชายเมื่อระบบสืบพันธุ์หรือระบบขับถ่ายเกิดภาวะผิดปกติหรือเป็นโรค เช่น อัณฑะอักเสบ ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ โรคถุงน้ำลูกอัณฑะ ในเบื้องต้นอาจดูแลตัวเองด้วยการรับประทานยาแก้ปวดหรือใช้น้ำแข็งประคบบริเวณอัณฑะ แต่หลังจากนั้น ควรพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงและรับการรักษาให้ถูกจุด [embed-health-tool-ovulation] ปวดอัณฑะ เกิดจากอะไร ปวดอัณฑะ มักเป็นอาการสืบเนื่องจากความผิดปกติบริเวณช่วงล่างของผู้ชาย ทั้งจากระบบสืบพันธุ์ ยกตัวอย่างเช่น อัณฑะอักเสบ อัณฑะอักเสบ อาจเกิดได้กับอัณฑะข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง เป็นผลจากการติดเชื้อแบคทีเรียโดยเฉพาะจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างหนองในหรือหนองในเทียม หรือจากการติดเชื้อของหลอดเก็บตัวอสุจิ หรือการติดเชื้อไวรัสซึ่งเป็นเชื้อชนิดเดียวกับโรคคางทูม หากไม่เคยได้รับวัคซีนโรคคางทูมมาก่อน อาจเพิ่มความเสี่ยงให้ป่วยเป็นอัณฑะอักเสบได้ อาการอื่น ๆ ซึ่งอาจพบได้ในผู้ป่วยอัณฑะอักเสบ คือ อัณฑะบวมข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้าง มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งอาจทำให้อัณฑะอักเสบประกอบด้วย การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และการผ่าตัดในระบบทางเดินปัสสาวะหรืออวัยวะเพศ วิธีการรักษา อัณฑะอักเสบรักษาได้ด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะ ทั้งในกรณีของการป่วยเนื่องจากแบคทีเรีย โดยการรักษาอัณฑะอักเสบเนื่องจากเชื้อไวรัส คุณหมออาจให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองเพิ่มเติมที่บ้าน ด้วยการประคบเย็นเป็นเวลา 15-20 นาที/ครั้ง ร่วมกับการให้สวมกางเกงในกีฬา (Athletic Supporter) เพื่อไม่ให้อัณฑะได้รับการกระทบกระเทือนเวลาเคลื่อนไหว ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ เป็นภาวะที่ลำไส้ยื่นออกจากช่องท้อง อาจพบก้อนนูนที่ขาหนีบ ซึ่งจะเห็นนูนชัดขึ้นเมื่อลำตัวตั้งตรงขณะนั่ง ยืน เดิน สาเหตุเกิดจากผนังหน้าท้องบางลงเนื่องจากอายุมากขึ้น รวมถึงพฤติกรรมที่ไปเพิ่มแรงดันในช่องท้อง เช่น การเบ่งอุจจาระ ทั้งนี้ ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ ทำให้อัณฑะบวมหรือปวดได้ […]


สุขภาพทางเพศ

ระบบสืบพันธุ์เพศชาย กับการทำหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ

ระบบสืบพันธุ์เพศชาย หมายถึง ระบบอวัยวะทั้งภายนอกและภายในของผู้ชาย ซึ่งทำงานร่วมกันเพื่อสืบพันธุ์ โดยระบบสืบพันธุ์เพศชายประกอบไปด้วยอวัยวะหลายอย่าง เช่น องคชาต อัณฑะ ต่อมลูกหมาก ต่อมคาวเปอร์ ซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกัน หากป่วยเป็นโรคบางอย่าง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อาจทำให้ระบบสืบพันธุ์เพศชายด้อยประสิทธิภาพลงก่อนวัยอันควร จำเป็นที่จะต้องดูแลสุขภาพทางเพศอยู่เสมอ รวมทั้งป้องกันตัวเองและรักษาความสะอาดเมื่อมีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ [embed-health-tool-heart-rate] อวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศชาย อวัยวะต่าง ๆ ในระบบสืบพันธุ์เพศชาย แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ อวัยวะที่สร้างและเก็บตัวอสุจิ ถุงอัณฑะ เป็นถุงผิวหนังซึ่งทำหน้าที่ห่อหุ้มและปกป้องอัณฑะ แยกออกเป็น 2 ถุงห้อยอยู่นอกร่างกายบริเวณระหว่างหน้าขาด้านหลังองคชาต รวมถึงเป็นศูนย์รวมเส้นประสาทและเส้นเลือดจำนวนมาก ถุงอัณฑะจะควบคุมอุณหภูมิของอัณฑะให้เหมาะแก่การผลิตตัวอสุจิ หรือเย็นกว่าอุณหภูมิของร่างกายเล็กน้อย อัณฑะ เป็นอวัยวะรูปทรงคล้ายไข่ อยู่ข้างในถุงอัณฑะข้างละ 1 ใบ มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนหลายชนิด หลัก ๆ คือฮอร์โมนเพศเทสโทสเตอโรน (Testosterone) และตัวอสุจิ โดยตัวอสุจิที่ผลิตออกมาจากอัณฑะจะยังไม่โตเต็มที่จึงไม่สามารถใช้เพื่อสืบพันธุ์ได้ตามธรรมชาติ (ยกเว้น การทำเด็กหลอดแก้ว) หลอดเก็บอสุจิ เป็นท่อขดยาวเกือบ 6 เมตร ซึ่งอยู่ด้านหลังอัณฑะทั้ง 2 ข้าง มีหน้าที่ลำเลียงอสุจิไปยังหลอดนำอสุจิซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์กว่าที่อสุจิจะเคลื่อนตัวจากจุดเริ่มต้นจนถึงปลายท่อไปสู่หลอดนำอสุจิ […]


สุขภาพทางเพศ

ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน หน้าที่และความสำคัญต่อร่างกาย

ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) เป็นฮอร์โมนเพศชายซึ่งผลิตจากอัณฑะ มีหน้าที่รักษาลักษณะความเป็นชายต่าง ๆ เช่น หนวดเครา น้ำเสียงทุ้ม รวมทั้งระดับความต้องการทางเพศ หากมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ ความต้องการทางเพศอาจจะลดลง ซึ่งรักษาได้ด้วยการให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนทดแทน [embed-health-tool-heart-rate] ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน มีหน้าที่อะไร เทสโทสเตอโรนเป็นฮอร์โมนเพศหลักในผู้ชาย มีหน้าที่ ดังนี้ กระตุ้นให้องคชาตและอัณฑะเจริญเติบโตสมวัย ช่วยลดน้ำเสียงเล็กแหลม ทำให้เพศชายมีเสียงทุ้มใหญ่ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น กระตุ้นการเติบโตและงอกของขนบนใบหน้าและบริเวณอวัยวะเพศ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น รักษาและผลิตการสร้างมวลกล้ามเนื้อ รักษาและพัฒนาการสร้างมวลกระดูก รักษาระดับความต้องการทางเพศให้เป็นปกติ กระตุ้นให้เกิดการผลิตตัวอสุจิของอัณฑะ กระตุ้นการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยปกติ ระดับเทสโทสเตอโรนในผู้ชาย จะอยู่ในระดับสูงสุดเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ก่อนจะค่อย ๆ ลดลงราวปีละ 1 เปอร์เซ็นต์ หลังอายุย่างเข้าสู่วัย 30-40 ปี อย่างไรก็ตาม ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่ลดต่ำลงอาจเป็นเพราะวัยที่มากขึ้น หรือเป็นเพราะภาวะเทสโทสเตอโรนต่ำ ซึ่งเป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งของร่างกายก็ได้ ทั้งนี้ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนสามารถพบได้ในผู้หญิงเช่นกัน โดยผลิตจากรังไข่ ต่อมหมวกไต เซลล์ไขมัน และเซลล์ผิว เพียงแต่มีปริมาณต่ำกว่าที่ผลิตในผู้ชาย ในผู้หญิง ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานของรังไข่ การสร้างมวลกระดูก และกระตุ้นให้เกิดความต้องการทางเพศ ภาวะฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ ภาวะเทสโทสเตอโรนต่ำ เป็นภาวะซึ่งร่างกายผู้ชายผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนได้ในปริมาณที่ต่ำกว่าปกติ นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงทั้งลักษณะภายนอกและภายในร่างกาย อาจเป็นความผิดปกติโดยกำเนิด หรืออาจเกิดขึ้นได้ในภายหลัง สำหรับวัยรุ่นที่มีภาวะเทสโทสเตอโรนต่ำ ร่างกายจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงสมชายอย่างที่ควรจะเป็น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน