สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

วัคซีน HPV ผู้ชายฉีดได้ไหม? ช่วยอะไร?

HPV (Human Papillomavirus) คือไวรัสที่ติดต่อทางการมีเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อย อีกทั้งยังอาจนำไปสู่การเกิดโรคร้ายอย่างมะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก และมะเร็งลำคอ อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจคิดว่า HPV ส่งผลกระทบแค่กับผู้หญิงเท่านั้น จึงมองข้ามความสำคัญของการฉีดวัคซีน hpv สำหรับผู้ชายไปได้ บทความนี้จึงอยากจะมาแก้ไขความเข้าใจผิด และนำเสนอให้ผู้อ่านได้เห็นถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีน HPV ในผู้ชาย [embed-health-tool-vaccination-tool] HPV ส่งผลอะไรต่อผู้ชาย เชื้อไวรัส HPV เป็นเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ โดย แบ่งเป็นสายพันธุ์เสี่ยงต่ำ และสายพันธุ์เสี่ยงสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเพศชาย ดังนี้ มะเร็งทวารหนัก มะเร็งทวารหนักเกิดจากการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูง เช่น HPV 16 และ 18 ซึ่งทำให้เซลล์บริเวณทวารหนักเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเป็นมะเร็งได้  ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ติดเชื้อ HIV  ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย  การมีคู่นอนหลายคน  อาการที่พบบ่อยคือ เลือดออกจากทวารหนัก ปวดหรือกดเจ็บในบริเวณนั้น และรู้สึกว่ามีก้อนเนื้อ  การป้องกันทำได้โดยการฉีดวัคซีน HPV การตรวจคัดกรองในกลุ่มเสี่ยง และการใช้ถุงยางอนามัย มะเร็งองคชาต มะเร็งองคชาตเกิดจากการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูง เช่น HPV 16 และ […]

หมวดหมู่ สุขภาพทางเพศ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ

ระบบสืบพันธุ์เพศชาย กับการทำหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ

ระบบสืบพันธุ์เพศชาย หมายถึง ระบบอวัยวะทั้งภายนอกและภายในของผู้ชาย ซึ่งทำงานร่วมกันเพื่อสืบพันธุ์ โดยระบบสืบพันธุ์เพศชายประกอบไปด้วยอวัยวะหลายอย่าง เช่น องคชาต อัณฑะ ต่อมลูกหมาก ต่อมคาวเปอร์ ซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกัน หากป่วยเป็นโรคบางอย่าง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อาจทำให้ระบบสืบพันธุ์เพศชายด้อยประสิทธิภาพลงก่อนวัยอันควร จำเป็นที่จะต้องดูแลสุขภาพทางเพศอยู่เสมอ รวมทั้งป้องกันตัวเองและรักษาความสะอาดเมื่อมีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ [embed-health-tool-heart-rate] อวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศชาย อวัยวะต่าง ๆ ในระบบสืบพันธุ์เพศชาย แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ อวัยวะที่สร้างและเก็บตัวอสุจิ ถุงอัณฑะ เป็นถุงผิวหนังซึ่งทำหน้าที่ห่อหุ้มและปกป้องอัณฑะ แยกออกเป็น 2 ถุงห้อยอยู่นอกร่างกายบริเวณระหว่างหน้าขาด้านหลังองคชาต รวมถึงเป็นศูนย์รวมเส้นประสาทและเส้นเลือดจำนวนมาก ถุงอัณฑะจะควบคุมอุณหภูมิของอัณฑะให้เหมาะแก่การผลิตตัวอสุจิ หรือเย็นกว่าอุณหภูมิของร่างกายเล็กน้อย อัณฑะ เป็นอวัยวะรูปทรงคล้ายไข่ อยู่ข้างในถุงอัณฑะข้างละ 1 ใบ มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนหลายชนิด หลัก ๆ คือฮอร์โมนเพศเทสโทสเตอโรน (Testosterone) และตัวอสุจิ โดยตัวอสุจิที่ผลิตออกมาจากอัณฑะจะยังไม่โตเต็มที่จึงไม่สามารถใช้เพื่อสืบพันธุ์ได้ตามธรรมชาติ (ยกเว้น การทำเด็กหลอดแก้ว) หลอดเก็บอสุจิ เป็นท่อขดยาวเกือบ 6 เมตร ซึ่งอยู่ด้านหลังอัณฑะทั้ง 2 ข้าง มีหน้าที่ลำเลียงอสุจิไปยังหลอดนำอสุจิซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์กว่าที่อสุจิจะเคลื่อนตัวจากจุดเริ่มต้นจนถึงปลายท่อไปสู่หลอดนำอสุจิ […]


สุขภาพทางเพศ

ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน หน้าที่และความสำคัญต่อร่างกาย

ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) เป็นฮอร์โมนเพศชายซึ่งผลิตจากอัณฑะ มีหน้าที่รักษาลักษณะความเป็นชายต่าง ๆ เช่น หนวดเครา น้ำเสียงทุ้ม รวมทั้งระดับความต้องการทางเพศ หากมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ ความต้องการทางเพศอาจจะลดลง ซึ่งรักษาได้ด้วยการให้ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนทดแทน [embed-health-tool-heart-rate] ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน มีหน้าที่อะไร เทสโทสเตอโรนเป็นฮอร์โมนเพศหลักในผู้ชาย มีหน้าที่ ดังนี้ กระตุ้นให้องคชาตและอัณฑะเจริญเติบโตสมวัย ช่วยลดน้ำเสียงเล็กแหลม ทำให้เพศชายมีเสียงทุ้มใหญ่ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น กระตุ้นการเติบโตและงอกของขนบนใบหน้าและบริเวณอวัยวะเพศ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น รักษาและผลิตการสร้างมวลกล้ามเนื้อ รักษาและพัฒนาการสร้างมวลกระดูก รักษาระดับความต้องการทางเพศให้เป็นปกติ กระตุ้นให้เกิดการผลิตตัวอสุจิของอัณฑะ กระตุ้นการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยปกติ ระดับเทสโทสเตอโรนในผู้ชาย จะอยู่ในระดับสูงสุดเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ก่อนจะค่อย ๆ ลดลงราวปีละ 1 เปอร์เซ็นต์ หลังอายุย่างเข้าสู่วัย 30-40 ปี อย่างไรก็ตาม ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่ลดต่ำลงอาจเป็นเพราะวัยที่มากขึ้น หรือเป็นเพราะภาวะเทสโทสเตอโรนต่ำ ซึ่งเป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งของร่างกายก็ได้ ทั้งนี้ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนสามารถพบได้ในผู้หญิงเช่นกัน โดยผลิตจากรังไข่ ต่อมหมวกไต เซลล์ไขมัน และเซลล์ผิว เพียงแต่มีปริมาณต่ำกว่าที่ผลิตในผู้ชาย ในผู้หญิง ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานของรังไข่ การสร้างมวลกระดูก และกระตุ้นให้เกิดความต้องการทางเพศ ภาวะฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ ภาวะเทสโทสเตอโรนต่ำ เป็นภาวะซึ่งร่างกายผู้ชายผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนได้ในปริมาณที่ต่ำกว่าปกติ นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงทั้งลักษณะภายนอกและภายในร่างกาย อาจเป็นความผิดปกติโดยกำเนิด หรืออาจเกิดขึ้นได้ในภายหลัง สำหรับวัยรุ่นที่มีภาวะเทสโทสเตอโรนต่ำ ร่างกายจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงสมชายอย่างที่ควรจะเป็น […]


สุขภาพทางเพศ

ต่อมลูกหมากอักเสบ อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา

ต่อมลูกหมากอักเสบ เป็นโรคที่พบได้ทั่วไปในเพศชาย อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย มักมีอาการปัสสาวะแสบ ติดขัด หรือปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ผู้ชายทุกวัยมีโอกาสเสี่ยงเป็นต่อมลูกหมากอักเสบได้ แต่มักพบมากในผู้ชายวัย 50 ปี โรคนี้รักษาได้ด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะควบคู่กับยาแก้ปวด คำจำกัดความ ต่อมลูกหมากอักเสบ คืออะไร ต่อมลูกหมากอักเสบ คือ การติดเชื้อหรืออักเสบบริเวณต่อมลูกหมากซึ่งเป็นอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ของเพศชาย มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียทำให้เกิดความปกติในระบบทางเดินปัสสาวะ พบได้ทั่วไปในผู้ชายทุกช่วงอายุ แต่พบบ่อยในอัตราส่วน 1 ต่อ 3 ของผู้ชายอายุเกิน 50 ปี ต่อมลูกหมากอักเสบอาจแบ่งได้เป็น 4 ชนิด ดังนี้ ต่อมลูกหมากอักเสบติดเชื้อเฉียบพลัน เชื้ออาจเข้าสู่ต่อมลูกหมากอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยจะมีอาการค่อนข้างรุนแรงและเกิดขึ้นทันที เช่น มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องน้อยหรือบริเวณอุ้งเชิงกราน ร่วมกับอาการผิดปกติที่ระบบปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย ต่อมลูกหมากอักเสบติดเชื้อเรื้อรัง เชื้อแบคทีเรียค่อย ๆ เข้าสู่ท่อปัสสาวะ มักพบได้ในผู้สูงวัย หรือผู้ที่มีประวัติทางเดินปัสสาวะอักเสบ อาการไม่รุนแรงแต่มักเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือนหรือนานกว่านั้น เช่น มีเลือดปนกับปัสสาวะหรือน้ำอสุจิ ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็นมากกว่าปกติ รู้สึกเจ็บเมื่อถึงจุดสุดยอด ต่อมลูกหมากอักเสบเรื้อรัง เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด โดยสาเหตุการเกิดไม่แน่ชัด […]


สุขภาพทางเพศ

สีประจําเดือน บอกอะไร

สีประจำเดือน อาจเกิดจากการที่เลือดทำปฏิกิริยากับออกซิเจนเป็นเวลานาน ส่งผลให้สีของประจำเดือนมีการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและปัญหาสุขภาพ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ภาวะช่องคลอดอักเสบ ก็อาจมีส่วนที่ทำให้สีประจำเดือนเปลี่ยนแปลงไปได้เช่นกัน [embed-health-tool-ovulation] สีประจําเดือนบอกอะไร ประจำเดือน เกิดจากการสลายตัวของเยื่อบุโพรงมดลูก ยิ่งเลือดอยู่ในมดลูกนาน สีประจำเดือนก็จะค่อย ๆ เข้มขึ้น เนื่องจากการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนเป็นเวลานาน นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและภาวะสุขภาพอาจส่งผลต่อสีและเนื้อสัมผัสของประจำเดือนได้ โดยสีของประจำเดือนอาจบ่งบอกภาวะทางสุขภาพได้ดังนี้ ประจำเดือนสีแดงสด ประจำเดือนสีแดงสด หมายถึง การเริ่มต้นของประจำเดือน เลือดประจำเดือนอาจไหลเร็วและมาก เมื่อเวลาผ่านไปเลือดจะค่อย ๆ ไหลช้าลงและมีสีแดงเข้มขึ้น หรืออาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น หนองใน หนองในเทียม สัญญาณการตั้งครรภ์ การแท้งบุตร หรือการเจริญเติบโตเนื้องอกซึ่งอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ความดัน อาการเจ็บปวดท้อง ประจำเดือนสีชมพู ประจำเดือนสีชมพู หมายถึง ช่วงเริ่มต้นหรือช่วงสิ้นสุดของการมีประจำเดือน เกิดจากเลือดประจำเดือนอาจเจือปนกับของเหลวในช่องคลอดทำให้สีอ่อนลง หรืออาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยรักษาเยื่อบุโพรงมดลูกให้คงที่ในร่างกายต่ำ หรืออาจเป็นสัญญาณการแท้งบุตรและน้ำคาวปลา ประจำเดือนสีส้ม ประจำเดือนสีส้ม หมายถึง การเริ่มต้นหรือสิ้นสุดของประจำเดือน หรืออาจเกิดจากการเจือปนกับของเหลวในช่องคลอดจนสีอ่อนลงเป็นสีส้ม นอกจากนี้ อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อแบคทีเรียหรือการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรืออาจเป็นสัญญาณของเลือดล้างหน้าเด็กโดยเลือดจะไหลออกมาเป็นจุดสีส้มหรือสีชมพู ประจำเดือนสีแดงเข้ม ประจำเดือนสีแดงเข้ม หมายถึง ประจำเดือนที่ค้างอยู่ในมดลูกมาระยะหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นสัญญาณว่ารอบประจำเดือนใกล้สิ้นสุด หรืออาจเป็นน้ำคาวปลาในช่วง 3 วันแรกหลังคลอด […]


สุขภาพทางเพศ

ประจำเดือนสีดำ เกิดจากอะไร

ประจำเดือน คือ เยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดลอกออกมาเนื่องจากไข่ไม่ได้รับการผสมกับอสุจิ จึงไม่มีตัวอ่อนมาฝังที่เยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้หลุดลอกออกมาตามรอบเดือน โดยปกติแล้วภาวะนี้จะเกิดขึ้นทุกเดือนหากไม่ได้ตั้งครรภ์ เลือดประจำเดือนโดยทั่วไปอาจมีสีแดงสด หรือแดงเข้ม แต่ในบางครั้ง ก็อาจเกิด ประจำเดือนสีดำ ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม หากมีประจำเดือนสีดำร่วมกับความผิดปกติอื่น ๆ เช่น มีไข้ คันช่องคลอด ตกขาวมีกลิ่นเหม็น ควรรีบเข้าพบคุณหมอ เพราะอาจเกิดจากปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้ [embed-health-tool-ovulation] ประจำเดือน คืออะไร ประจำเดือน หรือรอบเดือน หรือระดู คือ ภาวะที่มีเลือดไหลออกจากช่องคลอดเป็นประจำทุกเดือน โดยปกติแล้ว เมื่อผู้หญิงเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ (อายุประมาณ 11-14 ปี) รังไข่จะตกไข่ทุก ๆ เดือน และจะมีไข่ใบที่สุกที่สุดหลุดออกมาจากรังไข่เพื่อรอผสมกับอสุจิเดือนละ 1 ฟอง อีกทั้งสมองจะหลั่งฮอร์โมนไปกระตุ้นรังไข่ให้สร้างฮอร์โมนเพศ อย่างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) และฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ที่ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกมีการเปลี่ยนแปลงและหนาตัวขึ้น เพื่อเตรียมให้ตัวอ่อนมาฝังตัว ในกรณีที่ไข่ผสมกับอสุจิแล้วเกิดการปฏิสนธิหรือเกิดการตั้งครรภ์ แต่หากไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิกับอสุจิหรือไม่มีการตั้งครรภ์ เยื่อบุโพรงมดลูกก็จะหลุดลอกออกมากลายเป็นเลือดประจำเดือน ปกติอาจมีสีแดงเข้ม หรือสีน้ำตาล แต่ก็อาจมีสีอื่น ๆ ได้ เช่น ประจำเดือนสีดำ ประจำเดือนสีเทา […]


สุขภาพทางเพศ

การขลิบหนังหุ้มปลาย ขั้นตอน การดูแลตนเอง และความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ

การขลิบหนังหุ้มปลาย คือ การผ่าตัดนำหนังหุ้มปลายบริเวณองคชาตหรืออวัยวะเพศชายออก เพื่อให้ง่ายต่อการทำความสะอาด การขลิบ อาจทำตั้งแต่แรกเกิดภายใต้ข้อกำหนดทางศาสนา หรือเหตุผลทางการแพทย์และเพื่อความสะอาด ทั้งนี้ การผ่าตัดขลิบหนังหุ้มปลาย อาจทำให้เสี่ยงติดเชื้อบริเวณอวัยวะเพศ รวมทั้งโอกาสที่หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศจะถูกขลิบจนสั้นเกินไป จำเป็นต้องระมัดระวังและปรึกษาคุณหมอถึงขั้นตอนและความปลอดภัยอย่างละเอียด [embed-health-tool-heart-rate] ผู้ที่ควรขลิบหนังหุ้มปลาย การขลิบ หนังหุ้มปลาย อาจทำได้เมื่อเป็นผู้ใหญ่แล้ว เพื่อความสะอาด หรือป้องกันปัญหาสุขภาพ ทั้งนี้ อาจมีกลุ่มบุคคลบางกลุ่มที่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อขลิบหนังหุ้มปลายองคชาติ ได้แก่ เด็กชายหรือผู้ชายที่ต้องการเลี่ยงภาวะหนังหุ้มปลายองคชาตตีบ (Phimosis) หรือภาวะที่หนังหุ้มปลายหดตัวจนไม่สามารถกลับไปปิดส่วนปลายองคชาตได้ บุคคลที่นับถือศาสนายูดาห์หรืออิสลาม หรือการขลิบหนังหุ้มปลายที่เป็นประเพณีที่สืบต่อกันมาของครอบครัว การขลิบ มีข้อดีอย่างไร การขลิบปลายองคชาตมีข้อดีหลายประการ ได้แก่ ง่ายต่อการทำความสะอาด ทำให้ช่วยกำจัดสิ่งสกปรกต่าง ๆ บริเวณอวัยวะเพศได้ง่ายขึ้น เช่น คราบเหงื่อ คราบปัสสาวะ คราบอสุจิ อันเป็นสาเหตุของโรคหรือการติดเชื้อ ลดความเสี่ยงของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เนื่องจากการขลิบหนังหุ้มปลายทำให้เนื้อเยื่อบริเวณหนังหุ้มปลายซึ่งบอบบางและง่ายต่อการติดเชื้อนั้นถูกกำจัดออกไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้ชายที่ขลิบแล้วยังมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ หากไม่สวมถุงยางอนามัยป้องกัน ลดความเสี่ยงการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โดยปกติแล้วโรคดังกล่าวมักพบมากในผู้ชายที่ไม่ได้ขลิบ โดยสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างหนองใน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะขลิบแล้วจำเป็นต้องดูแลอวัยวะเพศให้สะอาดอยู่เสมอ ป้องกันความผิดปกติขององคชาต ในบางกรณี ผู้ชายที่ไม่ได้ขลิบหนังหุ้มปลายอาจพบอาการผิดปกติขององคชาต เช่น ภาวะหนังหุ้มปลายองคชาตตีบ ปลายองคชาตอักเสบ ลดความเสี่ยงมะเร็งองคชาต เนื่องจากเมื่อขลิบส่วนหนังหุ้มปลายแล้ว จะทำให้ทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น […]


สุขภาพทางเพศ

น้ำอสุจิ ข้อควรรู้และเคล็ดลับการเสริมให้อสุจิแข็งแรง

น้ำอสุจิ หรือน้ำเชื้อ เป็นของเหลวสีขาวขุ่น ซึ่งหลั่งออกมาเมื่อผู้ชายถึงจุดสุดยอด จากการสำเร็จความใคร่หรือการร่วมเพศ น้ำอสุจิผลิตจากอัณฑะซึ่งเป็นอวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศชาย มีส่วนประกอบหลักคือตัวอสุจิและของเหลวซึ่งอุดมด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ ทั้งนี้ การหลั่งน้ำอสุจิในช่องคลอด อาจทำให้ฝ่ายหญิงตั้งครรภ์ได้ หากตัวอสุจิมีความแข็งแรง สมบูรณ์ และเคลื่อนไหวได้เร็วมากพอ ไปผสมกับไข่ของฝ่ายหญิง ส่วนประกอบของน้ำอสุจิ ส่วนประกอบของน้ำอสุจิ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ ตัวอสุจิ เป็นเซลล์สืบพันธุ์ของเพศชาย ลักษณะทางกายภาพประกอบไปด้วยส่วนหัวซึ่งมีโครมาตินซึ่งเป็นสารพันธุกรรมสร้างโครโมโซม ส่วนตัวมีลักษณะยาวรีอันเป็นโครงสร้างพิเศษช่วยในการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว และยังเป็นแหล่งสะสมพลังงาน และส่วนหาง มีลักษณะเป็นเส้นยาวคล้ายเส้นผมช่วยให้อสุจิเคลื่อนตัวไปข้างหน้า โดยตัวอสุจิคิดเป็นเพียง 2 เปอร์เซ็นต์ ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำอสุจิทั้งหมด ตัวอสุจิผลิตจากอัณฑะ แล้วถูกส่งไปที่หลอดเก็บอสุจิ ซึ่งมีสารคัดหลั่ง อันประกอบด้วยธาตุโซเดียมและโพแทสเซียม หล่อเลี้ยงให้ตัวอสุจิเจริญเติบโตพร้อมสืบพันธุ์ หลังจากนั้น ตัวอสุจิจะถูกส่งจากหลอดเก็บอสุจิไปยังหลอดนำอสุจิ ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อยาว โดยตัวอสุจิจะถูกเก็บไว้ที่ส่วนปลายของหลอดนำอสุจิ พร้อมทั้งได้รับน้ำตาลฟรักโทสเป็นพลังงาน ระหว่างรอให้หลั่งน้ำอสุจิหรือน้ำเชื้อผ่านท่อปัสสาวะและองคชาต เมื่อถึงจุดสุดยอด ของเหลว แบ่งเป็นของเหลวที่ผลิตจากต่อมลูกหมากคิดเป็น 30 เปอร์เซ็นต์ของน้ำอสุจิ และของเหลวจากถุงน้ำเชื้อคิดเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งของเหลวเหล่านี้ประกอบด้วยสารอาหารและแร่ธาตุต่าง ๆ  อาทิ น้ำตาลฟรักโทส […]


สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ ต้องใส่ใจ และควรให้ความสำคัญ

สุขภาพทางเพศ เป็นเรื่องที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ และมีสิทธิเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นเพศใด หรืออยู่ในสถานะของสังคมใด เพราะนี่คือสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับการดูแลเป็นอย่างดีและเหมาะสมที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาที่อาจส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ จนส่งผลต่อร่างกาย จิตใจและอาจส่งผลต่อสังคมในอนาคตได้ [embed-health-tool-bmi] สุขภาพทางเพศ คืออะไร สุขภาพทางเพศคือ สภาวะของร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสังคมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ ไม่ใช่เพียงแค่ไม่มีโรค ความผิดปกติ หรือทุพพลภาพเท่านั้น แต่รวมไปถึงสุขภาพทางเพศที่ต้องมีความเคารพซึ่งกันและกัน ทั้งต่อเรื่องเพศและความสัมพันธ์ทางเพศด้วย ตลอดจนความสัมพันธ์ทางเพศที่น่าพึงพอใจ ปลอดภัย ปราศจากการบีบบังคับ การเลือกปฏิบัติ ความรุนแรง การรักษาสุขภาพทางเพศ สิทธิทางเพศของทุกคนจะต้องได้รับการเคารพ คุ้มครอง และการปฏิบัติที่เหมาะสม โดยทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นได้ขึ้นอยู่กับ การเข้าถึงข้อมูลที่มีคุณภาพเกี่ยวกับเรื่องเพศ ความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงและผลร้ายที่อาจตามมาของการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน ความสามารถที่จะเข้าถึงบริการสุขภาพทางเพศ มีที่อยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพทางเพศ การให้ความสำคัญกับ สุขภาพทางเพศ สุขภาพทางเพศ ที่ทุกคนควรให้ความสำคัญได้แก่เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นโรคที่ส่งต่อจากอีกคนไปสู่อีกคนผ่านกิจกรรมทางเพศสัมพันธ์ ทั้งทางช่องคลอด ปาก และทวารหนัก โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจแสดงไม่แสดงอาการ หรืออาจแสดงอาการน้อย ไปถึงมาก ดังนั้น ควรเข้ารับการตรวจคัดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำทุกปี เพื่อเข้ารับการรักษาและเยียวยาได้อย่างทันท่วงที โรคบางชนิดสามารถรักษาให้หายขาดได้ เพื่อเป็นการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรรู้จักวิธีป้องกันที่ถูกต้องเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เพื่อลดโอกาสการติดโรค และผลเสียที่อาจเป็นปัญหาสุขภาพทางเพศในอนาคต สุขภาพการตั้งครรภ์ การดูแลสุขภาพทั้งก่อนตั้งครรภ์ และระหว่างตั้งครรภ์เป็นเรื่องสำคัญ ยิ่งสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ควรมุ่งเน้นไปที่สุขภาพทางเพศในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เพื่อปกป้องสุขภาพของทารกในอนาคต เพราะโรคที่ติดมากับเพศสัมพันธ์อาจส่งผลต่อทารกโดยตรงได้ ดังนั้น จึงควรตรวจสุขภาพและวางแผนการตั้งครรภ์ให้รัดกุม อนามัยการเจริญพันธ์ อนามัยการเจริญพันธ์ […]


สุขภาพทางเพศ

ความหลากหลายทางเพศ และปัญหาสุขภาพ

ความหลากหลายทางเพศ หมายถึง ความหลากหลายในอัตลักษณ์ทางเพศของคนในสังคม ซึ่งเกี่ยวข้องกับนิยามเรื่องเพศสภาพของแต่ละบุคคลการเลือกคู่ครองหรือคู่นอน รวมถึงการแสดงออกเรื่องเพศ โดยปกติ ความหลากหลายทางเพศมักถูกจำแนกเป็นกลุ่ม ได้แก่ เลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กชวล และทรานส์เจนเดอร์ (LGBT) กลุ่มความหลากหลายทางเพศจำเป็นต้องระมัดระวังปัญหาเรื่องสุขภาพไม่แตกต่างจากบุคคลอื่น ๆ ทั้งนี้ ปัญหาสุขภาพอาจแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศจึงควรศึกษาถึงความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับตนเอง เพื่อการป้องกันอย่างถูกวิธี นิยามของความหลากหลายทางเพศ ความหลากหลายทางเพศ หมายถึง กลุ่มคนดังต่อไปนี้ เลสเบี้ยน (Lesbian) คือ หญิงรักหญิง ซึ่งมักเป็นผู้หญิงที่ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ การแต่งกายเป็นผู้หญิง เพียงแต่มีรสนิยมทางเพศชอบผู้หญิงด้วยกัน ในประเทศไทยอาจส่วนใหญ่มักหมายถึงทอม ผู้หญิงซึ่งแต่งตัวคล้ายผู้ชายและชอบผู้หญิง หรือดี้ซึ่งหมายถึงผู้หญิงซึ่งชอบทอม เกย์ (Gay) คือ ชายรักชาย ซึ่งดูจากภายนอกไม่สามารถระบุได้ว่ามีรสนิยมชอบผู้ชาย อาจมีรูปร่าง หน้าตา การแต่งตัว เหมือนชายแท้ทุกประการ เพียงแต่เกย์บางคนอาจมีกิริยาคล้ายผู้หญิง ไบเซ็กชวล (Bisexual) คือ บุคคลที่ชอบทั้งผู้ชายและผู้หญิง หรือมีความต้องการทางเพศได้กับทั้งสองเพศ หรือมากกว่าหนึ่งเพศที่อาจไม่ใช่แค่เพศตรงข้าม บางครั้ง ไบเซ็กชวลอาจถูกเข้าใจผิดว่าเหมือนกับรสนิยมแบบแพนเซ็กชวล (Pansexual) ซึ่งเป็นรสนิยมทางเพศที่รู้สึกดึงดูดได้กับทุกเพศ ไม่จำกัดแค่ชายหรือหญิง ทรานส์เจนเดอร์ […]


สุขภาพทางเพศ

Transgender คือใคร ทำไมต้องแปลงเพศ

Transgender หรือทรานส์เจนเดอร์ คือ บุคคลข้ามเพศ  ซึ่งมีอัตลักษณ์ทางเพศไม่ตรงกับเพศกำเนิด เช่น ผู้ชายที่รู้สึกว่าตนเองเป็นผู้หญิง หรือผู้หญิงที่รู้สึกว่าตนเองเป็นผู้ชาย โดยทรานส์เจนเดอร์จำนวนไม่น้อย เลือกรับฮอร์โมนเพศตรงข้าม เพื่อให้ตนมีรูปร่างหรือลักษณะใกล้เคียงกับเพศที่อยากเป็น และบางรายอาจเลือกแปลงเพศ เพื่อให้ตนมีลักษณะใกล้เคียงกับเพศที่อยากเป็นมากที่สุด [embed-health-tool-ovulation] ความทุกข์ใจในเพศสภาพของ Transgender คืออะไร ความทุกข์ใจในเพศสภาพ (Gender Dysphoria) เป็นอาการหนึ่งซึ่งพบได้ในทรานส์เจนเดอร์ หมายถึง ความไม่พอใจที่อัตลักษณ์ทางเพศของตนไม่ตรงกับเพศโดยกำเนิด สัญญาณที่อาจพบได้ของผู้มีความทุกข์ใจในเพศสภาพ คือ ขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่อยากเข้าสังคม ออกห่างสังคม ซึมเศร้าหรือวิตกกังวล ใช้ชีวิตเสี่ยงอันตรายโดยไม่จำเป็น เช่น เล่นกีฬาโลดโผน เล่นการพนัน พึ่งยาเสพติด เมื่อผู้มีความทุกข์ใจในเพศสภาพไปพบคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญ อาจได้รับการรักษา ดังนี้ บำบัดทางจิตวิทยา เช่น การพูดคุยกับนักบำบัด ระบายปัญหา ความรู้สึก ความเครียด การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญถึงวิธีแก้ไข หรือหาทางออก บำบัดด้วยฮอร์โมน เพื่อให้มีลักษณะหรือรูปร่างของเพศที่อยากเป็น อาจโดยการฉีด ทา หรือรับประทานยาฮอร์โมน ผ่าตัดแปลงเพศ โดยมีทั้งจากชายเป็นหญิง และหญิงเป็นชาย การบำบัดด้วยฮอร์โมนสำหรับ Transgender สำหรับทรานส์เจนเดอร์ที่ต้องการรับฮอร์โมนของเพศตรงข้ามอาจใช้วิธีกิน ฉีด หรือทาบนร่างกาย เพื่อสร้างความรู้สึกแง่บวกให้ตัวเอง ด้วยการมีลักษณะของเพศตรงข้าม ทั้งนี้ ไม่ควรหาซื้อฮอร์โมนมาใช้เองเพราะอาจนำมาซึ่งความเสี่ยงทางสุขภาพ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน