สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

ไขข้อสงสัย เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เกี่ยวข้องกันอย่างไร

เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก ทั้ง 2 โรคนี้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร? คุณเคยสงสัยหรือไม่? วันนี้เราจะมาหาคำตอบถึงความเกี่ยวข้องกันของ เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เพื่อให้คุณผู้หญิงทุกคนได้ระมัดระวังตัวมากยิ่งขึ้น ถ้าพร้อมแล้วหาคำตอบความเกี่ยวข้องของเชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูกได้ในบทความนี้ HPV คือกลุ่มของเชื้อไวรัสที่เกี่ยวข้องมากกว่า 200 ชนิด บางชนิดแพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางช่องปาก โดยจะแบ่งออกเป็นกล่มที่มีความเสี่ยงต่ำกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง HPV กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดโรค แต่บางชนิดอาจทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก ปาก หรือลำคอได้ HPV กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสามารถทำให้เกิดมะเร็งได้หลายประเภทหนึ่งในนั้น คือ มะเร็งปากมดลูก เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เกี่ยวข้องกันอย่างไร มะเร็งปากมดลูกในสตรีส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ ฮิวแมนแพพพิลโลมาไวรัส (Human papillomavirus : HPV) ซึ่งเป็นกลุ่มของเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 200 ชนิด เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายในระหว่างมีเพศสัมพันธ์และการทำกิจกรรมทางเพศอื่น ๆ  เช่น การสัมผัสทางผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ เชื้อ HPV อย่างน้อย 15 ชนิด มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก ส่วนใหญ่ HPV16 และ HPV18 จะเป็นตัวที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด โดยเชื้อ HPV ที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้จะเข้าไปหยุดการทำงานของเซลล์ ซึ่งส่งผลให้เซลล์สืบพันธ์มีความผิดปกติแบบควบคุมไม่ได้ นำไปสู่การเจริญเติบโตของเนื้องอกมะเร็ง ปัจจัยเสี่ยงเชื้อเอชพีวีพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูก ชนิดของเชื้อ […]

หมวดหมู่ สุขภาพทางเพศ เพิ่มเติม

การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ

การทำหมันชาย ขั้นตอน การเตรียมตัว ความเสี่ยง

การทำหมันชาย คือการคุมกำเนิดแบบถาวรในผู้ชาย โดยการตัดหรือผูกท่อนำอสุจิไว้ เพื่อไม่ให้อสุจิซึ่งโตเต็มที่แล้วเข้าไปอยู่ในน้ำอสุจิ และป้องกันตัวอสุจิไปผสมกับไข่ในร่างกายผู้หญิงเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ ทั้งนี้ การทำหมันชายมีโอกาสสำเร็จประมาณ 99 เปอร์เซ็นต์ และมีความเสี่ยงต่อสุขภาพต่ำ กรณีที่อยากมีลูกหลังทำหมันแล้ว อาจสามารถแก้หมันได้ แต่โอกาสแก้หมันสำเร็จจะลดน้อยลงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ดังนั้น ก่อนทำหมันชาย จึงควรตัดสินใจให้ถี่ถ้วนและเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการทำหมัน หรือหากไม่อยากแก้หมันก็สามารถทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) โดยการเจาะหาตัวอสุจิโดยตรงจากบรีเวณอัณฑะได้ (Surgical sperm retrieval) [embed-health-tool-ovulation] การทำหมันชาย คืออะไร การทำหมันชาย คือ การผ่าตัดปิดกั้นท่อนำอสุจิ เพื่อไม่ให้ตัวอสุจิอยู่ในน้ำเชื้อเมื่อหลั่งขณะมีเพศสัมพันธ์ ป้องกันอสุจิเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ของฝ่ายหญิงจนทำให้เกิดการตั้งครรภ์ การทำหมันชาย เป็นการคุมกำเนิดแบบถาวร เหมาะกับผู้ชายที่ไม่อยากมีลูก หรือมีลูกเพียงพอแล้ว กรณีหลังทำหมันแล้วต้องการมีลูก อาจเข้ารับการผ่าตัดแก้หมันได้ แต่โอกาสสำเร็จขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการดังนั้น ก่อนทำหมันชาย จึงควรตัดสินใจให้รอบคอบ ขั้นตอน การทำหมันชาย การทำหมันชายประเภทผ่าตัดด้วยมีด โดยปกติใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที โดยคุณหมอจะปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ ฉีดยาชาบริเวณถุงอัณฑะ ใช้มีดผ่าตัดผ่าด้านบนของถุงอัณฑะ หรือใช้เครื่องมือแพทย์เฉพาะเจาะบริเวณดังกล่าว คุณหมอจะมองหาตำแหน่งของท่อนำอสุจิ เมื่อพบท่อนำอสุจิแล้ว คุณหมอจะตัดท่ออสุจิทั้ง 2 ข้าง แล้วปิดท่อด้วยการใช้ความร้อนผูกท่อไว้ หรือหนีบด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ จากนั้น คุณหมอจะเย็บปิดแผลบริเวณถุงอัณฑะ ในกรณีทำหมันด้วยเครื่องมือเฉพาะ หรือที่เรียกว่า “การทำหมันเจาะ” […]


สุขภาพทางเพศ

การทำหมันหญิง การเตรียมตัว ขั้นตอน ความเสี่ยง

การทำหมันหญิง คือ การคุมกำเนิดแบบถาวรโดยการตัดหรือผูกท่อนำไข่ในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง เพื่อป้องกันไม่ให้ไข่จากรังไข่มาพบกับอสุจิแล้วเกิดการปฏิสนธิจนตั้งครรภ์ ทั้งนี้ ผู้หญิงที่ทำหมันแล้วจะยังคงมีประจำเดือนอยู่เพราะไข่ยังตกและร่างกายยังผลิตฮอร์โมน ทำให้ผนังมดลูกมีเยื่อบุหนาและกลายเป็นประจำเดือนตามปกติ การทำหมันหญิง เหมาะกับผู้หญิงที่ไม่ต้องการมีลูก หรือมีลูกเพียงพอแล้ว อย่างไรก็ตาม ควรสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะหากเปลี่ยนคู่นอนบ่อย เพราะการทำหมันไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ การทำหมันหญิง คืออะไร การทำหมันหญิงเป็นการผ่าตัดเพื่อคุมกำเนิดแบบถาวร โดยการตัดหรือผูกท่อนำไข่ทั้ง 2 ข้างในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง เพื่อป้องกันตัวอสุจิในน้ำเชื้อซึ่งหลั่งเข้ามาในช่องคลอดผสมกับไข่จนนำไปสู่การตั้งครรภ์ การเตรียมตัวก่อนทำหมัน ผู้ที่ต้องการทำหมันควรสอบถามและปรึกษาคุณหมอในประเด็นต่อไปนี้ ก่อนตัดสินใจทำหมัน ข้อดีและข้อเสียของการทำหมัน เพื่อสร้างความมั่นใจในการทำหมันว่าตรงกับความต้องการของตนเองจริง ๆ ความเสี่ยงของการทำหมันว่ามีอะไรบ้าง ขั้นตอนการทำหมันหญิง พร้อมหรือไม่ที่จะเข้ารับการผ่าตัดซึ่งทำให้เกิดบาดแผลหรือระยะเวลาในการพักฟื้นของร่างกาย การแก้หมันและโอกาสแก้หมันสำเร็จมีมากน้อยแค่ไหน ในกรณีเปลี่ยนใจอยากมีลูกหลังทำหมันแล้ว ซึ่งขึ้นอยู่กับสุขภาพและอายุของแต่ละคน ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการทำหมัน เช่น ช่วงหลังคลอด หรือหลังมีรอบเดือนแล้ว เพื่อเตรียมตัวและจัดสรรเวลาไม่ให้กระทบกับชีวิตด้านอื่น ๆ ผลข้างเคียงจากยาที่ใช้อยู่ว่าส่งผลต่อการทำหมันหรือไม่อย่างไร รวมทั้งยาที่สามารถรับประทานก่อนทำหมันได้ หรือตัวยาที่ต้องงด เช่น แอสไพริน เนื่องจากทำให้เลือดไหลมากกว่าปกติระหว่างผ่าตัด ในกรณีตัดสินใจว่าต้องการทำหมัน หากมีเพศสัมพันธ์ควรสวมถุงยางป้องกันทุกครั้งจนกว่าจะถึงวันที่กำหนดทำหมัน นอกจากนี้ ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดทำหมัน ควรงดอาหารและเครื่องดื่ม 1 คืนก่อนการผ่าตัด และในบางรายอาจต้องมีการทดสอบการตั้งครรภ์ก่อนผ่าตัด เพราะหากตั้งครรภ์ คุณหมอจะไม่สามารถผ่าตัดทำหมันให้ได้ ขั้นตอน การทำหมันหญิง การทำหมันหญิงในปัจจุบันนี้มีทั้งการผ่าตัดเปิดหน้าท้องและการผ่าตัดแบบไร้แผลโดยการสอดกล้องผ่าตัดผ่านช่องคลอด แต่ในประเทศไทยนิยมใช้วิธีผ่าตัดเปิดหน้าท้องเนื่องจากยังมีผู้เชี่ยวชาญในการผ่าตัดแบบไร้แผลอยู่น้อยมาก การทำหมันหญิงด้วยวิธีผ่าตัดเปิดหน้าท้องใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที อันดับแรกคุณหมอจะวางยาสลบในคนไข้ และดำเนินการผ่าตัดตามขั้นตอนต่อไปนี้ ใช้มีดกรีดผ่าตัดเปิดหน้าท้อง […]


การคุมกำเนิด

ยาคุมแบบแปะ มีข้อดี ข้อเสีย และวิธีใช้อย่างไร

ยาคุมแบบแปะ เป็นการคุมกำเนิดประเภทหนึ่ง โดยใช้แผ่นแปะที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสตินติดลงบนผิวหนังเพื่อให้ฮอร์โมนซึมเข้าทางผิวหนัง เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบลืมหรือไม่สะดวกรับประทานยาคุมตามวันและเวลาที่กำหนด แต่ต้องเปลี่ยนทุก 1 สัปดาห์ หรือตามที่คุณหมอกำหนด เพื่อการคุมกำเนิดอย่างมีประสิทธิภาพ [embed-health-tool-ovulation] ยาคุมแบบแปะ คืออะไร ยาคุมแบบแปะ คือ การคุมกำเนิดโดยใช้แผ่นแปะที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสตินแปะบริเวณหน้าท้อง หลัง แขน หรือลำตัวส่วนบน จากนั้น ฮอร์โมนจะซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อยับยั้งการตกไข่ และทำให้เมือกบริเวณปากมดลูกหนาขึ้น ป้องกันอสุจิเดินทางไปถึงไข่ หากใช้อย่างถูกวิธีการคุมกำเนิดแบบแปะอาจมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ ข้อดีและข้อเสียของยาคุมแบบแปะ ข้อดีของการใช้ยาคุมกำเนิดแบบแปะ ใช้งานง่าย อาจช่วยลดการเกิดสิว เนื่องจากช่วยปรับความสมดุลของฮอร์โมนส่งผลให้ลดสิวที่เกิดจากฮอร์โมนได้ ประจำเดือนมาสม่ำเสมอและช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ลดความเสี่ยงการเกิดซีสต์ในรังไข่และโรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งมดลูก มะเร็งลำไส้ มะเร็งรังไข่ ข้อเสียของการใช้ยาคุมกำเนิดแบบแปะ ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือด มะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก เพราะยาคุมกำเนิดแบบแปะอาจปล่อยฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างต่อเนื่อง  อาจมีปัญหาด้านการมองเห็น เช่น สายตาพร่ามัว อาจมีอาการข้างเคียง เช่น ระคายเคืองผิวหนัง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดท้อง เจ็บเต้านม อารมณ์แปรปรวน ท้องเสีย การแข็งตัวของเลือด ติดเชื้อในช่องคลอด  เสี่ยงเลือดออกมากระหว่างมีประจำเดือน จากการทดลองเกี่ยวกับการใช้แผ่นแปะคุมกำเนิดในหญิงวัยรุ่นไทยของภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ เมื่อปี พ.ศ. […]


การคุมกำเนิด

ผลข้างเคียงยาคุมฉุกเฉิน ที่ควรรู้ก่อนใช้งาน

ยาคุมฉุกเฉิน เป็นยาคุมกำเนิดที่ใช้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์สำหรับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ผู้ที่ลืมรับประทานยาคุมกำเนิดตามกำหนด หรือถุงยางอนามัยที่ใช้แตก ควรใช้ในกรณีที่จำเป็นเท่านั้นและไม่ควรใช้บ่อย เนื่องจากยาคุมฉุกเฉินมีฮอร์โมนสูงกว่ายาคุมชนิดอื่น ผลข้างเคียงยาคุมฉุกเฉิน จึงอาจรุนแรงกว่ายาคุมกำเนิดชนิดอื่น ยาคุมฉุกเฉินอาจมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์น้อยกว่าการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดอื่น โดยอาจป้องกันการตั้งครรภ์ได้ประมาณ 75-85% เมื่อรับประทานภายใน 72 ชั่วโมง หรือ 3 วัน และภายใน 150 ชั่วโมง หรือ 5 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดของยา อย่างไรก็ตาม หากรับประทานยาคุมฉุกเฉินแล้วมีผลข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง ควรรีบเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป [embed-health-tool-ovulation] การทำงานของยาคุมฉุกเฉิน ยาคุมฉุกเฉินประเภทรับประทาน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ลีโวนอร์เจสเตรล (Levonorgestrel) เป็นยาในกลุ่มโปรเจสติน (Progestins) ซึ่งเป็นฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) สังเคราะห์ ลีโวนอร์เจสเตรลช่วยยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนตามธรรมชาติ ชะลอการตกไข่ ทำให้มูกมดลูกหนาขึ้น และทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางลง ส่งผลให้ตัวอ่อนฝังตัวได้ยากขึ้น ควรรีบกินยาชนิดนี้ให้เร็วที่สุด หรือภายใน 72 ชั่วโมง (3 วัน) หลังมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ยูริพริสทอล อะซิเตท (Ulipristal acetate) ช่วยชะลอการทำงานของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน […]


สุขภาพทางเพศ

อาการคันช่องคลอด สาเหตุ และวิธีรักษา

อาการคันช่องคลอด อาจเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การติดเชื้อในช่องคลอด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ วัยหมดประจำเดือนที่ส่งผลให้ช่องคลอดแห้งจนเกิดการระคายเคือง วิธีรักษาอาการคันในช่องคลอดอาจแตกต่างกันออกไปตามสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการคัน หากสังเกตว่ามีอาการคันช่องคลอด ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ตกขาวผิดปกติ รู้สึกแสบร้อนขณะปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์ ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาทันที [embed-health-tool-ovulation] สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการคันช่องคลอด สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการคันช่องคลอด มีดังนี้ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อปรสิต เช่น โรคหนองในแท้ หนองในเทียม (Chlamydia) ซิฟิลิส เริมที่อวัยวะเพศ หูดหงอนไก่ เอดส์ โรคพยาธิในช่องคลอด (Trichomonas) ที่อาจส่งผลให้มีอาการระคายเคือง คันช่องคลอดหรือบริเวณรอบ ๆ ปากช่องคลอดได้ การติดเชื้อราในช่องคลอด เกิดขึ้นจากเชื้อราแคนดิดา (Candida) ภายในช่องคลอดเจริญเติบโตมากเกินไป ซึ่งมีหลายปัจจัยเป็นตัวกระตุ้น เช่น ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ การมีเพศสัมพันธ์ การใช้ยาปฏิชีวนะ การตั้งครรภ์ ทำให้เกิดอาการคัน ระคายเคือง แสบร้อนขณะปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์ และตกขาวผิดปกติ ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย เกิดจากความไม่สมดุลของเชื้อแบคทีเรียภายในช่องคลอด ร่วมกับปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น การมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคน มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ทำให้เกิดอาการคันช่องคลอด […]


โรคเริมที่อวัยวะเพศและเริมที่ปาก

เริมที่อวัยวะเพศหญิง สาเหตุ การรักษา และการป้องกัน

เริมที่อวัยวะเพศหญิง เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes simplex) หรือที่เรียกว่าไวรัสเริม ซึ่งอาจแบ่งออกเป็นชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ส่งผลให้มีตุ่มพุพองในบริเวณอวัยวะเพศ รู้สึกเจ็บแสบช่องคลอด และคันอวัยวะเพศอย่างรุนแรง ดังนั้น จึงควรป้องกันด้วยการสวมถุงยางอนามัยทุกก่อนมีเพศสัมพันธ์ ไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนหลายคน และตรวจสุขภาพทางเพศเพื่อคัดกรองโรคเป็นประจำ [embed-health-tool-ovulation] สาเหตุที่ทำให้เกิด เริมที่อวัยวะเพศหญิง เริมที่อวัยวะเพศหญิงเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเริม ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้ 1. ไวรัสเริมชนิดที่ 1 (HSV-1) อาจทำให้เป็นโรคเริมในช่องปาก ซึ่งสามารถติดต่อกันผ่านน้ำลาย หรือการให้แผลสัมผัสกับสารคัดหลั่งที่มีเชื้อไวรัส อีกทั้งยังสามารถทำให้เกิดเริมที่อวัยวะเพศได้หากมีเพศสัมพันธ์ทางปากโดยไม่ป้องกัน อาการของการติดเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 1 อาจสังเกตได้ดังนี้ รู้สึกแสบร้อนบริเวณรอบ ๆ ปาก ช่องคลอด อวัยวะเพศ หรือทวารหนัก มีอาการคัน มีรอยแดงที่ปาก ช่องคลอด ทวารหนัก หรืออวัยวะเพศ มีตุ่มพุพองในช่องปาก ช่องคลอด ปากมดลูก ทวารหนัก อวัยวะเพศ หรือก้น ซึ่งอาจทำให้เกิดแผลเปิดเมื่อตุ่มพุพองแตก แผลเป็นสะเก็ดแข็ง และอาจหายเป็นปกติภายใน 4-6 วัน 2. ไวรัสเริมชนิดที่ 2 (HSV-2) […]


สุขภาพทางเพศ

สาเหตุที่ประจําเดือนไม่มา เกิดจากอะไร

ปกติแล้วผู้หญิงจะมีประจำเดือนทุก ๆ 28 วัน บางคนอาจมาเร็วกว่าหรือช้ากว่านั้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยต่าง ๆ เช่น การใช้ยาคุมกำเนิด การตั้งครรภ์ ความเครียด การออกกำลังกายอย่างหนัก อาจเป็นสาเหตุที่ประจำเดือนไม่มาได้ ดังนั้น หากสังเกตพบว่ามีอาการประจำเดือนไม่มา ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดและทำการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-ovulation] สาเหตุที่ประจําเดือนไม่มา สาเหตุที่ประจำเดือนไม่มา อาจมีดังต่อไปนี้ การรับประทานยาคุมกำเนิด ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิดหรือหยุดรับประทานยาคุมได้ไม่นานอาจมีอาการประจำเดือนไม่มา เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย อาจต้องรอเวลาให้ร่างกายปรับระบบฮอร์โมนก่อนเพื่อให้การหลั่งของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนกลับมาเป็นปกติ และร่างกายมีการตกไข่ จึงจะทำให้ประจำเดือนกลับมาเป็นปกติอีกครั้ง การตั้งครรภ์ ผนังมดลูกที่มีตัวอ่อนฝังอยู่จะไม่หลุดลอกออกมาขณะตั้งครรภ์ ทำให้ประจำเดือนไม่มาหากสังเกตว่าประจำเดือนขาดนานกว่า 2 เดือน ควรตรวจครรภ์ด้วยชุดทดสอบการตั้งครรภ์ หรือตรวจที่โรงพยาบาล น้ำหนักตัวน้อยกว่าหรือมากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ผู้ที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์อาจไม่ได้รับสารอาหารเพียงพอที่จะกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนที่ทำให้ไข่ตก จนอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติหรือประจำเดือนขาด ส่วนผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนอาจส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีส่วนช่วยควบคุมระบบสืบพันธุ์ในปริมาณมากเกินไป หรือน้ำหนักตัวที่มากจะส่งผลกระทบต่อการตกไข่ จนทำให้ประจำเดือนคลาดเคลื่อนได้ ความเครียด อาจเปลี่ยนแปลงการทำงานของไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อที่อยู่ด้านล่างของสมองส่วนหน้า ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนหลายชนิดที่อาจมีความเกี่ยวข้องกับการตกไข่และการมีประจำเดือน การออกกำลังกายหนักเกินไป อาจส่งผลให้ร่างกายเกิดความเครียดจนไปรบกวนการทำงานของต่อมใต้สมอง ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการตกไข่และประจำเดือน จนอาจส่งผลให้ประจำเดือนไม่มา ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยากล่อมประสาท ยาลดความดันโลหิต ยารักษาโรคทางจิตเวช ยาต้านซึมเศร้า ยารักษาโรคภูมิแพ้ เคมีบำบัดมะเร็ง ที่อาจส่งผลให้ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง […]


สุขภาพทางเพศ

เมนส์ไม่มา เกิดจากอะไร ควรทำอย่างไร

ประจำเดือน หรือที่อาจเรียกว่า เมนส์ คือ ภาวะที่มีเลือดไหลออกจากช่องคลอดเป็นประจำทุกเดือนของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีเมนส์ประมาณ 2-8 วัน และเมนส์มักมาทุกเดือน แต่หาก เมนส์ไม่มา อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การตั้งครรภ์ ความผิดปกติของมดลูก จึงควรหมั่นสังเกตการมีประจำเดือน หากพบความผิดปกติใด ๆ ควรพบคุณหมอทันที เมนส์ คือ เมนส์ หรือประจำเดือน คือ ภาวะที่มีเลือดออกจากช่องคลอดทุกเดือนของผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ ถือเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ ในช่วงไข่ตก ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเพศอย่างเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนมากขึ้น ฮอร์โมนเหล่านี้จะกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมให้ตัวอ่อนมาฝังตัว แต่หากไข่ไม่ได้ผสมกับอสุจิ และไม่เกิดการปฏิสนธิจนเป็นตัวอ่อน เยื่อบุโพรงมดลูกก็จะหลุดลอกและไหลออกจากช่องคลอด กลายเป็นเลือดประจำเดือนหรือเมนส์ ผู้หญิงส่วนมากจะมีรอบประจำเดือน 24-38 วัน และจะมีประจำเดือนประมาณ 2- 8 วัน โดยประจำเดือนมักมีลักษณะและปริมาณใกล้เคียงกันทุกเดือน หากมีความผิดปกติเกิดขึ้น เช่น เมนส์ไม่มาติดต่อกันหลายเดือน เมนส์มาไม่ปกติหรือมากะปริบกะปรอย อาจเกิดจากการตั้งครรภ์ การให้นมลูก ความเครียด และโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์อื่น ๆ เช่น รังไข่เสื่อมก่อนกำหนด ภาวะอุ้งเชิงการอักเสบ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อหาวิธีช่วยให้เมนส์มาเป็นปกติ เช่น ปรับพฤติกรรมการออกกำลังกาย หาวิธีลดความเครียด […]


สุขภาพทางเพศ

อาการก่อนเป็นประจำเดือน (PMS) พร้อมวิธีรับมือที่ควรรู้

อาการก่อนเป็นประจำเดือน (Premenstrual syndrome หรือ PMS) เป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนเป็นประจำเดือน มักส่งผลกระทบทั้งด้านร่างกาย จิตใจและอารมณ์ ผู้หญิงแต่ละคนอาจมีอาการก่อนเป็นประจำเดือนที่อาจแตกต่างกันทั้งรูปแบบและความรุนแรงของอาการ เช่น ปวดหลัง ปวดท้อง เจ็บบริเวณหน้าอก ฉุนเฉียวง่าย อารมณ์อ่อนไหว ซึมเศร้า ทั้งนี้ ควรศึกษาอาการที่เกิดขึ้นเพื่อเตรียมรับมืออย่างถูกวิธี โดยทั่วไปแล้ว ภาวะนี้สามารถรักษาด้วยการปรับพฤติกรรม เช่น การออกกำลังกาย การงดสูบบุหรี่ อย่างไรก็ตาม หากปรับพฤติกรรมแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับคำแนะนำและการรักษาที่เหมาะสมที่สุด [embed-health-tool-ovulation] อาการก่อนเป็นประจำเดือน คืออะไร อาการก่อนเป็นประจำเดือน (Premenstrual syndrome หรือ PMS) คือ กลุ่มอาการผิดปกติด้านร่างกายและอารมณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงไข่ตก ก่อนที่ประจำเดือนจะเริ่มต้นประมาณ 1 สัปดาห์ โดยปกติแล้วอาการก่อนเป็นประจำเดือนจะหายไปภายใน 1-2 วันหลังมีประจำเดือน แม้จะยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าอาจเกิดจากปัจจัยภายใน เช่น ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่เปลี่ยนแปลงในช่วงที่เป็นประจำเดือน คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคซึมเศร้า หรือปัจจัยภายนอก เช่น การไม่ออกกำลังกาย ความเครียดสะสม การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ สัญญาณของ อาการก่อนเป็นประจำเดือน สัญญาณที่อาจแสดงถึงอาการก่อนเป็นประจำเดือน […]


การคุมกำเนิด

ยาคุมแบบแปะ วิธีการใช้และผลข้างเคียง

การใช้ ยาคุมแบบแปะ หรือแผ่นแปะคุมกำเนิด เป็นวิธีคุมกำเนิดที่ช่วยในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั่วไปคือ แปะแผ่นแปะคุมกำเนิดไว้บนผิวหนังติดต่อกัน 3 สัปดาห์ใน 1 เดือน โดยเปลี่ยนแผ่นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และงดแปะ 1 สัปดาห์ เพื่อให้ประจำเดือนมาในรอบเดือนนั้น เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการคุมกำเนิดด้วยการใช้ยาคุมแบบเม็ดที่ต้องกินยาทุกวัน อย่างไรก็ตาม การศึกษาวิธีใช้งานที่ถูกต้อง และพิจารณาผลข้างเคียงของยาคุมแบบแปะหรือแผ่นแปะคุมกำเนิด อาจช่วยให้วางแผนป้องกันการตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น [embed-health-tool-ovulation] การทำงานของยาคุมแบบแปะ ยาคุมแบบแปะ หรือแผ่นแปะคุมกำเนิด เป็นแผ่นยาฮอร์โมนชนิดฮอร์โมนรวม ประกอบไปด้วยยาฮอร์โมนในกลุ่มเอสโตรเจน (Estrogens) ผสมกับยาฮอร์โมนในกลุ่มโปรเจสติน (Progestins) ซึ่งเป็นฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสังเคราะห์ แผ่นแปะคุมกำเนิดมีลักษณะเป็นแผ่นสีเนื้อบาง ยืดหยุ่นได้ดี สามารถแปะไว้ในขณะที่อาบน้ำ ว่ายน้ำ เล่นกีฬา และทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ วิธีใช้คือ แปะแผ่นแปะคุมกำเนิดไว้บนผิวหนังบริเวณต้นแขน หลังส่วนบน หน้าท้อง เป็นต้น แผ่นยาจะปล่อยฮอร์โมนเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังและยาจะค่อย ๆ ซึมเข้าสู่กระแสเลือด ตัวยาจะเข้าไปยับยั้งไม่ให้เกิดการตกไข่ ทำให้มูกบริเวณมดลูกหนาขึ้น ป้องกันไม่ให้ตัวอสุจิผ่านเข้าไปได้ และทำให้ผนังมดลูกบางจนตัวอ่อนไม่สามารถฝังตัวในมดลูกได้ อย่างไรก็ตาม ยาคุมแบบแปะสามารถช่วยคุมกำเนิดได้เท่านั้น ไม่สามารถช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually Transmitted Infections […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน