สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

ไขข้อสงสัย เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เกี่ยวข้องกันอย่างไร

เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก ทั้ง 2 โรคนี้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร? คุณเคยสงสัยหรือไม่? วันนี้เราจะมาหาคำตอบถึงความเกี่ยวข้องกันของ เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เพื่อให้คุณผู้หญิงทุกคนได้ระมัดระวังตัวมากยิ่งขึ้น ถ้าพร้อมแล้วหาคำตอบความเกี่ยวข้องของเชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูกได้ในบทความนี้ HPV คือกลุ่มของเชื้อไวรัสที่เกี่ยวข้องมากกว่า 200 ชนิด บางชนิดแพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางช่องปาก โดยจะแบ่งออกเป็นกล่มที่มีความเสี่ยงต่ำกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง HPV กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดโรค แต่บางชนิดอาจทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก ปาก หรือลำคอได้ HPV กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสามารถทำให้เกิดมะเร็งได้หลายประเภทหนึ่งในนั้น คือ มะเร็งปากมดลูก เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เกี่ยวข้องกันอย่างไร มะเร็งปากมดลูกในสตรีส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ ฮิวแมนแพพพิลโลมาไวรัส (Human papillomavirus : HPV) ซึ่งเป็นกลุ่มของเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 200 ชนิด เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายในระหว่างมีเพศสัมพันธ์และการทำกิจกรรมทางเพศอื่น ๆ  เช่น การสัมผัสทางผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ เชื้อ HPV อย่างน้อย 15 ชนิด มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก ส่วนใหญ่ HPV16 และ HPV18 จะเป็นตัวที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด โดยเชื้อ HPV ที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้จะเข้าไปหยุดการทำงานของเซลล์ ซึ่งส่งผลให้เซลล์สืบพันธ์มีความผิดปกติแบบควบคุมไม่ได้ นำไปสู่การเจริญเติบโตของเนื้องอกมะเร็ง ปัจจัยเสี่ยงเชื้อเอชพีวีพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูก ชนิดของเชื้อ […]

หมวดหมู่ สุขภาพทางเพศ เพิ่มเติม

การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

การคุมกำเนิด

ยาคุมฉุกเฉิน1เม็ด วิธีการใช้ยา และผลข้างเคียง

ยาคุมฉุกเฉิน1เม็ด เป็นยาคุมฉุกเฉินที่ใช้ตัวยาออกฤทธิ์ชนิด Levonorgestrel ขนาด 1.5 มิลลิกรัม รับประทานทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์หรือไม่เกิน 72 ชั่วโมง หากรับประทานอย่างถูกต้องอาจช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 84% แต่ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ยาคุมฉุกเฉินอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ เลือดออกทางช่องคลอด เจ็บเต้านม ซึ่งอาการข้างเคียงเหล่านี้จะดีขึ้นเองตามลำดับ แต่หากมีอาการผิดปกติติดต่อกันหลายวัน ควรปรึกษาคุณหมอ [embed-health-tool-”ovulation”] ยาคุมฉุกเฉิน1เม็ด คืออะไร ยาคุมฉุกเฉิน 1 เม็ด ชนิดตัวยาที่ใช้กันมากที่สุดคือ Levonorgestrel เป็นยาในกลุ่มโปรเจสติน (Progestins) ซึ่งเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์เลียนแบบโปรเจสเตอโรน (Progesterone) สามารถดูดซึมเข้าร่างกายได้ดีกว่า โดยยาคุมฉุกเฉิน 1 เม็ดมีขนาด 1.5 มิลลิกรัม ใช้รับประทานทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์ หรือไม่เกิน 72 ชั่วโมง อาจสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้ 84% โดยการออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการตกไข่ ลดปริมาณของ Glycodelin ซึ่งเป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์รวมไปถึงช่วยยับยั้งการปฏิสนธิ หลังจากรับประทานยาในช่วงสัปดาห์แรกอาจทำให้มีเลือดออกกะปริบกะปรอย หรือตกขาวสีน้ำตาล และอาจทำให้ประจำเดือนรอบใหม่คลาดเคลื่อนได้ วิธีกินยาคุมฉุกเฉิน1เม็ด ยาคุมฉุกเฉิน 1 เม็ด ควรรับประทานทันทีหลังมีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด หรือไม่เกิน 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ […]


สุขภาพทางเพศ

คันอวัยวะเพศหญิงภายนอก อาการ สาเหตุ และการรักษา

คันอวัยวะเพศหญิงภายนอก เป็นอาการระคายเคืองที่เกิดขึ้นบนผิวหนังอวัยวะเพศหรือบริเวณโดยรอบ บางครั้งอาการคันอาจมาพร้อมกับผื่นแดง อาจมีสาเหตุจากการติดเชื้อ ผิวหนังอักเสบ เนื้องอก โรคปลายประสาทอักเสบ หรือการตั้งครรภ์ การดูแลและการรักษาอย่างเหมาะสมอาจช่วยบรรเทาอาการคันที่อาจเกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-ovulation] คำจำกัดความ คันอวัยวะเพศหญิงภายนอกคืออะไร อาการคันอวัยวะเพศหญิงภายนอก คือ อาการระคายเคืองบริเวณผิวภายนอกอวัยวะเพศ ทำให้รู้สึกไม่สบายที่อวัยวะเพศหรือบริเวณอื่น ๆ โดยรอบ ได้แก่ หัวหน่าว แคมใหญ่  แคมเล็ก ฝีเย็บ หรือเนื้อเยื่อระหว่างช่องคลอดและทวารหนัก และคลิตอริสหรือปุ่มกระสัน อาการคันสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไป และอาจไม่มีอันตรายอะไร แต่ถ้าอาการคันนั้นรบกวนการใช้ชีวิต หรือเกิดขึ้นอย่างเรื้อรังอาจเกิดจากปัญหาผิวหนัง เช่น กลาก โรคสะเก็ดเงิน การระคายเคืองจากเสื้อผ้า การติดเชื้อแบคทีเรีย อาการ อาการคันอวัยวะเพศหญิงภายนอก อาการคันอวัยวะเพศหญิงอาจมาพร้อมกับอาการผื่นแดง ซึ่งไม่ได้หมายถึงปัญหาสุขภาพเสมอไป แต่หากมีอาการคันอย่างต่อเนื่องตามตำแหน่งต่าง ๆ ของอวัยวะเพศ ก็อาจเป็นสัญญาณของโรคได้ ดังนี้ อาการคันบริเวณต้นขา อาจหมายถึงการระคายเคืองจากผิวหนังอักเสบจากพฤติกรรมกลั้นปัสสาวะนาน ๆ อาการคันบริเวณขาหนีบ อาจหมายถึงโรคผิวหนังอักเสบ  อาการผื่นจากเชื้อรา อาการคันบริเวณหัวหน่าว อาจหมายถึงโรคผิวหนังอักเสบ รูขุมขนอักเสบ อาการคันบริเวณแคมใหญ่ อาจหมายถึงโรคสะเก็ดเงินที่อวัยวะเพศ โรคผิวหนังภูมิแพ้ โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง (Lichen simplex) อาการคันบริเวณแคมเล็ก อาจหมายถึงโรคไลเคนพลานัส (Lichen Planus) หรือโรคไลเคนสเคลโรซัส […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

อาการของโรคเอดส์ สังเกตจากอะไร

โรคเอดส์ คือ การติดเชื้อเอชไอวีในระยะสุดท้าย หรือที่เรียกว่า ระยะเอดส์ ซึ่งสามารถแพร่กระจายผ่านทางเพศสัมพันธ์ ทางเลือด และแพร่จากแม่สู่ลูกระหว่างการตั้งครรภ์ การคลอดบุตร และการให้นมบุตรได้ด้วย เพื่อความปลอดภัยและเฝ้าระวังการติดเชื้อ ควรศึกษา อาการของโรคเอดส์ รวมถึงอาการติดเชื้อเอชไอวีในระยะแรก ก่อนเสี่ยงเป็นโรคเอดส์ที่อาจทำให้ร่างกายอ่อนแอลง [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคเอดส์ เกิดจากอะไร โรคเอดส์ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ การตั้งครรภ์หรือการให้นมบุตรจากแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวีสู่ลูก การถ่ายเลือด เช่น การบริจาคเลือด หากไม่ได้รับการรักษา เชื้อเอชไอวีอาจทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวซีดีโฟร์ (CD4) ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรค เมื่อใดที่ร่างกายมีเซลล์ซีดีโฟร์ต่ำกว่า 200 เซลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตร ก็อาจส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลง เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยบ่อย และถือว่าการติดเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ระยะเอดส์ หรือเป็นโรคเอดส์แล้ว ระยะของการติดเชื้อเอชไอวีและ อาการของโรคเอดส์  ระยะของการติดเชื้อเอชไอวีและ อาการของโรคเอดส์ ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี มีดังนี้ ระยะที่ 1: อาการติดเชื้อเอชไอวีเฉียบพลัน เป็นระยะแรกของการติดเชื้อเอชไอวี อาการอาจปรากฏภายใน 2-4 สัปดาห์หลังจากร่างกายได้รับเชื้อ โดยมีอาการคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ แต่อาจหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ อาการเริ่มต้นของการติดเชื้อเอชไอวี ได้แก่ มีไข้ ปวดศีรษะ และมีอาการทางประสาทอื่น ๆ […]


สุขภาพทางเพศ

ประจําเดือนไม่มา2เดือน เป็นเพราะอะไร รับมืออย่างไรดี

ประจำเดือนไม่มา2เดือน เป็นปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้ ในบางกรณีอาจเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ หรืออาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่น เช่น วัยหมดประจำเดือน ความเครียด ความผิดปกติของฮอร์โมน การใช้ยาบางชนิด ซึ่งภาวะประจำเดือนขาดอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะมีบุตรยากและกระดูกพรุน การรักษาสาเหตุหลักของภาวะประจำเดือนขาดอาจลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพและภาวะแทรกซ้อนได้ [embed-health-tool-ovulation] สาเหตุที่ประจําเดือนไม่มา2เดือน ประจำเดือนไม่มา2เดือน จัดเป็นภาวะประจำเดือนขาด (Amenorrhea) ภาวะนี้เกิดจากรังไข่หลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยกว่าปกติ ทำให้ร่างกายขาดฮอร์โมนในกระบวนการผลิตไข่และเตรียมตั้งครรภ์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ การตั้งครรภ์ ประจำเดือนจะหยุดไปในช่วงตั้งครรภ์ เนื่องจากไม่มีการตกไข่ คือ รังไข่ไม่ปล่อยไข่ออกมา แต่ในบางรายอาจมีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อยระหว่างตั้งครรภ์ เรียกว่า เลือดล้างหน้าเด็ก ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากเลือดออกมากกว่าปกติในช่วงตั้งครรภ์ ควรพบคุณหมอเพื่อตรวจสุขภาพครรภ์ทันที การให้นมลูก อาจเกิดขึ้นได้ในผู้หญิงบางคน ประจำเดือนจะขาดหายไปจนกว่าจะสิ้นสุดช่วงเวลาให้นมบุตร หรือบางคนประจำเดือนอาจกลับมาภายใน 2-3 เดือนหลังคลอด วัยหมดประจำเดือน ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน คือ ประมาณช่วงอายุ 40-51 ปี แต่บางคนอาจเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนก่อนอายุ 40 ปี เรียกว่า วัยหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร หรือวัยทองก่อนวัยอันควร ซึ่งอาจมาพร้อมกับอาการร้อนวูบวาบได้ การใช้ยาคุมกำเนิด หากรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม หรือใช้ยาคุมกำเนิดแบบฉีด หลังจากยาคุมกำเนิดหมดฤทธิ์หรือเลิกรับประทานยา อาจต้องรอประมาณ 2-3 เดือน กว่าประจำเดือนรอบใหม่จะกลับมาอีกครั้ง หรือในบางคนอาจต้องรอนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับความพร้อมของฮอร์โมนในร่างกาย น้ำหนัก น้ำหนักตัวที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปอาจทำให้ประจำเดือนขาดได้ […]


สุขภาพทางเพศ

ฮอร์โมนเพศ คืออะไรและความสำคัญ

ฮอร์โมนเพศ เป็นสารเคมีในร่างกายที่สร้างขึ้นจากต่อมหมวกไต รังไข่ อัณฑะ และเซลล์ไขมัน แบ่งออกเป็นฮอร์โมนแอนโดรเจน เทสโทสเตอโรน เอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน พบได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาลักษณะทางร่างกาย เช่น การสร้างขนตามร่างกาย พัฒนาการของเต้านม เสียงแตก ความต้องการทางเพศ การสืบพันธุ์ นอกจากนี้ ยังช่วยควบคุมคอเลสเตอรอล และป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกอีกด้วย [embed-health-tool-ovulation] ฮอร์โมนเพศคืออะไร ฮอร์โมนเป็นสารเคมีที่ผลิตโดยต่อมไรท่อและถูกลำเลียงไปส่วนต่าง ๆ ในร่างกายตามกระแสเลือด เพื่อช่วยควบคุมกระบวนการทำงานต่าง ๆ เช่น ความอยากอาหาร การนอนหลับ การเจริญเติบโต และพฤติกรรม โดยฮอร์โมนเพศมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาทางเพศและการสืบพันธุ์ ถูกผลิตโดยต่อมหมวกไตและอวัยวะสืบพันธุ์ รวมถึงรังไข่ในเพศหญิงและอัณฑะในเพศชาย ฮอร์โมนเพศมีความสำคัญต่อร่างกายและเกี่ยวข้องกับสุขภาพโดยรวม ได้แก่ การเจริญเติบโตของร่างกาย กระดูกและกล้ามเนื้อ พัฒนาการทางเพศ การสืบพันธุ์ ความต้องการทางเพศ ปฏิกิริยาการอักเสบ การควบคุมระดับคอเลสเตอรอล การกระจายไขมันในร่างกาย และการเจริญเติบโตของเส้นผม กลุ่มฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนเพศช่วยควบคุมการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ทั้งเพศชายและเพศหญิง ดังนี้ ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) ฮอร์โมนแอนโดรเจนเป็นกลุ่มของฮอร์โมนที่มีส่วนประกอบหลักคือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และแอนโดรสเตนีไดโอน (Androstenedione) มีบทบาทสำคัญต่อลักษณะของผู้ชายและการสืบพันธุ์ โดยฮอร์โมนชนิดนี้สามารถพบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง นอกจากนี้ ยังมีแอนโดรเจนอื่น ๆ ได้แก่ ฮอร์โมนที่ทำให้ผมร่วง (Dihydrotestosterone […]


การคุมกำเนิด

ยาคุมกำเนิด มีการทำงาน และผลข้างเคียงอย่างไร

ยาคุมกำเนิด ส่วนใหญ่ประกอบด้วยฮอร์โมน 2 ชนิด คือฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ที่อาจช่วยป้องกันการตั้งครรภ์หากรับประทานอย่างถูกต้อง ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีการใช้ยาคุมกำเนิดอย่างถูกต้อง เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ [embed-health-tool-”ovulation”] ยาคุมกำเนิดคืออะไร  ยาคุมกำเนิด คือ ยาป้องกันการตั้งครรภ์สำหรับผู้ที่ไม่พร้อมมีบุตร โดยมีทั้งในรูปแบบ 21 เม็ด 28 เม็ด และยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินแบบ 1 เม็ด และ 2 เม็ด ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เพื่อยับยั้งกระบวนการตกไข่ ทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ยากขึ้น หากรับประทานอย่างถูกวิธีอาจมีประสิทธิภาพในป้องกันการตั้งครรภ์ได้มากถึง 99% ประเภทของยาคุมกำเนิด  ประเภทของยาคุมกำเนิด มีดังนี้ ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม (Combined Oral Contraceptive:  – COC)  เป็นยาคุมชนิดเม็ดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสติน ควรรับประทานในวันแรกที่ประจำเดือนมา หรือไม่เกิน 5 วันหลังจากนั้น โดยรับประทานตามลูกศรที่กำหนดไว้บนแผงยา ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวมประกอบไปด้วยยาคุม 3 ชนิดหลัก ๆ ได้แก่ ยาคุมฮอร์โมนระดับเดียว (Monophasic pills) เป็นยาคุมกำเนิดที่พบบ่อยที่สุด ใน 1 แผง จะมีทั้งหมด 21 เม็ด […]


สุขภาพทางเพศ

เจ็บหัวนม เกิดจากอะไร มีวิธีป้องกันอย่างไร

เจ็บหัวนม คือ อาการเจ็บปวดบริเวณหัวนมเมื่อถูกสัมผัส หรือเสียดสีกับเสื้อผ้า เป็นต้น และอาจเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ โรคมะเร็งเต้านม หากเจ็บหัวนมและกังวลใจควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัย หากพบความผิดปกติใด ๆ จะได้รักษาอย่างทันท่วงที [embed-health-tool-ovulation] สาเหตุของอาการเจ็บหัวนม เจ็บหัวนม อาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ คัดเต้าจากการตั้งครรภ์และให้นมบุตร อาการคัดเต้าอาจเกิดขึ้นเมื่อเริ่มตั้งครรภ์จนถึงช่วงหลังคลอดและให้นมบุตร เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) อาจเพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ ส่งผลให้เต้านมขยายเพื่อรองรับการผลิตน้ำนมให้ทารก ซึ่งอาจรู้สึกได้ถึงอาการเจ็บรอบเต้านมและหัวนมเมื่อถูกสัมผัส หรือเสียดสี อีกทั้งยังอาจเกิดจากทารกดูดนมแรงจนเกินไป ทำให้หัวนมอาจแตก บวมแดง หัวนมติดเชื้อ  การติดเชื้อที่หัวนมมักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) เชื้อราแคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida Albicans) ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่อาจเกิดจากทารกดูดนมจากเต้าแรงจนทำให้หัวนมเป็นแผล จนอาจนำไปสู่การติดเชื้อ หากทารกกินนมต่อไปอาจทำให้ได้รับเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา โดยสังเกตได้จากจุดสีขาวเป็นหย่อมในช่องปากทารก ประจำเดือน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจนเทอโรน (Progesterone) ระหว่างรอบเดือนอาจส่งผลให้เกิดสัญญาณเตือน คือ อาการเจ็บเต้านม เจ็บหัวนมอย่างรุนแรงก่อนประจำเดือนมา และอาการอาจดีขึ้นเมื่อประจำเดือนมาหรือหลังประจำเดือนหมด มะเร็งเต้านม มะเร็งเต้านมอาจส่งผลให้เกิดอาการเจ็บหัวนมและรอบเต้านม โรคนี้สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย แต่อาจพบบ่อยในผู้หญิงโดยมีสาเหตุมาจากเซลล์ในเต้านมแบ่งตัวและเจริญเติบโตผิดปกติ จนเกิดเป็นก้อนเนื้องอก มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่มักเริ่มในท่อผลิตน้ำนม และแพร่กระจายไปทำลายเซลล์เนื้อเยื่อในเต้านม หากครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งชนิดอื่น ๆ ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมได้เช่นกัน การป้องกันอาการ เจ็บหัวนม การป้องกันอาการเจ็บหัวนม อาจทำได้ดังนี้ […]


สุขภาพทางเพศ

น้ำอสุจิ บอกสุขภาพ กับเรื่องน่ารู้ของน้ำอสุจิ

น้ำอสุจิ เป็นของเหลวข้นที่ปล่อยจากอวัยวะเพศชายเมื่อถึงจุดสุดยอดหรือระหว่างมีเพศสัมพันธ์ มีตัวอสุจิที่ทำหน้าที่ปฏิสนธิกับไข่ของเพศหญิงและทำให้เกิดการตั้งครรภ์ โดยน้ำอสุจิอาจบ่งบอกถึงสุขภาพทางเพศได้ เช่น ภาวะมีบุตรยาก ปัญหาต่อมลูกหมาก โดยมักสังเกตได้จากสี ปริมาณ หรือใช้วิธีนำน้ำอสุจิไปทดสอบในห้องแล็บเพื่อวิเคราะห์คุณภาพ [embed-health-tool-ovulation] น้ำอสุจิ คืออะไร น้ำอสุจิ คือของเหลวข้นที่ปล่อยออกจากอวัยเพศชายเมื่อถึงจุดสุดยอด มีจุดประสงค์หลักคือเพื่อการสืบพันธ์ประกอบไปด้วยตัวอสุจิ 10% นอกจากนั้นคือเอนไซม์ วิตามินซี แคลเซียม โปรตีน โซเดียม สังกะสี และน้ำตาลฟรุกโตส ทำหน้าที่ลำเลียงและเป็นพลังงานให้กับตัวอสุจิในการเดินทางไปปฏิสนธิกับไข่ของเพศหญิง โดยการหลั่งอสุจิ 1 ครั้ง ควรมีปริมาณตัวอสุจิไม่น้อยกว่า 15 ล้านตัว/มิลลิลิตรของน้ำอสุจิ ลักษณะของน้ำอสุจิเป็นของเหลวข้นที่ถูกควบคุมความข้นโดยเอนไซม์ ช่วยให้อสุจิถูกปล่อยออกมาอย่างช้า ๆ และเข้าสู่มดลูกอย่างเป็นระเบียบ กระบวนการหลั่งน้ำอสุจิ ตัวอสุจิถูกผลิตในถุงอัณฑะและส่งผ่านไปยังถุงน้ำอสุจิ เพื่อเก็บไว้จนกว่าจะถึงเวลาปล่อยไปยังท่อนำอสุจิ (Vas deferens) และถูกปล่อยออกมาภายนอก โดยมีส่วนประกอบและกระบวนการผลิตน้ำอสุจิ ดังนี้ ต่อมคาวเปอร์ (Cowper’s Glands) เป็นต่อมที่อยู่ใต้ต่อมลูกหมาก มีหน้าที่สร้างสารหล่อลื่นในท่อปัสสาวะในขณะเกิดการกระตุ้นทางเพศ ซึ่งเป็นของเหลวปริมาณเล็กน้อยที่ถูกปล่อยออกมาก่อนการหลั่ง ช่วยหล่อลื่นท่อปัสสาวะลดความเป็นกรดทำให้ตัวอสุจิเดินทางออกมาได้ง่ายขึ้น ต่อมลูกหมาก (Prostate Gland) อยู่บริเวณฐานกระเพาะปัสสาวะรอบท่อปัสสาวะ ผลิตน้ำอสุจิประมาณ 15-30% และเป็นแหล่งของกรดซิตริก (Citric acid) อิโนซิทอล (Inositol) […]


สุขภาพทางเพศ

ฝันเปียก คืออะไร และเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับฝันเปียก

ฝันเปียก เป็นกระบวนการปล่อยน้ำอสุจิของเพศชายในขณะนอนหลับ แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงเช่นกัน ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในเพศชายวัยแรกรุ่น เนื่องจากฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงมาก ร่างกายเริ่มผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนและสร้างตัวอสุจิเพื่อเริ่มกระบวนการปฏิสนธิ อย่างไรก็ตาม บางคนอาจไม่เคยมีฝันเปียกเลย ในขณะที่บางคนอาจฝันเปียกบ่อย ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ [embed-health-tool-ovulation] ฝันเปียก คืออะไร ฝันเปียก คือ การปล่อยน้ำอสุจิออกจากอวัยวะเพศชายเนื่องจากการถึงจุดสุดยอดระหว่างฝัน พบบ่อยในช่วงวัยแรกรุ่น มักเกิดขึ้นช่วงเวลากลางคืนในขณะที่นอนหลับและอาจฝันเกี่ยวกับเรื่องเพศ หรือเกิดจากการที่อวัยวะเพศถูกกระตุ้นด้วยการเสียดสีกับผ้าห่มหรือหมอน ผู้หญิงอาจมีอาการฝันเปียกซึ่งเป็นการหลั่งน้ำหล่อลื่นออกทางช่องคลอดระหว่างนอนหลับได้เช่นกัน แต่โอกาสเกิดจะน้อยกว่าผู้ชาย สาเหตุของฝันเปียก ผู้ชายในช่วงอายุระหว่าง 9-15 ปี จะเข้าสู่วัยเจริญพันธ์ุ ร่างกายจะเริ่มผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเพิ่มขึ้นและสร้างตัวอสุจิออกมา เตรียมพร้อมที่จะเริ่มกระบวนปฏิสนธิกันไข่ โดยฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลให้มีแรงขับทางเพศมากขึ้น ทำให้เกิดความฝันเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงนอนหลับ และทำให้เกิดอาการฝันเปียกเมื่อถึงจุดสุดยอด สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับฝันเปียก ฝันเปียกไม่จำเป็นต้องฝันเรื่องทางเพศเสมอไป ฝันเปียกอาจเกิดขึ้นเมื่อบุคคลฝันเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ แต่ในบางกรณี ฝันเปียกอาจเกิดขึ้นเมื่ออวัยวะเพศถูกกระตุ้นจากแรงเสียดสีของเสื้อผ้า ผ้าห่ม หมอนข้าง หรือปัจจัยอื่น ๆ ฝันเปียกเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัย ฝันเปียกเกิดขึ้นได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง บางคนอาจไม่เคยมีฝันเปียกเลย บางคนอาจเกิดขึ้นประปรายในช่วงวัยรุ่น บางคนอาจเกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงวัยรุ่นแต่ไม่เกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ แต่บางคนอาจมีอาการฝันเปียกตลอดทั้งชีวิต ฝันเปียกเกิดขึ้นบ่อยในวัยแรกรุ่น เนื่องจากช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน วัยรุ่นอาจยังไม่เคยมีประสบการณ์ทางเพศและมีความคิดเกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์มากกว่า จึงอาจทำให้น้ำอสุจิถูกปล่อยออกมาระหว่างการนอนหลับ ฝันเปียกกับระบบสืบพันธุ์ การหลั่งฝันเปียกสามารถช่วยลดอสุจิส่วนเกินในลูกอัณฑะ ซึ่งส่งผลดีต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์ในผู้ชาย ฝันเปียกไม่ลดจำนวนตัวอสุจิ แต่ฝันเปียกช่วยกำจัดอสุจิเก่าและช่วยสร้างอสุจิใหม่ที่สุขภาพดีและแข็งแรงกว่า จัดการตัวเองเมื่อมีฝันเปียก หากพบฝันเปียกในตอนเช้าให้ล้างอวัยวะเพศด้วยน้ำและสบู่ รวมถึงบริเวณใต้หนังหุ้มปลาย เพื่อทำความสะอาดและลดการหมักหมมของสิ่งสกปรก ผู้หญิงมีฝันเปียกได้หรือไม่ ผู้หญิงสามารถมีอาการฝันเปียกได้เช่นกัน โดยมักเกิดขึ้นในเวลากลางคืนเมื่อผู้หญิงมีความฝันเกี่ยวกับเรื่องเพศ ทำให้มีการหลั่งน้ำหล่อลื่นในช่องคลอดของผู้หญิงไหลออกมาขณะถึงจุดสุดยอด […]


การคุมกำเนิด

ฝังเข็มยาคุม อีกหนึ่งทางเลือกของการคุมกำเนิด

ฝังเข็มยาคุม เป็นการคุมกำเนิดในระยะยาวสำหรับผู้หญิง โดยนำแท่งพลาสติกยืดหยุ่นได้ขนาดประมาณไม้ขีดไฟ ซึ่งประกอบด้วยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ที่เรียกว่า อีโตโนเกสเตรล (Etonogestrel) ฝังเข้าไปบริเวณใต้ท้องแขนด้านบน อาจมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ประมาณ 3-5 ปี เหมาะสำหรับผู้ที่ลืมรับประทานยาคุมกำเนิดบ่อย ๆ [embed-health-tool-ovulation] ฝังเข็มยาคุม คืออะไร ฝังเข็มยาคุม คือ การนำแท่งพลาสติกที่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนฝังเข้าบริเวณใต้ท้องแขนด้านบน โดยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะค่อย ๆ ซึมผ่านออกมาจากแท่งพลาสติกเข้าสู่กระแสเลือดในปริมาณต่ำและสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการตกไข่ในแต่ละรอบเดือน รวมถึงทำให้มูกบริเวณปากมดลูกเหนียวข้น ส่งผลให้อสุจิเคลื่อนที่ไปปฏิสนธิกับไข่ได้ยากขึ้น และยังทำให้ผนังเยื่อบุมดลูกบางลง จึงไม่เหมาะกับการฝังตัวของตัวอ่อน ส่งผลให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้น้อยลง  ขั้นตอนการฝังเข็มยาคุม  การฝังเข็มยาคุมกำเนิด ควรทำในช่วงมีประจำเดือน 5 วันแรก เพื่อจะได้แน่ใจว่าไม่ได้กำลังตั้งครรภ์ รวมถึงเพื่อให้ยาที่ฝังมีผลในการป้องกันทันที การฝังเข็มยาคุมใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที โดยขั้นตอนอาจมีดังนี้  ตรวจร่างกาย เช็ดทำความสะอาดผิวหนังด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ฉีดยาชาบริเวณจุดฝังเข็มยาคุม ใช้เข็มเปิดแผลและสอดแท่งที่มีหลอดยาบรรจุไปในบริเวณใต้ท้องแขน ทำการปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ ตามด้วยผ้าพันแผล หลังจากฝังเข็มยาคุมสามารถถอดผ้าพันแผลออกได้ภายใน 24 ชั่วโมง แต่ควรปิดแผลด้วยพลาสเตอร์กันน้ำเอาไว้ 3-5 วัน เพื่อรักษาความสะอาด และรอให้ยาคุมแบบฝังเข้าที่ และควรไปหาคุณหมอตามกำหนด เพื่อตรวจดูแผลที่ฝังยาและติดตามผล การฝังเข็มยาคุมสามารถอยู่ได้ประมาณ 3-5 ปี เมื่อครบกำหนดควรถอดยาออก และใส่หลอดใหม่เข้าไปหากต้องการคุมกำเนิดต่อ แต่หากลืมฝังยาคุมกำเนิดควรป้องกันด้วยวิธีอื่นก่อน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน