สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

ไขข้อสงสัย เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เกี่ยวข้องกันอย่างไร

เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก ทั้ง 2 โรคนี้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร? คุณเคยสงสัยหรือไม่? วันนี้เราจะมาหาคำตอบถึงความเกี่ยวข้องกันของ เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เพื่อให้คุณผู้หญิงทุกคนได้ระมัดระวังตัวมากยิ่งขึ้น ถ้าพร้อมแล้วหาคำตอบความเกี่ยวข้องของเชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูกได้ในบทความนี้ HPV คือกลุ่มของเชื้อไวรัสที่เกี่ยวข้องมากกว่า 200 ชนิด บางชนิดแพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางช่องปาก โดยจะแบ่งออกเป็นกล่มที่มีความเสี่ยงต่ำกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง HPV กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดโรค แต่บางชนิดอาจทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก ปาก หรือลำคอได้ HPV กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสามารถทำให้เกิดมะเร็งได้หลายประเภทหนึ่งในนั้น คือ มะเร็งปากมดลูก เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เกี่ยวข้องกันอย่างไร มะเร็งปากมดลูกในสตรีส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ ฮิวแมนแพพพิลโลมาไวรัส (Human papillomavirus : HPV) ซึ่งเป็นกลุ่มของเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 200 ชนิด เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายในระหว่างมีเพศสัมพันธ์และการทำกิจกรรมทางเพศอื่น ๆ  เช่น การสัมผัสทางผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ เชื้อ HPV อย่างน้อย 15 ชนิด มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก ส่วนใหญ่ HPV16 และ HPV18 จะเป็นตัวที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด โดยเชื้อ HPV ที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้จะเข้าไปหยุดการทำงานของเซลล์ ซึ่งส่งผลให้เซลล์สืบพันธ์มีความผิดปกติแบบควบคุมไม่ได้ นำไปสู่การเจริญเติบโตของเนื้องอกมะเร็ง ปัจจัยเสี่ยงเชื้อเอชพีวีพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูก ชนิดของเชื้อ […]

หมวดหมู่ สุขภาพทางเพศ เพิ่มเติม

การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ

เลือดออกช่องคลอด สัญญาณเตือนที่ผู้หญิงควรรู้

เลือดออกช่องคลอด เป็นภาวะที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ทุกคนในทุกเดือน หรือที่เรียกว่า ประจำเดือน อย่างไรก็ตาม บางกรณีเลือดออกช่องคลอดผิดปกติที่ไม่ใช่ประจำเดือน อาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น การติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพร่างกาย ที่ควรสังเกตและรีบทำการรักษา [embed-health-tool-ovulation] เลือดออกช่องคลอดเกิดจากอะไร  เลือดออกช่องคลอด อาจเกิดจากสาเหตุ ดังนี้  การเจริญพันธุ์และการสืบพันธุ์ ฮอร์โมนแปรปรวน และทำงานผิดปกติ อาจไปกระตุ้นให้เลือดออกจากช่องคลอดได้ ซึ่งส่วนใหญ่อาจเกิดกับผู้หญิงวัยเพิ่งเริ่มมีประจำเดือน และวัยใกล้หมดประจำเดือน  ตกไข่ หากไม่มีการปฏิสนธิของไข่กับอสุจิ ผนังมดลูกที่รอรับการฝังตัวของอสุจิจะสลายตัวแล้วไหลออกทางช่องคลอด หรือที่เรียกว่า ประจำเดือน  ช่วงระหว่างตั้งครรภ์  เลือดล้างหน้าเด็ก อาจมีเลือดออกช่องคลอดสีชมพูจาง ในปริมาณเล็กน้อยประมาณ 1-2 วัน  ตั้งครรภ์นอกมดลูก ไข่ที่ปฏิสนธิเติบโตในที่อื่นที่ไม่ใช่บริเวณมดลูก อาจทำให้เลือดออกได้  แท้งบุตร อยู่ในช่วงไตรมาสแรก อาจมีอาการปวดเหมือนมีอะไรบีบรัดเป็นช่วง ๆ บริเวณท้องน้อย และมีเลือดออกช่องคลอดผิดปกติ  ภาวะรกเกาะต่ำ เป็นภาวะที่รกปิดขวางหรือคลุมปากมดลูก ภาวะรกลอกตัว เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อรกบางส่วนหรือทั้งหมดลอกตัวออกจากผนังมดลูกของสตรีมีครรภ์ พบในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย  ช่องคลอดแห้ง เมื่อร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยลง อาจทำให้เกิดภาวะช่องคลอดแห้ง เนื่องจากเมือกหล่อลื่นภายในช่องคลอดลดน้อยลง หากมีเพศสัมพันธ์อาจทำให้เลือดออกช่องคลอดได้  ภาวะปัญหาด้านสุขภาพ  โรควอนวิลลิแบรนด์ (Von Willebrand Disease) เป็นโรคเลือดออกง่ายทางพันธุกรรม […]


สุขภาพทางเพศ

ระบบสืบพันธุ์ คืออะไร มีหน้าที่อย่างไร

ระบบสืบพันธุ์ เป็นส่วนสำคัญของกระบวนการสืบพันธุ์ของเพศหญิงและเพศชาย ด้วยการปฏิสนธิของอสุจิจากผู้ชายและไข่จากผู้หญิง ที่นำไปสู่การตั้งครรภ์พัฒนาเป็นตัวอ่อนหรือทารก โดยระบบสืบพันธุ์ของทั้ง 2 เพศอาจมีกระบวนการต่างกัน แต่สามารถเชื่อมโยงกัน เพื่อร่วมกันสร้างสิ่งมีชีวิตออกมา [embed-health-tool-ovulation] ระบบสืบพันธุ์ คืออะไร ระบบสืบพันธุ์ เป็นส่วนสำคัญของกระบวนการสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นใหม่ด้วยการถ่ายทอดองค์ประกอบของตัวเองผ่านทางพันธุกรรมหรือยีน ซึ่งจะสามารถสังเกตได้ว่าสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เช่น มนุษย์ สัตว์ ที่กำเนิดใหม่จะมีลักษณะคล้ายกับพ่อและแม่ผสมกัน บางคนก็อาจมีลักษณะคล้ายพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งมากกว่า การจะมีบุตรได้ต้องอาศัยการทำงานของระบบสืบพันธุ์ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย โดยผู้ชายจะปล่อยสเปิร์มเข้าทางช่องคลอดของผู้หญิงขณะมีเพศสัมพันธ์ เพื่อให้อสุจิปฏิสนธิกับไข่ ก่อนไข่จะเริ่มฝังตัวในผนังมดลูกและพัฒนาเป็นทารก ส่วนประกอบของระบบสืบพันธุ์นำไปสู่การสร้างสิ่งมีชีวิต มีดังนี้ ระบบสืบพันธุ์เพศชาย ทำหน้าที่ผลิตและขนส่งอสุจิที่เป็นเซลล์สืบพันธ์ุ เข้าสู่ช่องคลอดของผู้หญิงระหว่างมีเพศสัมพันธ์  เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิ ระบบสืบพันธุ์ในเพศชายแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ระบบสืบพันธ์ุภายนอก องคชาต มีลักษณะเป็นทรงกรวยปกคลุมด้วยผิวหนังหุ้มปลาย องคชาตเต็มไปด้วยเส้นประสาทที่ไวต่อความรู้สึก ทำให้เกิดการแข็งตัวขึ้นเมื่อรู้สึกมีอารมณ์ทางเพศ นอกจากนี้ องคชาตยังเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งในระบบทางเดินปัสสาวะ แต่ขณะที่องคชาตแข็งตัว ท่อปัสสาวะจะถูกปิดกั้น ทำให้สามารถหลั่งได้เพียงแค่น้ำอสุจิเท่านั้น ถุงอัณฑะ คือถุงที่อยู่ใต้องคชาต ประกอบไปด้วยเส้นประสาทและหลอดเลือดจำนวนมาก มีหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมสำหรับการสร้างอสุจิ อัณฑะ เป็นอวัยวะรูปไข่ที่อยู่ภายในถุงอัณฑะทั้ง 2 ข้าง คอยสร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชาย เพื่อช่วยผลิตเซลล์อสุจิ ระบบสืบพันธ์ุภายใน ท่ออสุจิ เป็นท่อนำส่งที่อยู่ภายในอวัยวะเพศหลังอัณฑะแต่ละข้าง เพื่อนำอสุจิออกมาจากอัณฑะ และคอยกระตุ้นทำให้อสุจิเติบโตก่อนลำเลียงออกไปยังบริเวณปลายองคชาต […]


สุขภาพทางเพศ

มดลูก มีโครงสร้างและหน้าที่อย่างไร

มดลูก เป็นอวัยวะกลวง ลักษณะคล้ายลูกแพร์ อยู่บริเวณกระดูกเชิงกรานของผู้หญิง เป็นอวัยวะที่เชื่อมต่อกับช่องคลอด มีบทบาทสำคัญในวงจรการเจริญพันธุ์ การสืบพันธุ์ และการคลอดบุตร กล้ามเนื้อมดลูกสามารถขยายออกได้เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และสามารถหดกลับสู่ขนาดปกติได้หลังคลอดบุตร นอกจากนี้ อาจมีโรคที่เกี่ยวกับมดลูก เช่น เนื้องอกในมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมและปัญหาการตั้งครรภ์ได้ [embed-health-tool-ovulation] โครงสร้างทางกายวิภาคของมดลูก มดลูก เป็นหนึ่งในอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้หญิง มีลักษณะกลวง หรือที่เรียกว่า อวัยวะกลวง (Muscular Organ) รูปทรงคล้ายลูกแพร์ มีท่อยาว 3 ทางที่เชื่อมต่อกับช่องคลอด ปีกมดลูกซ้าย และปีกมดลูกขวา กล้ามเนื้อของมดลูกสามารถขยายตัวได้มาก เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ มดลูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ดังนี้ ยอดมดลูก (Fundus) ส่วนบนของมดลูก อยู่เหนือทางเข้าของท่อนำไข่ ตัวมดลูก (Body) หรือคอร์ปัส (Corpus) บริเวณที่รองรับการฝังตัวและเจริญเติบโตของตัวอ่อน ปากมดลูก หรือคอมดลูก (Cervix) ส่วนล่างของมดลูกที่เชื่อมต่อกับช่องคลอด เป็นบริเวณที่ปกป้องโพรงมดลูกและอวัยวะเพศส่วนบน รวมทั้งช่วยป้องกันการบุกรุกของแบคทีเรีย ผนังมดลูก ผนังมดลูกประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ดังนี้ เยื่อบุช่องท้อง (Peritoneum) ชั้นนอกสุดของผนังมดลูกเกิดจากเซลล์เยื่อบุผิว กล้ามเนื้อมดลูก […]


สุขภาพทางเพศ

ไฮเปอร์ไทรอยด์ ไทรอยด์ทำงานเกิน อาการ สาเหตุ การรักษา

ไฮเปอร์ไทรอยด์ (Hyperthyroid) เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป และมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดสูงเกินไป ส่งผลให้ร่างกายมีระบบการเผาผลาญมากเกินปกติ จนทำให้น้ำหนักลดลงโดยไม่ได้ตั้งใจ ทั้งยังอาจทำให้หัวใจเต้นเร็วหรือผิดปกติได้ ผู้ที่มีภาวะไฮเปอร์ไทรอยด์ หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานหนัก จนส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้ [embed-health-tool-ovulation] ไฮเปอร์ไทรอยด์ คืออะไร  ไฮเปอร์ไทรอยด์ เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป โดยต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่งอยู่บริเวณส่วนหน้าของลำคอ มีลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อ มีหน้าที่สร้างฮอร์โมน ได้แก่ ไตรไอโอโดไทโรนีน (Triiodothyronine หรือ T3) ไทรอกซีน (Thyroxine หรือ T4) ต่อมไทรอยด์มีความสำคัญ คือ  ควบคุมการเผาผลาญในร่างกาย (Metabolism) และควบคุมการเต้นของหัวใจ นอกจากนี้ยังมีฮอร์โมนที่ควบคุมปริมาณแคลเซียมในเลือด ดังนั้น หากต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป อาจทำให้อัตราการเผาผลาญแคลอรี่ในร่างกายมากขึ้น และก่อให้เกิดอาการทางสุขภาพต่าง ๆ ตามมา อาการของไฮเปอร์ไทรอยด์ ไฮเปอร์ไทรอยด์อาจมีอาการให้สังเกต ดังนี้  หัวใจเต้นเร็ว ไม่สม่ำเสมอ ใจสั่น  เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย แขนขาไม่มีแรง นอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน รู้สึกประหม่า วิตกกังวล ท้องเสีย ท้องร่วง  เหงื่อออกง่าย น้ำหนักลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ ผมเปราะบางขาดง่าย […]


สุขภาพทางเพศ

อาการ ก่อน เป็น ประจำเดือน มีอะไรบ้าง บรรเทาอาการอย่างไร

อาการ ก่อน เป็น ประจำเดือน อาจเกิดขึ้นในช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน โดยอาจมีอาการทั้งทางด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ และด้านพฤติกรรม เช่น เจ็บหน้าอก ปวดหัว อารมณ์แปรปรวน อยากรับประทานอาหารมากกว่าปกติ ซึ่งอาการส่วนใหญ่มักไม่รุนแรง แต่ผู้หญิงบางคนอาจมีอาการก่อนเป็นประจำเดือนที่รุนแรง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ [embed-health-tool-ovulation] อาการก่อนเป็นประจำเดือน คืออะไร  อาการก่อนเป็นประจำเดือน (Premenstrual Syndrome หรือ PMS) คือ อาการที่อาจเกิดขึ้นกับผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ มักเกิดก่อนมีประจำเดือนประมาณ 1-2 สัปดาห์ โดยอาจมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อารมณ์ และพฤติกรรม เช่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน ซึ่งอาการอาจจะบรรเทาลงเมื่อประจำเดือนมาหรือหมด อาการ ก่อน เป็น ประจำเดือน อาการก่อนเป็นประจำเดือนอาจแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล และบางครั้งอาการที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือนก็อาจไม่เหมือนกัน โดยอาการที่พบได้บ่อย มีดังนี้  อาการก่อนเป็นประจำเดือนทางด้านร่างกาย  เจ็บเต้านม หรือคัดตึงเต้านม  มือและเท้าบวม ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องอืด ท้องผูก หรือท้องเสีย  ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ  อยากรับประทานอาหารเพิ่มขึ้น น้ำหนักเพิ่มขึ้น  มีสิวขึ้น  อาการก่อนเป็นประจำเดือนทางด้านอารมณ์ อารมณ์แปรปรวน […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

อาการโรคเอดส์ผู้หญิง ที่ควรสังเกต และวิธีป้องกันโรคเอดส์

อาการโรคเอดส์ผู้หญิง อาจมีแสดงอาการที่แตกต่างจากผู้ชายเล็กน้อย เช่น ตกขาวผิดปกติ ประจำเดือนมาไม่ปกติ โดยโรคเอดส์ (AIDS) หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ที่มักแพร่เชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ การส่งผ่านไวรัสจากแม่สู่ลูกระหว่างตั้งครรภ์ การคลอด หรือให้นมลูก [embed-health-tool-ovulation] โรคเอดส์เกิดจากอะไร  เอดส์ คือ ระยะสุดท้ายของการติดเชื้อเอชไอวี โดยการติดเชื้อเอชไอวีแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะแรกเริ่มติดเชื้อ ระยะอาการสงบ และระยะเอดส์ การติดเชื้อเอชไอวีใน 2 ระยะแรก อาการอาจยังไม่ปรากฏแน่ชัด แต่อาจมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แต่หากการติดเชื้อเข้าสู่ระยะที่ 2 หรือระยะเอดส์ ระบบภูมิคุ้มกันจะถูกทำลายอย่างรุนแรง หรือที่เรียกว่า ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจทำให้ติดเชื้อโรคอื่น ๆ และเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น วัณโรค ปอดบวม เยื้อหุ้มสมองอักเสบ ได้ง่ายขึ้น โดยเชื้อเอชไอวีสามารถติดต่อได้ผ่านเลือด น้ำอสุจิ สารคัดหลั่งในช่องคลอด น้ำนมของผู้ติดเชื้อ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม หากผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีตรวจพบเชื้อตั้งแต่ในระยะแรก แต่รักษาและควบคุมอาการของโรคได้เป็นอย่างดี ก็อาจไม่ทำให้การติดเชื้อลุกลามหรือรุนแรงจนถึงระยะสุดท้าย หรือระยะโรคเอดส์ อาการโรคเอดส์ผู้หญิง ผู้หญิงเสี่ยงติดเชื้อไวรัสเอชไอวีได้ […]


โรคเริมที่อวัยวะเพศและเริมที่ปาก

เริมเกิดจากอะไร

เริม คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จากไวรัสเริม ที่ส่งผลให้เกิดอาการคันและมีแผลบริเวณอวัยวะเพศ ช่องปาก เริม เป็นโรคที่พบได้ทุกเพศทุกวัย และอาจเป็นซ้ำ ๆ ได้บ่อย ควรศึกษาว่า เริมเกิดจากอะไร มีอาการอย่างไร เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ เริมเกิดจากอะไร เริม เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเริมผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันกับผู้ที่ติดเชื้อ และสัมผัสกับสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย การใช้สิ่งของร่วมกัน การจูบ สัมผัสกับผิวหนัง  ไวรัสเริมแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ไวรัสเริ่มชนิดที่ 1 (HSV-1) ส่วนใหญ่เกิดขึ้นบริเวณช่องปาก และรอบ ๆ ปาก แต่ก็อาจส่งผลให้ติดเชื้อบริเวณอวัยวะเพศได้หากมีเพศสัมพันธ์ทางปาก บางกรณีไวรัสเริมชนิดที่ 1 อาจถ่ายทอดจากมารดาที่ติดเชื้อสู่ทารกระหว่างการคลอดบุตรผ่านทางช่องคลอดที่มีเชื้อไวรัส ซึ่งอาจส่งผลให้ทารกติดเชื้อไวรัสเริม มีแนวโน้มเป็นโรคไข้สมองอักเสบ การติดเชื้อที่ตา โรคไขข้ออักเสบ ระบบประสาทได้รับความเสียหาย  ไวรัสเริมชนิดที่ 2 (HSV-2) เป็นการติดเชื้อที่เกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก และการสัมผัสกับสารคัดหลั่งที่มีเชื้อไวรัสเริมผ่านทางผิวหนัง เป็นประเภทที่อาจพบได้บ่อยและมีการแพร่กระจายสูง อีกทั้งยังอาจส่งผลให้ทารกได้รับเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 2 ได้จากมารดาตั้งครรภ์เหมือนไวรัสเริมชนิดที่ 1 ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันด้วยการสวมถุงยางอนามัย อาจมีแนวโน้มเสี่ยงได้รับเชื้อไวรัสเริม ซึ่งเริมอาจเกิดขึ้นบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาการของเริม  อาการของเริมอาจเกิดขึ้นประมาณ […]


การคุมกำเนิด

ยาคุมฉุกเฉินกินตอนไหน

ยาคุมฉุกเฉิน เป็นยาคุมกำเนิดเพื่อใช้ป้องการตั้งครรภ์หลังจากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ผู้ที่รับประทานยาคุมฉุกเกฉินอาจเสี่ยงกับผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ แล้วอาการต่าง ๆ จะค่อย ๆ ทุเลาลง ยาคุมฉุกเฉินกินตอนไหน กินอย่างไร ควรศึกษาให้เข้าใจเพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ให้ได้ผล  [embed-health-tool-ovulation] ยาคุมฉุกเฉิน คืออะไร ยาคุมฉุกเฉิน คือ ยาคุมกำเนิดในการป้องกันการตั้งครรภ์ที่สามารถออกฤทธิ์ขัดขวางการตกไข่ ทำให้สารคัดหลั่งบริเวณปากมดลูกมีความเหนียวมากขึ้น ทำให้ผนังโพรงมดลูกอาจไม่เหมาะกับการฝังตัวของไข่ ประเภทของยาคุมฉุกเฉินที่ส่วนใหญ่นิยมใช้ ได้แก่ ยาคุมลีโวนอร์เจสเตรล (Levonorgestrel) เป็นยาคุมฉุกเฉินในกลุ่มโพรเจสติน (Progestins) ที่เป็นฮอร์โมนควบคุมภาวะการตกไข่ ซึ่งมีแบบ 1 เม็ดรับประทานเพียงครั้งเดียว โดยจะมีฮอร์โมนลีโวนอร์เจสเตรล 1.5 มิลลิกรัมควรรับประทานยาคุมประเภทนี้ภายใน 72 ชั่วโมง และแบบ 1 แผง 2 เม็ด ที่มีฮอร์โมนลีโวนอร์เจสเตรลเม็ดละ 0.75 มิลลิกรัม โดยควรรับประทานเม็ดแรกไม่เกิน 72 ชั่วโมง และรับประทานยาเม็ดที่ 2 ห่างจากเม็ดแรกประมาณ 12 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ยาคุมยูริพริสทอล อะซิเตท (Ulipristal […]


การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์

โรคเอดส์ อาการ มีอะไรบ้าง

โรคเอดส์ อาการ ที่สังเกตได้อาจแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะติดเชื้อ ระยะสงบ และระยะเอดส์ ซึ่งหมายถึงการติดเชื้อเอชไอวีระยะสุดท้าย ทำให้เม็ดเลือดขาวชนิด CD4 ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่มีหน้าที่สำคัญในการต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายลดลง ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอจนไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้ และเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น วัณโรค โรคปอดบวม  เยื่อหุ้มสมองอักเสบ [embed-health-tool-ovulation] สาเหตุของโรคเอดส์  สาเหตุที่อาจทำให้ติดเชื้อเอชไอวี มีดังนี้ ติดต่อเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อผ่านทางช่องคลอด ทวารหนักและช่องปากโดยไม่มีการป้องกัน ติดต่อผ่านทางเลือด การรับเลือดของผู้ติดเชื้อผ่านการถ่ายให้เลือด การติดเชื้อผ่านทางบาดแผล หรือการใช้เข็มฉีดยาหรือเข็มสักร่วมกับผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี การติดเอดส์จากมารดาสู่ทารก มารดาตั้งครรภ์ที่ติดเชื้ออาจแพร่เชื้อไวรัสเอชไอวีไปยังทารกได้ระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้ทารกในครรภ์ได้รับเชื้อเอชไอวี คุณแม่ควรตรวจหาเชื้อเอชไอวีก่อนตั้งครรภ์หรือรักษาการติดเชื้อเอชไอวีให้เรียร้อยก่อนการตั้งครรภ์ โรคเอดส์ อาการ สังเกตได้  อาการของโรคเอดส์ขึ้นอยู่กับระยะการติดเชื้อที่ผู้ป่วยเป็น โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะแรกของการติดเชื้อ  เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ ท้องเสีย เจ็บคอ มีผื่น ปวดตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ ไอ เหงื่อออกตอนกลางคืน  ระยะอาการสงบ ระยะนี้เชื้อไวรัสไม่แสดงอาการใด ๆ โดยระยะนี้สามารถอยู่ได้นาน 8-10 ปี หากไม่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส […]


การคุมกำเนิด

ลืมกินยาคุม1วัน เสี่ยงท้องไหม และควรทำอย่างไร

ลืมกินยาคุม1วัน เป็นปัญหาที่อาจนำไปสู่การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ รวมถึงอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ เช่น เลือดออกจากช่องคลอด วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ แต่การเรียนรู้สิ่งที่ควรทำเมื่อลืมกินยาคุม อาจช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างเหมาะสม และลดโอกาสในการตั้งครรภ์หรือเกิดผลข้างเคียงได้มากขึ้น  [embed-health-tool-ovulation] ยาคุม คือ  ยาคุม คือ หนึ่งในทางเลือกในการป้องกันการตั้งครรภ์ ด้วยการรับประทานยาที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนเพศหญิง คือ เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน เพื่อปรับเปลี่ยนการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ปากมดลูก ผนังมดลูก รังไข่ โดยการสร้างเมือกที่บริเวณปากมดลูกให้มากขึ้น ทำให้อสุจิเข้าไปผสมกับไข่ได้ยากขึ้น อีกทั้งยังทำให้ผนังมดลูกบางลง ทำให้ไข่ไม่สามารถฝังตัวได้ และทำให้ไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น  ลืมกินยาคุม1วัน ควรทำอย่างไร ยาคุมกำเนิดมีชนิดแผงแบบ 21 เม็ด และ 28 เม็ด โดยแผง 28 เม็ดนั้น 7 เม็ดสุดท้ายที่มีสีแตกต่างจากเม็ดอื่น เป็นเม็ดยาปราศจากฮอร์โมนที่มีไว้ช่วยให้มีนิสัยการกินยาในทุกวันก่อนเริ่มต้นแผงใหม่ หากลืมรับประทานไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงใด  ผู้ที่ลืมกินยาคุม 1 วัน ควรปฏิบัติตามประเภทยาคุมที่ใช้ ดังต่อไปนี้  หากลืมกินยาคุมชนิดฮอร์โมนเดียว  ลืมกินยาคุมไม่เกิน 3 ชั่วโมง ควรกินทันทีเมื่อนึกขึ้นได้  ลืมกินยาคุม 1 เม็ด ควรกินทันทีเมื่อนึกขึ้นได้ ซึ่งอาจต้องกินยาคุม 2 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน