สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

ไขข้อสงสัย เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เกี่ยวข้องกันอย่างไร

เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก ทั้ง 2 โรคนี้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร? คุณเคยสงสัยหรือไม่? วันนี้เราจะมาหาคำตอบถึงความเกี่ยวข้องกันของ เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เพื่อให้คุณผู้หญิงทุกคนได้ระมัดระวังตัวมากยิ่งขึ้น ถ้าพร้อมแล้วหาคำตอบความเกี่ยวข้องของเชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูกได้ในบทความนี้ HPV คือกลุ่มของเชื้อไวรัสที่เกี่ยวข้องมากกว่า 200 ชนิด บางชนิดแพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางช่องปาก โดยจะแบ่งออกเป็นกล่มที่มีความเสี่ยงต่ำกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง HPV กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดโรค แต่บางชนิดอาจทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก ปาก หรือลำคอได้ HPV กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสามารถทำให้เกิดมะเร็งได้หลายประเภทหนึ่งในนั้น คือ มะเร็งปากมดลูก เชื้อเอชพีวีกับมะเร็งปากมดลูก เกี่ยวข้องกันอย่างไร มะเร็งปากมดลูกในสตรีส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ ฮิวแมนแพพพิลโลมาไวรัส (Human papillomavirus : HPV) ซึ่งเป็นกลุ่มของเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 200 ชนิด เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายในระหว่างมีเพศสัมพันธ์และการทำกิจกรรมทางเพศอื่น ๆ  เช่น การสัมผัสทางผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ เชื้อ HPV อย่างน้อย 15 ชนิด มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก ส่วนใหญ่ HPV16 และ HPV18 จะเป็นตัวที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด โดยเชื้อ HPV ที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้จะเข้าไปหยุดการทำงานของเซลล์ ซึ่งส่งผลให้เซลล์สืบพันธ์มีความผิดปกติแบบควบคุมไม่ได้ นำไปสู่การเจริญเติบโตของเนื้องอกมะเร็ง ปัจจัยเสี่ยงเชื้อเอชพีวีพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูก ชนิดของเชื้อ […]

หมวดหมู่ สุขภาพทางเพศ เพิ่มเติม

การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ

ประจําเดือนเป็นลิ่มเลือด มาน้อย เพราะสาเหตุใด

ประจําเดือนเป็นลิ่มเลือด มาน้อย เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดออกและจับตัวกันเป็นก้อน เพื่อป้องกันร่างกายเสียเลือดมากเกินไป ภาวะนี้เป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงมีประจำเดือน แต่ถ้าประจำเดือนที่จับตัวกันเป็นก้อนมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง นั่นอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพที่ควรเร่งหาสาเหตุและเข้ารับการรักษา [embed-health-tool-ovulation] สาเหตุที่ทำให้ประจําเดือนเป็นลิ่มเลือด มาน้อย ช่วงก่อนมีประจำเดือน ร่างกายจะสร้างสภาพแวดล้อมภายในมดลูกให้พร้อมต่อการตั้งครรภ์ โดยการสร้างเยื่อโพรงมดลูกให้หนาขึ้นเพื่อให้ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิฝังตัว แต่เมื่อไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิทำให้เซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกที่ก่อตัวหนาขึ้นจะหลุดออกตามธรรมชาติกลายเป็นประจำเดือน ร่างกายจะปล่อยพลาสมาและเกล็ดเลือดออกมา เพื่อช่วยป้องกันหลอดเลือดในเยื่อบุโพรงมดลูกมีเลือดออกมากเกินไป ส่งผลให้เลือดแข็งตัวและจับตัวกันเป็นก้อน นอกจากนี้ ประจําเดือนเป็นลิ่มเลือดยังอาจเกิดจากที่ประจำเดือนถูกขับออกมาไม่หมด จึงเกิดการสะสมในช่องคลอดกลายเป็นลิ่ม หรือก้อนเหมือนตับได้ บางคนที่ประจำเดือนมามากอาจมีการสูญเสียเลือดประมาณ 80 มิลลิลิตร หรือมากกว่านั้น เป็นระยะเวลาอาจนานกว่า 7 วัน ซึ่งอาจทำให้ร่างกายปล่อยพลาสมาและเกล็ดเลือดออกมามากขึ้นเพื่อห้ามเลือดโดยการทำให้เลือดแข็งตัว ส่งผลให้ประจําเดือนเป็นลิ่มเลือดซึ่งอาจมีขนาดใหญ่กว่า 2.5 เซนติเมตร ภาวะนี้มักเกิดขึ้นเมื่อมีประจำเดือนอยู่ในช่องคลอดหรือโพรงมดลูกก่อนวันที่จะมีประจำเดือน ประจําเดือนเป็นลิ่มเลือด มาน้อย อันตรายไหม ประจําเดือนเป็นลิ่มเลือด มาน้อยสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงวัยมีประจำเดือนทุกคน ถือเป็นเรื่องปกติที่ไม่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ แต่หากมีประจําเดือนเป็นลิ่มเลือดขนาดใหญ่กว่า 2.5 เซนติเมตรออกมาทางปากมดลูก อาจส่งผลให้มีอาการ ดังนี้ ปวดและเป็นตะคริวที่กระดูเชิงกราน หรือหลังส่วนล่าง ปวดประจำเดือน ประจำเดือนไม่มา หรือประจำเดือนมามากกว่าปกติ รู้สึกไม่สบายตัว หรือเจ็บปวดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ ประจําเดือนเป็นลิ่มเลือดอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น เนื้องอก เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ มดลูกโต มะเร็งมดลูก ติ่งเนื้อมดลูก โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ (PID) […]


โรคเริมที่อวัยวะเพศและเริมที่ปาก

รักษาเริมที่ปาก สามารถทำได้อย่างไร

โรมเริม เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สามารถพบได้บ่อย เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Herpes simplex virus (HSV) ผู้ป่วยอาจไม่แสดงอาการและอาจไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อไวรัส หากเริ่มรุนแรง อาจมีอาการเจ็บปวดในปาก เหงือก ลิ้น โดยการ รักษาเริมที่ปาก อาจช่วยบรรเทาอาการและลดการแพร่เชื้อของไวรัส [embed-health-tool-ovulation] อาการของเริมที่ปาก การติดเชื้อเริมที่ปาก อาจไม่แสดงอาการ หรืออาจมีอาการหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 2-12 วัน อาการอาจเริ่มจากรู้สึกแสบร้อน หรือคันบริเวณริมฝีปาก และเกิดตุ่มใส ๆ ลักษณะคล้ายพวงองุ่น หลังจากนั้นประมาณ 4-6 วัน ตุ่มใสจะเริ่มแห้งและหายเป็นปกติ อาจมีไข้ เหนื่อยล้า ปวดกล้ามเนื้อ เหงือกบวม รวมถึงต่อมน้ำเหลืองที่คอบวมร่วมด้วย แต่ถ้าหากร่างกายอ่อนแอ อาการของโรคเริมที่ปากก็อาจกลับมาได้อีกครั้ง  การ รักษาเริมที่ปาก ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคเริมที่ปากให้หายได้ 100 % เนื่องจากผู้ที่เคยเป็นเริมที่ปากอาจกลับมาเป็นซ้ำได้อีก หากร่างกายอ่อนแอ หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ แต่การรักษาด้วยยาต้านไวรัสดังต่อไปนี้ อาจช่วยบรรเทาอาการได้ อะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) รับประทาน 400 มก. วันละ 3 ครั้ง หรือ 200 มก. วันละ […]


สุขภาพทางเพศ

แพ้ยาคุม อาการและผลข้างเคียง

แพ้ยาคุม อาจเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน หรือการแพ้ฮอร์โมนเพศหญิงของร่างกาย ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ หรือปวดหัว หรืออาจร้ายแรงกลายเป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรงได้ การรู้ถึงสาเหตุ การรักษา และการป้องกันอาจเป็นวิธีที่จะช่วยรับมือกับอาการแพ้ยาคุมที่อาจเกิดขึ้น [embed-health-tool-ovulation] คำจำกัดความ แพ้ยาคุม คืออะไร ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสติน (Progestin)  ซึ่งตัวฮอร์โมนทั้งคู่จะช่วยยับยั้งการตกไข่  และสร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการตั้งครรภ์ เช่น ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางตัวลง บางคนอาจมีอาการแพ้ยาคุม ซึ่งอาจเป็นความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่ต่อต้านยา จนทำให้เกิดอาการแพ้ยาคุม ในบางกรณีอาการแพ้ยาอาจลดลงหรือหายไป หรืออาจรุนแรงขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประวัติสุขภาพของผู้ป่วยด้วย ทั้งนี้ อาการแพ้ยาคุม คือการที่แพ้ส่วนประกอบของฮอร์โมน หรือสารประกอบอื่นที่บรรจุมาในเม็ดยา ซึ่งในรายที่มีอาการแพ้แบบรุนแรงจะไม่แนะนำให้มีการใช้ยาต่อ แต่อาการส่วนใหญ่ที่เกิดหลังจากการใช้ยาคุมกำเนิดในช่วงแรก จะเรียกว่าผลข้างเคียงจากยา หรือเป็นภาวะที่ร่างกายได้รับฮอร์โมนจากภายนอกแล้วมีการตอบสนองที่แตกต่างกันไป สามารถใช้ยาต่อไปได้ แพ้ยาคุมพบบ่อยแค่ไหน การแพ้ยาคุมไม่สามารถบอกล่วงหน้าได้ เช่นเดียวกับการแพ้ยาชนิดอื่นๆ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาชนิดใหม่ต้องสังเกตอาการที่เกิดขึ้นเสมอ ส่วนอาการที่เป็นเพียงผลข้างเคียงจากยาคุมสามารถเกิดขึ้นได้น้อยกว่า 5% เช่น อาการเจ็บหน้าอก คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศีรษะ มีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย จึงควรปรึกษาคุณหมอก่อนรับประทานยาคุมกำเนิดเสมอ อาการ อาการแพ้ยาคุม อาการแพ้ยาเป็นปฏิกิริยาความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่มีต่อยา ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งคุณหมอ ยาสมุนไพร หรือยาคุมกำเนิด อาจสามารถกระตุ้นทำให้เกิดอาการแพ้ยาได้ อาการแพ้ยามีความแตกต่างกับผลข้างเคียงของยาที่อาจเกิดขึ้นได้ตามคำระบุไว้บนฉลากยา ซึ่งอาการอาจเกิดขึ้นทันทีหรือเกิดขึ้นภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังกินยา โดยอาการเหล่านี้อาจคงอยู่เป็นเวลานานหลายชั่วโมง หลายวัน หรือหลายสัปดาห์ อาการแพ้ยาคุมที่พบบ่อย ได้แก่ ลมพิษ […]


สุขภาพทางเพศ

ปวดท้องเมน เกิดจากอะไร และรับมือได้อย่างไร

ปวดท้องเมน คืออาการปวดท้องน้อย และอาจปวดบริเวณหลังส่วนล่างไปถึงต้นขา ที่เกิดขึ้นในช่วงขณะที่มีประจำเดือน โดยอาจมีสาเหตุการบีบตัวของมดลูกตามปกติ หรืออาจเกิดจากปัญหาสุขภาพ เช่น ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกในมดลูก ปากมดลูกอักเสบ หากสังเกตว่ามีอาการปวดประจำเดือนมากผิดปกติ ควรพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-ovulation] ปวดท้องเมน คืออะไร อาการปวดท้องเมนจะเกิดขึ้นต่อเมื่อใกล้เข้าสู่ช่วงมีประจำเดือน เนื่องจากเยื่อบุมดลูกจะผลิตสารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ซึ่งเป็นสารที่เข้าไปกระตุ้นให้มดลูกเกิดการบีบตัวและคลายตัวเพื่อขับเยื่อบุมดลูกออกจากช่องคลอด ซึ่งลักษณะการบีบตัวและคลายตัวนี้ส่งผลให้ผู้หญิงส่วนใหญ่อาจมีอาการปวดท้องก่อนมีประจำเดือนหรือระหว่างมีประจำเดือน โดยลักษณะของอาการปวดท้องจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับลักษณะการบีบตัวของมดลูก อาการปวดท้องเมน อาการปวดท้องเมน อาจสังเกตได้จากปฏิกิริยาต่าง ๆ เหล่านี้ มีอาการปวดบริเวณท้องน้อย และอาจปวดท้องอย่างหนักในบางครั้ง ปวดท้องก่อนมีประจำเดือนประมาณ 1-3 วัน และอาจรู้สึกปวดท้องมากในช่วง 24 ชั่วโมง เมื่อประจำเดือนมา และจะบรรเทาลงภายใน 2-3 วัน รู้สึกปวดไปถึงหลังส่วนล่าง และต้นขา ประจำเดือนออกมาเป็นลักษณะลิ่มเลือดปริมาณมาก ผู้หญิงบางคนอาจมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ ท้องร่วง ร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม หากมีอาการปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรง หรือนานกว่า 2-3 วัน ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการตรวจช่องคลอด และปากมดลูกภายในอย่างละเอียด สาเหตุของอาการปวดท้องเมน สาเหตุที่อาจทำให้ผู้หญิงส่วนใหญ่ปวดท้องเมน อาจเกิดได้จากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ ผู้หญิงที่อายุระหว่าง 30-45 ปี […]


สุขภาพทางเพศ

ตกขาวเยอะ เกิดจากอะไร ผิดปกติหรือไม่

ตกขาว เป็นของเหลวที่หลั่งออกจากช่องคลอด และปากมดลูก มีส่วนช่วยในการกำจัดสิ่งสกปรก และเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ช่องคลอด แต่หาก ตกขาวเยอะ และมีความผิดปกติของสีตกขาวร่วมด้วย ก็เป็นไปได้ว่า ภายในช่องคลอด อาจกำลังเกิดการติดเชื้อจากสิ่งแปลกปลอม เช่น แบคทีเรีย เชื้อโรค เชื้อรา [embed-health-tool-ovulation] ตกขาวเยอะ ผิดปกติหรือไม่ การมีตกขาว เป็นเรื่องปกติของผู้หญิง เพราะตกขาวเป็นระบบการกำจัดสิ่งสกปรกจากแบคทีเรีย และเซลล์ที่ตายแล้วออกจากช่องคลอดโดยธรรมชาติ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ช่องคลอด หากตกขาวเยอะจนเกินไปแต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของสี อาจเป็นสัญญาณว่าใกล้ถึงวันมีประจำเดือน ตกไข่ ให้นมบุตร หรืออาจถูกกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม หากมีตกขาวเยอะพร้อมกับมีการเปลี่ยนแปลงของสี จากสีขาวเป็นสีครีม สีเหลือง สีเขียว สีเทา และมีกลิ่น หรือการระคายเคืองแสบในช่องคลอด อาจต้องเข้ารับการตรวจโดยคุณหมอในทันที เพราะอาจเป็นอาการของการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราภายในช่องคลอด สาเหตุที่ทำให้ตกขาวเยอะ สาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงมีอาการตกขาวเยอะ อาจมีดังต่อไปนี้  การถูกกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ เมื่อถูกกระตุ้นอารมณ์ทางเพศอาจทำให้เกิดการตื่นตัวทางกายภาพที่เข้าไปเพิ่มการไหลเวียนของเลือดภายในอวัยวะเพศ ซึ่งอาจส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัวและดันของเหลวไปยังผนังช่องคลอด เพื่อคอยเป็นน้ำหล่อลื่นขณะมีเพศสัมพันธ์ การตกไข่ การที่ช่องคลอดขับตกขาวออกมาเยอะ อาจเป็นสัญญาณเตือนที่นำไปสู่การตกไข่ก่อนถึงรอบเดือน และตกขาวอาจลดระดับลงหลังจากการตกไข่แล้ว ช่องคลอดอักเสบจากแบคทีเรีย ช่องคลอดอักเสบจากแบคทีเรียเป็นภาวะที่แบคทีเรียมีการเจริญเติบโตมากเกินไป ทำให้อาจพัฒนานำไปสู่ช่องคลอดอักเสบ มีตกขาวเยอะ และมีกลิ่นที่ค่อนข้างรุนแรง การติดเชื้อรา เชื้อราในช่องคลอดเป็นผลมาจากการติดเชื้อราที่มีชื่อว่า “แคนดิดา” ซึ่งเชื้อราชนิดนี้อาจส่งผลให้มีอาการตกขาวเยอะ และอาการคันอย่างหนัก หากอาการดังกล่าวไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน ควรเข้ารับการรักษาทันทีก่อนเกิดการติดเชื้อรุนแรง การรักษาภาวะตกขาวเยอะ การรักษาภาวะตกขาวเยอะ อาจเป็นไปตามสาเหตุ […]


สุขภาพทางเพศ

อุ้งเชิงกรานอักเสบ อาการ การรักษาและการป้องกัน

อุ้งเชิงกรานอักเสบ เป็นการติดเชื้อทางอวัยวะสืบพันธุ์ ส่วนใหญ่เกิดจากโรคหนองในแท้และโรคหนองในเทียม อาจทำให้มีอาการปวดอุ้งเชิงกราน เจ็บปวดเมื่อปัสสาวะ และอาจมีเลือดออกทางช่องคลอดขณะมีเพศสัมพันธ์ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเสี่ยงต่อภาวะมีบุตรยาก หรือการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้ [embed-health-tool-ovulation] คำจำกัดความ อุ้งเชิงกรานอักเสบคืออะไร อุ้งเชิงกรานอักเสบ คือ การติดเชื้อทางอวัยวะสืบพันธ์ุของสตรี ได้แก่ มดลูก รังไข่ ท่อนำไข่ และปากมดลูก ซึ่งอาจเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคหนองในเทียม โรคหนองในแท้ หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดปัญหามีลูกยาก ปัญหาระหว่างตั้งครรภ์ หรืออาจมีอาการปวดกระดูกเชิงกรานเรื้อรังได้ อุ้งเชิงกรานอักเสบพบบ่อยแค่ไหน อุ้งเชิงกรานอักเสบพบบ่อยในผู้หญิงอายุ 15-24 ปี และความเสี่ยงเป็นโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบอาจเพิ่มสูงขึ้นหากมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เคยมีประวัติอุ้งเชิงกรานอักเสบมาก่อน เปลี่ยนคู่นอนบ่อย และสวนล้างอวัยวะเพศ อาการ อาการอุ้งเชิงกรานอักเสบ โรคอุ้งเชิงกรานอักเสบมักไม่แสดงอาการชัดเจน ทำให้ผู้ป่วยหลายคนอาจไม่รู้ตัว อาการของอุ้งเชิงกรานอักเสบอาจมีอาการตั้งแต่ไม่รุนแรงไปจนถึงรุนแรงมาก ดังนี้ ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน หรือท้องน้อย รู้สึกเจ็บปวดเมื่อปัสสาวะ หรือระหว่างมีเพศสัมพันธ์ มีเลือดออกทางช่องคลอด โดยเฉพาะหลังหรือระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ตกขาวผิดปกติ มีกลิ่นเหม็น อาจมีสีเขียวหรือสีเหลือง ประจำเดือนมามาก ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการรุนแรงขึ้น ดังนี้ ไม่สบายตัว หนาวสั่น มีไข้ ปวดท้องรุนแรง สาเหตุ สาเหตุอุ้งเชิงกรานอักเสบ อุ้งเชิงกรานอักเสบเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะโรคหนองในเทียม และโรคหนองในแท้ ซึ่งสามารถติดต่อได้เมื่อมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน นอกจากนี้ อวัยวะสืบพันธ์ุอาจได้รับเชื้อแบคทีเรียจากสาเหตุอื่นได้ […]


สุขภาพทางเพศ

คันอวัยวะเพศ สาเหตุ การป้องกันและการรักษา

อาการ คันอวัยวะเพศ อาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัว และทำให้เจ็บปวดบริเวณอวัยวะเพศได้ อาการคันอวัยวะเพศอาจเกิดจากสารระคายเคือง การติดเชื้อ หรือเป็นสัญญาณของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือโรคมะเร็ง การป้องกันและการรักษาอาการคันจึงอาจเป็นวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้ [embed-health-tool-ovulation] สาเหตุอาการ คันอวัยวะเพศ อาการคันอวัยวะเพศอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ บางสาเหตุอาจเป็นไม่อันตรายต่อสุขภาพ แต่บางสาเหตุก็อาจเป็นสัญญาณของโรคที่ควรระวัง ดังนี้ อวัยวะเพศระคายเคือง อวัยวะเพศเป็นส่วนที่บอบบาง มีเส้นประสาทจำนวนมากจึงอาจระคายเคืองได้ง่าย และส่งผลให้คันอวัยวะเพศได้ สิ่งที่อาจทำให้อวัยวะเพศระคายเคือง เช่น เสื้อผ้าหรือชุดชั้นในที่ทำจากวัสดุแข็ง หนา และไม่ระบายอากาศ ซึ่งเสียดสีและทำให้ผิวหนังเป็นรอย นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ซักผ้า หรือสบู่ ที่มีเคมีบางชนิดเป็นส่วนผสม ก็อาจสร้างความระคายเคืองให้กับผิวได้เช่นกัน การกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ การกระตุ้นอารมณ์ทางเพศอาจมีส่วนทำให้เกิดอาการคันอวัยวะเพศได้ เพราะเมื่อร่างกายถูกกระตุ้น การไหลเวียนของเลือดที่อวัยวะเพศจะเพิ่มขึ้น ทำให้อวัยวะเพศพองตัว จนไวต่อความรู้สึกและระคายเคืองได้ง่าย อย่างไรก็ตาม อาการคันที่เกิดขึ้นจากสาเหตุนี้สามารถหายไปได้เอง ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ นอกจากนี้ อาการคันอาจเกิดจากภาวะถึงจุดสุดยอดพร่ำเพรื่อ (Persistent Genital Arousal Disorder หรือ PGAD) ได้เช่นกัน ผู้ที่เกิดภาวะนี้จะตื่นตัวทางเพศแม้จะไม่ได้รับการกระตุ้นอารมณ์ทางเพศเลยก็ตาม ภาวะนี้ มักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ทำให้มีอาการคัน รู้สึกเสียวซ่า แสบร้อน เจ็บปวด มีน้ำหล่อลื่นและถึงจุดสุดยอด การติดเชื้อราในช่องคลอด ยีสต์แคนดิดา (Candida) อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเชื้อราในช่องคลอด และทำให้มีอาการคันช่องคลอด แสบร้อน บวมแดง บางรายอาจมีการติดเชื้อมายังอวัยวะะเพศด้านนอกด้วย ทำให้มีอาการเจ็บเมื่อปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์ […]


สุขภาพทางเพศ

ประจำเดือนมามาก สาเหตุ อาการ และการรักษา

ประจำเดือนมามาก เป็นปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมนผิดปกติ เนื้องอกในมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ หากไม่รักษาอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือนำไปสู่ภาวะอื่นที่รุนแรงได้ [embed-health-tool-ovulation] คำจำกัดความ ประจำเดือนมามาก คืออะไร ประจำเดือนมามาก หมายถึงการที่มีเลือดประจำเดือนไหลออกจากช่องคลอดมากกว่าปกติ หรือนานกว่าปกติ ซึ่งอาจแตกต่างกันออกไปตามแต่ละบุคคล ผู้หญิงส่วนใหญ่มักมีประจำเดือนไม่เกิน 7 วัน โดยประจำเดือนอาจมามากในช่วง 3 วันแรก และลดน้อยลงในช่วงวันหลัง ๆ แต่หากประจำเดือนยังคงมาอย่างต่อเนื่องนานเกิน 7 วัน หรือประจำมามากจนจำเป็นต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก ๆ ชั่วโมงตลอดทั้งวัน ก็อาจหมายความว่ากำลังประสบกับภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติ  ประจำเดือนมามากอาจก่อให้เกิดปัญหามากมาย ทั้งสร้างความไม่สะดวกสบายในการใช้ชีวิตประจำวัน หรือทำให้รู้สึกไม่สบายตัว นอกจากนี้ ยังอาจนำไปสู่ภาวะโลหิตจางจากการสูญเสียเลือดมากเกินไปได้ด้วย ประจำเดือนมามากพบได้บ่อยแค่ไหน ประจำเดือนมามากเป็นปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษาแพทย์ อาการ อาการของประจำเดือนมามาก อาการทั่วไปของประจำเดือนมามาก มีดังนี้ มีประจำเดือนติดต่อกันนานเกิน 7 วัน จำเป็นต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก ๆ ชั่วโมง นานตลอดทั้งวัน หรือจำเป็นต้องใช้ผ้าอนามัยมากกว่าครั้งละ 1 ชิ้นเพื่อช่วยซึมซับเลือด จำเป็นต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยในช่วงกลางดึก  มีลิ่มเลือดขนาดใหญ่ไหลปะปนออกมากับประจำเดือน นอกจากนี้ บางคนยังอาจมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง หรืออาการของภาวะโลหิตจาง เช่น อ่อนเพลีย หน้ามืด ร่วมด้วย เมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากคุณหมอ หากพบอาการดังต่อไปนี้ […]


การคุมกำเนิด

หน้า 7 หลัง 7 วิธีนับระยะปลอดภัย

หน้า 7 หลัง 7 คือ วิธีการนับระยะปลอดภัยในการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นวิธีการคุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติ โดยสังเกตจากรอบประจำเดือนของผู้หญิง อาจมีความแม่นยำสำหรับผู้หญิงที่มีรอบประจำเดือนปกติ มาตรงเวลาสม่ำเสมอทุกเดือน ซึ่งหน้า 7 หลัง 7 เป็นระยะที่ค่อนข้างปลอดภัยสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ โดยอาจไม่ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกัน หรืออุปกรณ์คุมกำเนิด ทั้งนี้ การนับหน้า 7 หลัง 7 ไม่สามารถช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ อีกทั้งประสิทธิในการคุมกำเนิดอาจลดลงในรายที่รอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือในรายที่มีรอบเดือนสั้นหรือยาวเกินไป [embed-health-tool-ovulation] หน้า 7 หลัง 7 คืออะไร หน้า 7 หลัง 7 คือ วิธีการนับระยะปลอดภัยในการมีเพศสัมพันธ์ เป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบธรรมชาติ ช่วยให้รู้ว่าช่วงใดของเดือนที่ร่างกายมีโอกาสในการตั้งครรภ์น้อยที่สุด เนื่องจากเป็นช่วงที่มีโอกาสเกิดการตกไข่ต่ำกว่าช่วงอื่น แต่ผู้หญิงที่มีรอบเดือนไม่ปกติ มาไม่สม่ำเสมอ ไม่ควรใช้วิธีการนับหน้า 7 หลัง 7 เพราะอาจมีความคาดเคลื่อน รวมถึงอาจทำให้ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ได้ การนับระยะปลอดภัยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจช่วงรอบประจำเดือนว่าประจำเดือนมาเมื่อไร ช่วงการตกไข่อยู่ช่วงไหน เพื่อวางแผนตั้งครรภ์ และคุมกำเนิด วิธีการนับหน้า 7 หลัง 7 โดยปกติรอบของประจำเดือนในแต่ละรอบ จะเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 28-32 วัน […]


โรคซิฟิลิส

โรคซิฟิลิส การรักษา และการป้องกัน

โรคซิฟิลิส เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การรักษาโรคซิฟิลิสอาจทำให้โรคนี้หายขาดได้ ซึ่งประเภทของการรักษานั้นจะขึ้นอยู่กับระยะของโรค แต่หากไม่เข้ารับการรักษาโรคชนิดนี้อาจสร้างปัญหาร้ายแรงในอนาคต รวมถึงอาจทำให้มีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาการสมองเสื่อม [embed-health-tool-ovulation] การรักษาโรคซิฟิลิส โรคซิฟิลิสต้องได้รับการรักษาจึงจะหายขาดได้ และมักใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรคซิฟิลิส โดยประเภทของการรักษาอาจขึ้นอยู่กับระยะของโรค ดังนี้ หากเป็นโรคซิฟิลิสน้อยกว่า 2 ปี มักได้รับการรักษาด้วยการฉีดเพนิซิลลิน (Penicillin) ที่ก้น หรือรักษาด้วยยาปฏิชีวนะแบบเม็ด 10-14 วัน หากเป็นโรคซิฟิลิสที่กินเวลานานเกิน 2 ปี มักรักษาด้วยการฉีดเพนิซิลลิน (Penicillin) 3 ครั้งที่ก้นทุกสัปดาห์ หรือรับประทานยาปฏิชีวนะแบบเม็ด 28 วัน กรณีร้ายแรงที่ส่งผลต่อสมองอาจได้รับการรักษาด้วยการฉีดเพนิซิลลิน (Penicillin) ทุกวันโดยฉีดเข้าทางก้นหรือหลอดเลือดดำ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ หรือให้ยาปฏิชีวนะ 28 วัน ผลข้างเคียงของการรักษา ในบางคนอาจมีผลข้างเคียงหลังการรักษา โดยอาจมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ แต่อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นไม่นานและอาจรักษาได้ด้วยยาพาราเซตามอล สำหรับบางคนอาจเกิดอาการแพ้หลังจากฉีดเพนิซิลลิน คุณหมออาจเฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างรักษา หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างการรักษา ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางปาก อย่างน้อย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน