การดูแลและทำความสะอาดผิว

ผิวหนัง คืออวัยวะสำคัญที่ช่วยปกป้องเราจากฝุ่นละอองและสิ่งแปลกปลอมอันตรายต่าง ๆ ภายนอก การดูแลและทำความสะอาดผิว จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราไม่ควรละเลย มาเรียนรู้เทคนิคเกี่ยวกับ การดูแลและทำความสะอาดผิว พร้อมกันกับ Hello คุณหมอ สิคะ

เรื่องเด่นประจำหมวด

การดูแลและทำความสะอาดผิว

ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า ดีต่อผิวหน้าจริงหรือไม่?

หลายคนเชื่อว่าการ ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า เป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับผิวหน้าที่สุด เพราะน้ำเปล่าเป็นสารธรรมชาติ ปราศจากสารเคมีเจือปน มีความอ่อนโยน เหมาะกับผิวบอบบางแพ้ง่าย และผิวผู้ที่เป็นสิว หลายคนจึงเชื่อว่าการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียวเหมาะสมที่สุดสำหรับผิวหน้า แต่ความเชื่อนี้จะจริงหรือเท็จประการใด บทความนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบให้คุณค่ะ ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า ดีต่อผิวหน้าจริงหรือไม่? การล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า อาจไม่ได้เหมาะสมสำหรับผิวหน้าเสมอไป เพราะตลอดทั้งวันเราเจอทั้งมลภาวะต่าง ๆ และฝุ่นละออง ยิ่งคุณผู้หญิงที่แต่งหน้าด้วยล่ะก็ การใช้น้ำเปล่าทำความสะอาดผิวหน้าเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถดูดสิ่งสกปรกหรือเครื่องสำอางค์บนผิวหน้าออกได้อย่างสะอาดหมดจรด และอาจเสี่ยงต่อการเกิดการอุดตันบริเวณรูขุมขนอีกด้วย ดังนั้นอาจต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าควบคู่ด้วย แต่ควรเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าที่มีมาตรฐาน ปลอดภัยต่อผิวหน้า และเหมาะสมกับลักษณะของผิวหน้าคุณ อย่างไรก็ตาม ผิวหน้าของแต่ละคนมีปัญหาแตกต่างกัน การทำความสะอาดผิวหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียวอาจเหมาะสำหรับบางคน ทั้งนี้ทั้งนั้นให้คุณลองสังเกตใบหน้าของตนเองว่าหากทำความสะอาดผิวหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว เหมาะกับผิวหน้าของคุณหรือไม่ หากไม่เหมาะสมให้ปรับเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าเพื่อความสมดุลของผิว 5 คุณประโยชน์จากการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า น้ำเปล่า มีประโยชน์ที่ดีต่อผิวหน้ามากกว่าที่คุณคิด โดย 5 คุณประโยชน์จากการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า มีดังต่อไปนี้ สะดวกและง่ายต่อการทำความสะอาดผิวหน้า  ลดการเสียดสีกับผิวหน้า ช่วยลดการระคายเคืองกับบริเวณผิวหนัง ปลอดภัยต่อผิวหน้า เพราะมีน้ำมีความอ่อนโยนปราศจากสารเคมี เกิดการระคายเคืองน้อยกว่าเมื่อเทียบกับใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า  ลดความเสี่ยงในการลอกคราบน้ำมันตามธรรมชาติของผิว ช่วยปกป้องเกราะป้องกันผิว ไม่ต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า ลดต้นทุนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ขั้นตอนง่าย ๆ ในการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว ในตอนเช้าให้ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าสะอาด และซับหน้าด้วยผ้าไมโครไฟเบอร์ซับเบา ๆ ให้แห้งที่ผิวหน้า จะช่วยลดการเสียดสีและลดการระคายเคืองต่อผิวหนัง  ในช่วงตอนกลางคืน […]

สำรวจ การดูแลและทำความสะอาดผิว

การดูแลและทำความสะอาดผิว

ติ่งเนื้อเกิดจากอะไร และรักษาอย่างไร

ติ่งเนื้อเกิดจากอะไร อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย ทั้งนี้ ติ่งเนื้อเป็นสภาพผิวหนังปกติที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่ออายุมากขึ้น หรือผิวหนังขยายตัวและเสียดสีกันจนเกิดเป็นติ่งเนื้อ มักปรากฏขึ้นบริเวณรอยพับของผิวหนัง เช่น ลำคอ ใต้ราวนม รักแร้ เปลือกตา ขาหนีบ แม้ติ่งเนื้อจะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่อาจทำให้ผิวหนังดูไม่สวยงามและอาจทำให้เสียความมั่นใจได้ [embed-health-tool-bmi] ติ่งเนื้อเกิดจากอะไร ติ่งเนื้อ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังชั้นบนสุดตามอายุ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย แต่อาจพบได้บ่อยในผู้ที่อายุ 30 ปีขึ้นไป ติ่งเนื้อจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นกับผู้ที่มีสภาพผิวหนังขยายออกจนเกิดรอยพับ เช่น ผู้หญิงตั้งครรภ์ ผู้มีน้ำหนักเกิน ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เนื่องจากผิวหนังบริเวณที่มีรอยพับ เช่น รักแร้ ขาหนีบ เปลือกตา ลำคอ ใต้ราวนม อาจทำให้ผิวหนังเสียดสีกันเองได้ง่าย แม้ติ่งเนื้ออาจไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ก็อาจขยายใหญ่และทำให้มีอาการเจ็บปวดและคันได้ เมื่อติ่งเนื้อเสียดสีกับผิวหนัง เสื้อผ้าหรือเครื่องประดับ ดังนั้น ควรสวมใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ นุ่ม โปร่งสบายเพื่อลดการเสียดสีที่อาจก่อให้เกิดความระคายเคือง หรืออาจเข้ารับการรักษาหากติ่งเนื้อก่อให้เกิดความกังวลใจและทำให้เสียความมั่นใจ ลักษณะของติ่งเนื้อ ติ่งเนื้ออาจมีลักษณะแตกต่างกันไป ดังนี้ มีขนาดเล็กประมาณ 2 มิลลิเมตร หรืออาจใหญ่ถึง 10 มิลลิเมตร อาจเป็นก้อนติดกับผิวหนังหรือห้อยออกจากผิวหนัง มีเนื้อสัมผัสนุ่มและเรียบ มีสีเดียวกับสีผิวหรืออาจมีสีเข้ม มักพบบริเวณรอยพับผิวหนัง เช่น รักแร้ […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

ร้อยไหม คืออะไร ปลอดภัยหรือไม่ ข้อดีข้อเสียที่ควรรู้

ร้อยไหม เป็นหนึ่งในวิธีการศัลยกรรมกระชับผิวบริเวณใบหน้าและลำคอโดยไม่ต้องผ่าตัด ด้วยการร้อยเส้นไหมละลายเข้าไปใต้ผิวหนัง จากนั้นไหมจะถูกดึงด้วยการขันให้แน่น เพื่อช่วยให้ผิวยกกระชับ เต่งตึง ลดเลือนริ้วรอยแห่งวัย ทำให้ใบหน้าแลดูอ่อนเยาว์ลง อย่างไรก็ตาม ก่อนตัดสินใจร้อยไหม ก็ควรศึกษาถึงผลข้างเคียง ความเสี่ยงและวิธีดูแลตัวเอง ร้อยไหม คืออะไร ร้อยไหม คือ การยกกระชับใบหน้าและลำคอ ลดเลือนริ้วรอย ช่วยปรับปรุงสภาพผิวให้แลดูอ่อนเยาว์ ด้วยการใช้ไหมละลายชนิดพิเศษร้อยเข้าไปบริเวณใต้ผิวหนังที่ต้องการยกกระชับโดยไม่ต้องผ่าตัด จากนั้นขันไหมให้แน่น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นกระบวนการสร้างเส้นเลือดและเส้นใยคอลลาเจนใหม่ที่เข้ามาพันรอบเส้นไหมทำให้เกิดแรงตึงผิว อาจทำให้ผิวหน้ากระชับ อ่อนนุ่ม กระจ่างใส และเต่งตึงมากขึ้น ทั้งยังอาจช่วยปรับรูปหน้าให้ดูเรียวได้ด้วย โดยหลังจากร้อยไหมเรียบร้อยแล้วร่างกายอาจกำจัดไหมให้หมดไปภายในระยะเวลา 6 เดือน แต่ประสิทธิภาพของการร้อยไหมอาจคงสภาพได้ประมาณ 1-2 ปี ข้อควรรู้เกี่ยวกับการร้อยไหม สำหรับข้อควรรู้เกี่ยวกับการร้อยไหมและชนิดของเส้นไหมอาจมี ดังนี้ ร้อยไหมสามารถทำได้ทั้งบริเวณใบหน้า ลำคอ หน้าผาก คาง ใต้ตา โดยคุณหมอจะใส่เส้นไหมละลายเข้าไปใต้ผิวหนังทำให้ผิวดูกระชับขึ้น ขั้นตอนนี้จะทำให้ผิวเกิดการบาดเจ็บและอักเสบซึ่งกระตุ้นการรักษาตามธรรมชาติของร่างกาย เมื่อผิวบาดเจ็บร่างกายจะสร้างคอลลาเจนขึ้นมาใหม่และอาจมีปริมาณมากขึ้นในบริเวณที่มีเส้นไหม ส่งผลให้ผิวดูเต่งตึงและกระชับมากขึ้น โดยวัสดุเส้นไหมที่นิยมใช้ทำมาจากโพลีไดออกซาโนน (Polydioxanone หรือ PDO) เป็นเส้นไหมที่ทำให้มีโอกาสแพ้น้อยมาก ซึ่งอาจมีหลายชนิด เช่น เส้นไหมเกลียว (Screw threads) มีลักษณะเป็นไหมเส้นเดียวหรือสองเส้นพันเข้าด้วยกันเป็นเกลียว ช่วยให้ผิวที่ยุบตัวลงตื้นขึ้น มักนิยมใช้สำหรับการยกกระชับผิวที่หย่อนยานเป็นริ้วรอยลึก เส้นไหมเรียบ (Mono threads) […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

แผลถลอก รักษายังไงให้หายอย่างรวดเร็ว

แผลถลอก เป็นแผลที่เกิดจากเสียดสีของผิวหนังกับของแข็งหรือพื้นผิวที่ขรุขระ จนผิวหนังชั้นนอกถูกทำลายและเกิดเป็นรอยถลอก โดยแผลถลอกสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของร่างกาย เช่น เข่า หน้าแข้ง ข้อศอก ขา ซึ่งอาจทำให้มีเลือดออก เจ็บปวด แสบ ผิวแดง ส่วนใหญ่แผลถลอกไม่ทำให้เกิดแผลเป็นและสามารถรักษาได้เอง เว้นแต่แผลที่มีขนาดใหญ่ ลึก หรือติดเชื้อ อาจต้องเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษา [embed-health-tool-heart-rate] แผลถลอกเกิดจากสาเหตุอะไร แผลถลอก เกิดจากชั้นผิวที่ถูกทำลายจากการเสียดสี แรงกด แรงดันหรือการกระแทกอย่างรุนแรงกับของแข็งหรือพื้นผิวที่ขรุขระ ทำให้ผิวหนังหลุดออกหรือถูกทำลายไป มักพบบ่อยบริเวณข้อศอก เข่า หน้าแข้ง ข้อเท้า แขน ขา ซึ่งแผลถลอกส่วนใหญ่ไม่ก่อให้เกิดแผลเป็น ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับขนาดและความลึกของแผลด้วย โดยแผลถลอกแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้ แผลถลอกจากการขูดหรือขีดข่วน (Scrape หรือ Brush Abrasion) เกิดจากผิวหนังถูกของแข็งหรือพื้นผิวที่มีลักษณะขรุขระขูดเป็นแนวยาว แผลถลอกชนิดนี้มักพบในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้มบริเวณทางลาด รถมอเตอร์ไซค์หรือจักรยานล้ม รอยถลอกที่เกิดจากการกระแทก (Impact Abrasion) เกิดจากแรงกระแทกในลักษณะตั้งฉากระหว่างผิวหนังกับวัตถุ แผลถลอกชนิดนี้มักพบบริเวณผิวหนังที่เป็นส่วนนูน เช่น ข้อศอก หัวเข่า ส่วนใหญ่เกิดจากการหกล้ม หรือร่างกายกระแทกพื้นในแนวตรง รอยถลอกที่เกิดจากการกดทับของวัตถุ […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

ห้อเลือด ส่งผลต่อสุขภาพผิวอย่างไร

ห้อเลือด เกิดจากการสะสมของเลือดภายนอกหลอดเลือด โดยมีสาเหตุมาจากการที่ผนังหลอดเลือดหรือหลอดเลือดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำ รวมถึงเส้นเลือดฝอย ได้รับความเสียหายจากการกระแทกหรืออุบัติเหตุ เช่น หกล้ม รถชน การผ่าตัด ส่งผลให้เลือดออกบริเวณเนื้อเยื่อรอบ ๆ ทำให้ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน สีดำ สีแดง เกิดการอักเสบ บวมแดง และเจ็บปวด นอกจากนี้ ห้อเลือดยังอาจบ่งบอกถึงภาวะที่ร้ายแรง เช่น เลือดคั่งในสมอง เลือดออกในช่องท้อง เลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง ซึ่งอาจส่งผลให้ช็อกหรือเสียชีวิตได้ [embed-health-tool-bmr] ห้อเลือด คืออะไร ห้อเลือด คือ อาการเลือดออกภายนอกหลอดเลือด เนื่องจากผนังหลอดเลือดหรือหลอดเลือดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำ รวมถึงเส้นเลือดฝอยได้รับความเสียหาย ส่งผลให้เลือดออกบริเวณเนื้อเยื่อรอบ ๆ โดยเลือดที่ไหลออกมาจะจับตัวกัน ทำให้เกิดเป็นก้อนเนื้อบริเวณใต้ผิวหนัง มีลักษณะแน่นและนุ่ม ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกส่วนของอวัยวะทั้งภายในและภายนอกที่ได้รับการบาดเจ็บ เช่น ใต้ผิวหนัง บนศีรษะ จมูก หู ใต้เล็บ หากเม็ดเลือดก่อตัวใกล้ผิวหนังอาการห้อเลือดจะปรากฏเป็นก้อนสีแดง สีดำหรือสีน้ำเงินร่วมกับอาการเจ็บปวด เมื่อเวลาผ่านไปผิวหนังจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง น้ำตาลและกลับเป็นปกติ ห้อเลือดอาจมีความแตกต่างจากรอยฟกช้ำ โดยห้อเลือดจะเกิดจากเลือดรั่วไหลออกจากหลอดเลือดและเกิดลึกเข้าไปในร่างกายจนอาจมองไม่เห็นความเสียหาย แต่รอยช้ำจะสามารถสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนกว่าและหายได้เองง่ายกว่า […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

รอยแตกลาย สาเหตุและการรักษา

รอยแตกลาย เป็นริ้วรอยบนผิวหนังที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างของคอลลาเจนและอีลาสติน (Elastin) ในผิวหนังอย่างเฉียบพลัน มักเกิดบริเวณหน้าท้อง ต้นขา สะโพก ซึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การตั้งครรภ์และเกิดรอยแตกลายบริเวณหน้าท้อง กรรมพันธุ์ น้ำหนักตัวที่เพิ่มอย่างรวดเร็วจนผิวหนังไม่สามารถยืดออกได้เพียงพอ แม้รอยแตกลายอาจจางหายได้เองตามกาลเวลาและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ก็อาจสร้างความกังวลใจ หรือทำให้เสียความมั่นใจได้ คำจำกัดความรอยแตกลาย คืออะไร รอยแตกลาย คือ รอยบนผิวหนังชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อผิวหนังยืดและหดตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันนี้ส่งผลให้โครงสร้างของคอลลาเจนและอีลาสติน ที่ช่วยส่งเสริมความยืดหยุ่นและการสมานตัวของผิวเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลัน จึงทำให้เกิดรอยแตกลายบนผิวขึ้น อย่างไรก็ตาม รอยแตกลายอาจไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน แต่ในผู้ที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนผันผวน ในระหว่างตั้งครรภ์หรือมีบุคคลในครอบครัวที่เคยมีรอยแตกลาย อาจเพิ่มโอกาสที่จะมีรอยแตกลายได้สูง อาการอาการของรอยแตกลาย อาการของรอยแตกลายอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เกิดขึ้น สาเหตุ ตำแหน่งและประเภทของผิว ดังนี้ มีลายเส้นยาวบนหน้าท้อง หน้าอก สะโพก ก้น ต้นขา รอยแตกลายอาจเกิดขึ้นเป็นรอยริ้วสีอ่อน รอยแตกลายเป็นริ้วกระจายเป็นวงกว้างบนผิวหนัง รอยแตกลายมีสีแดง ชมพู ม่วง ดำ หรือน้ำเงิน หากรอยแตกลายส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ความมั่นใจ และความสวยงามบนผิวหนัง ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อระบุสาเหตุของรอยแตกลายและหาแนวทางในการรักษา สาเหตุสาเหตุของรอยแตกลาย รอยแตกลายมักมีสาเหตุมาจากการยืดและหดของผิวที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ดังนี้ พันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีประวัติผิวแตกลายอาจมีโอกาสที่คนในครอบครัวจะมีรอยแตกลายด้วยเช่นกัน สุขภาพผิวหรือการยืดและหดของผิวหนังอย่างรวดเร็ว สุขภาพผิวที่อ่อนแอ ขาดความชุ่มชื้นและความยืดหยุ่น เมื่อผิวขยายตัวอาจส่งผลให้เกิดรอยแตกลายได้ ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) หรือฮอร์โมนความเครียด เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมหมวกไต อาจส่งผลให้เส้นใยและความยืดหยุ่นของผิวหนังอ่อนแอลง ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของรอยแตกลาย ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดรอยแตกลาย มีดังนี้ การตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในผู้ที่ตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุยังน้อย การเจริญเติบโตของร่างกายอย่างรวดเร็วในช่วงวัยแรกรุ่น น้ำหนักที่เพิ่มและลดลงอย่างรวดเร็ว การออกกำลังกายเพิ่มกล้ามเนื้อที่เติบโตอย่างรวดเร็ว การใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) กับผิวหนังเป็นเวลานาน การผ่าตัดเสริมหน้าอก ความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น กลุ่มอาการคุชชิง […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

ผิวแข็งแรง เป็นอย่างไร และ 5 เคล็ดลับในการดูแลผิว

ผิวแข็งแรง คือ ผิวที่มีสุขภาพดีไม่ติดเชื้อ ไม่มีอาการคัน แห้ง แตก หรือปัญหาสภาพผิวอื่น ๆ และเป็นผิวที่ไม่แพ้หรือระคายเคืองง่าย การดูแลและปกป้องผิวให้สุขภาพดี ชุ่มชื้นจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผิวแข็งแรง และสามารถทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น [embed-health-tool-bmr] สิ่งที่ทำลายสุขภาพผิว ให้ผิวอ่อนแอ แพ้ง่าย ผิวทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย รักษาสมดุลของเหลว และเป็นเกราะป้องกันอวัยวะภายใน ซึ่งต้องเผชิญกับการคุกคามจากสภาพแวดล้อมที่ทำร้ายผิวมากมาย โดยปัจจัยที่อาจทำให้ผิวเสียหายและเสื่อมสภาพไวขึ้น ดังนี้ สภาพแวดล้อมที่ชื้นเกินไปหรือแห้งเกินไป ผิวสัมผัสกับแสงแดดมากเกินไปโดยที่ไม่ได้รับการป้องกัน การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารสเตียรอยด์ เช่น ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหรือยาแต้มสิวที่ไม่ผ่านการรับรอง การขัดผิวหรือใช้ผลิตภัณฑ์ล้างทำความสะอาดผิวมากเกินไป อุปกรณ์และน้ำยาทำความสะอาดในบ้าน เช่น ผงซักฟอก สบู่ น้ำยาล้างห้องน้ำ สารก่อภูมิแพ้ สารระคายเคืองและมลพิษ เช่น ควันรถ ฝุ่น การสัมผัสกับสารเคมีที่รุนแรงจากที่ทำงานหรือโรงงานอุตสาหกรรม เช่น สีย้อมผ้า ยาฆ่าแมลง ความเครียดหรือความวิตกกังวล ปัจจัยทางพันธุกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อสภาพผิว เช่น โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โรคสะเก็ดเงิน ผิวไม่แข็งแรง เป็นอย่างไร การหมั่นสังเกตผิวของตนเอง และคอยสังเกตสัญญาณที่บ่งบอกถึงสุขภาพผิวที่ไม่แข็งแรง อาจช่วยให้สามารถปกป้องและดูแลผิวได้เหมาะสมมากขึ้น โดยสัญญาณอาจมีดังนี้ ผิวแห้ง แตก เป็นขุย มีอาการคัน ระคายเคืองง่าย เมื่อมีการเปลี่ยนสภาพแวดล้อม เช่น […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

โลชั่นทาผิว เลือกอย่างไรให้เหมาะกับสภาพผิว

แต่ละคนมีปัญหาผิวที่แตกต่างกัน การใช้ โลชั่นทาผิว ที่เหมาะกับสภาพผิวเป็นประจำทุกวัน จึงเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งนี้ การศึกษาวิธีเลือกและวิธีใช้โลชั่นทาผิวให้เหมาะกับผิวที่สุดอาจช่วยให้แก้ปัญหาผิวได้อย่างตรงจุด ปลอดภัย และไม่เสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้ ส่วนผสมที่ควรมองหาใน โลชั่นทาผิว ส่วนผสมที่อาจช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น บำรุงสุขภาพผิวให้แข็งแรง และลดปัญหาผิวได้ อาจมีดังนี้ กรดอัลฟาไฮดรอกซี หรือเอเอชเอ (Alpha-hydroxy acids หรือ AHAs) มีสารประกอบกรดไกลโคลิก (Glycolic Acid) กรดแล็กทิก (Lactic acid) กรดทาร์ทาริก (Tartaric acid) และกรดซิตริก (Citric acid) ที่อาจช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น ช่วยกระชับรูขุมขน และช่วยให้ริ้วรอยดูจางลงได้ ทั้งนี้ ควรใช้โลชั่นทาผิวที่มีเอเอชเอความเข้มข้นไม่เกิน 15% โดยอาจเริ่มทาทุก 2-3 วัน เพื่อดูว่ามีอาการแพ้หรือไม่ หากไม่พบอาการแพ้ใด ๆ จึงค่อยปรับไปใช้โลชั่นทาผิวที่มีเอเอชเอทุกวัน กรดโพลีไฮดรอกซี (Polyhydroxy acids หรือ PHAs) มีคุณสมบัติที่คล้ายกรดอัลฟาไฮดรอกซีหรือเอเอชเอ (Alpha-hydroxy acids) อาจช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว และกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ ลดอาการแสบหรือระคายผิว […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

เจาะจมูก การดูแลแผล และความเสี่ยงต่อสุขภาพ

เจาะจมูก เป็นการใช้อุปกรณ์เฉพาะเจาะลงบนผิวหนังบริเวณปีกจมูกและใส่เครื่องประดับที่มีลักษณะเป็นห่วง หมุด หรือตุ้มลงไปบนผิวหนัง การเจาะจมูกอาจทำให้มีเลือดออก ผิวหนังบวมและแดง หากอุปกรณ์เจาะไม่ได้คุณภาพหรือรักษาความสะอาดได้ไม่ดีอาจทำให้แผลติดเชื้อ เส้นประสาทเสียหายหรือเกิดแผลเป็นนูนได้ ก่อนเจาะจมูกจึงควรศึกษาถึงวิธีดูแลตนเอง ความเสี่ยงสุขภาพ และข้อมูลเกี่ยวกับร้านเจาะที่ได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภัยของสุขภาพและผิวหนัง [embed-health-tool-bmi] เจาะจมูก คืออะไร เจาะจมูก คือ การใช้อุปกรณ์เฉพาะเจาะลงบนผิวหนังบริเวณจมูกและใส่เครื่องประดับเข้าไปเพื่อเพิ่มความสวยงาม เมื่อแผลบริเวณที่เจาะหายดีบางคนอาจขยายขนาดรูเพื่อสวมใส่เครื่องประดับบางประเภทที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ การขยายขนาดรูควรค่อย ๆ ทำทีละน้อยเพื่อไม่ให้แผลฉีกขาดและเกิดแผลเป็น สำหรับผู้มีปัญหาสุขภาพบางประการ เช่น โรคเบาหวาน โรคฮีโมฟีเลีย โรคภูมิแพ้ตัวเอง ปัญหาหัวใจ ปัญหาผิวหนังหรือการติดเชื้อที่จมูก ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ ไม่ควรเจาะจมูกเนื่องจากอาจก่อให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมาได้ เจาะจมูก และความเสี่ยงต่อสุขภาพ การเจาะจมูกอาจเพิ่มความเสียหายให้กับผิวหนังและอาจเพิ่มความเสี่ยงอื่น ๆ ต่อสขภาพ ดังต่อไปนี้ เลือดออก การเจาะเครื่องประดับบนผิวหนังทำให้มีเลือดออกได้ และอาจทำให้ผิวหนังบริเวณจมูกมีอาการห้อเลือด ฟกช้ำ บวม ติดเชื้อหรืออาจลุกลามไปยังผิวหนังรอบ ๆ จนทำให้เกิดความเสียหายบริเวณใบหน้าได้ ปฏิกิริยาแพ้ เครื่องประดับหรืออุปกรณ์เจาะส่วนใหญ่อาจมีส่วนประกอบของนิกเกิลที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ อาจทำให้มีอาการคัน ผิวแดง พุพอง ผิวแห้งและหนา ผิวเปลี่ยนสี จึงควรเลือกวัสดุเครื่องประดับที่ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น ทอง 18 หรือ 24 กะรัต สแตนเลส ไทเทเนียม […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

เลเซอร์ สำหรับผิวหนัง ประโยชน์และความเสี่ยง

เลเซอร์ เป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีประโยชน์ต่อการรักษาปัญหาผิวหนัง เช่น จุดด่างดำ แผลเป็น ไฝ ริ้วรอย รอยสัก ทั้งยังช่วยปรับผิวให้สม่ำเสมอ เรียบเนียนและกระชับมากขึ้น ใช้เวลาในการรักษาน้อย แผลหายเร็วกว่าการรักษาแบบผ่าตัด ลดความเจ็บปวดและอาจลดโอกาสเกิดแผลเป็น เลเซอร์ผิวหนัง คืออะไร เลเซอร์ผิวหนัง คือ การใช้ลำแสงสั้น ๆ และเข้มข้นส่องไปที่ผิวหนังที่มีปัญหา ปัจจุบันมีการใช้เลเซอร์เพื่อลดปัญหาริ้วรอยหรือรอยแผลเป็น ลดการสร้างเม็ดสีในผิวใหม่ทำให้ผิวดูสม่ำเสมอขึ้น นอกจากนี้ การเลเซอร์ยังช่วยกระชับผิวและขจัดรอยโรค เช่น มะเร็ง เนื้องอกที่ไม่เป็นมะเร็ง โดยกลไกการรักษาด้วยเลเซอร์มีหลากหลาย เช่น ลำแสงจากเลเซอร์ที่ขจัดผิวออกทีละชั้นตั้งแต่ผิวชั้นนอก หนังกำพร้าไปจนถึงชั้นหนังแท้ พร้อมทั้งกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใหม่ส่งผลให้ผิวใหม่เรียบเนียนและกระชับขึ้น ประเภทของการทำเลเซอร์ เลเซอร์ มีหลายประเภทซึ่งแต่ละประเภทมีความเหมาะสมต่อการรักษาและปรับปรุงสุขภาพผิวที่แตกต่างกัน ดังนี้ เลเซอร์ชนิดคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Laser) เป็นเลเซอร์ลอกผิวที่ใช้รักษารอยแผลเป็น หูด ริ้วรอย และจุดบกพร่องอื่น ๆ ของผิวหนังที่อยู่ลึกลงไป เลเซอร์เออร์เบียม (Erbium YAG Laser) ช่วยส่งเสริมการสร้างคอลลาเจนใหม่ นิยมในการรักษาริ้วรอย ความหย่อนคล้อยของผิวหนัง และจุดด่างดำที่เกิดจากอายุ เลเซอร์เพาซ์ดายด์ (Pulsed-Dye Lasers หรือ PDL) เป็นเลเซอร์ที่ดูดซับเม็ดสีเพื่อลดรอยแดง […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

โลชั่น วิธีเลือกและเคล็ดลับการใช้

โลชั่น มีส่วนช่วยในการฟื้นฟูผิวที่เสื่อมสภาพและบำรุงผิวให้มีสุขภาพดียิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยกักเก็บและเติมเต็มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว นอกจากนี้ ยังอาจช่วยลดริ้วรอย ทำให้ผิวดูเรียบเนียน กระจ่างใสและอ่อนนุ่ม ซึ่งการเลือกโลชั่นให้เหมาะกับสภาพผิวและใช้ให้ถูกวิธีอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบำรุงผิวให้ดีมากขึ้น แนวทางการเลือกโลชั่นให้เหมาะกับผิว การเลือกโลชั่นให้เหมาะกับสภาพผิวของแต่ละคนอาจช่วยให้ผิวมีสุขภาพดีขึ้น ดังนี้ ผิวมันหรือเป็นสิวง่าย หากมีแนวโน้มเป็นสิวง่ายอาจเลือกโลชั่นที่ไม่ก่อให้เกิดสิว (Non-comedogenic) และไม่อุดตันรูขุมขน เช่น มีส่วนผสมของกรดอัลฟ่าไฮดรอกซี (Alpha Hydroxy Acids หรือ AHA) ผิวแห้ง อาจเลือกโลชั่นที่เข้มข้น โดยอาจมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้ กรดไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic Acid) และไดเมทิโคน (Dimethicone) ซึ่งช่วยให้ผิวชุ่มชื้น กลีเซอรีน (Glycerin) โพรพิลีนไกลคอล (Propylene Glycol) โปรตีน (Proteins) และยูเรีย (Urea) ช่วยเติมเต็มน้ำเข้าสู่ผิว ลาโนลิน (Lanolin) มิเนอรัล ออยล์ (Mineral Oil) และน้ำมันปิโตรเลียม ช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นให้แก่ผิว ผิวแพ้ง่าย อาจเลือกโลชั่นที่ปราศจากสารก่อภูมิแพ้และปราศจากน้ำหอม โดยควรเลือกโลชั่นหรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีน้อยกว่า 10 ส่วนผสมในขวดเดียว อาจประกอบด้วยเซราไมด์ (Ceramide) บิซาโบลอล (Bisabolol) เลซิติน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน