สุขภาพหัวใจ

หัวใจ คืออวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หากหัวใจเกิดปัญหา ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพหัวใจ ทั้งการดูแลรักษา และปกป้องระบบหัวใจและหลอดเลือดของคุณ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพหัวใจ

อาการเตือนโรคหัวใจ แบบไหนควรไปพบคุณหมอ

โรคหัวใจแบ่งได้เป็นหลายประเภทตามสาเหตุและตำแหน่งที่เกิด ซึ่งโรคหัวใจแต่ละประเภทมักจะมีอาการที่คล้ายคลึงกัน โดยลักษณะ อาการเตือนโรคหัวใจ ที่พบบ่อยได้แก่ อาการแน่นหน้าอก ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่เต็มอิ่ม วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย เหงื่อออกเยอะ เหนื่อยง่าย หากสังเกตอาการเตือนโรคหัวใจได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และไปพบคุณหมอโดยเร็วจะช่วยให้รักษาและหาวิธีดูแลตนเองได้อย่างทันท่วงที [embed-health-tool-bmi] อาการเตือนโรคหัวใจ เป็นแบบไหน อาการเตือนโรคหัวใจ แบ่งออกตามประเภทของโรคได้ ดังนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease) เกิดจากเส้นเลือดแดงที่หล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบตัน ซึ่งอาจเกิดจากไขมันเกาะตามผนังหลอดเลือดหัวใจมากเกินไปจนทำให้เลือดที่มีสารอาหารและออกซิเจนไม่สามารถไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงยังหัวใจได้ตามปกติ อาการที่พบบ่อยที่สุดของโรคหลอดเลือดหัวใจคืออาการแน่นหน้าอกหรือเจ็บหน้าอกซึ่งอาจสับสนกับอาการอาหารไม่ย่อยหรือกรดไหลย้อนได้ นอกจากนี้ อาจรู้สึกไม่สบายตัวหรือเจ็บบริเวณไหล่ แขน คอ ลำคอ กราม หรือหลัง และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น หายใจถี่รัว หัวใจสั่น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ วิงเวียนศีรษะหรืออ่อนแรง คลื่นไส้ เหงื่อออกมาก โรคหัวใจวาย (Heart Attack) โรคหัวใจวายหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเกิดขึ้นเมื่เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยลง มักเกิดจากไขมัน คอเลสเตอรอล และสารอื่น ๆ เข้าไปสะสมจนเกิดการอุดตันบริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ อาการที่พบบ่อย คือ แน่นหน้าอกเป็นเวลานานประมาณ 30 นาที จากนั้นค่อย ๆ หายไปแล้วกลับมาเป็นซ้ำอีก ซึ่งเป็นอาการหลักที่มักพบในผู้ชาย […]

หมวดหมู่ สุขภาพหัวใจ เพิ่มเติม

คอเลสเตอรอล

สำรวจ สุขภาพหัวใจ

ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

เวียนหัวเมื่อลุกยืน คุณอาจมีภาวะ ความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่า ก็เป็นได้

คุณเคยรู้สึกเวียนหัวเมื่อเปลี่ยนท่าจากการนั่งหรือนอนเป็นยืนขึ้น บ้างหรือเปล่า? เพราะถ้าหากอาการนี้เกิดขึ้น ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะจะสามารถค่อย ๆ หายไปได้เองเพียงไม่กี่วินาที หรือสองสามนาทีเท่านั้น แต่บางกรณีที่คุณมีอาการวิงเวียนอยู่บ่อยครั้ง ก็อาจคาดการณ์ได้เช่นกันว่าคุณกำลังเสี่ยงเข้าสู่ภาวะ ความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่า ก็เป็นได้ ความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่า คืออะไร ภาวะความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่า (Orthostatic or postural hypotension) หรือ ความดันตกขณะเปลี่ยนท่า เป็นความดันโลหิตต่ำในรูปแบบหนึ่ง ที่เกิดขึ้นเมื่อคุณเปลี่ยนตำแหน่ง จากการนั่ง นอนเป็นยืนขึ้น โดยสามารถสังเกตได้จากอาการที่ชัดเจนมากที่สุดคือ วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ จนนำไปสู่เป็นลมหมดสติ และเกิดโรคแทรกซ้อนบางอย่างร่วม เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น ส่วนใหญ่ภาวะความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่ามักมีอาการไม่รุนแรง อย่างไรก็ดี หากคุณมีอาการเหล่านี้เป็นเวลานาน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาต่าง ๆ ที่ร้ายแรงได้ ดังนั้น เมื่อมีอาการดังกล่าวขึ้นโปรดพบคุณหมอทันที แม้จะเป็นแค่เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ก็ตาม สาเหตุที่ของ ความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่า มีสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำหรือตกจากการเปลี่ยนท่า ได้แก่ ภาวะเกี่ยวกับหัวใจ ความผิดปกติเกี่ยวกับการย่อยอาหาร ปัญหาเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท ใครเสี่ยงที่จะเกิดอาการนี้ ช่วงวัยอายุมากกว่า 65 ปี ตัวเลขทางสถิติเผยว่า ความดันโลหิตต่ำเมื่อลุกยืนพบได้ทั่วไป ในผู้ที่มีอายุ 65 ปี หรือสูงกว่า เนื่องจากความสามารถของเซลล์ชนิดพิเศษใกล้หลอดเลือดหัวใจ […]


คอเลสเตอรอล

กินยาลดคอเลสเตอรอล ก่อนกินอาหารไขมันสูง..ช่วยได้หรือไม่ช่วย?

คนจำนวนมากมีนิสัยชอบ กินยาลดคอเลสเตอรอล ก่อนการรับประทานอาหารที่มีไขมัน อย่างไรก็ดี นี่เป็นสิ่งจำเป็นจริงๆ หรือ? บทความต่อไปนี้จะให้ข้อมูลมากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องนี้ คอเลสเตอรอลคืออะไร อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่า คอเลสเตอรอลทั้งหมดเป็นสิ่งไม่ดี ในความเป็นจริงแล้ว คอเลสเตอรอลในปลาเป็นคอเลสเตอรอลที่ดี เป็นไขมันที่มีความหนาแน่นสูง (high-density lipoproteins or HDL) ซึ่งสามารถช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างเหมาะสมอย่างแท้จริง ถึงแม้ว่าคอเลสเตอรอลในบางระดับ อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพของมนุษย์ แต่หากบริโภคในปริมาณมาก ก็สามารถทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจวาย (heart attack) โรคหัวใจ (heart diseases) หรือโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ได้ ยาลดคอเลสเตอรอลคืออะไร ยาลดคอเลสเตอรอลใช้เพื่อช่วยลดคอเลสเตอรอลในระดับสูง ถึงแม้ว่าการใช้ยาลดคอเลสเตอรอล สามารถช่วยเกี่ยวกับระดับคอเลสเตอรอลได้ หากก็คล้ายกับยาประเภทอื่นๆ นั่นก็คือ ยาดังกล่าวมาพร้อมผลข้างเคียง ความรุนแรงของผลข้างเคียงมีความหลากหลาย ตามแต่ละบุคคลและภาวะสุขภาพ อาการข้างเคียง ได้แก่ ท้องเสีย ปวดท้อง คลื่นไส้ ท้องผูก ปวดกล้ามเนื้อ รวมทั้งอ่อนเพลีย ข้อควรจำในการใช้ยาลดคอเลสเตอรอล ทันทีที่คุณเริ่มใช้ยาลดคอเลสเตอรอล คุณต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เวลาที่คุณควรใช้ยา จากข้อมูลของ British Heart Foundation หากคุณใช้ยาสเตติน (statins) ควรรับประทานยาก่อนนอน เนื่องจากหลังเวลาเที่ยงคืน การสร้างคอเลสเตอรอลที่ตับจะมีระดับสูงที่สุด ดังนั้น จำไว้ว่าให้รับประทานยาชนิดนี้ก่อนนอน ทางเลือกในการลดระดับคอเลสเตอรอล หากคุณปรารถนาที่จะลดระดับคอเลสเตอรอลตามธรรมชาติโดยไม่ต้องใช้ยาช่วย […]


โรคความดันโลหิตสูง

โรคเหงือกกับความดันโลหิตสูง เกี่ยวข้องกันอย่างไร

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงอาจคาดไม่ถึงว่า สุขภาพช่องปากของเรานั้นมีความเกี่ยวข้องกับโรคความดันโลหิตสูงด้วย วันนี้บทความของ Hello คุณหมอ จึงขอพาทุกคนมาร่วมรู้จักถึงความสัมพันธ์ที่เชื่อมกันของ โรคเหงือกกับความดันโลหิตสูง นี้ ไปพร้อม ๆ กัน เพื่อคลายข้อสงสัย และให้ได้ทราบถึงวิธีป้องกันตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนส่งผลความเสี่ยงต่อสุขภาพช่องปากที่แย่ลง โรคเหงือก คืออะไร โรคเหงือก (Gum disease) คือโรคที่มีอาการอักเสบเกิดขึ้นที่เหงือก โดยเริ่มต้นขึ้นจากอาการเหงือกอักเสบ (Gingivitis) จากการติดเชื้อแบคทีเรียในเหงือก อีกทั้งยังสัญญาณเริ่มต้นที่คุณสามารถสังเกตได้ ดังนี้ เหงือกบวมแดง และมีเลือดออกขณะแปรงฟัน นอกจานี้หากยังไม่ได้รับการรักษา หรือปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานก็อาจส่งผลให้นำไปสู่การเป็นโรคปริทันต์ (Periodontitis) ซึ่งเนื้อเยื่อรอบฟัน และกระดูกจะถูกทำลาย เป็นสาเหตุสำคัญให้ฟันโยกและหลุดออกในที่สุด โรคเหงือกกับความดันโลหิตสูง เกี่ยวข้องกันอย่างไร จากงานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการ Hypertension ให้ข้อมูลว่า โรคเหงือก (Gum disease) หรือโรคปริทันต์ (Periodontitis) อาจรบกวนการควบคุมความดันโลหิตสูง โดยนักวิจัยได้ตรวจสอบประวัติทางการแพทย์ และประวัติทันตกรรมของผู้ป่วยมากกว่า 3,600 รายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่เป็นโรคเหงือกมีแนวโน้มที่จะตอบสนองต่อยารักษาโรคความดันโลหิตสูงน้อยกว่า และสามารถบรรลุเป้าหมายในการมีค่าความดันโลหิตที่ถือว่าสุขภาพดีน้อยกว่า 20% เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ที่มีสุขภาพช่องปากที่ดี นอกจากนี้ นายแพทย์เดวิท พีโทพาลี แผนกศัลยกรรมช่องปากแห่ง University of L’Aquila […]


คอเลสเตอรอล

ตรวจวัดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ (Cholesterol And Triglycerides Test)

การ ตรวจวัดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ (Cholesterol And Triglycerides Test) เป็นการตรวจเลือดเพื่อวัดค่าไขมันในเลือด ที่อาจเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองได้ ข้อมูลพื้นฐานการตรวจวัดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ คืออะไร การตรวจวัดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ (Cholesterol And Triglycerides Test) เป็นการตรวจเลือดเพื่อวัดปริมาณสารไขมันทั้งหมดในเลือด คอเลสเตอรอลมาพร้อมกับโปรตีนที่ไหลผ่านกระแสเลือด สารทั้งสองชนิดที่ควบคู่กันนี้เรียกว่า ลิโปโปรตีน การวิเคราะห์ลิโปโปรตีน (ลิปิดโปรไฟล์) เป็นการวัดระดับคอเลสเตอรอลรวม ไขมันเลว ไขมันดี รวมถึงไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือด ร่างกายใช้คอเลสเตอรอล เพื่อช่วยสร้างเซลล์และสร้างฮอร์โมน ปริมาณคอเลสเตอรอลที่มากเกินไป อาจสะสมอยู่ในหลอดเลือด และกลายเป็นคราบไขมัน (plaque) เกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด ยิ่งมีคราบไขมันในผนังหลอดเลือดมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้นเท่านั้น ชนิดของไขมันในเลือด เอชดีแอล (ลิโปโปรตีนความเข้มข้นสูง หรือ HDL) ช่วยขับไขมันจากร่างกาย โดยการจับไขมันไว้ในกระแสเลือด และลำเลียงไปที่ตับเพื่อขับออกจากร่างกายต่อไป บางครั้งเรียกว่า “ไขมันดี” ระดับเอชดีแอลที่สูงเชื่อมโยงกับความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจที่ต่ำลง แอลดีแอล (ลิโปโปรตีนความเข้มข้นต่ำ หรือ LDL) จะลำเลียงไขมันส่วนใหญ่และโปรตีนเล็กน้อยไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย การมีระดับแอลดีแอลในกระแสเลือดในระดับหนึ่งถือว่าปกติ และส่งผลดีต่อร่างกาย เพราะแอลดีแอลช่วยส่งคอเลสเตอรอลไปยังส่วนต่างๆ ตามที่ร่างกายต้องการ แต่คอเลสเตอรอลประเภทนี้เรียกว่า “ไขมันเลว” เพราะหากมีมากเกินไป อาจเพิ่มโอกาสการเกิดโรคหัวใจได้ วีแอลดีแอล (ลิโปโปรตีนความเข้มข้นต่ำมาก หรือ VLDL) จะมีปริมาณโปรตีนอยู่น้อยมาก […]


โรคความดันโลหิตสูง

ควบคุมความดันโลหิต จากแร่ธาตุธรรมชาติ ป้องกันความดันโลหิตสูง

อาหารที่เรารับประทานนั้นมักมีส่วนที่ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายอย่างปฏิเสธไม่ได้ และสำหรับผู้ที่มีโรคเรื้อรังบางอย่าง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ดังนั้นการได้รับแร่ธาตุบางอย่างก็อาจจะช่วย ควบคุมความดันโลหิต ได้ดีขึ้น ที่วันนี้บทความของ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมแร่ธาติที่จำเป็นทั้ง 3 ชนิด มาฝากทุกคนให้ได้ลองนำไปหารับประทานเพื่อช่วยปรับปรุงระดับความดันโลหิตไปพร้อม ๆ กันค่ะ [embed-health-tool-bmi] แร่ธาตุสำคัญ ที่อาจช่วย ควบคุมความดันโลหิต โพแทสเซียม โพแทสเซียม (Potassium) เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการทำงานของเซลล์ เส้นประสาท และกล้ามเนื้อ โดยมีส่วนช่วยให้ร่างกายควบคุมความดันโลหิต จังหวะการเต้นของหัวใจ และปริมาณน้ำในเซลล์ รวมถึงช่วยในการย่อยอาหารด้วย การมีปริมาณโพแทสเซียมในร่างกายในระดับปกติ สามารถทำให้ความดันโลหิตลดลง และช่วยป้องกันการเกิดตะคริวที่กล้ามเนื้อ เนื่องจากโพแทสเซียมเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ รวมถึงการผ่อนคลายผนังหลอดเลือด มากไปกว่านั้นโพแทสเซียมยังสำคัญต่อการนำสัญญาณไฟฟ้า ในระบบประสาทและหัวใจ ซึ่งช่วยป้องกันอาการหัวใจเต้นผิดปกติ สำหรับอาหารที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียม เช่น ลูกพรุน มันเทศ กล้วยหอม เมล็ดทานตะวัน อินทผลัม เป็นต้น ซึ่งคุณสามารถหารับประทานได้ง่ายตามท้องตลาด หรือห้างสรรสินค้าทั่วไป อย่างไรก็ตามการกินอาหารเพียงอย่างเดียวอาจทำให้ได้รับโพแทสเซียมไม่เพียงพอ เพราะยังมียาบางชนิดอย่างยาขับปัสสาวะ เช่น ไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ (Hydrochlorothiazide) อย่างเอซิดริกซ์ (Esidrix) ไฮโดรไดยูริล (Hydrodiuril) ก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ร่างกายขับโพแทสเซียมออกทางปัสสาวะ ซึ่งเป็นการลดระดับโพแทสเซียมในร่างกายได้ ดังนั้นถ้าคุณเป็นผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว โรคความดันโลหิตสูง หรืออาการบวมน้ำ […]


โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม

กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute Myocardial Infarction)

กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute Myocardial Infarction) หรือ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นชื่อทางการแพทย์สำหรับภาวะหัวใจวาย (Heart Attack) ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต คำจำกัดความกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันคืออะไร กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute Myocardial Infarction) หรือ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เป็นชื่อทางการแพทย์สำหรับภาวะหัวใจวาย (Heart Attack) ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต เกิดขึ้นเมื่อกระแสเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจถูกขัดขวางอย่างเฉียบพลัน ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อ หัวใจจำเป็นต้องได้รับออกซิเจนและสารอาหารต่างๆ อย่างสม่ำเสมอเช่นเดียวกับกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ ของร่างกาย หัวใจมีหลอดเลือดใหญ่สองเส้น และหลอดเลือดสาขาที่ทำหน้าที่ลำเลียงลำเลียงออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ หากหลอดเลือดหัวใจหลอดใดหลอดหนึ่งหรือสาขาใดสาขาหนึ่งมีการอุดกั้นทันที หัวใจก็จะขาดออกซิเจน ซึ่งเป็นภาวะที่เรียกว่า “หัวใจขาดเลือด (Cardiac Ischemia)” หากภาวะหัวใจขาดเลือดคงอยู่เป็นเวลานานเกินไป กล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือดจะตาย ภาวะนี้เรียกว่า “หัวใจวาย” หรือเป็นที่รู้จักว่า “กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน” หรือ “กล้ามเนื้อหัวใจตาย (Death Of Heart Muscle)” ภาวะหัวใจวาย ส่วนใหญ่กินเวลาหลายชั่วโมง ดังนั้น จึงอย่ารีรอที่จะขอความช่วยเหลือ ในบางกรณีอาจไม่แสดงอาการใด ๆ แต่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันหรือ ภาวะหัวใจวาย ส่วนใหญ่ จะทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน พบได้บ่อยแค่ไหน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ส่งผลต่อผู้ป่วยได้ในทุกวัย โรคนี้สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

เจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด หรือปวดเค้นหัวใจ (Angina)

คำจำกัดความเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด คืออะไร เจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด หรืออาการแน่นหน้าอก หรืออาการปวดเค้นหัวใจ (Angina) มักเกิดจากการขาดกระแสเลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจ เพราะมีการตีบตันหรือการอุดตันของหลอดเลือด โดยปกติ เลือดจะลำเลียงออกซิเจนไปสู่หัวใจ แต่หากมีเลือดหล่อเลี้ยงหัวใจน้อยเท่าใด ออกซิเจนที่ลำเลียงไปยังหัวใจเพื่อสูบฉีดโลหิตก็ยิ่งน้อยลงเท่านั้น ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอกได้ อย่างไรก็ตาม อาการเจ็บหรือแน่นหน้าอกไม่ได้บ่งชี้ว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือดเสมอไป หากมีอาการเจ็บหน้าอก ควรปรึกษาแพทย์ทันที อาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือดพบบ่อยเพียงใด ทุกคนมีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือดด้วยสาเหตุที่แตกต่างกัน ผู้ที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้วมีโอกาสมากขึ้นในการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด ผู้ชายอายุมากกว่า 45 ปี และผู้หญิงอายุมากกว่า 55 ปี มีความเสี่ยงสูงขึ้น แต่สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด เป็นอย่างไร สัญญาณของอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด ได้แก่ มีอาการเจ็บหรือแน่นในหน้าอก มีอาการปวดที่แขน คอ ขากรรไกร ไหล่ หรือหลัง ร่วมกับเจ็บหน้าอก คลื่นไส้ อ่อนเพลีย มีอาการเหนื่อยหอบ มีเหงื่อออก อาการอาจแตกต่างกันออกไปตามประเภทของอาการเจ็บหน้าอกที่เกิดขึ้น ดังนี้ อาการเจ็บหน้าอกแบบคงที่ หัวใจขาดเลือดที่มีอาการคงที่ เป็นอาการเจ็บหรือแน่นหน้าอกที่มักเกิดขึ้นจากการทำกิจกรรม หรือความเครียด อาการเจ็บหรือแน่นหน้าอกมักเกิดขึ้นเมื่อทำกิจกรรมเดิมๆ ในเวลาเดิมๆ โดยอาการมักหายไปในเวลา 2-3 นาที หลังจากหยุดกิจกรรมนั้นๆ หรือรับประทานยา อาการเจ็บหน้าอกแบบไม่คงที่ หมายถึงลักษณะอาการเจ็บหน้าอกเปลี่ยนแปลงไป มักเกิดขึ้นตอนกลางคืนระหว่างนอนหลับ และอาจเกิดขึ้นได้บ่อยและรุนแรงมากกว่าการเจ็บหน้าอกแบบคงที่ นอกจากนี้ ยังสามารถเกิดขึ้นเมื่อทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งใช้ต้องออกแรงมาก หรือเกิดขึ้นแม้ขณะหยุดพัก อาการเจ็บหน้าอกแบบผันแปร เป็นกรณีที่พบได้น้อย เกิดจากการหดเกร็งในหลอดเลือดหัวใจ มักเกิดขึ้นในขณะพักผ่อนและมีอาการเจ็บแบบรุนแรง ส่วนใหญ่จะมีอาการตอนกลางคืนและตอนเช้าตรู่ โดยสามารถใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการได้ อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการบางประการที่ไม่ได้กล่าวถึงข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสัญญาณใดๆ ของอาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด ควรปรึกษาแพทย์ทันที อาการเจ็บหน้าอกแบบคงที่ไม่ได้เป็นสิ่งบ่งชี้ว่าเป็นโรคหัวใจแต่เป็นสัญญาณบ่งบอกความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ส่วนอาการเจ็บหน้าอกแบบไม่คงถือว่าเป็นอันตรายมาก […]


สุขภาพหัวใจ

ความดันต่ำ สาเหตุ อาการ และการรักษา

ความดันต่ำ หมายถึงภาวะที่ระดับความดันโลหิตลดลงต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท ทำให้การไหลเวียนของเลือดลดลง และอาจทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนอื่น ๆ ไม่เพียงพอ นำมาซึ่งอาการต่าง ๆ เช่น เวียนหัว หมดสติ ตัวเย็น หากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษา หรือหากปล่อยให้ความดันโลหิตลดลงต่ำเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ คำจำกัดความความดันต่ำคืออะไร ความดันต่ำ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความดันโลหิตต่ำ เป็นภาวะที่ความดันโลหิตลดลงอย่างกะทันหัน หรือผู้ที่มีค่าความดันต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท ทำให้การไหลเวียนของเลือดลดลง และอาจทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนอื่นในร่างกายไม่เพียงพอ ความดันต่ำอาจเป็นอาการหนึ่งของภาวะทางสุขภาพหลายประการ และอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพโดยเฉพาะในผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายเป็นประจำ การยืนเป็นเวลานานเกินไป หรือแม้แต่การยืนขึ้นจากท่านั่งหรือท่านอน ก็สามารถทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ ความดันต่ำ มีหลายประเภท ดังนี้ ความดันต่ำขณะลุกขึ้นยืน หมายถึงผู้ที่มีระดับความดันโลหิตลดต่ำลงอย่างรวดเร็วเมื่อลุกขึ้นยืน จากเดิมที่กำลังนั่งหรือนอนอยู่ ความดันต่ำหลังจากกินอาหาร หมายถึงผู้ที่มีความดันต่ำภายใน 1-2 ชั่วโมงหลังจากกินอาหาร มักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ความดันต่ำจากสารสื่อประสาทผิดพลาด ภาวะนี้เกิดขึ้นจากสารสื่อประสาทระหว่างสมองกับหัวใจทำงานผิดพลาด ทำให้ระดับความดันโลหิตลดต่ำหลังจากยืนเป็นเวลานาน พบได้บ่อยในเด็กและวัยหนุ่มสาว ความดันต่ำเนื่องจากระบบประสาทเสียหาย เรียกอีกอย่างว่า กลุ่มอาการชาย-เดรเกอร์ (Shy-Drager syndrome) เป็นโรคหายากที่คล้ายคลึงกับโรคพาร์กินสัน เกิดขึ้นเมื่อระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมการทำงานของหัวใจเกิดความผิดปกติ ทำให้ระดับความดันโลหิตลดต่ำ อาการอาการของความดันต่ำ อาการต่าง ๆ ของความดันต่ำ เกิดขึ้นเมื่อเลือดที่ลำเลียงไปเลี้ยงสมองลดลง โดยอาการทั่วไป ได้แก่ อาการเวียนศีรษะหรืออาการมึนศีรษะ เป็นลมหรือวูบ ไม่มีสมาธิ การมองเห็นไม่ชัด คลื่นไส้ ตัวเย็น หรือตัวซีด หายใจเร็วและสั้น อ่อนเพลีย มีอาการซึมเศร้า กระหายน้ำ ความดันโลหิตต่ำเรื้อรังที่ไม่มีอาการถือว่าไม่รุนแรง […]


โรคความดันโลหิตสูง

กินลดความดันโลหิต ลองอาหาร 7 อย่างที่หาได้ง่ายพวกนี้เลย!

หากคุณต้องการลดความดันโลหิต การปรับพฤติกรรมในการรับประทานอาหารนับว่าเป็นสิ่งจำเป็น ในส่วนของการ กินลดความดันโลหิต นอกจากการลดปริมาณการรับประทานเกลือแล้ว คุณสามารถเพิ่มอาหารดังต่อไปนี้ เพื่อสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือดที่ดีขึ้น 7 อาหารเพื่อสุขภาพ กินลดความดันโลหิต 1. ถั่วขาว ถั่วขาว ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ถั่วขาวอุดมไปด้วยแคลเซียม แมกนีเซียม และโพแทสเซียม จึงเหมาะกับอาหารทุกๆ มื้อของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากคุณทานอาหารเจ คุณสามารถใส่ถั่วขาวในซุป หรือเป็นเครื่องเคียง หรือใส่ในเมนูอาหารจานหลักของคุณก็ได้ 2. โยเกิร์ต โยเกิร์ต อุดมด้วยแร่ธาตุหลายชนิด คุณอาจทานโยเกิร์ตเป็นอาหารเช้า หรือผสมกับสลัดหรือซอส ควรทานโยเกิร์ตธรรมชาติ เลือกแบบที่ไม่มีไขมัน หรือไขมันต่ำ และไม่เติมน้ำตาล หากคุณกังวลว่า โยเกิร์ตที่คุณซื้อจะมีน้ำตาลหรือไม่ คุณก็สามารถทำโยเกิร์ตกินเองที่บ้านได้ 3. กีวี่ กีวี่ เป็นผลไม้ที่มีวิตามินและแร่ธาตุสูง สามารถหาซื้อได้ตามซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไปได้ตลอดทั้งปี ผลไม้ชนิดนี้เก็บรักษาได้ง่าย เพียงแค่ใส่ไว้ในตู้เย็น หรือวางไว้ด้านนอกก็ได้ ข้อมูลชี้ว่ากีวี่มีวิตามินซีสูงกว่าส้มเสียอีก กีวี่สามารถรับประทานเป็นผลไม้ หรือใส่ในสลัดก็ได้ 4. ลูกพีช ผู้ที่มีความดันเลือดสูงสามารถกินอาหารที่ใส่ลูกพีช เพื่อช่วยบรรเทาอาการได้ แต่ต้องไม่ใช่ลูกพีชแช่อิ่ม ซึ่งจะมีน้ำตาลสูง วิธีง่ายๆ และได้รสชาติในการรับประทานลูกพีชก็คือ ลองเอาลูกพีชไปแช่แข็ง แล้วนำมาใส่เครื่องปั่น คุณก็จะได้เครื่องดื่มลูกพีช ที่อุดมด้วยสารอาหารต่างๆ โดยใช้เวลาไม่นาน 5. ผักคะน้า ผักคะน้า […]


โรคความดันโลหิตสูง

ความดันหลอดเลือดปอดสูง (Pulmonary Hypertension)

ความดันหลอดเลือดปอดสูง (Pulmonary Hypertension) เป็นความดันโลหิตสูงประเภทหนึ่ง ที่ส่งผลต่อหลอดเลือดแดงในปอด และบริเวณด้านขวาของหัวใจ   คำจำกัดความความดันหลอดเลือดปอดสูง คืออะไร ความดันหลอดเลือดปอดสูง (Pulmonary Hypertension) คือ ประเภทหนึ่งของความดันโลหิตสูง ที่ส่งผลต่อหลอดเลือดแดงในปอด และบริเวณด้านขวาของหัวใจ ที่เกิดจากหลอดเลือดแดงฝอยในปอด (Pulmonary Arterioles) และหลอดเลือดฝอย (Capillary) จะแคบลง อุดตัน หรือถูกทำลาย ทำให้เลือดไหลเวียนเข้าสู่ปอดได้ยากขึ้น จนในที่สุดอาจระดับความดันเพิ่มขึ้น รวมถึงห้องหัวใจด้านขวาล่าง (Right Ventricle) ทำงานอย่างหนักทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอและล้มเหลว ความดันหลอดเลือดปอดสูงบางชนิด อาจมีสภาวะรุนแรงที่จะแย่ลงเรื่อย ๆ และอาจถึงขั้นเสียชีวิต แม้ความดันหลอดเลือดปอดสูงบางรูปแบบ อาจไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็มีการบำบัดเพื่อบรรเทาอาการ และเพิ่มคุณภาพชีวิตได้ พบได้บ่อยได้แค่ไหน ความดันหลอดเลือดปอดสูงสามารถเกิดได้กับผู้ป่วยทุกช่วงวัย สามารถจัดการได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษากับแพทย์ อาการอาการของ ความดันหลอดเลือดปอดสูง อาการทั่วไปของความดันหลอดเลือดปอดสูง มีดังต่อนี้ หายใจไม่ทั่วท้อง (Dyspnea) ในตอนแรกจะเริ่มจากขณะออกกำลังกาย แล้วสุดท้ายก็จะเป็นในช่วงเวลาพัก เหนื่อยล้า  เวียนหัวหรือเป็นลมบ่อย หรือเป็นโรควูบ (Syncope) มีแรงดันที่หน้าอกหรืออาการปวด บวมน้ำ (Edema) ที่บริเวณข้อเท้า ขา และสุดท้ายในช่องท้อง เป็นอาการท้องบวม (Ascites) ริมฝีปากและผิวหนังเป็นสีเขียวคล้ำ (Cyanosis) ชีพจรเต้นเร็ว หรือใจสั่น (Heart palpitations) สัญญาณและอาการของความดันหลอดเลือดปอดสูงในระยะแรก อาจไม่สามารถสังเกตเห็นได้เป็นเวลาหลายเดือน หรือหลายปี เมื่อโรคนี้เป็นมากขึ้น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน