สุขภาพหัวใจ

หัวใจ คืออวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หากหัวใจเกิดปัญหา ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพหัวใจ ทั้งการดูแลรักษา และปกป้องระบบหัวใจและหลอดเลือดของคุณ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพหัวใจ

อาการเตือนโรคหัวใจ แบบไหนควรไปพบคุณหมอ

โรคหัวใจแบ่งได้เป็นหลายประเภทตามสาเหตุและตำแหน่งที่เกิด ซึ่งโรคหัวใจแต่ละประเภทมักจะมีอาการที่คล้ายคลึงกัน โดยลักษณะ อาการเตือนโรคหัวใจ ที่พบบ่อยได้แก่ อาการแน่นหน้าอก ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่เต็มอิ่ม วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย เหงื่อออกเยอะ เหนื่อยง่าย หากสังเกตอาการเตือนโรคหัวใจได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และไปพบคุณหมอโดยเร็วจะช่วยให้รักษาและหาวิธีดูแลตนเองได้อย่างทันท่วงที [embed-health-tool-bmi] อาการเตือนโรคหัวใจ เป็นแบบไหน อาการเตือนโรคหัวใจ แบ่งออกตามประเภทของโรคได้ ดังนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease) เกิดจากเส้นเลือดแดงที่หล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบตัน ซึ่งอาจเกิดจากไขมันเกาะตามผนังหลอดเลือดหัวใจมากเกินไปจนทำให้เลือดที่มีสารอาหารและออกซิเจนไม่สามารถไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงยังหัวใจได้ตามปกติ อาการที่พบบ่อยที่สุดของโรคหลอดเลือดหัวใจคืออาการแน่นหน้าอกหรือเจ็บหน้าอกซึ่งอาจสับสนกับอาการอาหารไม่ย่อยหรือกรดไหลย้อนได้ นอกจากนี้ อาจรู้สึกไม่สบายตัวหรือเจ็บบริเวณไหล่ แขน คอ ลำคอ กราม หรือหลัง และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น หายใจถี่รัว หัวใจสั่น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ วิงเวียนศีรษะหรืออ่อนแรง คลื่นไส้ เหงื่อออกมาก โรคหัวใจวาย (Heart Attack) โรคหัวใจวายหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเกิดขึ้นเมื่เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยลง มักเกิดจากไขมัน คอเลสเตอรอล และสารอื่น ๆ เข้าไปสะสมจนเกิดการอุดตันบริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ อาการที่พบบ่อย คือ แน่นหน้าอกเป็นเวลานานประมาณ 30 นาที จากนั้นค่อย ๆ หายไปแล้วกลับมาเป็นซ้ำอีก ซึ่งเป็นอาการหลักที่มักพบในผู้ชาย […]

หมวดหมู่ สุขภาพหัวใจ เพิ่มเติม

คอเลสเตอรอล

สำรวจ สุขภาพหัวใจ

คอเลสเตอรอล

สาเหตุไขมันในเลือดสูง มาจากพันธุกรรมได้หรือไม่?

ภาวะไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรม (Familial hypercholesterolemia: FH) เป็นภาวะที่ระดับคอเลสเตอรอลเกิดจากกรรมพันธุ์ โดยที่ระดับคอเลสเตอรอลแอลดีแอล (LDL) ในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากผลกระทบที่ยีนมากกว่า 100 ยีนในร่างกาย มีต่อการจัดการระดับคอเลสเตอรอลของร่างกาย กล่าวคือ คุณอาจรับภาวะนี้จากกรรมพันธุ์ของบุคคลในครอบครัว ซึ่งโดยปกติแล้ว ภาวะนี้สามารถทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดได้ตั้งแต่ที่คุณยังอยู่ในช่วงวัยเด็ก ประมาณร้อยละ 10 บทความของ Hello คุณหมอ วันนี้ จึงมีข้อมูลเกี่ยวกับ สาเหตุไขมันในเลือดสูง จากพันธุกรรมมาให้ทุกคนได้ทราบกันค่ะ สาเหตุไขมันในเลือดสูง จากพันธุกรรม กระแสเลือดมีบทบาทสำคัญในการส่งคอเลสเตอรอลในร่างกายของเรา หลังจากอนุภาคที่เล็กมากของคอเลสเตอรอลแอลดีแอล (LDL) ไปเกาะกับหน่วยรับของเซลล์ อนุภาคเหล่านั้นจะถูกดูดซึม จากนั้น ยีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่าแอลดีแอลอาร์ (LDLR) บนโครโมโซม 19 จะทำหน้าที่ในการผลิตหน่วยรับเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ภาวะไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรมเกิดขึ้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของยีนแอลดีแอลอาร์ซึ่งส่งผลต่อจำนวนและโครงสร้างของหน่วยรับ สาเหตุอีกประการหนึ่ง คือ การเปลี่ยนแปลงของยีนชนิดอื่น เช่น ยีนเอพีโอบี (APOB) หรือยีนส์พีซีเอสเค9 (PCSK9) ดังนั้น คอเลสเตอรอลแอลดีแอล จึงไม่สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่เซลล์ตามที่ควรจะเป็น รูปแบบของการได้รับภาวะไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรม โดยปกติแล้วลูกได้รับยีนจากฝ่ายพ่อหรือแม่ แต่มีบางกรณีที่เป็นส่วนน้อย ที่เด็กจะได้รับยีนจากทั้งพ่อและแม่ จากข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญ ในกรณีที่ได้รับยีนจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เด็กมีโอกาสถึงร้อยละ 50 […]


คอเลสเตอรอล

การดื่มเบียร์ ส่งผลกระทบต่อระดับคอเลสเตอรอลอย่างไร

การดื่มเบียร์ เป็นกิจกรรมยอดนิยมในหลายประเทศ ผู้คนมากมายมีความสุขกับการดื่มเบียร์ และมีการดื่มกันเป็นประจำ แต่คุณทราบหรือไม่ว่า เบียร์สามารถทำร้ายสุขภาพของคุณได้ จากผลเสียหลายอย่างที่ตามมากับการ ดื่มเบียร์ เช่น ระดับไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้น น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น รวมถึงผลกระทบต่อระดับของไขมันดีและไขมันเลวในร่างกาย Hello คุณหมอ ขอนำเสนอบทความนี้ ซึ่งจะอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มเบียร์และระดับคอเลสเตอรอลของคุณ เบียร์มีส่วนประกอบของไฟโตสเตอรอล ที่ทำหน้าที่จับคอเลสเตอรอล เบียร์ (Beer) เป็นขนมปังในรูปของเหลว เนื่องจากเบียร์ประกอบไปด้วยมอลต์ ยีสต์ และฮ็อป คล้ายกับส่วนประกอบในการทำขนมปัง ส่วนประกอบเหล่านี้มีไฟโตสเตอรอล (Phytosterol) ซึ่งจะจับเข้ากับคอเลสเตอรอล และขับมันออกจากร่างกาย ไฟโตสเตอรอลบางชนิด หรือสเตอรอลจากพืช จะใส่ลงในอาหารต่าง ๆ และได้รับการโฆษณาว่าเป็นอาหารที่ช่วยลดคอเลสเตอรอล จากการทดลองบางชิ้นในหนูทดลองพบว่า การดื่มเบียร์ในปริมาณปานกลาง สามารถช่วยลดอัตราคอเลสเตอรอลในตับ และเส้นเลือดเอออร์ต้า (Aorta)ได้ ผู้เชี่ยวชาญบางคนเปิดเผยว่า มีองค์ประกอบบางอย่างที่ระบุไม่ได้ในเบียร์ ที่อาจเปลี่ยนการย่อยลิโปโปรตีน (Lipoprotein) และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ การดื่มเบียร์ ส่งผลต่อระดับคอเลสเตอรอลอย่างไร คอเลสเตอรอลเกือบทั้งหมดในร่างกายของคนเรา ถูกผลิตขึ้นตามธรรมชาติ แต่บางส่วนมาจากอาหารที่รับประทาน นอกจากส่วนประกอบ เช่น มอลต์ ยีสต์ และฮ็อป เบียร์ยังประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตและแอลกอฮอล์ ดังนั้น เมื่อคุณ ดื่มเบียร์ ระดับไตรกลีเซอไรด์อาจสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ระดับไตรกลีเซอไรด์เป็นส่วนหนึ่งของคอเลสเตอรอลโดยรวม […]


โรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง สาเหตุ อาการ และการรักษา

ความดันโลหิตสูง เกิดจากการที่เลือดไหลผ่านหลอดเลือด (arteries) ในความดันที่สูงกว่าปกติ ค่าความดันเลือดมักมีค่าอยู่ที่ 140/90 หรือสูงกว่าเป็นเวลาหลายสัปดาห์ โดยสามารถวัดได้โดยการใช้เครื่องวัดความดันที่แขน ซึ่งหากมีค่าความดันโลหิตสูงติดต่อกัน ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ ความดันโลหิตสูงคืออะไร ความดันโลหิตสูง (High blood pressure) เป็นอาการที่พบได้ทั่วไป เกิดจากการที่เลือดไหลผ่านหลอดเลือด (arteries) ในความดันที่สูงกว่าปกติ ค่าความดันเลือดมักมีค่า 140/90 หรือสูงกว่าเป็นเวลาหลายสัปดาห์ พบได้บ่อยเพียงใด ความดันโลหิตสูงเกิดขึ้นได้คนทุกวัย แต่มักจะพบผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมากขึ้นหลังจากอายุ 55 ปี ทั้งนี้ความดันโลหิตสูงสามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการโรคความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงมักไม่มีอาการใด ๆ และรู้สึกปกติดี คนส่วนใหญ่รู้ตัวว่ามีภาวะนี้ เมื่อไปตรวจร่างกายกับแพทย์ตามปกติ อย่างไรก็ดี อาการของความดันโลหิตสูงที่รุนแรงมาก ได้แก่ อาการปวดศีรษะมาก หรือการมองเห็นไม่ชัด อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น ให้เข้ารับการรักษาทันที เพราะอาการความดันโลหิตสูงอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ เช่น สายตาพร่ามัว โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ ไตวาย หัวใจล้มเหลว สาเหตุ สาเหตุของความดันโลหิตสูง สาเหตุที่แน่ชัดของความดันโลหิตสูงยังคงไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ตาม ปัจจัยดังต่อไปนี้มีความสัมพันธ์กับความดันโลหิตสูง อายุที่มากขึ้น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 2 แก้วต่อวันสำหรับผู้ชาย หรือมากกว่า 1 แก้วต่อวันสำหรับผู้หญิง การบริโภคโซเดียมในปริมาณมาก […]


โรคความดันโลหิตสูง

เทคนิคการ ควบคุมความดันโลหิตสูง โดยไม่ต้องพึ่งยา

ถ้าคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง คุณอาจจะกังวลว่าต้องกินยา เพื่อรักษาตนเองในปริมาณที่เยอะเป็นแน่ แต่ในความจริงแล้วไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตถือเป็นบทบาทสำคัญในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง โดยที่คุณสามารถ ควบคุมความดันโลหิต โดย ไม่พึ่งยา ได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จะขออาสาพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคความดันโลหิตสูงให้มากขึ้นกัน พร้อมกับเทคการควบคุมความดันโลหิตด้วยตนเอง มาฝากกันค่ะ ความดันโลหิตโลหิตสูง คืออะไร ความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่ทำให้เลือดส่งผลกระทบต่อหลอดเลือดแดงเป็นระยะเวลานาน จนท้ายที่สุดอาจเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพ เช่น โรคหัวใจ โดยค่าความดันโลหิต จะเป็นการบอกปริมาณเลือดที่หัวใจสูบฉีด และปริมาณของความต้านทานต่อการไหลเวียนเลือดในหลอดเลือดแดง ยิ่งโดยเฉพาะหากหัวใจของคุณสูบฉีดเลือดมาก พร้อมหลอดเลือดแดงของคุณแคบ ก็จะยิ่งทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นนั่นเอง คุณสามารถเป็นความดันโลหิตสูงได้เป็นเวลาหลายปี โดยไม่แสดงอาการ แต่ถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการ หลอดเลือด และหัวใจก็อาจได้รับความเสียหายไปบ้างแล้วไม่มากก็น้อ นอกจากนี้หากภาวะความดันโลหิตไม่ได้รับการรักษา ก็จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคร้ายแรงอื่น ๆ ตามมา เช่น หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น ยังถือเป็นความโชคดีที่ความดันโลหิตสูงดังกล่าวนี้นั้นเป็นภาวะที่ตรวจพบได้ง่าย จึงส่งผลให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่รับการรักษาได้อย่างเท่าทัน เทคนิคการ ควบคุมความดันโลหิต โดย ไม่พึ่งยา ทีมวิจัยพบว่าอาหาร การออกกำลังกาย และการนอนหลับ คือหัวใจสำคัญในการลดความดันโลหิตโดยไม่ต้องใช้ยา และยังมีวิธีอื่นที่มีส่วนช่วยในการควบคุมความดันโลหิตอีกที่คุณอาจเลือกนำไปปฏิบัติได้ ดังนี้ 1.ลดน้ำหนัก และดูแลรอบเอวของคุณ การลดน้ำหนัก เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการควบคุมความดันโลหิต โดยปกติแล้วการลดน้ำหนักทุก ๆ 1 กิโลกรัม (2.2 […]


โรคความดันโลหิตสูง

ยากลุ่ม แองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างไร

ภาวะความดันโลหิตสูงสามารถทำให้คุณเป็นอันตรายจากการเกิดหัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดสมองได้ ยาบางชนิดที่ใช้เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูงนั้น อาจจะฟังดูแปลกหูสำหรับคุณ บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจยาในกลุ่ม แองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ (Angiotensin II Receptor Blockers) ที่ใช้เพื่อรักษาความดันโลหิตสูงมากขึ้น ตัวอย่างของยาในกลุ่ม แองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ ยากลุ่มแองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ (Angiotensin II Receptor Blockers) นั้นมีอยู่มากมาย แต่มีเพียงแค่ไม่กี่ตัวที่แพทย์นิยมสั่งให้ใช้ แพทย์จะสั่งยาที่เหมาะสมกับคุณที่สุด โดยขึ้นอยู่กับสุขภาพและสภาวะทางการแพทย์ ยากลุ่มแองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ มีดังนี้ ยาอะซิลซาร์แทน (Azilsartan) อย่างเอดาร์บิ (Edarbi) ยาแคนดีซาร์แทน (Candesartan) อย่างอะทาแคนด์ (Atacand) ยาอิโพรซาร์แทน (Eprosartan) ยาเออร์บีซาร์แทน (Irbesartan) อย่างอวาโพร (Avapro) ยาลอซาร์แทน (Losartan) อย่างโคซาร์ (Cozaar) ยาโอล์มีซาร์แทน (Olmesartan) อย่างเบนิคาร์ (Benicar) ยาเทลมิซาร์แทน (Telmisartan) อย่างไมคาร์ดิส (Micardis) ยาวาลซาร์แทน (Valsartan) อย่างไดโอแวน (Diovan) ยากลุ่ม แองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ ใช้เพื่ออะไร คุณสามารถใช้ยากลุ่มแองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์เพียงชนิดเดียว หรือใช้ร่วมกับยาอื่นเพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง ในบางครั้งแพทย์อาจสั่งยากลุ่มแองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ หากคุณไม่สามารถใช้ยายับยั้งเอนไซม์แองจิโอเทนซินคอนเวอร์ติง (Angiotensin-converting enzyme inhibitors) ได้ เนื่องจากยายับยั้งเอนไซม์แองจิโอเทนซินคอนเวอร์ติง สามารถทำให้เกิดอาการไอ ไม่เหมือนกับยากลุ่มแองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ที่มีโอกาสทำให้เกิดอาการไอน้อยกว่า ยากลุ่มแองจิโอเทนซินทูรีเซฟเตอร์บล็อกเกอร์ยังสามารถใช้เพื่อรักษาอาการอื่นได้ด้วย […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

เช็คหน่อย! คุณรู้จัก "อัตราการเต้นของหัวใจ" ตัวเองดีพอหรือยัง?

อัตราการเต้นของหัวใจ (Heart Rate) คือ ค่าตัวเลขที่บอกอัตราการเต้นของหัวใจต่อนาที โดยสามารถวัดได้ด้วยการจับชีพจร ถึงแม้อัตราการเต้นของหัวใจจะเป็นเรื่องใกล้ตัว แต่หลายคนอาจยังไม่รู้จักการทำงานของร่างกายในส่วนนี้ดีพอ หรือเข้าใจผิดเกี่ยวกับอัตราการเต้นของหัวใจ และ Hello คุณหมอ มีรายละเอียดที่คุณควรรู้ในเรื่องนี้มาให้แล้ว วิธีตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจ ชีพจร (Pulse) คือ สิ่งที่บ่งบอกถึงอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งคุณสามารถตรวจวัดเบื้องต้นเองได้ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ จับชีพจร โดยเราสามารถจับชีพจร ได้ในบริเวณต่อไปนี้ จับชีพจรบริเวณข้อมือ หงายฝ่ามือขึ้น ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางสัมผัสข้อมือ โดยชีพจรจะอยู่ใต้นิ้วโป้งบริเวณข้อมือ จับชีพจรบริเวณคอ กดข้างลำคอบริเวณใต้กรามเบาๆ จับเวลาและนับจำนวน เมื่อเจอชีพจรแล้ว ให้จับเวลา 1 นาทีและนับว่าชีพจรเต้นกี่ครั้ง ก็จะทราบจำนวนอัตราการเต้นของหัวใจต่อ 1 นาที อัตราการเต้นของหัวใจปกติจะอยู่ที่ 60-100 ครั้งต่อนาที หากอัตราการเต้นของหัวใจน้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที ถือว่าหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (bradycardia) แต่หากอัตราการเต้นของหัวใจมากกว่า 100 ครั้งต่อนาทีจะหมายถึง หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ (tachycardia) ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่า อัตราการเต้นของหัวใจขณะพักผ่อนที่ดีที่สุด ควรอยู่ที่ 50-70 ครั้งต่อนาที และการศึกษาวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ก็ชี้ว่า อัตราการเต้นของหัวใจที่สูงกว่า 76 ครั้งต่อนาทีในช่วงขณะหยุดพัก อาจเชื่อมโยงกับความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวายที่เพิ่มขึ้น โดยทั่วไปแล้วผู้ที่มีสุขภาพดี มีอัตราการเต้นของหัวใจในขณะหยุดพักยิ่งต่ำเท่าไหร่ก็ยิ่งดี […]


คอเลสเตอรอล

เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับการ ออกกำลังกายลดคอเลสเตอรอล

ออกกำลังกายลดคอเลสเตอรอล ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี หรือไขมันเลว (LDL cholesterol) และระดับไตรกลีเซอไรด์ พร้อมกับอาจช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี หรือไขมันดี (HDL cholesterol) ซึ่งอาจช่วยทำให้สุขภาพหัวใจแข็งแรง และช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ [embed-health-tool-heart-rate] ออกกำลังกายลดคอเลสเตอรอล ควรออกแบบไหน งานวิจัยแนะนำว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิค หรือที่เรียกว่า การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ ร่วมกับการออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน เป็นแผนการออกกำลังกายที่ดีที่สุด สำหรับใครก็ตามที่ปรารถนาจะลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ การศึกษาวิจัยในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน และผู้ที่เป็นโรคอ้วน ในประเทศออสเตรเลียเมื่อปี 2012 เผยว่า การออกกำลังกายทั้งสองประเภทนี้ควบคู่กัน สามารถช่วยลดน้ำหนัก ลดไขมัน และทำให้สุขภาพหัวใจและปอดแข็งแรงขึ้นได้มากกว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิค หรือออกกำลังกายแบบมีแรงต้านเพียงอย่างเดียว การออกกำลังกายแบบมีแรงต้านสำหรับสุขภาพหัวใจ การออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน เป็นการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ โดยอาศัยเครื่องออกกำลังกาย ตุ้มน้ำหนัก ยางยืด หรือใช้น้ำหนักตัวเอง การออกกำลังกายรูปแบบนี้ต้องใช้พลังงานสูง จึงช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญ ทำให้ร่างกายเผาผลาญแคลอรีได้มากขึ้น แม้จะหยุดพักหรือหยุดออกกำลังกายแล้วก็ตาม ควรออกกำลังกายแบบมีแรงต้านอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ ในการออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน ไม่ควรเน้นที่การเพิ่มน้ำหนักหรือแรงต้านให้มากเข้าไว้ แต่ควรเน้นทำซ้ำบ่อยๆ ควรแบ่งการออกกำลังกายเป็นเซ็ต หากเป็นมือใหม่ อาจเริ่มเข้าคลาสหรือมีเทรนเนอร์ส่วนตัวแนะนำ เพื่อจะได้เรียนรู้ท่าทางและเทคนิคที่ถูกต้อง หลีกเลี่ยงการบาดเจ็บ และได้รับประโยชน์สูงสุด ควรออกกำลังกายลดคอเลสเตรอลนานแค่ไหน ตามข้อมูลของสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (American Heart Association หรือ […]


ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ

หัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation)

หัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation หรือ AF) เป็นอาการชนิดหนึ่งของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) และบางครั้งอาจมีอัตราการเต้นที่เร็วกว่าปกติ เนื่องจากความผิดปกติของระบบกระแสไฟฟ้าในหัวใจ อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเวียนศีรษะ หายใจถี่ และเหนื่อยง่าย  โดยผู้ที่เสี่ยงเกิดภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว ได้แก่ ผู้สูงอายุหรือมีอายุเกิน 65 ปี ขึ้นไป ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ผู้ป่วยโรคหัวใจ รวมทั้งผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ หัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว คืออะไร หัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว เป็นอาการหนึ่งของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เนื่องจากความผิดปกติของระบบกระแสไฟฟ้าในหัวใจ ส่วนใหญ่มักมีจังหวะการเต้นของหัวใจเร็วที่ไม่สม่ำเสมอและมักจะเร็วกว่าปกติ โดยคนทั่วไปมีอัตราการเต้นของหัวใจในภาวะปกติอยู่ระหว่าง 60-100 ครั้งต่อนาที ทั้งนี้ อาจตรวจสอบอัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจได้จากการคลำชีพจรบริเวณคอหรือข้อมือ หัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว พบบ่อยแค่ไหน ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้วมักเกิดในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับหัวใจ มีภาวะน้ำหนักเกิน เป็นโรคอ้วน ดื่มแอลกอลฮอล์ในปริมาณมาก หรือสูบบุหรี่จัด อาการ อาการของ ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว ผู้ป่วยบางรายมีภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว แต่อาจไม่ทราบว่าตนเองมีภาวะดังกล่าวนี้ อาการที่อาจจะเกิดขึ้นจากภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้วมักประกอบด้วยความรู้สึกถึงการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ หรือหัวใจเต้นเร็วเกินไป นอกจากนั้น อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ได้แก่ หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก เป็นลม รู้สึกเหนื่อยหรือไม่สามารถออกกำลังกายได้ ใจสั่น ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากรู้สึกว่าหัวใจเต้นผิดปกติ หรือมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่องของภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพลิ้ว ควรรีบพบหมอทันที นอกจากนี้ หากมีอาการเจ็บหน้าอกหรือเกิดภาวะหลอดเลือดสมอง ควรรีบเข้ารับการรักษาโดยด่วน สาเหตุ สาเหตุของ […]


โรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง VS โรคความดันโลหิตสูง ความแตกต่างที่ควรรู้

ภาวะความดันโลหิตสูง (High blood pressure) และ โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) มักเป็นคำที่ใช้แทนกัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็เป็นที่ยอมรับได้ อย่างไรก็ตาม ความดันโลหิตสูง และ โรคความดันโลหิตสูงก็ ยังคงมีความแตกต่างเล็กน้อยสำหรับ โดยจะมีความต่างกันอย่างไรบ้างนั้น ติดตามได้ในบทความของ Hello คุณหมอ ที่นำมาฝากทุกคนให้หายข้องใจไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตในอัตราที่เหมาะสมของคนเรานั้น ควรอยู่ระหว่าง 90/60 มม. ปรอท และ 120/80 มม. ปรอท หากความดันโลหิตมีค่าถึง 140/90 มม. ปรอท หรือสูงไปกว่านี้ ก็อาจหมายความได้ว่าคุณกำลังมีภาวะ ความดันโลหิตสูง นั่นเอง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ค่าความดันโลหิตมักไม่มีตัวเลขคงที่เสมอไป เพราะมักมีการเปลี่ยนแปลงค่าตลอดเวลา โดยขึ้นอยู่กับสภาพอารมณ์ กิจกรรมที่ทำเป็นประจำ และแม้กระทั่งอาหา หรือเครื่องดื่มที่รับประทานในแต่ละมื้อ อีกทั้งความดันโลหิตของคุณอาจเพิ่มสูงขึ้นหลังจากการออกกำลังกาย เช่น การวิ่ง การเดินในระยะไกล หรือการปีนขั้นบันได หรือกำลังตกอยู่ในสถานการณ์บางอย่างที่กระทบกระเทือนจิตใจ และมีอัตราของค่าความดันเพียงระยะสั้น ๆ ชั่วคราว อย่างไรก็ตามการมีภาวะความดันโลหิตสูงนาน ๆ ครั้ง […]


โรคหลอดเลือดหัวใจ

ความรู้พื้นฐานเบื้องต้นของ โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease)

โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease) เป็นหนึ่งในปัญหาของโรคหัวใจ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพหัวใจ และสุขภาพกายโดยรวมของคุณ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด คุณอาจต้องทำการทราบข้อมูลพื้นฐานของโรคนี้เอาไว้ ก่อนเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต คำจำกัดความ โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease) คืออะไร โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease : CAD) เกิดขึ้นจากการที่หลอดเลือดหลักที่ลำเลียงเลือด ออกซิเจน และสารอาหาร ไปยังหัวใจ (หลอดเลือดแดงที่กล้ามเนื้อหัวใจ) จนเกิดความเสียหาย และมีการสะสมของคราบพลัคจากคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด หรือเกิดจากอาการอักเสบในหลอดเลือดหัวใจ เมื่อคราบพลัคก่อตัวขึ้น จะทำให้หลอดเลือดแดงที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบลง และส่งผลให้เลือดที่ลำเลียงไปยังหัวใจนั้นน้อยลง เกิดอาการเจ็บหน้าอก หายใจไม่อิ่ม หรืออาจจะเกิดสิ่งบ่งชี้และอาการอื่น ๆ ของโรคหลอดเลือดหัวใจ การตีบตันของเส้นเลือดอย่างสมบูรณ์เกิดภาวะหัวใจวายได้ โรคหลอดเลือดหัวใจพบได้บ่อยเพียงใด โรคหลอดเลือดหัวใจมักจะพบได้บ่อยทุกเพศทุกวัย รวมถึงผู้ที่มีประวัติป่วยเป็นโรคหัวใจ รวมถึงผู้ที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่เป็นเวลานาน อาการ อาการของ โรคหลอดเลือดหัวใจ อาการที่มักพบได้มากที่สุดคืออาการปวดเค้นในหน้าอก (Angina) หรือเจ็บหน้าอก โดยอาการปวดเค้นในหน้าอกนี้สามารถอธิบายได้ว่าเป็น อาการหน่วง แรงกด อาการปวด อาการแสบร้อน อาการชา อาการแน่น อาการบีบคั้น อาการเหล่านี้อาจทำให้เข้าใจว่าเป็นอาการของอาการอาหารไม่ย่อยและภาวะกรดไหลย้อนได้ อาการปวดเค้นในหน้าอกมักรู้สึกที่บริเวณหน้าอก แต่ยังอาจรู้สึกในบริเวณอื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่น ไหล่ข้างซ้าย แขน คอ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน