สุขภาพหัวใจ

หัวใจ คืออวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หากหัวใจเกิดปัญหา ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพหัวใจ ทั้งการดูแลรักษา และปกป้องระบบหัวใจและหลอดเลือดของคุณ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพหัวใจ

ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ ที่อาจช่วยป้องกันคุณให้ห่างไกลจากโรค

เคยสงสัยกันไหมคะว่าทำไมคนเราจึงต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะกับสุขภาพหัวใจที่แพทย์นั้น มักเน้นการฟัง และจับจังหวะอัตราการเต้นหัวใจเป็นหลัก เพื่อให้ทุกคนได้รู้ถึง ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ นี้ Hello คุณหมอ จึงขออาสานำข้อมูลที่ควรทราบ รวมถึงวิธีการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจหัวใจ มาฝากกันค่ะ ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ มีอะไรบ้าง เนื่องจาก การตรวจสุขภาพหัวใจ สามารถบ่งบอกได้ถึงประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจว่าคุณจัดอยู่ในเกณฑ์ภาวะปกติหรือไม่ อีกทั้งยังสามารถบ่งบอกได้อีกด้วยว่าคุณกำลังมีโรคใดที่รุนแรง ๆ ต่อไปนี้ แทรกซ้อนอยู่หรือเปล่า โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นหนึ่งในโรคที่ถูกพบบ่อยมากที่สุด ที่ทำให้หลอดเลือดแข็ง และอุดตันจากคอเลสเตอรอล ส่งผลให้หัวใจล้มเหลว หรือมีอัตราการการเต้นของหัวใจผิดจังหวะได้ กล้ามเนื้อหัวใจหนา หากผนังกล้ามเนื้อหัวใจมีการพองโต และขยายใหญ่ขึ้น อาจทำให้ยากต่อการสูบฉีดเลือดเพื่อไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ อีกทั้งยังมีเสี่ยงต่อการมีลิ่มเลือดในหัวใจ และภาวะหัวใจล้มเหลว โดยมักเผชิญกับได้ทุกช่วงอายุตั้งแต่ 20-60 ปี โรคลิ้นหัวใจรั่ว เมื่อลิ้นหัวใจเกิดมีรูรั่ว หรือปิดไม่สนิท อาจทำให้เลือดไหลย้อนกลับไม่สามารถเคลื่อนผ่านหัวใจเข้าสู่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การตรวจสุขภาพหัวใจ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณควรเข้ารับการตรวจเช็กเป็นประจำตามกำหนด รวมถึงหากคุณสังเกตว่าตนเองมีอาการบางอย่างที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก  เหนื่อยล้าง่าย ข้อเท้าบวม เป็นต้น ก็ควรจะเข้ารับการวินิจฉัยหาสาเหตุโดยไม่ควรรีรอเช่นเดียวกัน เตรียมความพร้อมก่อน ตรวจสุขภาพหัวใจ คุณควรมีการจดบันทึกถึงโรคที่เป็นอยู่ พร้อมกันชนิดยาที่เคยใช้รักษา เพื่อนำไปแจ้งให้แพทย์ทราบ ก่อนเริ่ม การตรวจสุขภาพหัวใจ อีกทั้งก่อนถึงวันเข้ารับการตรวจคุณควรเตรียมร่างกายตนเองด้วยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ […]

หมวดหมู่ สุขภาพหัวใจ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพหัวใจ

คอเลสเตอรอล

คอเลสเตอรอลกับโรคหัวใจ เกี่ยวข้องกันอย่างไร

คอเลสเตอรอลกับโรคหัวใจ มีความเกี่ยวข้องกัน ทั้งนี้ เมื่อระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงมากเกินไป ทำให้เกิดการสะสมไขมันบริเวณผนังหลอดเลือด หลอดเลือดอาจตีบหรืออุดตันได้ จนส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ไม่ดีพอ เมื่อเลือดและออกซิเจนไม่สามารถเดินทางเเข้าไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ตามปกติ ทำให้เสี่ยงส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ และก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจได้ [embed-health-tool-bmi] คอเลสเตอรอลคืออะไร คอเลสเตอรอลเป็นสารคล้ายไขมัน ที่ช่วยให้ร่างกายสร้างเซลล์และฮอร์โมนใหม่ ๆ รวมถึงช่วยสร้างปลอกประสาท  ปกติ ทั้งนี้ คอเลสเตอรอลจะเดินทางผ่านกระแสเลือดในสารลิโพโปรตีนความหนาแน่นต่ำ (LDL) หรือที่รู้จักกันในชื่อของไขมันเลว ซึ่งมีความสามารถในการเกาะผนังหลอดเลือด หากมีปริมาณสูงอาจก่อให้เกิดอาการหลอดเลือดอุดตัน และยังพบได้ในสารลิโพโปรตีนความหนาแน่นสูง (HDL) ซึ่งถูกยกให้เป็นไขมันดี เพราะมีความสามารถในการกำจัดคอเลสเตอรอลออกจากเลือด ถ้าร่างกายมีระดับคอเลสเตอรอลสูงเกินไป ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ  โดยปกติ คอเลสเตอรอลในร่างกายนั้นสร้างจากตับ ทั้งนี้ หากรับประทานอาหารอย่างเช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์อื่น ๆ อาจทำให้เกิดภาวะคอเลสเตอรอลสูงได้ การรับประทานอาหารจึงมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อระดับคอเลสเตอรอล คอเลสเตอรอลกับโรคหัวใจ เกี่ยวข้องกันอย่างไร หากมีคอเลสเตอรอลอยู่ในเลือดสูงเกินไป ส่งผลให้ปริมาณของคอเลสเตอรอลที่เกาะผนังหลอดเลือดสูงขึ้นตามไปด้วย จึงเสี่ยงเกิดโรคหัวใจชนิดหนึ่งที่ชื่อว่าโรคหลอดเลือดแดงแข็ง หลอดเลือดตีบแคบลง ทำให้การไหลเวียนเลือดช้าลง และบางครั้งอาจเกิดการอุดกั้นจนเลือดไม่อาจไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ นอกจากนั้น เลือดมีหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงหัวใจ หากหัวใจได้รับเลือดและออกซิเจนไม่เพียงพอ นำไปสู่อาการเจ็บหน้าอก หรืออาจรุนแรงกว่านั้นถึงขั้นหัวใจวายเมื่อหลอดเลือดอุดตันจนหัวใจเกิดภาวะขาดเลือด อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ไขมันทรานส์และไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์สามารถเพิ่มให้จำนวนไขมันเลว LDL สูงมากขึ้น และทำให้ไขมันดี HDL ลดน้อยลง หากบริโภคอาหารที่มีไขมันทรานส์ปริมาณมากจะยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคหัวใจได้มากขึ้นอีกด้วย ไขมันทรานส์มักพบได้ในอาหารแปรรูปหลายชนิด เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไขมันทรานส์ จึงควรงดรับประทานอาหารที่ระบุว่ามี PHOs ซึ่งหมายถึงน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน […]


โรคความดันโลหิตสูง

คาเฟอีน ส่งผลต่อโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างไรบ้าง

กาแฟ เป็นเครื่องดื่มสุดโปรดของใครหลายคน และความจริงแล้วคนทั่วโลกบริโภคกาแฟเกือบจะ 8.6 พันล้านกิโลกรัมต่อปี อย่างไรก็ตามมีการตั้งคำถามว่า การบริโภคกาแฟเป็นประจำดีต่อสุขภาพหรือไม่ และกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มี คาเฟอีน ส่งผลต่อความดันโลหิต และโรคหัวใจหรือเปล่า [embed-health-tool-bmi] คาเฟอีนส่งผลต่อความดันโลหิต อย่างไรบ้าง อาจเพิ่มความดันโลหิตชั่วคราว งานวิจัยชี้ว่า กาแฟอาจเพิ่มความดันโลหิตในเวลาสั้น ๆ หลังจากดื่มกาแฟ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ชี้ว่า กาแฟอาจเพิ่มความดันโลหิต เป็นเวลามากกว่า 3 ชั่วโมงหลังจากดื่มกาแฟ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณดื่มกาแฟเป็นประจำ ผลกระทบจากกาแฟก็อาจลดลง คาเฟอีนส่งผลต่อความดันโลหิต ในระยะยาว สำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง งานวิจัยได้แนะนำว่า การบริโภคกาแฟทุกวัน ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อความดันโลหิต หรือความเสี่ยงโดยรวมของโรคหัวใจ อย่างมีนัยสำคัญ และความจริงกาแฟอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เนื่องจากสำหรับผู้ที่มีสุขภาพดี มีงานวิจัยที่ชี้ว่า การดื่มกาแฟ 3-5 แก้วต่อวัน เชื่อมโยงกับความเสี่ยงของโรคหัวใจที่ลดลง 15% รวมถึงลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วย สำหรับความเชื่อมโยงระหว่าง การดื่มกาแฟและความดันโลหิตสูง ในระยะยาว ปัจจุบันยังมีงานวิจัยที่จำกัด โดยบางข้อมูลชี้ว่าการดื่มกาแฟเป็นประจำ ไม่เกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูงที่เพิ่มขึ้น หรือการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ นอกจากนี้กาแฟยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่อาจช่วยให้หัวใจแข็งแรงขึ้นด้วย ดังนั้นสำหรับผู้ที่ความดันโลหิตสูง การดื่มกาแฟในปริมาณที่พอดี ในแต่ละวัน จึงอาจไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เพิ่มเติมไปกว่านั้น การกินอาหารที่มีประโยชน์ และการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดี ยังมีแนวโน้มว่าจะส่งผลกระทบต่อความดันโลหิตสูง มากกว่าการดื่มกาแฟ สาเหตุที่ทำให้ คาเฟอีนส่งผลต่อความดันโลหิต คาเฟอีน […]


สุขภาพหัวใจ

เช็กกันหน่อยไหม ใครมีความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง?

มักมีความเข้าใจผิดกันบ่อยว่า หากคุณมีค่าความดันโลหิตสูง แปลว่าคุณจะเป็น โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งนั่นไม่เป็นความจริงเสมอไป ความจริงก็คือ มีความแตกต่างระหว่าง “ความดันโลหิตสูง” กับการเป็น “โรคความดันโลหิตสูง” ซึ่งจะแตกต่างกันอย่างไร แล้วใครบ้างที่มี ความเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูง บทความนี้จะไขข้อสงสัยให้รู้กัน ความแตกต่างระหว่าง “ความดันโลหิตสูง” และ “โรคความดันโลหิตสูง” ระดับความดันโลหิตนั้นไม่มีตัวเลขตายตัว และมีความผันผวนตลอดทั้งวัน ขึ้นอยู่กับอารมณ์ กิจกรรม และแม้แต่อาหารที่เรารับประทานเข้าไป ความดันอาจขึ้นสูงเมื่อผ่านการออกกำลังกาย หรือจากการดื่มกาแฟเพียงแก้วเดียว หรือเมื่อผ่านเหตุการณ์ตึงเครียดก็เป็นได้ ในสถานการณ์เหล่านี้ ค่าของระดับความดันโลหิตของคุณจะแสดงตัวเลขที่สูงขึ้น  ตามมา ซึ่งหมายความว่า คุณความดันโลหิตสูงในขณะนั้น อย่างไรก็ตาม โรคความดันโลหิตสูง (hypertension) เป็นคนละเรื่องกัน โรคนี้เป็นอาการความดันโลหิตสูงเรื้อรัง โดยความดันโลหิตของคุณจะอยู่ในระดับสูงเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะกินอะไรหรือทำอะไรก็ตาม คุณอาจรู้สึกว่าตัวเองแข็งแรงดี แต่ในความเป็นจริง ระดับความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้นนั้น กำลังทำร้ายร่างกายของคุณ หากทิ้งไว้ไม่รักษา ความดันโลหิตสูงอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพขั้นรุนแรง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจ รู้ได้อย่างไรว่ามี ความเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูง ค่าระดับความดันโลหิตที่แสดงนั้นจะแสดงออกมาเป็น 2 ค่า ค่าด้านบน หรือที่เรียกว่า “ซิสโตลิก” (systolic) หมายถึง ค่าความดันเลือดจากแรงดันโลหิตในเส้นเลือดเมื่อหัวใจเต้น ส่วนค่าด้านล่าง […]


ภาวะหัวใจล้มเหลว

ระวัง! สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเกิดภาวะ หัวใจวาย ขณะออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นวิธีที่ดีในการลดความเสี่ยงสำหรับโรคหัวใจ การออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น การเดิน มีข้อพิสูจน์แล้วว่าทำให้สุขภาพหัวใจดีขึ้น โดยช่วยลดปัจจัยเสี่ยงบางประการสำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น ลดน้ำหนักและลดความดันโลหิต อย่างไรก็ดี บางครั้งการออกกำลังกายก็เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะ หัวใจวาย ขณะออกกำลังกาย โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ และไม่ระมัดระวังเกี่ยวกับการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ ไลฟ์สไตล์ที่ไม่ออกกำลังกาย เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญประการหนึ่ง สำหรับโรคหัวใจ จากข้อมูลของ World Heart Federation การขาดการออกกำลังกายสามารถเพิ่มความเสี่ยงสำหรับโรคหัวใจได้ร้อยละ 50 ปัจจัยเสี่ยงประการอื่น ได้แก่ อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เบาหวานชนิดที่ 2 ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ คอเลสเตอรอลสูง โรคอ้วน (Obesity) ประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ การลดความเสี่ยงเหล่านี้สามารถลดโอกาสในการเกิดหัวใจวาย (heart attack) หรือโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) และความจำเป็นในการเข้ารับการรักษาที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ ซึ่งรวมถึงการผ่าตัดทำบายพาสหัวใจ (bypass surgery) เหตุผลที่ควรระมัดระวังในการออกกำลังกาย การออกกำลังกายมีความสำคัญมากในการป้องกันโรคหัวใจ โดยทั่วไปแล้ว การออกกำลังกายเป็นสิ่งปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่ แต่คุณควรระมัดระวัง โดยเฉพาะหากว่า แพทย์ได้แจ้งคุณว่า คุณมีปัจจัยเสี่ยงสำหรับโรคหัวใจหนึ่งประการหรือมากกว่า เมื่อไม่นานมานี้ คุณมีอาการหัวใจวาย หรืออาการผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจอื่นๆ คุณไม่ออกกำลังกายมาก่อน ผู้ที่เป็นโรคหัวใจเกือบจะสามารถออกกำลังกายได้อย่างสม่ำเสมอ หากได้รับการประเมินอาการล่วงหน้า อย่างไรก็ดี การออกกำลังกายไม่ได้เหมาะสมสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจทุกคน หากคุณเป็นมือใหม่ในการออกกำลังกาย สิ่งสำคัญคือการเริ่มต้นอย่างช้าๆ เพื่อป้องกันผลข้างเคียง ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มโปรแกรมออกกำลังกายใหม่ นอกจากนี้ คุณอาจจำเป็นที่จะเริ่มออกกำลังกาย ภายใต้การดูแลของหมอ ถึงแม้จะระมัดระวังในเรื่องเหล่านี้แล้ว ก็ยังอาจเป็นสิ่งที่ยากสำหรับหมอ ที่จะคาดการณ์เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ ที่คุณอาจมีในระหว่างการออกกำลังกาย เพื่อความปลอดภัย […]


ภาวะหัวใจล้มเหลว

เคล็ดลับการกำหนดอาหารสำหรับ ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว

ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure: CHF) เป็นภาวะสุขภาพประการหนึ่ง เมื่อหัวใจไม่สูบฉีดโลหิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้เกิดการขาดออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกาย ภาวะนี้อาจเป็นผลมาจากกลุ่มโรคหลายชนิด ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคไต การกำหนดอาหารที่เหมาะสมต่อ ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว เพื่อช่วยบรรเทาให้อาการดีขึ้น เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ควรให้ความสำคัญต่อการรักษาควบคู่ไปด้วย นอกเหนือจากการสั่งจ่ายยา และการทำหัตถการผ่าตัด ใส่ใจสิ่งที่ดื่ม ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวมีโอกาสมากขึ้น ที่จะกักเก็บของเหลวไว้ภายในเซลล์และส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น เพราะต้องสูบฉีดเลือดปริมาณมากขึ้น เมื่อภาวะดังกล่าวเกิดขึ้น การจำกัดการบริโภคของเหลวสามารถเป็นการบรรเทาอาการได้ดีที่สุด ในบางครั้งแพทย์ที่ทำการรักษาจะสั่งยาขับปัสสาวะ (Diuretics) เพื่อกำจัดน้ำส่วนเกินออกจากร่างกายทางปัสสาวะ พร้อมกับช่วยกำหนดปริมาณของเหลวที่คุณควรดื่มต่อวันไว้ อย่างไรก็ดี ของเหลวไม่ได้หมายถึงแค่น้ำเปล่าเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงน้ำผลไม้ น้ำแข็ง ไอศกรีม กาแฟ ชา แกงจืด ข้าวต้ม และน้ำซุปอีกด้วย ดังนั้น เมื่อต้องดูแลปริมาณของเหลวตามคำแนะนำของแพทย์ ผู้ป่วยจึงควรใส่ใจในการชั่ง ตวง วัดของเหลวที่บริโภคในทุกวัน วิธีที่ง่ายๆ ก็คือทำความเข้าใจความจุของถ้วย แก้ว และชามที่คุณใช้ที่บ้านเป็นประจำ ซึ่งโดยเฉลี่ยถ้วยกาแฟมีปริมาตร 125-150 มิลลิลิตร ถ้วยตวง 250 มิลลิลิตร ขวดน้ำ 600-1000 มิลลิลิตร […]


คอเลสเตอรอล

อาหารคอเลสเตอรอลสูง ที่ควรหลีกเลี่ยงมีอะไรบ้าง เพื่อป้องกันโรคหัวใจ

อาหารคอเลสเตอรอลสูง เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการสะสมของคอเลสเตอรอล โดยคอเลสเตอรอลเป็นไขมันที่มีลักษณะคล้ายขี้ผึ้งที่เกาะอยู่ตามเซล์ต่าง ๆ ทั่วทั้งร่างกาย โดยปกติคอเลสเตอรอลจะถูกสร้างขึ้นจากตับของร่างกาย ซึ่งมีหน้าที่สร้างฮอร์โมน วิตามินดี  เส้นประสาท และการย่อยอาหาร  หากร่างกายมีระดับคอเลสเตอรอลสูงมากจนเกินไป อาจสร้างคราบจุลินทรีย์หนาอุดตันทางเดินของหลอดเลือดส่งผลให้เลือดมีการไหลเวียนได้ไม่ดี นำไปสู่โรคร้ายแรงต่าง ๆ อย่างโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองได้ [embed-health-tool-bmi] อาหารคอเลสเตอรอลสูง ที่ควรหลีกเลี่ยง คอเลสเตอรอล แบ่งออกเป็นคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) และ คอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) โดยอาหารที่เต็มไปด้วยคอเลสเตอรอลไม่ดี ซึ่งควรหลีกเลี่ยงหรือลดปริมาณการรับประทานเพื่อป้องกันโรคหัวใจ มีดังนี้ 1. ไข่แดง ไข่ 1 ฟอง มีคอเลสเตอรอลประมาณ 186 มิลลิกรัม ซึ่งจัดอยู่ในปริมาณมาก แต่เนื่องจากไข่มีโปรตีนที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย จึงควรจำกัดปริมาณในการรับประทาน หรือควรรับประทานควบคู่ไปกับอาหารประเภทไฟเบอร์ 2. ชีส ถึงแม้ว่าชีสเพียงแค่เศษเล็กเศษน้อยที่โรยอยู่ตามหน้าอาหาร อาจจะดูเหมือนว่าไม่มี คอเลสเตอรอล มากมายแต่แท้จริงสามารถเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลให้ร่างกายได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อรับประทานคู่กับอาหารที่มีไขมันสูงร่วมด้วย 3. กุ้ง กุ้งหนึ่งตัวมีคอเลสเตอรอลประมาณ 170 มิลลิกรัม ซึ่งถือว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณคอเลสเตอรอลที่แนะนำต่อวันจึงควรรับประทานแต่พอเหมาะ และไม่ควรรับประทานบ่อยเกินไปเพราะอาจทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอลสูงเกินไป 4. ตับ ตับอุดมไปด้วยวิตามินและสารอาหาร แต่อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการจะลดปริมาณคอเลสเตอรอล อย่างตับเนื้อวัว 85 กรัม มีคอเลสเตอรอล 333 มิลลิกรัม ซึ่งถือว่ามีปริมาณคอเลสเตอรอลสูง อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพหัวใจได้หากรับประทานบ่อยเกินไป 5. […]


โรคความดันโลหิตสูง

ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension)

ความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่แรงดันเลือดกระทำต่อหนังหลอดเลือด การมี ภาวะความดันโลหิตสูง เป็นเวลานาน ถือว่าเป็น โรคความดันโลหิตสูง ที่อาจทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดตามมา คำจำกัดความ โรคความดันโลหิตสูงคืออะไร ความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นภาวะหนึ่งที่มีแรงดันเลือดกระทำต่อผนังหลอดเลือด ในขณะที่หัวใจสูบฉีดโลหิตมากเกินไป หากแรงดันดังกล่าวเพิ่มขึ้น และอยู่ในระดับสูงเป็นเวลานาน สามารถทำลายร่างกายได้ในหลายทาง ความดันโลหิตสูงคือการที่มีความดันโลหิตสูงกว่า 140 เหนือ 90 มม. ปรอท โดยมีความสอดคล้องกันกับค่ามาตรฐาน หมายความว่าค่าบ่งชี้ซิสโตลิก (systolic index) หรือความดันในขณะที่หัวใจสูบฉีดโลหิตไปทั่วร่างกาย มีค่าสูงกว่า 140 มม. ปรอท (มิลลิเมตรปรอท) และ/หรือค่าบ่งชี้ไดแอสโตลิก (diastolic index) ความดันในขณะที่หัวใจคลายตัวและเต็มไปด้วยเลือด มีค่าสูงกว่า 90 มม. ปรอท ความดันโลหิตสูงหลายประเภท โดยมีประเภทหลักๆ ดังต่อไปนี้ ความดันโลหิตสูงไม่ทราบสาเหตุ (Essential hypertension) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ (primary hypertension) ความดันโลหิตสูงทุติยภูมิ (Secondary hypertension) คงามดันโลหิตตัวบนสูง (Isolated systolic hypertension) ครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia) ซึ่งเป็นความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์ ความหมายของตัวเลขค่าความดันโลหิต เลือดเคลื่อนที่ในร่างกายในอัตราคงที่ ค่าความดันโลหิตประกอบด้วยตัวเลข 2 ตัว […]


ภาวะหัวใจล้มเหลว

สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ : ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure)

ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure) เรียกได้ว่าเป็นอีกภาวะหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับหัวใจโดยตรง ทำให้คุณอาจเสียชีวิตลงได้อย่างรวดเร็วหากรับการรักษาไม่เท่าทัน วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ภาวะหัวใจล้มเหลว มาฝากทุกคนกันค่ะ เพื่อให้เกิดความตระหนัก และหันมาดูแลสุขภาพหัวใจกันให้มากขึ้น คำจำกัดความภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure) คืออะไร ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหัวใจล้มเหลว (heart failure) เป็นภาวะหนึ่งที่หมายถึง กล้ามเนื้อหัวใจมีกำลังในการสูบฉีดโลหิตลดลง ภาวะดังกล่าวทำให้เกิดผลที่อันตรายบางประการ ดังนี้ หัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตที่เพียงพอตามความต้องการของร่างกาย เลือดถูกอุดกั้นในหัวใจ ซึ่งทำให้มีความดันมากขึ้นในผนังหัวใจ หัวใจจำเป็นต้องยืดตัวเพื่อเติมเลือดให้มากขึ้น ไตมีการตอบสนองโดยการทำให้ร่างกายกักเก็บของเหลวและเกลือมากขึ้น ซึ่งทำให้เกิดอาการบวมที่อวัยวะบางประการได้ ในท้ายที่สุดส่งผลให้เกิดอาการบวมแน่นในร่างกาย ภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดขึ้นในหัวใจด้านใดด้านหนึ่ง โดยปกติแล้วเริ่มเกิดขึ้นในหัวใจด้านซ้ายแล้วย้ายไปยังหัวใจด้านขวา หากไม่มีการรักษาที่เหมาะสม หัวใจล้มเหลวอาจทำให้เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ภาวะหัวใจล้มเหลว พบได้บ่อยเพียงใด ภาวะหัวใจล้มเหลว สามารถส่งผลต่อคนได้ทุกวัย ถึงแม้ว่าพบได้มากที่สุดในผู้สูงอายุ เด็กที่มีภาวะหัวใจบกพร่องแต่กำเนิด (Congenital Heart Defects) ยังมีความเสี่ยงสูงขึ้นในการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวด้วยเช่นกัน อาการอาการของ ภาวะหัวใจล้มเหลว หัวใจล้มเหลวเป็นโรคเรื้อรังประเภทหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าไม่ได้เกิดขึ้นโดยทันที อาการทั่วไปของโรคนี้ ได้แก่ หัวใจเต้นผิดปกติ อ่อนเพลีย ไอเป็นเลือดและหายใจมีเสียงบ่อย ไม่มีความอยากอาหาร คลื่นไส้ หายใจลำบาก ปวดปัสสาวะด่วนในตอนกลางคืน น้ำหนักเพิ่มขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ เจ็บหน้าอก มีอาการบวมในท้อง ขา ข้อเท้า และเท้า อาจมีอาการและสัญญาณเตือนอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึง หากคุณข้อสงสัยใด ๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับสัญญาณเตือนเหล่านี้ […]


ภาวะหัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว (Heart Failure) กับความรู้พื้นฐานที่ควรรู้เอาไว้

หัวใจล้มเหลว (Heart Failure) เป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถรองรับการทำงาน และไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปทั่วร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวจะทำให้เลือดลำเลียงไปทั่วร่างกาย และผ่านทางหัวใจในอัตราที่ช้าลง เนื่องจากปริมาณเลือดที่ไม่เพียงพอ ห้องหัวใจอาจมีการตอบสนองโดยการขยายตัวออกเพื่อเติมเลือดให้มากขึ้น แต่อาจส่งผลให้ผนังหัวใจมีความแข็ง และความหนาตามไปด้วย คำจำกัดความหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) คืออะไร หัวใจล้มเหลว (Heart Failure) เป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้อธิบายหัวใจที่ไม่สามารถรองรับการทำงาน และไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปทั่วร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว จะทำให้เลือดลำเลียงไปทั่วร่างกาย และผ่านทางหัวใจในอัตราที่ช้าลง เนื่องจากปริมาณเลือดที่ไม่เพียงพอ ห้องหัวใจอาจมีการตอบสนองโดยการขยายตัวออกเพื่อเติมเลือดให้มากขึ้น แต่อาจส่งผลให้ผนังหัวใจมีความแข็ง และความหนาตามไปด้วย ในการขยายตัวของห้องหัวใจอาจช่วยรักษาการไหลเวียนของเลือดได้ แต่ในท้ายที่สุดแล้วกล้ามเนื้อหัวใจจะอ่อนแอลงไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หัวใจล้มเหลว พบได้บ่อยเพียงใด หัวใจล้มเหลวอาจพบได้ทั่วไป และมีความรุนแรงแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล อีกทั้งยังสามารถส่งผลได้ทุกวัย ในปัจจุบัน หัวใจล้มเหลวไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่อาจจัดการได้โดยการลดความเสี่ยง อาการอาการของหัวใจล้มเหลว อาการทั่วไปของหัวใจล้มเหลวอาจได้แก่ หายใจลำบากในระหว่างทำกิจกรรมหรือพักผ่อน อ่อนเพลียมาก มีอาการบวมที่เท้า ข้อเท้า กระเพาะอาหาร หรือบริเวณหลังส่วนล่าง มีอาการบวมมากขึ้นที่เท้า ขา ข้อเท้า และท้อง ไม่สามารถทำกิจกรรมประจำวันได้ ไอในเวลากลางคืน มึนงงหรือกระสับกระส่าย มีภาวะขาดน้ำ (Dehydration) เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นเร็ว (มากกว่า 120/นาที ในขณะที่พักผ่อน) สาเหตุสาเหตุของหัวใจล้มเหลว สาเหตุทั่วไปบางประการของหัวใจล้มเหลวที่ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากโรคเรื้อรังต่าง ๆ อาจมีดังนี้ โรคเบาหวาน โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง (Hypertension หรือ High Blood Pressure) โรคซึมเศร้า (Depression) มีความผิดปกติในการนอนหลับ (Sleep Disorder) โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Heart Disease) ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของหัวใจล้มเหลว สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว […]


คอเลสเตอรอล

คอเลสเตอรอลสูง (High cholesterol)

คอเลสเตอรอลสูง (High cholesterol) เป็นภาวะหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อระดับ คอเลสเตอรอล ในร่างกายสูงกว่าปกติ สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้ อีกทั้งยังมีการประมาณการณ์ระดับคอเลสเตอรอลสูงขึ้นเรื่อย ๆ สามารถทำให้มีจำนวนผู้เสียชีวิต 2.6 ล้านราย (ร้อยละ 4.5 ของทั้งหมด) ได้เลยทีเดียว คำจำกัดความคอเลสเตอรอลสูง (High cholesterol) คืออะไร คอเลสเตอรอลสูง คือ ภาวะหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อระดับ คอเลสเตอรอล ในร่างกายสูงกว่าปกติ คอเลสเตอรอลเป็นสารคล้ายขึ้ผึ้งชนิดหนึ่งที่พบในหลอดเลือด เมื่อคอเลสเตอรอลสูงขึ้นอาจมีไขมันสะสมจำนวนมากภายในหลอดเลือด ท้ายที่สุดแล้วไขมันเหล่านี้อาจทำให้เลือดไหลผ่านหลอดเลือดอย่างได้ยาก และทำให้หัวใจอาจไม่ได้รับเลือดที่มีออกซิเจนได้มากเพียงพอ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวาย (heart attack) และอาการรุนแรงอื่น ๆ จากการขาดเลือดมาหล่อเลี้ยง อาการอาการของ คอเลสเตอรอลสูง เมื่อคอเลสเตอรอลสูงสิ่งที่จะสังเกตได้ชัดคือตัวเลขขณะตรวจมีการเปลี่ยนแปลง เพราะเนื่องจากเป็นภาวะที่ไม่แสดงปฏิกิริยาใด ๆ ออกมา นอกเหนือจากว่ามีอาการของโรคเรื้อรังอื่น ๆ ร่วมด้วย โดยค่าคอเลสเตรอลที่บ่งบอกถึงระดับคอเลสเตอรอลสูงนั้นอยู่ที่ 160–190 มก./ดล. ขึ้นไป หากวัดด้วยตนเองแล้วพบว่าค่าตัวเลขอยู่ในระดับสูงดังกล่าว โปรดเข้ารับคำปรึกษา และการตรวจสุขภาพอย่างละเอียดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอีกครั้ง เพื่อทำการลดคอเลสเตอรอลกลับมาให้อยู่ในเกณฑ์ปกติดังเดิม สาเหตุสาเหตุของ คอเลสเตอรอลสูง สาเหตุที่ทำให้คอเลสเตอรอลสูงส่วนใหญ่อาจมาจากอาหารที่เราเลือกรับประทานในแต่ละวัน และพฤติกรรมที่ไม่มีการเคลื่อนไหว หรือออกกำลังหายเพื่อนำไขมันส่วนเกินออก เนื่องจากอาหารในแต่ละมื้อที่เลือกรับประทานมักประกอบไปด้วย คอเลสเตอรอล หลายชนิดที่อยู่ภายใน โดยเฉพาะคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน