สุขภาพหัวใจ

หัวใจ คืออวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หากหัวใจเกิดปัญหา ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพหัวใจ ทั้งการดูแลรักษา และปกป้องระบบหัวใจและหลอดเลือดของคุณ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพหัวใจ

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) สามารถเกิดขึ้นได้จาก สาเหตุใด

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) เป็นอีกโรคที่คุณควรระมัดระวังเป็นอย่างมากไม่แพ้โรคประเภทอื่น ๆ เนื่องจากโรคนี้ค่อนข้างเชื่อมโยงกับการทำงานของหัวใจ เพื่อให้ทุกคนรู้จักกับโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองมากขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ จึงรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น มาฝากทุกคนให้ได้ลองศึกษา และทำความรู้จักกันค่ะ [embed-health-tool-bmi] โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) คืออะไร โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง คือ การพองตัว และนูนบวมของหลอดเลือดแดงใหญ่ที่มีหน้าที่ในการลำเลียงเลือดจากหัวใจเข้าไปหล่อเลี้ยงทั่วทั้งร่างกาย โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การติดเชื้อที่หัวใจ ความดันโลหิตสูง ภาวะหลอดเลือดแข็งตัว และพฤติกรรมการสูบบุหรี่เป็นประจำ เป็นต้น อีกทั้งโรคนี้ยังสามารถแบ่งออกได้อีก 2 ประเภทด้วยกัน นั่นก็คือ โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้อง โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในทรวงอก นอกจากนี้หากคุณปล่อยให้หลอดเลือดแดงพองตัวไปเรื่อย ๆ ไม่รีบเร่งรักษา ก็อาจส่งผลให้เส้นเลือดนี้สามารถแตกออก ก่อให้เกิดโรคหัวใจบางอย่าง ไตพัง และถึงแก่ชีวิตได้ในที่สุด อาการของโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง อาการที่เกิดขึ้นเมื่อคุณเข้าสู่ภาวะเสี่ยงเป็น โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง นั้น ส่วนมากมักทำให้คุณต้องพบเจอกับอาการต่าง ๆ ดังนี้ เจ็บหน้าอก ปวดหลัง หายใจลำบาก ไอ และเสียงแหบ ปวดท้อง เหงื่อออก อาเจียน วิงเวียนศีรษะ การรักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง หากคุณสังเกตถึงอาการผิดปกติ พร้อมรับการวินิจฉัยแล้วว่าคุณกำลังเป็น โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง […]

หมวดหมู่ สุขภาพหัวใจ เพิ่มเติม

คอเลสเตอรอล

สำรวจ สุขภาพหัวใจ

ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

การรักษาโรคหลอดเลือดแข็งตัว และการวินิจฉัยโรค ด้วยเทคนิคทางการแพทย์

โรคหลอดเลือดแข็งตัว เกิดจากคราบจุลินทรีย์ที่สะสมจำนวนมากตามผนังหลอดเลือด จนส่งผลให้ขัดขวางการไหลเวียนของเลือด โดยการก่อตัวของจุลินทรีย์นี้สามารถมาได้หลากหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็น ไขมัน ระดับกลูโคส การสูบบุหรี่ เป็นต้น วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอพาทุกคนมาร่วมรู้จัก การรักษาโรคหลอดเลือดแข็งตัว และการเตรียมตัวเข้ารับการวินิจฉัยเบื้องต้น เพื่อรับมือให้พร้อมกับอาการที่เกิดขึ้นมาฝากกันค่ะ การเตรียมตัวก่อนเข้ารับวินิจฉัย โรคหลอดเลือดแข็งตัว ส่วนใหญ่ โรคหลอดเลือดแข็งตัว มักส่งสัญญาณเตือนมาในรูปแบบอาการเจ็บหน้าอก แขนขาอ่อนแรง การสื่อสารผิดปกติ ปวดขาขณะเคลื่อนไหว และเริ่มสูญเสียการมองเห็น ดังนั้นเมื่อใดที่คุณพบกับสัญญาณเตือนข้างต้นนี้ ไม่ว่าจะอาการใดอาการหนึ่ง โปรดรีบขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ในทันที และตรียมตัวให้พร้อมก่อนเข้ารับการวินิจฉัยตรวจหาสาเหตุโรคหลอดเลือดแข็งตัว ดังนี้ จดบันทึกโรคประจำตัว อาการ ที่คุณกำลังเป็น รวมถึงยา วิตามิน ที่คุณกำลังใช้ในปัจจุบัน เพื่อนำไปแจ้งให้แพทย์ทราบ หากคนในครอบครัวของคุณเคยมีประวัติโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด อาจต้องแจ้งให้แพทย์ทราบร่วมด้วย หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหาร และเครื่องดื่มก่อนการเข้าทดสอบ นำคนรอบข้างคนใดคนหนึ่งไปด้วย เพื่อช่วยจดจำข้อมูลที่แพทย์จะแจ้งเพิ่มเติม เทคนิคการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดแข็งตัว หลังจากที่แพทย์สอบถามข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาวะสุขภาพของคุณแล้ว คุณอาจได้รับการวินิจฉัยด้วยเทคนิดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือ 2-3 เทคนิคร่วมกัน เพื่อให้ผลลัพธ์ของอาการ และสาเหตุเผยออกมาได้อย่างชัดเจนมากขึ้น ตรวจเลือด แพทย์ หรือพยาบาลผู้ช่วยจะดำเนินการเจาะเลือดนำไปวิเคราะห์หาระดับน้ำตาลในเลือด และคอเลสเตอรอลว่ามีระดับที่สูงขึ้นหรือไม่ เนื่องจากทั้ง 2 ปัจจัยนี้สามารถส่งผลก่อให้เกิดการอุดตันในหลอดเลือดได้ ตรวจอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกาย และการเคลื่อนไหว เชื่อมโยงกับการทำงานของหัวใจ […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

การรักษาโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว เทคนิคที่แพทย์นิยมใช้ เพื่อปกป้องสุขภาพหัวใจ

หากคุณพบว่าตัวเองกำลังเป็น โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว แพทย์ก็อาจแนะนำทางเลือกต่าง ๆ ใน การรักษาโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว มาให้คุณ แต่คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าการรักษารูปแบบไหนเหมาะสมกับคุณ วันนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาโรคหัวใจห้องบนสั่นพริ้วมาฝาก เพื่อให้คุณได้ตัดสินใจและวางแผนไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ สาเหตุที่ทำให้เกิด โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว มีสาเหตุมาจากความผิดปกติหรือสภาวะที่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างหัวใจ จนทำให้อัตราการเต้นหัวใจผิดปกติไป เช่น หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 100-175 ครั้งต่อนาที ซึ่งสภาวะที่อาจเป็นสาเหตุของ โรคหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว มีดังนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจทำงานผิดปกติ หัวใจพิการแต่กำเนิด ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจวาย โรคปอด โรคไซนัส ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ต่อมไทรอยด์มีการทำงานหนัก การได้รับสารกระตุ้น เช่น คาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ การรักษาโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ที่แพทย์นิยมใช้ การรักษาโรคหัวใจห้องบนสั่นพริ้วนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะละเอียดอ่อน เพราะแพทย์จะต้องเลือกวิธีการรักษาโดยพิจารณาจากปัจจัยสำคัญอย่าง อายุของผู้ป่วย สภาพร่างกายโดยรวม และความรุนแรงของอาการหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว โดยปกติการรักษามักแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบหลัก ๆ ได้แก่ 1. การรักษาด้วยการใช้ยา ในกรณีที่ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด แพทย์อาจรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วด้วยการให้รับประทานยารักษาตามอาการเบื้องต้น ดังนี้ เพื่อควบคุมไม่ให้มีอาการรุนแรงไปกว่าเดิม โดยอาจใช้ยาดังนี้ ยาลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ยารักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น ไบโซโปรลอล (Bisoprolol) เวอปามิล (Verpamil) ดิลไทอะเซม (Diltiazem) และอื่น ๆ ยาป้องกันการอุดตันของลิ่มเลือด เช่น วาร์ฟาริน […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว กับสัญญาณเตือนที่ควรเข้าพบคุณหมอ

การจะป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจาก โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว อาจสามารถทำได้ หากคุณมีความรู้เกี่ยวกับ ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ที่มากพอ Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของการเกิด โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว เพื่อให้คุณผู้อ่านได้ทำความเข้าใจ และสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ได้ดีมากขึ้น ก่อนที่จะเกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพหัวใจในภายหลัง ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว มีอะไรบ้าง ถึงแม้ว่าสาเหตุหลักที่ทำให้เกิด โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว อาจจะมาจากภาวะทางสุขภาพอย่างเช่น หัวใจวาย โรคหลอดเลือดหัวใจ ความดันโลหิตสูง การติดเชื้อไวรัส แต่ก็ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงบางประการที่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิด โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ขึ้นมาได้อีกเช่นเดียวกัน ดังนี้ พันธุกรรม หากคนในครอบครัวของคุณมีประวัติเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ คุณก็อาจได้รับการถ่ายทอดกรรมพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคจากคนในครอบครัวมาได้เช่นกัน ปัญหาทางสุขภาพ นอกจากโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจแล้ว ผู้ที่ปัญหาสุขภาพด้านอื่น ๆ เช่น ต่อมไทรอยด์ โรคไตเรื้อรัง โรคปอด โรคเบาหวาน โรคอ้วน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิด โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ได้เช่นกัน อายุ แน่นอนว่าเมื่อคุณมีอายุที่เพิ่มมากขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันและการทำงานต่าง ๆ ภายในร่างกายอาจเสื่อมถอยลงตามกาลเวลา ส่งผลให้คุณมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับโรคต่าง ๆ รวมไปถึง โรคหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว ได้ง่ายขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจส่งผลให้เกิด โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว นอกจากนี้ยังอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ อีกด้วย การวินิจฉัย โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว  สำหรับการวิจิยฉัยเพื่อหาสาเหตุของ โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว แพทย์อาจเริ่มต้นด้วยการซักประวัติสุขภาพเบื้องต้น รวมถึงอาการและยาต่าง […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ส่งผลอันตรายมากน้อยแค่ไหน มาดูกัน

โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว คือ ภาวะที่คุณอาจมีอัตราการเต้นของหัวใจที่สูงกว่าปกติ ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ ระดับความดันโลหิตสูง  โรคปอด และการติดเชื้อไวรัสตั้งแต่แรกอยู่แล้ว หากคุณไม่เร่งรักษา หรือเข้ารับการตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำ โปรดระวังให้ดี เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิด ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ได้ ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว มีอะไรบ้าง หากพบว่าตนเองกำลังเป็น โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว สิ่งที่ควรระมัดระวังให้มากยิ่งขึ้นนั้น คงไม่พ้นภาวะแทรกซ้อนที่อาจตามมาในภายหลัง จนอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ โรคหลอดเลือดสมอง เมื่อหัวใจห้องบนไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนเช่นเดิม ก็อาจก่อให้เกิดลิ่มเลือดขึ้นจนเคลื่อนตัวไปยังหัวใจห้องล่าง เข้าไปสู่ปอด และไหลเวียนออกไปอุดตันปิดกั้นหลอดเลือดในสมอง ผู้ที่เป็น โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการที่จะต้องเผชิญกับโรคหลอดเลือดในสมองได้ถึง 5 เท่า เลยทีเดียว หัวใจล้มเหลว ในกรณีที่ผู้ป่วย โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ยังไม่มีอาการที่ดีขึ้น อาจทำให้สุขภาพหัวใจคุณอ่อนแอลง เนื่องจาก หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ จนอาจทำให้เกิดกรณีร้ายแรงอย่างหัวใจล้มเหลวขึ้นมาได้ในทันที เกิดปัญหาด้านการรับรู้ สติปัญญา จากการศึกษาในวารสารสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ป่วยเป็น โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ในระยะยาว มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญเสียด้านการรับรู้การเข้าใจ จนเข้าสู่ภาวะสมองเสื่อมได้ เนื่องจาก ไม่มีเลือดไหลเวียนเข้าไปหล่อเลี้ยงบริเวณสมอง อาการที่พบบ่อยใน โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ส่วนใหญ่อาการของ โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว อาจไม่ปรากฏออกมาจนกว่าคุณจะหมั่นเข้าตรวจร่างกายจนพบได้เอง แต่ในบางครั้งก็อาจเผยสัญญาณเตือนเล็กน้อยที่บ่งบอกถึงความผิดปกติขึ้นมา ได้แก่ อาการใจสั่น วิงเวียนศีรษะ หายใจถี่ เจ็บหน้าอก เหนื่อยล้าง่าย วิธีป้องกันให้คุณห่างไกลจาก โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว สำหรับการป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะทำให้เกิด โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว คุณอาจจะต้องปรับพฤติกรรมบางอย่างที่จะช่วยป้องกันตัวเองจากความเสี่ยงให้มากขึ้น ซึ่งพฤติกรรมที่ควรจะต้องปรับมีดังนี้ หยุดใช้สารอันตราย เช่น ยาสูบ […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก ที่คุณควรระวัง มีอะไรบ้าง

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก นั้น น้อยครั้งที่จะพบว่าเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เพราะส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นด้วยปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นด้านสภาวะโรค และพฤติกรรม วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขออาสาพาทุกคนมาเช็ก ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก เพื่อทุกคนได้ระมัดระวัง และป้องกันการเกิด โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก นี้ ไปพร้อม ๆ กัน  ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก คือ โรคที่เกิดจากหลอดเลือดแดงเอออร์ตาอ่อนแรง และกดทับผนังหลอดเลือดจนอาจทำให้บริเวณนั้นมีการโป่งพอง โดยสามารถนำพาอาการทั้งในระดับรุนแรง และไม่รุนแรงเข้ามาทำลายสุขภาพคุณได้ เช่น อาการเจ็บหน้าอก หายใจถี่ ปวดบริเวณหลังส่วนบนเฉียบพลัน อีกทั้ง โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่คุณควรทราบ ดังนี้ อายุที่มากขึ้นตั้งแต่อายุ 65 ปี ขึ้นไป การสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่สามารถพัฒนาให้หลอดเลือดใหญ่โป่งพองได้ ความดันโลหิตสูง ระดับความดันโลหิตที่สูงขึ้น อาจทำลายหลอดเลือดในร่างกาย จนอาจทำให้หลอดเลือดเกิดการโป่งพองได้ คราบจุลินทรีย์สะสมในหลอดเลือดแดง หากหลอดเลือดของคุณมีการสะสมของไขมัน และสารแปลกปลอมอื่น ๆ มากเกินไป บางครั้งอาจส่งผลทำให้เยื่อบุหลอดเลือดถูกทำลาย จนในที่สุดเกิดเป็น โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก ขึ้นนั่นเอง โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ ก็อาจพัฒนาก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดโป่งพองได้เช่นเดียวกัน ถึงแม้จะมีบางกรณีที่คุณอาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สามารถหมั่นดูแลตนเองให้ไกลจากความเสี่ยงของ โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก ได้ เช่น การออกกำลังกาย […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก คืออะไร และมีวิธีการรักษาอย่างไรบ้างนะ

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก เป็นหนึ่งในประเภทของโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ที่คุณควรระวัง เพราะเนื่องจากบางครั้งอาจไม่มีอาการใด ๆ ปรากฏให้เห็นชัดมากนัก ดังนั้น คุณจึงจำเป็นหมั่นเข้ารับการตรวจสุขภาพหัวใจอยู่เสมอ เพื่อให้คุณได้ทราบข้อมูลเบื้องต้นเอาไว้ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงได้นำความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับ หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก พร้อมวิธีการรักษามาฝากกัน โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก คืออะไร หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก (Thoracic Aortic Aneurysm) คือ การขยายตัวของหลอดเลือดที่อยู่ภายในทรวงอก โดยส่วนใหญ่มักมาจากสาเหตุการแข็งตัวของหลอดเลือด จากคราบพลัค และไขมันที่เกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด รวมถึงภาวะการอักเสบในหลอดเลือดแดง ปัญหาผิดปกติเกี่ยวกับโรคลิ้นหัวใจ การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุรุนแรง เป็นต้น ถึงแม้ หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก จะไม่เผยอาการมากนัก แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปหลอดเลือดนี้อาจมีการขยายใหญ่ขึ้น จนสามารถส่งผลให้คุณนั้นเริ่มมีสัญญาณเตือนต่าง ๆ ดังนี้ เจ็บหน้าอก ปวดหลัง เสียงแหบ ไอ  หายใจถี่ ที่สำคัญ หากคุณเริ่มมีอาการดังกล่าวข้างต้นเกิดขึ้น โปรดรีบเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์ในทันที เพื่อรักษาและป้องกันไม่ให้หลอดเลือดโป่งพองเคลื่อนตัวลงมาบริเวณช่องท้องได้นั่นเอง การวินิจฉัย หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก ในระยะแรกแพทย์อาจตรวจพบ หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองทรวงอก ได้ค่อนข้างยาก ทำให้ต้องนำเทคนิคทางการแพทย์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เข้ามามีส่วนร่วม การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการทดสอบที่สามารถแสดงให้เห็นว่าห้องหัวใจ และลิ้นหัวใจของคุณมีการทำงานได้ดีมากเพียงใด โดยแพทย์จะใช้การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจนี้ผ่านหลอดอาหาร เพื่อให้เผยภาพหลอดเลือดแดงใหญ่ได้ดีขึ้น เอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ (CT Scan) ถึงแม้จะเป็นเทคนิคที่อาจทำให้แพทย์จับขนาด […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

ประเภทโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง กับอาการเบื้องต้นที่คุณควรสังเกต

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง เกิดจากผนังของหลอดเลือดมีการขยายตัวขึ้นด้วยปัจจัยหลาย ๆ ช่องทางตามสภาวะสุขภาพไม่ว่าจะเป็นคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เป็นต้น แต่คุณทราบหรือไม่ว่า โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองนี้ ยังแบ่งออกได้อีก 2 ชนิดด้วยกัน ซึ่งทาง Hello คุณหมอ จะขอพาทุกคนมารู้จักกับ ประเภทโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง พร้อมกับอาการที่คุณควรสังเกตตัวเอง ประเภทโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ที่มีทั้งสาเหตุ และอาการที่ค่อนข้างแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องอก โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ในช่องอกนี้ค่อนข้างมีความอ่อนแอ หากคุณเคยมีประวัติทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดแข็งตัว การติดเชื้อของหัวใจ และลิ้นหัวใจเอออร์ตา ก็อาจมีความเป็นไปได้ว่าจะส่งผลให้ผนังหลอดเลือดเกิดการกดทับ และโป่งพองออกมาได้นั่นเอง แต่ถึงอย่างไร การโป่งพองของหลอดเลือดแดงใหญ่ในบริเวณนี้มักเติบโตได้ช้า และไม่ค่อยปรากฏอาการมากนัก ทำให้ตรวจพบได้ยาก นอกเสียจากว่าเส้นเลือดแดงใหญ่จะเริ่มพองโตใหญ่ขึ้น และเผยอาการต่าง ๆ ออกมาให้เห็น ซึ่งอาการต่าง ๆ ได้แก่ เจ็บหน้าอก ปวดหลัง เสียงแหบ และหายใจถี่ โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้อง โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง ประเภทนี้ เกิดจากการพัฒนาของหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องอก และค่อนข้างอันตรายอย่างมาก เพราะหากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน อาจส่งผลให้การโป่งพองของหลอดเลือดแดงขยายใหญ่จนแตกได้ สำหรับอาการที่คุณควรสังเกตส่วนใหญ่ ได้แก่ มีอาการปวดท้องรุนแรง อาการปวดหลังเป็นเวลานาน หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออก […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

ประเภทของโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร

โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เกิดจากการที่เนื้อเยื่อของหัวใจบวม จะเป็นถุงหุ้มรอบ ๆ หัวใจ จนส่งผลให้คุณมีอาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น ปวดกระดูกไหล่ซ้ายลามไปถึงคอ ขาบวม อย่างไรก็ตาม โรคเยื่อหุ้มหัวใจยังแบ่งออกได้อีกหลายประเภทด้วยกัน ที่วันนี้ Hello คุณหมอ จะพามารู้จักกับ ประเภทของโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ พร้อมสาเหตุที่ทำให้เยื่อบุหัวใจคุณอักเสบ กัน สาเหตุที่ทำให้คุณเป็น โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ บางครั้งแพทย์ก็อาจไม่สามารถระบุสาเหตุที่ทำให้เกิด โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ได้ชัดเจน แต่เบื้องต้นนั้นอาจเป็นผลกระทบที่ได้รับมาจากสภาวะต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับสุขภาพหัวใจร่วม ดังนี้ ภาวะหัวใจวาย เคยรับการผ่าตัดแก้ไขปัญหาของหัวใจบางอย่าง การติดเชื้อบริเวณรอบ ๆ หัวใจ ผลกระทบจากโรคเอดส์ วัณโรค โรคมะเร็ง โรคภูมิแพ้ตัวเองที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคลูปัส และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ อาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ยารักษาบางชนิด เช่น กลุ่มยาต้านอาการชัก ยารักษาภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ การฉายรังสีรักษาโรค ประเภทของโรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ มีอะไรบ้าง โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ บางครั้งก็สามารถหายไปได้เองภายใน 2-3 วัน หรือหลายสัปดาห์โดยไม่ต้องเข้ารับการรักษา แต่ถึงอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับประเภทของโรคเยื่อหุ้มหัวใจที่คุณเป็นดังต่อไปนี้ร่วมด้วย เพราะหากคุณจัดอยู่ในประเภทที่ส่งผลความรุนแรงก็อาจต้องดำเนินการรักษาในทันที เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเฉียบพลัน ส่วนใหญ่มักทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างกะทันหัน ในระหว่างที่คุณมีการหายใจเข้า หรือนอนราบ โดยอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย […]


โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม

ประเภทโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา กับวิธีรักษาด้วยเทคนิคแพทย์ ที่คุณควรรู้

โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา บางครั้งอาจไม่ส่งผล หรืออาการใด ๆ ออกมาแน่ชัด แต่คุณก็สามารถสังเกตได้จากความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ เช่น ความดันโลหิตสูง วิงเวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย เป็นต้น นอกจากนี้โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนายังถูกแบ่งออกอีกหลายประเภทด้วยกัน ที่วันนี้บทความของ Hello คุณหมอ จะขอพาทุกคนทำความรู้จักกับ ประเภทโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา พร้อมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อช่วยคุณได้เฝ้าระมัดระวังตนเองกันมากขึ้น ก่อนเข้าสู่ความเสี่ยงรุนแรง ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา โรคเรื้อรัง และพฤติกรรมบางอย่าง ดังนี้ อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้อาการของ โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา อยู่ในเกณฑ์ที่แย่ลง จนส่งผลให้คุณอยู่ในอัตราการเสียชีวิตที่ง่ายขึ้น โรคเบาหวาน ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ โรคอ้วน ความดันโลหิตสูงในระยะยาว ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากเป็นประจำ ติดเชื้อในกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ภาวะหัวใจวาย หากคุณไม่อยากเพิ่มความเสี่ยงที่ส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อหัวใจ คุณจำเป็นต้องดูแลสุขภาพตนเองให้ดี เพื่อป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคร้ายแรงข้างต้น ก่อนนำไปสู่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา และอาการเจ็บปวดต่าง ๆ ได้ ประเภทโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา มีอะไรบ้าง โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ด้วยกัน โดยมีสาเหตุ และอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1. โรคกล้ามเนื้อหัวใจที่ห้องหัวใจขยายตัวผิดปกติ (Dilated cardiomyopathy) เป็นประเภทที่มักเกิดขึ้นจากการดื่มแอลกอฮอล์ การได้รับสารเคมี ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน และการติดเชื้อบางอย่าง จนส่งผลเสียต่อห้องสูบฉีดเลือดของหัวใจด้านซ้าย เชื่อมโยงไปสู่อัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ โดยส่วนใหญ่จะทำให้คุณมีอาการหายใจลำบาก เจ็บหน้าอก และใจสั่นขึ้น 2. โรคกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัวมากกว่าปกติ […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

ประเภทของไขมันในเลือดสูง ที่อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็นโรคอ้วน

ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นภาวะที่ร่างกายของคุณนั้นมีปริมาณไขมันสะสมในเลือดมากกว่าปกติ โดยอาจประกอบไปด้วยคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ ที่สำคัญหากปล่อยไว้ระยะเวลานานก็อาจส่งผลให้เส้นเลือดมีการอุดตัน จนเลือดไม่สามารถเข้าไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของอวัยวะได้ นอกจากนี้ภาวะดังกล่าวยังมี ประเภทของไขมันในเลือดสูง อีกทั้ง 4 ประเภท ด้วยกัน แต่จะมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้างนั้น ติดตามได้ในบทความนี้ของ Hello คุณหมอ กันค่ะ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้คุณเป็น ภาวะไขมันในเลือดสูง ผู้คนส่วนใหญ่ที่มีประวัติทางสุขภาพเป็นภาวะไขมันในเลือดสูงนั้น บางครั้งอาจมาจากการสืบทอดทางพันธุกรรม และการรับประทานที่ประกอบด้วยไขมันไม่ดีเข้าสู่ร่างกาย แต่ขณะเดียวกันก็ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่มีความเชื่อมโยงส่งผลให้คุณเผชิญกับภาวะไขมันในเลือดสูงได้ ดังนี้ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากเกินไป ยาบางชนิด โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไต ภาวะไทรอยด์ต่ำ 4 ประเภทของไขมันในเลือดสูง ที่คุณควรรู้ คุณทราบหรือไม่ว่าภาวะไขมันในเลือดสูงยังถูกแบ่งออกได้อีก 5 ประเภท ที่สามารถส่งกระทบทางสุขภาพในเชิงลบได้ไม่แพ้กัน ดังต่อไปนี้ ประเภทที่ 1 เป็นภาวะไขมันในเลือดสูงทางพันธุกรรมที่คุณสามารถรับมาตั้งแต่กำเนิด ทำให้ระบบการสลายไขมันในร่างกายคุณมีการชะงัก จนเกินไขมันสะสมจำนวนมาก พร้อมมีการติดเชื้อบริเวณตับอ่อนตามมา ประเภทที่ 2 สามารถดูได้จากการเปลี่ยนแปลงของผลคอเลสเตอรอลรวมมีอัตราที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะระดับไขมันในเลือดชนิดไม่ดี พร้อมอาจทำให้เกิดการสะสมไขมันใต้ผิวหนัง รอบดวงตา และเสี่ยงต่อการเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจได้อีกด้วย ประเภทที่ 3 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน