สุขภาพหัวใจ

หัวใจ คืออวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หากหัวใจเกิดปัญหา ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพหัวใจ ทั้งการดูแลรักษา และปกป้องระบบหัวใจและหลอดเลือดของคุณ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพหัวใจ

อาการเตือนโรคหัวใจ แบบไหนควรไปพบคุณหมอ

โรคหัวใจแบ่งได้เป็นหลายประเภทตามสาเหตุและตำแหน่งที่เกิด ซึ่งโรคหัวใจแต่ละประเภทมักจะมีอาการที่คล้ายคลึงกัน โดยลักษณะ อาการเตือนโรคหัวใจ ที่พบบ่อยได้แก่ อาการแน่นหน้าอก ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจไม่เต็มอิ่ม วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย เหงื่อออกเยอะ เหนื่อยง่าย หากสังเกตอาการเตือนโรคหัวใจได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และไปพบคุณหมอโดยเร็วจะช่วยให้รักษาและหาวิธีดูแลตนเองได้อย่างทันท่วงที [embed-health-tool-bmi] อาการเตือนโรคหัวใจ เป็นแบบไหน อาการเตือนโรคหัวใจ แบ่งออกตามประเภทของโรคได้ ดังนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease) เกิดจากเส้นเลือดแดงที่หล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบตัน ซึ่งอาจเกิดจากไขมันเกาะตามผนังหลอดเลือดหัวใจมากเกินไปจนทำให้เลือดที่มีสารอาหารและออกซิเจนไม่สามารถไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงยังหัวใจได้ตามปกติ อาการที่พบบ่อยที่สุดของโรคหลอดเลือดหัวใจคืออาการแน่นหน้าอกหรือเจ็บหน้าอกซึ่งอาจสับสนกับอาการอาหารไม่ย่อยหรือกรดไหลย้อนได้ นอกจากนี้ อาจรู้สึกไม่สบายตัวหรือเจ็บบริเวณไหล่ แขน คอ ลำคอ กราม หรือหลัง และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น หายใจถี่รัว หัวใจสั่น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ วิงเวียนศีรษะหรืออ่อนแรง คลื่นไส้ เหงื่อออกมาก โรคหัวใจวาย (Heart Attack) โรคหัวใจวายหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเกิดขึ้นเมื่เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยลง มักเกิดจากไขมัน คอเลสเตอรอล และสารอื่น ๆ เข้าไปสะสมจนเกิดการอุดตันบริเวณผนังหลอดเลือดหัวใจ อาการที่พบบ่อย คือ แน่นหน้าอกเป็นเวลานานประมาณ 30 นาที จากนั้นค่อย ๆ หายไปแล้วกลับมาเป็นซ้ำอีก ซึ่งเป็นอาการหลักที่มักพบในผู้ชาย […]

หมวดหมู่ สุขภาพหัวใจ เพิ่มเติม

คอเลสเตอรอล

สำรวจ สุขภาพหัวใจ

โรคความดันโลหิตสูง

รู้หรือไม่!? วิตามินดี ตัวช่วยชั้นยอดจัดการ ความดันโลหิตสูง

รู้หรือไม่คะว่า วิตามินดี (Vitamin D) มีส่วนสำคัญในการควบคุมความดันโลหิต ซึ่งมีคุณประโยชน์ที่ดีต่อหัวใจและหลอดเลือด เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง แต่หากร่างกายได้รับวิตามินดีมากจนเกินไปอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดได้ บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงพาทุกคนมาดูกันค่ะว่า วิตามินดีกับโรคความดันโลหิตสูง มีความสัมพันธ์กันอย่างไร และมีข้อควรระวังอย่างไรบ้าง เรามาดูไปพร้อมกันเลยค่ะ [embed-health-tool-heart-rate] วิตามินดีกับโรคความดันโลหิตสูง มีความสัมพันธ์กันอย่างไร วิตามินดีกับโรคความดันโลหิตสูง มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก หากร่างกายขาดวิตามินดี อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ เพราะวิตามินดีมีสารเรนิน (Renin) ที่ไต ซึ่งมีคุณสมบัติในการควบคุมความดันโลหิตภายในร่างกาย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าวิตามินดีจะมีคุณประโยชน์ที่ดีต่อผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมากเพียงใด แต่หากรับประทานมากจนเกินอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อน ดังนั้นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อรับคำแนะนำการรับประทานวิตามินดีในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกาย  4 แหล่งอาหารจากวิตามินดี ช่วยลดความดันโลหิตสูง ปกติร่างกายสามารถรับวิตามินดีได้จากแสงแดดธรรมชาติในยามเช้า รวมถึงสารอาหารที่อุดมด้วยวิตามินดี โดยมีแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดี มีดังต่อไปนี้ ปลาแซลมอน อุดมด้วยวิตามินดีและคุณค่าทางสารอาหารที่มีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย นอกจากนี้ยังอุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 (Omega-3) ที่ช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดให้แข็งแรง นม อุดมด้วยแคลเซียมและวิตามินนานาชนิด โดยส่วนใหญ่นมที่มีปริมาณวิตามินดีสูงจะเป็นนมเสริมจากพืช เช่น นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์  (นมปริมาณ 8 ออนซ์ มีวิตามินดีระหว่าง 115 ถึง 124 IU) ข้าวโอ๊ต อุดมด้วยไฟเบอร์และคุณค่าทางสารอาหาร […]


โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูงในเด็ก กับความรู้พื้นฐานที่คุณพ่อคุณแม่ควรทราบ

โรคความดันโลหิตสูงในเด็ก ส่วนใหญ่จะพบได้ในเด็กที่ชอบรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ด หรืออาหารที่มีไขมันสูง มักเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น โรคอ้วน คอเลสเตอรอลสูง โรคเบาหวาน โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง ที่ถึงแม้ว่าจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่ก็อาจส่งผลระยะยาว ทำให้มีปัญหาสุขภาพในอนาคตได้  [embed-health-tool-heart-rate] โรคความดันโลหิตสูงในเด็ก (Hypertension in children) คืออะไร โรคความดันโลหิตสูงในเด็ก (Hypertension in children) เกิดขึ้นในเด็กที่มีระดับความดันโลหิตมากกว่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท โดยส่วนใหญ่มักพบในเด็กที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรืออยู่ในภาวะอ้วน ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักสำหรับโรคความดันโลหิตสูงในวัยเด็ก รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ สมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง ระบบฮอร์โมนผิดปกติ มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม โรคความดันโลหิตสูงในวัยเด็ก ถือเป็นภาวะที่น่ากังวอย่างมาก หากปล่อยทิ้งไว้ระยะเวลานาน ๆ โดยไม่ได้รับคำแนะนำหรือรับการรักษาที่ถูกต้อง อาจนำไปสู่โรคความดันโลหิตสูงต่อเนื่องในวัยผู้ใหญ่ นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่าง ๆ  เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลัน เป็นต้น  สัญญาณเตือนโรคความดันโลหิตสูงในเด็ก อาการที่พบได้บ่อยในเด็กที่อยู่ในภาวะ ความดันโลหิตสูง มีลักษณะดังต่อไปนี้ ปวดศีรษะ อาการชัก อาเจียน […]


โรคความดันโลหิตสูง

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง ส่งผลต่ออวัยวะใดบ้าง

ในปัจจุบันคนไทยมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่แตกต่างไปจากอดีต เช่น ภาวะความเครียด รับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง ขาดการออกกำลังกาย จึงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน ๆ โดยไม่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือรับการรักษาถูกต้องอย่างเหมาะสม ก็อาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญภายในร่างกาย บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงพาทุกคนมาดูกันค่ะว่า ภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง นั้นส่งผลกระทบต่ออวัยวะส่วนใดภายในร่างกายบ้าง และเราจะมีวิธีการลดความเสี่ยงต่อการเกิด โรคความดันโลหิตสูง ได้อย่างไร โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) คืออะไร? ความดันโลหิตสูง (Hypertension) คือ การที่มีความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท เป็นภาวะที่พบได้บ่อย ที่มีการเปลี่ยนแปลงความดันในหลอดเลือดที่เพิ่มสูงขึ้น หากแรงดันดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะภายในร่างกายและเพิ่มปัจจัยเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนจาก โรคความดันโลหิตสูง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจตีบตัน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย เป็นต้น  ภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง ส่งผลต่ออวัยวะใดบ้าง โรคความดันโลหิตสูง ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่าง ๆ ที่สำคัญ ดังต่อไปนี้ สมอง โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคเกี่ยวกับสมอง เมื่อหลอดเลือดแดงตีบ เลือดจึงไหลเวียนไปเลี้ยงยังบริเวณสมองได้น้อยลง ซึ่งนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมบางประเภท หัวใจ ความดันโลหิตสูงอาจส่งผลให้อาจทำให้หลอดเลือดแดงแข็งและหนาขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวาย ไต […]


โรคหลอดเลือดหัวใจ

7 ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ ที่คุณไม่ควรมองข้าม

โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นอีกหนึ่งโรคร้ายแรงที่อาจส่งผลเสียถึงชีวิตได้ บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงนำ 7 ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ มาให้ทุกคนได้เช็กกันดูค่ะ มาดูกันสิคะว่า ตนเองเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวนี้หรือไม่ รู้ก่อน ป้องกันไว้ เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคหลอดเลือดหัวใจ คืออะไร โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease) เป็นภาวะร้ายแรงที่เกิดจากการสะสมของคาบจุลินทรีย์ (การสะสมของไขมัน) ในหลอดเลือดหัวใจซึ่งเป็นเส้นเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงออกซิเจนเข้าสู่หัวใจ เมื่อหลอดเลือดแดงที่กล้ามเนื้อหัวใจแคบลง เลือดจึงไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยลง การตีบตันของเส้นเลือด อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวาย อย่างไรก็ตาม คุณอาจไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ จนกระทั่งหลอดเลือดเกิดอาการตีบตัน หรือมีภาวะหัวใจวาย  7 ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ สาเหตุส่วนใหญ่ของ โรคหลอดเลือดหัวใจ เกิดจากการสะสมของไขมันหรือการอักเสบในหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงพฤติการใช้พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การสูบบุหรี่ การนั่งอยู่กับที่เป็นระยะเวลานาน ๆ  เอาล่ะ! เรามาเช็กกันดูดีกว่าค่ะว่า คุณเสี่ยงต่อการเป็น โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือไม่? โดย ปัจจัยเสี่ยงของ โรคหลอดเลือดหัวใจ มีดังต่อไปนี้ อายุที่เพิ่มขึ้น อายุที่เพิ่มมากขึ้นเพิ่มความเสี่ยงของหลอดเลือดแดงเสียหายและตีบ โดยส่วนใหญ่มักพบในพศชายมากกว่าเพศหญิง (เพศหญิงจะมีความเสี่ยงสูงหลังจากวัยหมดประจำเดือน) ประวัติสมาชิกในครอบครัว  หากสมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ เช่น บิดา พี่ชาย น้องชายได้รับการวินิจฉัยว่า […]


โรคความดันโลหิตสูง

7 ปัจจัยเสี่ยง ความดันสูง ที่คุณควรรู้

บทความ Hello คุณหมอ วันนี้ขอนำ 7 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง มาฝากทุกคนกันค่ะ หากคุณกำลังอยู่ในเกณฑ์ที่เข้าข่ายเป็น โรคความดันโลหิตสูง จะได้ดูแลตัวเอง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว ว่าแต่ปัจจัยเสี่ยงโรคนี้จะมีอะไรบ้าง มาดูพร้อมกันเลยค่ะ [embed-health-tool-heart-rate] ทำความรู้จัก โรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นภาวะสุขภาพที่พบได้บ่อย เกิดจากความดันในหลอดเลือดเพิ่มสูงขึ้น หากปล่อยไว้นานวัน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะเมแทบอลิกซินโดรม และอื่น ๆ ที่สร้างความเสียหายแก่ร่างกายแทบทุกส่วนได้ 7 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตสูง มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการ ดังต่อไปนี้ อายุ ความเสี่ยงของ โรคความดันโลหิตสูง จะเพิ่มมากขึ้น เมื่อคุณมีอายุมากขึ้นจนถึงอายุ 64 ปี โรคนี้พบได้บ่อยในผู้สูงอายุเพศชายมากกว่าเพศหญิง น้ำหนักเกิน เมื่อคุณน้ำหนักมากขึ้น ก็ต้องใช้เลือดในการลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารเข้าไปในเนื้อเยื่อมากยิ่งขึ้น เมื่อปริมาณเลือดไหลเวียนผ่านหลอดเลือด ก็จะเพิ่มความดันบนผนังหลอดเลือดเช่นเดียวกัน สูบบุหรี่ สารเคมีในบุหรี่มีผลทำให้ระดับความดันโลหิตของคุณเพิ่มสูงมากขึ้น อีกทั้งยังทำลายผนังบุหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงแคบลง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจด้วย รับประทานอาหารที่มีรสชาติเค็ม การรับประทานอาหารที่มีรสชาติเค็ม ทำให้ความระดับความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น และยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจอีกด้วย ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากไป ยิ่งคุณดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเท่าไหร่ ความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงของคุณก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น […]


ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ

หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (Bradycardia)

หากคุณลองสังเกตตนเองแล้วพบว่า มีอาการวิงเวียนศีรษะ หายใจลำบาก และเจ็บหน้าอก อยู่บ่อยครั้ง ก็อาจเป็นไปได้ว่า คุณกำลังมีสัญญาณแรกเริ่มของภาวะ หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ อยู่ก็เป็นได้ คำจำกัดความหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ คืออะไร หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ (Bradycardia) คือ การที่อัตราการเต้นของหัวใจ อยู่ในระดับต่ำกว่า 60 ครั้งต่อนาที จนทำให้มีการสูบฉีดเลือดน้อยลง และส่งผลกระทบต่อการส่งออกซิเจนไปเลี้ยงยังบริเวณต่าง ๆ ในร่างกาย เมื่อเซลล์ในร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยลง ก็อาจนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงได้ เช่น หัวใจล้มเหลว หัวใจวายเฉียบพลัน หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ พบได้บ่อยเพียงใด ภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ สามารถเกิดขึ้นกับทุกคน ตั้งแต่ช่วงวัยเด็กไปจนถึงช่วงวัยผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ อาการอาการของภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ อาการที่สามารถพบได้ทั่วของ ภาวะหัวใจเต้นช้าปกติ มีดังนี้ รู้สึกอ่อนเพลียง่าย เป็นลมบ่อยครั้ง วิงเวียนศีรษะ หายใจถี่ รู้สึกหายใจลำบากขณะออกกำลังกาย หรือมีการเคลื่อนไหวต่าง ๆ นอกจากนี้ หากคุณมีอาการเจ็บหน้าอก สีผิวเปลี่ยนสี ปวดหัวอย่างรุนแรง พร้อมกับอาการหัวใจผิดปกติ ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ในทันที เนื่องจากมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดอันตราย หรือนำไปสู่อาการหัวใจหยุดเต้นได้ สาเหตุสาเหตุของภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ สาตุเหตุที่อาจทำให้อัตราการเต้นหัวใจลดลง จนเกิดเป็น ภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ ได้แก่ ผลข้างเคียงของยาบางชนิด ความไม่สมดุลสารเคมีในเลือด ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ อาการจากโรคหลอดเลือดสมอง ความเสียหายของโครงสร้างหัวใจตั้งแต่กำเนิด เนื้อเยื่อรอบหัวใจได้รับความเสียหาย ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของ ภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ ปัจจัยต่าง ๆ ที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ อาจมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ดังต่อไปนี้ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก มีความเครียด และความวิตกกังวลสูง การวินิจฉัยและการรักษาโรคข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจทำการซักประวัติทางการแพทย์ และตรวจร่างกายเพื่อดูอาการเบื้องต้น ก่อนจะเริ่มดำเนินการตรวจเช็กคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อดูอัตราการเต้นของหัวใจ นอกจากนี้ […]


โรคความดันโลหิตสูง

รู้จัก ความดันโลหิตสูงวิกฤต ภาวะร้ายแรงที่อาจส่งผลเสียถึงชีวิต

ความดันโลหิตสูงวิกฤต เป็นภาวะร้ายแรงที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โดยส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ แต่ภาวะนี้จะมีอาการอย่างไร แล้วเราจะรับมือได้อย่างไรบ้าง วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต ให้มากขึ้นกันค่ะ  [embed-health-tool-heart-rate] ความดันโลหิตสูงวิกฤต คืออะไร ภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต (Hypertension Crisis) คือ ภาวะที่ร่างกายมีความดันโลหิตสูงมากกว่า 180/110 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งเป็นระดับที่อันตรายต่อร่างกาย และจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน โดยสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่ผู้ป่วยรับประทานยาไม่ตรงเวลา หรือหยุดการรับประทานยาเองโดยที่แพทย์ไม่ได้สั่ง ทำให้ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้  อย่างไรก็ตาม ภาวะนี้เป็นภาวะร้ายแรงที่ต้องรีบทำการรักษา หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจส่งผลเสียต่ออวัยวะภายในร่างกาย หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ประเภทของ ภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต  ภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ภาวะเร่งด่วนจากความดันโลหิตสูง (Hypertensive Urgency) และ ภาวะฉุกเฉินจากความดันโลหิตสูง( Hypertensive Emergency) โดยมีความแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ ภาวะเร่งด่วนจากความดันโลหิตสูง (Hypertensive Urgency) คือภาวะร่างกายมีค่าความดันโลหิตมากกว่า 180/110 มิลลิเมตรปรอท แต่ยังไม่ส่งผลเสียต่ออวัยวะ ภาวะฉุกเฉินจากความดันโลหิตสูง (Hypertensive Emergency) คือการที่ระดับความดันโลหิต พุ่งขึ้นสูงจนอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่ออวัยวะ และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เลือดออกในสมอง […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

ปวดกล้ามเนื้อหัวใจ จนรู้สึกเจ็บหน้าอก เกิดจากสาเหตุใดกันแน่

เมื่อใดที่คุณอาการ ปวดกล้ามเนื้อหัวใจ หรือมีอาการเจ็บหน้าอกแปลบ ๆ นั่นอาจหมายความว่า คุณกำลังมีปัญหาสุขภาพบางอย่างที่เชื่อมโยงกับโรคหัวใจอยู่ก็เป็นได้ หากไม่อยากให้ อาการปวดกล้ามเนื้อหัวใจ เหล่านี้เกิดขึ้นอีก ลองอ่านบทความนี้สิคะ เพราะ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมเทคนิคในการป้องกันอาการปวดกล้ามเนื้อหัวใจมาฝากคุณแล้ว ทำความรู้จักกับกล้ามเนื้อหัวใจกันเถอะ กล้ามเนื้อหัวใจ เป็นกล้ามเนื้ออีกหนึ่งชนิดภายในร่างกาย นอกเหนือจากกล้ามเนื้อลาย และกล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อหัวใจมีความสามารถในการคลายตัว และหดตัวได้ เพื่อคอยทำหน้าที่สูบฉีดเลือดยังระบบไหลเวียนต่าง ๆ ไปทั่วทั้งร่างกาย โดยมีเซลล์กระตุ้นหัวใจคอยทำหน้าที่ควบคุมอัตราความเร็วของการหดตัวว่าช้าหรือเร็ว องค์ประกอบของกล้ามเนื้อหัวใจ มีดังนี้ อินเตอร์คาเลทเตท ดิสก์ (Intercalated discs) เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างกล้ามเนื้อหัวใจกับเซลล์อื่น ๆ ภายนอก แกปจังก์ชัน (Gap junction) คือรอยต่อระหว่างเซลล์ ที่เมื่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจมีการหดตัว จะมีการสร้างช่องว่าง แต่อย่างไรยังคงมีความประสานเชื่อมโยงกันเอาไว้ด้วยแกปจังก์ชั่น เดสโมโซม (Desmosomes) เป็นรอยต่อระหว่างเซลล์เช่นเดียวกัน ทำหน้าที่ช่วยยึดเส้นใยกล้ามเนื้อหัวใจกับหัวใจเอาไว้ด้วยกันขณะที่หัวใจมีการหดตัว นิวเคลียส (Nucleus) เป็นส่วนควบคุมของเซลล์ ที่ประกอบด้วยสารพันธุกรรมของเซลล์ทั้งหมด โดยทั่วไปแล้วเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจมักจะมีเพียงแค่นิวเคลียสเดียว หากเกิดความผิดปกติต่อองค์ประกอบของกล้ามเนื้อหัวใจเหล่านี้ ก็อาจทำให้เกิด อาการปวดกล้ามเนื้อหัวใจ ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และอาจทำให้เสียชีวิตได้ สาเหตุที่ทำให้ ปวดกล้ามเนื้อหัวใจ จนเจ็บหน้าอก ส่วนใหญ่โรคเรื้อรังต่าง ๆ ประจำตัว เหล่านี้ ที่คุณเป็นนั้น อาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเจ็บกล้ามเนื้อหัวใจ จนส่งผลให้รู้สึกเจ็บหน้าอก […]


โรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในผู้ใหญ่ กับความรู้พื้นฐาน ที่ไม่ควรพลาด

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในผู้ใหญ่ เป็นโรคที่มักเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในช่วงวัยทารกในครรภ์ แต่ในบางครั้งเมื่อผู้ป่วยเติบโตถึงช่วงวัยผู้ใหญ่ ก็อาจทำให้อาการบางอย่างมีการเปลี่ยนแปลง ที่แตกต่างออกไปบ้างจากในวัยเด็ก เนื่องจากระบบการทำงานภายในร่างกายเรานั้นมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำความรู้พื้นฐานที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในผู้ใหญ่ ตั้งแต่อาการ ตลอดไปจนถึงการรักษา มาฝากทุกคนค่ะ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในผู้ใหญ่ มีสาเหตุมาจากอะไร โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในผู้ใหญ่ (Congenital heart disease in adults) คือ โรคที่เกี่ยวข้องกับความบกพร่องของหัวใจมาแต่กำเนิด โดยมีสาเหตุมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของบุคคลในครอบครัว เชื้อไวรัสที่ปะปนเข้ามาระหว่างตั้งครรภ์ รวมไปถึงพฤติกรรมของสตรีตั้งครรภ์บางอย่าง เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ จนทำให้เกิดความผิดปกติกับหัวใจ และกลายเป็น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ที่สำคัญโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดนี้อาจนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวอย่างภาวะหัวใจล้มเหลว ความดันโลหิตในปอดสูง หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ โดยปัญหาเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่สมัยยังเป็นทารกในครรภ์ ไปจนถึงในวัยผู้ใหญ่ อาการโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในผู้ใหญ่ มีอะไรบ้าง อาการของ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงวัยผู้ใหญ่ มีดังนี้ รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนแรง หายใจถี่ เจ็บปวดบริเวณหน้าอก อาการบวมตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย วิงเวียนศีรษะ เป็นลม แต่ถึงอย่างไรไม่ว่าคุณจะมีอาการทั้งหมด หรืออาการใดอาการหนึ่ง ก็อาจต้องเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้แพทย์ได้ทำการรักษาตามอาการให้คงที่ ก่อนอาการเหล่านี้จะเพิ่มความรุนแรงขึ้นนำไปสู่การเสียชีวิตได้ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในผู้ใหญ่ มีวิธีรักษาอย่างไร โดยส่วนใหญ่ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด มักได้รับการรักษาตั้งแต่ในช่วงวัยทารก เมื่อร่างกายของทารกพร้อมรับการผ่าตัด แต่หากแพทย์พิจารณาแล้วว่าร่างกายของคุณช่วงวัยเด็กยังไม่พร้อม คุณอาจได้รับการรักษาในวัยผู้ใหญ่แทน ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ การใส่อุปกรณ์กระตุ้นหัวใจแบบฝังตัว เพื่อควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจให้กลับมาคงที่ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการหัวใจเต้นผิดปกติร่วมด้วย การใส่ท่อสวนขนาดเล็ก […]


โรคหัวใจ

วิธีลดไตรกลีเซอไรด์ อีกหนึ่งสาเหตุโรคหัวใจ ทำได้อย่างไรบ้าง

ไตรกลีเซอไรด์ เป็นหนึ่งในไขมันที่มีอนุภาคขนาดเล็ก โดยปกติแล้วไตรกลีเซอไรด์เกิดได้จากการสังเคราะห์ของระบบร่างกายเรา แต่อาจน้อยกว่าการรับมาจากอาหารที่รับประทาน แต่หากมีปริมาณมากเกินไป ก็อาจส่งผลให้เกิดอาการร้ายแรงบางอย่างได้ วันนี้ บทความของ Hello คุณหมอ จึงขอนำ วิธีลดไตรกลีเซอไรด์ เบื้องต้น ที่คุณสามารถลงปฏิบัติด้วยตนเองง่าย ๆ  ก่อนเผชิญกับโรคที่ไม่อาจคาดเดาได้ ฝากทุกคนกันค่ะ ทำไม ไตรกลีเซอไรด์ จึงเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจได้ เนื่องจาก ไตรกลีเซอไรด์ เป็นหนึ่งในไขมันอีกชนิดที่อยู่ภายในเลือดของคุณ ที่เกิดจากแคลอรี่ในอาหารส่วนเกิน เมื่อใดระดับ ไตรกลีเซอไรด์ ในร่างกายของคุณนี้มีปริมาณเพิ่มขึ้นสูง ก็จะสามารถส่งผลให้หลอดเลือดแดงมีการแข็งตัว ผนังของหลอดเลือดเริ่มหนา จนสร้างความเสี่ยงก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย และโรคหัวใจได้ในที่สุด ระดับไตรกลีเซอไรด์ บ่งชี้สุขภาพได้อย่างไรบ้าง การตรวจเลือดอาจเป็นทางออกที่ดีที่ทำให้คุณรู้ถึงระดับ ไตรกลีเซอไรด์ แต่ยังคงจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพื่อความปลอดภัย โดยผลลัพธ์ปริมาณของระดับ ไตรกลีเซอไรด์ นั้น สามารถเช็คได้จากข้อมูลด้านล่าง ดังต่อไปนี้ ไตรกลีเซอไรด์ ระดับปกติ จะมีปริมาณที่น้อยว่า 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dl) ไตรกลีเซอไรด์ ระดับเริ่มสูง จะมีปริมาณ 150-199 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dl) ไตรกลีเซอไรด์ ระดับสูง จะมีปริมาณ 200-499 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน