สุขภาพหัวใจ

หัวใจ คืออวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หากหัวใจเกิดปัญหา ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพหัวใจ ทั้งการดูแลรักษา และปกป้องระบบหัวใจและหลอดเลือดของคุณ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพหัวใจ

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) สามารถเกิดขึ้นได้จาก สาเหตุใด

โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) เป็นอีกโรคที่คุณควรระมัดระวังเป็นอย่างมากไม่แพ้โรคประเภทอื่น ๆ เนื่องจากโรคนี้ค่อนข้างเชื่อมโยงกับการทำงานของหัวใจ เพื่อให้ทุกคนรู้จักกับโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองมากขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ จึงรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น มาฝากทุกคนให้ได้ลองศึกษา และทำความรู้จักกันค่ะ [embed-health-tool-bmi] โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง (Aortic Aneurysm) คืออะไร โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง คือ การพองตัว และนูนบวมของหลอดเลือดแดงใหญ่ที่มีหน้าที่ในการลำเลียงเลือดจากหัวใจเข้าไปหล่อเลี้ยงทั่วทั้งร่างกาย โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การติดเชื้อที่หัวใจ ความดันโลหิตสูง ภาวะหลอดเลือดแข็งตัว และพฤติกรรมการสูบบุหรี่เป็นประจำ เป็นต้น อีกทั้งโรคนี้ยังสามารถแบ่งออกได้อีก 2 ประเภทด้วยกัน นั่นก็คือ โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องท้อง โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในทรวงอก นอกจากนี้หากคุณปล่อยให้หลอดเลือดแดงพองตัวไปเรื่อย ๆ ไม่รีบเร่งรักษา ก็อาจส่งผลให้เส้นเลือดนี้สามารถแตกออก ก่อให้เกิดโรคหัวใจบางอย่าง ไตพัง และถึงแก่ชีวิตได้ในที่สุด อาการของโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง อาการที่เกิดขึ้นเมื่อคุณเข้าสู่ภาวะเสี่ยงเป็น โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง นั้น ส่วนมากมักทำให้คุณต้องพบเจอกับอาการต่าง ๆ ดังนี้ เจ็บหน้าอก ปวดหลัง หายใจลำบาก ไอ และเสียงแหบ ปวดท้อง เหงื่อออก อาเจียน วิงเวียนศีรษะ การรักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง หากคุณสังเกตถึงอาการผิดปกติ พร้อมรับการวินิจฉัยแล้วว่าคุณกำลังเป็น โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง […]

หมวดหมู่ สุขภาพหัวใจ เพิ่มเติม

คอเลสเตอรอล

สำรวจ สุขภาพหัวใจ

โรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง สร้างความเสียหายต่อ สมอง ของคุณอย่างไรบ้าง

หากใครที่กำลังคิดว่าแค่ระดับ ความดันโลหิตสูง ไม่สามารถส่งผลอันตรายใด ๆ ต่อ สมอง อาจต้องเปลี่ยนความคิดเสียใหม่ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำความเชื่อมโยงของความดันโลหิตสูงที่อาจสร้างความเสียหายให้แก่การทำงานของสมอง พร้อมเคล็ดลับการควบคุมความดันก่อนสมองจะถูกทำลาย มาฝากทุกคนกันค่ะ [embed-health-tool-heart-rate] ความดันโลหิตสูง ส่งผลอย่างไรต่อ สมอง ยิ่งคุณมีระดับความดันโลหิตเพิ่มขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งอาจทำให้สมองของคุณได้รับความเสียหายมากขึ้น เนื่องจากความดันโลหิตส่งผลให้ผนังหลอดเลือดที่เชื่อมโยงกับสมองได้รับความเสียหาย และอุดตันจนเลือดที่ประกอบด้วยออกซิเจนไม่สามารถเข้าไปหล่อเลี้ยงภายในให้สมองทำงานได้เต็มที่ อีกทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เพิ่มเติม ดังนี้ สมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA) เป็นภาวะที่เลือดไม่สามารถไหลเวียนเข้าผ่านหลอดเลือดเข้าไปสู่สมองได้ บางกรณีอาจก่อให้เกิดลิ่มเลือดขึ้นเพิ่มเติม ที่เสี่ยงต่อนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมองได้อย่างสมบูรณ์ ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) หลอดเลือดแดงที่ตีบตันจากความดันโลหิตสูง อาจจำกัดการไหลเวียนของเลือด จนทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะด้านการจดจำ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณนั้นเสี่ยงสมองเสื่อมได้ สมองขาดออกซิเจน การที่สมองของคุณได้รับเลือด หรือออกซิเจนเข้าไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพออาจทำให้เซลล์สมองของคุณตายได้ มากไปกว่านั้นยังอาจส่งผลให้หลอดเลือดแตก หรือตีบตัน จนก่อให้เกิดอันตรายเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มเติมอีกด้วย เคล็ดลับควบคุม ความดันโลหิต ก่อน สมอง เสียหาย หากคุณเช็กสุขภาพตนเองแล้วพบว่ามีระดับความดันโลหิตสูงตั้งแต่ระยะที่ 1 จนถึงระยะที่ 3 หรือตั้งแต่ 130/85 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป โปรดเร่งรักษา หรือควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับมาตรฐาน 120/80 มิลลิเมตรปรอท ด้วยวิธีง่าย […]


โรคความดันโลหิตสูง

รู้หรือไม่ ความดันโลหิตสูง ส่งผลเสียอะไรบ้างต่อ หลอดเลือด

หลายคนอาจคิดว่าการที่มีระดับ ความดันโลหิตสูง นั้นสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพหัวใจเพียงอย่างเดียว แต่รู้หรือไม่ว่าบางกรณีก็ยังอาจส่งผลรุนแรงเชื่อมต่อไปยัง หลอดเลือด ได้อีกด้วย เพื่อไขข้อสงสัยให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจกันมากขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ ได้นำความเชื่อมโยงของความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงทำลายหลอดเลือด มาฝากกันค่ะ ความดันโลหิตสูง ทำลาย หลอดเลือด ได้อย่างไร บทบาทสำคัญของหลอดเลือดแดงในร่างกาย คือการลำเลียงเลือดที่ประกอบด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์เข้าไปหล่อเลี้ยงระบบการทำงานต่าง ๆ ของเนื้อเยื่อ เซลล์ ทั่วไปทั้งร่างกาย แต่หากเมื่อใดที่คุณนั้นกำลังมีระดับความดันที่เพิ่มขึ้นสูง ก็อาจส่งผลให้เนื้อเยื่อฉีกขาด ผนังหลอดเลือดถูกทำลาย จนเกิดความเสียหายได้จากแรงดัน อีกทั้งยังสามารถทำให้คราบจุลินทรีย์ ไขมันต่าง ๆ เข้าไปเกาะสะสมตามซอกผนังหลอดเลือดให้เกิดการอุดตัน เลือดไหลเวียนไม่สะดวก อวัยวะบางส่วนมีการทำงานผิดปกติ โดยเฉพาะในส่วนของหัวใจ สมอง บางกรณีก็ทำให้หลอดเลือดแดงโป่งพองคล้ายบอลลูนจนแตกตัว เรียกได้ว่าเป็นอาการที่รุนแรงอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เลยทีเดียว ปัจจัยเสี่ยงทำที่ทำให้ ระดับความดันพุ่งขึ้นสูง ปัจจัยเสี่ยงที่พบได้บ่อยมักมาจากโรคประจำตัวที่มีความเชื่อมโยงกันไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน โรคซึมเศร้า โรคเกาต์ โรคไต โรคอ้วน เป็นต้น แต่นอกจากด้านสภาวะสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคเรื้อรังแล้ว ยังมาจากพฤติกรรมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ได้อีกด้วย ผู้ที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ รับประทานอาหารที่มีรสชาติเค็ม หรือประกอบด้วยโซเดียมสูง ผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดบ่อยครั้ง ขาดการออกกำลังกาย ผู้ที่เสี่ยงเป็น โรคความดันโลหิตสูง ส่วนมากจะอยู่ในช่วงวัยกลางคน จนถึงวัยผู้สูงอายุ รวมไปถึงได้รับการสืบทอดมาจากพันธุกรรมจากคนในครอบครัวที่มีประวัติเป็น โรคความดันโลหิตสูง มาก่อน วิธีป้องกันความดันโลหิตสูง ก่อน หลอดเลือด เสียหาย หากคุณปล่อยให้ […]


โรคความดันโลหิตสูง

น้ำบีทรูทลดความดันโลหิต ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ได้จริงหรือ?

บีทรูทเป็นผักชนิดหนึ่งที่กลุ่มคนรักสุขภาพย่อมรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะในสารอาหาร และวิตามินที่อยู่ในบีทรูทค่อนข้างให้คุณประโยชน์แก่สุขภาพเรามากมาย เช่น ป้องกันโรคโลหิตจาง บำรุงตับ รวมไปถึง ลดความดันโลหิต วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำงานวิจัยเกี่ยวกับ น้ำบีทรูทช่วยลดความดันโลหิต ได้จริง มาฝากทุกคนให้ได้ทราบกัน เรียกได้ว่าเป็นอีกวิธีการ ลดความดันโลหิต ในรูปแบบง่าย ๆ ที่คุณสามารถทำดื่มได้ทุกวันเป็นประจำ [embed-health-tool-heart-rate] สารอาหารในน้ำบีทรูท มีอะไรบ้าง น้ำบีทรูทเป็นน้ำผักที่ไม่มีการปะปนของไขมัน และอุดมไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไฟเบอร์ น้ำตาล นอกจานี้น้ำบีทรูทยังมีวิตามินสำคัญ ดังต่อไปนี้ ที่ช่วยลดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นเข้าไปสร้างความเสียหายแก่เซลล์ในร่างกาย โฟเลต วิตามินบี 6 แคลเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม แมงกานีส ฟอสฟอรัส ทองแดง สังกะสี งานวิจัย น้ำบีทรูทช่วยลดความดันโลหิตได้จริง ! เนื่องจากบีทรูทมีสารไนเทรต (NO3) ทำให้ร่างกายนำไปแปรเปลี่ยนเป็น ไนตริกออกไซด์ ที่จะช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว คลายตัว ส่งผลให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น จากการทดลองของ  Prof. Amrita Ahluwalia และทีมผู้ช่วยในแผนกหลอดเลือด ที่ Queen […]


ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ

ภาวะแทรกซ้อนของหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ ที่ทำลายสุขภาพมีอะไรบ้าง

เนื่องจากหัวใจของคุณมีอัตราการเต้นที่ช้าลง จึงส่งผลให้การสูบฉีดเลือดไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ เพราะบทบาทสำคัญของหัวใจ คือการสูบฉีดโลหิตเพื่อนำพาออกซิเจนเข้าไปหล่อเลี้ยงตามอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นเมื่อเกิดข้อผิดพลาดของอัตราการเต้นหัวใจก็อาจทำให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนของหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ ขึ้นได้นั่นเอง ปกติอัตราการเต้นของหัวใจของคนเรา อยู่ที่เท่าใด อัตราการเต้นของหัวใจทั่วไปที่ทุกคนควรทราบ และสามารถนำไปเช็กสุขภาพหัวใจด้วยตนเองจากเครื่องวัดได้นั้น ถูกแบ่งออกเป็นตามช่วงอายุ ดังนี้ ช่วงอายุ 20 ปี อัตราการเต้นหัวใจปกติอยู่ที่ 100-170 ครั้งต่อนาที (BPM) ช่วงอายุ 30 ปี อัตราการเต้นหัวใจปกติอยู่ที่ 95-162 ครั้งต่อนาที (BPM) ช่วงอายุ 35 ปี อัตราการเต้นหัวใจปกติอยู่ที่ 93-157 ครั้งต่อนาที (BPM) ช่วงอายุ 40 ปี อัตราการเต้นหัวใจปกติอยู่ที่ 90-153 ครั้งต่อนาที (BPM) ช่วงอายุ 45 ปี อัตราการเต้นหัวใจปกติอยู่ที่ 88-149 ครั้งต่อนาที (BPM) ช่วงอายุ 50 ปี อัตราการเต้นหัวใจปกติอยู่ที่ 85-145 ครั้งต่อนาที (BPM) ช่วงอายุ 55 ปี อัตราการเต้นหัวใจปกติอยู่ที่ 83-140 ครั้งต่อนาที (BPM) ช่วงอายุ […]


คอเลสเตอรอล

กุ้งกินแล้วคอเลสเตอรอลสูง จริงหรือ?

กุ้งกินแล้วคอเลสเตอรอลสูง จริงหรือไม่ เป็นปัญหาที่หลายคนให้ความสนใจ และหลีกเลี่ยงไม่ยอมกินกุ้ง แม้ว่ากุ้งจะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแมกนีเซียม แคลเซียม โพแทสเซียม แมงกานีส ที่ล้วนแต่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะสุขภาพหัวใจ [embed-health-tool-bmi] กุ้งกินแล้วคอเลสเตอรอลสูง ได้จริงหรือ? กระทรวงเกษตรประเทศสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture) ระบุว่ากุ้ง ในปริมาณ 100 กรัม อาจมีคอเลสเตอรอลอยู่ถึง 189 มิลลิกรัม และได้ให้คำแนะนำในการบริโภคว่า ร่างกายควรได้รับคอเลสเตอรอลให้น้อยที่สุด โดยอาจไม่เกิน 100-300 มิลลิกรัมต่อวัน อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญในปัจจุบันเชื่อว่าควรรับประทานอาหารที่มีไลโปโปรตีน หรือไขมันชนิดดี (HDL) เนื่องจากไขมันดีอาจเข้าไปทำปฏิกิริยากับไขมันชนิดไม่ดี (LDL) ที่อยู่ในร่างกาย จนเกิดความสมดุลทางสุขภาพ มีงานวิจัยมากมายที่ทำการศึกษาความเกี่ยวข้องระหว่างการ กินกุ้ง และระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย ในปีพ.ศ. 2539 กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ พบว่า การกินกุ้งทำให้ไขมันชนิดไม่ดี หรือคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็มีงานวิจัยที่พบว่า การกินกุ้งอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่เกี่ยวหัวใจได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามเพื่อป้องกันการเพิ่มระดับคอเลสเตอรอล ควรรับประทานกุ้งในปริมาณที่เหมาะสม เลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รวมไปถึงลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเลิกบุหรี่อย่างถาวร เนื่องจากพฤติกรรมนี้สามารถสร้างความเสียหายให้แก่หลอดเลือด ที่เชื่อมโยงกับการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ทั่วทั้งร่างกาย กินกุ้ง […]


ภาวะหลอดเลือดแข็ง

อาการของโรคหลอดเลือดแข็ง ระดับรุนแรง ที่คุณต้องเข้าพบคุณหมอโดยด่วน!

โรคหลอดเลือดแข็ง อาจเกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดมีการตีบตัว หรือมีคราบพลัคเกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด จนขัดขวางไม่ให้เลือดไหลเวียนได้ตามปกติ และอาจส่งผลให้ อาการของโรคหลอดเลือดแข็ง เช่น เจ็บหน้าอก แขนขาอ่อนแรง หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ทำการรักษา อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ สาเหตุที่ส่งผลให้คุณเป็น โรคหลอดเลือดแข็ง สาเหตุที่อาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็ง อาจมาจากโรคเรื้อรังและภาวะต่าง ๆ ดังนี้ โรคความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลในเลือดสูง ภาวะดื้ออินซูอิน โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคลำไส้อักเสบ โรคลูปัส โรคสะเก็ดเงิน นอกจากนี้พฤติกรรมอื่น ๆ เช่น การเลือกกินอาหารที่มีไขมันสูง การสูบบุหรี่เป็นเวลานาน การไม่ออกกำลังกาย ก็อาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การเกิด อาการหลอดเลือดแข็ง ได้เช่นกัน อาการของโรคหลอดเลือดแข็ง ที่ควรระวัง ในระยะแรกอาการของโรคหลอดเลือดแข็ง มักไม่ปรากฏ จนกระทั่งเมื่อหลอดเลือดเริ่มตีบลงจึงจะค่อยเผยอาการรุนแรงต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ อาการหลอดเลือดแข็ง บริเวณหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่ อาการเจ็บหน้าอก จังหวะหัวใจเต้นผิดปกติ หายใจถี่ อาเจียน อาการหลอดเลือดแข็ง บริเวณหลอดเลือดสมอง ได้แก่ แขนขาอ่อนแรง กล้ามเนื้อบนใบหน้าตาย อัมพาต ปวดศีรษะรุนแรง มีปัญหาด้านการมองเห็นอาจถึงขั้นตาบอด อาการหลอดเลือดแข็ง บริเวณแขน ขา และกระดูกเชิงกราน ได้แก่ ปวดแขนขาขณะเคลื่อนไหว รู้สึกชา อาการหลอดเลือดแข็ง ที่เกี่ยวข้องกับไต ได้แก่ ระดับความดันโลหิตสูง เท้าแขนบวม ไม่มีสมาธิ ไตวาย ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดแข็ง โรคหลอดเลือดแข็ง […]


โรคลิ้นหัวใจ

ลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว (Mitral regurgitation)

ลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว (Mitral regurgitation) เป็นโรคลิ้นหัวใจรั่วชนิดหนึ่ง ที่อาจส่งผลให้ระบบไหลเวียนเลือดส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ได้น้อยลง จนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา เช่น หัวใจล้มเหลว ความดันโลหิตสูงในปอด คำจำกัดความลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว คืออะไร ลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว (Mitral regurgitation) เป็นภาวะที่ลิ้นหัวใจส่วนลิ้นหัวใจระหว่างห้องซ้ายบนและห้องซ้ายล่างปิดไม่สนิท ทำให้มีเลือดบางส่วนไหลย้อนกลับเข้าไปในหัวใจอีกครั้ง และส่งผลให้เลือดไม่สามารถไหลเข้าไปหล่อเลี้ยงในส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้เพียงพอ ปัญหาลิ้นหัวใจรั่วนี้อาจทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ระดับความดันโลหิตสูงขึ้น ในรายที่รุนแรง อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ ลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วพบได้บ่อยแค่ไหน จากข้อมูลของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (NIH) พบว่า โรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว คือโรคลิ้นหัวใจชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด และส่งผลกระทบกับประชากรกว่า 2% ทั่วโลก โรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว สามารถพบได้ในช่วงวัยกลางคน และผู้ที่มีประวัติป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ เนื่องจากอาจทำให้หัวใจทำงานผิดปกติ และลิ้นหัวใจได้รับผลกระทบร่วมด้วย อาการอาการของ โรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว อาการของ ลิ้นหัวใจไมตรัวรั่ว ขึ้นกับความรุนแรงของโรค ซึ่งในระยะเริ่มแรก อาจไม่แสดงอาการใด ๆ แต่เมื่อโรคมีความรุนแรงขึ้น ก็อาจมีอาการดังต่อไปนี้ ใจสั่น หัวใจเต้นรัว เสียงหัวใจ หรือจังหวะหัวใจเต้นผิดปกติ เจ็บหน้าอก วิงเวียนศีรษะ รู้สึกเหนื่อยล้า หายใจลำบาก ข้อเท้า และเท้าบวม สาเหตุสาเหตุของโรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว สาเหตุที่ทำให้ โรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว อาจเกิดจาก เนื้อเยื่อลิ้นหัวใจได้รับความเสียหาย ไข้รูมาติก เยื่อบุหัวใจอักเสบ ภาวะหัวใจวาย ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ อุบัติเหตุรุนแรง มีประวัติการผ่าตัดเกี่ยวกับหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของ โรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว หากบุคลในครอบครัวมีประวัติเกี่ยวข้องกับโรคลิ้นหัวใจ ก็อาจเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคลิ้นหัวใจ และสามารถพัฒนาเป็นโรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วได้ในอนาคต นอกจากนี้ ยาบางชนิดก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วได้ เช่น ยาเออร์โกทามีน […]


โรคหลอดเลือดหัวใจ

หลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตัน (Carotid Artery) กับความรู้พื้นฐานของโรค ที่คุณควรทราบ

หากคุณลองสังเกตตนเองแล้วพบว่า ตนเองนั้นเริ่มมีปัญหาในการสื่อสาร หรือเริ่มพูดคุยกับบุคคลรอบข้างติด ๆ ขัด ๆ ก็อาจเป็นไปได้ว่าอาการดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าคุณอาจกำลังเสี่ยงเป็น หลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตัน (Carotid Artery) และอาจจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัย รวมถึงเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ คำจำกัดความหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตัน คืออะไร โรคหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตัน (Carotid Artery) จะเกิดขึ้นต่อเมื่อหลอดเลือดของคุณมีการสะสมของไขมัน จนเกิดการอุดตันของหลอดเลือด จนไม่สามารถลำเลียงเลือดไปยังหลอดเลือดสมองได้ ทำให้สมองขาดออกซิเจน เซลล์สมองเริ่มตาย และการรับรู้ช้าลงในที่สุด ที่สำคัญยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดในสมองได้มากถึง 10-20% รวมไปถึงภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น ลิ่มเลือดขนาดใหญ่ คราบพลัคในหลอดเลือด หากคุณปล่อยไว้เป็นเวลานาน แน่นอนว่าเมื่ออาการทวีความรุนแรงขึ้นก็อาจถึงแก่ชีวิตได้ในที่สุด หลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตัน พบบ่อยได้เพียงใด หลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตัน สามารถพบได้บ่อยในทุกช่วงวัย และจะมีอาการแย่ลงเรื่อย ๆ ตามช่วงอายุที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงผู้ที่มีน้ำหนักมากเกินมาตรฐาน ขาดการดูแลสุขภาพ อาการอาการของหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตัน ในระยะแรกเมื่อหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตัน อาจจะไม่แสดงอาการเผยให้เห็นเท่าไหร่นัก จนกว่าอาการจะเข้าสู่ในระดับที่รุนแรง ดังนั้นคุณจึงควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ และโปรดสังเกตตนเองหากพบอาการผิดปกติต่าง ๆ ดังนี้ ปวดศีรษะไม่ทราบสาเหตุ วิงเวียนศีรษะจนหมดสติล้มลงอย่างกะทันหัน สูญเสียการมองเห็นชั่วคราว มองเห็นวัตถุรอบตัวเป็นภาพซ้อน การสื่อสารด้านการพูดคุยติดขัด การเคลื่อนไหวช้าลง ร่างกายเป็นอัมพาต สาเหตุสาเหตุของโรคหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตัน โรคหลอดเลือดแดงคาโรตีบตีน มีสาเหตุส่วนใหญ่จากการสะสมของคราบจุลินทรีย์ในหลอดเลือดแดง โดยประกอบด้วยคอเลสเตอรอล แคลเซียม เนื้อเยื่อ เส้นใย และเซลล์อื่น ๆ ที่รวมตัวกันจนอุดตัน ก่อให้เกิดมีปัญหาของการส่งออกซิเจน และสารอาหารไปยังโครงสร้างสมอง ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของ โรคหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตัน ปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลให้หลอดเลือดแดงคาโรติดตีบตัน มักมาจากโรคประจำตัว และพฤติกรรมบางอย่างของคุณ […]


โรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ประเภท และปัจจัยเสี่ยง

ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ หมายถึงผู้ที่มีระดับความดันโลหิต 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ทั้งความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์เรื้อรัง ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษซ้อนทับ และภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งล้วนแต่อาจส่งผลกระทบต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ ดังนั้นจึงควรได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงที [embed-health-tool-”due-date”] ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ทั้ง 3 ประเภท ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์นั้นสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ หมายถึงผู้ที่มีความดันโลหิตสูงหลังจากที่ตั้งครรภ์ โดยที่ก่อนตั้งครรภ์มีระดับความดันโลหิตปกติ มักพบได้ในผู้ที่ตั้งครรภ์ช่วง 20 สัปดาห์ ขึ้นไป บางกรณีอาจหายไปหลังจากที่คลอดบุตร แต่ในบางครั้งก็อาจพัฒนากลายเป็นภาวะครรภ์เป็นพิษได้ ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง หมายถึงผู้ที่มีความดันโลหิตสูงตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ตลอดมาจนถึงช่วงตั้งครรภ์ โดยส่วนใหญ่มักไม่ค่อยมีอาการใด ๆ ความดันโลหิตสูงเรื้อรังที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษซ้อนทับ ภาวะนี้เกิดอาจขึ้นในสตรีที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเรื้อรังก่อนตั้งครรภ์อยู่แต่เดิม โดยมีอาการคือระดับความดันโลหิตและโปรตีนในปัสสาวะเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งยังอาจทำให้เกิดให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์อื่น ๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อแม่และทารกในครรภ์ ภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะครรภ์เป็นพิษเป็นภาวะอันตรายที่อาจเกิดขึ้นหลังจากตั้งครรภ์ได้ 20 สัปดาห์ ทำให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย ทั้งตับ ไต หัวใจ และสมอง หากปล่อยไว้ไม่ทำการรักษาอาจทำให้ทารกในครรภ์เป็นอันตราย และเสียชีวิตลงได้ ปัจจัยเสี่ยงของความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ มีดังต่อไปนี้ เบาหวานก่อนการตั้งครรภ์ โรคไต น้ำหนักเกินมาตรฐาน ระดับคอเลสเตอรอลสูง ความเครียด ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ […]


โรคความดันโลหิตสูง

ค่าความดันเลือดปกติ ของแต่ละช่วงวัย ควรอยู่ในเกณฑ์ใด

การวัดค่าความดันเลือด หรือความดันโลหิต คุณสามารถวัดด้วยตนเองง่าย ๆ เพียงแค่มีเครื่องวัดความดันแบบพกพา โดยสามารถหาซื้อได้ทั่วไป แต่เราจะสามารถรู้ได้อย่างไรว่าผลลัพธ์ของตัวเลขจัดอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมี ค่าความดันเลือดปกติ วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาฝากกันค่ะ ค่าความดันเลือดปกติ ของช่วงวัยผู้ใหญ่ ปกติค่าความดันโลหิตมีหน่วยตามหลักสากลเป็น มิลลิเมตรปรอท เช่น 120/80 มม. โดยตัวเลขแรกเป็นค่าความดันเมื่อหัวใจสูบฉีดเลือกทางหลอดเลือด (Sustolic) และตัวเลขด้านหลังหมายถึงความดันเมื่อหัวใจหยุดนิ่ง (Diastolic) หากคุณวัดค่าความดันด้วยตัวเองแล้ว สามารถนำตัวเลขบนหน้ามอนิเตอร์มาเทียบกับเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ ได้ เพื่อให้ทราบถึงความเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตปกติ : ซิสโตลิก (Sustolic) ต่ำกว่า 120 มม. และ ไดแอสโตลิก (Diastolic) ต่ำกว่า 80 มม. ความดันโลหิตสูง : ซิสโตลิก 120-129  มม. และไดแอสโตลิก ต่ำกว่า 80 มม. ความดันโลหิตสูระยะที่ 1 : ซิสโตลิก 130-139  มม. และไดแอสโตลิก  80-89 มม. ความดันโลหิตสูงระยะที่ 2 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน