backup og meta

อยาก รักษาความจำ โปรดหยุดพฤติกรรม ! การเลื่อนนาฬิกาปลุก

อยาก รักษาความจำ โปรดหยุดพฤติกรรม ! การเลื่อนนาฬิกาปลุก

ด้วยความรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ทำให้เรารู้สึกอยากจะนอนพักผ่อนต่ออีกสักงีบ สองงีบ ก่อนจะตื่นขึ้นไปทำหน้าที่ หรือกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการตั้งนาฬิกาปลุกไว้ข้างกายเสมอ เพื่อไม่ให้ตื่นสายจนเกินไป แต่จะให้ตั้งปลุกแบบธรรมดาก็คงไม่มีวี่แววที่จะตื่นเป็นแน่ เลยใช้วิธีตั้งเวลาถี่ๆ ติดกัน และกำหนดเวลาล่วงหน้า ก่อนถึงเวลาอันสมควร ทำให้พวกเขาต้องคอยสะดุ้งลุกขึ้นมาเลื่อนนาฬิกาปลุกอยู่บ่อยครั้ง รู้หรือไม่ ว่าพฤติกรรมนี้หากทำในระยะเวลานานๆ สามารถเสี่ยงสมาธิสั้นได้เลยทีเดียว ซึ่ง Hello คุณหมอได้นำเคล็ดลับดีๆ ของการ รักษาความจำ คุณไม่ให้แย่ลงไปกว่าเดิม มาฝากกัน

แค่ เลื่อนนาฬิกาปลุก ทำไมจึงมีผลต่อความจำ

ดร. โรเซ็นต์เบิร์ก ผู้อำนวยการแพทย์ของ ศูนย์ความผิดปกติด้านการนอนหลับ แห่งรัฐแอริโซนา ได้กล่าวไว้ว่า เมื่อทันทีที่เสียงนาฬิกาปลุกดังขึ้น ร่างกาย และสมองของคุณจะถูกปลุกจากการนอนหลับลึก อาจทำให้มีอาการมึนงงตลอดทั้งวัน และยังทำให้สมอง หรือระบบความทรงจำมีประสิทธิภาพการทำงานที่เสื่อมถอยลง เฉกเช่นเดียวกันกับ การสะดุ้งตื่นเพราะถูกรบกวนจากเสียงนาฬิกาปลุก เพราะทำให้คุณต้องคอยตื่นมาปัดปุ่มเลื่อนทุกๆ ช่วงเวลาที่คุณได้ตั้งไว้ ทำให้วงจรของการนอน หรือการใช้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไป ไม่รู้สึกตื่นตัวในยามเช้าอันสดใส แถมง่วงเพลียระหว่างวันในการที่จะทำกิจกรรมต่างๆ และเกิดการสะสมจนร่างกายอ่อนเพลีย

วิธีใช้นาฬิกาปลุกอย่างฉลาด รักษาความจำ ให้อยู่คู่กับคุณ

เสียงแจ้งเตือนที่คุณใช้อยู่นั้น อาจเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างความกวนใจให้กับการนอนหลับของคุณ แต่จะทำอย่างไรได้ หากไม่มีเจ้าสิ่งนี้ ก็คงต้องตื่นสายเป็นแน่ แต่ก็ยังคงมีหนทางแก้ไขอยู่ โดยการปรับเปลี่ยนจากเสียงแสบแก้วหู เป็นเสียงดนตรี หรือเสียงแจ้งเตือน แบบไพเราะ เบาบาง แต่กำหนดให้คลื่นเสียงมีความถี่ซ้ำกันหลายครั้ง น่าจะเป็นผลดีได้มากกว่า

ทีมนักวิจัย ได้นำกลุ่มผู้เข้าร่วมการทดสอบ 50 คน มาช่วยหาข้อสรุปนี้ โดยผู้วิจัยทดลองให้ผู้ยินยอมเข้าร่วมทำการตั้งนาฬิกาปลุกไว้ในขณะนอนหลับ โดยโทนเสียงตามความชอบที่แตกต่างกัน จากการสังเกตพบว่า เสียงนาฬิกาปลุกของผู้ทดสอบที่มีความไพเราะ ทำให้รู้สึกตื่นตัว และลดอาการมึนงงได้ดีกว่า

นอกจากการกำหนดเสียงของนาฬิกาปลุกแล้ว คุณไม่ควรตั้งเวลาเผื่อไว้หลายนาทีติดกัน แต่ควรตั้งปลุกภายในช่วงเวลาเดียวที่คุณต้องการจะตื่นเท่านั้น

เพิ่มความตื่นตัวให้แก่ร่างกายคุณ ด้วยพฤติกรรม เหล่านี้

  • นอนหลับให้เพียงพอ ประโยคนี้มักได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการตักเตือนด้วยความเป็นห่วงของคนในครอบครัว หรือพบได้ทั่วไปจากบทความออนไลน์ ซึ่งเป็นพฤติกรรมสำคัญอย่างยิ่ง และจำเป็นต่อการเพิ่มพลังงานเพื่อนำไปใช้ในวันถัดไป
  • อย่าปล่อยให้นอนหลับมากเกินไป ที่กล่าวมาเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่า คุณห้ามพักผ่อน แต่ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ควรหากิจกรรมอื่นๆ ทำบ้าง เพื่อไม่ให้คุณตัวติดเตียงตลอดทั้งวัน เพราะอาจทำให้คุณนอนไม่หลับในช่วงเวลากลางคืน จนทำให้เวลาการพักผ่อนผิดเพี้ยนไป
  • ออกกำลังกายตอนเย็น ด้วยความเหนื่อยล้านี้จะทำให้คุณนอนหลับง่ายขึ้น และไวขึ้น เมื่อคุณตื่นขึ้นมาในยามเช้าจะทำให้รู้สึกสดชื่น ตื่นตัว พร้อมทำงาน และกิจกรรมได้อย่างดี โดยไม่รู้สึกง่วงระหว่างวัน
  • รักษาการนอนให้ตรงเวลา จัดเวลานอน โดยเชื่อมกับเวลาที่คุณควรตื่น ให้เพียงพออย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้ตัวคุณรู้สึกงัวเงียเมื่อตื่นขึ้นมา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Is the snooze button bad for you? https://edition.cnn.com/2014/02/06/health/upwave-snooze-button/index.html Accessed February 17, 2020

How to Stop Hitting Snooze on Your Alarm Clock https://www.verywellhealth.com/how-to-stop-hitting-snooze-on-alarm-clock-4108775 Accessed February 17, 2020

How your morning alarm may set the tone of your day https://www.medicalnewstoday.com/articles/how-your-morning-alarm-may-set-the-tone-of-your-day Accessed February 17, 2020

Waking to Music (Not a Beeping Alarm) Can Help You Feel More Alert https://www.healthline.com/health-news/the-type-of-alarm-you-use-to-wake-up-may-make-you-groggy Accessed February 17, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Sukollaban Khamfan


บทความที่เกี่ยวข้อง

พัฒนาสมอง เพิ่มพูนความจำ ป้องกันสมองเสื่อม ได้ง่ายๆ ด้วยการ บริหารสมอง

รู้หรือไม่ กินเผ็ด มากเกินไปเสี่ยงต่อโรคความจำเสื่อม


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา