backup og meta

6 ประโยชน์ของเจลลี่ ของว่างแสนอร่อย ที่ช่วยบำรุงร่างกาย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    6 ประโยชน์ของเจลลี่ ของว่างแสนอร่อย ที่ช่วยบำรุงร่างกาย

    เจลลี่ หรือ เยลลี่ นับเป็นอีกหนึ่งขนมหวานหรืออาหารว่างที่ครองใจใครหลายๆ คน เพราะไม่เพียงแต่เคี้ยวหนุบหนับเพลินปากแล้ว ยังมีรสชาติหอมหวาน บวกกับสีสัน หน้าตาน่ารับประทาน และขนาดเล็กกระทัดรัด ให้คุณสามารถพกพาติดตัวเพื่อรับประทานเป็นของว่างระหว่างวันได้อย่างสะดวก จึงเป็นที่ถูกใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่คุณรู้หรือไม่ว่า..นอกจากความอร่อยที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมี ประโยชน์ของเจลลี่ ที่คุณอาจยังไม่รู้ ซึ่ง Hello คุณหมอ ขอพาทุกคนมารู้จักกับเจลลี่ และประโยชน์ของเจลลี่ให้มากขึ้นในบทความนี้

    รู้จักกับส่วนประกอบหลักของเจลลี่ ที่ควรรู้ก่อนรับประทาน

    เป็นที่ทราบกันดีว่าเจลลี่ หรือเยลลี่นั้น มีส่วนประกอบสำคัญที่ทำมาจาก เจลาติน (Gelatin) ซึ่งองค์ประกอบภายในเจลาตินนี้อุดมไปด้วยคอลลาเจน ที่มีศักยภาพในการเสริมสร้างความแข็งแรง ซ่อมแซมให้กับกระดูก เนื้อเยื่อภายในร่างกาย และมีโปรตีน กรดอะมิโนสูงถึง 98 – 99 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 1 – 2 เปอร์เซ็นต์ เป็นน้ำกับวิตามิน รวมถึงแร่ธาตุเล็กน้อย รวมทั้งยังถูกนำมาใช้ในการปรุงอาหาร ทำขนม หรือมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยปรับรูปแบบ เพื่อให้รับประทานง่ายขึ้นด้วยการอัดเม็ดชนิดแคปซูลเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม

    6 ประโยชน์ของเจลลี่ ที่อาจทำให้คุณต้องอึ้ง

    1. ปรับปรุงสุขภาพของกระดูก

    เนื่องจากเจลาตินที่ใช้ทำเจลลี่มีกรดไลซีน (lysine) ที่ช่วยเสริมสร้างกระดูก ทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมจากอาหารที่เรารับประทานในชีวิตประจำวันได้ดี บางกรณีผู้คนรับประทานเจลาตินเพื่อลดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน และปกป้องไม่ให้กระดูกเสื่อมสภาพอีกด้วย

    1. ดูแลผิวพรรณ

    ในส่วนประกอบของเจลาตินนี้ ถูกสร้างมาจากคอลลาเจนเสียส่วนใหญ่ จึงช่วยให้ผิวพรรณแลดูอ่อนเยาว์ เพราะร่างกายของเราที่เติบโตขึ้น ทำให้เกิดริ้วรอยตามวัย เช่น รอยเหี่ยวย่นบนหน้าผาก จากการศึกษาของทีมวิจัยปี 2016 พบว่า การบริโภคคอลลาเจน สามารถปรับปรุงร่องรอยอันไม่พึงประสงค์บนใบหน้า และยังเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว ทำให้ผิวพรรณดูสุขภาพดีอยู่เสมอ

    1. การย่อยอาหาร

    นอกเหนือจากกรดไซลีน (lysine) ที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีกรดกลูตามิก (glutamic acid) ในเจลาติน ที่เป็นสารอย่างหนึ่งอาจช่วยให้เยื่อบุในกระเพาะอาหารแข็งแรงขึ้น ทำให้ย่อยอาหารได้โดยง่าย และกระตุ้นกระบวนการผลิตน้ำย่อย ทำให้อาหารที่ลงผ่านลำคอไปยังกระเพาะนั้นลื่นขึ้น ไม่ติดขัดในท่อลำเลียง

    1. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

    งานวิจัยชิ้นหนึ่งถูกระบุไว้ว่ากรดอะมิโนในเจลาติน ช่วยให้ผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานในประเภทที่ 2 ที่ช่วยปรับปรุงสภาพภายในบรรเทาอาการอักเสบลง และลดอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

    1. ปรับปรุงปัญหาด้านการนอนหลับ

    จากการศึกษาที่ถูกตีพิมพ์ปี 2006 เมื่อรับประทานเจลาตินในปริมาณ 3 กรัม ก่อนนอน ชี้ให้เห็นว่าเมื่อตื่นขึ้นมาในยามเช้าทำให้รู้สึกถึงความตื่นตัว มีชีวิตชีวา สดชื่นมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามมิได้แนะนำว่าควรบริโภคตลอดเวลา หรือต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน หากคุณมีปัญหาด้านการนอนหลับจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมถึงวิธีการแก้ไขในเบื้องต้น

    1. บำรุงผม และเล็บ

    บางคนอาจใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น แคปซูลที่มีส่วนผสมของผงเจลาติน ซึ่งช่วยให้เพิ่มความหนา ความแข็งแรง ลดอาการเส้นผมหลุด ทั้งนี้ยังป้องกันไม่ให้เล็บเปราะบาง จนเกิดการฉีกขาดง่าย

    ความเสี่ยงของ เจลลี่ หากรับประทานมากเกินควร

    การรับประทานเจลาตินมากเกินไป อาจทำให้คุณมีอาการดังนี้

  • รู้สึกหนักท้อง
  • ท้องอืด
  • หากบางคนมีอาการที่แพ้เจลาตินอยู่แต่เดิมแล้ว เมื่อเผลอพลั้งรับประทานเข้าไปโดยไม่รู้ตัว อาจเกิดปฏิกิริยาแพ้รุนแรงที่สามารถทำให้หัวใจคุณล้มเหลว จนถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

    ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นข้างต้นเกี่ยวข้องกับคุณภาพในส่วนประกอบอาหารด้วยเช่นกัน อย่างคอลลาเจนในเจลาตินที่ได้รับมากจากเนื้อสัตว์ ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดโรคที่มากับสัตว์ได้

    อย่างไรก็ตามคุณควรเลือกเจลาติน จำเป็นต้องอ่านฉลากข้างผลิตภัณฑ์อย่างละเอียดเสียก่อนว่ามีการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) หรือไม่ และตรวจสอบส่วนประกอบในอาหารก่อนทุกครั้งเมื่อคุณมีประวัติของการแพ้เจลาติน หรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมเพื่อข้อรับข้อมูลที่ถูกต้อง

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา