- เวียนหัว อาเจียน
- ไอ หรือจาม
- เสียงแหบลง
- เจ็บคอเวลากลืนอาหาร
- สูญเสียการได้ยิน
- มีปัญหาในการเคลื่อนไหว เช่น การเดิน
- ปริมาณน้ำลายมากเกินไป
- การหายใจผิดปกติ
- อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง
- อาการชัก
รีบรักษาก่อนสายเกินไป ด้วยเทคนิคทางการแพทย์
การผ่าตัดเป็นวิธีรักษาเพียงอย่างเดียวที่สามารถแก้ไข และป้องกันการลุกลามของโรคสมองน้อยย้อยโดยแบ่งออกได้ ดังนี้
เป็นการกำจัดปัญหาส่วนล่างของกะโหลกศีรษะ และแก้ไขโครงสร้างกระดูกสันหลังที่ผิดปกติ ศัลยแพทย์อาจทำการเปิดขยายเนื้อเยื่อไขสันหลัง เพื่อให้มีพื้นที่การไหลเวียนของเหลวได้ดีในบริเวณไขสันหลัง ซึ่งป้องกันการก่อให้เกิดสภาวะสมองคั่งน้ำ
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจใช้ความถี่กระแสไฟฟ้าเข้าช่วย เพื่อย่อเนื้อเยื่อสมองส่วนล่างของซีรีเบลลัม (Cerebellum) ให้เล็กลงในขนาดที่พอดี
- การผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบลามิเนกโตมี (Laminectomy)
คือการกำจัดกระดูกส่วนนอกของกระดูกสันหลัง เพื่อลดแรงกดทับบนรากประสาท และไขสันหลัง อาจจำเป็นต้องมีการผ่าตัดแบบอื่นที่เหมาะสมมาเป็นตัวช่วยเพิ่มเติม
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะวินิจฉัยในเบื้องต้น และตรวจสอบร่างกายในด้านการควบคุมการทำงานของสมองน้อยก่อนการรักษา ผู้ป่วยอาจได้รับการผ่าตัดที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่ปัจจัยทางด้าน สุขภาพ โรคประจำตัว และอายุที่เหมาะสม
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย