backup og meta

ท่านอนสุดโปรด กับปัญหาสุขภาพที่ไม่โปรดปรานอย่างที่คิด

ท่านอนสุดโปรด กับปัญหาสุขภาพที่ไม่โปรดปรานอย่างที่คิด

เชื่อหรือไม่คะว่า ท่านอน ที่เรานอนอยู่ทุกวัน เป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องให้ความสำคัญเหมือนกันนะ เพราะมันอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราได้ เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่า ท่านอนสุดโปรด ของเรานั้นสามารถบ่งบอกอะไรเกี่ยวกับสุขภาพของเราได้บ้าง ติดตามอ่านได้ในบทความ Hello คุณหมอ 

ท่านอน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเราได้อย่างไร?

ท่านอนนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพได้อย่างไม่น่าเชื่อ เพราะท่านอนนั้นอาจส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ เช่น ส่งผลกระทบต่อระบบการหายใจ การนอนกรน การปวดเอว อาการนอนไม่หลับ หรือบางรายอาจร้ายแรงถึงขั้นหยุดหายใจขณะหลับ 

เช็กด่วน! ท่านอนสุดโปรด บ่งบอกอะไรเกี่ยวกับสุขภาพได้บ้าง

ท่านอนสุดโปรด ของเรานั้นสามารถบ่งบอกอะไรเกี่ยวกับสุขภาพได้บ้าง วันนี้ Hello คุณหมอ นำข้อดี และข้อเสีย ลักษณะท่านอนมาฝากทุกคนค่ะ โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้

1.นอนหงาย

  • ข้อดี การนอนหงายนั้นเป็นท่าที่ทำให้เรารู้สึกหายใจสะดวกขึ้นขณะหลับ ช่วยลดอาการปวดหลัง ปวดคอ และอาการปวดสะโพก เป็นต้น 
  • ข้อเสีย สำหรับหลาย ๆ คนอาจคิดว่าการนอนหงายนั้นดีต่อสุขภาพ แต่อาจไม่ดีสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบการหายใจ เช่น การนอนกรน โรคสมาธิสั้น ไซนัสอักเสบ ความดันโลหิตสูง 

2.นอนตะแคงซ้าย

  • ข้อดี ท่านอนตะแคงซ้ายมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการแก้ไขอาการนอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ นอกจากนี้ยังช่วยให้ระบบหายใจทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์อาจวางหมอนไว้ใต้ท้อง หรือระหว่างหัวเข่า จะช่วยลดแรงกดดันต่อกระเพาะปัสสาวะ และอาการปวดหลัง 
  • ข้อเสีย เมื่อนอนตะแคงด้านซ้ายอวัยวะภายในทรวงอกจะขยับได้ ปอดอาจมีน้ำหนักมากต่อหัวใจ ความดันที่เพิ่มขึ้นอาาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ หัวใจอาจตอบสนองต่อความดันที่เพิ่มขึ้น โดยกระตุ้นไตทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน 

3.นอนตะแคงขวา

  • ข้อดี ท่านอนตะแคงขวาช่วยหลีกเลี่ยงจากผลกระทบของการนอนหงาย เช่น ผู้ที่มีอาการนอนกรน ความดันโลหิตสูง ไซนัสอักเสบ นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอาการปวดข้อต่าง ๆ ให้บรรเทาลงอีกด้วย
  • ข้อเสีย การนอนตะแคงขวาอาจทำให้เกิดการกดทับที่เส้นประสาทแขนขวา หรืออาจนำไปสู่การบาดเจ็บจากการกดทับหรือโรคระบบประสาท อาจทำให้เกิดอาการปวดไหล่ขวาหลังส่วนล่าง และสะโพกด้านขวา

4.นอนคว่ำ 

  • ข้อดี การนอนคว่ำช่วยแก้ไขอาการนอนกรนได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะที่เกิดขึ้นกับทรวงอก
  • ข้อเสีย ท่านอนคว่ำอาจนำไปสู่อาการปวดคอ นอกจากนี้ยังทำให้กล้ามเนื้อบริเวณไหล่หรือส่วนบนตึงจากการถูกกดทับเส้นประสาทภายในแขน

5.นอนในท่านั่ง

  • ข้อดี การยกศีรษะระหว่างการนอนหลับอาจลดความเสี่ยงของการนอนกรน และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ 
  • ข้อเสีย ท่านี้ถือว่าอันตรายอย่างมากหากคุณจะนอนในท่านั่ง โดยการยกศีรษะสูงไว้ตลอดทั้งคืน นอกจากนี้ยังส่งผลให้เรามีอาการปวดต้นคอ ปวดหลัง ปวดสะโพกได้

การนอนหลับที่เหมาะสม แต่ละช่วงอายุ

นอกจากท่านอนแล้ว สิ่งสำคัญคือเราควรต้องนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับที่เหมาะสมส่วนใหญ่มักอยู่กับอายุของเรา โดยมูลนิธิการนอนหลับแห่งชาติ  (National Sleep Foundation) แนะนำช่วงเวลาการนอนหลับที่เหมาะสมกับช่วงอายุของเรา โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ 

ช่วงอายุ ปริมาณการนอนหลับที่แนะนำต่อวัน
0-3 เดือน 14-17 ชั่วโมง
4-11 เดือน 12-15 ชั่วโมง
1-2 ปี 11-14 ชั่วโมง
3-5 ปี 10-13 ชั่วโมง
6-13 ปี 9-11 ชั่วโมง
14-17 ปี 8-10 ชั่วโมง
18-25 ปี 7-9 ชั่วโมง
26-64 ปี 7-9 ชั่วโมง
65 ปีขึ้นไป 7-8 ชั่วโมง

หากร่างกายไม่ได้นอนหลับ พักผ่อนเต็มที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวานที่2 ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น 

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ท่านอนอันตราย. https://www.thaihealth.or.th/Content/42017-%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2.html. Accessed January 11, 2020. 

10 Reasons Why Good Sleep Is Important. https://www.healthline.com/nutrition/10-reasons-why-good-sleep-is-important. Accessed January 11, 2020.

Why Do We Need Sleep?. https://www.sleepfoundation.org/how-sleep-works/why-do-we-need-sleep. Accessed January 11, 2020.

How Your Sleep Position Affects Your Health. https://www.webmd.com/sleep-disorders/ss/slideshow-sleep-positions.Accessed January 11, 2020.

The Best and Worst Sleep Positions for Health Conditions. https://www.verywellhealth.com/best-and-worst-sleep-positions-for-health-conditions-4158271. Accessed January 11, 2020.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/01/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

นอนหลับหลายครั้งใน 24 ชั่วโมง (Polyphasic Sleep) อันตรายหรือไม่

ห้วงนิทรา แห่ง ความฝัน กับ สัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 22/01/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา