backup og meta

กินปลาไหม บำรุงสมองและร่างกายนะ เพราะ ปลามีประโยชน์ มากมาย

กินปลาไหม บำรุงสมองและร่างกายนะ เพราะ ปลามีประโยชน์ มากมาย

กินปลาไหม บำรุงสมองนะ ใครๆ ก็เคยได้ยินมาว่า การบริโภคปลานั้นช่วยบำรุงสมอง แถมยังมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย แต่ว่านอกจากสมองแล้ว ปลายังช่วยบำรุงร่างกายในด้านอื่นๆ ได้อีกมากมาย ใครที่อยากรู้ว่า ปลามีประโยชน์ อย่างไรตาม Hello คุณหมอ ไปอ่านข้อมูลดีๆ กันเลยค่ะ

สารอาหารใน ปลา

ปลาเป็นหนึ่งในสารอาหารที่ดีที่สุดในโลก เพราะปลานั้นอุดมไปด้วยโปรตีนคุณภาพสูงและวิตามินดี นอกจากนี้ปลายังเป็นแหล่งของกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญต่อร่างกายและสมอง ปลายังยังมีไอโอดีนและวิตามินและแร่ธาตุต่างๆอีกมากมาย

นอกจากนี้การบริโภคปลาที่มีไขมันสูงอย่างเช่น ปลาแซลมอน ปลาเทราท์ ปลาซาดีน หรือปลาทูน่าเป็นปลาที่มีปริมาณไขมันที่สูง ซึ่งไขมันที่ได้จากปลาถือเป็นไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุด นอกจากนี้การบริโภคปลายังให้วิตามินดี ซึ่งเป็นวิตามินที่มีส่วนช่วยในการละลายไขมันในกลุ่มหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เสริมการดูดซึมแคลเซียม เหล็ก แม็กนีเซียม ฟอสเฟตและสังกะสี

นอกจากนี้การบริโภคปลาที่มีไขมันโอเมก้า 3 ยังมีความสำคัญต่อร่างกายและการทำงานของสมอง ซึ่งไขมันโอเมก้า 3 มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น การสร้างกล้ามเนื้อ การแข็งตัวของเลือด การเจริญเติบโต ดังนั้นควรบริโภคปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพื่อให้ร่างกายได้รับโอเมก้า 3 อย่างเหมาะสม หากคุณเป็นมังสวิรัติ หรือวีแกนการรับประทานสาหร่ายทะเลก็ช่วยให้ได้รับโอเมก้า 3 ได้เช่นกัน

ปลามีประโยชน์ อะไรต่อร่างกายบ้าง

ปลาช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง

หัวใจวาย (Heart Attack)และโรคหลอดเลือดสมอง เป็นสองโรคร้ายที่พบบ่อยที่สุดของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งปลาถือเป็นหนึ่งในอาหารที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ จากการศึกษาเชิงสังเกตการณ์ขนาดใหญ่จำนวนมากแสดงให้เห็นว่า การบริโภคปลาเป็นประจำมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง และการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ ในการศึกษาหนึ่ง พบว่าผู้ชายมากกว่า 40,000 คนในสหรัฐอเมริกา ที่มีการรับประทานปลาเป็นประจำอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจร้อยละ 15

ปลามีประโยชน์ ในการช่วยในการพัฒนา

กรดไขมันโอเมก้า 3 นั้นมีความจำเป็นในการเจริญเติบโตและการพัฒนาของร่างกาย กรดไขมัน Docosahexaenoic (DHA) ของโอเมก้า 3 มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนาสมองและดวงตา ดังนั้นคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์คุณแม่ที่อยู่ระหว่างการให้นมบุตรควรรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 เพราะจะช่วยพัฒนาทารกในครรภ์ได้  แต่อย่างไรก็ตามปลาบางชนิด อาจมีปริมาณปรอทที่สูงซึ่งอาจมีปัญหาด้านพัฒนาการทางสมอง ดังนั้นควรเลือกรับประทานปลาที่มีสารปรอทต่ำ และควรหลีกเลี่ยงปลาดิบเพราะอาจมีจุลินทรีย์ที่สามารถเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้

ช่วยป้องกันและรักษาภาวะซึมเศร้าได้

ภาวะซึมเศร้าเป็นอาการทางสุขภาพจิต ที่สามารถพบได้ทั่วไป แต่จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่บริโภคปลาเป็นประจำมีโอกาสในการเกิดโรคซึมเศร้าได้น้อยมาก จากการทดลองที่มีการควบคุม พบว่าการบริโภคอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 มีส่วนช่วยในการต่อสู้กับภาวะซึมเศร้า และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันอาการซึมเศร้าได้ นอกจานี้ปลาและอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 อาจช่วยรักษาสภาพจิตใจด้านอื่นๆ เช่น โรคอารมณ์แปรปรวนได้

ช่วยบำรุงสายตาเมื่อแก่ตัวลง

จอประสาทตาเสื่อม เป็นปัญหาด้านการมองเห็นที่มักจะเกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น บางคนอาจร้ายแรงจนถึงขั้นตาบอดได้เลย แต่กรดไขมันโอเมก้า 3 ในปลาอาจมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคนี้ได้ จากการศึกษาหนึ่ง พบว่าการบริโภคปลาเป็นประจำนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องในการลดความเสี่ยงในการเกิดจอประสามตาเสื่อมในผู้หญิงได้ถึงร้อยละ 42 และจากการศึกษาอีกชิ้นหนึ่ง พบว่าการรับประทานปลาที่มีไขมัน สัปดาห์ละครั้งมีความเกี่ยวข้องในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองลงร้อยละ 53

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Source

Brain Health and Fish

https://www.eatright.org/health/wellness/healthy-aging/brain-health-and-fish

11 Evidence-Based Health Benefits of Eating Fish

https://www.healthline.com/nutrition/11-health-benefits-of-fish

The benefits of eating fish

http://seafood.edf.org/benefits-eating-fish

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2021

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

โอเมก้า 3 ประโยชน์ ต่อสุขภาพและข้อควรระวัง

โอเมก้า สารอาหารที่จำเป็นสำหรับเด็กที่พ่อแม่ควรรู้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา