backup og meta

อาหารที่มีเอนไซม์ช่วยย่อย ได้ตามธรรมชาติ มีอะไรบ้าง

อาหารที่มีเอนไซม์ช่วยย่อย ได้ตามธรรมชาติ มีอะไรบ้าง

เมื่อรับประทานอาหารเข้าไป เอนไซม์ที่ร่างกายสร้างขึ้นมาก็จะทำการย่อยสลายอาหารเหล่านั้น เพื่อนำไปเป็นพลังงานให้แก่ร่างกาย แต่สำหรับผู้ที่ร่างกายผลิตเอนไซม์ไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดปัญหาอาหารไม่ย่อย จนเกิดปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหาร ดังนั้นการรับประทาน อาหารที่มีเอนไซม์ช่วยย่อย จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยปรับปรุงการย่อยให้ดีขึ้นได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มี อาหารที่มีเอนไซม์ มาให้อ่านกันค่ะว่ามีอะไรบ้าง

เอนไซม์ย่อยอาหาร (Digestive Enzymes) คืออะไร

เอนไซม์ย่อยอาหาร (Digestive Enzymes) เป็นเอนไซม์ที่ผลิตขึ้นจากร่างกาย มีบทบาทสำคัญมากในกระบวนการย่อยอาหาร โดยเอนไซม์ย่อยอาหารจะสลายโมเลกุล เช่น ไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต ให้เป็นโมเลกุลขนาดเล็ก ที่สามารถดูดซึมได้ง่าย เพื่อที่ร่างกายจะได้นำมาใช้เป็นพลังงาน เอนไซม์ย่อยอาหารนั้นผลิตมาจากอวัยวะในร่างกาย เช่น ตับอ่อน ถุงน้ำดี ตับ หรือแม้กระทั่งน้ำลายก็มี เอนไซม์ช่วยย่อย เช่นกัน เอนไซม์ช่วยย่อยอาหารสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

  • เอนไซม์โปรติเอส (Protease) เป็นเอนไซม์ที่มีหน้าที่ในการย่อยสลายโปรตีน ให้เป็นเปปไทด์และอะมิโนขนาดเล็ก
  • ไลเปส (Lipases) เป็นเอนไซม์ที่มีหน้าที่ในการสลายไขมัน
  • อะไมเลส (Amylases) อะไมเลสเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ในการย่อยแป้ง เช่น เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล

หากร่างกายไม่สามารถสร้างเอนไซม์เพื่อมาย่อยอาหารได้เพียงพอ อาหารที่รับประทานเข้าไปก็จะไม่ได้รับการย่อยได้อย่างถูกต้อง ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารได้

อาหารที่มีเอนไซม์ช่วยย่อย มีอะไรบ้างนะ

การย่อยอาหารเป็นกระบวนการหนึ่งที่ช่วยย่อยอาหารที่รับประทานเข้าไป เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานแล้วนำไปใช้ หากร่างกายไม่สามารถสร้างเอนไซม์ขึ้นมาย่อยได้ ระบบการย่อยอาหารอาจเกิดปัญหา ดังนั้น การรับประทานอาหารที่มี เอนไซม์ช่วยย่อย ตามธรรมชาติ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยปรับปรุงการย่อยได้ ซึ่งอาหารที่มี เอนไซม์ช่วยย่อย ตามธรรมชาติ มีดังนี้

สับปะรด

สับปะรดผลไม้รสชาติหวานอมเปรี้ยว สับปะรดเป็นผลไม้ที่มี เอนไซม์ช่วยย่อย ที่เรียกว่า “โบรมีเลน (Bromelain)’ เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติในการย่อยโปรตีนให้มีขนาดเล็ก จากการศึกษาผู้ที่มีภาวะตับอ่อนหลั่งเอนไซม์น้อยกว่าปกติ (Pancreatic Insufficiency) พบว่าการรับประทานโบรมีเลนร่วมกับอาหารเสริมเอนไซม์มีส่วนช่วยเพิ่มการย่อยอาหารได้ดีกว่าการรับประทานอาหารเสริมเอนไซม์เพียงอย่างเดียว

อะโวคาโด

อะโวคาโดถือเป็นสุดยอดผลไม้เพราะมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย อะโวคาโดอุดมไปด้วยกรดไขมันอิ่มตัว ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี นอกจากจะเต็มไปด้วยไขมันที่ดีกับสุขภาพแล้ว อะโวคาโดยังมีไลเปส ซึ่งเป็น เอนไซม์ช่วยย่อย ไขมันในระบบทางเดินอาหารอีกด้วย การรับประทานอะโวคาโดจึงมีส่วนช่วยลดอาการอาหารไม่ย่อย

มะละกอ

หลาย ๆ คนอาจจะเคยใช้มะละกอหมักเนื้อหมูเพื่อให้มีความนุ่ม จริง ๆ แล้วในยางมะละกอนั้นมี เอนไซม์ช่วยย่อย ที่ชื่อว่า “โปรติเอส (Proteases)’ ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีส่วนช่วยย่อยโปรตีน จากการศึกษายังพบอีกว่า การรับประทานมะละกอมีส่วนช่วยบรรเทาการย่อยอาหารที่เกิดจากโรคลำไส้แปรปรวน เช่น ท้องผูก ท้องอืด

ซีอิ๊ว

ซีอิ๊วเป็นเครื่องปรุงรสที่ช่วยเพิ่มความเค็มให้กับอาหาร ซีอิ๊วทำมาจากการหมักถั่วเหลือง ยีสต์ เกลือ น้ำ และข้าวสาลีเข้าด้วยกัน ซึ่งในซอสถั่วเหลืองนั้นมีเอนไซม์ที่มีส่วนช่วยในการย่อยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต

มะม่วง

มะม่วงเป็นผลไม้ที่มีเอนไซม์อะไมเลส ซึ่งเป็นกลุ่มของเอนไซม์ที่ย่อยคาร์โบไฮเดรตจากแป้งไปเป็นน้ำตาล เช่น กลูโคส และมอลโตส ซึ่งเอนไซม์อะไมเลสจะออกฤทธิ์มากขึ้นเมื่อมะม่วงสุก

น้ำผึ้ง

เกสรผึ้งมีเอนไซม์มากถึง 5,000 ชนิด กาารับประทานน้ำผึ้งมีส่วนช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นประโยชน์กับร่างกาย ที่สำคัญในน้ำผึ้งมีเอนไซม์ที่มีส่วนช่วยในการย่อยอาหาร

กล้วย

กล้วยเป็นผลไม้อีกชนิดที่มี เอนไซม์ช่วยย่อย ตามธรรมชาติ ซึ่งมีทั้งเอนไซม์อะไมเลสและกลูโคซิเดส (Glucosidases) ซึ่งเป็นเอนไซม์สองกลุ่มที่ย่อยคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน จากแป้งให้เป็นน้ำตาลขนาดเล็กและดูดซึมได้ง่ายขึ้น นอกเหนือจากปริมาณเอนไซม์แล้ว กล้วยยังเป็นแหล่งไฟเบอร์ที่ดี มีส่วนช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น

กีวี่

กีวี่มีแอกทินิดิน (Actinidin) ซึ่งเป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่พบได้ในกีวี ซึ่งมีส่วนช่วยในการย่อยโปรตีน การรับประทานกีวี่มีส่วนช่วยในการย่อยเนื้อแดง นม ไข่และปลาได้ง่ายขึ้น

ขิง

ขิงมีเอนไซม์ที่ชื่อว่า โปรติเอส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีส่วนช่วยในการย่อยโปรตีน

เอนไซม์ย่อยอาหาร จะทำการย่อยไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตให้มีขนาดเล็กลง ซึ่งง่ายต่อการดูดซึม หากร่างกายผลิตเอนไซม์ย่อยอาหารไม่เพียงพอ จนไม่สามารถย่อยอาหารได้อย่างปกติ อาจทำให้ระบบย่อยเกิดปัญหา การรับประทานอาหารเสริมเอนไซม์หรือรับประทาน อาหารที่มีเอนไซม์ ตามธรรมชาติ สามารถช่วยส่งเสริมการย่อยอาหารและสุขภาพทางเดินอาหารให้ดีขึ้นได้

[embed-health-tool-bmr]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

12 Foods That Contain Natural Digestive Enzymes. https://www.healthline.com/nutrition/natural-digestive-enzymes.Accessed March 10, 2020

What Are Digestive Enzymes?. https://www.webmd.com/diet/what-are-digestive-enzymes#1.Accessed March 10, 2020

Digestive Enzymes: 9 Foods That Have Natural Digestive Enzymes. https://doctor.ndtv.com/living-healthy/9-foods-that-have-natural-digestive-enzymes-1857040.Accessed March 10, 2020

Foods With Naturally Occurring Digestive Enzymes. https://www.livestrong.com/article/301343-foods-with-naturally-occurring-digestive-enzymes/.Accessed March 10, 2020

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

22/03/2021

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีธรรมชาติแก้อาการอาหารไม่ย่อย ที่คุณสามารถทำเองได้ง่าย ๆ

พฤติกรรมที่ดีต่อระบบย่อยอาหาร ทำง่าย สบายท้อง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 22/03/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา