โภชนาการพิเศษ

เนื่องจากร่างกายของทุกคนแตกต่างกัน ความต้องการของเราจึงแตกต่างกันด้วย คุณสามารถเสริมคุณค่าทางโภชนาการและพลังงานให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายได้ ด้วยข้อมูล โภชนาการพิเศษ ของเรา

เรื่องเด่นประจำหมวด

โภชนาการพิเศษ

อาหารลดความดัน มีอะไรบ้าง และควรหลีกเลี่ยงอาหารแบบไหน

อาหารลดความดัน หรือ อาหารแดช เป็นหลักการบริโภคอาหารที่อาจเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมความดันโลหิตและต้องการรักษาสุขภาพในระยะยาว อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังจากภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) อาหารลดความดันควรเป็นอาหารโซเดียมต่ำ ไม่มีไขมันอิ่มตัว มีสารอาหารอย่างโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม นอกจากจะช่วยลดความดันแล้วยังอาจช่วยลดคอเลสเตอรอล และไขมันในเลือด รวมทั้งอาจช่วยลดน้ำหนักส่วนเกินได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmi] อาหารลดความดัน คืออะไร อาหารลดความดัน หรืออาหารแดช (Dietary Approaches to Stop Hypertension Diet หรือ DASH Diet) เป็นแนวทางการรับประทานอาหารที่มุ่งเน้นการรักษาหรือป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง ผู้ที่รับประทานอาหารแดชสามารถรับประทานอาหารหลากหลายได้ตามปกติ แต่อาจจำเป็นต้องลดหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียม คอเลสเตอรอล และไขมันอิ่มตัว และเพิ่มสัดส่วนของอาหารที่มีโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และใยอาหารหรือไฟเบอร์ เน้น ผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด เป็นต้น ตัวอย่างอาหารลดความดัน แอปริคอต อะโวคาโด แคนตาลูป ลูกพรุน ปวยเล้ง ส้มเขียวหวาน มะเขือเทศ พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วอัลมอนด์ วอลนัท พีนัท พีแคน เนื้อสัตว์ไม่ติดหนังและไขมัน เนื้อปลา ไข่ […]

สำรวจ โภชนาการพิเศษ

โภชนาการพิเศษ

เป็นเบาหวาน..ก็กินน้ำตาลได้ ความจริงเกี่ยวกับน้ำตาล สำหรับคนเป็นเบาหวาน

เมื่อคุณเป็น เบาหวาน คุณอาจจะเข้าใจว่าตัวเองต้องงดของหวานและ น้ำตาล อย่างสิ้นเชิง แต่จริง ๆ แล้ว คุณยังสามารถรับประทานของหวาน ๆ ได้ หากคุณสามารถจัดการและควบคุมอาการของโรคเบาหวานได้ มาลองดูข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเบาหวานและน้ำตาล พร้อมกับ Hello คุณหมอ กันเลย ความจริงเกี่ยวกับ น้ำตาล และ เบาหวาน หลายคนคิดว่าการกินน้ำตาลทำให้เป็นโรคเบาหวาน แต่ในความเป็นจริงแล้ว น้ำตาลไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 แต่อย่างใด สำหรับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 น้ำหนักเกิน เป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อคุณกินน้ำตาลมากเกินไป น้ำหนักตัวก็จะเพิ่มขึ้น จากการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่าการดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมาก สัมพันธ์กับการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ดังนั้น คุณควรควบคุมปริมาณการบริโภคน้ำตาล เพื่อช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน แต่หากคุณเป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว การบริโภคน้ำตาลจะเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งหากไม่มีการควบคุม ปัญหาร้ายแรงอาจะเกิดขึ้นได้ การวางแผนในเรื่องการกินอย่างเหมาะสม คือการควบคุมปริมาณน้ำตาล และรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ให้ได้ คุณควรกินของหวานในโอกาสพิเศษเท่านั้น เช่น วันเกิดหรืองานแต่งงาน แต่พึงระลึกไว้ว่า ของหวานเหล่านั้นมีปริมาณน้ำตาลสูง ดังนั้น ควรรับประทานในปริมาณเล็กน้อย มื้ออาหารในแต่ละวันของคุณควรมีสารอาหารครบถ้วน เช่น ผัก ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ที่ไม่มีไขมัน ถั่ว และโปรตีนไร้ไขมัน หากของหวานมีปริมาณน้ำตาลมากเกินไป […]


โภชนาการพิเศษ

แตงโม คนเป็นเบาหวานกินได้ กินให้พอดีน้ำตาลไม่ขึ้น

แตงโม (Watermelon) ผลไม้ยอดนิยมประจำหน้าร้อน รสชาติหวานฉ่ำ และมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบเหมือนผลไม้ชนิดอื่น สำหรับคนบางกลุ่ม เช่น ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งต้องมีวินัยในการบริโภคที่เคร่งครัด เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมน้ำตาล และต้องตรวจเช็คระดับของน้ำตาลในเลือดอยู่เสมอ แล้วแบบนี้ ผลไม้ที่ขึ้นชื่อว่ามีน้ำตาลมากอย่าง แตงโม จะเหมาะกับคนเป็นเบาหวานหรือเปล่านะ ทาง Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกัน แตงโม ดีอย่างไร จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา ระบุไว้ว่า แตงโมมีวิตามินซีอยู่ถึงร้อยละ 20 และวิตามินเอร้อยละ 17 ของปริมาณที่คนเราต้องการในแต่ละวัน นอกจากนี้ แตงโมยังมีไลโคปีน (lycopene) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอกระบวนการแก่ชรา ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง แตงโมจึงถือเป็นผลไม้ที่ป้องกันมะเร็งได้ ยิ่งไปกว่านั้น ผลไม้มหัศจรรย์ชนิดนี้ ยังช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อ และลดอัตราการเต้นของหัวใจให้กลับสู่สภาวะปกติได้อีกด้วย ผู้ป่วยเบาหวานกิน แตงโม ปลอดภัยไหม สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน คุณควรทราบถึงดัชนี 2 ประเภท นั่นก็คือ ดัชนีไกลซีมิก (glycemic index หรือ GI) และไกลซีมิกโหลด (glycemic load หรือ GL) หรือปริมาณของไกลซีมิก ค่าดัชนีไกลซีมิกแสดงถึงความเร็วในการดูดซึมอาหารเข้าสู่กระแสเลือด โดยมีค่าคะแนนอยู่ระหว่าง 1 […]


โภชนาการพิเศษ

อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง เป็นมะเร็งเต้านม ควรกินอะไรเพิ่มดี

ถ้าหากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น มะเร็งเต้านม นอกจากการรับประทานอาหารปกติในชีวิตประจำวันที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพแล้ว คุณก็ควรเพิ่มอาหารเสริมที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเข้าไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นวิตามิน สมุนไพร สารต้านอนุมูลอิสระ การรับประทาน อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ในช่วงที่คุณเป็นมะเร็งเต้านม จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของคุณให้แข็งแรง และช่วยบรรเทาอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างที่คุณกำลังรักษาโรคมะเร็งเต้านมได้ด้วย อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ที่คุณควรรับประทานในช่วงเป็นมะเร็งเต้านมมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง เต้านม 1. สารต้านอนุมูลอิสระ สารต้านอนุมูลอิสระ หรือแอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidant) จำพวก วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี และซีลีเนียม (Selenium) สามารถช่วยป้องกันความเสียหายของเซลล์ในช่วงที่ทำเคมีบำบัดและฉายรังสีบำบัดได้ นอกจากนี้ วิตามินซี และวิตามินอี ยังช่วยลดอาการเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นได้อีกด้วย แม้ว่าสารต้านอนุมูลอิสระจะเป็นอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมได้ แต่ในบางกรณี การได้รับสารต้านอนุมูลอิสระบางชนิดในปริมาณที่มากเกินไป ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้เช่นกัน คุณสามารถหาสารต้านอนุมูลอิสระได้จากผักและผลไม้หลายชนิด เช่น ส้ม แอปเปิล แครอท พริก มัลเบอร์รี่หรือลูกหม่อน สับปะรด ทับทิม แคนตาลูป หรือสามารถหาซื้ออาหารเสริมที่มีสารต้านอนุมูลอิสระได้ตามร้านขายยาหรือซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป แม้สารต้านอนุมูลอิสระจากผักผลไม้จะให้ผลที่ดีกว่า แต่ในกรณีจำเป็น คุณก็สามารถบริโภคสารต้านอนุมูลอิสระที่มาในรูปแบบอาหารเสริมแทนได้ เพียงแต่ต้องควบคุมปริมาณให้ดี อย่าบริโภคอาหารเสริมเกินปริมาณที่กำหนดเป็นอันขาด 2. ชาเขียว ชาเขียว คืออีกหนึ่งอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ช่วยให้คุณสามารถต่อสู้กับโรคมะเร็งได้ เนื่องจากโรคมะเร็งเต้านมนั้น เกิดจากการที่เซลล์เต้านมเติบโตอย่างผิดปกติ และกลายเป็นเนื้อร้าย สารในชาเขียวจะสามารถช่วยชะลอ หรือป้องกันการเติบโตที่ผิดปกติของหลอดเลือดในเนื้องอกพวกนี้ได้ ปัจจุบันมีชาเขียวให้เลือกซื้อมาบริโภคมากมายหลายรูปแบบ […]


โภชนาการพิเศษ

ป่วยเป็น ธาลัสซีเมีย ห้ามกินอะไร และอะไรที่ควรเลือกกิน

“ธาลัสซีเมีย (Thalassemia)” เชื่อว่าหลาย ๆ คนหากได้ยินชื่อโรคนี้คงรู้สึกกลัว เพราะคิดว่าเป็นโรคที่น้อยคนนักจะเป็น และหากเป็นขึ้นมาก็อาจมีอาการรุนแรงเกินเยียวยา อย่างไรก็ตาม การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรค รวมไปถึงศึกษาว่าหากป่วยเป็น ธาลัสซีเมีย ห้ามกินอะไร และควรเลือกกินอะไร อาจช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองได้ดียิ่งขึ้น [embed-health-tool-bmi] ธาลัสซีเมีย คืออะไร โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) คือ โรคโลหิตจางชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมระดับยีนทำให้การสร้างฮีโมโกบิล (Hemoglobin หรือ Hb) ซึ่งเป็นโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ส่งผลให้เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้น แตกง่าย ถูกทำลายง่าย จัดเป็นโรคโลหิตจางทางพันธุกรรมที่พบบ่อยที่สุดในโลก การกินอาหาร กับระดับอาการของ โรคธาลัสซีเมีย หลายคนอาจจะคิดว่า การกินอาหาร ไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรค แต่ความจริงแล้วการกินอาหารยังคงสัมพันธ์กับระบบอวัยวะภายในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพราะอวัยวะส่วนต่าง ๆ จะทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหารไปใช้ประโยชน์ แต่สำหรับผู้ป่วย โรคธาลัสซีเมีย จะไม่สามารถรับธาตุเหล็กในปริมาณมากได้ เพราะผู้ป่วยโรคนี้มักเกิดภาวะธาตุเหล็กเกิน และร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กมากกว่าคนทั่วไป ซึ่งการมีธาตุเหล็กเข้าไปสะสมอยู่ในร่างกายมากเกินไปจะส่งผลให้รบกวนการทำงานของระบบอวัยวะส่วนต่าง ๆ และทำให้อาการของโรคทวีความรุนแรงมากขึ้น จนอาจถึงขั้นหัวใจล้มเหลวได้ ดังนั้น การเลือกกินอาหารให้เหมาะสมกับจึงมีความสำคัญและสัมพันธ์ระดับอาการของ โรคธาลัสซีเมีย เป็นอย่างมาก หากเลือกกินอาหารได้อย่างถูกต้อง ก็จะช่วยลดระดับความรุนแรงของอาการได้มากเลยทีเดียว ป่วยเป็น ธาลัสซีเมีย ห้ามกินอะไร ผู้ป่วย โรคธาลัสซีเมีย ที่มีความรุนแรงของโรคในระดับปานกลางไปถึงระดับสูง ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง […]


โภชนาการพิเศษ

หอบหืดกับอาหาร โภชนาการสำหรับคนเป็นโรคหอบหืด

การกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ และ หอบหืดกับอาหาร ก็มีบทบาทสำคัญสำหรับคนที่เป็นโรคหอบหืดเช่นกัน ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า การรับประทานอาหารเฉพาะสำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืด อาจมีผลต่อการช่วยควบคุมโรคหอบหืด ช่วยบรรเทาอาการอักเสบของหลอดลม และช่วยลดจำนวนครั้งในการเกิดอาการหอบหืดกำเริบได้ โรคหอบหืดและโรคอ้วน หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงหลักของการเกิดโรคหอบหืด คือ โรคอ้วน โรคหอบหืดในคนอ้วน อาจมีอาการรุนแรงมากกว่า และรักษาได้ยากกว่าโรคหอบหืดทั่วไป การบริโภคอาหารที่เหมาะสมและมีน้ำหนักตัวในเกณฑ์ที่ดี จะสามารถควบคุมอาการนี้ได้ง่ายยิ่งขึ้น อาหารที่ดีต่อสุขภาพมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพโดยรวม เช่นเดียวกับแผนการรักษาโรคหอบหืดของคุณ ยิ่งไปกว่านั้นอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมีโอกาสอย่างมากที่จะทำให้เป็นโรคอ้วน ซึ่งเชื่อกันว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคหอบหืดรุนแรง การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีด้วยการกินอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก หมอหลายๆคนสงสัยว่า มีอาหารบางชนิดสามารถส่งผลกระทบต่ออาการหอบหืด ตัวอย่างเช่น บางคนเชื่อว่าการบริโภคอาหารบางชนิดส่งผลดีต่อโรคหอบหืดของคุณ เนื่องมาจากประสิทธิภาพของมันในการส่งเสริมการทำงานของปอด แต่ก็มีบางคนที่เชื่อว่าควรหลีกเลี่ยง หากคุณมีอาการแพ้อาหารเหล่านั้น เพราะอาการแพ้อาหารอาจไปกระตุ้นการเกิดโรคหอบหืด หอบหืดกับอาหาร อะไรควรกิน…อะไรไม่ควรกิน แม้ว่าจะยังไม่มีอาหารที่แนะนำ สำหรับผู้ที่เป็นโรคหอบหืด แต่ยังมีอาหารและสารอาหารที่ช่วยสนับสนุนประสิทธิภาพการทำงานของปอด มีหลักฐานปรากฎถึงอัตราการกำเริบของหอบหืดที่ลดลง ในผู้ที่บริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินอี และวิตามินซี กรดไขมันโอเมก้า 3 ฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ธาตุซิลีเนียม และธาตุแมกนีเซียม สารทั้งหลายเหล่านี้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่สามารถป้องกันเซลล์จากความเสียหาย งานวิจัยชิ้นหนึ่งได้เปิดเผยว่า วัยรุ่นที่บริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ มีโอกาสมากขึ้นในการเกิดอาการหอบหืด นอกจากนี้ความเสี่ยงของประสิทธิภาพการทำงานปอดย่ำแย่ลง มีโอกาสพบสูงในคนที่ไม่ได้รับประทานผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินอี วิตามินซี และกรดไขมันโอเมก้า 3 อย่างเพียงพอ งานวิจัยอีกชิ้นได้เปิดเผยว่า เด็กที่ทานอาหารที่ประกอบไปด้วยถั่วและผลไม้ อย่างเช่น มะเขือเทศหรือแอปเปิ้ล มีโอกาสในการเกิดอาการหอบหืดน้อยลง อาหารที่ควรรับประทาน อาหารที่มีวิตามินดีสูง […]


โภชนาการพิเศษ

วิตามินดีกับเบาหวาน เกี่ยวข้องกันอย่างไร ส่งผลอะไรต่อโรคนี้ได้บ้าง

วิตามินดี หรือที่รู้จักกันแพร่หลายว่า “วิตามินจากแสงอาทิตย์“ มีบทบาทสำคัญในการรักษาสุขภาพกระดูก คอเลสเตอรอล และความดันโลหิตของคุณ นอกจากนี้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบผลกระทบสำคัญที่ วิตามินดี ส่งผลต่ออินซูลินและกลูโคส และสามารถเชื่อมโยงถึงโรคต่อมไร้ท่อหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ความเชื่อมโยงกันระหว่าง วิตามินดีกับเบาหวาน เป็นอย่างไร ทาง Hello คุณหมอ มีข้อมูลมาฝากกันในบทความนี้ วิตามินดี คืออะไร วิตามินดี (Vitamin D) เป็นวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน โดยที่คุณสามารถดูดซึมได้จากอาหารหรือผลิตขึ้นจากร่างกายของคุณ หากคุณได้รับแสงแดด เมื่อผิวหนังของคุณสัมผัสกับแสงอัลตร้าไวโอเลต บี ร่างกายจะเปลี่ยนคอเลสเตอรอลไปเป็นวิตามินดี นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า ตัวรับโปรตีนวิตามินดี ถูกอัดแน่นอยู่ในเซลล์และเนื้อเยื่อทั้งหมด การดูดซับวิตามินดีมากเกินไปไม่ดีต่อสุขภาพ แต่การขาดวิตามินดี สามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพมากมาย เหมือนที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ถึงความเชื่อมโยงระหว่างวิตามินดี และโรคเบาหวานประเภทที่ 2 สิ่งนี้อธิบายได้ว่าทำไมจำนวนตัวเลขของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ในประเทศแถบยุโรปมีมากกว่าประเภทอื่น เนื่องจากภาวะขาดวิตามินดี ที่เป็นผลมาจากหลาย ๆ ปัจจัย และหนึ่งในนั้นคือการไม่ได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอ จะหาวิตามินดีได้จากที่ไหน คุณสามารถกระตุ้นร่างกายคุณให้ผลิตวิตามินดีมากกว่านี้ได้ โดยการปล่อยให้ร่างกายสัมผัสกับแสงแดดเป็นเวลา 15-20 นาทีต่อวัน อย่างไรก็ตาม การสัมผัสกับแสงแดดไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรมากต่อการผลิตวิตามินดีของร่างกายสำหรับบางคน ดังนั้น บางคนอาจเลือกบริโภคอาหารเสริมวิตามินดีแทน การบริโภคอาหาร ถือเป็นหนึ่งในทางเลือกที่เป็นประโยชน์ […]


โภชนาการพิเศษ

โรคโลหิตจาง ปัญหาสุขภาพที่คนกินมังสวิรัติต้องระวังให้ดี

อาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิด โรคโลหิตจาง (anemia) ได้อย่างไรก็ตาม คุณสามารถเพิ่มสารอาหารที่ร่างกายต้องการโดยเฉพาะสารอาหารที่ช่วยบำรุงเลือด เช่น ฟักทอง แครอท มะเขือเทศ ผักใบเขียวเข้ม ข้าวเสริมธาตุเหล็ก ข้ามหอมนิล ปัจจุบันคนเลือกกินมังสวิรัติ ไม่บริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น ไข่ นม ชีส กันมากขึ้น ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลหรือความเชื่อที่ว่า กินเนื้อสัตว์เท่ากับทำบาป กินเนื้อสัตว์แล้วจะเป็นโรคต่างๆ เป็นต้น แต่หากจะเลือกกินมังสวิรัติ คุณก็ต้องจัดตารางอาหารของตัวเองให้ดี กินอาหารให้หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับอาหารครบ 5 หมู่ เพราะการกินมังสวิรัติ หากกินแต่อาหารชนิดเดิมๆ ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่ต้องการอย่างครบถ้วน ก็จะทำให้ขาดสารอาหาร โดยเฉพาะสารอาหารที่พบได้มากในเนื้อสัตว์ อย่างธาตุเหล็ก เมื่อร่างกายได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอก็ทำให้เสี่ยงเป็นโรคโลหิตจางมากขึ้น เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงซึ่งมีหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนได้อย่างเพียงพอ สำหรับผู้ที่กินมังสวิรัติแบบเคร่งครัดมาก คือ กินแต่พืชผักผลไม้อย่างเดียว นอกจากอาจทำให้ร่างกายได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอแล้ว ยังทำให้ร่างกายขาดวิตามินบี 12 ซึ่งพบมากในไข่ นม ผลิตภัณฑ์จากนม น้ำผึ้ง อีกด้วย และหากร่างกายขาดวิตามินบี 12 ก็อาจทำให้เป็นโรคโลหิตจางได้เช่นกัน การดูดซึมธาตุเหล็ก ธาตุเหล็กมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายด้าน เช่น ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยกำจัดโลหะหนักออกจากร่างกาย ช่วยให้เซลล์สมองเติบโตได้ดี โดยคนแต่ละเพศ แต่ละช่วงวัยต่างก็ต้องการธาตุเหล็กในปริมาณที่ต่างกัน ดังนี้ เพศชาย (14-18 […]


โภชนาการพิเศษ

9 เคล็ดลับการกินอาหาร สำหรับผู้ป่วยโรค เบาหวาน และความดันโลหิตสูง

งานวิจัยมากมายแสดงให้เห็นว่า 70% ของผู้ป่วยเบาหวาน มีความดันโลหิตสูงด้วยเช่นกัน การรับประทานอาหารที่ดีสามารถช่วยควบคุมปริมาณการบริโภคของคุณ และช่วยคุณรับมือกับโรค เบาหวาน และความดันโลหิตสูง ได้ ติดตามเรื่องนี้ได้ในบทความของ Hello คุณหมอ เคล็ดลับการกินอาหาร สำหรับผู้ป่วยโรค เบาหวาน และความดันโลหิตสูง 1. หลีกเลี่ยงโซเดียม ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หมอจะแนะนำให้บริโภคอาหารที่มีโซเดียม (Sodium) น้อยกว่า 1500 มิลลิกรัมต่อวัน (น้อยกว่า 1 ช้อนชา) หลีกเลี่ยงการใช้เกลือ กระเทียม ขิง ออริกาโน ยี่หร่า หรือ ดอกโรสแมรี่ ในการปรุงอาหาร นอกจากนี้ อาหารที่ทำจากร้านอาหาร มักจะอุดมไปด้วยโซเดียมมากกว่าอาหารทั่วไป ดังนั้น เมื่อคุณมีอาการของโรคเบาหวานแล้วความดันโลหิตสูง การทำอาหารเองที่บ้านเป็นสิ่งที่ควรต้องทำ 2. เพิ่มธัญพืชในอาหาร ธัญพืชโฮลเกรน (Whole grain) หรือธัญพืชแบบไม่ขัดสี เป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์และสารอาหาร ซึ่งช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดและทำให้รู้สึกอิ่มท้องได้นานขึ้น ให้แน่ใจว่าคุณบริโภคธัญพืช แบบไม่ขัดสี 3 ถึง 5 หน่วยบริโภค ต่อวัน 3. ผูกมิตรกับกล้วย กล้วยอุดมไปด้วยโพแทสเซียม (Potassium) ซึ่งช่วยจัดการความดันโลหิตโดยการลดผลกระทบของโซเดียม ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงยกเว้นผู้ที่มีปัญหาทางไต […]


โภชนาการพิเศษ

ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อะไรที่ไม่ควรกิน

พวกเราทุกคนสามารถได้ประโยชน์จากมื้ออาหารเพื่อสุขภาพ แต่คนบางกลุ่ม เช่น ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คุณอาจจะต้องระมัดระวังอาหารที่รับประทานเข้าไปบ้าง เพราะจากที่จะได้สุขภาพที่ดี อาจจะกลายเป็นการทำร้ายสุขภาพไปเสียได้ อาหารใดบ้างที่ผู้ป่วย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ควรหลีกเลี่ยง หาคำตอบได้ในบทความนี้ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ควรเลี่ยงอาหารอะไรบ้าง ไนเตรทอาจทำให้อาการของ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แย่ลงได้ ไนเตรท ไม่เพียงไม่่ดีต่อผู้ป่วย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เท่านั้น แต่ยังไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพของคนปกติอีกด้วย ผลการศึกษาที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารวิชาการหายใจของยุโรประบุว่า ไนเตรท อาจทำให้อาการโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแย่ลงได้ และกระตุ้นให้อาการของโรคปะทุขึ้น นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยใหม่ ๆ ที่แสดงให้เห็นว่า ไนเตรทอาจจะทำให้เกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอีกด้วย เบคอน ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป แฮม และฮอทดอก ล้วนแล้วแต่มีไนเตรท และควรหลีกเลี่ยงเมื่อคุณเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง การรับประทานเกลือมากเกินไป ไม่ดีต่อ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หากคุณเป็น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคเกลือ เนื่องจากเกลือและอาหารเค็มจะทำให้ร่างกายเก็บกักน้ำมากขึ้น ทำให้ปอดได้รับแรงกดดัน และยากต่อการหายใจ ควรพยายามหลีกเลี่ยงไปใช้เครื่องปรุงรสอย่างอื่น เช่น สมุนไพร เครื่องเทศ ที่มีโซเดียมน้อยจะดีที่สุด ผลิตภัณฑ์จากนมสามารถเพิ่มการผลิตน้ำมูกได้ ถึงแม้ว่านมจะอุดมไปด้วยแคลเซียม ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถเพิ่มการผลิตน้ำมูกในปอดของคุณได้ สอดคล้องกับงานวิจัยที่ว่า สารประกอบในนม ที่เรียกว่า คาซูมอร์ฟีน สามารถทำให้การผลิตน้ำมูกมีมากขึ้น หรือทำให้เสมหะเหนียวขึ้น เมื่อเป็น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ระบบทางเดินหายใจของเราถูกทำลาย และไม่สามารถที่จะเคลื่อนย้ายน้ำมูกผ่านเนื้อเยื่อต่าง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน